[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 26 มีนาคม 2567 19:48:51



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สำนักนายกฯ แจ้งหน่วยงานรัฐทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก่อนล
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 26 มีนาคม 2567 19:48:51
สำนักนายกฯ แจ้งหน่วยงานรัฐทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก่อนลงนามสัญญาใดๆ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-26 17:45</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สำนักนายกฯ ออกจดหมายถึงหน่วยงานรัฐก่อนลงนามสัญญาใดๆ ให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ยกเหตุกระทบอำนาจอธิปไตยของไทย หลังมี ครม.มีมติเมื่อ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจ ICJ จากกรณีเข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาคุ้มครองบุคคลจากการบังคับสูญหายฯ</p>
<p>26 มี.ค.2567 สุณัย ผาสุก ที่ปรึกษา Human Rights Watch เผยแพร่จดหมายของสำนักนายกรัฐมนตรีถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ แจ้งให้หน่วยงานปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ(International Court of Justice หรือ ICJ) ไว้ทุกเรื่องเพื่อไม่ให้กระทบอำนาจต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ</p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="th" xml:lang="th">กลัวอะไร? รัฐบาล #เศรษฐา (https://twitter.com/hashtag/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2?src=hash&amp;ref_src=twsrc%5Etfw) สั่งให้ทำข้อสงวนไม่รับอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) ในการยื่นสัตยาบันต่อยูเอ็นเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection… pic.twitter.com/ksVSZB6FLA (https://t.co/ksVSZB6FLA)</p>
<p>— Sunai (@sunaibkk) March 26, 2024 (https://twitter.com/sunaibkk/status/1772538517325004881?ref_src=twsrc%5Etfw)</p>
<script async="" src="https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p>จดหมายนี้ได้อ้างอิงถึงมติ ครม.ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมาที่มีการพิจารณาจัดทำข้อสงวนเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับสูญหายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งในมติดังกล่าวออกมาเป็นหลักการให้ทุกส่วนของราชการและหน่วยงานรัฐถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในกรณีมีความจำเป็นในการทำหนังสือสัญญาที่มีข้อบทให้อำนาจแก่ ICJ มีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาทตามหนังสือสัญญานั้น ให้หน่วยงานนั้นๆ จัดทำข้อสงวนไม่รับอำนาจ ICJ ไว้ด้วย</p>
<p>สุณัยแสดงความเห็นในทวีตดังกล่าวด้วยว่าที่ผ่านมากลไกยุติธรรมภายในประเทศของไทยไม่สามารถเอาผิดและคลี่คลายกรณีอุ้มหายกว่า 70 รายที่สหประชาชาติทำบันทึกข้อมูลเอาไว้ได้</p>
<p>ทั้งนี้ในการประชุม ครม.ครั้งวันที่ 12 มี.ค.นั้น เป็นการลงมติตามข้อเสนอของกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) (https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/80221) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ที่เสนอให้มีข้อสงวนไว้ในส่วนของข้อบทที่ 42 ของอนุสัญญาดังกล่าวที่ระบุถึงกรณีให้อำนาจแก่ ICJ ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี 2 รัฐขึ้นไปในกรณีไม่สามารถยุติได้ด้วยการเจรจา</p>
<p>ยธ.ระบุเหตุผลในการเสนอให้จัดทำข้อสงวนไว้ด้วยว่า "เพื่อไม่ให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ มีเขตอำนาจเหนืออำนาจอธิปไตยของไทย ส่งผลให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่สามารถก้าวล่วงมาตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างไทยกับรัฐภาคีอื่นได้ ซึ่งข้อพิพาทนั้น ๆ อาจเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ดังนั้น ไทยจึงควรจัดทำข้อสงวนต่อข้อบทดังกล่าวไว้ ดังเช่นที่ได้จัดทำไว้ในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับอื่น ๆ"</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อุ้มหาย[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%81" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุณัย ผาสุก[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กระทรวงยุติธรรม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108583