ตำราเขม่น (ตำรากระเหม่น) - เขม่นตรงไหน บอกอะไรเราบ้างคำว่า
เขม่น ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า
[ขะเหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ กระเหม่น ก็ว่า
(ปาก) รู้สึกไม่ชอบหน้า หรือไม่พอใจ.
ส่วนความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ฉบับ
อ.เปลื้อง ณ นคร ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
[ขะ-เหฺม่น] ก. อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆ เช่น ตาเขม่น, บางทีว่า ตากระเหม่น.
ตามความเชื่อโบราณอาการเขม่น หรือ กระเหม่น เชื่อว่าเป็นลางบอกเหตุทั้งดีร้าย ขึ้นกับจุดที่เกิดอาการ ดังนี้
สิทธิการิยะ จะกล่าวคัมภีร์ | แห่งองค์พระศุลีประสาทประสิทธิญาณ |
แจ้งกลกระเหม่นบรรหาร | ในขันธประการประกาศไว้แก่นรชน |
ถ้ากระเหม่นหูซ้ายพึงยล | ข่าวร้ายจักดลมาแจ้งประจักษ์แก่ใจ |
ถ้ากระเหม่นหูขวามีชัย | แม้นรู้อันใดแต่ล้วนอันดีศุภผล |
ถ้ากระเหม่นฝีปากเบื้องบน | จะได้รสผลอันดีมากินพึงใจ |
กระเหม่นฝีปากล่างไข | ว่าหลานเหลนในโลหิตบังเกิดมิดี |
ถ้ากระเหม่นข้างขวาจักมี | ทุกข์แทบกายีประดาษไร้เข็ญใจ |
ถ้ากระเหม่นใจอยู่ไหว | จะเกิดโจรภัยมาลักจักทำโทษตัว |
ถ้ากระเหม่นแขนซ้ายพึงกลัว | โทษทุกข์จะพัวจะพันมาพะกายา |
ถ้าแม้นกระเหม่นแขนขวา | ท่านผู้อิสราจะรักจะชุบชูตน |
ถ้ากระเหม่นไหล่ขวาเหมือนกล | ดุจนาฎนฤมลสีดาเมื่อจากนารายณ์ |
กระเหม่นนาสาทำนาย | จักทุกข์ทุ่มกายกำสรดระทดโศกา |
ภาพประกอบจาก: Clipmass