[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 11:41:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นไผ่และน้ำชา  (อ่าน 12290 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 12:15:56 »




ต้นไผ่และน้ำชา


ต้นไผ่ คือ สิ่งที่อยู่คู่กับนิกายเซนมาเนิ่นนานนับตั้งแต่แรกเริ่ม อันเนื่องมาจากประเทศจีน และญี่ปุ่น มีต้นไผ่ปลูกกันค่อนข้างมากกว่าแถบประเทศอื่น ๆ เคยมีพระภิกษุผู้ถึงธรรมได้เปรียบต้นไผ่เอาไว้อย่างน่าฟังว่า ต้นไผ่นี้เหมือนกับผู้ที่มีความมั่นคงในพุทธะ โดยได้พรรณนาเอาไว้อย่างน่าทึ่งทีเดียว ดังนี้

"ต้นไผ่อ่อนไหว พลิ้วตามสายลมก็จริงอยู่ แต่ต้นไม้นี้ก็มีความมั่นคงเหนียวแน่นมากในแต่ละลำ ไม่ว่าจะเป็นไผ่ชนิดไหน อย่างไรก็ตามเหมือนกันหมด แต่เมื่อผ่าลำต้นของไผ่ออกแล้ว ปรากฎว่าไม่มีความตันอะไรในไผ่นั้น ๆ เลย กลับเป็นแต่เพียงข้อและปล้องช่วงกลางโล่ง ดังนี้จึงขอกล่าวว่า ต้นไผ่เหมือนผู้ที่ถึงพุทธะ ที่อยู่อย่างสามัญธรรมดาก็ได้ทุกสถานการณ์ อีกทั้งมีความมั่นคงในธรรม ไม่บิดพลิ้ว วกกลับไปหาหนทางอื่นที่จิตตกต่ำลง ในความมั่นคงนี้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอะไรเลยทั้งสิ้น เหมือนกับไผ่ที่ผ่าซีกแล้ว มีแต่ความเป็นข้อและปล้องเท่านั้นเอง"

ต้นไผ่ กับ เซน จึงเหมือนกับสิ่งที่อยู่คู่กันโดยการอนุมานขึ้นของพระเซน ส่วนเรื่องของการดื่มชา ถือได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของเซนทุกครั้งที่มีอาคันตุกะมาเยือน พระเซน มักจะนำน้ำชามาเสิร์ฟ มากกว่าการนำกาแฟ หรือน้ำปานะชนิดอื่น ๆ มาเสิร์ฟ น้ำชาเกิดจากความเรียบง่าย เพียงนำน้ำต้มใส่กาแล้วผสมใบชาลงไปเท่านั้นก็เป็นน้ำชา ด้วยความเรียบง่ายอย่างนี้เอง เซน จึงนิยมการดื่มน้ำชาเป็นที่สุด และเมื่อคราวใดที่การดื่มน้ำชานั้นนั่งดื่มใต้ต้นไผ่ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มศิลปะของการดื่มมากขึ้น และอาจเป็นจังหวะของการได้พบพุทธะในใจโดยไม่รู้ตัวชั่วช้างสะบัดหูและงูแลบลิ้นเท่านั้น


ที่มา คิดอย่างเซน...เรียบเรียงโดย นันทมุนี
เขียนโดย Ged

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 12:20:29 »




ชาโดะ (Chado)

ชาโดะ (Chado) หมายถึง วิถีแห่งชา หรือ The Way of Tea ความหมายนี้มีความลึกซึ้งยิ่งกว่าคำว่า 'พิธีชงชา' อย่างที่เคยเข้าใจกัน การดื่มชาเป็นวัฒนธรรมของชาวจีน แต่ 'วิถีแห่งชา' เป็นแนวคิดที่ชาวญี่ปุ่นนำวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนมาพัฒนาเป็นศิลปะชั้นสูงแขนงหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเชื่อมโยงกับปรัชญานิกาย เซน (การเข้ามาสมาธิเพื่อให้หลุดพ้นจากอัตตา)

นับแต่อดีตจนถึงศตวรรษที่ 12 นิกายเซนในประเทศจีนมีความเจริญรุ่งเรืองมากก่อนถูกมองโกลรุกรานและทำให้นิกายเซนเสื่อมสลายไป ช่วงที่นิกายเซนรุ่งเรืองในจีนมีภิกษุรูปหนึ่งจากญี่ปุ่นนาม เอเซอิ (Eisai) เดินทางไปร่ำเรียนเกี่ยวกับนิกายเซน และนำปรัชญานิกายเซนกลับมาปฏิบัติที่ญี่ปุ่น และเป็นผู้ซึ่งทำให้นิกายเซนรุ่งเรืองในญี่ปุ่น กลายเป็นต้นแบบศิลปะแขนงต่างๆ ในวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นสืบทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น ภาพวาดหมึกญี่ปุ่น (Sesshu’s ink painting) ภาพที่มีพลังซ่อนอยู่เบื้องหลังเส้นสายลายหมึกที่ดูสงบนิ่ง กลอนไฮกุ (Haiku Poet) บทกวีที่ใช้คำเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ละครโนะ (Noh Drama) การแสดงที่ไม่ใช้คำพูด แต่มีพลังอยู่ในท่วงท่าการแสดงที่เคลื่อนไหว สวนสไตล์เซน (Zen Garden) สวนที่ดูเรียบง่ายสมถะ สื่อถึงธรรมชาติของจักรวาล ให้ผู้ชมใช้จินตนาการด้วยตนเอง เป็นอาทิ

นอกจากนำนิกายเซนกลับมา ภิกษุเอเซอิยังนำ เมล็ดชา กลับไปปลูกที่ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกด้วย รวมทั้งเป็นผู้แนะนำวิธีการเตรียม ผงชา และเขียนตำราชื่อว่า คิซซา โยโจกิ (Kissa Yojoki) มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่เห็นอย่างชัดเจนคือ ประเพณีการดื่มชา ซึ่งเริ่มจากพระสงฆ์ลัทธิเซนและเผยแพร่ไปยังชนชั้นขุนนาง นักรบซามุไร และพ่อค้าที่มีฐานะร่ำรวย

โดยเฉพาะซามุไร-ซึ่งถือเป็นชนชั้นสูงในญี่ปุ่น-ก่อนออกรบหรือออกทำหน้าที่มักต้องการสมาธิสูงสุดและสร้างความนิ่งให้กับตนเอง ซามุไรจึงแสวงหาอาจารย์ชงชาประจำตัว
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 12:31:52 »


 


ในบรรดา อาจารย์ชงชา (Tea Master) ทั้งหมด ปรากฏว่า เซน ริคิว (Sen Rikyu) ในศตวรรษที่ 16 ประสบความสำเร็จมากที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุด ไม่ว่าด้านเนื้อหา วิธีชงชา ตลอดจนวิธีการดื่มชา

วัฒนธรรมการชงชาของ เซน ริคิว ไม่เพียงแต่เน้นการเสิร์ฟชาที่ถูกวิธีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านจิตวิญญาณแห่งศิลปะและหัวใจปรัชญาแห่งลัทธิเซน จนได้รับการขนานนามว่า ชาโด (Chado) หรือวิถีแห่งชานั่นเอง

หลังจบการบรรยาย ฟูมิโกะ บุย ในเครื่องแต่งกายชุดกิโมโนงามสง่า สาธิตวิถีแห่งชาด้วยกิริยานุ่มนวล สงบนิ่ง แต่ดูมั่นคงในทุกท่วงท่า

เริ่มจากการใช้น้ำร้อนล้างถ้วยชา คลี่ผ้าออกเช็ดทำความสะอาดถ้วยชาให้แห้งรวมทั้งปากถ้วยชา พับผ้าเก็บอย่างมีระเบียบด้วยท่วงท่างดงาม

จากนั้นตักผงชาเขียว 2 ช้อน ใส่ลงในถ้วยชา

ใช้กระบวยตักน้ำร้อนใส่ลงไปในถ้วยเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งคืนกลับไปในกาน้ำร้อนเดิม เปรียบเสมือนการคืนสู่ธรรมชาติ แล้วจึงใช้ที่คนชาซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ คนอย่างแรงจนเกิดเป็นฟองขึ้นมา (ฟองช่วยลดความขมของชาได้) หลังจากนั้นก็เลื่อนถ้วยชาให้กับแขกที่มาเยือน

ตามธรรมเนียม เมื่อแขกผู้มาเยือนได้รับถ้วยชา ก็จะโค้งเพื่อเป็นการขอบคุณ จากนั้นยกถ้วยชาขึ้นด้วยมือขวา แล้วนำมาวางลงบนฝ่ามือด้านซ้ายและยกขึ้นเล็กน้อย เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ หมุนถ้วยชาตามเข็มนาฬิกาสองรอบ เพื่อแสดงว่าคุณจะไม่ดื่มชาทางด้านหน้าของถ้วยชา

หลังจากดื่มชาเสร็จ แขกผู้มาเยือนใช้นิ้วเช็ดขอบถ้วยชาที่มีรอยเปื้อนของชาออกให้หมด แล้วก็เช็ดนิ้วมือลงบนกระดาษที่รองขนม หมุนถ้วยชาทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้ด้านหน้าของถ้วยหันเข้าหาตัว วางถ้วยชาด้วยมือขวาลงบนพื้น และชื่นชมความงามของถ้วยชา แล้วจึงจะยกถ้วยชาวางบนมือซ้ายและหมุนถ้วยชาตามเข็มนาฬิกาสองครั้ง แล้วคืนถ้วยชากลับไปให้เจ้าของบ้าน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 12:43:28 »



ระหว่างการปฏิบัติวิถีแห่งชา บรรยากาศเต็มไปด้วยความสงบนิ่ง อากัปกิริยาเป็นไปตามขั้นตอนที่เนิบช้าไม่ร้อนรน ดูมีสมาธิ สนทนากันด้วยเสียงแผ่วเบาด้วยหัวข้อสนทนาที่ไม่นินทาว่าร้ายใคร พูดคุยแต่เรื่องดีๆ มีศีลธรรม

วิถีแห่งชานี้เป็นไปตามหลักใหญ่ๆ ของการสร้างสุนทรีย์แห่งชาโดะของ เซน ริคิว ที่ให้คำนึงถึงคำ 4 คำดังนี้คือ

Wa (วา) ความกลมกลืน หรือ harmony ระหว่างเจ้าของบ้านกับแขกผู้มาเยือน กลมกลืนกันอย่างเป็นธรรมชาติ

Kei (เค) ความเคารพ หรือ respect หมายถึงการให้เกียรติกันระหว่างเจ้าบ้าน แขกผู้มาเยือน ไปจนถึงเครื่องใช้ไม้สอยที่ใช้ในการชงชา (ความสวยงามและความสะอาด)

Sei (เซ) ความบริสุทธิ์ หรือ purity หมายถึงการทำจิตใจให้บริสุทธิ์

Jaku (จาคุ) ความสงบ หรือ tranquility ความสงบในจิตใจ

องค์ประกอบของ 'วิถีแห่งชา' รูปแบบดั้งเดิมอีกประการคือ ห้องชงชา ในอดีตสร้างขึ้นแบบเรียบง่ายที่สุด โดยมีขนาด 9 x 9 ฟุต หรือมีขนาดที่ปูด้วยเสื่อตาตามิ (tatami) จำนวนสี่ผืนครึ่ง ประตูทางเข้าห้องชงชามีความสูงเพียง 2 ฟุตเท่านั้น ดังนั้นทุกคนก่อนเข้าห้องจะต้องก้มตัวและเพื่อที่จะเข้าประตู ซึ่งแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฐานะเช่นไร พอเข้าไปในห้องชงชานี้แล้วทุกคนก็จะเท่าเทียมกันหมด

ในห้องชงชาโบราณมักตกแต่งด้วยคำสอนที่เขียนเป็นที่เป็น ตัวอักษร (Calligraphy) โดยปรมาจารย์ลัทธิเซน เช่นประโยคว่า

“ไม้สนจะเขียวตลอดปี ไม่ว่าจะอยู่ในฤดูไหนก็ตาม”

ซึ่งหมายความว่า “ความดีไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็ยังเป็นความดีตลอดกาล”

ภาพตัวอักษรที่ประดับในห้องชงชา ล้วนแฝงไว้ด้วยความหมายแห่งคุณธรรม ปรัชญา คำสอนหรือคติเตือนใจต่างๆ ทุกคนที่เข้าไปร่วมพิธีชงชาต้องแสดงความเคารพกับตัวอักษรเหล่านี้ก่อน ใกล้ๆ กับภาพตัวอักษรมักประดับดอกไม้ซึ่งวางไว้อย่างเรียบง่าย ส่วนใหญ่มักเด็ดมาจากสวนปักไว้ในแจกันเล็กๆ

สรุปแล้วหลักของ ชาโดะ ก็คือ การทำจิตใจให้สงบ บริสุทธิ์ กลมกลืนกับธรรมชาติ โดยมีธรรมชาติเป็นสื่อและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เพื่อแสวงหาความสงบทางด้านจิตใจ การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการสร้างความประทับใจที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้าของบ้านและแขกผู้มาเยือน ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของชาโดะหรือวิถีแห่งชา

ในการสาธิต 'วิถีแห่งชา' ครั้งนี้ ฟูมิโกะ บุย ได้ใช้ถ้วยชาที่เป็นเครื่องเบญจรงค์ของไทยร่วมกับถ้วยชาแบบญี่ปุ่น และกล่าวในการบรรยายช่วงหนึ่งว่า เครื่องถ้วยชาของไทยมีชื่อเสียงมากในหมู่อาจารย์ชงชาชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะ เครื่องสังคโลกสุโขทัย ที่ส่งไปขายที่ญี่ปุ่นโดยเรือสำเภาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 6 ในบรรดาเครื่องถ้วยจากหลายประเทศที่ทำการค้าขายกับญี่ปุ่นยุคนั้น

ถ้วยชาที่มีรูปทรง ไม่สมมาตร ขรุขระ หรือมี ความเบี่ยง ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับวิถีแห่งชา ยังคงนำมาใช้ได้เสมอ อาจารย์ชงชาในลัทธิเซนเชื่อว่า 'ในความไม่สมบูรณ์คือความสมบูรณ์แบบ' เพราะคือสิ่งที่ได้มาจากธรรมชาตินั่นเอง

นับจากเจ้าสำนัก เซน ริคิว อาจารย์ชงชาที่ก่อตั้ง ชาโดะ (วิถีแห่งชา) ขึ้นในศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันชาโดะในประเทศญี่ปุ่นได้สืบทอดถึงเจ้าสำนักรุ่นที่ 16 ชื่อ เซน โซชิทสุ ซาโบไซ (Sen Soshitsu Zabosai) โดยมีสมาคมพิธีซาอุระเซนเคะตันโกไกช่วยส่งเสริมและเผยแพร่วิถีแห่งชา (ชาโดะ) ให้เป็นที่รู้จักในประเทศไทย

วิถีแห่งชานี้สามารถจัดได้ทุกฤดูกาลและโอกาส เช่น พบปะเพื่อนใหม่ หรือโอกาสพิเศษต่างๆ ชาโดะเชื่อว่าการพานพบมิตรภาพที่แท้จริงเป็นความโชคดี อาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เกิดขึ้นไม่กี่ครั้งในชีวิต หรืออาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เพราะฉะนั้นทุกวินาทีที่ผ่านเข้ามาถือว่ามีค่ายิ่งนัก

เราจึงควรจะทำให้ดีที่สุด และให้มีคุณค่าแก่การจดจำ



 ลัลลา   : http://sushiwithtea.blogspot.com/2009/06/blog-post_3759.html

               

http://www.14kumpa.com/2010/09/chanoyu-japanese-tea-ceremony-1.html
ชาโนยุ ภาค 1 (กว่าจะเป็นพิธีชงชาญี่ปุ่น)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มกราคม 2554 09:49:16 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2553 13:50:19 »

http://i46.photobucket.com/albums/f112/thavee/17406488s9p.jpg
ต้นไผ่และน้ำชา
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2553 21:36:30 »

สุดยอดครับ

มันคือจิตวิญญาณ... !!
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2553 18:42:26 »


   

จีนบ้านเกิดของใบชา

ชาวจีนเป็นผู้พบต้นชารายแรกของโลก
มีหลักฐานว่า ต้นชาป่าที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของโลก
อยู่ที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

เล่ากันว่า ย้อนไปถึงเมื่อกว่า 5,000 ปีก่อน พระจักรพรรดิเอี๋ยนตี้ของจีน ผู้ซึ่งเป็นนักชิมยาสมุนไพรต่างๆ นับร้อยอย่าง วันหนึ่งโดนพิษ 72 อย่าง โชคดีที่ได้แก้พิษด้วยชาในที่สุด
สมัยราชวงศ์ซีโจวหรือโจวตะวันตก (ปี 1066-771 ก่อนคริสต์ศักราช) ได้เกิดธุรกิจชาขึ้น ซึ่งถือเป็นธุรกิจชาที่เก่าแก่ที่สุดของจีน สมัยพระเจ้าโจวอู่หวังนั้น นครรัฐต่างๆ ที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้เคยส่งใบชาเป็นบรรณาการ ไปให้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เวลานั้น ผู้คนรู้จักแต่เพียงนำชาไปเป็นอาหารประเภทผักเท่านั้ น ต่อมาในสมัยชุนชิวจั้นกั๋ว ผู้คนเริ่มรู้จักนำชาไปเป็นอาหารประเภทน้ำดื่ม ส่วนวิธีการเพาะปลูกต้นชา กรรมวิธีการแปรรูปใบชาและวิถีการชงชาก็ค่อยๆ นำไปเผยแพร่สู่เขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซีตอนกลางและต อนปลายตลอดจนเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น


                             

เมื่อเวลาเลยมาถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 206 ก่อนคริสต์ศักราช-ปีคริสต์ศักราช 220) การดื่มชาได้กลายมาเป็นประเพณีของชนชั้นปัญญาชนและชน ชั้นขุนนาง นับจากนั้นมาก็ได้ปรากฏเอกสาร/จดหมายเหตุเกี่ยวกับเรื่องประเพณีการดื่มชาขึ้น โดยฉบับที่มีประวัติเก่าแก่ที่สุดคือ กาพย์กลอนเรื่อง "ถงเยว์" ผู้แต่งคือ หวังเป่า กวีราชวงศ์ฮั่น

สมัยนั้นใบชาจากมณฑลเสฉวนเป็นบรรณาการจิ้มก้องถึงนครฉางอันพระราชธานี กลายเป็นเครื่องดื่มสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ชั้นสูง ในช่วงดังกล่าว มีการเปิด "เส้นทางแห่งใบชา" ในทางทะเลขึ้น คือทูตของพระเจ้าฮั่นอู่ตี้จะออกเดินทางโดยเรือจากมณฑลกวางตุ้ง นำของฝากต่างๆ ไปยังประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ในนั้นก็มีใบชาด้วย

ด้วยเหตุนี้ คำเรียก "ชา" ในประเทศต่างๆ ที่รับใบชาจากจีนจึงมีความเป็นมาจากคำเรียกชาตามภาษาฮกเกี้ยนของจีน และการดื่มชาในทั่วโลกล้วนมีแหล่งกำเนิดจากจีน
หนังสือทางประวัติศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวกับการผลิตชา และการดื่มชาที่เก่าแก่ที่สุดของจีนคือ เรื่อง "กว๋างเอี่ย" ของสมัยสามก๊ก ผู้แต่งคือ จังอี หนังสือดังกล่าวบันทึกไว้ว่า จะนำใบชาไปทำเป็นรูปเปี๊ยะ ป่นให้ละเอียด แล้วนำใส่ลงเครื่องเคลือบ ราดน้ำร้อนที่ต้มไว้ และปรุงรสด้วยต้นหอมและขิงอีกที นอกจากนี้ หนังสือดังกล่าวยังบอกให้ผู้คนรู้ถึงสรรพคุณของชาว่า ใบชามีสรรพคุณในการ "แก้พิษสุราและแก้ง่วงนอน"

ส่วนหนังสือเรื่อง "ทฤษฏีว่าด้วยอาหารการกิน" โดยฮว่าโถว (Hua Tuo) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า "การดื่มชาขมเป็นเวลานานจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดการไตร่ตรอง" จากนี้สามารถเห็นได้ว่า การดื่มชา
ของผู้คนในสมัยนั้นยังให้ความสนใจกับคุณค่า ด้านความเป็นยาของใบชาอีกด้วย
เริ่มตั้งแต่สมัยซีจิ้น (ปีคริสต์ศักราช 265-317) การดื่มชาพร้อมกับการพูดคุยได้กลายมาเป็นเรื่องแฟชั่น กระทั่งเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตใจงดงามและมีคุณธรรมสูงส่ง ส่วนการรับรองแขกด้วยชาและผลไม้
ก็กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความเรียบง่ายและความไม่สุรุ่ยสุร่าย


สมัยหนันเป่ย์เฉา (ปีคริสต์ศักราช 420-589) พระเจ้าฉีอู่ตี้ได้เปิด "เส้นทางแห่งใบชา" ในทางบกขึ้น โดยนักธุรกิจตุรกีในสมัยนั้นจะนำใบชา สิ่งทอและเครื่องเคลือบจากจีนขนส่งไปยังตุรกีโดยทางบก แล้วค่อยนำไปสู่ดินแดนอื่นๆ ต่อ เช่น เปอร์เซียและอาหรับ เป็นต้น




 ยิ้ม  http://203.144.244.195/showthread.php?t=65102&page=108
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
บันทึกการเข้า
AMM
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 07 กันยายน 2554 12:31:46 »

กว่าจะได้กินชา
กินเสร็จ ก็คือเลยไม่ได้อีก
พิธี เยอะแท้ 

ตักน้ำในโอ่งบ้านเรากินเร่ย ง่ายกว่าเยอะอ่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตถตาหน้าเชิงตะกอน
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 6 7004 กระทู้ล่าสุด 10 พฤษภาคม 2553 16:49:26
โดย เงาฝัน
ถ้าท้อเป็นเพียงถ่าน ถ้าผ่านก็คือ เพชร
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 2 3035 กระทู้ล่าสุด 10 กรกฎาคม 2553 08:11:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
ทำชีวิตให้เป็นสุข ด้วยพยัญชนะ ก - ฮ...
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 0 2299 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2553 07:48:08
โดย เงาฝัน
ห้องน้ำสาธารณะ ใจไม่ถึงเข้าไม่ได้
สุขใจ ไปรษณีย์
หมีงงในพงหญ้า 6 4759 กระทู้ล่าสุด 02 มีนาคม 2554 19:03:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
การรดน้ำมนต์ของท่านเจ้าคุณนรฯ
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
เงาฝัน 5 5936 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2553 18:01:07
โดย หมีงงในพงหญ้า
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.53 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 เมษายน 2567 17:30:27