[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ อนามัย => ข้อความที่เริ่มโดย: wondermay ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 02:28:46



หัวข้อ: ข้อดีของการไปบริจาคเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 02:28:46
เนื่องจากwondermay นอนไม่หลับ ........เปิดโทรทัศน์เจอข่าววันใหม่ ได้ยินข่าวว่า
สภากาชาดไทยออกมาขอร้องให้ประชาชนออกมาช่วยบริจาคเลือด เพราะปริมาณคงคลังถือว่าน้อยมากและยอดเฉลี่ยบริจาคต่อวันต่ำกว่าเกณฑ์
จึงเกิดความสนใจ และคิดว่าโตมาจนป่านนี้ก็น่าจะลองไปบริจาคดูซักทีเป็นไร ก่อนไปต้องหาข้อมูลเสียก่อนนนน!!



(:???:)20 คำถามก่อนบริจาคเลือด (:???:)
(http://202.8.79.144:8080/chaipattana//upload/news2/news200580.bmp)
แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้ผู้บริจาครู้สึกติ อิ่มเอมใจที่ได้ทำกุศล เพราะได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ คนสามารถไปบริจาคเลือดได้
เพราะว่าการบริจาคเลือดนั้นคุณต้องเสียเลือดในร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณเองหลังบริจาคได้เหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้ามหากว่า
เลือดของคุณไม่สมบูรณ์และอาจมีเชื้อโรคก็อาจทำให้ผู้ที่ได้รับเลือดของคุณติดเชื้อที่อยู่ในเลือดของคุณตามไปด้วย แต่เมื่อมีความตั้งใจจะบริจาคแล้ว มีคำถาม 20 ข้อ
ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนี้

1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี
2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย
4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด
5. ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด คุณรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า
    บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็จะไม่มีคุณภาพ
6. รับประทานยากแก้อักเสบภายใน 14 วัน หรือยาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งต้องระบุ ให้ทราบ เพราะผู้บริจาคเลือดที่ได้รับยาแก้อักเสบแสดงว่ามีการติดเชื้ออยู่
   ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้รับเลือดและอาจทำให้แพ้ยาได้
7. คุณเป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค โรคภูมิแพ้ หรือไม่เพราะการบริจาคเลือดทำให้ต้องสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจจะกระตุ้นให้มีการกำเริบได้
    จึงไม่ควรบริจาคเลือด โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด
8. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่แน่ใจว่าหายขาดไม่มีเชื้อแล้วหรือไม่
    ก็ควรเลื่อนการบริจาคเลือดออกไปจนกว่าจะทราบว่าเลือดของคุณปลอดเชื้อแล้ว
9. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ธัยรอยด์ มะเร็ง โรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ยารักษาควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง
    และถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี อาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ ควรพิจารณาดังนี้

- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝงตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากและเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด

10. ถอนฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา เหงือกอาจจะอักเสบและมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้
11. คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV
12. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือนหรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม
      ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด
13. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือดอาจติดไปด้วย
14. เคยมีประวัติยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง
15. เคยเจ็บป่วยและได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเลือดคนอื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระบบโลหิต
     ถึงแม้จะมีการตรวจหากลุ่มเลือดหลักที่เข้ากันได้ แต่กลุ่มย่อยที่ไม่สามารถหาได้ตรงกันหมด ก็ยังคงเป็นปัญหาของผู้ได้รับเลือด
16. เคยฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วง 14 วัน จึงควรให้ร่างกายได้ทำงานเต็มที่
      การฉีดเซรุ่มต้องติดตามดูโรคนั้นๆ 1 ปี
17. เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาเลเรียในระยะ 3 ปี ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้แสดงอาการรุนแรง
18. คุณผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างรอบเดือน ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียเลือดซ้ำซ้อน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อน
19. คนที่คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จะมีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องการเวลาในการปรับตัวและสร้างเลือดขึ้นมาใหม่ ควรงดบริจาค 6 เดือน
20. อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ น้ำนมผลิตขึ้นมาจากเลือด การเสียเลือดในการบริจาคจะทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไป

พิจารณาจบ 20 ข้อนี้แล้ว สำหรับคุณที่ผ่านเกณฑ์ว่ามีเลือดมาตรฐานก็ยินดีด้วย
แต่สำหรับคุณบางคนที่ยังไม่แน่ใจก็อย่าเสียใจที่ไม่ได้ทำกุศลยิ่งใหญ่นี้เลย เพราะยังมีอีกหลายทางให้คุณได้เผื่อแผ่บุญกุศลค่ะ
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today



(http://p1.s1sf.com/ca/0/ud/184/924830/200252911-001.jpg)
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากสภากาชาดไทย สำหรับผู้จะไปบริจาคโลหิต

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
1. มีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป
2. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ ( ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)
3. มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบายหรือรับประทานยาใดๆ
4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด
5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์หรือ ให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
-นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อเนื่อง ในเวลาปกติคืนก่อนวันบริจาค
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กเพิ่ม
-รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื่องจากจะทำให้สีของพลาสมาผิดปกติเป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้
-ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย
  หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
-งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนบริจาค
-งดสูบบุหรี่ ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ขณะบริจาคโลหิต
-สวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว
-เลือกแขนข้างที่เส้นโลหิตดำใหญ่ชัดเจน ที่สามารถให้โลหิตไหลลงถุงได้ดี ผิวหนังบริเวณที่จะให้เจาะ ไม่มีผื่นคัน หรือรอยเขียวช้ำ ถ้าแพ้ยาทาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
-ทำตัวตามสบาย อย่ากลัว หรือวิตกกังวล
-ไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบริจาคโลหิต
-ขณะบริจาคควรบีบลูกยางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้โลหิตไหลได้สะดวก หากมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น วิงเวียน มีอาการคล้ายจะเป็นลม อาการชา อาการเจ็บที่ผิดปกติ
  ต้องรีบแจ้งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในบริเวณนั้นทราบทันที
-หลังบริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อย ห้ามลุกทันที ให้นอนพักสักครู่จนกระทั่งรู้สึกสบายดี จึงลุกไปดื่มน้ำ และรับประทานอาหารว่างที่จัดไว้รับรอง

หลังบริจาคโลหิต
-ดื่มน้ำมากกว่าปกติ เป็นเวลา 1-2 วัน
-หลีกเลี่ยงการทำซาวน่า หรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากๆ งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ รวมถึงการหิ้วของหนักๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ภายหลังการบริจาคโลหิต
-ถ้ามีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกผิดปกติ ให้รีบนั่งก้มศีรษะต่ำระหว่างเข่า หรือนอนราบยกเท้าสูงจนกระทั่งมีอาการปกติจึงลุกขึ้น และเดินทางกลับ ป้องกันอุบัติเหตุจากการล้ม
-ถ้ามีโลหิตซึมออกมาจากรอยผ้าปิดแผล อย่าตกใจ ให้ใช้นิ้วมืออีกด้านหนึ่งกดลงบนผ้าก๊อส กดให้แน่นและยกแขนสูงไว้ประมาณ 3-5 นาที
  หากยังไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคโลหิตเพื่อพบแพทย์หรือพยาบาล
-ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูง หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพัก 1 วัน
-รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละอย่างน้อย 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก


หัวข้อ: Re: ข้อดีของการไปบริจาคเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 02:35:23

>คือเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นจริง ๆ
>เป็นผลมาจากการบริจาคโลหิตโดยแท้ !!
>
>รุ่นพี่ของผมคนหนึ่ง อายุประมาณ 35 ปี ทำงานอยู่ที่ ทีพีไอ สำนักงานใหญ่
> ซึ่งบริษัทมีสวัสดิการให้พนักงานตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี
>ผลการตรวจล่าสุดเมื่อปลายปีที่แล้ว
>ปรากฎว่าพี่เค้าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว
>ซึ่งคุณหมอก็งงเหมือนกัน เพราะเกือบทั้งหมดของคนที่เป็นโรคนี้
>มักเป็นมาแต่กำเนิดหลังทราบผล พี่เค้าก็ไปปรึกษาคุณหมอ สรุปว่า
>ทางเดียวที่จะรอดได้ก็ต้องผ่าตัด
>เพื่อดูว่าสามารถซ่อมลิ้นหัวใจได้หรือไม่
>ถ้าไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนใหม่
>
>หลังจากปรึกษาที่รพ.เซ็นหลุยส์
>ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดประมาณ 3 – 4 แสนบาท
>จึงลองไปปรึกษาที่รพ.จุฬาฯ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1 แสนกว่า ๆ
>จึงตัดสินใจไปผ่าตัดที่รพ.จุฬา ฯ
>
>แต่ก่อนหน้านี้
>พี่เค้าบริจาคเลือดทุก ๆ 3 เดือนมาโดยตลอด
>รวมทั้งหมดที่บริจาคก็ 49 ครั้ง
>และพี่เค้าก็ได้รับคำแนะนำมาว่า ทางสภากาชาดจะช่วยเหลือในส่วนของ
>ค่าห้องในการพักรักษาตัวได้
>จึงได้ไปขอจดหมายรับรองจากสภากาชาดไว้
>ว่าได้บริจาคเลือดจำนวนครั้งเท่านี้จริง
>
>อย่างน้อยก็จะได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายไปได้บ้างพี่เค้าเพิ่งได้รับการผ่าตัดเรียบร้อ
> ย
>เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 48 นี้เอง
>วันที่ออกจากรพ. ก็ต้องไปเคลียร์ค่าใช้จ่าย
>ซึ่งทั้งหมดเป็นเงิน 110,000 บาทแต่พี่เค้าต้องจ่ายจริง
>คือค่ายาเพียง 9,800 บาทเท่านั้น
>เพราะสรุปว่าสภากาชาดออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้
>
>เจ้าหน้าที่ของรพ.แจ้งว่า
>ได้รับสิทธิ์เหมือนกับข้าราชการคนหนึ่ง
>ส่วนของค่ายาที่ต้องจ่ายเองนั้นเพราะเป็นยาบัญชีประเภทสอง
>ซึ่งถึงจะเป็นข้าราชการก็ต้องจ่ายส่วนนี้เองเหมือนกัน
>เจ้าหน้าที่ยังแนะนำอีกว่า เพียงแค่คุณบริจาคเลือด
>กับสภากาชาดอย่างน้อย 24 ครั้ง
>คุณก็จะได้รับสิทธิประโยชน์นี้เหมือนเหมือนกับข้าราชการคนหนึ่ง
>
>นี่ถือเป็นโชค 2 ชั้นเลยนะ ได้บุญจากการบริจาคเลือดแล้ว
>ยังเหมือนได้ประกันแถมมาอีก
>ถ้าใครมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี ก็พยายามไปบริจาคเลือดไว้นะ
>แต่ขอย้ำว่านับเฉพาะที่บริจาคไว้กับ
>สภากาชาดเท่านั้นนะ


หัวข้อ: Re: ข้อดีของการไปบริจาคเลือด
เริ่มหัวข้อโดย: wondermay ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 02:40:19

"บริจาคเลือดครบ 36 ครั้ง" เข้ารับประทานเข็มจากพระองค์เจ้าโสมสวลี!!!

มีท่านหนึ่งในบล๊อคโอเคเนชั่น ได้มีโอกาสเข้าพิธีประทานเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต ของศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย
สำหรับผู้บริจาคครั้งที่ 36 และครั้งที่ 108 ได้รับประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201201/19/654efbc.jpg)
ไปลงทะเบียนเข้าร่วมพิธีแล้วได้โบแดงติดหมายเลขสำหรับผู้บริจาคครบ 36 ครั้ง ได้ลำดับที่ 750
ซึ่งวันนั้นมีผู้บริจาคครบ 36 ครั้งเข้ารับประทานเข็ม 1,283 คน
(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201201/19/6548408.jpg)(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201201/19/654fde1.jpg)
เมื่อลงทะเบียนก็ได้ใบประกาศนียบัตรนี้มาเลย
เข็มที่ระลึก 36 ครั้ง รับประทานจากพระหัตถ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
เมื่อลงทะเบียนได้รับคูปองอาหารนี้ด้วย เป็นข้าวกล่อง มีข้าวสวย 1 ถุง ไข่พะโล้ 1 ถุง และผัดพริกปลาอีก 1 ถุง

http://www.oknation.net/blog/twin/2012/01/19/entry-1