[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 22:44:38 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานโจรสลัดตะรุเตา  (อ่าน 4104 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5495


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2557 14:07:32 »

.



โจรสลัดตะรุเตา

สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ (พ.ศ.๒๕๒๙ สถาบันทักษิณคดีศึกษา) เล่าเรื่องราวเกาะตะรุเตาเอาไว้ตอนหนึ่งว่า หลังจากรัฐบาลประกาศตั้งเกาะตะรุเตาเป็นที่กักกันนักโทษ เมื่อปี ๒๔๘๒ จนกระทั่งถูกสั่งปิด เมื่อราวปี ๒๔๙๐ มีนักโทษเกือบหมื่นคน

นักโทษแบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือนักโทษทั่วไป กับนักโทษการเมือง

นักโทษการเมือง อดีตเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ เป็นเจ้าคนนายคน มีความฉลาด มีการศึกษาสูง ส่วนนักโทษทั่วไป มีการศึกษาต่ำ จึงต้องแยกกัน นักโทษการเมืองถูกกักกันอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุดัง อยู่ห่างจากเกาะลังกาวีของมาเลเซีย ราว ๔ กม.

ส่วนนักโทษทั่วไป ถูกกักกันอยู่บริเวณอ่าวตาโละวาว ห่างจากอ่าวตะโละอุดังไปทางเหนือ

ที่กักกันนักโทษการเมือง เป็นที่รวมของคนเก่ง เมื่อเข้าภาวะคับขันแร้นแค้น ก็ใช้วิชาความสามารถ ปลูกผักหญ้าและพืชผลเลี้ยงชีวิตรอด

ระยะแรกที่เปิดเกาะตะรุเตา นักโทษต้องบุกเบิกหักร้างถางพง สร้างที่พักอาศัยกันเอง ภัยธรรมชาติที่น่ากลัวคือไข้มาลาเรีย นับแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๔ อาหารการกินขาดแคลน ความเป็นอยู่ของนักโทษเริ่มเลวลง

ผู้คุมและพัศดีบางคนก็ซ้ำเติม ด้วยการกักตุนอาหาร ยา สิ่งของเครื่องใช้ สิ่งที่จำเป็น เช่น น้ำมันจุดตะเกียง นักโทษต้องมีเงินซื้อ นักโทษต้องจับหิ่งห้อยใส่ขวดแก้วสีขาว อาศัยแสงหิ่งห้อยเป็นแสงไฟ

สภาพบนเกาะเหมือนตกนรกทั้งเป็น เป็นเหตุให้นักโทษหลายคนพยายามหนี หนีรอดเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ถูกตามจับได้ ถูกฆ่าตาย หลายคนจมทะเลตาย ผู้คุมแทงบัญชีง่ายๆ ตายเพราะเป็นไข้มาลาเรีย

หลังเกิดเรื่องใหญ่ นักโทษการเมือง นำโดยพระยาศราภัยพิพัฒน์ กับพวกอีก ๔ คน หนีรอดไปเกาะลังกาวี นักโทษที่เหลือก็ถูกกดดันให้ลำบากมากขึ้น นักโทษอีกกลุ่มหนึ่ง ใช้ทางเลือก ปล้นเรือสินค้าที่ไปมาระหว่างภูเก็ต กันตัง ปีนัง พม่า

ข่าวการปล้นเข้าหูผู้คุมพัศดี นักโทษก็ใช้วิธีแบ่งของที่ปล้นให้ สินค้าที่ปล้นถูกเอาไปขายบนฝั่งจังหวัดสตูล โดยผู้ใหญ่ระดับกองบัญชาการ และผู้ว่าราชการจังหวัดรู้เห็นเป็นใจ กลายเป็นขบวนการใหญ่

วิธีปล้นของโจรสลัดตะรุเตา เล่ากันว่า เมื่อเจอเรือสินค้า ส่วนใหญ่เป็นเรือพ่อค้าจีน โจรจะตะโกน “โละผ่าง” ซึ่งแปลว่า ลดใบ เมื่อบุกขึ้นเรือ ขนถ่ายสินค้าได้แล้ว หากเจ้าของเรือต่อสู้ ก็แตกหัก ฆ่ากันตายไปข้างหนึ่ง

ส่วนเรือก็ทำลายหลักฐาน ถ้าไม่เผาทิ้ง ก็จมลงทะเล

นักโทษปล้นเอาชีวิตรอด ฐานะของผู้คุมและพัศดีดีทันตาเห็น ขี่จักรยานยี่ห้อราเลย์กันทั้งเกาะ

เมื่อโจรสลัดตะรุเตา ปล้นแบบทำมาค้าคล่อง โจรก๊กอื่น โจรมลายู โจรเรือประมงชายฝั่ง ก็ฉวยโอกาสตาม สร้างความร่ำรวยอย่างรวดเร็ว เมืองสตูลยุคปี ๒๔๘๔-๒๔๘๗ ยุคโจรสลัดตะรุเตาครองเมือง เศรษฐกิจเฟื่องฟู

แต่บางคนมองเป็นยุคมืด บ้านเมืองไม่มีขื่อแป บ่อนการพนันชุกชุม

แต่เหตุที่โจรสลัดตะรุเตา ไม่ได้ปล้นแต่พ่อค้าเรือไทย แต่ปล้นฆ่าทั้งพ่อค้ามลายู พม่า กระทบกระเทือนไปถึงเศรษฐกิจมลายู สินค้าเครื่องอุปโภค บริโภคขาดแคลน จนต้องร้องเรียนรัฐบาลอังกฤษ อังกฤษส่งเรือรบมาคุ้มกัน ทั้งยังกดดันมาถึงรัฐบาลไทย

ทางการไทยทำอะไรไม่ถนัด สุดท้ายก็ยอมให้อังกฤษส่งทหารยกพลขึ้นบก กวาดล้างโจรสลัดตะรุเตาเอง

แผนการนี้รัฐบาลไทยร่วมด้วย ส่ง ดร.วิบูลย์ ธรรมวิทย์ ข้าหลวงตรวจการกรมราชทัณฑ์ เป็นผู้แทนไปร่วมประชุมวางแผนกับฝ่ายอังกฤษที่เกาะปีนัง โดยไม่แพร่งพรายให้ฝ่ายไทยได้รู้ แต่ข่าวก็รั่วเข้าหูคนระดับผู้บัญชาการจนได้ ก่อนถึงวันยกพลขึ้นบก...ก็มีคำสั่งให้ทำลายหลักฐานที่เป็นของกลางจากการปล้น ด้วยการเผาและทิ้งทะเล

วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ พลจัตวาเธอเรย์ นำเรือรบ ๒ ลำ ทหาร ๒๐๐ คน อาวุธครบมือ บุกขึ้นเกาะตะรุเตา โดยมีเครื่องบินหลายลำบินคุ้มกันอยู่บนท้องฟ้า ผลก็คือ ไม่มีการสู้รบเสียเลือดเนื้อ เพราะฝ่ายเกาะรู้ตัวล่วงหน้า

ทหารอังกฤษยิงปืนขู่ไม่กี่นัด ฝ่ายโจรสลัดก็ยอมให้ตรวจค้นและจับกุมโดยดี ทหารอังกฤษควบคุมเกาะตะรุเตา อยู่จนถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๘๙ จึงถอนทหารกลับมลายู

มีบันทึกว่าทหารอังกฤษจับ ขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์ พัศดี ผู้คุม นักโทษ และอดีตผู้ว่าฯคนหนึ่ง ไปส่งให้ นายแสวง ทิมทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ดำเนินคดี

การดำเนินคดีโจรสลัดตะรุเตา เป็นไปได้อย่างยากลำบาก เพราะไม่มีพยานกล้าให้การ จนต้องโอนคดีไปพิพากษาที่ศาลจังหวัดสงขลา มีการต่อสู้กันถึง ๓ ศาล ผลที่สุดศาลตัดสินให้ปล่อยอดีตผู้ว่าฯ จำคุกขุนอภิพัฒน์ ๑๕ ปี ส่วนพัศดี ผู้คุม และนักโทษ ถูกตัดสินลงโทษ ลดหลั่นกันไป

สำหรับนักโทษบนเกาะตะรุเตาที่เหลือ ถูกคำสั่งให้ย้ายไปฝากขังตามเรือนจำจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้

กรมราชทัณฑ์เองก็ยอมรับ เกาะตะรุเตามีปัญหามาก และเพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทกับต่างประเทศ รัฐบาลจึงสั่งปิดสถานกักกันเกาะตะรุเตา เมื่อปี ๒๔๙๐

ตำนานโจรสลัดตะรุเตา หรือที่เรียกภาษาชาวบ้านโจร “โละผ่าง” ก็ปิดลงตรงนี้เอง.






ตึกแดง





ข้อมูล : "โจรสลัดตะรุเตา"  โดย บาราย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
ภาพ : เว็บไซต์ postjung.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.284 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 22:12:38