[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 30 กันยายน 2559 12:35:19



หัวข้อ: "กระจกหกด้าน" ตอน "พระพุทธปฏิมา ๕ พี่น้อง" (พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหาริย์)
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 30 กันยายน 2559 12:35:19
https://www.youtube.com/v/r4ZCrl6JWd8

จาก https://www.youtube.com/user/krajokhokdan/videos (https://www.youtube.com/user/krajokhokdan/videos)

(https://lh3.googleusercontent.com/-ACzHMOMhgSc/VVDeIyBqmXI/AAAAAAAACD4/26p2waEv02E/w530-h397-p-rw/profit153.jpg)

พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหาริย์ เล่าขานตำนานหลวงพ่อลอยน้ำ 5 พี่น้อง

มีตำนานกล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน บวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมาก ได้พร้อมใจกันตั้งสัจจะอธิษฐานว่า

“เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน”


ครั้นพระอริยบุคคลทั้งห้าองค์นี้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ มีความปรารถนาจะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้คนทางเมืองใต้ จึงพากันแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้พระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำสายหลักของภาคกลางทั้ง 5 สาย

ชาวบ้านชาวเมืองตามริมฝั่งแม่น้ำเห็นพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาก็พากันเลื่อมใส จึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่งและอาราธนาให้ขึ้นสถิตอยู่ตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ โดยพระพุทธรูปองค์แรก ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง แล้วขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เรียกว่า “หลวงพ่อโสธร” พระพุทธรูปองค์ที่สอง ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” พระพุทธรูปองค์ที่สาม ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เรียกว่า “หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปองค์ที่สี่ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เรียกว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” และพระพุทธรูปองค์ที่ห้า ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เรียกว่า “หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา”

ในขณะที่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง 5 ลอยน้ำมานี้ ก็เพราะเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หล่อจากองค์พระพุทธรูป ชาวบ้านเองก็ต้องการจะรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงเอาปูนบ้าง รักดำบ้าง ไปพอกไว้ที่องค์พระเพื่อให้ดูไม่สวยงามและปกปิดความมีค่าไว้จากข้าศึก แต่เมื่อไม่อาจปกป้องได้ไหวจึงขนย้ายพระพุทธรูปสำคัญลงแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ำเพื่อไม่ให้ข้าศึกทำลาย ด้วยน้ำหนักขององค์พระ เมื่อวางพระลงบนแพไม้ไผ่จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยมาตามน้ำ จนผู้ที่พบเห็น ถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่น้ำหนักมากจะสามารถจะลอยน้ำได้

พระพุทธรูปทั้ง 5 องค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด

เรื่องราวความเป็นมาและปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูปแต่ละองค์มีดังต่อไปนี้

มีต่อ >>>>> - ติดตามต่อ ได้ที่ : http://www.gejisiam.com/shop/chai/news-226#sthash.wVFD5OL0.dpuf (http://www.gejisiam.com/shop/chai/news-226#sthash.wVFD5OL0.dpuf)


(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_111_258.jpg)

ตำนานของ “หลวงพ่อโสธร”
แห่งแม่น้ำบางปะกง
วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

ประวัติความเป็นมา


ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรหรือหลวงพ่อพุทธโสธรนี้ มีผู้เล่าสืบกันมาหลายกระแส บ้างว่า ท่านมีพี่น้องที่ลอยน้ำมาพร้อมกัน 3 องค์ คือ หลวงพ่อบ้านแหลม หลวงพ่อโตบางพลี และหลวงพ่อโสธร ส่วนอีกตำนานหนึ่งบอกว่า ท่านเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อบ้านแหลมและหลวงพ่อวัดไร่ขิง และก็ยังมีนิยายปรัมปราที่เล่าสืบมาว่า ท่านลอยน้ำมาพร้อมกับหลวงพ่อบ้านแหลม และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา

อย่างไรก็ตาม ตำนานที่เล่าขานกันมานี้ก็มีความคล้ายคลึงกันว่า พระพุทธรูป 3 องค์พี่น้องลอยน้ำมาจากทางเมืองเหนือ จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยาตรงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “สามเสน” จึงได้แสดงอภินิหารลอยให้ชาวเมืองเห็น ชาวบ้านจึงได้ทำการฉุดพระพุทธรูปทั้งสามองค์ โดยใช้เวลา 3 วัน 3 คืนก็ฉุดไม่ขึ้น กล่าวกันว่าครั้งนั้นใช้ผู้คนเป็นแสนๆ ก็ไม่สำเร็จ ตำบลนั้นจึงได้ชื่อว่า “สามแสน” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “สามเสน” พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ก็จมน้ำลง

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_1_138.jpg)
หลวงพ่อโสธร (จำลอง)

จากนั้นก็ลอยล่องเข้าสู่คลองพระโขนงลัดเลาะไปสู่แม่น้ำบางปะกง และได้ลอยผ่านคลอง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า คลองชักพระ พระพุทธรูปได้แสดงอภินิหารลอยขึ้นให้ชาวบ้านเห็น ชาวบ้านจึงพากันมาชักพระขึ้นจากน้ำ แต่ไม่สำเร็จ จึงเรียกคลองนี้ว่า “คลองชักพระ” แล้วทั้งสามองค์ก็ได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปทางหัววัดอีก สถานที่นั้นจึงเรียกว่า “วัดสามพระทวน” และเรียกเพี้ยนเป็น “วัดสัมปทวน” ทั้งสามองค์ได้ลอยตามแม่น้ำบางปะกงเลยผ่านหน้าวัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธร และแสดงอภินิหารให้ชาวบ้านเห็นอีก ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดแต่ไม่ขึ้น จึงเรียกหมู่บ้านและคลองนั้นว่า “บางพระ” มาจนทุกวันนี้ พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ลอยทวนน้ำวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรงกับกองพันทหารช่างที่ 2 ณ สถานที่ลอยวนอยู่นั้นเรียกว่า “แหลมหัววน”

อัญเชิญหลวงพ่อโสธรขึ้นจากน้ำ

หลังจากนั้นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง คือ หลวงพ่อโสธร ได้แสดงอภินิหารลอยมาขึ้นที่หน้าวัดโสธรวราราม ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า วัดหงษ์ ชาวบ้านช่วยกันยกและฉุดองค์พระพุทธรูปขึ้นจากน้ำ แต่ไม่สามารถนำขึ้นได้ จนกระทั่งมีอาจารย์ผู้หนึ่งรู้วิธีอัญเชิญ โดยตั้งพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์คล้องกับพระหัตถ์ จนสามารถอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานในพระวิหารได้สำเร็จ ในราวปีพุทธศักราช 2313

ในการนี้จึงจัดให้มีการสมโภชฉลององค์หลวงพ่อ หลังจากท่านได้ประทับที่วัดหงส์เรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านยังไม่รู้ว่าจะขนานนามชื่อของหลวงพ่อว่าอย่างไร แต่เข้าใจว่าท่านคงต้องการชื่อเดิมของท่าน คือ “พระศรี” เพราะเป็นชื่อดั้งเดิมขณะประทับที่วัดศรีเมือง ทางภาคเหนือ ประกอบกับมีเหตุการณ์หลายอย่างที่ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าหลวงพ่อมีความประสงค์จะใช้นามว่า “หลวงพ่อพุทธศรีโสธร” เพราะได้เกิดพายุพัดเอาหงษ์ที่ตั้งอยู่บนยอดเสาหักลงมา ชาวบ้านจึงเปลี่ยนหงษ์เป็นเสาธง แล้วเรียกชื่อ วัดหงษ์ เป็น วัดเสาธง

ต่อมาไม่นานก็เกิดพายุพัดเสาธงหักทอนลงอีก ชาวบ้านจึงเรียก วัดเสาธง ว่า “วัดเสาธงทอน” ภายหลังเห็นว่าไม่ไพเราะ จึงได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดโสธร” และเรียกนามหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อโสธร” ต่อมาวัดโสธรได้รับการเสนอแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” และขนานนามหลวงพ่ออย่างเป็นทางการว่า “หลวงพ่อพุทธโสธร”

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_6_153.jpg)

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_137.jpg)

ปกปิดองค์จริง

องค์เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้างเพียงศอกเศษ มีพุทธลักษณะที่งดงามมาก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยลานช้าง เพราะดูจากพุทธลักษณะซึ่งเป็นที่นิยมสร้างกันมากในสมัยนั้น แต่เนื่องจากพระสงฆ์ในวัดขณะนั้นพิจารณาเห็นว่าอาจจะไม่ปลอดภัยในภายภาคหน้า จึงได้พอกปูนเสริมให้ใหญ่เพื่อหุ้มองค์จริงไว้ภายใน จนมีหน้าตักกว้างประมาณสามศอกครึ่ง อย่างที่เห็นในปัจจุบัน แล้วจึงลงรักปิดทองให้สวยงาม และเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา

ความศักดิ์สิทธิ์

ความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อโสธร เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนมากมายที่มีจิตศรัทธา และเชื่อมั่นในบุญกุศลที่หลั่งไหลมากราบไหว้สักการบูชา และขอพรบารมีจากหลวงพ่อ จนเป็นที่กล่าวขานบอกเล่าต่อๆ กันมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางค้าขาย ทางคงกระพัน ทางแคล้วคลาด ทางรักษาโรค โดยใช้ขี้ธูป ดอกไม้บูชาที่แห้งเหี่ยวแล้ว และอธิษฐานหยดเทียน ขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อ มาทำยา

ดังมีเรื่องเล่าว่า สมัยหนึ่งชาวบ้านโสธรเกิดทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ฝนก็แล้ง จนเกิดโรคระบาด ทั้งคนและสัตว์ล้มตายไปมาก มีครอบครัวหนึ่งป่วยเป็นไข้ทรพิษ เมื่อหมดทางรักษาก็ไปนมัสการอธิษฐานขอความคุ้มครองจากหลวงพ่อ และนำเอาขี้ธูปและดอกไม้แห้งที่บูชาหลวงพ่อ และหยดน้ำตาเทียนที่ขอน้ำมนต์ แล้วเอามาต้มกิน ปรากฏว่าโรคหาย กิตติศัพท์หลวงพ่อจึงได้โด่งดังไปทั่ว ถึงกับมีการสมโภชและแก้บนกันตราบทุกวันนี้

แม้กระทั่งชาวต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น ก็มากราบไหว้บูชาบนบานไม่ขาดสาย และบางรายมาแก้บนเช่นเดียวกับคนไทยอีกด้วย การแก้บนหลวงพ่อโสธรที่นิยมกัน คือ ละครชาตรี ไข่ต้ม ผลไม้ และพวงมาลัย

(http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph_10_421.jpg)

เรื่องที่ห้ามบนบาน

มีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่สืบมาว่า เรื่องที่ห้ามบนบานกับหลวงพ่อโสธร คือ เรื่องขอไม่ให้เป็นทหาร กับเรื่องขอบุตร ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อท่านชอบให้คนเป็นทหารเพื่อจะได้ปกปักรักษาบ้านเมือง และคนที่เป็นทหารก็เป็นเสมือนลูกหลานของท่าน ดังนั้นใครที่มาขอไม่ให้โดนเกณฑ์ทหาร เป็นต้องถูกเกณฑ์ทุกราย ! และคนที่มาขอบุตร ก็มักจะได้บุตรที่มีอาการไม่ครบ 32 เนื่องจากว่าท่านได้ส่งลูกหลานซึ่งเป็นทหารที่บาดเจ็บล้มตายมาให้นั่นเอง ! เรื่องนี้เท็จจริงประการใดคงต้องพิจารณากันเอาเอง

งานนมัสการหลวงพ่อโสธร

ในแต่ละวันจะมีผู้คนหลั่งไหลไปนมัสการกันอย่างเนืองแน่น โดยเฉพาะในงานนมัสการประจำปีหลวงพ่อโสธร ซึ่งมีปีละ 3 ครั้ง คือ ครั้งแรก ในกลางเดือนห้า ซึ่งถือเป็นงานวันเกิดหลวงพ่อโสธร มีงานฉลอง 3 วัน 3 คืน ครั้งที่สอง ในงานกลางเดือน 12 มีงาน 5 วัน 5 คืน และครั้งที่สาม ในเทศกาลตรุษจีน

มีต่อ >>>>> ตำนานของ “หลวงพ่อบ้านแหลม”