[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 01:31:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: 9 นาทีที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ทักษิณ แจ้งติดโควิด ขอเลื่อนนัดอัยการสูงสุด ฟังคำสั่งคดี 112 พรุ่งนี้
         


ทักษิณ แจ้งติดโควิด ขอเลื่อนนัดอัยการสูงสุด ฟังคำสั่งคดี 112 พรุ่งนี้" width="100" height="100  ทักษิณ แจ้งติดโควิด ขอเลื่อนนัดอัยการสูงสุด ฟังคำสั่งคดี 112 พรุ่งนี้ (29 พ.ค.67)
         

https://www.sanook.com/news/9397034/
         

 2 
 เมื่อ: 38 นาทีที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ผลรางวัล คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 20 "มาตาลดา" สุดจริง! คว้ารางวัล ละครยอดเยี่ยม
         


ผลรางวัล คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 20 "มาตาลดา" สุดจริง! คว้ารางวัล ละครยอดเยี่ยม" width="100" height="100  ผลรางวัล คมชัดลึกอวอร์ด ครั้งที่ 20 "มาตาลดา" สุดจริง! คว้ารางวัล ละครโทรทัศน์-ซีรีส์ยอดเยี่ยม ด้าน "แอน ทองประสม" ซิวนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จาก เกมรักทรยศ
         

https://www.sanook.com/news/9397222/
         

 3 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"อิงฟ้า-ชาล็อต" เปิดความลับคืนหนึ่ง เผยจุดหวั่นไหวถลำลองคบ!
         


"อิงฟ้า-ชาล็อต" เปิดความลับคืนหนึ่ง เผยจุดหวั่นไหวถลำลองคบ!" width="100" height="100  อิงฟ้า-ชาล็อต เปิดความลับคืนหนึ่ง เผยจุดหวั่นไหว ถลำลองคบ? ชาล็อตเคลียร์คืนสังเวียนชิงมงฯ มิสแกรนด์ฯ อีกครั้ง 


         

https://www.sanook.com/news/9396986/
         

 4 
 เมื่อ: 5 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ยิ่งใหญ่! "กุมารสยาม" สูงเท่าตึก 4 ชั้น ชาวบ้านเชื่อให้โชคหลายงวด
         


ยิ่งใหญ่! "กุมารสยาม" สูงเท่าตึก 4 ชั้น ชาวบ้านเชื่อให้โชคหลายงวด" width="100" height="100  ถือได้ว่าเป็นกระแสฮือฮาในโลกโซเชียล กับเรื่องราว “กุมารสยาม มาบฟักทอง” รูปปั้นกุมารสีขาว ขนาดสูงเท่าตึก 4 ชั้น ที่มีหลายคนเชื่อว่าหากใครไปไหว้ ก็จะได้โชคลาภ คิดอะไรขออะไรก็จะสมหวัง ทำให้ผู้คนจากทั้งในพื้นที่ และต่างพื้นที่แห่กันไปไหว้ขอพรองค์กุมารนี้ ที่ถนนถนนมาบฟักทอง หมู่ 7 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
         

https://www.sanook.com/news/9396754/
         

 5 
 เมื่อ: 5 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ผู้หญิงในการเมืองท้องถิ่นไทย จำนวนมากขึ้นแต่สัดส่วนยังน้อยมาก
 


<span>ผู้หญิงในการเมืองท้องถิ่นไทย จำนวนมากขึ้นแต่สัดส่วนยังน้อยมาก</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-28T13:32:16+07:00" title="Tuesday, May 28, 2024 - 13:32">Tue, 2024-05-28 - 13:32</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>กมลชนก เรือนคำ รายงาน
กิตติยา อรอินทร์ อินโฟกราฟิก</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>คำกล่าวที่ว่าผู้หญิงครอบครองโลกนี้ไว้ครึ่งหนึ่งเป็นสัจธรรมที่พิสูจน์ได้ด้วยสถิติมานานแล้ว ถ้านับเอาแต่ทางกายภาพสัดส่วนประชาชนของโลกนั้นชายและหญิงจะมีสัดส่วน 50:50 บางช่วงเวลาสัดส่วนประชากรหญิงจะมากกว่าด้วยซ้ำไป แต่ในทางการเมืองนั้นปรากฏว่าสัดส่วนของผู้หญิงไม่เคยถึงครึ่งเลย แม้ในยุคสมัยปัจจุบันโลกจะยอมรับว่าความรู้ความสามารถของหญิงชายไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันเลย การงานสิ่งใดที่เคยคิดว่ามีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่ทำได้ ผู้หญิงก็พิสูจน์ให้เห็นมาแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า ทำได้เหมือนกันหรือหลายกรณีดีกว่าผู้ชายเสียด้วยซ้ำไป</p><p>อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ปรากฏในระดับโลกกลับชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงยังปรากฎตัวอยู่ในการเมืองทุกระดับซึ่งก็รวมถึง “ท้องถิ่น” น้อยอย่างน่าตกใจ พวกเธอยังคงถูกกีดกันจากโอกาสที่จะมีส่วนร่วมและบทบาทในการกำหนดทิศทางชุมชน รายงานภายใต้โครงการ #ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ ชิ้นนี้มุ่งเจาะลึกถึง ปัญหาการขาดแคลนตัวแทนผู้หญิงบนเวทีการเมืองท้องถิ่น ฉายภาพให้เห็นถึงอุปสรรคที่ผู้หญิงต้องเผชิญ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในระบบการเมืองท้องถิ่น</p><h2>ทั่วโลกผู้ยังมีผู้หญิงเป็นนักการเมืองท้องถิ่นน้อย</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53751906676_d896071c3c_b.jpg" width="1000" height="631" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">แผนภาพแสดงความหนาแน่นในประเทศที่ผู้หญิงได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น (ภาพจาก UN Women)</p><p>ทั่วโลกยังคงเผชิญกับการขาดแคลนตัวแทนผู้หญิงบนเวทีการเมืองในระดับท้องถิ่น ซึ่งอาจส่งผลให้เสียงของผู้หญิงถูกกลืนหายและถูกกีดกันโอกาสในการมีส่วนร่วม ข้อมูลจากรายงาน Women’s representation in local government: A global analysis โดย UN Women ระบุว่าจากข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2020 มีผู้ได้รับเลือกตั้งในสภาท้องถิ่นทั่วโลกทั้งหมด 6.02 ล้านคน ใน 133 ประเทศและดินแดน แต่มีเพียง 2.18 ล้านคน (36%) เท่านั้นที่เป็นผู้หญิง แม้ว่าจะมีผู้หญิงอยู่ในการเมืองระดับท้องถิ่นสูงกว่าในการเมืองในรัฐสภาระดับชาติซึ่งพบว่ามีเพียง 25% เมื่อคำนึงถึงสัดส่วนประชากรหญิงในโลกนี้ซึ่งมีอยู่เกือบเท่าๆกับผู้ชายคือ 49.76 : 50.24</p><p>มีเพียง 20 ประเทศ (คิดเป็น 15% ของประเทศที่มีข้อมูล) ที่มีสัดส่วนผู้หญิงในการตัดสินใจระดับท้องถิ่นมากกว่า 40% และมีอีก 28 ประเทศที่มีตัวแทนผู้หญิงอยู่ระหว่าง 30-40% ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ที่มีข้อมูลนั้นมีตัวแทนผู้หญิงน้อยมาก โดย 70 ประเทศมีตัวแทนผู้หญิงอยู่ระหว่าง 10-30% และ 15 ประเทศมีตัวแทนผู้หญิงน้อยกว่า 10%</p><p>ภูมิภาคที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการเมืองท้องถิ่นมากที่สุดคือในเอเชียกลางและเอเชียใต้ (41%) ตามมาด้วยยุโรปกับอเมริกาเหนือ (35%) โอเชียเนีย (32%) แอฟริกาใต้สะฮารา (29%) เอเชียตะวันออกและอาเซียน (25%) ละตินอเมริกา (25%) ส่วนภูมิภาคที่ผู้หญิงมีบทบาทน้อยที่สุดคือเอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ (18%)</p><p>ตัวอย่างประเทศที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการเมืองท้องถิ่นสูงสุด ได้แก่ แอนติกาและบาร์บูดา (67%) โบลิเวีย (50%) เบลารุส, เซเนกัล และตูนิเซีย (48%) ไอซ์แลนด์ (47%) และคอสตาริกา, นิวแคลิโดเนีย และยูกันดา (46%)</p><p>ทั้งนี้ในประเทศที่ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการเมืองท้องถิ่นสูงนั้น ส่วนหนึ่งจากระบบ 'โควตา' ถือเป็นปัจจัยสำคัญในความก้าวหน้าของการมีส่วนร่วมของผู้หญิงกับการเมืองท้องถิ่น ดังจะได้กล่าวต่อไป</p><h2>หญิงไทยในการเมือง</h2><p>ถึงสิ้นปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรเป็นหญิง 33.8 ล้านคน ชาย 32.2 ล้านคน ในทางสถิติสมควรที่จะมีผู้หญิงในการเมืองทุกระดับในสัดส่วนที่มากกว่าผู้ชายได้แล้ว แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ทั้งๆที่ผู้หญิงต้องการมีบทบาททางการเมืองมานานแล้ว แต่ก็กฎหมายอีกนั่นแหละส่วนใหญ่เขียนโดยผู้ชายเพิ่งจะอนุญาตเมื่อปี พ.ศ. 2525 ที่กำหนดให้ผู้หญิงสามารถลงสมัครเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CDEAW)โดยมีสาระสำคัญตอนหนึ่ง คือ “การเลือกปฏิบัติต่อสตรีเป็นการขัดต่อหลักการของความเสมอภาคของสิทธิและความเคารพต่อเกียรติศักดิ์ของมนุษย์ เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของสตรีด้วยเงื่อนไขที่เสมอภาคกันกับบุรุษในการดำรงอยู่ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในประเทศของตน ขัดขวางความเจริญเติบโตแห่งความรุ่งเรืองของสังคมและครอบครัวและทำให้พัฒนาการอย่างสมบูรณ์ของศักยภาพต่าง ๆ ของสตรีในการให้บริการแก่ประเทศของตนและมนุษยชาติเป็นไปได้โดยยากยิ่งขึ้น”</p><p>จากนั้นปี พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้สั่งการให้ส่วนราชการทุกแห่งเปิดโอกาสให้สตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้ทุกตำแหน่ง พ.ศ. 2536 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้มีการยกเลิกข้อห้ามการแต่งตั้งสตรีเป็นปลัดอำเภอ และในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขึ้น ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถเข้าสู่การเมืองระดับท้องถิ่นในชุมชนได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 มีการประชุมสตรีระดับโลกที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งได้จุดประกายความหวังของแนวคิดที่จะผลักดันให้ผู้หญิงไทยเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้น องค์กรผู้หญิงเริ่มเคลื่อนไหวในเชิงรุกอย่างจริงจัง เพื่อปลุกเร้าใจให้ผู้หญิงกล้าเสนอตัวเป็นผู้ลงสมัครสมาชิก อบต. ในพื้นที่ทั่วประเทศให้มากขึ้น แต่กระนั้นสถานการณ์ของผู้หญิงในการเมืองระดับท้องถิ่นยังคงล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ๆ ตัวอย่างข้อมูลที่รวบรวมมาได้มีดังเช่น ข้อมูลที่รวบรวมโดยสถาบันพระปกเกล้า แสดงให้เห็นว่าจนถึงปี 2557 คือเมื่อทศวรรษที่แล้วนี่เองที่สัดส่วนของผู้หญิงในองค์กรบริหารระดับท้องถิ่น อย่าง องค์การบริหารส่วนจ้งหวัด (อบจ.) เทศบาลและส่วนตำบล มีเฉลี่ยเพียงแค่ 7 % อีกทั้งสัดส่วนการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงก็ยังน้อยมาก คือพบว่า นายกอบจ.ที่เป็นเพศหญิงมี 12% ระดับเทศบาลและ อบต. มีสัดส่วนคนที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นเพศหญิงไม่ถึง 10%</p><h4>ตารางที่ 1. สัดส่วนผู้บริหารท้องถิ่นระหว่างเพศชายและหญิง จากการเลือกตั้งท้องถิ่นปี พ.ศ.2557</h4><table><tbody><tr><td width="321">&nbsp;</td><td width="132"><p class="text-align-center"><strong>ชาย</strong></p></td><td width="148"><p class="text-align-center"><strong>หญิง</strong></p></td></tr><tr><td width="321">องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)</td><td width="132"><p class="text-align-right">67 คน (88%)</p></td><td width="148"><p class="text-align-right">9 คน (12%)</p></td></tr><tr><td width="321">เทศบาล</td><td width="132"><p class="text-align-right">2,233 คน (91%)</p></td><td width="148"><p class="text-align-right">208 คน (9%)</p></td></tr><tr><td width="321">องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)</td><td width="132"><p class="text-align-right">4,980 คน (93%)</p></td><td width="148"><p class="text-align-right">354 คน (7%)</p></td></tr><tr><td width="321">องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ</td><td width="132"><p class="text-align-right">2 คน (100%)</p></td><td width="148"><p class="text-align-right">0 คน (0%)</p></td></tr></tbody></table><p>ส่วนข้อมูลจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเมื่อปี 2560 พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบไปด้วย 20 จังหวัด แต่มีเพียง 4 จังหวัดเท่านั้นที่มีนักการเมืองท้องถิ่นหญิงดำรงตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม และมุกดาหาร โดยแต่ละจังหวัดมีสัดส่วนของนักการเมืองท้องถิ่นหญิงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นหญิงที่แตกต่างกัน ดังนี้</p><ul><li>นครราชสีมา มี อปท. ทั้งหมด 334 แห่ง มีนักการเมืองท้องถิ่นหญิงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น 42 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล 18 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 23 คน คิดเป็น 12.57%</li><li>บุรีรัมย์ มี อปท. ทั้งหมด 209 แห่ง มีนักการเมืองท้องถิ่นหญิงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น 15 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ 1 คน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล 3 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 11 คน คิดเป็น 7.18%</li><li>มหาสารคาม มี อปท. ทั้งหมด 143 แห่ง มีนักการเมืองท้องถิ่นสตรีที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น 7 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล 2 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 4 คน คิดเป็น 4.89%</li><li>มุกดาหาร มี อปท. ทั้งหมด 56 แห่ง มีนักการเมืองท้องถิ่นหญิงที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารท้องถิ่น 6 คนได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง 1 คน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล 2 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน คิดเป็น 10.71%</li></ul><p>ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สัดส่วนของผู้หญิงที่เข้าสู่การเมืองระดับท้องถิ่นจัดได้ว่าเติบโตช้ามาก ข้อมูลสรุปผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 จังหวัด อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2563 (รวบรวมโดยสถาบันพระปกเกล้า) พบว่าจากจำนวนนายก อบจ. ทั้งหมด 76 คน เป็นเพศชาย 63 คน (83%) เพศหญิง 13 คน (17%)</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53752381660_04e0a1d317_z.jpg" width="573" height="573" loading="lazy">
ผศ.ดารารัตน์ คำเป็ง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา</p><p>ผศ.ดารารัตน์ คำเป็ง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ให้ข้อมูลว่าผู้หญิงกับการเมือง เป็นประเด็นที่มีคนสนใจกล่าวถึงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความสนใจของการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศสภาพ จากการประเมินความเท่าเทียมทางเพศจากหลายแห่งไม่ว่า &nbsp;Global Gender Gap ของ World Economic Forum หรือ Gender inequality index (GII) ของ Human Development Report โดย UNDP โดยตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้หญิงจากสัดส่วนของที่นั่งในรัฐสภาเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งพบว่าทั่วโลกยังคงมีสัดส่วนที่น้อยมาก โดยเมื่อเทียบกับความเท่าเทียมทางเพศด้านอื่น ๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา และด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น</p><p>สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะของไทยในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2557 นับได้ว่าเป็นภาวะของหยุดนิ่งของการเลือกตั้งท้องถิ่น จนกระทั่งปี พ.ศ.2563 ที่เริ่มมีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด และปี พ.ศ.2564 ในการเลือกตั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมา โดยเมื่อวิเคราะห์จากการลงสมัครรับเลือกตั้ง และผู้ชนะการเลือกตั้งที่ผ่านมา ผู้หญิงก็เริ่มมีจำนวนที่นั่งในการปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นดารารัตน์จึงสรุปในเบื้องต้นว่า หากเราสามารถดำรงอยู่ในระบอบประชาธิปไตยและมีกลไกการเลือกตั้งที่ยุติธรรม ก็จะเป็นปัจจัยที่สามารถส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมืองได้ในทุกระดับ</p><div class="more-story"><p>ข่าวเจาะชุด: ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</p><ul><li>ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ ความหวังของ “คนไร้ที่พึ่ง” (1) กลับไม่ได้เพราะไม่มีบ้านให้กลับ, ภัทรภร ผ่องอำไพ รายงาน, 16 พ.ค. 2567</li><li>สิทธิคนพิการนอกเมืองหลวง: ความเหลื่อมล้ำอันซ้ำซ้อน, สราวุธ ถิ่นวัฒนากูล รายงาน, 29 เม.ย. 2567</li><li>เคว้งคว้างอยู่กลางเมืองใหญ่ด้วยสถานะของ ‘คนไร้บ้าน’, วรรณรี ศรีสริ รายงาน, 10 ก.พ. 2567</li><li>สภาเด็กและเยาวชน? อะไร อย่างไร ทำไมไม่รู้ [ส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยด้วยนะ รู้ยัง], อาทิตยา เพิ่มผล รายงาน, 10 ก.พ. 2567</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>เพดานแก้ว: ปัญหาอุปสรรคของนักการเมืองท้องถิ่นหญิง</h2><p>ความคาดหวังจากบรรทัดฐานทางสังคมและประวัติศาสตร์ที่กำหนดว่า การเมืองการปกครองเป็นเรื่องของผู้ชาย หญิงจึงมักถูกสอนว่าควรจำกัดตัวเองอยู่แต่ในบทบาทแม่บ้านและการดูแลครอบครัวทำให้ผู้หญิงขาดพื้นที่และโอกาสในการสร้างเครือข่ายและแสดงศักยภาพทางการเมือง รวมถึงการขาดแคลนแหล่งทุนสนับสนุนการรณรงค์ ยิ่งในบางสังคมอคติและการเลือกปฏิบัติทางเพศยังมีมากยิ่งทำให้ผู้หญิงที่ต้องการเข้าสู่การเมืองต้องเผชิญกับอุปสรรคเพิ่มเติม</p><p>ในงานศึกษา 'ภูมิหลัง แรงจูงใจ และบทบาทของนักการเมืองสตรีท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์' ปี 2561 โดยอัจฉราพรรณ สิ่วไธสง และเพ็ญณี แนรอท ที่ได้ทำการศึกษานักการเมืองท้องถิ่นหญิงในจังหวัดบุรีรัมย์ 11 คน ชี้ถึงปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่เวทีทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นหญิงไว้อาทิเช่น ปัญหาด้านสรีระของร่างกายผู้หญิง และ ภาระครอบครัว แต่ความเป็นจริงปัจจัยเหล่านี้ก็ดูไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรมากนัก ในกรณีที่นักการเมืองท้องถิ่นหญิงไม่สามารถไปปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองเพราะเหตุที่ร่างกายไม่เอื้ออำนวยนั้น ก็อาจจะมีการมอบหมายงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ นอกจากนี้ นักการเมืองหญิงหลายคนแสดงให้เห็นแล้วว่าการที่ผู้หญิงเข้ามาทำงานการเมืองนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อครอบครัวให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใดและสามารถทำหน้าที่ทั้ง 2 อย่างควบคู่กันไปได้ด้วยดี จากการแบ่งเวลาและการแบ่งเบาภาระจากครอบครัวของนักการเมืองท้องถิ่นหญิงที่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเดิม&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/50682201491_849bf0393e_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">
จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ นักกิจกรรมหญิงรุ่นใหม่</p><p>ผู้หญิงเจออุปสรรคตั้งแต่ด่านแรก นั่นคือตั้งแต่ การตัดสินใจเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นเลยทีเดียว &nbsp;จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ นักกิจกรรมหญิงรุ่นใหม่ ซึ่งตั้งปณิธานว่าจะไปทำงานทางการเมืองที่บ้านเกิดคือจังหวัดอำนาจเจริญ มองว่าผู้หญิงที่เป็นคนรุ่นใหม่สนใจการเมืองระดับท้องถิ่นกันน้อยนั้น อาจเป็นเพราะว่าเวทีการเมืองท้องถิ่นมีเรื่องอิทธิพล เงิน ธุรกิจสีเทา เข้ามาเกี่ยวข้อง และคนที่สามารถคุมเรื่องเหล่านี้ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย ที่ผ่านมา นายก อบต. อบจ. ส.อบต. สจ. ฯลฯ ส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นผู้ชาย ทำให้ผู้หญิงถูกผลักออกจากการเมืองระดับท้องถิ่น และในบางครั้งหากผู้หญิงแต่งงานมีครอบครัวแล้ว มักจะไม่ได้มีโอกาสตรงนี้ เพราะต้องดูแลครอบครัว</p><p>จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ผู้หญิงไทยเผชิญกับ “เพดานแก้ว” (The Glass Ceiling ซึ่งหมายถึง "พรมแดนขวางกั้นโอกาสและอำนาจระหว่างเพศและชนกลุ่มน้อยที่โปร่งใสที่แม้จะมองเห็นทะลุแต่ไม่อาจข้ามผ่านไปได้") ในระบบการเมืองท้องถิ่น โดยในงานศึกษาเรื่อง "เพดานแก้วกับบทบาททางการเมืองของผู้หญิงไทยในระบบการเลือกตั้ง" โดย รศ.ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ ที่ได้สัมภาษณ์ผู้นำและนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ชี้ว่าความคิดเรื่องเพดานแก้วยังปรากฏให้เห็นเป็นเส้นแบ่งค่านิยมทางเพศของคนในสังคมไทยทั้งในองค์กรภาคการเมืองหรือภาคธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนผู้หญิงในการแสดงบทบาททั้งทางการเมืองและสังคมซึ่งยังคงเจือปนไปด้วยข้อจำกัดเชิงโครงสร้างที่มีระบบความเชื่อ จารีตประเพณี การกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงพบกับความยากลำบากในการแสดงออกบนพื้นที่ทางการเมืองและในสนามแข่งขันการเลือกตั้ง ผนวกกับระบบการเลือกตั้งที่แม้จะมองผ่านข้อจำกัดทางเพศที่ไม่ใช่เรื่องของสรีระแต่ค่านิยมเรื่องเพศปรากฏในระดับโครงสร้างทางการเมือง ส่งผลให้ผู้หญิงต้องฟันฝ่าและใช้ทักษะ ความสามารถต้นทุนทางสังคมมากกว่าผู้ชายหรือผู้หญิงด้วยกันเพื่อเข้าสู่เวทีการเมืองผ่านการแข่งขันการเลือกตั้</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53752349975_2eb70941df_b.jpg" width="1024" height="536" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">เกศริน ตุ่นแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่</p><p>นอกจากนี้ ถึงแม้จะผ่านการเลือกตั้งและเข้าถึงอำนาจการบริหารแล้ว ผู้หญิงก็ยังพบกับอุปสรรคอยู่ เกศริน ตุ่นแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าประสบการณ์ว่า "เมื่อก่อนเขาไม่ได้ให้ความมั่นใจผู้หญิง เขาปลูกฝังไว้ว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง ปัญหาที่ผ่านมาเลยคือ เขาไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นให้กับผู้หญิงในการทำงาน เขามองว่าผู้หญิงทำแต่เบื้องหลักเช่น ซักผ้า ทำอาหาร ไปไร่ไปสวน ไม่น่าจะทำได้ แต่ตั้งแต่สมัยท่านยิ่งลักษณ์เป็นนายกมาก็ทำให้มีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงในเรื่องของผู้หญิงที่ขึ้นมาเป็นผู้นำ อย่างเราที่เป็นนายก อบต. เราต้องทำจากตนเองและครอบครัวก่อน และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชน"</p><p>นอกจากนี้ผู้หญิงยังต้องใช้พลังมหาศาลในการพิสูจน์ตนเองว่าบริหารท้องถิ่นได้เทียบเท่าหรือดีกว่าผู้ชาย โดยเกศรินกล่าวต่อไปว่า "จากที่ผู้ชายทำ 100% เราต้องทำ 500% ทุกอย่าง มันเป็นปัญหาอุปสรรคเลย เพราะมุมมองที่ว่าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง แต่ ณ ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว ผู้หญิงผู้ชายเราเดินไปด้วยกัน และทำงานควบคู่กัน และสามารถที่จะทำงานร่วมกันได้"&nbsp;</p><p>ด้าน วงศ์อะเคื้อ บุญศล อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร มองว่าปัญหาและอุปสรรคที่นักการเมืองท้องถิ่นหญิงเจอนั้น ได้แก่การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม โดยในสังคมบางส่วนยังคงมีชุดความเชื่อว่าผู้นําที่ดีและเหมาะสมต้องเป็นเพศชาย โดยเฉพาะการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ยกตัวอย่างคํากล่าวที่ได้รับที่ยังคงสะท้อนชุดความคิดของกลิ่น อายสังคมชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) เช่น “เป็นผู้หญิงในสภาก็ยกมือตามเค้าไป การเมืองต้องให้ผู้ชายคิด” “กิ่งแก้วทำงานเก่ง ลงพื้นที่ไม่เคยขาด ดีทุกอย่าง เสียดายอย่างเดียวเกิดเป็นผู้หญิง” (ประสบการณ์ของวงศ์อะเคื้อเอง), “เป็นผู้หญิงแล้วจะไปรู้อะไร”, “ผู้หญิงมาเป็นนักการเมืองทำไม ไปหาผัวรวยให้เค้าเลี้ยงสบาย ๆ อยู่บ้านไม่ต้องมาเหนื่อย” เป็นต้น แต่ถึงแม้จะยังมี บางส่วนที่ไม่ยอมรับและไม่เชื่อมั่นการเป็นผู้นําของเพศหญิง ก็มีเป็นส่วนน้อยกว่าที่ปัจจุบันสังคมเปิดกว้างมองคนเท่ากัน มองคุณค่าของนักการเมืองที่เลือกจากศักยภาพและความตั้งใจมากกว่าเพียงเรื่องเพศ</p><p>"นอกจากนี้ 'การวางตัว' คืออีกข้อจำกัดที่นักการเมืองหญิงต้องเจอ ในการทำงานการเมืองมักจะต้องร่วมงานและรายล้อมด้วยเพศชายจำนวนเยอะกว่าทั้งนั้นการเว้นระยะห่างและวางตัวให้เหมาะสมของนักการเมืองหญิงในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การร่วมเดินทาง การร่วมงานสังสรรค์ในพื้นที่ การทำงานในเวลาวิกาลจึงอาจถือเป็นข้อจำกัดบ้าง ของนักการเมืองหญิง" วงศ์อะเคื้อ ระบุ</p><div class="note-box"><h2>มุมมองจากผู้ชาย</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53602920022_7ab12361de_b.jpg" width="1024" height="607" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง</p><p>รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้มีงานศึกษาด้านท้องถิ่นและการกระจายอำนาจมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวว่า "ส่วนตัวมองว่าเรื่องเพศไม่ใช่อุปสรรคของการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองเท่าเครือข่ายทางการเมืองและทุน และยิ่งสมัยนี้หากเราโฟกัสไปที่เพศ ก็อาจทำให้เราหลงประเด็นไปอีก เพราะก็จะมีสัดส่วนของเพศทางเลือกไปอีก (ซึ่งไม่ได้มีปัญหาหากเพศทางเลือกจะลง แต่การกำหนดสัดส่วนก็คงยุ่งยากไปอีก) เพราะประเด็นการเมืองท้องถิ่น คือ การส่งตัวแทนของเราไปกำหนดทิศทางทางการเมืองท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายตรวจสอบในสภาท้องถิ่น"</p><p>"สำหรับผมประเด็นเรื่องเพศกับการเมืองท้องถิ่น ไม่ใช่ปัญหาเท่ากับการที่การเมืองท้องถิ่นถูกครอบงำจากส่วนกลางผ่านการรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองและทรัพยากรอยู่ที่ส่วนกลางและกรุงเทพฯ ประเด็นที่สำคัญคือ ทำยังไงถึงจะยุติตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการส่วนกลาง ให้เหลือเพียงตำแหน่งนายก อบจ. ซึ่งคล้ายกับแคมเปญ "เลือกตั้งผู้ว่าฯ" แต่เพียงต้องการจะลดทอนความสำคัญของตำแหน่งนี้ที่เป็นตัวแทนของอำนาจส่วนกลางเสมอมา และช่วงชิงคำว่านายก อบจ.ให้มีบทบาทแทน ไม่ต้องไปรณรงค์สร้างคำใหม่ หรืออธิบายผู้ว่าราชการจังหวัดเสียใหม่ ... ส่วนข้อเสนอที่จะผลักดันให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น คงเป็นแนวทางสนับสนุนนโยบายสนับสนุนการรวมกลุ่มของผู้หญิงที่หลากหลายขึ้น เช่น การรวมตัวกันในที่ทำงานเพื่อต่อรองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สหภาพแรงงาน กลุ่มให้คำปรึกษา โดยอาจสร้างสิ่งที่คล้ายกับกรรมาธิการในสภา แต่เป็นในระดับสภาท้องถิ่น และทำงานเชื่อมกันทั้งระดับ อบต. เทศบาล และ อบจ." รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ ระบุ</p><p>ด้าน ธนากร สัมมาสาโก อดีตผู้สมัครสมาชิกสภา อบจ.จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ภาพในฐานะผู้เคยเข้าไปแข่งขันและพ่ายแพ้ในสนามการเมืองท้องถิ่นว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นคนธรรมดาสามัญครอบครัวไม่ร่ำรวยและมีอิทธิพลนั้น การเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นก็เป็นเรื่องยากสำหรับทั้งเพศชายและหญิง เพราะนอกจากอุปสรรคด้านเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องเงินค่าสมัคร และทรัพยากรในการหาเสียงแล้ว ก็ยังมีอุปสรรคอื่น ๆ อีกเช่น การที่ไม่ได้เป็นคนของเครือข่ายของนักการเมืองบ้านใหญ่ในพื้นที่ ไม่มีระบบอุปถัมภ์ ในพื้นที่คอยหนุนหลัง, การซื้อเสียงอย่างหนัก เพราะการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นแค่คะแนนเดียวก็สามารถชี้เป็นชี้ตายได้ การซื้อเสียงในบางครั้งอาจจะมีมูลค่าสูงกว่าการเลือกตั้งระดับประเทศด้วยซ้ำ รวมถึงปัญหาอำนาจรัฐ หากคุณเปิดตัวอยู่คนละฝั่งฟากกับรัฐบาลในขณะนั้น ก็อาจโดยอำนาจรัฐกลั่นแกล้งได้</p><p>“ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ถ้าเป็นคนธรรมดาสามัญชนชั้นรากหญ้าหรือเกิดในครอบครัวที่ไม่ร่ำรวยและมีอิทธิพลนั้นการเข้าสู่การเมืองท้องถิ่นก็เป็นเรื่องยากเหมือน ๆ กัน เรื่องค่าใช้จ่ายสำคัญมากทั้งค่าสมัครหรือการหาเสียง ควรมีการแก้ไขเรื่องนี้เช่นการสมัครฟรีไปเลย” ธนากร ระบุ</p></div><h2>ผู้หญิงกับการทำงานพัฒนาท้องถิ่น&nbsp;</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53752230694_040ef09f33_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วงศ์อะเคื้อ บุญศล อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร</p><p>วงศ์อะเคื้อ ชี้ว่าข้อดีการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นหญิงนั้นก็คือได้นําเสนอประเด็นและสะท้อนปัญหาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงและกลุ่มเปราะบาง ซึ่งในหลายครั้งปัญหาเหล่านี้ถูกละลืมหรือไม่ถูกพูดถึงในสภาท้องถิ่น โดยการนําเสนอประเด็นนี้นําไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายที่ ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม เช่น ปัญหาการศึกษา ปัญหาความรุนแรงใน ครอบครัว และการส่งเสริมการสร้างรายได้ของกลุ่มสตรี เป็นต้น รวมทั้งการเป็นกระบอกเสียงที่มีพลังในการเรียกร้องหรือสร้างความตระหนักแก่สังคม ผู้ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในพื้นที่ต่างต้องเกิดจากความไว้วางใจจากประชาชน ดังนั้นการเป็นผู้นําในท้องถิ่นจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นและเป็นกระบอกเสียงที่มีพลังกว่าในการสร้างความตระหนักในประเด็นที่มีความเฉพาะของผู้หญิง</p><p>"ผู้หญิงยังมีความละเอียดอ่อนและความเห็นอกเห็นใจทำให้เกิดความร่วมรู้สึก (Empathy) ในการแก้ปัญหานั้นอย่างจริงจังทำให้การรับทราบปัญหาเพื่อนําประสานต่อสู่การแก้ไขมีการติดตามและนําไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม จึงทำให้นักการเมืองท้องถิ่นหญิงสามารถเข้าถึงได้ในทุกกลุ่มปัญหาได้อย่างลึกซึ้ง" วงศ์อะเคื้อ ระบุ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53751938391_1164daa9c1_b.jpg" width="1024" height="536" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 10</p><p>ศรีโสภา โกฏคำลือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 10 ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนด้วยนั้น มองว่าการทำงานท้องถิ่นของผู้หญิง นอกจากนักการเมืองท้องถิ่นแล้ว สส.เขต ก็มีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ</p><p>"ยกตัวอย่าง สมมติว่าเรามีโครงการก่อสร้างถนนในเขตของพื้นที่เทศบาล แล้วเผอิญว่ารายได้ของเทศบาลนั้นไม่สามารถมากพอโดยเฉพาะพื้นที่ของตนเอง [อำเภอแม่แจ่ม (เฉพาะ ต.บ้านทับ ต.ปางหินฝน ต.กองแขก และ ต.ท่าผา) อำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า และอำเภออมก๋อย] ซึ่งอยู่ใกล้เขตอุทยานแห่งชาติหรือกรมป่าไม้เสียส่วนใหญ่ ทำให้รายได้ของเทศบาลจะไม่ค่อยเยอะถ้าเปรียบเทียบในเมือง ซึ่งมันทำให้บางครั้งทรัพยากรที่เขามี อย่างเช่นถนนที่เขาต้องดูแลรับผิดชอบมันเกินศักยภาพเขาเพราะเขาไม่มีรายได้มากเพียงพอ มันก็เป็นหน้าที่ของ สส.เขต ที่จะต้องยื่นมือไปช่วยกับทางเทศบาลหรือทางท้องถิ่น ยกตัวอย่างถนนเส้นนี้เขาไม่สามารถดูแลได้ เป็นไปได้ไหมสามารถโอนย้ายให้ไปกับกระทรวงคมนาคมแทน เพื่อเขาจะได้รับผิดชอบและดูแลและมาสร้างถนนให้เรา" ศรีโสภา ระบุ</p><p>ศรีโสภามองว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทยความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ยังคงมีอยู่ และนักการเมืองหญิงในพื้นที่นั้น ๆ ก็ต้องอยากดูแลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานและดูแลเรื่องเศรษฐกิจก่อนเป็นอันดับแรก แม้เธอยังเชื่อว่าเรื่องสิทธิเสรีภาพของความเป็นผู้หญิงมันควรเกิดขึ้นเช่นเดียวกันเพราะว่าด้วยความเท่าเทียม แต่เธอให้ความเห็นส่วนตัวว่าหากเป็นพื้นที่ของเธอ เธอก็ต้องแก้เรื่องที่ดินทับซ้อนก่อนเพราะเป็นปัญหาเร่งด่วน ก่อนที่จะมาแก้เรื่องสิทธิของผู้หญิง ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าสิทธิของผู้หญิงไม่สำคัญ แต่ก็แค่อยากให้คนในพื้นที่ได้รับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ส่งผลกระทบโดยตรงก่อน</p><p>"หน้าที่ส่วนใหญ่ของ สส.เขตในพื้นที่ เป็นเหมือนไกล่เกลี่ยและดูแลความเหมาะสมกับสิ่งที่ท้องถิ่นมี อย่างเชียงใหม่เขต 10 ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่เลย รับผิดชอบเยอะมาก &nbsp;ส่วนใหญ่เขาเป็นชนเผ่า ชาติพันธุ์ เขาก็อยู่กันกระจายคือเขาแฮปปี้ตรงไหนเขาก็จะอยู่ตรงนั้น ซึ่งมันก็เป็นข้อท้าทาย ที่ทำให้เราต้องทำงานหนักขึ้น" ศรีโสภา ระบุ</p><p>ด้าน เกศริน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่วิน ชี้ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ละเอียดอ่อน เข้าหาได้ทุกเพศทุกวัย ไปได้ทุกที่ ดังนั้นการที่ผู้หญิงเป็นผู้นำสามารถเข้าหากลุ่มแม่บ้าน การทำกิจกรรมอะไร สามารถเข้าหาได้ทุกอย่าง ในเรื่องของฝีมือผู้หญิงเองก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าผู้ชาย เช่น การทำงาน การประสานงาน การลงพื้นที่ ทำทุกอย่างที่เป็นภารกิจของท้องถิ่น โดยเฉพาะนายก อบต. ชุมชนต้องได้ ในส่วนภาครัฐ ภาคีเครือข่ายด้วย ตอนนี้เขาก็มองว่าผู้หญิงก็สามารถทำได้ เราก็พิสูจน์ได้ เมื่อก่อนผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในท้องถิ่นน้อยมาก หลังจากที่เราเข้ามาแล้ว ผู้หญิงที่ได้รับเลือกการเป็นผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มากขึ้นขึ้นในอำเภอแม่วาง</p><p>"ตั้งแต่เราเข้ามาเป็นนายก อบต.เราก็ทำให้เขาเห็นว่าผู้หญิงอย่างเราก็ทำได้ สมัยเมื่อก่อนไฟฟ้าที่จะเข้าในชุมชน บางหมู่บ้านที่ทุรกันดารเขามองว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน ขนาด สส.เขต ในอดีตยังยังทำไม่ได้ แต่เราสามารถดึงงบประมาณมาให้ชาวบ้านได้ มันก็เริ่มมีการให้ความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ เราสามารถทำได้ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่มันเป็นปัญหาใหญ่ของภูมิภาคเรา เรื่องปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาเขตพื้นที่ในเขตป่าสงวน เราไม่ได้ดูถูกผู้ชาย แต่ชาวบ้านบอกว่าขนาดผู้ชายยังทำไม่ได้ แต่ผู้หญิงทำได้ เขาเลยให้ความเชื่อมั่นในตัวเรา" เกศริน ระบุ</p><h2>ระบบโควตา</h2><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53750986567_6a8cb680f2_c.jpg" width="800" height="600" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ภาพจาก Ground Report</p><p>ในงานศึกษาเรื่อง 'การเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย : ความเป็นไปได้ของการนำระบบโควตาผู้หญิงในการเมืองมาใช้ในสังคมไทย' โดย ตรีวิทย์ อัศวศิริศิลป์ ระบุว่า “ระบบโควตาผู้หญิงในการเมือง” (Gender Quota System) หมายถึง "การกําหนดสัดส่วนไม่ว่าจะเป็น

 6 
 เมื่อ: 8 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
เผยภาพ เมียกับ ขรก.ใหญ่ เลยเถิดกันเพราะ "สวิงกิ้ง" เผยในกลุ่มมีใครบ้าง ขนลุกเลย!
         


เผยภาพ เมียกับ ขรก.ใหญ่ เลยเถิดกันเพราะ &quot;สวิงกิ้ง&quot; เผยในกลุ่มมีใครบ้าง ขนลุกเลย!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เปิดภาะภรรยากับหนุ่มข้าราชการ ที่สานสัมพันธ์จากกลุ่มสวิงกิ้ง ล่าสุดกลุ่มแตก แค่บอกว่าในกลุ่มมีใครบ้าง ซี้ดปากเลยทีเดียว
         

https://www.sanook.com/news/9396510/
         

 7 
 เมื่อ: 10 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
หลอนกันหมด เด็ก 7 ขวบ อาการคล้าย "ผีเข้า" หลังดื่มนมถั่วเหลือง หมอตรวจถึงรู้เป็นอะไร
         


หลอนกันหมด เด็ก 7 ขวบ อาการคล้าย &quot;ผีเข้า&quot; หลังดื่มนมถั่วเหลือง หมอตรวจถึงรู้เป็นอะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หลอนกันหมด จู่ๆ เด็กหญิง 7 ขวบ อาการคล้าย “ผีเข้า” หลังดื่มนมถั่วเหลือง หมอตรวจถึงรู้ป่วยอะไร


         

https://www.sanook.com/news/9395266/
         

 8 
 เมื่อ: 13 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ทีเด็ด "แอปเปิ้ล สีสะเหงียน" ภรรยาสุดเลิฟของ "ฟลุค จิระ" ชุดลูกไม้ซีทรูบางเบา แซ่บทุกช็อตจริงๆ
         


<img src="?ip/scrop/w100h100/q80/webp" alt="ทีเด็ด &quot;แอปเปิ้ล สีสะเหงียน&quot; ภรรยาสุดเลิฟของ &quot;ฟลุค จิระ&quot; ชุดลูกไม้ซีทรูบางเบา แซ่บทุกช็อตจริงๆ" width="100" height="100" />&nbsp;&nbsp;แอปเปิ้ล สีสะเหงียน อวดหุ่นสุดเป๊ะมัดใจสามีสุดหล่อ โมเมนต์บนเตียงบอกเลยว่าสวยแซ่บทุกช็อตจริงๆ
         

https://www.sanook.com/news/9395762/
         

 9 
 เมื่อ: 13 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย Kimleng - กระทู้ล่าสุด โดย Kimleng





จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

คุณาชีวก

คุณาชีวก นักบวชชีเปลือย ผู้ที่ทำให้พระเจ้าอังคติราช เจ้าเมืองมิถิลา ที่ทรงรักษาศีลทำทานมาตลอด เกิดความหลงผิด"ละเว้น"การรักษาศีลทำทาน หลังจากได้สนทนาธรรมกับคุณาชีวก เรื่องราวใน"พรหมนารทชาดก"(ชาดกที่ ๘ ในทศชาติชาดก) สอนธรรม ในการวางใจให้เป็นกลาง บำเพ็ญเพียรบารมี"อุเบกขาบารมี"การใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ ไม่ยินดี ยินร้ายกับความชอบ และความชัง

ที่มาข้อมูล/ภาพ : กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม กองโบราณคดี กรมศิลปากร

 10 
 เมื่อ: 13 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย Kimleng - กระทู้ล่าสุด โดย Kimleng

ภาพจาก อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า - หมู่เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

นางพันธุรัตน์ - ยักษ์ที่มีหัวใจรักน่ายกย่อง

เมื่อขึ้นชื่อว่า "ยักษ์” ส่วนใหญ่มักจะมีภาพลักษณ์ว่าเป็นพวกที่มีหน้าตาน่าเกลียด น่ากลัว นิสัยใจคอเลวร้าย โหดเหี้ยม แถมยังเจ้าชู้อีกต่างหาก จึงเป็นที่รังเกียจหรือหวาดหวั่นของผู้คน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะในหนัง ละคร หรือวรรณกรรมมักสร้างให้ยักษ์เป็นพวกผู้ร้าย เป็นฝ่ายอธรรมอยู่เสมอ แม้แต่ในพจนานุกรมฯ ก็ได้ให้ความหมายของ "ยักษ์” ว่า เป็นพวกอมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดำอำมหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้ จำแลงตัวได้ มักใช้ปะปนกันว่ากับคำว่าอสูรและรากษส (ราก-สด) นอกจากนี้ เรายังมักเรียกพวกที่มีพฤติกรรมหรือจิตใจไม่ดีรวมๆ กันว่าพวกใจยักษ์ ยิ่งทำให้คนเกิดภาพลบต่อยักษ์ยิ่งขึ้น
 
     อย่างไรก็ดี หากเราไปอ่านวรรณกรรมหรือนิทานพื้นหลายเรื่อง และมองให้ลึกซึ้งในอีกแง่มุมหนึ่ง เราก็จะเห็นว่า ยักษ์บางตนก็น่าสงสาร บางตนมีรักไม่สมหวัง ยังต้องถูกทำโทษหรือถูกสาป แต่ก็มีอีกหลายตนที่มีหัวใจรักอย่างน่ายกย่อง ดังที่จะเล่าต่อไปนี้

    นางพันธุรัต เป็นยักษ์ในเรื่องสังข์ทอง ตามเรื่องเมื่อพระสังข์ถูกแม่เลี้ยงจับถ่วงน้ำ พญานาคภุชงค์พบเข้า จึงส่งไปให้นางพันธุรัตยักษ์ม่ายที่เป็นเพื่อนช่วยเลี้ยง นางพันธุรัตเห็นเด็กน้อยสังข์ทองน่ารัก ก็แปลงกายเป็นมนุษย์พร้อมบริวาร เลี้ยงพระสังข์จนเติบใหญ่ ต่อมาพระสังข์เกิดกลัวเพราะแอบไปรู้ว่านางเป็นยักษ์ จึงหนีไปพร้อมกับขโมยของวิเศษคือเกือกแก้ว ไม้เท้า และรูปเงาะไปด้วย นางยักษ์พันธุรัตรู้เข้าก็ไม่โกรธ แต่ติดตามไปอ้อนวอนขอร้องให้กลับเมืองเพราะรักดั่งลูก ไม่อาจจะพรากจากลูกได้ พระสังข์ก็ไม่ยอมกลับ นางจึงร้องไห้เสียใจจนตาย ณ เชิงเขาที่ตามไปเจอ ก่อนตายด้วยความรักลูก ยังได้เขียนมนต์มหาจินดาสำหรับเรียกสัตว์จารึกไว้ให้ด้วย เป็นความรักของแม่ที่บริสุทธิ์ใจ เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ แม้จะเป็นแม่ที่เป็นยักษ์ก็ตาม


ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม - สำหรับใช้ประโยชน์เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.209 วินาที กับ 24 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤษภาคม 2567 21:40:27