[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 พฤษภาคม 2567 04:36:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เสวนา ร่าง พรบ.นิรโทษฯ ประชาชน เปิดพื้นที่พูดคุยนิรโทษฯ ม.112 ไม่รวมก็ไม่ได้แก้ไข  (อ่าน 60 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 ธันวาคม 2566 22:36:08 »

เสวนา ร่าง พรบ.นิรโทษฯ ประชาชน เปิดพื้นที่พูดคุยนิรโทษฯ ม.112 ไม่รวมก็ไม่ได้แก้ไขความขัดแย้ง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-14 21:24</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก iLaw</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สรุปเสวนาประเด็นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คดีการเมือง ย้ำต้องนิรโทษกรรมคดีม.112 เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองมาโดยตลอด ถ้าไม่รวมก็ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ หวังร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยเรื่องนิรโทษกรรมคดี ม.112</p>
<p>11 ธ.ค.2566 ที่อาคาร All Rise (สำนักงาน iLaw) มีงาน “Stand Together 3 : ฟังเสียงผู้ต้องหา ก่อนฟังคำพิพากษาคดี ม.112” โดยมีทั้งเสวนาประเด็นในกฎหมายนิรโทษกรรมของทั้งภาคประชาชนและของพรรคก้าวไกลและแนวโน้มสถานการณ์การพูดคุยเรื่องการนิรโทษกรรมคดีการเมือง และช่วงเสวนากับผู้ที่ถูกดำเนินคดีม.112 ที่คดีกำลังจะมีคำพิพากษา </p>
<p>ช่วงแรกเป็นการเสวนา “นิรโทษกรรมประชาชน ไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมตามประวัติศาสตร์” พูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และรัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล iLaw ที่กล่าวถึงความสำคัญของการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อยกเลิกการ</p>
<p>พูนสุขกล่าวว่า ที่ต้องนิรโทษกรรมคดี ม.112 เพราะว่าเป็นคดีที่มีส่วนในเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทางการเมืองมาตลอด ถ้าดูคดีมาตรา 112 นับตั้งแต่ปี 2553 ขึ้นมาก็จะเห็นความสัมพันธ์กับสถานการการณ์เมืองที่ร้อนแรงในเวลานั้นๆ เช่น คดีอากง เป็นต้น และเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารก็มีการประกาศให้คดีตามมาตรา 112 เป็นคดี่ที่ต้องพิจารณาในศาลทหาร คสช.ได้ทำให้เห็นว่าเป็นคดีที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ จึงนับว่าเป็นคดีการเมืองแน่นอน</p>
<p>ทนายความกล่าวอีกว่าตั้งแต่ปี 2557 มีคดีมาตรา 112 ทั้งหมด 105 คดี ตั้งแต่ปีหกหนึ่ง จนปลายหกสาม แทบจะไม่มีคดีเพิ่มเติมหรือมีการใช้อย่างพิศวงคือคดีที่ลงโทษ ไม่มีการลงโทษด้วยข้อหานี้แต่ไปลงในฐานคึวามผิดอื่น แต่หลังปี 2563 ก็จะเห็นความรุนแรงของการใช้นับกฎหมายมาตรานี้มากขึ้นเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศว่าจะใช้ทุกกฎหมายซึ่งก็คือรวมถึงการใช้มาตรา 112 ด้วย ได้ทำให้เป็นช่วงที่มีจำนวนคดีมาตรา 112 มากที่สุดในประวัติศาสตร์ แม้ว่าเมื่อเทียบจำนวนคดีข้อหามาตรา 112 แล้วไม่ได้มีจำนวนมากเท่าข้อหาอื่นๆ อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่ความขัดแย้งสูงกว่าคดีประเภทอื่นๆ ความเสียหายกับสังคมระบบกฎหมาย และนิติรัฐ มาก และการใช้มาตรา 112 ยังมีลักษณะเหวี่ยงไปมาทั้งในแง่การกำหนดโทษจำคุกและการนำมาใช้ จึงเป็นเวลาที่ควรพูดคุยถึงได้แล้ว</p>
<p>พูนสุขกล่าวต่อว่า ถ้าต้องการจะออกจากวงเวียนความขัดแย้งทางการเมือง เรื่อง ม.112 ก็ควรต้องถูกพูดถึงด้วยและที่ร่างนิรโทษกรรมของภาคประชาชนรวมมาตรานี้เข้ามาเพราะต้องการให้มีการถกเถียงเรื่องนี้กันอย่างมีวุฒิภาวะ ซึ่งถ้ามีการนิรโทษกรรมแล้วไม่รวมคดีม.112 เข้ามาก็ไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้ง และจะกลายเป็นระเบิดเวลาที่ทำให้เกิดการเดินหน้าเข้าสู่ความขัดแย้ง ตลอดความขัดแย้งที่ผ่านมาเรื่อง ม.112 ก็ไม่เคยเงียบหายไปแต่วนกลับมาเสมอ</p>
<p>พูนสุขอธิบายเพิ่มเติมถึงเรื่องของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมประชาชนถึงประเด็นการลบประวัติอาชญากรรมด้วยว่าสำหรับคนที่ได้รับโทษจำคุกไปแล้วหรือถูกลงโทษจนครบโทษแล้วได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว ก็จะได้ประโยชน์จากการถลบประวัติอาชญากรรมด้วย และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นคนดำเนินการเพื่อไม่ให้ประชาชนที่ได้รับการนิรโทษกรรมไม่ต้องลำบากไปเดินเรื่องเอง ส่วนการเยียวยาหรือการจ่ายค่าชดเชยยังไม่ได้ระบุไว้โดยตรงซึ่งก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไปศึกษาแล้วดำเนินการต่อไป</p>
<p>พูนสุขมองว่าข้อเสนอตามร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนนี้ก็เป็นข้อเรียกร้องที่ต่ำมากแล้วและคงต่ำไปกว่านี้ไม่ได้ ถ้าจะต้องหันหน้าคุยกันการนิรโทษกรรมจะต้องเริ่มทำก่อนเป็นอันดับแรก แต่ในสังคมอื่นเวลาพูดเรื่องความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านก็ยังมีเรื่องอื่นๆ เช่น การค้นหาความจริง การเอาคนผิดมาลงโทษ ก็จะต้องทำเป็นลำดับต่อไป แต่ความเร่งด่วนของไทยตอนนี้คือมีคนที่ยังถูกดำเนินคดีอยู่ บางคนกำลังจะต้องเดินเข้าเรือนจำ หรือลี้ภัยออกนอกประเทศไปก็ต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้ก่อน</p>
<p>ส่วนเรื่องต้องมีร่างของประชาชนขึ้้นมาเพราะเห็นว่ายังมีแค่ร่างของก้าวไกลที่ไม่ได้ระบุชัดว่าจะนิรโทษรกรรมคดีอะไรบ้างแต่ใช้วิธีตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาว่าคดีอะไรควรได้รับการนิรโทษกรรมบ้างซึ่งไม่ได้มีอะไรรับประกันว่าคณะกรรมการจะรวมคดีม.112 เข้ามาด้วยหรือเปล่า</p>
<p>พูนสุขตอบประเด็นเรื่องที่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐบาลว่าเรื่องร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นพื้นที่สำหรับพูดคุยกันอยู๋แล้ว ถ้าจะมีกลไกขึ้นมาเพื่อคุยกันถึงเรื่องความกังวลใจของแต่ละฝ่ายอย่างเช่นเรื่องการนิรโทษกรรมคดีม.112 มีความกังวลอะไรแล้วก็จะได้มีข้อสรุปร่วมกัน แล้วก็จะได้คุยถึงเรื่องอื่นๆ หลังการมีนิรโทษกรรมไปด้วย ซึ่งก็เห็นด้วยที่จะมีขึ้นมาเพื่อให้มีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการพูดคุยกัน</p>
<p>ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ เห็นว่าการนิรโทษกรรมเป็นเรื่องใหญ่และคงใช้เวลาอีกสักพักกว่ากฎหมายจะออกบังคับใช้ แต่ทุกเดือนก็มีคนโดนพิพากษาและบางคนก็อาจถูกคุมขังซึ่งเป็นหลักฐานของความขัดแย้ง องค์กรที่จะบรรเทาความขัดแย้งนี้ได้ก็คือศาลที่จะสามารถให้สิทธิประกันตัวก่อนได้ หรือกรณีของรักชนกที่ศาลอาจจะมีคำพิพากษาแล้วศาลจะส่งศาลอุทธรณ์พิจารณาว่าจะให้หรือไม่ให้ประกันก็ทำในวันเดียวกันได้ก็จะช่วยลดความขัดแย้ง</p>
<p>รัชพงศ์ แจ่มจิรไชยกุล จาก iLaw กล่าวว่าที่บอกว่าเป็นคดีความมั่นคงไม่ใช่การเมืองก็เป็นคำที่ได้ยินจากหลายพรรคการเมือง แต่เขาเห็นว่าคดีการเมืองและมีแรงจูงใจทางการเมืองคือคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคงอยู่แล้ว และเรื่องพวกนี้เกี่ยวกับความมั่นคงมาโดยตลอด คดี ม.112 สำหรับคนที่ติดตามการเมืองช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องนี้คือศูนย์กลางความขัดแย้ง และเรื่องนี้แค่ลองเดินไปถามคนทั่วไปว่ามีความเห็นอย่างไรกับกฎหมายม.112 ก็สามารถรู้จุดยืนทางการเมืองของเขาคนนั้นได้ทันที</p>
<p>ถ้าการนิรโทษกรรมคือการทำให้คนเห็นไม่ตรงกันหันมาเจอกันได้ ถ้าเห็นตรงกันว่าคนเห็นต่างไม่ควรติดคุก คดี ม.112 ก็ควรถูกเอามาร่วมด้วย เพราะทีผ่านมาม.112 เป็นยาแรงที่สุดในการจัดการกับคนเห็นต่างทางการเมือง แม้แต่ในประวัติศาสตร์ของตัวกฎหมายก็เป็นเรื่องการเมืองมาโดยตลอดทั้งเรื่องโทษและคนที่ได้รับการคุ้มครองในกฎหมายทั้ง 4 ตำแหน่งก็มาจากการแก้ไขกฎหมายโดยคณะปฏิวัติเมื่อปี 2516 แล้วก็เอามาใช้กับคดีการเมืองทันที ม.112 จึงเป็นคดีการเมืองแล้วคดีการเมืองก็เป็นคดีความมั่นคง</p>
<p>ส่วนประเด็นการนิรโทษกรรมที่จะทำให้มีนักการเมืองได้ประโยชน์ไปด้วยนั้น รัชพงษ์มีความเห็นว่านักการเมืองก็เป็นประชาชนคนหนึ่งเหมือนกันที่ออกไปใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกแล้วถูกดำเนินคดี การที่บุคคลดังกล่าวจะมีสถานะอะไรอยู่จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญคือการกระทำของนักการเมืองคนนั้นควรถูกดำเนินคดีหรือไม่ถ้าไม่ใช่ก็ควรได้รับนิรโทษกรรมด้วย เขาจึงเห็นว่าเรื่องที่จะนักการเมืองจะได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่ไม่จำเป็นต้องยกมาคุย และยิ่งมีคำถามตามมาอีกว่าเมื่อนักการเมืองเป็นตัวแทนประชาชนแล้วประชาชนอยากให้เขาพูดแต่กลับต้องมาถูกดำเนินคดีก็เท่ากับว่าคนที่เลือกนักการเมืองคนนั้นมาไม่ถูกต้องด้วยหรือเปล่า</p>
<p>ดังนั้นการนิรโทรกรรมจึงไม่ใช่เรื่องทำเพื่อผลประโยชน์ฝ่ายเดียว เรารู้กันว่าคนโดน ม.112 เพราะเรื่องการเมืองถ้าออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยไม่รวม ม.112 เข้าไปด้วยก็คือการทำเพื่อประโยชน์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจริงๆ แล้วถ้ามีคนถูกดำเนินคดีการเมืองคนหนึ่งได้นิรโทษกรรมแต่อีกคนไม่ได้ การนิรโทรกรรมก็จะไม่ใช่การนิรโทษกรรมเช่นกัน</p>
<p>รัชพงษ์ตอบในประเด็นเรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการมาศึกษาการนิรโทษกรรมเยอะแล้วก็ไม่รู้จะศึกษาอะไรอีก แต่ถ้าจะตั้งก็ตั้งเพื่อให้ได้คุยกันแต่ก็ต้องตั้งเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ถูกมองว่าเป็นการถ่วงเวลาคือในระหว่างที่ศึกษาก็ควรมียุติการดำเนินคดีไปก่อนแล้วจะใช้เวลาศึกษาเท่าไหร่ก็ได้ แต่ระหว่างนี้การพิจารณาคดีต่างๆ จะต้องหยุดดำเนินการไปก่อน</p>
<p>รัชพงษ์อธิบายเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมว่า กระบวนการยุติธรรมไทยตอนนี้ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมปกติ และต้องเข้าใจก่อนว่าในความขัดแย้งทางการเมืองตัวกระบวนการยุติธรรมเองก็เข้ามามีส่วนในความขัดแย้งด้วยเหมือนกัน แต่เรื่องการแบ่งอำนาจ 3 ฝ่าย ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ ควรจะต้องมีการถ่วงดุลกัน แต่ในไทยฝ่ายตุลาการมีสถานะอยู่บนสุดตรวจสอบ 2 ฝ่ายจนชิน แต่ไม่มีใครตรวจสอบอำนาจตุลาการเลย แม้ว่าที่ผ่านมาตุลาการจะใช้อำนาจอย่างขัดสามัญสำนึกขนาดไหนก็ตาม แต่ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ควรจะต้องถ่วงดุลก็ไม่ได้ทำ ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติที่สามารถถ่วงดุลได้ผ่านการออกกฎหมายก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมมาเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจตุลาการได้</p>
<p>รัชพงษ์กล่าวว่ามีอยู่ 4 ประเด็นที่ต้องจับตากรณีที่มีการออกร่างกฎหมายนิรโทษกรรมจากฝ่ายๆ ต่างมา</p>
<p>ประเด็นแรก คือ เริ่มนิรโทษกรรมย้อนถึงเมื่อไหร่ ที่ผ่านมามีหลายฉบับที่เสนอตรงกันคือนับตั้งแต่ 19 ก.ย.2549 ก็จะทำให้คดีที่เกิดนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถูกนับรวมหมด แต่ต่างจากของพรรคก้าวไกลที่เริ่มนับตั้งแต่ 11 ก.พ.2549 ที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเริ่มชุมนุม</p>
<p>ประเด็นที่สอง คดีประเภทใดบ้างที่ถูกนับรวม ถ้าดูนิรโทษกรรมสุดซอยที่พรรคเพื่อไทยเกือบจะผ่านออกมาได้ก็นับรวมเข้ามาหมดเลย ทั้งประเภทคดีและคนแต่ก็ยังไม่รวม ม.112 ซึ่งของภาคประชาชน ก็มีการกำหนดประเภทคดีที่จะได้รับการนิรโทษกรรมไว้ ส่วนการเขียนแบบของพรรคก้าวไกลที่เปิดกว้างไว้ก่อนโดยไม่ได้ระบุว่าจะมีความผิดฐานไหนบ้างแต่ถ้าเป็นคดีที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองก็ให้คณะกรรมการพิจารณา</p>
<p>ประเด็นที่สาม ไม่รวมคดีอะไรบ้าง บางฉบับเขียนชัดว่าคดีแบบไหนไม่รวม เช่น ฉบับสุดซอยที่ไม่รวม ม.112 หรือร่างนิรโทษกรรมฉบับประชาชนและพรรคก้าวไกลก็จะไม่รวมม.113 คือการไม่นับรวมคนที่ทำรัฐประหารล้มล้างการปกครอง</p>
<p>ประเด็นที่สี่ คือรวมเจ้าหน้าที่รัฐด้วยหรือเปล่า อย่างกรณีฉบับสุดซอยก็จะรวมทั้งคนสั่งการทั้งผู้ปฏิบัติ แต่บางร่างก็จะไม่นิรโทษกรรมให้คนทำรัฐประหารหรือใช้ความรุนแรง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผู้คนที่กำลังจะต้องเดินหน้าเข้าคุกเพราะใช้เสรีภาพของตน</span></h2>
<p>อติรุจ จำเลยคดีตะโกนใส่ขบวนเสด็จ "ไปไหนก็เป็นภาระ" เล่าว่าเริ่มจากการไปชุมนุมเพราะได้รับรู้เรื่องวันเฉลิมสัตย์ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นผู้ลี้ภัยถูกอุ้มหายกันกลางวันแสกๆ โดยไม่มีการดำเนินการอะไรจากรัฐไทยเลย ก็เลยเห็นว่าเป็นคนธรรมดาที่โดนอุ้มกันได้ง่ายๆ ก็ทำให้รู้สึกว่าใกล้ตัวมากที่ใครจะโดนอุ้มก็ได้ แต่เวลาเขาไปม็อบก็ไปเป็นมวลชนเฉยๆ แต่ม็อบที่จุดประกายความคิดก็คือม็อบที่ลานพญานาคที่มหาวิทยาลัย รังสิตเมื่อ 10 ส.ค.2563 ที่มีการเสนอข้อเสนอปฏิรูปสถาบัน 10 ข้อ</p>
<p>อติรุจเล่าถึงคดีที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากการไปตะโกนใส่ขบวนเสด็จ ตอนโดนคดีก็โดนคนเดียวทำให้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ถูกพอไปอยู่สถานีตำรวจ 2-3 ชั่วโมงไม่มีใครรู้ แต่ก่อนจะถูกจับก็มีเจ้าหน้าที่มายืนล้อมนานสิบนาทีแล้ว แล้วก็มีคนที่มารอรับเสด็จถามว่าจะไปนั่งมั้ย หลังตะโกนก็ถูกใช้กำลังเข้าจับกุมพอเขาถามว่าเป็นใครมาทำกับเขาแบบนี้ทำไมก็ไม่มีใครแสดงตัวและไม่ยอมบอกว่าจับทำไม</p>
<p>อติรุจกล่าวว่า เขาถูกขังไว้ใน สน. หนึ่งคืนโดยไม่ได้ถูกนำไปฝากขังที่เพราะติดวันเสาร์ แต่เขาต้องรู้สึกประหลาดใจกับการที่มีหมายศาลไปค้นบ้านในวันอาทิตย์ได้ แล้วการกระทำของเขายังเกิดที่อื่นด้วยทั้งที่ก็มีการตรวจค้นสิ่งของตอนจับกุมไปแล้วด้วย อีกทั้งเขายังถูกพาไปโรงพยาบาลจิตเวชเพื่อตรวจสุขภาพจิตในกระบวนการเขาถูกมัดแขนมัดขาจนต้องตามเพื่อนและญาติมาปฏิเสธการรักษา แล้วเหตุผลที่เจ้าหน้าที่อ้างคือระหว่างการจับกุมมีการขัดขืนแล้วเขามีการเอาเท้าวางบนโต๊ะ แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังได้ความช่วยเหลือจากทนายความอยู่</p>
<p>อติรุจกล่างถึงการใช้ม.112 ของไทยว่าเมื่อเทียบกับการแสดงออกของคนที่ไปชุมนุมประท้วงคิงชาลส์ยังโดนแค่เรื่องการใช้เครื่องเสียงที่ไม่มีโทษจำคุก แต่ทำไมไทยที่มีระบบการปกครองที่ได้ฐานคิดมาจากอังกฤษกลับแตกต่างกันอย่างชัดเจนมาก ก็มีคำถามว่าอยากใช้แบบไทยๆ แบบนี้ต่อไปหรืออยากจะพัฒนาให้ดีขึ้น</p>
<p>ส่วนเรื่องผลกระทบจากคดี อติรุจบอกว่าเขาทำงานบริษัทข้ามชาติการลาไปศาลก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วแต่ก็มีถูกเพื่อนร่วมงานถามบ้างซึ่งเขาเห็นว่าการพูดถึงเรื่องคดีการเมืองเป็นเรื่องปกติไม่ได้ถึงกับพูดไม่ได้ขนาดนั้น</p>
<p>"โจเซฟ" จำเลยคดีปราศรัย "ใครฆ่าพระเจ้าตาก" เล่าถึง 3 เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เขามาสนใจการเมืองและต้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เริ่มมาตั้งหลังจากไปเรียนที่นิวซีแลนด์แล้วได้กลับมาไทนตอนอายุ 14 ก็ทำให้เขาก็ได้เห็นคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันมากระหว่างไทยกับนิวซีแลนด์ ทั้งที่ก็อยู่ในระบอบการปกครองแบบเดียวกัน ตอนนั้นเขารู้เศร้าถึงกับร้องไห้เพราะไม่เข้าใจว่าคุณภาพชีวิตในไทยแย่มาก คนแก่ต้องกระเสือกกระสนหาเลี้ยงชีพ</p>
<p>โจเซฟเล่าว่าช่วงใกล้จะเรียนจบและกำลังจะกลับไทยก็ได้เห็นการรุกฮือของพี่น้องเสื้อแดงซึ่งตัวเขาเองก็รู้สึกถึงความเป็นเสื้อแดงของตัวเอง แล้วก็หวังจะได้เห็นคนลุกมาทวงสิทธิของตัวเองที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ แต่หลังการชุมนุมของเสื้อแดงถูกปราบปราม เขารู้สึกโชคดีที่ได้เจอ ดารุณี กฤตบุญญาลัย ที่ได้ตั้งคำถามกับเขาว่าพี่น้องเสื้อแดงที่โดนฆ่าเพราะใครเรื่องนี้ทำให้เขาได้ตาสว่างทางการเมืองหลังจากนั้นเรื่อยมา</p>
<p>เหตุการณ์ที่สาม คือการปราศรัยของอานนท์ นำภา ที่ทำให้รู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่เรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ควรได้รับการยกมาพูดคุยอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา</p>
<p>โจเซฟเล่าถึงคดีของเขาว่าคดี ม.112 คดีแรกของเขาเกิดขึ้นจากการไปอ่านแถลงการณ์เรื่องการใช้พระราชอำนาจนอกราชอาณาจักรที่หน้าสถานทูตเยอรมัน แต่คดีที่กำลังจะตัดสินนี้เป็นคดีที่ไปปราศรัยในม็อบวันจักรีเรื่องการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 1 ทั้งที่การพูดเรื่องนี้จะเป็นการพูดถึงคนที่ตายไปแล้วแต่ก็ยังโดน ม.112 ได้ทั้งที่มีคุ้มครองเพียงแค่ 4 ตำแหน่ง แต่มันไปเกี่ยวยังไงกับคนที่ไปตายไปแล้วกว่า 200 ปี แล้วก็ยังพูดถึงเรื่องลัทธิเทวราชที่เอามาใช้ในการสร้างสิทธิธรรมให้กับผู้ปกครอง ก็มีคำถามว่าถ้าศาลยึดตามตัวบทกฎหมาย ก็ควรจะต้องยกฟ้อง แต่เพราะเป็น ม.112 ทั้งที่ตามหลักอาญาแล้วต้องตีความเคร่งครัด แต่เขาก็เห็นว่า ม.112 ถูกใช้ตามอารมณ์ของศาลหรือผู้บริหารศาล</p>
<p>โจเซฟเล่าว่าอานนท์เคยบอกว่าการไปศาลให้ไปอย่างมีความสุข เขาจึงตั้งปณิธานว่าจะใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความสุขต่อให้ถูกคุมขังก็จะยังสู้ต่อไป เขาจะไม่ยอมให้สลิ่มคนใดมาหัวเราะเยาะที่เขาต้องมาโดนคดีแบบนี้ แต่การบริหารจัดการไม่ให้ตัวเองเป็นเหยื่อก็ยังมีอยู่บ้าง อย่างการทำมาค้าขายการจะขยายกิจการก็ทำไม่ได้เพราะเป็นธุรกิจที่เขาทำอยู่เป็นธุรกิจขนาดเล็กก็ไม่รู้ว่าจะมีใครมาดูแลต่อมั้ย แต่ก็พยายามจะมองให้เป็นเรื่องบวกอยู่ดีจะไม่ยอมให้ใครมาด้อยค่าการต่อสู้ของเขา</p>
<p>ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ (แอมมี่) จำเลยคดีม.112 ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เผาพระบรมฉายาลักษณ์ เล่าว่าเขาสนใจประเด็นทางการเมืองอยู่บ้างตั้งแต่ยังเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนสอนประวัติศาสตร์ที่ก็มีการสอนไม่ได้เป็นไปตามหลักสูตรทั่วไปอยู่แล้วยังโชคดีที่ได้เรียนกับอาจารย์สอนเรื่อง 6 ตุลา 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ ค่อนข้างเข้มข้นที่ได้ทำรายงานเรื่องนั้นๆ จนถึงสิ้นปี แล้วตัวเขาก็รู้สึกเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ 6 ตุลาเพราะตรงกับวันเกิด แต่ก็ยังไม่ได้มีความคิดทางการเมืองแข็งแรงมาก จนกระทั่งได้เห็นการชุมนุมที่ลานพญานาค แล้วก็ฮอคแฮกเกอร์ที่เป็นเพื่อนศิลปินและใกล้ชิดกันถูกจับกุมซึ่งก็ได้ตามไปให้กำลังใจเพื่อนแล้วหลังจากนั้นมาก็ถูกชวนขึ้นเวทีชุมนุม</p>
<p>ไชยอมรกล่าวถึงเรื่องกฎเหล็กในวงการบันเทิงที่ไม่ให้ดาราศิลปินมาแสดงออกทางการเมืองว่า ที่เขามาร่วมเพราะเห็นว่าส่วนหนึ่งของการที่จะชนะทางการเมืองได้ก็เพราะมีชนชั้นกลางมาร่วม ซึ่งเขาก็อยากให้เห็นเป็นตัวอย่างให้ศิลปินและชนชั้นกลางที่มองเห็นปัญหาที่อยู่ตรงหน้าแล้วจะไม่นิ่งเฉย แต่การเข้าไปในเรือนจำก็มีผลกระทบตามมาว่าแล้วถ้ามาร่วมก็จะโดนแบบเขาแล้วก็จะต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ แม้ว่าอาจจะบอกได้ว่าชนะแต่ก็เป็นชัยชนะทางวัฒนธรรม</p>
<p>ไชยอมรเล่าถึงการต่อสู้คดีของเขาว่าล่าสุดศาลก็ไม่ให้เบิกตัวอานนท์ที่เป็นทนายความในคดีของเขามา และเขายังได้เล่าถึงตอนที่ถูกเอาตัวไปคุมขังที่เรือนจำธนบุรีจากกรณีที่โดนคดีเผา ตอนนั้นวันที่เข้าไปในเรือนจำก็โดนแก้ผ้าหมดก็รู้สึกอับอายซึ่งตอนนั้นเขาคิดว่าที่ถูกส่งแยกไปเรือนจำธนบุรีครั้งนั้นเพราะอยากให้เขาถูกข่มเหง เพราะคดีก่อนหน้านั้นเขายังถูกส่งไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพที่มีนักโทษการเมืองคนอื่นๆ อยู่คอยให้กำลังใจกัน แต่ที่แปลกก็คือทางเจ้าหน้าที่เรือนจำก็กลัวสิ่งที่เขาทำมากกว่า ทั้งการพูด ร้องเพลง หรือเขียน และพยายามไม่ให้เขาได้สื่อสารกับคนในเรือนจำคนอื่นๆ</p>
<p>ไชยอมรยังกล่าวถึงผลกระทบจากการที่โดนคดีด้วยว่า หลังจากโดนคดีแล้วก็มีคิวงานก็โดนยกเลิกไป ถึงเป็นร้านที่บอกว่าเคลียร์ให้มาแสดงได้แต่สุดท้ายก็เคลียร์ให้ไม่ได้ และอาจจะเพราะเขาไม่ได้มีผลงานใหม่ๆ ด้วย แต่ระหว่างที่คดียังไม่มีความชัดเจนนี้ก็เลยเป็นโอกาสให้ได้เขียนเพลงออกมา 15 เพลง ถ้าสุดท้ายเขาติดคุกก็จะมีเพลงออกเดือนละเพลง แม้ว่าในส่วนดนตรีอาจจะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็ต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อน</p>
<p>นอกจากนั้นไชยอมรบอกว่าอีกเรื่องที่เขาตั้งใจจะทำไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ก็คือการเยียวยานักโทษการเมือง ซึ่งเขาก็คิดว่าจะใช้ศิลปะกับดนตรีมาช่วยในการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือนักโทษการเมือง</p>
<p>รักชนก ศรีนอก สส.เขต ของพรรคก้าวไกลกล่าวว่า เธอเข้าใจถึงความโกรธแค้นที่ไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ในประเทศนี้ แต่ก็อยากให้ช่วยกันพูดถึงเรื่องราวเหล่านี้ในสุ้มเสียงทำความเข้าใจกับคนที่ไม่เข้าใจว่า ม.112 มีปัญหาอย่างไร ถึงแม้ว่าคนที่ออกมาชุมนุมอาจจะเข้าใจแต่คนที่ไม่ได้ติดตามการเมืองหรือมาชุมนุม เราจะทำให้เขาเข้าใจได้อย่างไรว่ากฎหมายมีปัญหา ก็ต้องพูดคุยกันในเสียงแบบฉันท์มิตรกับคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามหรือความคิดทางการเมืองไม่ตรงกัน ถ้าต้องการฉันทามติที่จะแก้กฎหมายนี้จะมีแต่ฝั่งผู้ชุมนุมคงไม่ได้ แต่ต้องได้ฉันทมติจากคนทั้งสังคมนั้นมา</p>
<p>รักชนกบอกว่าตัวเองโดนคดี ม.112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เธอมองว่าการมีสถานะ สส.ของเธออาจจะโชคดีกว่าหลายคนที่โดนคดีเพราะยังมีเหตุเลื่อนฟังคำพิพากษาได้เพราะการประชุมสภา แล้วก็ยังมีแสงที่ส่องมามากกว่ามีคนให้ความสนใจมากกว่า ก็เลยโชคดีกว่าคนอื่นๆ ที่ผ่านมาก็พยายามใช้สถานะตรงนี้ส่องไปถึงคนอื่นๆ ที่อยู่ในเรือนจำ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม</p>
<p>รักชนกกล่าวด้วยว่า สำหรับเธอเองที่เดินเข้าสู่กระบวนการก็รู้อยู่แล้วว่าไม่ได้มีความยุติธรรมแบบที่เป็นสากล แต่ก็ยังคาดหวังว่าคนในกระบวนการจะปฎิบัติอย่างตรงไปตรงมา ถ้าคดียังไม่สิ้นสุดก็ไม่ควรทำเหมือนเขาเป็นนักโทษและควรจะได้รับสิทธิประกันตัว ก็อยากให้กำลังใจกับคนอื่นๆ ที่จะเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมด้วย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107242
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ก้าวไกลชง กม.นิรโทษฯ เข้าสภา คืนชีวิต ปชช.ที่แสดงออกทางการเมือง-เหยื่อนิติสงครา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 47 กระทู้ล่าสุด 05 ตุลาคม 2566 18:01:05
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'แอมเนสตี้' ชี้ ไล่รื้อ-ขับไล่ ประชาชน ในเขตนครวัด ละเมิดกฎหมาย ระหว่างประเทศ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 105 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2566 04:27:59
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประชาชน-สส.ชูแม่ฮ่องสอนเป็นเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ แต่รัฐย้อนแย้งดันอุโมงค์ผ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 46 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2566 02:01:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ใคร' ชี้เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้ต้นทุนสูง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 86 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2566 14:19:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'บัสบาส - มงคล' อดอาหารแล้ว 24 วัน ยืนยันลุยต่อ เผยกำลังใจยังดี ติดตามข่าว กมธ.นิ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 44 กระทู้ล่าสุด 22 มีนาคม 2567 04:37:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.667 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 07:59:26