[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => สมถภาวนา - อภิญญาจิต => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 15 เมษายน 2553 01:30:49



หัวข้อ: ธรรมมะ กับชีวิตประจำวัน
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 15 เมษายน 2553 01:30:49

(http://thummada.com/php_upload3/DSCN3774.jpg)

ธรรมมะ กับชีวิตประจำวัน

หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ

๑. ศีล ด้วยการทำตนให้สงบ ระวังความชั่วทางกาย - ใจ
๒. สมาธิ ต้องฝึกจิต อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน
๓. ปัญญา ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ในหลักแห่งความจริง
๔. วิมุตติ ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต ที่พ้นจากเพลิงทุกข์ ว่าเป็นอย่างไร
๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน ว่าอย่างไรจึงรู้แน่
กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่

๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้พระอริยสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูปที่ต่างมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
ในวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆบูชา) เรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์ " อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย

(http://thummada.com/php_upload2/DSCN2044.jpg)

ฆราวาสธรรม ๔
คือธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่

๑. สัจจะ คือ พูดจริงทำจริงและซื่อตรง
๒. ทมะ คือ ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง
๓. ขันติ คือ อดทนตั้งใจและขยัน
๔.จาคะ คือ เสียสละ

ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ

๑.หิริ คือ ความละอายใจในการทำบาป
๒.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว

อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่

๑. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่
๒. วิริยะ คือ ความเพียร
๓. จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ
๔. วิมังสา คือ หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผล

สัมมัปปาธาน ๔

๑. พยายามเพื่อจะไม่ให้เกิดอกุศลกรรม คือ บาปเกิดในตน
๒. พยายามเพื่อจะละอกุศลธรรม คือ บาปที่เคยเกิดขึ้นแล้วในตน
๓. พยายามเพื่อจะเจริญกุศลธรรม คือ บุญให้มีในตน
๔. พยายามเพื่อรักษากุศลธรรม คือ บุญที่เกิดขึ้นแล้วในตนให้มีอยู่

ข้อแรกคือ ให้ระวังทวารหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้อที่เหลือ คือ ต้องขับไล่ของเก่า คืออย่าไปแยแส
ไม่ต้องรำพึง เพียงแต่เจริญสติ

(http://thummada.com/php_upload3/DSCN3641.jpg)

เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์

มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ

    -  ทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)
    -  ความดับทุกข์ (นิโรธ)
    -  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)

๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่

    -  ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)
    -  ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
    -  ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น

๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่

    -  ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)
    -  ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)
    -  ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)
    -  ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)

๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม
    และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่

    -  การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)
    -  การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)
    -  การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)

(http://thummada.com/php_upload2/DSCN2376.jpg)

๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ

    -  เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์
    -  เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส
    -  เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
    -  เว้นจากการค้าขายน้ำเมา
    -  เว้นจากการค้าขายยาพิษ

๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่

    -  เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น
    -  เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
    -  เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น
    -  เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่

๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ

    -  พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก
    -  พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่
    -  พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด
    -  พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ

๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อ
       ไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ

    -  ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
    -  ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒
    -  ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓
    -  จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔

(http://thummada.com/php_upload2/DSCN2724.jpg)

เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕ อย่าง

๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก
๒.จำมาก คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา
๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด
๔.เจนใจ คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที
๕.ทะลุปรุโปร่ง คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง

(http://thummada.com/php_upload2/DSCN3030.jpg)

อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการได้แก่

๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้
๔.ทำความเห็นให้ตรง
๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

(http://thummada.com/php_upload3/DSCN4360.jpg)

ไม่ได้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นโอวาทที่ท่านธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้กับนางวิสาขาก่อนออกเรือน
ซึ่งถือว่าเป็นข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป จึงได้นำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้


ที่มา : http://www.watchediluang.com (http://www.watchediluang.com)
Picsby : Google

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาค่ะ