[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 08:04:21 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เสวนา 'แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ใคร' ชี้เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้ต้นทุนสูง  (อ่าน 82 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 ธันวาคม 2566 14:19:06 »

เสวนา 'แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ใคร' ชี้เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้ต้นทุนสูง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-12-09 13:49</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เสวนา 'เปิดประเด็นท้าทายอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่แห่งปี "Land Bridge" 1 ล้านล้าน ตอบโจทย์ใคร?' เจ้าของเรือระบุเรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งสินค้าในโครงการมีต้นทุนขนส่งสินค้าสูง สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เผยผู้ส่งออกส่วนใหญ่จะใช้ท่าเรือซึ่งอยู่ใกล้ที่ตั้งของตนเองเพื่อคุมค่าใช้จ่าย</p>
<p>เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่าเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ร่วมกับวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจกรรม SPU Supply Chain Roundtable ครั้งที่ 176 โดยเป็นการเสวนาภายใต้หัวข้อ "เปิดประเด็นท้าทายอภิมหาโปรเจกต์ใหญ่แห่งปี "Land Bridge" 1 ล้านล้าน ตอบโจทย์ใคร? เค้นทุกความจริง ในเวที SPU Roundtable on Stage" ณ ห้องออดิทอเรียม 2 ชั้น 14 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม</p>
<p>ร.ศ.ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ อาจารย์พิเศษ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย และอันดามันของประเทศไทย ซึ่งศึกษาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนา 4 รูปแบบ</p>
<p>ประกอบด้วย ทางเลือก 1. การพัฒนาพื้นที่การผลิตและการค้าตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย และอันดามันภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) โดยไม่มีการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างสองฝั่งทะเล</p>
<p>2. การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจทางบกเส้นทางใหม่ (Landbridge)</p>
<p>3. การพัฒนาขุดคลองลัดหรือคลองไทย</p>
<p>4. คือการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจทางบกตามแนวเส้นทาง GMS Southern Economic Corridor (เส้นทางถนนเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างกาญจนบุรี และเขตตะนาวศรีของเมียนมา กับทะเลฝั่งอันดามันผ่านท่าเรือทวาย</p>
<p>โดยข้อสรุปจากการศึกษาพบว่าทางเลือก 2 หรือ โครงการ Landbridge ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 3 ได้คะแนนคิดเป็น 19.3% เนื่องจากเมื่อมีการประเมินปริมาณความต้องการขนส่งสินค้า (Demand Side) จากรูปแบบการเดินเรือในช่องแคบมะละกา ได้พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่อาจมาใช้โครงการแลนด์บริดจ์จะมีเฉพาะเรือบรรทุกสินค้าตู้ เพราะเป็นเรือที่มีการเดินเรือในรูปแบบที่มีการถ่ายลำระหว่างเรือในเส้นทางเดินเรือหลักกับเรือในเส้นทางเดินเรือรอง</p>
<p>ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า 1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มารองรับสินค้าต่างประเทศที่จะมาถ่ายลำ ผ่านโครงการ “ไม่คุ้มค่าในการลงทุนทั้งทางเศรษฐกิจและการเงิน” 2. ควรปรับ Business Model โดยลดขนาดโครงการลงเหลือเพียงบทบาท สนับสนุนการผลิตและการค้าของไทย ภายใต้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดขนาดโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนไปได้อย่างมาก ลดความเสี่ยงจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบต่อชุมชนและการเวนคืน</p>
<p>ด้านนายพิเศษ ฤทธาภิรมย์ ประธานสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ กล่าวว่า  เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในเส้นทางเป้าหมายของโครงการโดยส่วนใหญ่มีขนาดระหว่าง 7,500-25,000 ทีอียู มีความยาวระหว่าง 300 ถึง 400 เมตร มีเพียงเส้นทางการขนส่งระหว่างเอเชีย กับปลายทางคือ อินเดีย-ตะวันออกกลาง-ยุโรป เท่านั้นที่อาจมาใช้บริการแลนด์บริดจ์ อย่างไรก็ตาม การใช้งานแลนด์บริดจ์ของเรือขนาดใหญ่จะมีต้นทุนค่าใช้จ่าย เวลา และต้องใช้จำนวนเรือเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนขนส่งสินค้า</p>
<p>โดยประเมินว่าการประหยัดเวลาเดินทางของเรือ 2-5 วัน ตามที่ปรึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้ประเมิน ไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และยังมีข้อสงสัยว่าสมมติฐานการปฏิบัติงานแบบไร้รอยต่อของโครงการแลนด์บริดจ์จะสามารถทำได้จริงหรือไม่</p>
<p> เนื่องจากประเมินแล้วพบว่าปริมาณตู้ที่ขนส่งโดยเรือขนาดใหญ่จะก่อให้เกิดปัญหาการจัดการลานตู้ในท่าเรือทั้งสองฝั่ง ทำให้เรืออาจเทียบท่าใช้เวลาในการขนถ่ายประมาณ 7-10 วัน ในแต่ละฝั่ง สำหรับการยกตู้ทั้งหมดขึ้นฝั่ง และยกตู้ลงเรือสำหรับขนส่งเที่ยวกลับ ซึ่งจะทำให้สายเรือต้องเพิ่มเรือในเส้นทางอีกอย่างน้อย 1.5 ลำขึ้นไป จากจำนวนเรือที่ใช้เดินเรือในเส้นทางเอเชีย-ยุโรปผ่านช่องแคบมะละกา และในด้านการจัดการโลจิสติกส์บนฝั่ง ยังต้องบริหารเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางบกสำหรับการเคลื่อนย้ายตู้จำนวนมากระหว่างท่าเรือทั้งสองฝั่ง ซึ่งต้องใช้รถหัวลากและรถไฟจำนวนมากในการเคลื่อนย้ายและจัดเรียงลำดับตู้ให้เหมาะสม</p>
<p>นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  สรท.สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคใต้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลก เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ โดยไม่ทำลายพื้นฐานเศรษฐกิจเดิม รวมถึงสนับสนุนการลงทุนใหม่ของอุตสาหกรรมดั้งเดิมในพื้นที่ โดยให้สิทธิประโยชน์เดียวกับผู้ลงทุนใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในพื้นที่</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่จะเน้นการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าตามความต้องการของตลาด เพื่อทดแทนสินค้าเดิม มิใช่การลงทุนเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนเพิ่ม สอดคล้องกับรายงาน World Investment Report 2023 ซึ่งระบุว่า การลงทุนใหม่โดยส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งมิใช่ความต้องการส่วนเพิ่ม และมีแรงผลักดันการลงทุนจากการขยายตัวภาคบริการมากกว่าภาคการผลิตและอุตสาหกรรมพื้นฐาน</p>
<p>โดยผู้ส่งออกและผู้นำเข้า เน้นใช้บริการท่าเรือที่อยู่ใกล้กับสถานที่ตั้งของตนมากที่สุดเพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือและโรงงาน และลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งทางบก เพื่อตอบสนองมาตรการทางการค้า และเป้าหมาย Net Zero Carbon อย่างยั่งยืน</p>
<p>ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จะพิจารณาว่า “ท่าเรือแลนด์บริดจ์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการขนส่งสินค้า” โดยยังคงเลือกใช้ท่าเรือซึ่งอยู่ใกล้ที่ตั้งของตนเองมากที่สุด อาทิ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ เป็นลำดับแรก เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่โครงการแลนด์บริดจ์ แต่อยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบังมากกว่า และหากปริมาณสินค้าในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้มีน้อย จะทำให้สายการเดินเรือเลือกใช้เรือขนาดเล็กและความถี่ต่ำ อาจมีผลให้ต้นทุนการขนส่งของสายเรือจากท่าเรือแลนด์บริดจ์สูงกว่าต้นทุนการขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังประเทศปลายทาง</p>
<p>ทั้งนี้ สรท.สนับสนุนการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานเดิม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ ท่าเรือสงขลา ท่าเรือระนอง เพื่อรองรับความต้องการส่งออก และนำเข้าของอุตสาหกรรมเดิมในพื้นที่ และอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ พร้อมทั้งเสนอประเด็นเร่งด่วน “ขอให้เร่งแก้ไขอุปสรรคต่อการถ่ายลำ” โดยดำเนินโครงการ Transshipment Sandbox ณ ท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อทดสอบความพร้อม และแนวปฏิบัติในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการถ่ายลำในภูมิภาค</p>
<p>รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือหลักของประเทศ” อาทิ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสงขลา เนื่องจากประเทศไทยควรใช้ระบบการขนส่งทางรางในการขนส่งจากแต่ละภาคไปยังท่าเรือหลัก แทนการขนส่งสินค้าทางถนนซึ่งปล่อยปริมาณคาร์บอนสูงกว่า และมีปัญหาความแออัดในการจราจรทางถนน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107169
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': เสนอบทบาทไทย-อาเซียน แก้ไขวิกฤตการเมืองเมียนมา (1)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 133 กระทู้ล่าสุด 24 สิงหาคม 2566 03:50:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 107 กระทู้ล่าสุด 27 สิงหาคม 2566 21:16:01
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'สันติภาพเมียนมา': ถึงเวลาไทย-อาเซียน สร้างอำนาจต่อรองกับกองทัพพม่า (2)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 78 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 00:16:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'การบ้าน ครม.เศรษฐา 1' แนะสร้างสมดุล 'เสรีนิยม-รัฐสวัสดิการ-อนุรักษ์นิย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 95 กระทู้ล่าสุด 03 กันยายน 2566 17:50:32
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา ร่าง พรบ.นิรโทษฯ ประชาชน เปิดพื้นที่พูดคุยนิรโทษฯ ม.112 ไม่รวมก็ไม่ได้แก้ไข
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 59 กระทู้ล่าสุด 14 ธันวาคม 2566 22:36:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.221 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 มีนาคม 2567 21:18:59