รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์

(1/11) > >>

Kimleng:
Tweet


รู้จักพันธุ์นก ก่อนสูญพันธุ์


ภาพระบายด้วยสีน้ำ

นกกระเต็น

นกกระเต็น เป็นนกที่อยู่ในอันดับย่อย Alcedines ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) จัดเป็นนกขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ ๑๓-๑๖ เซนติเมตร (ในชนิดที่ใหญ่อาจยาวได้ถึง ๔๑ เซนติเมตร

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน มีลักษณะทั่วไปคือ มีส่วนหัวโต คอสั้น จะงอยปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสดสะดุดตา เมื่อเวลาบินจะบินได้อย่างคล่องแคล่ว มักพบในแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ

เป็นนกที่หากินด้วยวิธีการพุ่งลงไปในน้ำด้วยความเร็วและแรง (มีการศึกษาพบว่าเร็วถึง ๑/๕๐ วินาที) และใช้จะงอยปากที่แข็งแรงแหลมคมจับปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ กินเป็นอาหาร ด้วยการจ้องมองจากบนกิ่งไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถอยู่นิ่งๆ แบบนั้นได้เป็นระยะเวลานาน โดยมักจะจับปลาในช่วงเช้าจนถึงสายๆ และอีกครั้งในช่วงบ่าย เมื่อเกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือแหล่งน้ำ จะพยายามหันหลังให้ดวงอาทิตย์ เพื่อให้ปลาเมื่อมองขึ้นมาจะต้องมองย้อนแสง ทำให้สังเกตไม่เห็นตัวนก ในบางชนิดอาจจะบินอยู่กับที่กลางอากาศ ก่อนที่จะพุ่งลงไปจับปลา เมื่อจับปลาได้แล้ว จะจับปลาฟาดกับกิ่งไม้เพื่อให้ปลาตาย ก่อนที่จะกลืนลงไปโดยเอาส่วนหัวลงไปก่อนเสมอ เพื่อที่จะไม่กินปลาย้อนเกล็ด ซึ่งอาจโดนเงี่ยงหรือเกล็ดทิ่มแทงทำให้นกได้รับบาดเจ็บได้

โดยปกติเป็นนกที่อยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ การทำรังวางไข่ นกกระเต็นมักใช้จะงอยปากขุดรูริมฝั่งน้ำ และหาหญ้ามารองเป็นพื้น วางไข่ครั้งละ ๔-๕ ฟอง บางชนิดอาจขุดรูไว้มากถึง ๒-๓ รู เพื่อหลอกสัตว์ผู้ล่า ขณะที่บางชนิดอาจจะใช้โพรงไม้หรือโพรงไม้เก่าของนกอื่นที่ทิ้งร้างไว้เป็นที่วางไข่ โดยมากจะวางไข่ในช่วงฤดูหนาว .... ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




ภาพระบายด้วยสีไม้

นกฟินช์
(Finches)

นกฟินช์ (Finches) ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrura gouldiae นกรูปร่างเล็กๆ มีสีสันสวยงาม น่าเอ็นดู มีกิริยาปราดเปรียวว่องไว เแข็งแรง  ลี้ยงดูง่าย นกตระกูลนี้แยกพันธุ์ออกไปเป็นชนิดต่างๆ เท่าที่นักเลี้ยงทั่วไปได้สะสมกันเอาไว้นั้นมีเกือบ ๑๐๐ ชนิด ถิ่นกำเนิดแต่ดั้งเดิมของนกตระกูลนี้มีอยู่ในเขตร้อน อาทิเช่น แอฟริกา ออสเตรเลีย และในแถบเอเชีย ทั้งนี้ ชนิดที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดสัตว์เลี้ยงที่นับว่าคุ้นตาดีนั้นมีชื่อเรียกแยกเป็นชนิดและสี

สถานะการอนุรักษ์: เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์


Kimleng:

ภาพวาดระบายด้วยสีไม้

นกกระจอกบ้าน

นกกระจอกบ้าน (Eurasian Tree Sparrow) เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก เป็นนกขนาดเล็กมาก มีสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างใหญ่ คอสั้น ปีกสั้น ปลายปีกมน  ปีกสีน้ำตาลมีแถบสีขาวแคบๆ สองแถบ ขาเป็นสีน้ำตาลอ่อน และปากอ้วนสั้น เป็นปากกรวย เป็นสีน้ำเงินจากปลายในฤดูร้อนและกลายเป็นเกือบดำในฤดูหนาว หางค่อนข้างสั้น ตัวยาว ๑๒.๕-๑๔ ซม. (๕–๕½ นิ้ว) ช่วงปีกกว้าง ๒๑ ซม. (๘.๒๕ นิ้ว) และหนัก ๒๔ กรัม (๐.๘๖ ออนซ์) ที่กระหม่อม หลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) เพื่อแยกความแตกต่างจากนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) ซึ่งเป็นนกพื้นเมือง แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง

นกกระจอกนี้เป็นที่โดดเด่นในสกุลเพราะชุดขนไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศ นกวัยอ่อนคล้ายนกโตเต็มวัยแต่มีสีทึมกว่า ด้วยรูปแบบแต้มบนใบหน้าทำให้มันง่ายที่จะจำแนก อีกทั้งมีขนาดเล็ก กระหม่อนไม่เป็นสีเทายิ่งทำให้มันแตกต่างจากนกกระจอกใหญ่ตัวผู้ นกกระจอกบ้านที่โตเต็มวัยและนกวัยอ่อนจะผลัดขนอย่างช้าๆ จนเสร็จสมบูรณ์ในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะทำให้ดัชนีมวลร่างกายเพิ่มขึ้น แม้ไขมันที่สะสมจะลดลงก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของมวลกายเกิดขึ้นเพราะการเพิ่มขึ้นของเลือดเพื่อที่จะช่วยการงอกของขน และปริมาณความจุน้ำที่สูงขึ้นในร่างกาย

กระจอกบ้านไม่มีการร้องเพลงที่แท้จริง แต่การเปล่งเสียงของมันประกอบด้วย ชุดปลุกเร้าของเสียงร้อง ชิบ-ชิบ หรือ ชิชิบ-ชิชิบ โดยนกตัวผู้ที่ไม่มีคู่หรือกำลังเกี้ยวพาราสี เสียงร้องพยางค์เดียวอื่นๆ ถูกใช้ในการสื่อสารทางสังคม และเสียงร้องกระด้างขณะบิน แจ๊ก-แจ๊ก

นกกระจอกบ้านทำรังไม่เป็นระเบียบในโพรงธรรมชาติ รูในอาคาร หรือรังขนาดใหญ่ของนกสาลิกาปากดำหรือนกกระสาขาว นกจะวางไข่คราวหนึ่งห้าถึงหกฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในสองอาทิตย์ นกกินเมล็ดพืชเป็นอาหารหลัก แต่บางครั้งจะกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกกระจอกบ้านเหมือนกับนกขนาดเล็กทั่วไปซึ่งอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากปรสิต โรคภัยไข้เจ็บ และถูกล่าโดยนกล่าเหยื่อ ทำให้โดยทั่วไปมีช่วงชีวิตประมาณสองปี ..... ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



750

Kimleng:


นกขุนแผนหัวแดง หรือคอแดง - ภาพวาดระบายสีน้ำ + สีอะคลิลิค

นกขุนแผนหัวแดง หรือคอแดง (ตัวผู้)
Red-headed Trogon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Harpactes erythrocephalus
วงศ์ Family
สถานะการอนุรักษ์ :สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นนกประจำถิ่นพบได้บ่อยบางพื้นที่  
ตระกูล: วงศ์นกขุนแผน
ชั้น: สปีชีส์
ลักษณะ : ตัวผู้มีหัวสีแดงสดต่างจากนกขุนแผนชนิดอื่น ตัวโตสีแดงจัด ปากและหนังรอบตาสีฟ้าสด หลังและหางสีน้ำตาลแดง ท้องสีแดงอมชมพู ใต้หางมีลายบั้งสีดำสลับขาว มีแถบสีขาวคาดที่อก ปีกสีดำและมีลายเล็กๆ สีเทา
ตัวเมีย : หัวและอกช่วงบนสีน้ำตาลแดง แถบสีขาวที่อกยาวกว่าตัวผู้ ปีกมีลายสีเนื้อ
พฤติกรรม : ปราดเปรียว และชอบหลบซ่อน มักพบเกาะตัวตรงนิ่งไม่ค่อยเคลื่อนไหวบนเถาวัลย์หรือกิ่งไม้ คอยบินออกไปจับแมลงที่บินผ่านมา
ถิ่นอาศัย : ป่าดงดิบ จากที่ราบไปจนถึงระดับความสูง ๒,๐๐๐ เมตร นกประจำถิ่นพบได้ค่อนข้างบ่อย
เสียงร้อง : "ทตู๊ป ทตู๊ป ทตู๊ป" ๔-๕ ครั้ง เว้นระยะห่างกว่าชนิดอื่น

750

Kimleng:

ภาพวาดระบายสีไม้

นกคาร์ดินัลแดง
Northern Cardinal

นกคาร์ดินัลแดง Northern Cardinal หรือนกบาทหลวง Cardinalidae สามารถพบเห็นได้ในหลายรัฐทางซีกตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จุดเด่นก็คือ นกตัวผู้มีมีขนสีแดงสด ขนกระหม่อมชี้ตั้ง และมีขนสีดำที่หน้าจนถึงคอ มีแถบขนบริเวณใบหน้าเป็นแถบสีดำ เหมือนใส่หน้ากากหรือที่คาดตา ในขณะที่นกคาร์ดินัลตัวเมียจะมีสีสันที่ออกโทนน้ำตาลมากกว่า และแถบขนสีดำตรงตาจะไม่ชัดมากเท่าไหร่ จึงเป็นที่สังเกตได้ง่าย กินผลไม้จำพวกเบอร์รี่เป็นหลัก

นกคาร์ดินัล ตัวเต็มวัย จะมีขนาด ประมาณ ๗-๙ นิ้ว (จากหัวถึงหาง) ส่วนความกว้างของปีก ๑๒ นิ้ว สามารถมีอายุขัยเฉลี่ยถึงประมาณ ๑๕ ปี 



ภาพวาดระบายสีไม้

นกขุนแผน
(Red-billed blue magpie)

นกขุนแผน หรือ นกสาลิกาดง (Red-billed blue magpie)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Urocissa erythrorhyncha

จัดเป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Corvidae อันเป็นวงศ์เดียวกับกา
นกขุนแผนเป็นนกที่มีสีสันสวยงามมาก กล่าวคือ โดยมีบริเวณหัวถึงลำคอสีดำ ขนบริเวณลำตัวมีสีฟ้าแกมม่วง ส่วนโคนปีกมีสีฟ้าแกมม่วง ด้านปลายปีกสีขาว มีหางสวยงามและยาวมาก มีสีฟ้าแกมม่วงส่วนบริเวณปลายหางมีสีขาว มีขนหางคู่บนยาวกว่าคู่อื่นๆ ปากสีแดง ขาสีแดงส้มและตาสีดำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก จนยากที่จะแยกได้ออกจากการมองแค่ภายนอก

ความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ ๖๕-๖๘ เซนติเมตร และมีขนหางยาวมากราว ๓๗-๔๒ เซนติเมตร หรือ ๒ใน ๓ ของความยาวจากปากถึงปลายหาง ขนหางค่อนข้างแข็ง มี ๑๒ เส้น ซึ่งแต่ละคู่ยาวลดหลั่นกันลงไป โดยมีขนหางคู่บนสุดยาวที่สุด ซึ่งยาวกว่าขนหางคู่ที่ ๕ อย่างเห็นได้ชัด ปลายขนหางแต่ละเส้นมีลักษณะมน ขนหางทุกเส้นมีสีฟ้าอมม่วง แต่ปลายขนหางแต่ละเส้นเป็นแถบสีขาว และเฉพาะปลายขนหางคู่ที่ ๑ ถึงคู่ที่ ๕ มีแถบสีดำถัดจากแถบสีขาวด้วย ปลายขนหางคู่ที่ ๖ ซึ่งเป็นคู่บนสุดโค้งลงมาเล็กน้อย

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัยจนถึงจีน, พม่า และภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบเกือบทุกภาคยกเว้นภาคใต้

มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ ตามป่าละเมาะ, ป่าโปร่ง มักส่งเสียงร้องขณะที่มันเริ่มออกหากิน บางเวลาอาจลงมาหากินตามพื้นดินหรือซอกก้อนหิน ซอกไม้ผุๆ อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ เช่น ด้วง, ปลวก, หนอน, หอยทาก, กิ้งก่า, จิ้งจก, จิ้งเหลน, งู รวมทั้งปาด, ตะขาบ และหนู แม้แต่ไข่นกและลูกนกชนิดอื่นในรัง รวมทั้งซากสัตว์ด้วย

ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะทำรังโดยนำกิ่งไม้เล็กมาขัดสานกันเป็นแอ่งตรงกลาง และรองพื้นด้วยรากไม้หรือใบไม้ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ ๓-๖ ฟอง อยู่สูงจากพื้น ๖-๘ เมตร มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ แต่ก็นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพราะสีสันและหางที่สวยงาม   ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



ภาพวาดระบายสีไม้

นกขาบ หรือนกตะขาบทุ่ง
Indian roller, Blue jay

นกขาบ หรือนกตะขาบทุ่ง Indian roller, Blue jay


ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias benghalensis

นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ พบได้ที่ความสูงมากว่าหรือประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทย พบในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัวที่ค่อนข้างทึบ มักพบที่ความสูงต่ำกว่า ๙๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ระดับ ๑,๕๐๐ เมตรพบได้บ้างจนถึงหายาก พบที่เทือกเขาของภาคตะวันออก เทือกเขาที่กั้นภาคกลางตอนบนกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือด้านตะวันออก และผืนป่าตะวันตกตอนบน ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน

นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็กๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง

ลักษณะ เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ ๓๓ เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน รูปร่างไม่เพรียวลม ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำด้านยาวปานกลาง สันปากบนโค้ง จะงอยเป็นตะของุ้ม ปีกกว้างแต่ยาวและปลายปีกแหลม ปลายปีกมีขน ๑๑ เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ ๑๑ สั้นกว่าขนเส้นอื่นๆ จึงเห็นได้ชัดเพียง ๑๐ เส้น ปลายหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเว้าเล็กน้อย หลายชนิดมีหางแฉกลึก และบางชนิดมีหางแบบปลายแหมขึ้นอยู่กับชนิด ขาสั้น นิ้วเท้าสั้นและไม่แข็งแรง เล็บโค้ง นิ้วเท้าข้างละ ๔ นิ้ว นิ้วที่ ๒ และนิ้วที่ ๓ เชื่อมติดกันตรงโคนนิ้ว เรียกเท้าที่มีลักษณะดังกล่าวว่า Syndactyly foot ลักษณะนิ้วมีความคล้ายคลึงกับนกกะรางหัวขวาน ในวงศ์ Upupidae

สีสัน ปากสีดำด้าน ม่านตาสีน้าตาลแกมเขียว ตัวผู้มีคิ้วยาวสีขาวลายดำละเอียด ตัวเมียมีคิ้วสั้นกว่าตัวผู้เล็กน้อย ขนหางสีฟ้า ปลายหางสีน้ำเงินเข้ม ขนปีกมีหลายสีเหลื่อมกัน คือ ขนคลุมหัวปีกมีสีฟ้าอมเทา ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำเงินที่โคนขนมีสีฟ้าสด คางและใต้คอสีม่วงแดงเข้มและมีขีดสีฟ้าเด่นชัด อกและท้องตอนบนสีน้ำตาลแกมม่วง ท้องตอนล่างจนถึงขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีฟ้าสดแกมเขียว ใต้หางสีฟ้าสดและมีแถบสีน้ำเงินตอนปลายหาง ขาและนิ้วเท้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง เล็บสีดำ

นกวัยอ่อนหัวจะมีสีเขียวและหลังคอจะมีสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย หลังคอมีสีหม่นกว่า คอสีเนื้อแกมม่วง ท้องสีฟ้าอมเขียว ขนคลุมปีกสีน้ำตาล

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์ ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว เหยื่อของนกตะขาบทุ่งได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงหางหนีบ ผีเสื้อกลางคืน บุ้ง ต่อ ด้วง แมลงปอและแมงมุม และสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็กๆ เช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน คางคก งู หนู หนูผีและลูกนก นกตะขาบทุ่งนับว่าเป็นนกล่าเหยื่อที่พิเศษกว่านกล่าเหยื่ออื่นๆ เช่น นกอีเสือ นกกระเต็น หรือนกแซงแซว เพราะมันสามารถล่าเหยื่อที่นกชนิดอื่นๆไม่กล้าแตะต้องเนื่องจากมีพิษได้ อย่างเช่น ตั๊กแตนหรือผีเสื้อกลางคืนที่มีสีเตือนภัย แมงป่อง ตะขาบหรืองูพิษเป็นต้น นกตะขาบทุ่งจะล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเช้าจนกระทั่งพลบค่ำ หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน นกตะขาบทุ่งเป็นนกที่หวงถิ่นมาก ถ้าหากมีนกตัวอื่นบุกรุกเข้ามา มันจะบินขึ้นไปบนเหนือยอดไม้ แล้วบินม้วนตัวลงมายังผู้บุกรุกอย่างรวดเร็วเพื่อขับไล่ โดยใช้เวลาราว ๓๐ วินาที บางครั้งอาจบินผาดโผนพลิกแพลงราว ๔๘ วินาที และจะร้องเสียงดัง "ค๊าบ แค๊บ ค๊าบ" ไปเรื่อยๆ จนถึง ๑๒๐ ครั้ง และเพราะเหตุที่นกตะขาบทุ่งมีความสามารถในการบินม้วนตัวกลางอากาศได้ ชาวตะวันตกจึงเรียกมันว่า "Roller" ซึ่งแปลว่า "ลูกกลิ้ง" หรือ"ผู้กลิ้งม้วนตัว นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังบนต้นไม้บริเวณโพรงไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในบางครั้งจะแย่งรัง หรือโพรงเก่าของนกอื่นเพื่อวางไข่ ตัวเมียวางไข่ครั้งละ ๒-๕ ฟอง


750

Kimleng:


นกหัวขวานสีน้ำเงิน
ภาพวาดระบายสีไม้

เจ้าตัวนี้ยังหาข้อมูลสายพันธุ์ไม่พบค่ะ เป็นนกที่มีลวดลายสวยสะดุดตา
น่ารักมาก




นกกระจอกชวา

นกกระจอกชวา   อังกฤษ: Java sparrow, Java finch

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lonchura oryzivora

นกเกาะคอนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระติ๊ด (Estrildidae)

มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ ๑๓-๑๗ เซนติเมตร หัวและหางสีดำ วงรอบตาสีแดง แก้มสีขาว ลำตัวด้านบนเป็นสีเทา ลำตัวด้านล่างตั้งแต่ช่วงกลางท้องลงไปเป็นสีชมพูอ่อน ปากหนาสำหรับขบเมล็ดพืชสีชมพูอมแดง นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน

เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในเกาะชวา, เกาะบาหลี และเกาะใกล้เคียงอื่นๆ ในประเทศอินโดนีเซีย อาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า, แหล่งเกษตรกรรม และที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัย อาหารหลักได้แก่เมล็ดข้าว, เมล็ดหญ้า, ผลไม้และแมลงเล็กๆ ต่างๆ โดยจะลงมาหากินตามพื้นดิน มีเสียงร้องว่า "ชิ๊บ" และหากร้องติดต่อกันจะร้องว่า "ชิ๊บๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" ต่อเนื่องกัน

นกกระจอกชวาทำรังช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมตามโพรงบนต้นไม้, ชายคาบ้าน และรอยแตกตามอาคารต่าง ๆ รังเป็นรูปกลมทำจากรากหญ้า ใบหญ้า ลักษณะค่อนข้างรกรุงรัง วางไข่ครั้งละ ๔-๖ ฟอง ใช้เวลากกไข่ประมาณ ๑๓-๑๔ วัน

นกกระจอกชวา เป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม น่ารัก จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนได้นกที่มีสีสันแตกต่างสวยงามออกไปจากสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในหลายพื้นที่ จากการถูกนำเข้าไป เพราะเป็นนกที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ หมู่เกาะแปซิฟิก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฮาวาย, เปอร์โตริโก และรัฐฟลอริด้า ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงในประเทศไทย โดยนกในประเทศไทยหลุดมาจากการนำเข้าที่สนามบินดอนเมืองราวปี พ.ศ.๒๕๐๐

นอกจากนี้แล้ว นกกระจอกชวายังได้ชื่อว่าเป็น "นกหมอดู" เนื่องจากมีผู้ที่เลี้ยงไว้เพื่อเสี่ยงทายดวงชะตาตามหลักโหราศาสตร์...ข้อมูลจาก เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป