[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 09 สิงหาคม 2558 15:38:53



หัวข้อ: ความรู้เรื่อง 'บายศรี'
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 09 สิงหาคม 2558 15:38:53
.

(http://www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/Product_43294_460396642_fullsize.jpg)

บายศรี

จากเว็บไซต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ว่า "บายศรี" เป็นศัพท์มาจากการรวมของคำ ๒ คำ คือ บาย ภาษาเขมร แปลว่าข้าว และ ศรี ภาษาสันสกฤต แปลว่าสิริมงคล มิ่งขวัญ บายศรีจึงมีความหมายว่า ข้าวขวัญ หรือข้าวที่มีสิริมงคลเป็นมิ่งขวัญ

เครื่องประกอบบายศรี ได้แก่ ข้าวสุกที่หุงตักเอาที่ปากหม้อ ไข่ต้ม และมีเครื่องบริวารคือสำรับคาวหวาน นับเป็นงานประดิษฐ์ที่ผสานทั้งศาสตร์และศิลป์ แฝงคติความเชื่อเรื่องการทำขวัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนไทยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ เช่น การเกิด การโกนจุก การบวช การแต่งงาน และการตาย ต้องทำขวัญ รับขวัญ เซ่นบวงสรวงบูชาเทวดาอารักษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

การประดิษฐ์บายศรีพบเห็นทั่วไปในชุมชนทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศไทย แต่ละภูมิภาคมีรูปลักษณ์และวิธีการประดิษฐ์แตกต่างกัน บายศรีภาคเหนือ บางท้องที่เรียก ขันศรี ทำด้วยใบตอง กำหนดชั้นของบายศรีมีตั้งแต่ชั้นเดียวจนถึง ๙ ชั้น นิยมนับเลขคี่ แต่การกำหนดชั้นขึ้นอยู่กับฐานันดรศักดิ์ของผู้รับขวัญ, บายศรีภาคใต้ ส่วนใหญ่ใช้ต้นกล้วยมาทำเป็นหลักของบายศรี ตัวบายศรีใช้ใบตองพับประดับประดาดอกไม้ บางท้องที่ใช้ใบพลูพับทับซ้อนคล้ายกับกระจัง ติดรัดด้วยกาบกล้วย บนยอดบายศรีมีถ้วยหรือกระทงบรรจุข้าวและขนม ๑๒ อย่าง และปักเทียน นับจำนวนชั้นเป็นเลขคี่เสมอ บายศรีภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ภาษาถิ่นเรียก พาขวัญ หรือพานพาขวัญ ทำขวัญให้กับคน สัตว์ สิ่งของ เช่น ได้เรือนใหม่ (ขึ้นบ้านใหม่) ทำขวัญให้เกวียน ทำขวัญให้วัวควาย ทำขวัญให้คนป่วย ตลอดจนต้อนรับผู้มาเยือน

บายศรีภาคกลาง แบ่งได้ ๒ ลักษณะ คือ
๑.บายศรีของราษฎร์ ได้แก่ บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่ หรือบายศรีต้น บางท้องที่เรียก บายศรีตั้ง หรือบายศรีชั้น ส่วนใหญ่ใช้ในงานบวชนาค โกนผมไฟหรือโกนจุก รวมถึงบายศรีในพิธีกรรมเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ เช่น บายศรีตอ บายศรีเทพ บายศรีพรหม

๒.บายศรีของหลวงในราชสำนัก ได้แก่ บายศรีในพระราชพิธีต่างๆ จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณีซึ่งมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนระบุไว้อย่างชัดเจน ปัจจุบันมี ๓ ลักษณะ ได้แก่
     ๑) บายศรีต้น ต้องมีแป้นไม้เป็นโครงแบ่งเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น
     ๒) บายศรีแก้ว เงิน ทอง ใช้ในพระราชพิธีสมโภชเวียนเทียนในพระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวัง พระราชพิธีสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีฉัตรมงคล
         พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต เป็นต้น และ
     ๓) บายศรีตองรองทองขาว ใช้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ตั้งคู่กับบายศรีแก้ว เงิน ทอง สำรับใหญ่

สำหรับช่างทำบายศรีของราษฎร ทุกวันนี้ยังคงพบเห็นทั่วไปในชุมชนต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุในชุมชน ขณะที่การประดิษฐ์บายศรีถูกประยุกต์ดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยสังคมปัจจุบันมากขึ้น
...นสพ.ข่าวสด