ตามรอยประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาด้วยภาพยนตร์

<< < (2/5) > >>

wondermay:
        


          ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ภาพยนตร์ไทยย้อนยุคเชิงประวัติศาสตร์ถูกผลิตและนำเสนอออกสู่สาธารณะชนอยู่อย่างต่อเนื่อง ผลตอบรับมากน้อยแตกต่างกันไป
ด้วยปัจจัยต่างๆมากมาย โดยมีพื้นฐานของไดอะลอ็อกและไทม์ไลน์ที่อ้างอิงตามความเป็นจริงในประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าจะมีการปรุงแต่งรสต่างๆให้ทันสมัยนิยม แต่สิ่งที่ยังคงเป็น
ผลพลอยได้ก็คือ ความรู้ แง่คิด และคติสอนใจ เท่านี้ก็ยังประโยชน์มากมายให้กับนักเรียนนักศึกษารุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อกันไป

          ผู้คนในปัจจุบันมีความคิดเป็นของตัวเอง มีรสนิยมทางภาพยนตร์ที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีไม่น้อยที่ยังนิยมสนับสนุนภาพยนตร์ไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ของชาติ
ของเราทุกคน ความสนุกสนานและเกร็ดความรู้ที่ได้กลับบ้านไปมีไม่น้อย และเชื่อเหลือเกินว่าหลายต่อหลายคนสามารถจดจำเกร็ด และแง่มุมทางประวัติศาสตร์ได้ ก็ด้วยตัวละครและ
เหตุการณ์ในภาพยนตร์นั่นเอง แต่เคยรู้สึกสงสัยหรือไม่ว่า ชื่อนี้คุ้นหูเหลือเกิน มีความเกี่ยวข้องหรือใช่ตัวละครในเรื่องนั้นหรือไม่ หรือ ภาพยนตร์เรื่องนี้สัมพันธ์กับเรื่องอื่นอย่างไร
อย่างไหนมาก่อนอย่างไหนมาหลัง ลำดับควรเป็นอย่างไร นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ไม่แข็งแรง แต่ชอบดูภาพยนตร์ประเภทนี้และดูมามากจนงง  (:???:)

         ข้าพเจ้าจึงสืบค้นรวบรวมข้อมูล เพื่อไขข้อสงสัยให้กับตัวเอง และเพื่อเป็นการจัดลำดับความรู้ในสมองของข้าพเจ้าด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากระทู้นี้จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้สนใจได้บ้าง



                                                                                                                                                                                วันเดอร์เมย์

wondermay:
ต่อมาปัญหาที่หลายคนสังสัย (:???:) (:???:) (:???:) (:???:) (:???:)

ลุงคนนี้!!!!!
v
v
v



ออกญาเสนาภิมุข ยามาดา นางามาสะ ใช่ลุงหัวโล้นถือดาบซามูไร ในตำนานสมเด็จพระนเรศวร 3 หรือไม่
(an!) (an!)ไม่ใช่นะ ไม่ใช่ ไม่ใช่

คำอธิบายที่ 1 : ออกญา เป็นชื่อตำแหน่งหน้าที่ในราชการ

โดยมีลำดับชื่อทหารญี่ปุ่นในปีที่เข้ารับราชการ ดังนี้

ออกพระสุมิฮิโร (ค.ศ. 1600-1610) ...........................ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (:CHILL:) (:CHILL:)
คิวเอมอน ชิโรอิ (ค.ศ. 1610-1617)
นากามาสะ ยามาดะ หรือ ออกญาเสนา ภิมุข (ค.ศ. 1617-1630)
ตาเอมอน อิโตยะ กับ คุนิซุเก ฮิรามัตซุ (ค.ศ. 1633-1640)
และฮันไซมอน คิมุระ กับ เซนเอมอน อันโตนี (ค.ศ. 1640 -?)

ดังนั้นลุงหัวโล้นคงจะเป็น ออกพระสุมิฮิโร ส่วน
ยามาดะ รูปหล่อนั้นยังไม่ได้เข้ารับราชการ แต่เข้ามายังแผ่นดินไทยแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเนรศวร น่าจะกำลังฝึกวิชาอยู่ อืมมม (:SR:) (:SR:)

คำอธิบายที่ 2 : ในบทเรียนสมัยมัธยม ให้ความรู้ในส่วนของบุคคลสำคัญ เลยทำให้เราจำชื่อนี้ติดหู

ข้อมูลของออกญาเสนาภิมุข เข้ารับราชการและดังมากในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ถือเป็นกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังนั้น ภาพยนตร์เรื่องซามูไรอโยธยา จึงจะเสนอไว้เมื่อถึงตอนนั้นค่ะ



คำอธิบายที่ 3 : ข้อมูลฝ่ายศิลป์ของภาพยนตร์ และการจดจำตัวละครจากภาพยนตร์แต่ละเรื่องสร้างความสับสน

อันแรก ชัดมากกกกกกกกกกกกกกกกกก

ตำนานสมเด็จพระเนรศวร         สรพงษ์ ชาตรี รับบทเป็นพระ (แต่เป็นมหาเถรคันฉ่อง บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์)
ซามูไรอโยธยา   สรพงษ์ ชาตรี รับบทเป็นพระ (แต่เป็นพระสงฆ์แก่กล้าทั่วไป)







ต่อมาคือลักษณะของยามาดา นางามาสะ ที่มีเสก็ตซ์เอาไว้ คือ เป็นภาพชายญี่ปุ่นวัยดึก หน้าอิ่มๆ หัวโล้นๆ ผมเป็นหย่อม
แต่ดันไปคล้ายกับลักษณะของตัวละครออกพระสุมิฮิโร ในตำนานสมเด็จพระเนรศวร 3 เสียมากกว่า ไม่เชื่อเลื่อนไปดูตาลุงด้านบน


หมีงงในพงหญ้า:
ผิดแล้วโยม คาดว่าที่เกิดความเข้าใจผิดนั้นหนา เป็นเพราะในหนังยามาดะเนี่ย

ยามาดะเข้าคัดตัวเป็นหัวหมู่ทนายเลือก ซึ่งเปรียบได้กับองครักษ์ของพระนเรศวร

เพราะงั้น แสดงว่ายามาดะเนี่ยได้ออกรบในยุคพระเนรศวร

(เพราะในเรื่องพระนเรศวรสั่งให้ไปโจมตีพวกเผ่านักฆ่า)

สรุปคือยามาดะในเนื้อเรื่องได้เป็นทนายเลือกของพระนเรศวร

ส่วนเรื่องคนจำสรพงษ์แล้วเอามาสับสนคิดว่าไม่น่าสับสน

เพราะสรพงษ์เเดี๋ยวนี้เป็นพระเกือบทุกเรื่อง ฮ่า ๆ ๆ ๆ ค้นพบตัวตนที่แท้จริง

 ;D ;D ;D ;D ;D

wondermay:
อ้างจาก: Mckaforce ที่ 05 เมษายน 2554  12:42:58

ผิดแล้วโยม คาดว่าที่เกิดความเข้าใจผิดนั้นหนา เป็นเพราะในหนังยามาดะเนี่ย

ยามาดะเข้าคัดตัวเป็นหัวหมู่ทนายเลือก ซึ่งเปรียบได้กับองครักษ์ของพระนเรศวร

เพราะงั้น แสดงว่ายามาดะเนี่ยได้ออกรบในยุคพระเนรศวร

(เพราะในเรื่องพระนเรศวรสั่งให้ไปโจมตีพวกเผ่านักฆ่า)

สรุปคือยามาดะในเนื้อเรื่องได้เป็นทนายเลือกของพระนเรศวร

ส่วนเรื่องคนจำสรพงษ์แล้วเอามาสับสนคิดว่าไม่น่าสับสน

เพราะสรพงษ์เเดี๋ยวนี้เป็นพระเกือบทุกเรื่อง ฮ่า ๆ ๆ ๆ ค้นพบตัวตนที่แท้จริง

 ;D ;D ;D ;D ;D






ภาพยนตร์เรื่อง ซามูไรอโยธยา สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค ซึ่งมีการออกมาไขข้อกระจ่างแล้ว


ไว้เนื้อหาจะนำมาอธิบายต่อไป

wondermay:


พระเอกาทศรถ


พระเอกาทศรถ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 20 ของอยุธยา พระองค์เป็นพระอนุชาของพระนเรศวร ทรงประสูติเมื่อ 2103 มีพระชนมายุอ่อนกว่าพระนเรศวร 5 พรรษา ในสมัยที่พระราชบิดาทรงครองราชย์ พระเอกาทศรถได้สถาปนาเป็น “วังหลัง” เมื่อพระนเรศวรขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเอกาทศรถก็ได้รับยกย่องในฐานะเท่าเทียมกับพระนเรศวร พงศาวดารไทยจะกล่าวถึงพระองค์ในฐานะของ “พระเจ้าอยู่หัว” อีกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นได้ว่าพระเอกาทศรถทรงร่วมรบในสงครามกับพระนเรศวรมาตลอด และอาจเป็นเพราะพระนเรศวรไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระมเหสีหรือพระโอรส พระเอกาทศรถจึงอยู่ในฐานะของอุปราชหรือผู้ที่จะได้สืบราชสมบัติอย่างชัดเจน หลักฐานจากชาวฮอลันดากล่าวถึงพระองค์ในฐานะ “พระอนุชาธิราชพระราเมศวร” ซึ่งตำแหน่ง พระราเมศวร เป็นตำแหน่งของพระโอรสองค์โตในสมัยต้นอยุธยา พระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ ปี 2148 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
พระเอกาทศรถขึ้นครองอยุธยาในสมัยที่อาณาจักรเป็นปึกแผ่นมั่นคง พระนเรศวรได้ขยายอำนาจของอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวางอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสมัยอยุธยาก่อนหน้านี้ อยุธยามีอำนาจเหนือเชียงใหม่ และรุกเข้าไปในดินแดนรัฐฉาน ทางด้านพม่าตอนใต้ก็ได้แถบทวาย มะริด ตะนาวศรี และทางด้านกัมพูชาก็ทำให้เขมรต้องยอมรับอำนาจของไทย แต่อย่าางไรก็ตามบรรดาอาณาเขตเหล่านี้จำนวนมากก็เป็นอิสระเมื่อสิ้นพระนเรศวร กระนั้นก็ตามอำนาจของอยุธยาในพม่าตอนล่างก็ยังคงอยู่ ทำให้เปิดประตูการค้าไปในอ่าวเบงกอลที่ประจวบเหมาะกับการที่ชาติตะวันตกแพร่อิทธิพลของตนเข้ามาทำการค้าขาย จึงเป็นรัชสมัยการปูพื้นฐานของการที่อยุธยาจะมีสัมพันธ์ด้าาานการค้าและการเมืองกับประเทศตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกลางพุทธศตวรรษที่ 22ต้น23 พระเอกาทศรถเป็นกษัตริย์อยุธยาองค์แรกที่ส่งทูตไปถึงกรุงเฮก ประเทศฮอลันดาเมื่อ 2151 และฮอลันดาก็ตั้งสถานีการค้าของตนในอยุธยา ฮอลันดามีจุดมุ่งหมายที่จะใช้อยุธยาเป็นเมืองท่าแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นฐานในการที่จะค้าขายต่อกับจีนและญี่ปุ่น ฮอลันดานำเอาผ้าฝ้าย อาวุธ มาแลกกับสินค้าพื้นเมืองคือหนังกวาง และพริกไทย
เอกสารของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ทั้งพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงโปรด “ชาวต่างชาติ” ดังนั้นอยุธยาจึงต้อนรับชาวต่างชาติอื่น ๆอีก เช่น โปรตุเกส ญี่ปุ่น สมัยนี้เป็นสมัยที่เรือญี่ปุ่นได้รับ “ใบเบิกร่องตราแดง” สินค้าที่ญี่ปุ่นมาซื้อคือฝาง หนังกวาง หนังปลาฉลาม ตะกั่ว ดีบุก
สมัย พระเอกาทศรถเป็นสมัยการสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ พระเอกาทศรถไม่โปรดการสงคราม ไม้ได้ทำการขยายอำนาจทางทหารอย่างสมัยพระนเรศวร จึงเป็นสมัยการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ และเป็นสมัยที่มีมาตราการทางด้านภาษีอากรอย่างมาก พงศาวดารไทยกล่าวว่า “ทรงพระกรุณาตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยการ และส่วนสัดพัฒนากรขนอนตลาด” ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีจากผลิตผล ตลอดจนภาษีผ่านด่าน และภาษีตลาด ซึ่งตรงกับหลักฐานของฮอลันดาที่ว่าพระองค์ให้สำรวจจำนวนประชากร ให้มีการขึ้นสังกัดต่อนาย ให้มีการสำรวจสวนเพื่อเก็บภาษีต้นไม้(ที่ออกผล)เช่น มะพร้าว หมาก ส้ม มะนาว มะขาม ทุเรียน มะม่วง โดยเก็บต้นละ 1 เฟื้อง
(เท่ากับ 12 สตางค์ ครึ่ง หรือ = 8อัฐ) เป็นต้น และที่น่าสนใจก็คือมีการเสียภาษีมรดกเมื่อขุนนางสิ้นชีวิตลง 1ใน3ของทรัพย์สมบัติต้องตกเป็นของหลวง
พระเอกาทศรถครองราชย์เพียง 5 ปี เมื่อสวรรคตก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติแย่งชิงกันในหมู่พระโอรสของพระองค์เอง อันเป็นปัญหาทางการเมืองภายในของอยุธยาที่มีมาตลอดเกือบจะทุกสมัย การสืบราชสมบัติหรือการส่งต่ออำนาจทางการเมือง ไม่สามารถจะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันได้


พระศรีเสาวภาคย์


เป็นกษัตริย์องค์ที่ 21 เป็นพระโอรสของพระเอกาทศรถ (กษัตริย์องค์ที่ 20) ได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1ปีกับ 2เดือน เข้าใจว่าเป็นระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์ พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรคตไป

หมีงงในพงหญ้า:
นั่นไง เพราะฉะนั้น ซามูไรอโยธยาผิด คนดูกับคนคิดไม่ผิด

อ่ะโด่ ...

 ;D ;D ;D ;D ;D

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว