[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 09:55:06



หัวข้อ: อโยธยา วัดพระราม หรือ มัสยิดโมกุล
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 09:55:06

(https://pbs.twimg.com/media/GEp9z9fWQAAcl8A.jpg)


อโยธยา วัดพระราม หรือ มัสยิดโมกุล

อินเดียและไทยมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นซึ่งช่วยย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์นับพันปี ความสัมพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นในศาสนา ภาษา ค่านิยม และวัฒนธรรมที่เรามีร่วมกัน อาณาจักรอันยิ่งใหญ่แห่งอโยธยาถูกสร้างขึ้นและตั้งชื่อตามเมืองอโยธยาในอินเดีย แม้แต่วรรณกรรมประจำชาติของไทย เช่น รามเกียรติ์ ก็มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยจะต้องคิดเรื่องนี้ เพราะช่วยให้เราเข้าใจอุดมการณ์ของวัฒนธรรมเราลึกซึ้งยิ่งขึ้น


https://www.youtube.com/v/LKeBR-Ok1D4

https://youtu.be/LKeBR-Ok1D4?si=xiB54XTMTw3PvCHO (https://youtu.be/LKeBR-Ok1D4?si=xiB54XTMTw3PvCHO)

(https://images.herzindagi.info/image/2024/Jan/Shri-Ram-Mandir.jpg)


อโยธยา อินเดีย เมืองของพระราม ที่มาแห่งนาม “กรุงศรีอยุธยา” I ประวัติศาสตร์นอกตำรา

อโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย มีหลักฐานทางโบราณคดี และวรรณกรรมจำนวนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า เมืองนี้เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานขึ้นตั้งแต่ช่วงพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 หรือราว 500-600 ปี ก่อนคริสตกาล

สำหรับชาวฮินดูแล้ว ในคัมภีร์พระเวท รวมถึงมหากาพย์โบราณของอินเดีย เช่น รามายณะ และมหาภารตะ ต่างกล่าวถึงเมืองในตำนานที่ชื่อว่า “อโยธยา” คือสถานที่ประสูติของพระรามในฐานะเทพเจ้าองค์สำคัญ อย่างไรก็ตามคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเรียกที่นี่ว่า “เมืองสาเกต” ปกครองโดยพระเจ้าปเสนทิ แห่งแคว้นโกศล

 ไม่เพียงอโยธยา หรือสาเกตเดิม จะเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ และฮินดู แต่ยังมีความสัมพันธ์กับศาสนาเชนที่ระบุว่า มหาวีระศาสดา หรือตีรถังกรองค์สุดท้าย เคยเสด็จมาประทับเผยแผ่ศาสนาที่นี่เช่นกัน

จากความรุ่งเรืองของฮินดูในอโยธยาที่ผูกพันธ์กับเรื่องราวของพระรามในมหากาพย์รามายณะ กระทั่งในราวปี พ.ศ. 1769 (ค.ศ.1226) ภายใต้รัฐสุลต่านเดลี (Delhi sultans) อโยธยาได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นอวัธ (Awadh ) ศาสนาอิสลามได้ถูกให้ความสำคัญแทนที่

ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 21 (คริสต์ศตวรรษที่ 16) เมื่อจักรวรรดิโมกุลได้เริ่มแผ่อำนาจไปทั่วภูมิภาค จักรพรรดิบาบูร์ทรงให้มีการก่อสร้างมัสยิด Babri ขึ้นบนเนินเขารามโกต (Ramkot) หรือ "ป้อมของพระราม" ระหว่างปี พ.ศ. 2071-2072

หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์โมกุล และแคว้นอวัธถูกอังกฤษเข้ายึดครองในช่วงทศวรรษที่ 1850 ชาวฮินดูกลุ่มหนึ่งได้ออกมาโจมตีว่า มัสยิด Babri ได้สร้างขึ้นเหนือ “รามมนเทียร” (Ram Mandir) สถานที่เกิดของพระราม โดยเชื่อว่ามีการทุบทำลายโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมเพื่อสร้างเป็นมัสยิด

การเคลื่อนไหวเพื่อทวงคืนมัสยิด Babri ให้เป็นวัดพระรามยังคงคุกรุ่นมาอย่างต่อเนื่องนับร้อยปี กระทั่ง พ.ศ. 2535 การชุมนุมชาตินิยมฮินดูฝ่ายขวาได้ก่อการจลาจล บุกทำลายมัสยิด Babri ลง


หลังจากการต่อสู้ในศาลนานหลายปี ในที่สุดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ศาลสูงสุดของอินเดียมีคำพิพากษาให้พื้นที่ขัดแย้งเป็นของชาวฮินดู และเริ่มโครงการก่อสร้างวัดพระรามแห่งใหม่ (Shriram Janmbhumi Mandir) ขึ้นบนพื้นที่มัสยิดบาบรีเดิม

อโยธยาพื้นที่เล็กๆ ของอินเดีย ที่ซึ่งเต็มไปด้วยมรดกทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ยังคงดำเนินสืบเนื่องเรื่อยมาไม่เคยขาดสาย และสรรสร้างให้เกิดโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าสนใจอย่างยิ่งในปัจจุบัน


https://www.youtube.com/v/D6aSXWcQBRI

https://youtu.be/D6aSXWcQBRI?si=lIwH-3RoVewLRe6L (https://youtu.be/D6aSXWcQBRI?si=lIwH-3RoVewLRe6L)