[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 14:28:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศรัทธาทุกย่างก้าว บนทางยาว 80 กม. ของ ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมย์  (อ่าน 1819 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:51:01 »


 
เธอเป็นคนไทย จบการศึกษาสูงจากต่างประเทศ เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แต่เมื่อวันที่ 1 ถึง 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา เธอเดินทางไปทิเบต จัดวางสัมภาระที่จำเป็นในรถรุน(รถเข็น) มีกัลยาณมิตรชาวทิเบตช่วยรุนรถให้ ระหว่างที่เธอเดินเท้า ทุกๆ 3 ก้าวจะลงกราบโดยร่างกายทุกส่วนแนบสนิทกับผืนดิน ในลักษณาการที่เรียกว่า อัษฎางคประดิษฐ์ เริ่มต้นที่เมืองเนทัง มีจุดหมายปลายทางคือเมืองซัมเย่ ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึง 80 กิโลเมตรเศษ
 
การเดินเท้าและหมอบกราบนับหมื่นครั้ง บนเส้นทางโรยฝุ่น ใช้ชีวิตอย่าง ‘ค่ำที่ไหน นอนที่นั่น’ ไม่ใช่การพักค้างในโรงแรม แต่ปลูกกระโจมข้างทาง แม้ชุดที่สวมจะมอมแมม เรายังเห็นรอยยิ้มปีติบนใบหน้าเปื้อนดินและแดงก่ำด้วยแสงแดดของ เธอ ผ่านทางจอโทรทัศน์ในรายการ ‘เรื่องจริงผ่านจอ’
 
เธอคือ ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมย์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอกล่าวว่าการเดินทางครั้งนี้ “เป็นการทำสิ่งที่ดีที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิต”
 
แรงบันดาลใจอะไร ที่ทำให้ผู้หญิงไทยตัวเล็กๆ คนหนึ่ง กระทำในสิ่งที่หลายคนคิดว่า ยากลำบาก บางคนอาจไม่เข้าใจ ทำไมเธอต้องทำอย่างนั้น เราจะหอบคำถามไปตามรอยศรัทธาของเธอกันค่ะ
 
• จุดมุ่งหมายที่อาจารย์ตั้งใจไปเดินคืออะไรคะ
 
ไปจาริกแสวงบุญค่ะ เป็นการปฏิบัติธรรมแบบชาวทิเบตที่นับถือศาสนาพุทธวัชรยาน จริงๆ เราก็ปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว แต่การไปเดินเท้านี้เป็นครั้งแรก
 
• วัชรยานปฏิบัติต่างจากเถรวาทอย่างไรคะ
 
ต่างตรงที่วัชรยานสวดเป็นภาษาทิเบต แก่นแท้ก็ยังเป็นเถรวาทอยู่ คนที่เป็นวัชรยานก็ต้องเป็นเถรวาทด้วย แต่วัชรยานมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่บรรลุธรรมเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ทางทิเบต จะเรียกว่าการเป็นพระพุทธเจ้า คือการตรัสรู้ เมื่อเราหลุดพ้นแล้ว เราสามารถช่วยเหลือผู้อื่น ได้ดีขึ้น และการตรัสรู้ต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นไปได้คือภายในชาติเดียว สำนวนของ ทิเบตบอกว่า ภายในหน้าผากเดียว ทำไมถึงต้องเร็ว เพราะมีสัตว์มหาศาลในสังสารวัฏที่ต้อง การความช่วยเหลือจากเรา ถ้าเราตรัสรู้ได้ช้า เราก็ช่วยพวกเขาได้ช้า วัชรยานไม่จำเป็นต้องออกบวช บางคนเป็นนักบวช บางคนใช้ชีวิตแบบผู้ครองเรือน แต่จุดหมายของการครองเรือน ไม่ใช่เพื่อความสุขทางโลก แต่เป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เราจะสวดทุกวันว่าขอให้เราตรัสรู้ธรรมเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้ งหลาย
 
• อะไรทำให้อาจารย์สนใจปฏิบัติในแนวทางวัชรยานคะ
 
ตอนเรียนจบจากจุฬาฯใหม่ๆ มีโอกาสได้พบนักวิชาการชาวอังกฤษที่ศึกษาพุทธศาสนา แบบทิเบต อาจารย์ให้หนังสือพุทธทิเบตมาอ่าน ถือเป็นครั้งแรกที่ได้สัมผัส ต่อมาก็เรียกว่า เป็นบุญเลยนะคะที่ได้เดินทางไปหลายประเทศ เช่นอินเดีย เกาหลี อเมริกา อิสราเอล ไปเป็นตัวแทนยุวพุทธแบบเถรวาท เรียกว่าเป็นตัวแทนของพุทธไทย แล้วมีโอกาสได้รู้จักลามะสองท่านซึ่งเป็นตัวแทนพุทธทิเบต ทำให้เราเข้าใจแนวคิดแบบทิเบตมากขึ้น ต่อมาปี 1988 ไปเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา ได้เรียนทางทิเบตศึกษา ได้เรียนภาษา อ่านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ปี 1990 ได้ศึกษาชีวิตของชาวทิเบตในชุมชนผู้อพยพที่เนปาล มี โอกาสได้พบพระอาจารย์ดีๆ เหมือนว่าโอกาสหลายอย่างทำให้เราได้สัมผัสกับพุทธศาสนาแบบทิเบต มันค่อยๆ หล่อหลอมจิตใจเรา
 
• กลายเป็นความศรัทธา
 
ที่สำคัญคือได้เห็นตัวอย่างที่ดีค่ะ ปี 1995 ไปทำงานในทิเบต ได้เจอพระอาจารย์หลาย ท่านที่เป็นตัวอย่างดีงามของผู้ปฏิบัติธรรม คือทำงานเพื่อผู้อื่น จนกระทั่งปี 2000 พระ-อาจารย์ทิเบตท่านหนึ่งมาเมืองไทย ท่านขอให้เป็นล่ามเพราะเราพูดภาษาทิเบตได้ การเป็นล่าม ทำให้ได้สัมผัสกับธรรมะโดยตรงเพราะต้องไปพูดแทนพระอาจารย์ ต่อมาก็ได้ทำหน้าที่ล่าม ให้พระอาจารย์อีกหลายท่าน เรายิ่งซึมซับคำสอนต่างๆ จึงเริ่มปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ปี 2004 ก็ตั้งมูลนิธิพันดารา ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเราทำเพื่อวัชรยานเต็มตัว และทำงานช่วยเหลือคนทิเบตด้วย
 
• แรงบันดาลใจสำคัญนอกเหนือจากคำสอนคืออะไรคะ
 
ได้รู้จักชาวทิเบต ได้เห็นความทุกข์ยากของเขา ได้เห็นประเพณีที่งดงามน่าสนใจ ทำให้เราเกิดความรัก บวกกับความหมายแก่นธรรมของวัชรยานที่ไม่ได้มีแต่เรื่องของความเ มตตา กรุณา ยังเป็นเรื่องของปัญญา เรื่องของการอธิบายเรื่องจิตที่เป็นพุทธะ รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่มีความหมายต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เข้าใจว่าเราเกิดมาแล้วใช้ศักยภาพความเป็นมนุษย์ให้คุ้มค่ า จริงๆแล้วบางความหมายตามคัมภีร์ของเถรวาทกับมหายานมีความต่างกั น แต่สำหรับตัวเองไม่สนใจการตีความในคัมภีร์ สนใจเรื่องการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติมากกว่า
 
• อาจารย์ปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว ทำไมถึงอยากไปเดินเท้าจาริกแสวงบุญคะ
 
เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว มีโอกาสจาริกแสวงบุญทางรถยนต์ ขณะอยู่บนรถ ได้เห็นชนเผ่า เร่ร่อนที่เลี้ยงจามรี เขากราบอัษฎางคประดิษฐ์ เราก็ขอให้รถจอดเพื่อนำอาหารไปให้เขาและนั่งคุยด้วย เกิดความประทับใจ ได้เห็นครอบครัวหนึ่งเดินเท้าตากแดดจนดำเกรียม ได้ช่วยเหลือแบ่งยาหยอดตาให้เขา ได้คุยกับเขา ทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต สิ่งที่เขาทำมีเป้าหมายยิ่งใหญ่มาก
 
• เป้าหมายของพวกเขาคืออะไรคะ
 
พวกเขาเป็นชาวบ้านยากจนจากหมู่บ้านไกลๆ ชีวิตหนึ่งเกิดมาอยากใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เชื่อว่าการทำแบบนี้จะเป็นการสั่งสมบุญบารมี เป็นการสลายบาปกรรมในชาตินี้ หากมีโรคภัยไข้ เจ็บก็จะหาย พวกเขาไม่ได้มีความรู้ ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่ได้เป็นลามะ แต่อย่างน้อยจิตที่มีศรัทธาเต็มเปี่ยม หากจะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ในชีวิตหนึ่งคือการกราบก็จะทำ คำอธิบายของเขาเต็มไปด้วยการปฏิบัติธรรม เป็นธรรมะที่ยิ่งใหญ่ เราได้เห็นแล้วเกิดความปีติ ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องของคนโง่ แต่เราเห็นความดีงาม ถ้าเลือกได้ เราก็อยากจะขอเดินกราบไปอย่างเขา บอกกับเพื่อนว่าอยากจาริกแสวงบุญด้วยการเดินเท้าบ้าง เพื่อนบอกว่า เราปฏิบัติธรรมขั้นสูงอยู่แล้ว นั่งสมาธิ อ่านคัมภีร์ แต่ชาวทิเบตเหล่านั้นอ่านหนังสือไม่ได้ เขาถึงต้องไปกราบ ไปปฏิบัติธรรมขั้นพื้นฐาน ก็เลยเถียงกับเพื่อนว่า ไม่มีอะไรเรียกว่าสูง เรียกว่าต่ำ ทุกอย่างจิตเป็นผู้กำหนด ถ้าการกราบเปี่ยมด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า เราจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติขั้นพื้นฐานหรือขั้นต่ำได้อย่างไร และเมื่อได้อ่านประวัติชีวิตของอาจารย์ดีๆ หลายท่านเดิน เท้าไปจาริกแสวงบุญ หลายท่านกราบวันละสามพันห้าร้อยครั้ง สิ่งที่เราทำอยู่มันน้อยนิด ก็เลยตัดสินใจว่าจะไป
 
• ตั้งใจจะไปทำอะไรบ้างคะ
 
ตั้งใจว่าจะเดินแล้วกราบอัษฎางคประดิษฐ์ เพราะเราได้แรงบันดาลใจมาอย่างนั้น แต่เพื่อนชาวทิเบตชื่อเยินเต็นก็แนะว่าน่าจะเดินสวดมนต์ แล้วกราบเฉพาะสถานที่หรือจุดสำคัญๆ แต่ ความตั้งใจของตัวเองมุ่งมั่นมาก อยากจะเดินสลับกับการกราบ เมื่อตัดสินใจแน่แล้ว ก็เตรียม ตัว เยินเต็นเป็นคนช่วยเตรียมเตรียมอุปกรณ์ในการกราบ เช่นแผ่นรองมือ เอี๊ยม แผ่นกันหัวเข่า
 
• ชาวทิเบตใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในการกราบหรือคะ
 
ใช่ค่ะ เพราะถ้ามือแตกหรือหัวเข่าเป็นแผลก็กราบต่อไม่ได้ ก็ใช้แผ่นหนังรองหัวเข่าไว้ ชาว ทิเบตเขาจะใช้แผ่นไม้รองมือ แล้วสมัยนี้ก็มีอุปกรณ์ป้องกันที่นักกีฬาใช้ คือสนับเข่า สนับแขน ก็เตรียมไปใส่ด้วยนะคะ ใส่เยอะเลยล่ะ(หัวเราะ) เพราะถ้าเป็นแผลขึ้นมาจะไม่สามารถทำตามปณิธานได้
 
• มีความกลัวไหมคะ กับสิ่งที่ดูเหมือนจะยากลำบาก
 
กลัวอย่างเดียวค่ะ กลัวเจ็บป่วย(ยิ้ม) เพราะเราไม่อยากให้มีอุปสรรค ก่อนไปก็ไปกราบพระอาจารย์หลายท่าน ขอพร ว่าอย่าได้เจ็บป่วยเลย พยายามขี่จักรยาน ให้ร่างกายได้ออก กำลังบ้าง เพราะปกติเป็นคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย แต่การกราบเราทำอยู่เป็นประจำแล้วที่บ้าน ช่วงจำศีลก็กราบวันละสี่ห้าร้อยครั้ง ก็เชื่อว่าตัวเองทำได้ แต่ก่อนไปมีคนขู่เยอะนะคะ(หัวเราะ)
 
• ขู่ว่ายังไงบ้างคะ
 
คือทิเบตจะเป็นที่สูง อากาศจะบาง หลายคนก็ขู่ว่า ระวังป่วยนะ ระวังไม่ไหวนะ เอาออกซิเจนติดตัวไปด้วยสิ (หัวเราะ) แต่เราบอกว่า ถ้าคิดว่าจะแพ้ความสูงคงไม่ตั้งใจไปหรอก ชาวบ้านเขาก็ไม่มีใครพกออกซิเจน เยินเต็นซึ่งอาสา จะไปช่วยรุนรถสัมภาระก็บอกว่า ถ้าเอาออกซิเจนไปเขาจะไม่รุนรถให้(หัวเราะ)
 
• ชาวทิเบตเขาเดินกันไกลแค่ไหนคะ
 
ไม่แน่นอนค่ะ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่บ้าน เดินไปวัดโจคังหรือเขาไกรลาศ ซึ่งเป็นสถานที่จาริกแสวงบุญอันดับหนึ่ง ของโลก อยู่ทางตะวันตกของทิเบต เป็นต้นกำเนิด ของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร ถ้าบ้านอยู่ทางตะวันออกของทิเบต จะไปเขาไกรลาศ ต้องเรียกว่าใช้เวลาทั้งชีวิตเพราะไม่รู้ว่าเมื่อไรจะถึง บางคนลาจากบ้านไปเลย เพราะอาจจะตายระหว่างทาง คิดดูว่าถ้าเดินทางด้วยรถยนต์จากทิเบตตะวันออกไปเมืองลาซาซึ่งอ ยู่ระหว่างกลาง ก็ใช้เวลาราวๆ สี่วันแล้ว และระยะทางที่เราเดินปกติสิบนาที ถ้ากราบด้วยจะใช้เวลาสามชั่วโมง
 
• เพราะอะไรอาจารย์จึงเริ่มต้นที่เมืองเนทังและไปสิ้นสุดที่ซัมเย ่
 
วัดซัมเย่เป็นวัดที่มีพระจำพรรษาวัดแรกของทิเบต และเป็นวัดที่มีกูรูริมโปเชหรือชื่อไทย ว่า ‘คุรุปัทมสมภพ’ ซึ่งตนเองบูชาอยู่ ท่านเป็นคนแรก ที่เข้าไปเผยแพร่คำสอนแบบตันตระในทิเบต เหมือนเป็นพระพุทธเจ้าศากยมุนีของชาวทิเบต ส่วนที่เลือกจุดเริ่มที่เมืองเนทัง เพราะมีวิหารพระแม่ดารา ซึ่งเป็นองค์ที่เราก็บูชาเป็นหลัก จึงเลือกพระแม่ดารากับกูรูริมโปเชเป็นจุดเริ่มต้นกับจุดหมายปลา ยทาง
 
• แล้วทำไมจึงกำหนดเวลา 18 วันคะ
 
เรามีภาระหน้าที่สอนหนังสือ จึงต้องกำหนดระยะเวลาให้ พอดีกับลางานได้ จริงๆ แล้วตั้งใจไปหนึ่งเดือนเท่าที่มีสิทธิ์ลาพักผ่อนนะคะ ลาทั้งหมด 45 วันรวมวันลากิจด้วย เพราะมีรายการโทรทัศน์จะไปถ่ายทำเรื่องราวในทิเบต ขอให้เราช่วย พาเขาไป คิดว่าช่วยทางโทรทัศน์ 15 วัน อีก 30 วันเราจะปฏิบัติธรรม แต่ลืมนึกไปว่าวีซ่าได้แค่หนึ่งเดือน แล้วการต่อ วีซ่าต้องไปถึงเฉิงตู มณฑลเสฉวน ต้องนั่งเครื่องบินไปอีกเกือบสามชั่วโมง เสียสตางค์เยอะค่ะ(ยิ้ม) การเดินก็ไม่ต่อเนื่อง ในที่สุดก็ได้แค่ 18 วัน
 
• ต้องเปลี่ยนแผนไหมคะ
 
เปลี่ยนบางส่วนค่ะ ตอนแรกตั้งใจจะเดินอย่างเดียวเลย มีนั่งเรือข้ามแม่น้ำไปวัดซัมเย่เท่านั้น แต่พอทราบว่าเวลาไม่พอ ก็จำเป็นต้องนั่งรถช่วงหนึ่งจากบ้านคนเลี้ยงแกะที่เราวาง สัมภาระ นั่งรถเมล์ท้องถิ่นไปลงเรือข้ามแม่น้ำพรหมบุตร ต่อรถเมล์เล็กไปอีกจนมองเห็นหลังคาวัดซัมเย่ก็ขอเขาลง ไม่ทราบระยะทางว่าห่างแค่ไหน แต่ใช้เวลาจากจุดที่ลงรถแล้ว เดินกราบไปจนถึงวัด ใช้เวลาไปสี่ชั่วโมง
 
• แต่ก็ถึงจุดหมายปลายทางอย่างที่ตั้งใจไว้
 
พอถึงจริงๆ รู้สึกว่า การถึงจุดหมายจุดหมายปลายทาง ก็ไม่ได้ต่างไปจากแต่ละวันมากนัก วันที่เรานอนอยู่กลางทะเลทราย ข้างแม่น้ำ หรือใช้ชีวิตอยู่ข้างถนน แต่ละวันก็มีคุณค่าเท่ากับวันที่ไปถึงจุดหมาย ปกติกราบพระในห้องพระเรามีสมาธิอยู่แล้ว แต่การได้ไปกราบบนถนนที่สภาวะเปลี่ยนไป มันเหมือนได้สมาธิมากขึ้น
 
• ขณะเดินและกราบ อาจารย์อธิษฐานหรือสวดมนต์ไปด้วยหรือเปล่าคะ
 
ตั้งจิตค่ะ เวลากราบ เราไม่ได้คิดว่ากราบคนเดียว เรานำพาสัตว์ทั้งหลายกราบร่วมกับเรา ทางขวาคือพ่อ ทางซ้าย คือแม่ สัตว์โลกอยู่ข้างหลัง ข้างหน้าคือพระพุทธเจ้าทั้งหมด ข้างใต้และเหนือเราก็มีสัตว์โลก ทุกคนกราบร่วมกับเรา โดยเฉพาะบุคคลที่เราไม่รักไม่ชอบ ศัตรูทั้งหลายยิ่งต้องนำพาเขาไปกราบด้วย ปากเราก็สวดยึดพระรัตนตรัยไปตลอดทาง เป็นการเพิ่มพูนศรัทธาที่เรามีต่อพระพุทธศาสนา กายก็กราบ วาจาก็สวดมนต์ จิตก็ศรัทธามั่นในศาสนา ถือเป็น การปฏิบัติที่ยิ่งใหญ่เพราะปฏิบัติทั้งกาย วาจา ใจ
 
• นับหรือเปล่าคะว่าเดินได้วันละเท่าไร หรือว่ากราบไปกี่ครั้ง
 
ไม่ได้นับเลย(ยิ้ม) จิตตั้งมั่นอยู่กับการเดินและกราบ และสวดมนต์ เดินเท่าที่มีแรงเดิน พักเหนื่อยเป็นระยะๆ แต่บาง วันไม่เหนื่อยเลยนะคะ เดินต่อเนื่องตั้งแต่เช้าจนถึงสามทุ่ม
 
• มองอีกด้านเป็นการทรมานตัวเองหรือเปล่า
 
่ไมหรอกค่ะ จริงๆแล้วกินดีอยู่ดีด้วยซ้ำไปนะคะ(หัวเราะ) หยุดพักเมื่อเหนื่อย ไม่ได้ทำจนหมดเรี่ยวหมดแรง ไม่ได้เบียดเบียนหรือทำร้ายตัวเอง กินอิ่ม นอนหลับ นอนหลายชั่วโมงด้วย(หัวเราะ) ความจริงมีหลายวิถีทางที่จะปฏิบัติเพื่อ เข้าถึงจิตผ่องแผ้ว สิ่งที่ตัวเองทำอยู่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ การปฏิบัติแบบวัชรยาน
 
• สิ่งที่ได้รับกลับมาจากประสบการณ์ 18 วัน
 
ได้ทำตามปณิธาน ทำอย่างชาวทิเบตที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรา และเราก็อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นต่อไป ความยากลำบากยิ่งมากมันยิ่งสอนเรา ทำให้เราลืมทุกอย่าง ไม่ว่าสถานภาพที่มีหรืออะไรอื่น มีแค่มนุษย์คนหนึ่งกับศรัทธาในศาสนา รู้สึกว่าจิตยิ่งใหญ่ อ่อนน้อมและอ่อนโยน ได้ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ตอนที่ไปกราบก็จะโทรศัพท์หา ท่านเป็นระยะๆ แล้วบอกให้คิดว่ากำลังกราบร่วมกับเรา รู้สึกได้ตอบแทนทั้งพ่อแม่ในชาตินี้และพ่อแม่ทั้งหลายในสังสารว ัฏ แต่ละก้าวที่เดินก็จะตั้งจิตภาวนาขอให้สันติภาพเกิดขึ้นในโลก คิดว่าได้แต่สิ่งดีๆ ทั้งหมดเลย ไม่ได้บอกว่า ทุกคนต้องทำตามนะคะ แต่ถ้าใครมีแรงควรกราบพระทุกวัน จะกราบแบบไหนก็ได้ งดงามทั้งนั้น แต่การกราบแบบทิเบต คืออัษฎางคประดิษฐ์มันเหมือนโยคะ มันต้องลงไปทั้งตัว แนบพื้นตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ได้ออกกำลังกาย เรียกว่า ได้ประโยชน์โดยอัตโนมัติคือร่างกายแข็งแรง(ยิ้ม)
 
• จุดหมายต่อไปสำหรับการบรรลุธรรมของอาจารย์คืออะไร
 
ก็ยังปฏิบัติธรรมต่อไป และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่าง เต็มกำลัง ตอนนี้ที่ทำอยู่คือช่วยเหลือเด็กและผู้หญิงทิเบต
 
• การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในความตั้งใจของอาจารย์คือทำอะไรบ้างค ะ
 
การช่วยเหลือคือการให้ทุกระดับนะคะ ในทุกแง่มุมที่เรา ทำได้ ตั้งแต่ให้การศึกษา ให้ความรู้ ไปจนถึงให้ธรรมะ เรารู้ว่าการให้ธรรมะเป็นของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือช่วยให้เขามีชีวิตที่ดีงาม
 
คนทิเบตส่วนใหญ่ 60-70% อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่มีโอกาสอ่านหนังสือธรรมะ เด็กๆ ก็ไม่ได้ เรียนหนังสือ โตมาก็ต้องเลี้ยงวัว ทำอาชีพอื่นไม่ได้ จึงเน้นช่วยเรื่องการศึกษา จึงไปช่วยเหลือพระอาจารย์ท่านหนึ่งในการทำโรงเรียน เมื่อเด็กๆ ได้เรียนหนังสือ เขาจะรู้เท่าทันโลก และอ่านหนังสือธรรมะได้ด้วย
 
• จำเพาะเจาะจงว่าต้องเป็นคนทิเบตหรือเปล่า
 
ความจริงไม่ได้แบ่งแยกหรือปิดกั้นเลย การช่วยเหลือโดยไม่แบ่งแยกสอนให้เรามีจิตใจที่ยิ่งใหญ่ ถ้างานคลุกคลีกับคนไทยก็คงลงไปตรงนั้น แต่เพราะว่าบทบาทและงานส่วนใหญ่อยู่กับชาวทิเบต ปีหนึ่งๆ ก็เดินทางเข้าทิเบตมาก เห็นปัญหาอยู่ตรงหน้า โอกาสที่เขาจะได้รับมีน้อยมากๆ พอดีเรามีกำลังทำได้ จึงลงไปทำค่ะ ในส่วนคนไทยนั้น จริงๆ ก็ช่วย อยู่แล้วในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนที่จุฬาฯ ช่วยให้ความรู้ ช่วยนักศึกษาให้เป็นคนดี และที่มูลนิธิพันดาราเองก็จัดกิจกรรม ให้ความรู้ทางศาสนาเป็นธรรมทานให้กับคนไทยด้วยค่ะ(ยิ้มอย่างมีค วามสุข)
.........
 
ถึงแม้ 18 วันในการเดินเท้าจาริกแสวงบุญครั้งแรกของเธอจะเป็นช่วงเวลาแสนส ั้น แต่การบำเพ็ญเพียรเพื่อการบรรลุธรรมของเธอนั้นยังคงดำเนินต่อไป ในทุกนาทีของชีวิต ประจำวัน เราเองก็สามารถทำได้เช่นกัน ขอเพียงตั้งมั่นในจิต อันเมตตา เผื่อแผ่น้ำใจกรุณาให้คนรอบข้าง การคิดถึงผู้อื่น นอกเหนือจากตนเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมอันประเสริ ฐยิ่งแล้ว
 
ผู้สนใจแลกเปลี่ยนความคิดในการปฏิบัติสิ่งที่ดีงาม หรือสนใจกิจกรรมทางพุทธศาสนาแบบวัชรยาน สามารถติดต่อ มูลนิธิพันดาราได้ที่หมายเลข 0-2528-5308
 
(จากหนังสือธรรมลีล า ฉบับที่ 83 ต.ค.50 โดย จิตประภัสสร)
 
 
 
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9500000117543

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บาร์โด หรือ คัมภีร์มรณศาสตร์แห่งธิเบต (อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 3452 กระทู้ล่าสุด 15 มิถุนายน 2559 03:07:17
โดย มดเอ๊ก
เรียนรู้ มรณานุสติผ่าน บทสวดรัตนมาลัย (บทสวดมนต์แบบทิเบต) โดย อ.กฤษดาวรรณ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1159 กระทู้ล่าสุด 25 มิถุนายน 2559 23:40:00
โดย มดเอ๊ก
การเดินทางของจิต ในชีวิตหลังตาย ( รศ.ดร. กฤษดาวรรณ ประธานมูลนิธิพันดารา)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 998 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2559 00:26:08
โดย มดเอ๊ก
REASON OF FAITH เหตุผลของความศรัทธา(ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1072 กระทู้ล่าสุด 27 มิถุนายน 2559 04:14:34
โดย มดเอ๊ก
รู้จักพุทธวัชรยาน ผ่าน กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ แห่ง มูลนิธิพันดารา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 1783 กระทู้ล่าสุด 06 กรกฎาคม 2559 14:29:54
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.692 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 กันยายน 2566 11:54:35