[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 09:46:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ป่าศักดิ์สิทธิ์ "คำชะโนด" อ.บ้านดุง จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 4079 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 เมษายน 2559 16:47:26 »







ป่าศักดิ์สิทธิ์ "คำชะโนด"
ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุบลราชธานี

ป่าคำชะโนด คือป่าอาถรรภ์ลี้ลับ เป็นเมืองลับแลของพวก "บังบด" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศในอดีตเมื่อราว ๒๐ ปีที่ผ่านมา ก็เพราะเรื่องเล่า “ผีจ้างหนัง”

ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด พืชจำพวกปาล์มชนิดหนึ่งที่หายากมากในประเทศไทย เกิดขึ้นรวมกันอยู่เป็นกลุ่มหนาแน่นเป็นบริเวณกว้างประมาณ ๒๐ไร่ ภายในป่าชะโนดยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียกว่า บ่อคำชะโนด เป็นสระกว้างยาวด้านละประมาณ ๔ เมตร มีน้ำใต้ดินพุ่งไหลซึมตลอดเวลา และน้ำจะเต็มระดับปากบ่อเสมอ

บ่อคำชะโนด (ชาวบ้านเรียกว่า บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด) ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายได้ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยจะมาทำพิธีขอน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก เจ้าพ่อศรีสุทโธ ก่อนที่จะนำไปดื่มและอาบ เพื่อขจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ

นอกจากนี้ ในป่าคำชะโนดยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุทโธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือในความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ของสถานที่นี้ให้เป็นที่เล่าขานแก่ชาวเมืองคำชะโนด




ตำนานเจ้าพ่อศรีสุทโธ

ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นพญานาคราชที่อาศัยอยู่ในเมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาลกับเมืองมนุษย์ได้ ๒ เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรงทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข ๒๒๕๕ ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้วเลี้ยวขวาไปอำเภอบ้านดุง ต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ ๑๒ กม. หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน ๔๕ กม. แล้วเลี้ยวซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไปอำเภอบ้านดุง อีกประมาณ ๔๐ กม . แล้วไปหมู่บ้านสันติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ ๑๒ กม.

และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าอัศจรรย์ของสถานที่นี้ให้เป็นที่เล่าขานแก่ชาวเมืองคำชะโนด วังนาคินทร์คำชะโนด หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองชะโนด สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลวังทอง ตำบลบ้านม่วงและตำบลบ้านจันทร์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  วังนาคินทร์คำชะโนด หรือเมืองคำชะโนดมีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธเป็นพญานาค ครองเมืองหนองกระแสครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งเป็นพญานาคเช่นเดียวกันปกครองมีชื่อว่าสุวรรณนาค และมีบริวารฝ่ายละ ๕,๐๐๐ เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมีอาหารการกินก็แบ่งกันกิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นเพื่อนตายกันตลอดมา แต่มีข้อตกลงกันอยู่ข้อหนึ่งว่าถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกไปหากินล่าเนื้อหาอาหารอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องออกไปล่าเนื้อหาอาหาร เพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งกัน และอาจจะเกิดรบรากันขึ้น แต่ให้ฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารนำอาหารที่หามาได้แบ่งกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำโดยวิธีนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขตลอดมา

อยู่มาวันหนึ่งสุวรรณนาคพาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้ช้างมาเป็นอาหาร ได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งพร้อมกับนำขนของช้างไปให้ดูเพื่อเป็นหลักฐานต่างฝ่ายต่างกินเนื้ออย่างอิ่มหนำสำราญด้วยกันทั้งสองฝ่าย และวันต่อมาอีกวันหนึ่งสุวรรณนาคได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้เม่นมา สุวรรณนาคได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม พร้อมทั้งนำขนของเม่นไปให้ดู ปรากฏว่าเม่นตัวเล็กนิดเดียวแต่ขนของเม่นใหญ่ เม่นตัวเล็กเมื่อแบ่งเนื้อเม่นให้สุทโธนาคจึงต้องแบ่งให้น้อย  สุทโธนาคได้พิจารณาดูขนเม่นเห็นว่าขนาดขนช้างเล็กนิดเดียวตัวยังใหญ่โตขนาดนี้แต่นี้ขนใหญ่ขนาดนี้ตัวจะใหญ่โตขนาดไหน ถึงอย่างไรตัวเม่นจะต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน คิดได้อย่างนี้จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับส่วนแบ่งครึ่งหนึ่งไปคืนให้สุวรรณนาคพร้อมกับฝากบอกไปว่า "ไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์"

ฝ่ายสุวรรณนาคเมื่อได้ยินดังนั้น จึงได้รีบเดินทางไปพบสุทโธนาคเพื่อชี้แจงให้ทราบว่าเม่นถึงแม้ขนมันจะใหญ่โตแต่ตัวเล็กนิดเดียว ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเสียเถิด สุวรรณนาคพูดเท่าไรสุทโธนาคก็ไม่เชื่อผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายจึงประกาศสงครามกัน ฝ่ายสุทโธนาคซึ่งมีความโกรธเป็นทุนอยู่ตั้งแต่เห็นเนื้อเม่นอยู่แล้วจึงสั่งบริวาร ไพร่พลทหารรุกรบทันที ฝ่ายสุวรรณนาคจึงรีบเรียกระดมบริวารไพร่พลต่อสู้ทันทีเช่นเดียวกัน ตามการบอกเล่าสู่กันฟังมาว่า
พญานาค ทั้งสองรบกันอยู่ถึง ๗ ปีต่างฝ่ายต่างเมื่อยล้า เพราะต่างฝ่ายต่างหวังจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะครองความเป็นใหญ่ในหนองกระแสเพียงผู้เดียว จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแสและบริเวณรอบๆ หนองกระแสเกิดความเสียหายเดือดร้อนไปตามกัน

เมื่อเกิดรบกันรุนแรงที่สุดจนทำให้พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมด เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความเดือดร้อนไปทั้งสามภพ ความเดือดร้อนทั้งหลายได้ทราบไปถึง พระอินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อร้องทุกข์และเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟัง  เมื่อพระอินทร์ได้ทราบเรื่องตลอดแล้ว จะต้องหาวิธีการให้พญานาคทั้งสองหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของไตรภพ จึงได้เสด็จจากดาวดึงส์ลงมายังเมืองมนุษย์โลกที่หนองกระแส แล้วพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโองการว่า "ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้" การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าทุกฝ่ายเสมอกัน และหนองกระแสให้ถือว่าเป็นเขตปลอดสงคราม ให้พญานาคทั้งสองพากันสร้างแม่น้ำคนละสายออกจากหนองกระแส ใครสร้างถึงทะเลก่อนจะให้ปลาบึกขึ้นอยู่ในแม่น้ำแห่งนั้น และให้ถือว่าการทำสงครามครั้งนี้มีความเสมอกัน เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของพญานาคทั้งสอง ให้เอาภูเขาพญาไฟเป็นเขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปราวีรุกรานกัน ขอให้ไฟจากภูเขาดงพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นจุลมหาจุล

เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโองการดังกล่าวแล้ว สุทโธนาคจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออกจากหนองกระแสสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อถึงตรงไหนเป็นภูเขาก็คดโค้งไปตามภูเขาหรืออาจจะลอดภูเขาบ้างตามความยากง่ายในการสร้าง เพราะสุทโธนาคเป็นคนใจร้อน แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำโขง"

คำว่า "โขง" จึงมาจาคำว่า "โค้ง" ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่งลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ด้านสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวราชโองการดังกล่าวจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ของหนองกระแส สุวรรณนาคเป็นคนตรงพิถีพิถันและเป็นผู้มีใจเย็น การสร้างแม่น้ำจึงต้องทำให้ตรงและคิดว่าตรง ๆ จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน"  

แม่น้ำน่าน จึงเป็นแม่น้ำที่มีความตรงกว่าแม่น้ำทุกสายในประเทศไทย

การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรากฏว่าสุทโธนาคสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อนตามสัญญาของพระอินทร์ สุทโธนาคเป็นผู้ชนะและปลาบึกจึงต้องขึ้นอยู่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลกตามการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าผสมใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที

สุทโธนาคเมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้ว ปลาบึกขึ้นอยู่แม่น้ำโขงและเป็นผู้ชนะตามสัญญาแล้ว จึงได้แผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ ทูลถามพระอินทร์ว่า "ตัวข้าเป็นชาติเชื้อพญานาคถ้าจะอยู่บนโลกมนุษย์นานเกินไปก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลกมนุษย์เอาไว้ ๓ แห่ง และทูลถามว่าจะให้ครอบครองอยู่ตรงแห่งไหนแน่นอน พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่จึงอนุญาตให้มีรูพญานาคเอาไว้ ๓ แห่ง คือ
๑. ที่ธาตุหลวงนครเวียงจันทน์
๒. ที่หนองคันแท
๓. ที่พรหมประกายโลก (ที่คำชะโนด)

ส่วนที่ ๑-๒ เป็นทางขึ้นลงสู่เมืองบาดาลของพญานาคเท่านั้น ส่วนสถานที่ ๓ ที่พรหมประกายโลกคือที่พรหมได้กลิ่นไอดิน (ตามตำนานพรหมสร้างโลก) แล้วพรหมเทวดาลงมากินดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นมนุษย์หรือผู้ให้กำเนิดมนุษย์ให้สุทโธนาคไปตั้งบ้านเมืองครอบครองเฝ้าอยู่ที่นั้น ซึ่งมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะต้นชะโนดให้เอาต้นมะพร้าว ต้นหมากและต้นตาลมาผสมกัน อย่างละเท่าๆ กันและให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาลให้สุทโธนาค มีลักษณะ ๓๑ วันข้างขึ้น ๑๕ วัน ให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า "เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ" มีวังนาคินทร์คำชะโนดเป็นถิ่น และอีก ๑๕ วัน ในข้างแรมให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นนาค เรียกชื่อว่า "พญานาคราชศรีสุทโธ" ให้อาศัยอยู่เมืองบาดาล





ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๐ ถอยหลังไป พี่น้องชาวบ้านม่วง บ้านเมืองไพร บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จะไปพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญประจำปีหรือบุญมหาชาติที่ชาวบ้านเรียกว่าบุญพระเวท ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่บ่อยครั้ง และบางทีจะเป็นผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอหูก (ฟืม) ไปทอผ้าอยู่เป็นประจำและปาฏิหาริย์ครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ.๒๕๑๙ เกิดน้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (รวมทั้งท้องที่อำเภอบ้านดุง) แต่น้ำไม่ท่วมคำชะโนด

เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธได้จัดมีการแข่งเรือและประกวดชายงามที่เมืองชะโนด นายคำตา ทองสีเหลือง ซึ่งเป็นชาวบ้านวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุงได้บวชอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (วัดโนนตูม และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓) ติดกับเมืองชะโนดได้เป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากเจ้าพ่อพญาศรีสุทโธให้ไปประกวดชายงาม และบุคคลดังกล่าวเกิดความคลุ้มคลั่งอยู่ประมาณ ๑ อาทิตย์ ญาติพี่น้องได้ทำการรักษาโดยใช้หมอเวทมนต์ (อีสานเรียกว่าหมอทำ) จัดเวรยามอยู่เฝ้ารักษาและในที่สุดได้หายไปนาน ประมาณ ๖ ชั่วโมง แล้วได้กลับมาและได้เล่าเรื่องเมืองชะโนดให้พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายฟังถึงความงามความวิจิตรพิสดารต่างๆ ของเมืองบาดาลให้ผู้สนใจฟัง




ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐) คณะกรรมการจังหวัดอุดรธานีได้ทำพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบ่อน้ำคำชะโนด และน้ำพุบ่อเสวย อำเภอหนองหาน ไปทำพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ที่อุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดสำคัญของจังหวัดอุดรธานี สร้างสมัยพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร (พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๔๙)  สมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประทานนามวัดว่า วัดโพธิสมภรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์) ผู้สร้างวัด  วัดโพธิสมภรณ์ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัย เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗  เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำมุรธาภิเษกในพระราชพิธีดังกล่าว และได้นำน้ำจากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอๆ




















เรือตรี อนิวรรตน์ พะโยมเยี่ยม อดีตนายอำเภอบ้านดุง ได้ชักพ่อค้าประชาชน
สร้างสะพานทางเข้าเมืองชะโนด ตลอดทั้งปรับปรุงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
เพื่อให้เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวอำเภอบ้านดุง และจังหวัดอื่น


และในปี พ.ศ.๒๕๓๓ นายมังกร มาเวียง ปลัดอำเภอบ้านดุง
ได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ผู้มีจิตศรัทธา
ร่วมกันจัดทำบุญทอดผ้าป่าสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก
เพื่อความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปเมืองชะโนด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 635 กระทู้ล่าสุด 23 ธันวาคม 2562 16:13:48
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.458 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 16:27:32