[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 21:47:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สรุป 3 ประเด็น ‘ปิยบุตร’ วิจารณ์คำพิพากษาศาลเคส ‘ช่อ’  (อ่าน 89 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 กันยายน 2566 19:15:20 »

สรุป 3 ประเด็น ‘ปิยบุตร’ วิจารณ์คำพิพากษาศาลเคส ‘ช่อ’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-09-23 16:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพ: เฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สรุป 3 ประเด็น ‘ปิยบุตร’ วิจารณ์คำพิพากษาศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งของ ‘ช่อ–พรรณิการ์’ ตลอดชีวิต เนื่องมาจากกระทำการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง โดยวิจารณ์ทั้งคำพิพากษา ผลสืบเนื่องของคำพิพากษา รวมถึงให้ข้อเสนอแนะ</p>
<div class="summary-box">
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ความเห็น 5 ข้อ เรื่อง “คำพิพากษา”</strong></span></p>
<ul>
<li>เรื่องมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่สมควรให้สถาบันตุลาการเข้ามาวินิจฉัยชี้ขาด</li>
<li>อัตราโทษในการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง สูง ไม่ได้สัดส่วนเมื่อเทียบกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น</li>
<li>มาตรฐานทางจริยธรรมที่ออกมา ถูกนำไปใช้บังคับย้อนหลัง ในกรณีของช่อ–พรรณิการ์</li>
<li>มาตรฐานทางจริยธรรม ในกรณีของช่อ–พรรณิการ์ ถูกนำไปบังคับใช้ในตอนที่เจ้าตัวไม่ได้ดำรงตำแหน่ง</li>
<li>การกระทำของพรรณิการ์เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จริงหรือ</li>
</ul>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ความเห็น 2 ข้อ เรื่อง “ผลสืบเนื่องทางการเมืองและกฎหมาย”</strong></span></p>
<ul>
<li>เกิดแนวทางการตัดสิน ใครจะมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจขุดดิจิทัลฟุตปริ้นต์มาร้องเรียน ก็มีโอกาสถูกเพิกถอนสิทธิตลอดชีวิตได้</li>
<li>ต่อไปนี้มาตรฐานทางจริยธรรมจะกลายเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการเด็ดหัวนักการเมืองฝั่งตรงข้ามให้พ้นตำแหน่ง</li>
</ul>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>ความเห็น 2 ข้อ เรื่อง “ข้อเสนอแนะ”</strong></span></p>
<ul>
<li>เอามาตรฐานทางจริยธรรมออกจากรัฐธรรมนูญ โดยให้เรื่องนี้เป็นกระบวนการจัดการภายในของแต่ละองค์กร </li>
<li>ยกเลิกโทษเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต หรือกำหนดขอบเขตโทษให้ชัด และยกเลิกโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง</li>
</ul>
</div>
<p>23 ก.ย. 2566 วานนี้ (22 ก.ย.) ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ วิจารณ์คำพิพากษาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ คมจ.5/2566 ผ่านเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล กรณีเพิกถอนสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งของ ช่อ–พรรณิการ์ วานิช อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิตกรณีศาลพิพากษา เนื่องมาจากกระทำการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง</p>
<p>ประชาไทถอดใจความ 3 ประเด็นไว้ด้านล่าง ทั้งข้อวิจารณ์คำพิพากษา ผลสืบเนื่องของคำพิพากษา และข้อเสนอแนะ โดยแต่ละประเด็นจะมีแยกเป็นข้อย่อยอีกที</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="476" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=476&amp;href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FPiyabutrOfficial%2Fvideos%2F1642163952858293%2F&amp;show_text=false&amp;width=267&amp;t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="267"></iframe></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความเห็น 5 ข้อ เรื่อง “คำพิพากษา”</span></h2>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>1. เรื่องมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่สมควรให้สถาบันตุลาการเข้ามาวินิจฉัยชี้ขาด</strong></span></p>
<p>ปกติแล้วทุกๆ องค์กรก็จะมี Code of conduct ของแต่ละที่ ไม่ว่าจะเป็นเอกชน ภาครัฐ บางที่ก็เรียกว่า “มาตรฐานทางจริยธรรมบ้าง” บางทีก็เรียกว่า “ข้อควรปฏิบัติ” หรือเรียกว่า คุณค่าที่แต่ละองค์กรจะต้องยึดถือไว้เป็น Core value ซึ่งเป็นปกติที่แต่ละองค์กรจะออกแบบมาตรฐานทางจริยธรรมแบบนี้ขึ้นมา</p>
<p>แต่ทีนี้การออกแบบ Code of conduct หลักการอยู่ที่ว่า “องค์กรใครองค์กรมัน” แต่ละองค์กรจะออกแบบคุณค่าทางจริยธรรมแบบใด เรื่องคุณค่าพื้นฐานนั้นไม่มีใครรู้ดีที่สุดนอกจากคนในองค์กรเอง ซึ่งก็มาจากการพูดคุย อภิปรายถกเถียงกันในองค์กรเองว่าคุณค่าและแนวทางปฏิบัติแบบใดที่จะยึดถือร่วมกัน </p>
<p>หลักใหญ่ใจความของมาตรฐานจริยธรรมก็คือ จะต้องให้องค์กรนั้นๆ เป็นคนกำหนดกันเอง และตามมาด้วยมาตรการบังคับใช้ มาตรการลงโทษในกรณีที่มีคนฝ่าฝืน ซึ่งก็หมายความว่าให้คนในองค์กรเป็นผู้ออกแบบ เช่น มีคณะกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง มีคณะกรรมการวินิจฉัย แล้วก็ลงโทษในองค์กรของตนเอง</p>
<p>ประเด็นปัญหาความซับซ้อนอยู่ที่รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ยกร่างโดย มีชัย ฤชุพันธ์ และคณะ ซึ่งได้นำไปโฆษณาชวนเชื่อตอนทำประชามติว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับ “ปราบโกง” มียาแรงลงโทษนักการเมือง ใครเห็นใครพบฟังแล้วก็ อือหือ ชื่นชมกันยกใหญ่ว่านี่แหละของจริง รัฐธรรมนูญแบบนี้เข้ามาจัดการนักการเมืองทุจริตคอร์รัปชัน </p>
<p>นั่นจึงเป็นที่มาที่ไปของการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จำเลยที่ 1 คือ นักการเมือง และเมื่อออกแบบมาแบบนี้ ตั้งโทษให้สูงๆ เกินกว่าคนปกติที่ได้รับกัน เอามาตรฐานทางจริยธรรมมาใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้พวกศาลรัฐธรรมนูญ ศาลต่างๆ องค์กรอิสระมานั่งประชุมร่วมกัน และกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมขึ้นมา หลังจากนั้นก็ไปเขียนเพิ่มว่า มาตรฐานทางจริยธรรมแบบนี้ให้เอามาใช้กับ สส. และ สว. ด้วย ดังนั้น สส. เมื่อเข้าสู่ตำแหน่ง ก็ไม่ได้มาตรฐานจริยธรรมขององค์กรตัวเอง แต่ต้องไปหยิบยืมมาตรฐานจริยธรรมของบรรดาศาลและองค์กรอิสระมาใช้ คำถามคือ “ใครจะเป็นคนตรวจสอบ”  </p>
<p>คำตอบมี 2 ประเด็น อย่างแรก ถ้าเกิด สส. ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมทั่วไป อันนี้ก็ให้องค์กรตนเองพิจารณาตัดสินกันเอง ลงโทษกันเองในองค์กร</p>
<p>แต่ถ้าเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันนี้จะไปอยู่ในมือของ ปปช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ซึ่งจะทำการสอบสวนและชี้มูลความผิด จากนั้นเสนอเรื่องไปยังศาลฎีกาให้ศาลพิพากษา ศาลฎีกาชั้นเดียวพิพากษาแล้วจบเลย โต้แย้งอุทธรณ์อะไรไม่ได้ นี่คือสภาพการณ์ที่เป็นอยู่</p>
<p>ดังนั้น ถ้าเราลองพิจารณาประเด็นที่ 1 ว่าเพราะอะไรมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงไม่สมควรให้ศาลฎีกาไปยุ่งเกี่ยว ก็เพราะว่า เรื่องจริยธรรมควรให้แต่ละองค์กรออกแบบกันเอง แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ไปเอาศาล องค์กรตุลาการต่างๆ เข้ามา มันก็เลยยุ่ง เพราะศาลเป็นองค์กรตุลาการที่ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท เป็นการตัดสินโดยเอากฎหมายมาตัดสิน “ประเด็นที่เป็นข้อพิพาททางกฎหมาย” แต่ในเรื่องจริยธรรม ความ “พอเหมาะพอควร” ของการปฏิบัติหน้าของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มันไม่ใช่ประเด็นชี้ขาดทางกฎหมาย อีกทั้งคำว่าจริยธรรมก็กว้างขวางเหลือเกิน หลายเรื่องก็ไม่ใช่ประเด็นทางกฎหมายที่จะมาชี้ถูกชี้ผิดกันโดยองค์กรตุลาการ    </p>
<p>ก่อนหน้านี้โฆษกศาลยุติธรรมออกมาแถลงว่า เป็นหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญ 2560 มอบให้มา ปิยบุตรกล่าวว่า ตนเชื่อว่าองค์กรตุลาการก็ไม่ได้ต้องการเอาตัวมาตัดสินเรื่องนี้ แต่เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 ถูกเขียนไว้อย่างผิดฝาผิดตัว เอาเรื่องมาตรฐานจริยธรรมไปยกให้ศาลฎีกาตัดสิน</p>
<p>กลับมาสู่หลักที่ถูกต้องคือ ให้แต่ละองค์กรเขากำหนดมาตรฐานจริยธรรมเอง แล้วเขากำหนดกระบวนการวินิจฉัย สืบสวน สอบสวน ลงโทษ มาตรการบังคับใช้เองในองค์กร        </p>
<p>อัตราโทษในการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง สูง ไม่ได้สัดส่วนเมื่อเทียบกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น</p>
<p>ทุกวันนี้อัตราโทษในการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงเป็นอย่างไร ต้องไปดูรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 235 วรรคที่ 3 และ 4 เขียนไว้ว่า บทลงโทษมีอยู่ 2 ฐาน</p>
<p>ฐานที่ 1 คือเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป หมายความว่าลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ ทั้งในระดับท้องถิ่นและ สส. รวมถึงห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นตลอดชีวิต</p>
<p>ฐานที่ 2 คือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี หมายความว่า ใครก็ตามที่ถูกศาลพิพากษาเช่นนี้จะไปกากบาทลงคะแนนอะไรไม่ได้เลยในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี </p>
<p>ทีนี้ ลองมาดูว่ามันไม่ได้สัดส่วนอย่างไร สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง “การตัดสิทธิเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปี” หมายความว่าคุณกำลังตัดคนๆ หนึ่งให้ออกไปจากความเป็นพลเมือง พลเมืองคือคนที่อยู่ในเมืองใช่ไหม เขาก็อยากจะมีส่วนร่วมตัดสินใจว่าใครจะมาเป็นผู้แทนของเขาทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ แต่พอคุณไปตัดตรงนี้ นี่คือการตัดความเป็นพลเมืองออก </p>
<p>แน่นอนสิทธิขั้นพื้นฐานมันมีชีวิต ร่างกาย เสรีภาพในการแสดงออก แต่อันนี้มันคือสิทธิในทางการเมือง สิทธิในการเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจในทางการเมือง ขั้นพื้นฐานคือการแสดงออกผ่านการลงคะแนนเสียง แต่คุณไปเอาสิทธิเขาไปไม่เกิน 10 ปี มันส่อละเมิดสิทธิพื้นฐานของพลเมืองอย่างรุนแรง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ขัดกับหลักสากลอยู่หลายเรื่อง และเรื่องนี้ก็เป็นเพียงเรื่องหนึ่ง</p>
<p>ข้อต่อมา “การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งการเมืองตลอดไป” ไอ้นี่ก็ประหารชีวิตนักการเมืองครับ สมัยนี้มันโลกยุคอารยะ ถ้าเราย้อนไปสมัย 200-300 ปีก่อน เวลาเขาประหารชีวิตทางการเมือง เขาใช้การเอาคอขึ้นเขียงกีโยติน หรือบางทีก็เนรเทศให้พ้นจากประเทศ ทีนี้พอโลกเป็นสมัยใหม่ คุณไล่คนออกจากประเทศไม่ได้ วิธีการประหารชีวิตทางการเมืองจึงคือการไล่ออกจากชีวิตทางการเมืองด้วยการห้ามมันลงสมัครรับเลือกตั้งอะไรเลย ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองอะไรเลย</p>
<p>เมื่อก่อน ช่วงปี 2540,2550 ประเทศไทยเคยใช้ตัดสิทธิ 5 ปี แต่เดี๋ยวนี้แต่ละคนโดนกันตัดสิทธิ 10 ปี และยังเปิดช่องให้ศาลให้ดุลพินิจว่า จะตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกันเท่าไหร่ก็ได้ กรณีตนตอนยุบพรรคอนาคตใหม่ ศาลตัดสิทธิ 10 ปี แต่ก็มีตุลาการเสียงข้างน้อยเพิกถอนสิทธิตนตลอดชีวิตเหมือนกัน เช่นเดียวกับตอนยุบพรรคไทยรักษาชาติ พวกเขาก็โดนไป 10 ปีเหมือนกัน และก็มีคนหนึ่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิตของอดีตกรรมการบริหารพรรคและอนาคตใหม่ </p>
<p>มันเปิดช่องให้ศาลไปใช้ดุลพินิจเอาเองว่าคุณจะลงกี่ปีก็ได้ ตอนนี้แนวพื้นฐานมันอยู่ที่ 10 ปี แต่กรณีมาตรฐานจริยธรรมยิ่งไปกันใหญ่ ศาลไม่เหลือดุลพินิจเลยว่าจะลงกี่ปี เพราะมันบังคับไว้เลยว่าต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและดำรงตำแน่งทางการเมืองตลอดไป… เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญได้อุจอาจมาก ผิดหลักสากล ไปเขียนโทษประหารชีวิตทางการเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญได้อย่างไร  </p>
<p>และยังไม่พอ นี่ยังเป็นเรื่องโทษซ้ำโทษซ้อน ลองดูกรณีนักการเมืองไทยถูกลงโทษแล้วต่อมาจะมี “ลูกต่อเนื่อง” ส่วนใหญ่โทษของนักการเมืองคือการพ้นตำแหน่ง นี่ก็ถือเป็นยาแรงแล้ว ทีนี้ก็มีแถมมาอีก ต่อไปนี้ห้ามไปลงสมัครรับเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญไทยมาตรา 98 มีลักษณะต้องห้ามของคนลงสมัครรับเลือกตั้งเยอะมาก จนตอนนี้มีคนจำนวนมากที่เขาได้รับโทษจากการกระทำของเขาไปแล้ว แต่เขาต้องรับโทษเบิ้ลอีก คือการห้ามลงเล่นการเมืองตลอดชีวิต ซึ่งนั่นหมายถึงการเขียนรัฐธรรมนูญให้ “การทำความผิด 1 ครั้งโดนลงโทษ 2 เด้ง” เด้ง 1 อาจจะติดคุกไปแล้ว แต่เด้ง 2 คือการห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นจึงเป็นการกำหนดอัตราโทษที่สูง ไม่ได้สัดส่วนกับความผิด กลายเป็นว่าประเทศมีนักการเมืองถูกตัดสิทธิเยอะมาก ตนคาดเดาว่าถึง 100 คน</p>
<p>“ทำไมคุณออกแบบรัฐธรรมนูญให้มีคนถูกตัดสิทธิทางการเมืองมากขนาดนี้ อย่าตอบผมนะว่านักการเมืองมันเลว…มันไม่จริงหรอก นักการเมืองมีดีมีไม่ดีเป็นเรื่องปกติ และคนที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ก็มีดีมีเลวเป็นเรื่องปกติ แต่บังเอิญว่าระบบของประเทศนี้มันกล่อมเกลาให้นักการเมืองเป็นโจทย์ของสังคม ไม่ว่าขยับซ้ายขยับขวาโดนหมด…ต่อไปนี้พวกเอ็งก็อย่าทำ ให้กลัว ให้เงียบๆ ไว้ อย่าซ่ามาก ซ่าเมื่อไหร่โดนอีก”    </p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>3. มาตรฐานทางจริยธรรมที่ออกมา ถูกนำไปใช้บังคับย้อนหลัง ในกรณีของช่อ–พรรณิการ์</strong></span></p>
<p>มาตรฐานทางจริยธรรมฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2561 ส่วนในกรณีที่ช่อ พรรณิการ์ ถูก ปปช. ร้องเรียนไปที่ศาลฎีกามีทั้งหมด 6 กรณี เป็นกรณีที่พรรณิการ์โพสต์ภาพลงเฟซบุ๊กพร้อมข้อความประกอบ 6 ครั้ง ทั้งหมด 6 รูป</p>
<p>รูปที่ 1 วันที่ 25 พ.ย. 2553  รูปที่ 2 วันที่ 5 ธ.ค. 2553 รูปที่ 3 วันที่ 21 ม.ค. 2554 </p>
<p>รูปที่ 4 วันที่ 21 พ.ย. 2556  รูปที่ 5 วันที่ 17 ก.พ. 2557 รูปที่ 6 วันที่ 24 มิ.ย. 2558  </p>
<p>6 รูปนี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2553-2558 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มาตรฐานทางจริยธรรมฉบับนี้ประกาศบังคับใช้</p>
<p>“การกระทำของคุณช่อที่ถูกร้อง 6 กรณี เกิดขึ้นในปี 2553-2558 แล้วอยู่ดีๆ คุณเอามาตรฐานทางศีลธรรมมาใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นในปี 53-58 ได้อย่างไร ในหลักกฎหมายพื้นฐานมีเรื่องการห้ามนำกฎหมายมาใช้บังคับย้อนหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่มีผลกระทบกระเทือนเป็นการลงโทษบุคคล จำกัดสิทธิบุคคลอย่างรุนแรง อันนี้ต้องพึงระวังอย่าใช้ย้อนหลัง</p>
<p>หลักคอมม่อนเซนส์ เวลาที่คุณจะกระทำอะไรลงไป คุณต้องรู้ล่วงหน้าว่ามีกฎหมายอะไรอยู่ เพื่อที่จะรู้ว่าการกระทำสิ่งใดจะผิดกฎหมายข้อใด และมีบทลงโทษแบบใด เมื่อตัดสินใจทำไปแล้ว ผิดหรือไม่ผิดจะได้รู้ล่วงหน้า ไม่ใช่ลงมือกระทำการปี 53 อยู่ดีๆ ปี 61 ดันมามีการกำหนดโทษ ซึ่งไม่แฟร์    </p>
<p>ปิยบุตรระบุว่า ทางฝั่งศาลตีความกรณีนี้อีกแบบ ซึ่งตนเห็นต่าง และจะอ่านให้ผู้ชมไลฟ์ได้ฟัง มีใจความโดยสรุปว่า คำพิพากษาของศาลออกมาในแนวทางที่ว่า อะไรก็ตามที่อยู่ในโลกออนไลน์แล้วคุณไม่ลบ ก็มีโอกาสโดนโทษได้หมด เพราะเป็นการกระทำต่อเนื่อง</p>
<p>“คำพิพากษาในหน้า 28-29 ศาลท่านให้เหตุผลอย่างนี้ครับว่า…ศาลท่านเห็นว่ามันเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง ไม่มีการลบโพสต์ดังกล่าวออก ดังนั้นจึงถือว่าครอบคลุมการกระทำของคุณพรรณิการ์ด้วย เขาบอกว่าโอเค คุณโพสต์ปี 53 ปี 58 ก็จริง แต่โพสต์แล้วรูปมันก็อยู่อย่างนั้น คุณไม่ลบ ดังนั้นพอคุณไม่ลบ การกระทำมันจึงต่อเนื่อง ด้วยความเคารพศาล ผมเห็นต่าง คือการกระทำที่เกิดวันนั้นก็คือวันนั้นสิครับ”</p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>4. มาตรฐานทางจริยธรรม ในกรณีของช่อ–พรรณิการ์ ถูกนำไปบังคับใช้ในตอนที่เจ้าตัวไม่ได้ดำรงตำแหน่ง</strong></span></p>
<p>มาตรฐานทางจริยธรรมใช้กับคนที่ดำรงตำแหน่ง ส่วนบทลงโทษก็มีตั้งแต่ว่ากล่าว ตักเตือน จนถึงขั้นสุดที่ควรเป็นคือหากทำผิดก็พ้นตำแหน่งไป ดังนั้นหลักใหญ่ใจความของคนที่ถูกบังคับใช้มาตรฐานทางจริยธรรมคือ คนที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอยู่</p>
<p>แต่ในกรณีของพรรณิการ์ เราจะเห็นว่า หนึ่ง เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนที่เจ้าตัวยังเป็นนิสิตปริญญาตรีและโท และเป็นผู้ประกาศข่าว ยังไม่ได้เป็นนักการเมืองและ สส. เลย เท่านั้นยังไม่พอ พรรณิการ์ก็มีอายุทางการเมืองเท่ากับตน แล้วเขาก็พ้นตำแหน่ง คำถามก็คือพอเขาพ้นตำแหน่งแล้วจริยธรรมยังต้องตามไปบังคับใช้กับเขาอีกหรือ</p>
<p>“ศาลท่านก็อธิบายว่า พ้น (ตำแหน่ง) แล้วก็พ้นไป แต่ที่เขาร้อง (เรียน) เขาร้องกันในช่วง 10 เดือน 28 วันที่คุณมีตำแหน่ง สส. อยู่ ผมเนี่ยเห็นต่าง ผมเห็นว่าพอมันเป็นเรื่องจริยธรรมมันต้องใช้ตั้งแต่ที่ตัวเขาเป็นอยู่ ก่อนหน้านั้นก็ไม่ได้ หลังจากนั้นก็ไม่ได้…แม้การร้องเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่เขาเป็น สส.ก็ตาม แต่ ณ วันนี้เขาไม่ได้เป็นแล้ว”</p>
<p>สมัยอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ก็โดนลักษณะคล้ายๆ กันนี้ ยิ่งลักษณ์ยุบสภาแล้วเรียบร้อย หลังจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งอีก โดยลากมาจากมูลเหตุที่ศาลปกครองตัดสินเรื่องการย้ายข้าราชการระดับสูงคนหนึ่ง หนำซ้ำ โดน คสช. ยึดอำนาจอีก ก็พ้นตำแหน่งอีก และสมัย สนช. ยังมีการลงโทษถอดถอนยิ่งลักษณ์ในวุฒิสภาอีก “สาเหตุที่ถอดอีกเพราะอยากให้มันพ่วงโทษอุปกรณ์ตัดสิทธิเข้าไป อยากเอาโทษตัดสิทธิแถมเข้าไปอีกหน่อย จะประหัตรประหารกันจนถึงที่สุด แม้ว่าในวันนี้คนๆ หนึ่งได้พ้นจากตำแหน่งไปตั้งนานแล้ว” </p>
<p><span style="color:#d35400;"><strong>5. การกระทำของพรรณิการ์เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง จริงหรือ</strong></span></p>
<p>นี่เป็นประเด็นที่คนมักไม่ค่อยวิพากษ์วิจารณ์กัน ส่วนมากจะไปพูดกันเรื่องเทคนิค เช่น โทษสูงเกินไป เอามาให้ศาลตัดสินได้ยังไงเรื่องมาตรฐานจริยธรรม หรือการบังคับใช้ย้อนหลัง</p>
<p>แต่การถกเถียงกันเรื่องเนื้อหาของคดี ว่าด้วยการกระทำของพรรณิการ์ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจริงหรือเปล่านั้น ยังไม่ค่อยมีคนให้ความเห็นเท่าไร</p>
<p>“ผมยืนยันว่าการกระทำของคุณช่อ ในความเห็นผมนะ มันไม่ได้ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง”</p>
<p>มาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงที่ ปปช. ร้องไปมี 2 ข้อ มีข้อ 5 คือ ไม่ธำรงรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และข้อ 6 เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่กำหนดเอาไว้ว่าต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งศาลฎีกาในคดีพรรณิการ์นี้ ลงโทษพรรณิการ์จากกรณีฝ่าฝืนข้อ 6 </p>
<p>ทีนี้ ปปช. เอา 6 รูปส่งไปถือว่าฝ่าฝืนเรื่องไม่ธำรงรักษาระบอบ และเรื่องต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ในคำพิพากษากล่าวจำเพาะว่า</p>
<p>“รูปที่ 1 รูปที่ 4 รูปที่ 6 เป็นกรณีพาดพิงในหลวงรัชกาลที่ 9 และรูปที่ 5 เป็นกรณีพาดพิงสมเด็จพระเทพฯ… ศาลเลือก 4 รูป ให้เหตุผลในคำพิพากษาหน้า 30 เขียนบอกว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นมิ่งขวัญ และเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของปวงชนชาวไทย โดยกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ว่า ในหลวง พ่อหลวง หรือพ่อของแผ่นดิน เป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย ปวงชนชาวไทยมีความรักและเทิดทูนในสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดมา แต่เมื่อพิจารณาการกระทำของผู้คัดค้าน (ก็คือพรรณิการ์) ที่ลงภาพถ่ายและข้อความในช่วงเดือน พ.ย. 2553- มิ.ย. 2558 แม้จะต่างวันเวลากันก็ตาม แต่เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่องกันมา จึงต้องนำการกระทำของผู้คัดค้านทั้ง 6 กรณีมาพิเคราะห์ร่วมกัน...รูปที่ 1 2 3 4 และ 6 เป็นที่เข้าใจได้ว่าผู้คัดค้านมีเจตนาพาดพิงถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 และรูปที่ 5 เป็นการพาดพิงถึงสมเด็จพระเทพฯ อันเป็นการแสดงออกต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางที่ไม่เหมาะสม หรือมิบังควรอย่างยิ่ง เป็นการไม่เคารพในหน้าที่ของปวงชนชาวไทยที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นทัศนคติของผู้คัดค้านที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ก่อนที่จะดำรงตำแหน่ง สส. และเมื่อผู้คัดค้านดำรงตำแหน่ง สส. แล้ว ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว แต่ผู้คัดค้านยังคงปล่อยให้ภาพถ่ายและข้อความตามคำร้องทั้ง 6 กรณีที่เป็นการกระทำอันมิบังควรยังปรากฏอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์…แม้ว่าจะตั้งค่าในเฟซบุ๊กให้ปิดกั้นการเข้าถึงของสาธารณะ และก็ให้เฉพาะบุคคลที่เป็นเพื่อนที่จะมองเห็นเท่านั้น ศาลท่านก็บอกว่าเพื่อนในเฟซบุ๊กมีตั้ง 4,000 กว่าคนยังจะสามารถเข้าถึงภาพถ่ายและข้อความทั้งหมดได้”</p>
<p>เวลาเราจะวินิจฉัยเรื่องอะไรก็ตามมันต้องมีองค์ประกอบว่าคำว่า “พิทักษ์รักษา” มันคืออะไร การโพสต์รูป 6 รูปมันเท่ากับการไม่พิทักษ์รักษาสถาบันฯ หรือเปล่า</p>
<p>ทั้งนี้ อาจจะมีคนเห็นว่าการแสดงออกช่วงปี 53 ของพรรณิการ์ไม่เหมาะ มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ซึ่งการชอบ ไม่ชอบ หรือเห็นด้วยกับการแสดงออกหรือไม่ก็เป็นรสนิยม แต่ต้องกลับมายึดที่หลักการก่อน การเห็นว่า “ดูแล้วมันไม่เหมาะ” เป็นละเรื่องกับการไม่พิทักษ์รักษาสถาบันฯ  </p>
<p>“การแสดงออกของคุณช่อ บางคนอาจจะไม่ชอบ บางคนอาจจะรู้สึกเจ็บปวด มันไม่เหมาะ ทำไปทำไมวะ ติฉินนินทาคุณช่อ อันนั้นเป็นเรื่องหนึ่งนะ แต่มันไม่ได้เท่ากับการโพสต์รูปเหล่านั้นมันเท่ากับการไม่พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความเห็น 2 ข้อ เรื่อง “ผลสืบเนื่องทางการเมืองและกฎหมาย”</span></h2>
<p>เกิดแนวทางการตัดสิน ใครจะมาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอาจขุดดิจิทัลฟุตปริ้นต์มาร้องเรียน ก็มีโอกาสถูกเพิกถอนสิทธิตลอดชีวิตได้</p>
<p>ต่อไปนี้มาตรฐานทางจริยธรรมจะกลายเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการเด็ดหัวนักการเมืองฝั่งตรงข้ามให้พ้นตำแหน่ง</p>
<p>การฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม ข้อ 5 ถึงข้อ 10 จะถือว่าฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง ประเด็นคือถ้อยคำที่เขียนไว้มันกว้างมาก</p>
<div class="note-box">
<p>ข้อ 5 ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข</p>
<p>ข้อ 6 ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต และเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย เกียรติภูมิ และผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยของประชาชน</p>
<p>ข้อ 7 ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติอยู่เหนือผลประโยชน์ส่วนตน</p>
<p>ข้อ 8 ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเอง หรือผู้อื่นหรือมีพฤติกรรมที่รู้เห็นยินยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ของตนในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ</p>
<p>ข้อ 9 ต้องไม่ขอ ไม่เรียก ไม่รับ หรือยอมรับทรัพย์สินและประโยชน์อื่นใด ต่อการที่อาจจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่</p>
<p>ข้อ 10 ต้องไม่รับของขวัญ กำนัล ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่เป็นการจัดการหาให้โดยธรรมจรรยาและการรับที่มีบทบัญญัติในกฎหมายกำหนดให้รับไว้</p>
</div>
<p>ข้อที่เขียนชัดๆ ยังพอเข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร เช่น การรับสินบน รับของขวัญเกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่ข้อ 5-8 ถ้อยคำกว้างมาก</p>
<p>“ข้อ 5 ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คนทำรัฐประหารเป็นนายกรัฐมนตรีมาได้ ไม่เห็นผิดนี่ คนทำรัฐประหารมา ผิดไหม ข้อ 5 เนี่ย น่าจะผิดนะ แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น”             </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความเห็น 2 ข้อ เรื่อง “ข้อเสนอแนะ”</span></h2>
<p>1. เอามาตรฐานทางจริยธรรมออกจากรัฐธรรมนูญ โดยให้เรื่องนี้เป็นกระบวนการจัดการภายในของแต่ละองค์กร </p>
<p>2. ยกเลิกโทษเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต หรือกำหนดขอบเขตโทษให้ชัด และยกเลิกโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง</p>
<p>ในกรณีตัดสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อาจยังคงเหลือไว้ได้บ้าง แต่ต้องเขียนขอบเขตของโทษให้ชัดเจน อย่าเปิดให้ศาลใช้ดุลยพินิจเอง เช่น เขียนไว้เลย ระวางโทษ 1-3 ปี ลดโทษลงมาให้ได้สัดส่วน สมัยรัฐธรรมนูญ 2540 ไม่เกิน 5 ปี แต่ปัจจุบันขยายเป็น 10 ปี หรือตลอดชีวิตซึ่งตนมองว่าสูงเกินไป</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106049
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ‘ปิยบุตร’ ขอรัฐบาลเศรษฐาเร่งผลักดันนิรโทษกรรมคดีแสดงออกทางการเมือง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 79 กระทู้ล่าสุด 05 กันยายน 2566 22:57:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 3 ข้อชม 2 ข้อติ 'ปิยบุตร' ตรวจการบ้าน 'ก้าวไกล' อภิปรายแถลงนโยบาย แนะลดเลิกห
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 163 กระทู้ล่าสุด 13 กันยายน 2566 13:50:26
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ปิยบุตร ประกาศยุติบทบาททางการเมือง หลังวิจารณ์พรรคเคส ‘ช่อ’ แล้วทัวร์ลง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 79 กระทู้ล่าสุด 23 กันยายน 2566 08:30:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘ปิยบุตร’ แนะก้าวไกล 5 ข้อ ทั้งการสื่อสาร-บริหารความหวัง-รับนิติสงคราม-ความขัดแ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 85 กระทู้ล่าสุด 25 กันยายน 2566 21:32:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สรุปความเห็น ‘ปิยบุตร’ กรณีญัตติขอให้ทำประชามติการจัดทำ รธน.ใหม่-คดี ม.112 ล่าสุด
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 103 กระทู้ล่าสุด 28 ตุลาคม 2566 01:37:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.704 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 เมษายน 2567 03:05:15