[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 16:05:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคพาร์กินสัน  (อ่าน 993 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2332


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 ตุลาคม 2558 20:04:55 »




โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน (Parkinson"s disease) หรือโรคสันนิบาต หรือโรคสั่นสันนิบาต คือโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดปามีน มีปริมาณลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการที่สำคัญคือ อาการสั่น เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง และการทรงตัวขาดความสมดุล เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มของโรคที่มีการเสื่อมของสมอง มักพบในผู้สูงอายุ โดยในคนที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปพบเป็นโรคนี้ 1% และพบได้ในคนทุกเชื้อชาติ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้หญิง 1.5 เท่า

แพทย์ชาวอังกฤษชื่อ เจมส์ พาร์กินสัน (James Parkinson) เป็นคนแรกที่ได้อธิบายลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในปี พ.ศ.2360 ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดพาร์กินสันในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบชัดเจน มีส่วนน้อยที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และโรคนี้ยังไม่มีวิธีป้องกัน ส่วนยา แม้มียารักษาอาการต่างๆ แต่ยังไม่มียาที่จะรักษาให้โรคหายขาดได้

เนื่องจากโรคนี้พบได้บ่อยและเป็นปัญหาต่อการดำเนินชีวิต จึงมีการจัดตั้งวันโรคพาร์กินสันขึ้น ตรงกับวันที่ 11 เมษายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของนายแพทย์พาร์กินสัน มีดอกทิวลิปแดงเป็นสัญลักษณ์

ผลข้างเคียงจากโรคพาร์กินสันเกิดจากอาการการสั่น เช่น การล้ม ปัญหาในการพูด การเคี้ยว การกลืน การปัสสาวะ การอุจจาระ ในเพศสัมพันธ์ และเกิดจากปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ

ความรุนแรงของโรคพาร์กินสัน สมัยก่อนการค้นพบยารักษาพาร์กินสัน ผู้ป่วยประมาณ 25% จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี ประมาณ 65% เสียชีวิตภายใน 10 ปี และ 90% เสียชีวิตภายใน 15 ปี หรือโดยเฉลี่ย ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอัตราตายมากกว่าคนปกติ 3 เท่าเมื่อเปรียบเทียบในขณะที่มีอายุเท่ากัน และเป็นเพศเดียวกัน การใช้ยารักษาจะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นเพิ่มอีกหลายปี และลดอัตราตายลงได้ประมาณ 50% ธรรมชาติของโรคนี้คืออาการของผู้ป่วยจะพัฒนารุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่การรักษาด้วยยาจะช่วยลดอาการต่างๆ ได้ดีเฉพาะในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 4-5 ปี ผู้ป่วยจะเริ่มไม่ตอบสนองต่อยา แม้จะใช้ยาในปริมาณสูงและหลายชนิด แต่ในที่สุดอาการก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนเสียชีวิต

การดูแล
1.ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

2.ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันอยู่คนเดียว เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีโอกาสหกล้มได้ตลอดเวลา และคนใกล้ชิดควรสังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย ไม่เฉพาะเรื่องกายภาพ แต่ต้องสังเกตอารมณ์และสภาพจิตใจด้วย เนื่องจากอาการทางจิตประสาทบางอย่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า อาจทำให้อาการดูเหมือนแย่ลง ซึ่งจริงๆ แล้วอาการทางระบบสั่งการไม่ได้แย่ลง แต่เพราะภาวะซึมเศร้าทำให้ดูเหมือนยิ่งเคลื่อนไหวตัวช้าลง หากได้ยารักษาภาวะซึมเศร้า อาการดังกล่าวก็จะดีขึ้น

3.บ้านที่มีผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสภาพอาการ และเพื่อให้ปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น มีราวสำหรับจับเดินเป็นระยะๆ พื้นต้องไม่ลื่น ไม่มีของเกะกะกีดขวางทางเดิน ช้อน ส้อม แก้วน้ำที่ใช้ควรมีที่สำหรับจับขนาดใหญ่ เก้าอี้อาจเป็นแบบมีสปริงสำหรับช่วยยกตัวเวลาลุกขึ้นได้ แต่ต้องมั่นคง ไม่โยกเยกล้มง่าย การติดเครื่องช่วยขยายเสียงเวลาพูด เป็นต้น

4.แม้จะมีข้อมูลว่าการดื่มกาแฟ การสูบบุหรี่ การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน) ช่วยลดการเกิดโรคพาร์กินสันได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะมีโทษทำให้เกิดโรคอื่นๆ ที่น่ากลัวเป็นอันตรายต่อชีวิตได้มากกว่า

เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคพาร์กินสันยังไม่ทราบชัดเจน การป้องกันเต็มร้อยจึงเป็นไปไม่ได้ แต่บางการศึกษาพบว่า การกินอาหาร 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยจำกัดอาหารกลุ่มไขมันและเนื้อแดง (เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม โดยกินผัก ผลไม้เพิ่มขึ้นให้มากๆ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อาจช่วยลดโอกาสเกิดอาการ หรือลดความรุนแรงจากอาการของโรคลงได้บ้าง


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.285 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 มีนาคม 2567 15:41:56