[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 00:10:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ชาติพันธุ์ปลดแอก' จัดค่ายรัฐธรรมนูญ สะท้อนปัญหาชายขอบ-ชาติพันธุ์ กับรัฐรวม  (อ่าน 50 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2567 03:06:32 »

'ชาติพันธุ์ปลดแอก' จัดค่ายรัฐธรรมนูญ สะท้อนปัญหาชายขอบ-ชาติพันธุ์ กับรัฐรวมศูนย์อำนาจตัดสินใจ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-02-08 17:10</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>จตุพร สุสวดโม้ : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนอ่าน 'ชาติพันธุ์ปลดแอก' จัดค่ายรัฐธรรมนูญ หวังสะท้อนปัญหาชายขอบ-ชาติพันธุ์ ผู้เข้าร่วมชี้ ‘รัฐธรรมนูญ’ ไม่เคยรู้สึกและสัมผัสได้ แต่กำหนดชีวิตและสิทธิฯ พบปัญหาร่วมจากต่างพื้นที่ รัฐรวมศูนย์อำนาจตัดสินใจยัดเยียดโครงการเข้าชุมชน</p>
<p>ห่างจากตัวอำเภอแม่สะเรียงออกไปประมาณ 98 กิโลเมตร ติดกับเขตแดนรัฐกระเหรี่ยงมีแม่น้ำสาละวินกั้นเขตแดน ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ด้วยความทุลักทุเลระหว่างการเดินทางตามถนนลูกรังที่ผุพังตลอดแนวภูเขาคดโค้ง สัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ค่อยๆ ลดลง จนไร้การเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต</p>
<p>ที่นี่ไม่มีไฟฟ้ามีเพียงไฟส่องสว่างจากโซล่าเซลล์ที่ไม่ได้มีความเสถียรมากนัก ริมแม่น้ำสาละวินมีท่าเรือเล็ก ๆ เพื่อใช้สัญจรระหว่างชุมชน มีบ้านไม้ยกสูงหลังเล็กหลังน้อยที่มุงผนังด้วยไม้ไผ่สานและมุงหลังคาด้วยใบตองตึงมุง แต่ละหลังคาเรือนตั้งอยู่ไม่ห่างกันนัก ประกอบเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่แฝงตัวอยู่ในหุบเขาบริเวณชายแดนไทย-รัฐกะเหรี่ยง ที่นี่เรียกว่า ชุมชนบ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน </p>
<p>หลังจากจอดรถ พ่อหลวงประจำชุมชนท่าตาฝั่งและคนอื่นๆ ต่างเข้ามาต้อนรับทักทายผู้เข้าร่วมค่ายรัฐธรรมนูญ “ชาติพันธุ์ปลดแอก” Free Indigenous People ที่ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 ธันวาคม 2566 ในพื้นที่แห่งนี้ ก่อนจะช่วยกันขนสัมภาระขึ้นไปเก็บบนอาคารไม้สองชั้นที่คนในชุมชนได้มีการจัดเตรียมให้เป็นที่พักแรมระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ขณะกำลังนำกระเป๋าภาระไปเก็บให้เข้าที่เข้าทาง ก็มีผู้เข้าร่วมจากชุมชนอื่น ๆ ทยอยเดินทางมาถึง บ้างก็กำลังนั่งพักเหนื่อยหลังจากการเดินทางด้วยระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 6 ชั่วโมง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หวังสะท้อนปัญหาชายขอบ-ชาติพันธุ์</span></h2>
<p>ที่นี่มี “ชยานันต์ ปัญญาคง” สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ปลดแอก บอกเล่าว่า การลงชุมชนในครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นจากเยาวชนและชาวบ้านในเรื่องของชาติพันธุ์และรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน แต่กลับเป็นเรื่องค่อนข้างยากในการเข้าถึงโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เพราะรัฐไทยปลูกฝังทัศนะคติค่านิยมที่เน้นวัฒนธรรมเดี่ยวจากส่วนกลาง ไม่ยอมรับความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมเพราะต่างจากคุณค่าหรือนิยามที่รัฐสร้างไว้ พวกเขาจึงถูกมองเป็นอื่นและถูกเลือกปฏิบัติมาโดยตลอด</p>
<p>“การมารวมตัวกันในครั้งนี้เพราะเรามองเห็นถึงความสำคัญของความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคมและสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มคนที่ถูกรัฐผลักให้เป็นคนชายขอบ เราจึงอยากให้คนตัวเล็กตัวน้อยได้ร่วมสะท้อนปัญหาในพื้นที่ของเขาเองและออกแบบความต้องการโดยคนที่ในชุมชนจริง ๆ เพื่อให้พวกเขามีโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นในอนาคต” ชยานันต์บอกเล่าพร้อมเหลือบมองไปที่แม่น้ำสาละวิน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘รัฐธรรมนูญ’ ไม่เคยรู้สึกและสัมผัสได้ แต่กำหนดชีวิตและสิทธิฯ</span></h2>
<p>ถัดไปอีกมุมหนึ่งของอาคารมี “ลาหมึทอ ดั่งแดนวิมาน” เยาวชนบ้านท่าตาฝั่ง ริมแม่น้ำสาละวินอดีตเด็กไร้สัญชาติชาวกะเหรี่ยง บอกเล่าว่าตั้งแต่เราเกิดและเติบโตมาในหมู่บ้านแห่งนี้ คำว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นเรื่องที่เราเองไม่เคยนึกถึงและไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถแตะต้องได้ถือเป็นภาพที่ไกลเกินไปมาก เราไม่เคยรู้สึกและสัมผัสได้ถึงการมีอยู่ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ</p>
<p>“ที่ผ่านมาในฐานะที่เป็นคนกลุ่มชาติพันธุ์ต้องเผชิญปัญหาความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย สิทธิในการจัดสรรทรัพยากร ต้นไม้ ป่าไม้ แม่น้ำ สิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เราต้องอยู่กับความเหลื่อมล้ำและปัญหาของเราไม่เคยถูกแก้ไขเพราะรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวกำหนดชีวิต เรากลับไม่ได้เขียนมันเอง” เธอเล่า</p>
<p>เธออธิบายต่อว่า เยาวชนที่นี่มีความยากลำบากในการเข้าถึงระบบการศึกษา แม้ว่าเราจะมีโรงเรียนแต่งบประมาณก็ไม่เพียงพอ ทำให้โรงเรียนขาดแคลนทั้งค่าอุปกรณ์การเรียน แม้มีคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนสลับกันใช้สอยเพื่อค้นคว้าในการหาความรู้เพิ่มเติมแต่เราก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ได้อย่างเพียงพอ ทั้งยังไร้สัญญาณอินเตอร์เน็ต ส่วนค่าอาหารกลางวันบางครั้งต้องขอระดมทุนจากคนในหมู่บ้านเพื่อนำมาจัดสรรให้เพียงพอต่อเด็กนักเรียนทุกคน โดยเฉพาะในช่วงสอบวัดผล O-Net เด็กนักเรียนจะต้องตื่นเช้าต้องสูญเสียสมาธิจากการเดินทางตามถนนที่ผุพังหลายชั่วโมงเข้าไปสอบในตัวเมือง หากมองถึงเรื่องของสาธารณะสุขคนในชุมชนที่เจ็บไข้ได้ป่วยจะต้องเสียเงินเหมารถ เหมาเรือ เสียเวลาทั้งวันในเดินทางไกลเพื่อเข้าไปรักษาในตัวอำเภอ นี่คือสิ่งที่คนในพื้นที่ห่างไกลต้องเผชิญตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน</p>
<p>“เราคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราต้องแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถ้าหากกฎหมายที่กำหนดชีวิตของเราถูกเขียนโดยคนรากหญ้าและคนในชุมชนเองจริง ๆ เรามีความเชื่อและมั่นใจว่า เราจะสามารถเข้าถึงรัฐสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เข้าถึงระบบการศึกษา ไฟฟ้า น้ำประปา สาธารณสุข สามารถจัดการทรัพยากรที่เรามีในชุมชน และปัญหาที่ต่างๆ ที่ถูกซุกไว้ใต้พรมก็คงจะถูกแก้ไข เพื่อให้ตอบโจทย์กับคนทุกคน ตอบโจทย์กับคนที่อาศัยในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดก็ตาม” ลาหมึทอกล่าวย้ำถึงความสำคัญรัฐธรรมนูญที่ควรมีเพื่อไว้ตอบสนองคนทุกคนอย่างเท่าเทียม</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53515413122_2bc9dcbcd9_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ล้อมวงสะท้อนปัญหาร่วมต่างพื้นที่ รัฐรวมศูนย์อำนาจตัดสินใจยัดเยียดโครงการเข้าชุมชน</span></h2>
<p>ขณะที่ตะวันกำลังลาลับท้องฟ้าแสงไฟจากโซล่าเซลล์ก็ส่องสว่างขึ้น แม้ไฟที่อาจจะไม่เพียงพอแต่ก็ทำให้มองเห็นหน้าคร่าตาของผู้เข้าร่วมค่ายที่กำลังต้องวงล้อม เพื่อสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาและแนะนำตัวกัน หลายคนก็เดินทางมาไกลจากชุมชนกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ บ้างก็มาจากชุมชนบ้านแม่ปอคี จังหวัดตาก รวมไปถึงเยาวชนที่มาจากตัวเมืองเชียงใหม่ </p>
<p>เยาวชนที่มารวมตัวกันที่นี่ต่างก็มีประเด็นปัญหาในพื้นที่ของตนเองเช่นเดียวกันกับ “พรชิตา ฟ้าประทานไพร” กลุ่มกะเบอดินดินแดนมหัศจรรย์  อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เธอบอกเล่าว่า พื้นที่ชุมชนกะเบอะดินนอกจากจะต้องต่อสู้เพื่อคัดค้านเหมืองแร่ถ่านหินแล้ว คนในชุมชนต้องเผชิญกับโครงการอุโมงค์ผันน้ำยวมซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึง 70,000 ล้านบาท โดยโครงการผันน้ำยวมจะมีการขุดอุโมงค์ผันน้ำไปยังเขื่อนภูมิพล โดยผ่านชุมชนที่อยู่บริเวณรอยต่อของ 3 อำเภอ ตั้งแต่พื้นที่อำเภอสบเมย มายังอำเภออมก๋อย ไปจนถึงอำเภอฮอด โดยพื้นที่ชุมชนกะเบอะดินก็จะเป็นชุมชนหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการขนาดใหญ่นี้ด้วย</p>
<p>เธออธิบายความกังวลใจของคนในชุมชนว่า หากเริ่มดำเนินการโครงการต่อจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อคนในพื้นที่ ชุมชนอาจจะต้องสูญเสียทรัพยากรมากมายเพื่อแลกกับโครงการผันน้ำ เช่น พื้นที่ทำกิน ลำห้วย ป่าไม้  นอกจากนี้ระหว่างที่เขาดำเนินการจะต้องขนดินที่มากมายมหาศาลออกจากในพื้นที่ โดยไม่รู้เลยว่าจะนำดินจากการขุดเพื่อสร้างอุโมงค์ไปกองไว้ที่ไหน และชาวบ้านในพื้นที่ต่างไม่รู้ความเป็นมาของโครงการนี้เลย ไม่รู้เลยว่าพวกเขาจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง ? จะต้องเผชิญกับผลกระทบอะไรบ้าง ? ซึ่งกระบวนการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ไม่มีความโปร่งใส ทำให้เราไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้</p>
<p>“ขณะนี้ขบวนการทำ EIA ผ่านไปได้อย่างไม่มีความโปร่งใส โดยที่รัฐก็ไม่สนใจไยดีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เราในฐานะเยาวชนที่เกิดและเติบโตในพื้นที่ที่จะต้องได้รับผลกระทบระยะยาว ในอนาคตวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ชาวกระเหรี่ยงที่กินอยู่อาศัย ผืนดิน ต้นน้ำ ป่าไม้ ลำธาร ทรัพยากรเหล่านี้ที่มีความสำคัญกับคนทุกคนอาจจะต้องสูญเสียไปอย่างไม่มีวันกลับ คนหนุ่มสาวอาจจะต้องหันหลังให้กับบ้านเกิด เพื่อเข้าไปทำงานขายแรงงานแลกเศษเงินในโรงงานอุตสาหกรรม เราจึงจำเป็นต้องออกมาต่อสู้เพื่อคัดค้านโครงการที่เข้ามาในพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรมเพื่อรักษาทรัพยากรของเราไว้” เยาวชนชาวกระเหรี่ยงกล่าวพร้อมส่งสายตาที่จริงจัง </p>
<p>เธอเล่าต่อว่า โครงการต่างๆ ที่รัฐพยายามยัดเยียดเข้ามาในชุมชนโดยที่ไม่ถามความต้องการของคนในพื้นที่ ไม่ยอมรับฟังเสียงของชาวบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มคนชาติพันธุ์ ทั้งยังผลักให้คนตัวเล็กตัวน้อยกลายเป็นคนชายขอบที่ไม่มีสิทธิมีเสียง ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศเรารวมศูนย์อำนาจในการตัดสินต่าง ๆ ไว้ที่รัฐส่วนกลางที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในพื้นที่กลับมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่และได้รับผลกระทบโดยตรง ทำให้เราไม่มีสามารถตัดสินใจในการจัดการทรัพยากรของเราเองได้ </p>
<p>“เราจึงต้องการมีส่วนร่วมในการออกแบบโดยเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อบัญญัติให้คนในชุมชนมีอำนาจสูงสุดในการจัดการทรัพยากรในชุมชนโดยคนในชุมชนเอง เพื่อให้เราสามารถปกป้องผืนดิน ผืนป่า ผืนน้ำ จากกลุ่มทุนที่พยามยามเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์และถลุงเอาทรัพยากรไปฟันกำไร” เยาวชนชาวกระเหรี่ยงบอกเล่าถึงความหวังในการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนใหม่</p>
<p>เยาวชนที่ดั้นด้นเดินทางมารวมตัวกันในหุบเขาแห่งนี้ ต่างต้องเผชิญกับปัญหาที่ไม่รู้ว่าเลยว่าแก้ไขหรือไม่จุดมุ่งหมายเดียวกันที่พวกเขาหวังคือการได้กำหนดชีวิตของพวกเขาเองและถูกบัญญัติ ‘รัฐธรรมนูญฉบับใหม่”  </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/107977
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
อสุราอาหม : ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ของญาติเรา คนไทย ใน อินเดีย
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 9 5750 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2559 13:51:59
โดย มดเอ๊ก
อสุราอาหม : ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ของญาติเรา คนไทย ใน อินเดีย
ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
มดเอ๊ก 8 564 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2566 17:27:39
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 432 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 439 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 336 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.245 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤษภาคม 2567 23:25:39