[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 พฤษภาคม 2567 05:20:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดเหตุผลศาลคดี ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ แม้มีฉากสื่อถึง 6 ตุลาฯ แต่ฉายได้ไม่ทำสั  (อ่าน 37 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2567 18:27:36 »

เปิดเหตุผลศาลคดี ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ แม้มีฉากสื่อถึง  6  ตุลาฯ แต่ฉายได้ไม่ทำสังคมแตกแยก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 17:20</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เปิดเหตุผลของศาลปกครองสูงสุดในการยกเลิกคำสั่งห้ามฉาย “เชคสเปียร์ต้องตาย” ของกองเซ็นเซอร์ห้ามฉายและยังสั่งให้จ่ายชดเชยค่าเสียหาย 5 แสนบาทพร้อมดอกเบี้ย ศาลเห็นว่าแม้จะมีฉากที่สื่อถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แต่ศาลกลับเห็นเห็นว่าฉายได้ไม่ได้สร้างความแตกแยกสามัคคี คำสั่งของกองเซ็นเซอร์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย</p>
<p>21 ก.พ.2567 หลังจากเมื่อวานนี้มีการรายงานข่าวถึงศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยสั่งให้ยกเลิกคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” และสั่งให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (ในรายงานชิ้นนี้จะเรียกว่า กองเซ็นเซอร์) จ่ายค่าเสียหายฐานละเมิดสิทธิเป็นเงินจำนวน 500,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และผู้กำกับ</p>
<p>มานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ได้ให้ข้อมูลเป็นเอกสารคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแก่ประชาไททำให้ทราบรายละเอียดของเหตุผลของศาลเพิ่มเติมในการยกเลิกคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ศาล ปค.สูงสุดให้ฉาย‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ กองเซ็นเซอร์ต้องจ่าย 5 แสนพร้อมดอกเพราะสั่งห้ามฉาย</li>
<li>แบนต่อเนื่อง “เชคสเปียร์ต้องตาย” เหตุเนื้อหาสร้างความแตกแยก</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">แบนเพราะมีฉากที่ทำให้รู้ว่าเป็นเหตุการณ 6 ตุลาฯ</span></h2>
<p>คำพิพากษาสรุปได้ว่า เบื้องต้นในคดีนี้ มานิต ในฐานะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และสมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ผู้อำนวยการร่วมและเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ของภาพยนตร์ “เชคสเปียร์ต้องตาย”  ได้รับเงินทุนสนับสนุนการสร้างจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเงินจำนวน 3,000,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ เรื่อง มาตรการในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2552 และภายหลังจากทั้งสองสร้างภาพยนตร์เสร็จได้ยื่นคำขอตรวจพิจารณาภาพยนตร์ต่อกองเซ็นเซอร์</p>
<p>หลังกองเซ็นเซอร์ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเนื้อหาที่นำเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 มาสอดแทรกไว้ เช่นฉากที่แสดงถึงคนดูละครทำร้ายคณะนักแสดงและจับผู้กำกับละครขึ้นแขวนคอและทุบตีด้วยสิ่งของ ซึ่งเข้าลักษณะก่อให้เกิดความแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติต้องห้ามเผยแพร่ในประเทศ ตามข้อ 7(3) ของกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. 2552 และจัดประเภทเป็นภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในประเภท ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง(7) ใน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ.2551</p>
<p>แต่ก่อนที่กองเซ็นเซอร์จะมีมติห้ามฉายได้มีการเรียกมานิตและสมานรัชต์เพื่อขอให้แก้ไขฉากดังกล่าวแต่ทั้งสองยืนยันว่าไม่แก้ไขเพราะเป็นการนำเสนอความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 และต่อมากองเซ็นเซอร์ได้มีมติสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ดังกล่าว มานิตและสมานรัชต์จึงดำเนินการอุทธรณ์คำสั่งของกองเซ็นเซอร์ต่อนายกรัฐมนตรีและประธานของคณะกรรมการภาพยนตร์และวิดีทัศน์แห่งชาติ</p>
<p>ต่อมา 11 พ.ค.2555 คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ พิจารณาข้ออุทธรณ์ของผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับแล้วเห็นว่า แม้ภาพยนตร์ดังกล่าวจะมีการดัดแปลงสถานที่ในเรื่องให้เป็นประเทศสมมติแล้วก็ตามแต่ก็สื่อให้เข้าใจได้ว่าหมายถึงสังคมไทย และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศ และเมื่อกองเซ็นเซอร์ได้สั่งให้แก้ไขเนื้อหาบางส่วนที่เห็นว่าสร้างความแตกสามัคคีแล้วแต่ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสองยืนยันที่จะไม่แก้ไข คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ จึงมีมติยกอุทธรณ์ของผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสอง</p>
<p>มานิตและสมานรัชต์ เห็นว่าคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์และคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้ได้รับความเสียหาย จึงฟ้องคณะกรรมการภาพยนตร์เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ กองเซ็นเซอร์เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2 เป็นคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นเพื่อให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องทั้งสองรายและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก้มานิตและสมานรัชต์ ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง มานิตและสมานรัชต์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาจึงยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด</p>
<p>ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่ามีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก การมีคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์และคำสั่งยกอุทธรณ์ของคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และประเด็นที่สอง การกระทำของกองเซ็นเซอร์และคณะกรรมการภาพยนตร์นั้นถือเป็นการละเมิดต่อมานิตและสมานรัชต์หรือไม่ ถ้าหากเป็นการละเมิดผู้ถูกฟ้องทั้งสองรายจะต้องจ่ายชดใช้ให้แก่ทั้งสองคนหรือไม่และจ่ายเท่าไหร่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">หนังไม่สร้างความแตกแยก กองเซ็นเซอร์กำหนดเรต 20+ ฉายแทนห้ามฉายได้</span></h2>
<p>สำหรับประเด็นแรก ศาลได้บรรยายสรุปเนื้อหาของภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนถึงฉากจบของภาพยนตร์ที่ภาพยนตร์เล่าถึงการแสดงละครเวทีซ้อนกับสถานการณ์โลกภายนอกโรงละคร ก่อนจะระบุว่าเนื้อหาในเรื่องแม้จะมีบางส่วนที่สื่อให้เห็นว่าเป็นสังคมไทยและฉากความรุนแรงในช่วงท้ายของเรื่องมีลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 ตามที่กองเซ็นเซอร์และคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ อ้างไว้เช่นกัน</p>
<p>“แต่ภาพยนตร์ดังกล่าวทั้งเรื่องเป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือต้องการสื่อสารกับผู้ชมในแง่มุมของความชั่วร้ายในจิตใจของมนุษย์โดยยกเอากรณีผู้นำประเทศที่งมงายในไสยศสาตร์ มักใหญ่ใฝ่สูงและบ้าอำนาจ ได้ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ชอบธรรมตามบทละครของวิเลีบม เชคสเปียร์ บทดภาพยนตร์ดังกล่าวไม่ได้ต้องการจะสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 แต่อย่างใด”</p>
<p>อีกทั้งศาลยังระบุอีกว่า “ส่วนตอนท้ายเรื่องที่มีกลุ่มบุคคลที่คลั่งไคล้ในตัวท่านผู้นำ(ในโลกภายนอกโรงละคร) โกรธแค้นที่มรการแสดงละครล้อเลียนท่านผู้นำ ได้เข้าไปทำร้ายนักแสดงและผู้คนที่กำลังดูละคร รวมทั้งได้ทำร้ายผู้กำกับละคร(ที่แต่งตัวเหมือนเชคสเปียร์) แล้วลากออกไปด้านหน้าโรงละคร จับแขวนคอและทุบตีด้วยเก้าอี้เหล็กพับท่ามกลางกลุ่มคนจำนวนมากที่ส่งเสียงเชียร์ แม้อาจจะเป็นการเลียนแบบมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 ก็ตาม แต่ฉากการแสดงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที ไม่น่าจะทำให้ผู้ชมภาพยนตร์เข้าใจว่าเป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 หรือหากผู้ชมเข้าใจว่าเป็นการเลียนแบบเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 ก็เห็นได้ว่าเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวได้ยุติไปนานแล้ว”</p>
<p>นอกจากศาลจะเห็นว่าเนื้อหาที่กล่าวถึงเหตุการณเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2519 จะเกิดขึ้นมานานกว่า 30 ปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังมีการจัดงานรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นประจำทุกปีและยังมีการเผยแพร่ภาพเหตุการณ์ทางสื่อต่างๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบถึงเหตุการณ์ในอดีตเพื่อให้เรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น</p>
<p>ศาลเห็นว่าภาพยนตร์ดังกล่าวไม่น่าจะก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ และหากกองเซ็นเซอร์เห็นว่าภาพยนตร์ดังกล่าวมีเนื้อหารุนแรงมากเกินไปหรืออาจทำให้คนที่ยังมีวิจารณญาณไม่เพียงพอในการรับชมจนเกิดความเข้าใจผิด กองเซ็นเซอร์สามารถกำหนดให้เป็นภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีดูได้ ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 26 วรรคหนึ่ง(6) ของพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ</p>
<p>ศาลจึงเห็นว่าคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์เป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลไม่เข้าเงื่อนไขเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐและเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดและให้ถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมไปถึงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ที่มีมติให้ยกอุทธรณ์ของมานิตและสมานรัชต์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">คำสั่งห้ามฉายเป็นการละเมิดต้องชดใช้ค่าเสียหาย แต่ไม่รวมค่าเสียหายจากการผลิต</span></h2>
<p>ศาลพิจารณาต่อว่าเมื่อคำสั่งของกองเซ็นเซอร์และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วจึงถือว่าเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อมานิตและสมานรัชต์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 ด้วย</p>
<p>แต่เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนแล้วคำสั่งห้ามฉายแล้ว ผู้สร้างภาพยนตร์สามารถนำไปฉายเผยแพร่ได้แต่จะได้รายได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าชมภาพยนตร์ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการสร้างภาพยนตร์จึงไม่ถือว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการละเมิดของผู้ถูกฟ้องทั้งสองราย จึงไม่ต้องกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่ผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งสอง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ศาลยังคงพิพากษาให้มานิตและสมานรัชต์ยังได้รับค่าเสียหายจากการออกคำสั่งห้ามฉายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกองเซ็นเซอร์อยู่โดยให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นผู้ชดใช้แทนเนื่องจากเป็นสำนักงานเลขาธิการของกองเซ็นเซอร์ แต่คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ไม่ต้องรวมชดใช้เนื่องจากศาลเห็นว่าเป็นเพียงผู้พิจารณาทบทวนคำสั่งห้ามฉายของกองเซ็นเซอร์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณาและกำหนดประเภทภาพยนตร์ที่จะออกฉายในประเทศ</p>
<p>ศาลได้กำหนดในคำพิพากษาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวชดใช้แก่มานิตและสมานรัชต์ดังนี้</p>
<ol>
<li>ศาลกำหนดเงินต้นที่ต้องชดใช้ที่ 500,000 บาท</li>
<li>นับตั้งแต่วันที่กองเซ็นเซอร์มีคำสั่งห้ามฉายเมื่อ 3 เม.ย.2555 จนถึงวันที่มานิตและสมานรัชต์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 ส.ค.2555 รวมเป็นเวลา 129 วัน มีดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี คิดเป็นเงิน 13,217.21 บาท</li>
<li>หลังจากฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 ส.ค.2555 จนถึงวันที่ 10 เม.ย.2564 ให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจากเงินต้น 500,000 บาท</li>
<li>ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.2564 ให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี บวกอัตราเพิ่มอีกร้อยละ 2 จากเงินต้น 500,000 บาท</li>
</ol>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108160
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[โพสทูเดย์] - 45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบห้า): หากจอมพลสฤษดิ์ไม่ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2506 เขาจะครองอำ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 231 กระทู้ล่าสุด 31 มกราคม 2565 14:15:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
[โพสทูเดย์] - 45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบเจ็ด): แนวโน้มการครองอำนาจยาวนานของผู้นำทางการเมืองในเอเช
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 192 กระทู้ล่าสุด 14 กุมภาพันธ์ 2565 13:03:52
โดย สุขใจ ข่าวสด
[โพสทูเดย์] - 45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สามสิบหก): แนวโน้มการครองอำนาจยาวนานของผู้นำทางการเมืองในเอเ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 145 กระทู้ล่าสุด 27 มิถุนายน 2565 12:41:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เครือข่ายนักศึกษา เตรียมจัดรำลึก 47 ปี 6 ตุลาฯ เชิญประมุข 3 ฝ่าย ร่วมแสดงจุดยืน-ขอโ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 69 กระทู้ล่าสุด 26 กันยายน 2566 06:55:51
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศาล ปค.สูงสุดให้ฉาย‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ กองเซ็นเซอร์ต้องจ่าย 5 แสนพร้อมดอกเพราะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 44 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2567 14:53:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.459 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 23 กุมภาพันธ์ 2567 06:29:25