[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 23:56:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 ... 5 6 [7] 8   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสุขอยู่ที่ตัวเรา  (อ่าน 88289 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 36.0.1985.125 Chrome 36.0.1985.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #120 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2557 20:49:19 »


เมื่อเกิดมาอาภัพชาติ แล้วอย่าให้ใจอาภัพอีก
ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตนให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย เลือดพุ่ง
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 36.0.1985.125 Chrome 36.0.1985.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #121 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2557 19:38:51 »

อย่าลืม...ดับไฟสามกองอันนี้ใช่ แต่การดับไฟสามกองเราต้องดับที่ต้นเพลิงมิใช่ดับที่เปลวไฟ ต้นเพลิงไฟสามกองคืออวิชชา อย่ามัวหลงเพลินอยู่กับการดับไฟสามกองอย่างเดียว ต้องดับที่อวิชชาด้วย ดับอวิชชา ดับมิจฉาทิฐิตัวเดียว เหมือนปิดวาล์วท่อส่งก๊าซ ไม่มีต้นเพลิงไฟปลายเพลิงก็ดับไปเอง

ในสมัยก่อนพุทธกาล มีการสอนการกระทำเพื่อดับกิเลสตัณหาอุปาทานต่างๆนานา เช่นใช้สมาธิ ใช้ทรมานร่างกาย ใช้ตัดอวัยวะ ใช้ เวทมนต์คาถา ใช้วิธีหลีกหนีไม่เกี่ยวข้อง แต่ไม่มีใครทำสำเร็จ จนพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา พระองค์จึงพบวิธีดับกิเลสตัณหาอุปาทานอย่างชนิดไม่มีเศษเหลือคือดับที่อวิชชา ฉะนั้นวิธีดับกิเลสตัณหาที่ดับได้สนิทต้องดับที่อวิชชา คือถอนความเห็นผิดว่ามีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเสียทุกๆเมื่อ นี่คือการดับกิเลสตัณหาอย่างแท้จริง เมื่อกิเลสตัณหาสิ้นเชื้อเกิดอีกไม่ได้ เราก็ไม่มีทุกข์จะให้ดับตามไปด้วย

เราพูดกันสอนกันและเข้าใจกันว่าต้องดับกิเลสตัณหาอุปาทานจึงจะพ้นทุกข์ และสอนกันฝึกกัน พยายามดับกิเลสตัณหาอุปาทาน ทำตามๆกันมาพูดตามๆกันมา โดยบางทีไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแล้วจะดับอย่างไร บางทีก็อธิบายข้างๆคูๆว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ทำแล้วดับไม่ได้ก็ทำต่อไปด้วยหวังว่าจะดับได้สักวัน กิเลสตัณหาอุปาทานดับได้ แต่มิใช่ไปดับที่ตัวกิเลสตัณหาอุปาทาน มันไม่มีตัวให้ดับ แต่ต้องดับที่ความคิดผิดๆ ความหลงผิดว่ามีตัวตนต่างหาก ดับความหลงผิดได้เมื่อไร กิเลสตัณหาอุปาทานมันจึงจะดับ.
 สลึมสลือ สลึมสลือ สลึมสลือ
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 36.0.1985.125 Chrome 36.0.1985.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #122 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2557 09:35:48 »

วัดกันที่บาปบุญ
พระติสสเถระ....ได้เข้าไปยังบ้านของช่างทำพลอย ในบ้านมีพลอยแดงเปื้อนเลือดวางอยู่ นกกระเรียนของนายช่างคิดว่าพลอยแดงเป็นเนื้อจึงกินพลอยแดงเข้าไป นายช่างเข้าใจว่าพระติสสะขโมยพลอยแดงไปจึงคาดคั้น พระติสสะเกรงว่านายช่างจะฆ่านกกระเรียนจึงไม่ยอมบอก ทำให้นายช่างโกรธทำร้ายพระติสสะจนเลือดสาด นกกระเรียนได้กลิ่นเลือดเดินเข้ามาหมายจะกิน นายช่างเตะนกนั้นจนได้ พระติสสะเห็นดังนั้นจึงยอมบอกความความจริง นายช่างผ่าท้องนกจึงพบพลอยแดงแล้วกราบขอขมาพระติสสะ ด้วยกรรมอันนายช่างทำแก่พระติสสะเมื่อนายช่างตายไปจึงตกนรก พระภิกษุทั้งหลายโจษกันด้วยเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า
สัตว์บางพวกกลับมาเกิดอีก
พวกที่ทำบาปไปนรก
พวกที่ทำดีไปสวรรค์
พวกที่หมดอาสวกิเลส ปรินิพพาน เลือดพุ่ง
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #123 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2557 21:04:53 »


ตอนกลางวันเราอาจจะไม่มีเวลานั่งดูตัวเอง หรือทำความเข้าใจตัวเอง มัวแต่ส่งใจไปวุ้นวายอยู่กับสังคมรอบข้าง พอตอนดึกๆจึงลุกขึ้นมาศึกษาใจตัวเองบ้างก็ดีเหมือนกันนะ
 รู้สึกแย่ รู้สึกแย่ รู้สึกแย่
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #124 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2557 20:17:14 »

กาลครั้งหนึ่งมนุษย์หลงเข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้ฉลาดเป็นผู้ที่เก่งในเล่ห์กลอุบาย เพื่อที่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดถึงผลที่จะตามมาว่าจะเป็นเช่นไร แต่โดยแท้จริงแล้ว มนุษคือผู้ที่ตกหลุมพรางและได้อยู่ในวงล้อมของข้าศึกคือกิเลสที่อยู่ในใจนั้นโดยรู้เท่าไม่ถึงกาล หัวเราะลั่น โทดค๊าบ หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.124 Chrome 37.0.2062.124


ดูรายละเอียด
« ตอบ #125 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2557 13:02:14 »

"_ชีวิต คือ อะไร_"
กรรม หรือ กฎแห่งธรรมชาติสร้างมนุษย์ขึ้นมา ปรุงแต่งด้วยธาตุทั้งหลายจนเกิดเป็น กาย-ใจ ครบความเป็นร่างกายมนุษย์แล้ว ธรรมชาติยังให้ธาตุความอร่อย ติดมากับสัญชาตญาณของมนุษย์อีกด้วย และความอร่อยนี้แหละ ทำให้มนุษย์หลงติดอยู่ในโลกแห่งโลกีย์ตะพืดตะพือ จนไม่ยอมศึกษาศาสนา และปฎิบัติธรรม ความลุ่มหลงอยู่ในรสของโลก. ไม่ว่าจะในเรื่อง กิน กาม เกียรติ ดรื่องโลกธรรมฝ่ายบวก ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ทำให้ชีวิตของเรามีแต่ความบ้า หลงมัวเมาคลั่งไคล้ในรสอร่อยจนเป็นทุกข์ทุก ๆ วัน ชีวิตอย่างนี้ย่อมมิใช่ชีวิตอันประเสริฐ ท่านพุทธทาสแนะให้เราหยุดความบ้าให้ได้ โดยปฎิบัติตามอริยมรรคองค์ 8 ประการให้ถูกต้อง ชีวิตนี้มีแต่เพื่อพระนิพพาน เพื่อความสงบกายเย็นใจเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 39.0.2171.95 Chrome 39.0.2171.95


ดูรายละเอียด
« ตอบ #126 เมื่อ: 14 มกราคม 2558 20:05:02 »

ไม่ต้องรู้มากมาย
ถ้าจะภาวนาสู่ความรู้แจ้ง
รู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ไม่เป็นเหตุให้กิเลสกำเริบ
เช่นกาย หรือคำบริกรรม
รู้ว่า สิ่งเหล่านั้นถูกรู้สึกอยู่
รู้ไปจนมีจิตตั้งมั่นต่ออารมณ์
ไม่ไหล หรือจมไปกับอารมณ์
เมื่อนั้นจึงมารู้ตามเป็นจริงของกาย
ของอารมณ์ความรู้สึกทั้งหลาย
ว่ามันล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งสิ้น
รู้เท่านี้ก็พอ รู้สึกตัว นี่แหละพอแล้ว.... เลือดพุ่ง
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #127 เมื่อ: 02 เมษายน 2558 20:34:21 »

รวยจนเมื่อหมดเวลาก็สิ้นลมเหมือนกันมันอยู่ที่ว่าก่อนสิ้นลมสิ้นอายุขัยใครจะทุกข์น้อยกว่ากันหรือไม่ทุกข์เลยก็มีนะเช่นพระอรืยะท่านจะไม่ทุกข์เพราะท่านละอุปาทานเสียได้แต่พวกเรานี้สิยังต้องทุกข์แต่จะทุกข์มากหรือน้อยก็อยู่ที่ตัวเราใจเราที่มันวุ้นวายอยู่ มันเกาะเกี่ยว เรื่องของเขา เรื่องของเราอยู่ ตัวกูของกูอยู่มันจึงทุกข์ สลึมสลือ
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #128 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2558 10:21:22 »

การรักษาจิตเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสะภาวะของจิตมักจะชอบวิ่งไปทั่วและลงสู่ที่ต่ำเสมอ ถ้าขาดการดูแลอบรมณ์เท่าที่ควรจะเป็น เมื่อจิตถูกฝึกดีแล้วก็จะสามารถ ยกระดับให้อยู่ในกรอบที่มีสัมมาทิฐทิมีความเห็นชอบ และดำริชอบไม่ให้ตกไปอยู่ในอำนาจของความชั่วต่างๆ ที่มีจิตเป็นอกุศล เมื่อจิตได้รับการชำระทำความสะอาดเป็นนิจ ก็จะผ่องใสความสว่างย่อมเกิดมีขึ้นพร้อมกับความสุขสงบที่เกิดมีขึ้นในใจ
 เขิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พฤษภาคม 2558 10:23:46 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #129 เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2558 18:49:44 »

โดย
หลวงพ่อชา สุภัทโท
เปรียบน้ำฝน มันเป็นน้ำที่สะอาด มันจะมีความใสที่สะอาดปกติดี
ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป
น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว
จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น
เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย
ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย
เหมือนกับใบไม้ ที่มันถูกลม มันก็กวัดแกว่ง เอาแน่นอนไม่ได้
ดอกไม้ ผลไม้ มันก็ถูกลมเหมือนกัน ถูกลมมาพัด มันก็ตกไปเลย ไม่มีสุก
จิตใจมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน
ถูกอารมณ์มาพัดไป ถูกอารมณ์มาฉุดไป มาดึงไป ตกไป
ก็เหมือนกันกับผลไม้
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 41.0.2272.101 Chrome 41.0.2272.101


ดูรายละเอียด
« ตอบ #130 เมื่อ: 29 พฤษภาคม 2558 22:48:58 »

ถ้าชีวิตคนเราไม่ได้เรียนรู้ความทุกข์เสียก่อน เราจะไม่มีวันเข้าใจความสุขที่เกิดมีขึ้นอย่างแท้จริง เพราะความสุขที่เราได้รับมาโดยง่ายนั้นเช่นการกิน การอยู่อย่างสุขสบาย จนลืมเห็นคุณค่าลืมที่จะนำความเป็นอยู่ที่พร้อม ที่มี มาใช้มาพัฒนาจิตใจตัวเองให้ได้รับความสุขที่ประเสริฐกว่าดีกว่านี้ สังคนของความสุขมันจึงติดอยู่ที่เปลือกนอก ที่เรียกว่าความสุขจอมปอมทีผสมด้วยความทุกข์ ก็อยากที่จะพัฒนาให้ถึงแก่นแท้ของความสุข หรือพัฒทนาได้ก็มีอยู่น้อยคนนัก แต่ถ้าคนที่มีความทุกข์มาก่อน ลำบากมาก่อน แล้วมาพบความสุขในภายหลังก็อาจจะเข้าใจความสุขได้ลึกซึ้งมากกว่ากัน เช่นคนบางคนที่เคยประสบกับปัญหาของชีวิตมาก่อน ได้รับความทุกข์ใจมาก่อน จนจะเป็นบ้าก็มี แต่เมื่อมีโอกาศได้รับการศึกษาธรรมะ และปฏิบัติตามคำสอน หลักการดำเนินดำเนินชีวิต ที่มีพระธรรมเป็นที่พึ่งทางใจเขาย่อมได้พบกับความสุข ที่มีความละเอียดอ่อน และลึกซึ้งเหมือนได้ดื่มนำอันมีรสชาติวิเศษที่ไม่เคยดื่มมาก่อน แม้ร้างกายการเป็นอยู่จะลำบากไปบ้างไม่ได้มีพร้อมเหมือนคนที่มีฐานะทั้วไป แต่เมื่อนึกถึงความสุขที่เกิดมีขึ้นในจิต ที่บริสุทธิ์ที่ได้รับ เขาย่อมภาคภูมิใจเป็นที่สุด
 เลือดพุ่ง
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.466.0 Chrome 6.0.466.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #131 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2558 20:40:14 »

ทุกข์เพราะกิเลส ความทุข์ที่มันเกิดขึ้นมาได้เพราะความอยากที่ไม่มีประมาณของเราเอง อยากมากก็ทุกข์มาก อยากน้อยก็ทุกข์น้อย ความอยากมันก็เป็นกิเลสที่ทำให้คนเราเกิดความทุกข์ อยากมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากได้นั้นอยากได้นี้ ถ้าได้มาสมใจ ก็ดีใจสุขใจที่ได้มาสมใจอยากไปชั่วขณะ แต่ไม่นานสุขนั้นก็จะค่อยๆจางลงไป ไม่นานเดี๋ยวความทุกข์มันก็จะมาในรูปแบบใหม่ มันจะมาทดลองทดสอบใจเราอยู่ตลอดเวลา ทุกข์มันคู่กันกับตัวกิเลสที่เป็นต้นเหตุให้เราฟุ้งซ่านและเศร้าหมอง ให้เราเกิดความร้อนขึ้นมาในจิต โลภะ โทสะ โมหะ มันก็คือกิเลส ที่พร้อมจะครอบคุมจิตใจเราอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิตที่เรายังมีลมหายใจ เรียกว่าโลภะ โทสะ โมหะ จัดเป็นแกนนำของกิเลสก็ว่าได้ ถ้าเราจะลด หรือขจัดความทุกข์ออกไปจากตัวเราใจเราให้ได้นั้น เราต้องหาวิธี ควบคุมแกนนำคือกิเลสพวกนี้ให้ได้ มันจะได้ไม่นำพาเอาความทุกข์มาให้เราอีก ตราบไดที่ยังมีกิเลสเป็นตัวปรุงแต่ง เป็นตัวนำความอยาก ความทุกข์ก็ย่อมเกิดมีขึ้น ถ้าเราดับกิเลสได้เมื่อไหร่ ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเราอีกต่อไป
 โทดค๊าบ ลัลลา อายจัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มิถุนายน 2558 20:55:06 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.466.0 Chrome 6.0.466.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #132 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2558 21:13:13 »

ศพที่เดินได้ ทุกวันนี้คนเราก็ไม่ต่างอะไรจากศพที่รอวันเน่าเปลื่อย คำว่าศพที่เราเคยได้ยินนั้นหมายถึงคนที่ตายไปแล้ว หรือสิ้นอายุขัยไปแล้วนั้นเองไม่มีลมหายใจ ธาตุทั้งสี่ที่เคยมาประชุมกันเป็นรูปเป็นร่างได้อยุดการทำงาน อวัยวะภายในเริ่มจะเน่าและมีกลิ่นเหม็น นี้แหละที่คนเราเข้าใจว่าศพ แต่เป็นศพที่ไม่มีวิญญาณครอง ส่วนศพที่มีวิญญาณครองก็คือศพที่ยังมีระบบอะวัยวะยังทำงานอยู่ ยังมีลมหายใจ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มนุษย์คือคนเรา ตลอดไปถึงสัตว์เดรัจฉาน นี้แหละที่เราเรียกว่าศพมีวิญญาณครอง คือยังมีความรู้สึกนึกคิด รู้หนาว รู้ร้อน รู้สุข รู้ทุกข์ ที่เราเรียกว่าศพ มีวิญญาณครองหรือศพเดินได้ มีชีวิตเพราะขนาดมีชีวิตมันยังมีกลิ่นเหม็น แต่ละคนก็มีกลิ่นเหม็นทุกๆคน แต่ด้วยความที่เราเคยชินบางกลิ่นที่เหม็นกลับเข้าใจว่าหอมก็มี บางครั้งเหม็นออกมาทางผิงหนัง บางครั้งเหม็นออกมาทางปากบางครั้งเหม็นออกมาทางทะวารหนัก ทะวารเบา นี้แหละมันไม่ต่างอะไรจากศพที่เดินไม่ได้ เพราะมันเหม็นเหมือนกัน แต่ว่าการที่เรามีชีวิตมีความรู้สึกต่างๆที่ได้มาอาสัยอยู่ในร่างกายที่เหม็น ก็นับว่าดีนะที่ทำให้เราได้มีโอกาศที่จะได้สร้างความดีให้ตัวเอง ให้ได้พิจจรณาถึงสภาวะธรรม เอาร่างกายที่มีกลิ่นเหม็นนี้แหละ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติธรรม จนกว่าจะสิ้นลมหายใจ หรือใช้ร่างกายนี้ไม่ได้ วิญญาณของเราก็จะต้องละทิ้งร่างกายนี้ให้เป็นศพที่ไร้วิญญาณและแตกสะลายไปในที่สุดคืนสู้สะภาวะธรรมชาติเดิม
 เขิน ตาย เลือดพุ่ง
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.125 Chrome 44.0.2403.125


ดูรายละเอียด
« ตอบ #133 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2558 19:49:30 »

มีวัตถุมงคลเขาให้มีไว้เพื่อเป็นที่ระลึก เป็นเครื่องเตือนสติ เตือนใจ ให้รู้ว่าเราก็มีครู มีอาจารย์ ไม่ใช่เป็นคนเถื่อนที่ไม่มีครูไม่มีอาจารย์อบรมณ์สั่งสอน พ่อแม่ของเราก็เป็นครูเป็นอาจารย์ เพราะฉะนั้น คนที่มีครูมีอาจารย์ ควรที่จะนึก คิดให้รอบครอบและทำในสิ่งที่ถูกที่ต้องที่เหมาะสมให้เป็นมงคลแก่ชีวิตตัวเอง วัตถุมงคลถึงจะคุ้มครองเราได้ไม่ใช่ไปชวนชาวบ้านเขาทะเลาะ ตบตี หรือฆ่ากัน เบียดเบียนกัน ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เช่นนี้แล้ววัตถุมงคลที่มีอยู่ก็หนีหายไปหมด กลายเป็นก้อนหินธรรมดาเท่านั้นเอง ครู อาจารย์ก็หนีหายไปหมด คนที่มีพระวัตถุมงคลที่ว่าดังว่าดีห้อยคอ แต่ไปฆ่าเขาตายถูกจับเข้าคุก วัตถุมงคงที่ว่าก็กลายเป็นก้อนหินธรรมไปแล้วจะเหลืออยู่ก็แต่วัตถุ ที่ไม่มีมงคล เพราะครู อาจารย์ท่านไม่อยู่ด้วยแล้ว คนที่ไม่เครารพครูอาจารย์ ย่อมถึงความเสื่อม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2558 15:26:10 โดย เรือใบ » บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 39.0 Firefox 39.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #134 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2558 21:44:36 »

 ความเป็นมาของการอยู่จำพรรษา

การอยู่จำพรรษาหรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันว่า "การเข้าพรรษา" นั้น เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งของภิกษุในพุทธศาสนา ได้ทำติดต่อกันมาตั้งแต่พุทธกาลจวบจนปัจจุบัน นับเป็นธรรมเนียมที่สืบทอดโดยไม่ขาดสายได้อย่างอัศจรรย์

เดิมทีเดียว เมื่อภิกษุยังมีจำนวนน้อย ไม่มีการเข้าพรรษา เมื่อถึงฤดูฝนท่านหยุดจาริกของท่านเอง พ้นหน้าฝนแล้วออกจาริกสั่งสอนประชาชนต่อไป ต่อมาเมื่อภิกษุมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งเป็นธรรมเนียมให้มีการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝน คงจะด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น

1. เพื่ออนุโลมตามธรรมเนียมของบ้านเมืองในสมัยนั้น "เป็นธรรมเนียมของบ้านเมืองในครั้งโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนต้องงดการไปมาหาสู่ต่างเมืองชั่วคราว มีตัวอย่างเช่นพ่อค้า สัตว์พาหนะ ถึงฤดูฝน ณ ที่ใดต้องหยุดพัก ณ ที่นั้น เป็นอย่างนี้เพราะทางเดินเป็นหล่มไปไม่สะดวก นอกจากนี้ยังจะถูกน้ำป่าหลากมาท่วมด้วย"(วินัยมุข ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

2. เพื่อป้องกันการตำหนิติเตียนของชาวเมือง ข้อนี้มีเรื่องเล่าไว้ในพระวินัยปิฎกมหาวรรควัสสูปนายิกขันธกะ (หมวดที่ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ว่า "สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวนาราม นครราชคฤห์ ครั้งนั้นยังมิได้ทรงบัญญัติการอยู่จำพรรษาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน คนทั้งหลายจึงเพ่งโทษติเตียนว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร จึงได้เที่ยวจาริกไปเช่นนั้น เหยียบย่ำติณชาติอันเขียวสด เบียดเบียนสัตว์มีชีวิต เช่นสัตว์หรือแมลงเล็ก ๆ จำนวนมากให้วอดวาย แม้พวกเดียรถีย์ปริพพาชกผู้กล่าวธรรมอันต่ำทราม ยังรู้จักพักอาศัยอยู่ประจำที่ตลอดฤดูฝน อนึ่ง ฝูงนกยังรู้จักทำรังอยู่บนยอดไม้และพักอาศัยอยู่ตลอดฤดูฝนเหมือนกัน แต่เหตุไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้จึงยังท่องเที่ยวอยู่" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงบัญญัติธรรมเนียมการอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือนฤดูฝน ความจริงฤดูฝนมี 4 เดือน คือตั้งแต่กลางเดือน 8 ถึงกลางเดือน 12 แต่ออกพรรษา 1 เดือนก่อนสิ้นฤดูฝน เพื่อให้เตรียมตัวหาจีวรและบริขารอันจำเป็นอื่น ๆ ในการจาริกเพื่อสั่งสอนประชาชนต่อไป

3. เพื่อถือเป็นโอกาสอันดีของภิกษุ จะได้เก็บตัวปฏิบัติธรรม ฝึกฝนอบรมจิต เติมพลังความรู้ความสามารถให้แก่ตัวเองเมื่อออกพรรษาแล้ว จะได้จาริกออกสั่งสอนประชาชนต่อไปด้วยความกระปรี้กระเปร่าเหมือนการปิดเทอมใหญ่ของโรงเรียนให้ครูได้พักผ่อนและเพิ่มเติมความรู้ พอเปิดเทอมใหม่ก็รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น
วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษามี 2 คราว คือคราวแรกกำหนดวันแรมค่ำ 1เดือน8 (อาสาฬหะ) เรียกวันเข้าพรรษาต้น (ปุริมิกา วัสสูปนายิกา) ถ้าพระรูปใดเข้าพรรษาต้นไม่ทันด้วยเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านอนุญาตให้เข้าพรรษาหลังได้ ถือไปเข้าพรรษาเอาแรม 1 ค่ำ เดือน 9 เรียก ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา แต่ถ้าถึงวันเข้าพรรษาแรกแล้วเที่ยวเตร่เสียไม่ยอมเข้าพรรษา ด้วยเห็นว่าเข้าพรรษาหลังก็มีอยู่ ค่อยเข้าพรรษาหลังก็ได้ ดังนี้ไม่สมควร ถ้าทำท่านปรับอาบัติทุกฎ (ทุกฎ แปลว่าทำไม่ดี ไม่ควร ไม่ถูกต้อง) จะไม่ยอมเข้าพรรษาเลยก็ไม่ได้ ปรับอาบัติทุกฎเหมือนกัน

ข้าพเจ้าเคยสงสัยว่า พระสงฆ์ไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศเช่นอังกฤษ หรืออเมริกา ซึ่งฤดูฝนไม่ตรงกับทางบ้านเมืองเรานั้น ท่านควรเข้าพรรษาในเดือนใดจึงจะเหมาะ ถ้าถือเอาวันแรมค่ำ 1เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษาก็คงทำเพียงเพื่อรักษาธรรมเนียมเท่านั้น หาได้สำเร็จประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายแต่ประการใดไม่ เพราะจุดมุ่งหมายของการอยู่จำพรรษาก็เพื่อได้หยุดจาริกในฤดูฝน ถ้าท่านจำพรรษาในฤดูฝนของประเทศนั้น ๆ ก็เรียกว่าได้ทำตามจุดมุ่งหมาย แต่อาจขัดกับธรรมเนียมที่เคยประพฤติมา ไม่เป็นที่ถูกใจของผู้ที่เคร่งในธรรมเนียมก็ได้ ทำนองเดียวกับความเชื่อและความปลงใจเห็นว่าเมื่อพระขึ้นเทศน์บนธรรมาสน์จะต้องถือถัมภีร์ พระสมัยก่อนนี้ เมื่อท่านเทศน์บนธรรมาสน์ท่านอ่านข้อความในคัมภีร์ใบลานต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นคัมภีร์กระดาษพับอย่างเดียวกับคัมภีร์ใบลาน เรียกว่า ถือคัมภีร์และได้ใช้ประโยชน์ของคัมภีร์นั้น แต่เห็นพระสมัยนี้นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ปจุฉาวิสัชนา 2 ธรรมาสน์ ท่านไม่ต้องดูคัมภีร์เลย แต่ท่านก็ยังคงถือคัมภีร์ไว้ในมือหรือวางไว้บนตัก เรียกว่าถือคัมภีร์พอเป็นธรรมเนียมเท่านั้นเอง ไม่มีประโยชน์อะไรอย่างอื่น

เรื่องของศาสนานั้น บางอย่างปฏิบัติกันไปตามธรรมเนียมโดยไม่คำนึงถึงสาระหรือจุดมุ่งหมาย บางอย่างถ้าต้องการให้ได้สาระก็ต้องทิ้งธรรมเนียมที่เคยทำกันมาบ้าง บางอย่างธรรมเนียมกับสาระสอดคล้องกันดีก็น่าจะรักษาไว้ให้ยั่งยืนต่อไป ทำนองคนจะกินพุทรา มังคุด หรือเงาะ ทั้งเปลือกก็ดูจะไม่สมควร เรียกว่าไม่รู้จักกินผลไม้
ธุรกิจที่ทรงผ่อนผันให้ไปแรมคืนได้ในพรรษา

ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในกุฏิใด ในวัดใดอันเหมาะสมที่จะอยู่ได้ตลอด 3 เดือนแล้ว ท่านไม่ให้ไปแรมคืนที่อื่นนอกจากมีธุระจำเป็นจริง ๆ ก็ไปได้ และไปแรมคืนได้อย่างมากเพียง 7 วัน ถ้าเกิน 7 วันพรรษาขาด ครบ 5 วันหรือ 6 วันแล้วรีบกลับมานอนในวัดหรือในกุฏิที่เข้าพรรษาเดิมเสีย วันต่อไปอาจไปได้อีก การไปแรมคืนที่อื่นในลักษณะนี้ท่านเรียกว่า"สัตตาหกรณียะ "(กรณียกิจที่จะพึงทำได้ภายใน 7 วัน)

ธุรกิจอันเป็นเหตุให้ทำสัตตาหะได้นั้น มีหลายอย่างเช่น

1. ผู้มีศรัทธาต้องการทำบุญส่งคนมานิมนต์ไปฉลองศรัทธาของเขาได้ ข้อนี้มีเรื่องอันเป็นปฐมเหตุเล่าไว้ในวินัยปิฎกว่า อุบาสกคนหนึ่งชื่ออุเทน สร้างที่อยู่อุทิศสงฆ์ไว้ในแคว้นโกศล ส่งทูตไปนิมนต์พระสงฆ์ให้มารับที่อยู่และเขาปรารถนาจะถวายทานฟังธรรม ปรารถนาพบเห็นภิกษุทั้งหลาย แต่ภิกษุทั้งหลายตอบไปกับทูตว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติให้เข้าพรรษา 3 เดือน เพราะฉะนั้นรับนิมนต์ไม่ได้ อุบาสกอุเทนติเตียนว่าเหตุไฉนภิกษุทั้งหลายจึงไม่ฉลองศรัทธาในเรื่องนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้วทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยวิธีสัตตาหกรณียะ

2. มารดาบิดาหรือสหธรรมมิก (เพื่อนร่วมประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยกันเช่นภิกษุ) ป่วยไข้ ไปเพื่อรักษาพยาบาลได้

3. สหธรรมมิกกระสันใคร่จะสึก ไปเพื่อระงับความคิดอย่างนั้นเสียก็ได้

4. สถานที่อยู่ เสนาสนะของสงฆ์ในที่ใดที่หนึ่งชำรุดทรุดโทรม ตนเป็นผู้ฉลาดสามารถในการซ่อมแซม ไปเพื่อซ่อมแซมก็ได้

5. แม้ธุระอื่น ๆ อันสมควร เป็นงานพระศาสนา หรือเรื่องอันเกี่ยวกับการประพฤติธรรม ก็ทรงอนุญาตให้สัตตาหกรณียะไปได้
อันตรายของการอยู่จำพรรษา

ขณะอยู่จำพรรษาถ้ามีอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น จะอยู่ต่อไปไม่ได้ ทรงอนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ พรรษาขาด แต่ไม่ปรับอาบัติ อันตรายอันพอถือเป็นเหตุให้หลีกไปได้ท่านแสดงไว้ดังนี้

1. ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปิศาจเบียดเบียน

2. เสนาสนะถูกน้ำท่วมหรือไฟไหม้

3. อุทกภัยหรือัคคีภัยเกิดขึ้นแก่ชาวบ้าน อันภิกษุอาศัยที่บิณฑบาต พวกเขาอพยพไป ภิกษุจะตามเขาไปก็ได้ แต่ทรงอนุญาตให้ตามไปในกรณีที่ชาวบ้านเขาเลื่อมใส และเต็มใจเท่านั้น

4. ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสมควร หรือไม่ได้อุปฐากอันเหมาะสม ในข้อนี้ถ้ายังพอทนอยู่ได้ ท่านว่าควรทนอยู่ต่อไป พระศาสดาเคยทรงทำเป็นตัวอย่างเมื่อครั้งทรงจำพรรษาอยู่เมืองเวรัญชา เวรัญชพราหมณ์นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้วลืมเสีย ไม่ได้อุปถัมภ์บำรุงใด ๆ เลย สมัยนั้นข้าวยากหมากแพง ภิกษุสงฆ์ต้องอดอยาก ได้อาศัยพวกพ่อค้าม้าพักแรมอยู่ใกล้ ๆ ได้นำข้าวตากแห้งมาถวายพอยังชีพไปตลอดพรรษา ในเรื่องนี้ท่านว่าถ้าทนไม่ไหวจริง ๆ แล้วจึงค่อยไป

5. มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม มีญาติมารบกวนให้สึก ล่อด้วยทรัพย์และกามารมณ์ จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอก อาจเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ได้

6. เห็นทรัพย์หาเจ้าของมิได้ จิตเป็นธรรมชาติกลับกลอก อาจทำให้โลภเจตนาเกิดขึ้นถือเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน ทรัพย์นั้นอาจเป็นทรัพย์ที่พวกโจรลักพามาซ่อนไว้ใกล้ที่จำพรรษาของภิกษุ เจ้าของทรัพย์ตามมาพบเข้าอาจเข้าใจผิดว่าภิกษุเป็นขโมย

7. สงฆ์ในอาวาสอื่นแตกกันแล้วหรือกำลังจะแตกกัน ไปเพื่อห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีก็ได้ ในข้อนี้ท่านว่ากลับมาทันควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ

"อนึ่ง ภิกษุรับนิมนต์ของชาวบ้านหรือนัดกันเองก็ดีว่าจะจำพรรษาในที่ใดแล้ว พอถึงวันเข้าจริงไม่อยู่ในที่นั้น แกล้งทำให้คลาดเคลื่อนเสีย ต้องอาบัติปฏิสสวทุกฎ แปลว่าทุกฏเพราะรับคำ"
สถานที่จำพรรษาและที่ไม่ควรอยู่จำพรรษา

ที่จำพรรษานั้นนอกจากกุฏิวิหารต่าง ๆ แล้ว ทรงอนุญาตให้จำพรรษาในหมู่โคต่าง คือกลุ่มพวกพ่อค้าโคก็ได้ เมื่อเขาย้ายไปก็เดินทางไปกับเขาได้ แม้ในหมู่พวกเกวียนก็เหมือนกัน จวนจะเข้าพรรษาต้องการจะเดินทางไปกับพวกเรือ จำพรรษาในเรือก็ได้ไม่ทรงอนุญาตให้อยู่จำพรรษาในที่ต่อไปนี้คือ

1. ในโพรงไม้ เคยมีภิกษุอยู่จำพรรษา คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกปิศาจ

2. บนคาคบไม้ เคยมีภิกษุอยู่จำพรรษา คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกพรานเนื้อ

3. ในที่แจ้ง พอฝนตกก็พากันวิ่งเข้าโพรงไม้บ้าง เข้าชายคาบ้านเขาบ้าง

4. ในกระท่อมผี คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกสัปเหร่อ

5. ในร่ม สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงขยายความว่า เช่นกลดพระธุดงค์หรือกุฏิผ้าเช่นเต็นท์ คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนคนเลี้ยงวัว

6. ในตุ่ม สมเด็จฯ ทรงขยายความว่ากุฏิดินเผา (กระมัง) คนทั้งหลายติเตียนว่าเหมือนพวกเดียรถีย์ ท่านว่า ถ้าไม่มีเสนาะสนะจริง ๆ จะไม่อยู่จำพรรษาก็ได้
สิ่งที่ไม่ควรตั้งกติกาในพรรษา

กติกาคือข้อกำหนดหมายให้รู้ทั่วกัน และขอร้องให้ทุกคนปฏิบัติตาม ในพรรษานั้นท่านให้ตั้งกติกาที่เป็นธรรมเป็นวินัย เอื้ออำนวยในการทำความดียุ่ง ๆ ขึ้นไป ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง เช่น ตั้งกติกาว่าจะไม่บรรพชาอุปสมบทให้ผู้ใด เป็นต้น มีเรื่องอันเป็นต้นเหตุดังนี้

หลานชายคนหนึ่งของนางวิสาขา ศรัทธาใคร่จะบวช ได้เข้าไปขอบวชต่อภิกษุสงฆ์ แต่ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมบวชให้บอกว่าในพรรษานี้ได้ตั้งกติกากันไว้ว่าจะไม่บรรพชาอุปสมบทให้ใคร ขอให้รอจนออกพรรษาเสียก่อน

เมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุได้บอกแก่หลานของนางวิสาขาว่า ถ้าจะบวชก็ได้ เขาบอกว่าถ้าได้บวชตอนนั้นก็จะยินดีหาน้อยไม่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่บวชละ นางวิสาขาได้ทราบเรื่องนี้ก็ติเตียนพระสงฆ์ว่าไฉนจึงต้องตั้งกติกาอย่างนั้นด้วย กาลเช่นไรจึงไม่ควรประพฤติธรรมเล่า พระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้จึงตรัสห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่เป็นธรรม

"คราวเข้าพรรษาเป็นอภิลักขิตสมัยที่ภิกษุบำเพ็ญสมณธรรม จะตั้งข้อกติกานัดหมายกัน ห้ามไม่ให้ตั้งข้ออันไม่เป็นธรรม ท่านแสดงตัวอย่างไว้เช่นห้ามมิให้บอกมิให้เรียนธรรมวินัย ไม่ให้สาธยายธรรมไม่ให้เทศนา ห้ามไม่ให้ให้ บรรพชาอุปสมบทและให้นิสัย ห้ามไม่ให้พูดกัน เกณฑ์ให้ถือธุดงค์ เกณฑ์ให้บำเพ็ญสมณธรรม (บังคับ)"

"ให้นัดหมายกันแต่ในข้ออันเป็นธรรม พูดชักนำให้เกิดอุตสาหะในการบอกการเรียนธรรมวินัยเป็นต้น เพื่อขวนขวายในกิจพระศาสนา เพื่อรู้ประมาณในการพูด เพื่อมีแก่ใจสมาทานธุดงค์และบำเพ็ญสมณธรรมตามสติกำลัง เพื่อเอื้อเฟื้อแนะนำกันในวัตรนั้น ๆ เพื่อรักษาสามัคคี ไม่วิวาทแก่งแย่งกันเพื่อรู้จักนับถือเกรงใจภิกษุอื่นเช่น จะสาธยายธรรมไม่ทำความรำคาญแก่ภิกษุผู้บำเพ็ญภาวนา"
ประโยชน์ที่ควรได้จากการเข้าพรรษา

รวมความว่าการเข้าพรรษาเป็นเรื่องของพระสงฆ์โดยตรง เพื่อปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติและความเหมาะแก่กาล พระสงฆ์ในอารามต่าง ๆ ถือเป็นโอกาสพิเศษที่จะทำความดียุ่ง ๆ ขึ้นไป อนึ่ง กุลบุตรไทยก็นิยมอุปสมบทกันในพรรษาเหมือนกันด้วย เข้าใจว่าจะได้กุศลแรงกว่าบวชนอกพรรษา แต่ความจริงคงเป็นดังที่นางวิสาขาว่า "ไม่มีกาลใดที่ไม่ควรประพฤติธรรม" การจะได้กุศลมากหรือน้อยมิได้ขึ้นอยู่กับการบวชในพรรษาหรือนอกพรรษา แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของผู้นั้นเอง ปฏิบัติดีมากก็ได้กุศลมาก ปฏิบัติเลว ก็ติดลบได้บาปไป อย่าว่าแต่จะโปรดพ่อโปรดแม่เลย แม้แต่ตัวเองก็เอาตัวไม่รอด นี่พูดถึงผู้ที่บวชแล้วปฏิบัติเลว

ฝ่ายคฤหัสถ์ หรือฆราวาสผู้ที่โดยปกติ ธรรมดาไม่ค่อยเอาใจใส่ทำคุณงามความดี พอใจแต่จะทำความชั่วตามใจชอบ พอเข้าพรรษาก็คิดว่าจะเว้นนั่นเว้นนี่ ทำนั่นทำนี่ บางคนก็เว้นได้จริง ทำได้จริง บางคนก็เว้นได้ ทำได้ 6-7 วันแล้วเข้ารูปเดิม ถึงจะเว้นได้จริง ทำได้จริงตลอดพรรษา แต่พอออกพรรษาแล้วก็ประพฤติเหมือนเดิมก็คงไปไม่ได้เท่าไร เพราะปีหนึ่งมี 12 เดือน ทำได้เพียง 3 เดือน เพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ถ้าเปรียบด้วยการค้า ก็ยังเสียดุลอยู่นั่นเอง ส่วนท่านผู้ประพฤติดีอยู่เป็นปรกติแล้ว เมื่อเข้าพรรษาตั้งใจทำความดีมากขึ้นก็นับได้ว่ากำไร

วัสสานฤดู แปลว่าฤดูฝน พรรษากาลก็แปลว่า กาลฝน หรือฤดูที่ฝนตกชุก ผู้ไม่มีร่ม เมื่อเดินออกไปย่อมเปียกฝน ผู้ไม่มีที่อยู่อาศัยย่อมลำบากด้วยฝน ส่วนผู้มีร่มย่อมไม่เปียก ร่มช่วยคุ้มครอง ผู้มีที่อยู่อาศัยเช่นเรือนอันมีที่มุงที่บังดีย่อมสุขสบาย แม้ฝนจะตกหนักก็ไม่เดือดร้อนเพราะฝน ฉันใด ชีวิตภายใน (internal life) ก็ฉันนั้น ถูกฝนคือ ราคะ โทสะ และโมหะ หรือโลภ โกรธ หลง รั่วรดซัดสาดอยู่เนืองนิตย์ ผู้มีธรรมเป็นร่มเป็นที่อาศัยย่อมไม่ถูกเบียดเบียนให้เดือดร้อนเพราะกิเลสนั้น ธรรมย่อมคุ้มครองเขาให้อยู่เป็นสุขสมดังสุภาษิตที่ว่า

ธมฺโมหเว รกฺขติ ธมฺมจารี ฉตฺตํ มหนฺตํ วิย วสฺสกาเล แปลว่า ธรรมแลย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเหมือนร่มคันใหญ่ในฤดูฝน
 เลือดพุ่ง ลัลลา เขิน
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.155 Chrome 44.0.2403.155


ดูรายละเอียด
« ตอบ #135 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2558 20:07:15 »

การแก้อาถรรพ์ของชีวิต
พระราชสุทธิญาณมงคล


      ความยากจน  ความโง่  ตระกูลต่ำ  อายุสั้น  มีโรคมาก  ไร้บริวาร  ขี้เหร่  เป็นผู้หญิงบัณเฑาะก์  เป็นใบ้บ้า  ตาบอด  หูหนวก  ทรัพย์วิบัติ  การเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน  เปรต  อสูรกาย  สัตว์นรก 
   ล้วนชื่อว่าเป็นอาถรรพ์  ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
   บริจาคทาน   แก้อาถรรพ์ข้อยากจน
   การรับฟัง   แก้อาถรรพ์ข้อโง่เขลา
   การอ่อนน้อม   แก้การเกิดในตระกูลต่ำ
   การรักษาศีล   แก้อายุสั้น (ศีลข้อ ๑)
   การไม่เบียดเบียนสัตว์   แก้การมีโรคมาก
   การสงเคราะห์สัตว์   แก้การไร้บริวาร
   การรักษาศีลไม่ขี้โกรธ   แก้การเกิดเป็นคนขี้เหร่
   การรักษาศีลข้อ ๒   แก้ทรัพย์วิบัติ
   การรักษาศีลข้อ ๓   แก้การเกิดเป็นผู้หญิงบัณเฑาะก์
   การรักษาศีลข้อ ๔   แก้ ตาบอด  หูหนวก  ไม่มีคนเชื่อถือ
   การรักษาศีลข้อ ๕    แก้เป็นใบบ้า  มีสติปัญญาดี
   การรดน้ำมนต์   เสกเป่าล้างอาถรรพ์ให้ชีวิตไม่ได้
   การบำเพ็ญบารมีเท่านั้น   จึงแก้อาถรรพ์ให้ชีวิตได้
 
------------------------------
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 44.0.2403.157 Chrome 44.0.2403.157


ดูรายละเอียด
« ตอบ #136 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2558 19:17:38 »

เรื่อง    กรรมใดใครก่อ . . . กรรมนั้นต้องตอบสนอง
 
เมื่อวันที่   ๑๘   มีนาคม   พ.ศ. ๒๕๓๘   ที่โรงพยาบาลสมิติเวช        ผลจากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ก้อนหน้าอกด้านซ้ายของสามีพบว่า   เป็นมะเร็งกระดูกอ่อนระยะ ร้ายแรง   น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน  ๖  เดือน   ขณะนั้นดิฉันกำลังตั้งครรภ์ได้สี่เดือนครึ่ง     ต้องฟุบทั้งยืน    เพราะด้วย    อายุ  ๓๗  ปี   เขาจะต้องจากเราและลูกชายวัย  ๕  ขวบเศษไปแล้วหรือ   
ด้วยความเสียใจ   สับสน   ว้าวุ่นมารุม   น้องเขยของดิฉันก็ได้นำหนังสือกฎแห่งกรรมของหลวงพ่อจรัญ    มาให้ดิฉันอ่าน   เป็นเหตุให้   ดิฉันต้องนั่งทบทวนว่ากรรมอันใดหนอแต่ในอดีตที่ทำให้เราต้องมาประสบเคราะห์กรรมร้ายแรงสาหัสถึงเพียงนี้   ทำให้ดิฉันระลึกถึงเรื่องราวเมื่อดิฉันไปเที่ยวที่เกาะน้อยรีสอร์ทกับเพื่อน ๆ ที่จังหวัดกาญจนบุรี   และได้พบกับวิญญาณชายกลางคนผมเกรียนสั้น  หน้าตาหม่นหมอง  แต่ดูดุดันมีหนวดเล็กน้อย  สูงประมาณ ๑๗๐ ซม.  รูปร่างสันทัดใส่เสื้อแขนสั้นและกางเกงขาสั้น   ท่าทางดูทรุดโทรม   ได้เข้ามาเยาะเย้ย   และพยายามเข้ามาที่ร่าง  ดิฉันได้พยายามต่อสู้อย่างเต็มที่  จะมีร่องรอยการต่อสู้ปรากฏให้เห็นเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า  และพอตกกลางคืนเขาก็มาเข้าฝัน  และเล่าเรื่องราวในอดีต    ที่ดิฉันและสามี สั่งคนรุมทำร้ายเขาจนตาย   ในฝันดิฉันเห็นสามีกับดิฉันและบุตรชายนั่งอยู่ในรถเก๋งสมัยเก่ามากคันหนึ่ง    สั่งให้คนกลุ่มหนึ่งไม่ใส่เสื้อ  ใส่แต่กางเกงสามส่วนคล้ายกางเกงจีนสีดำมีผ้าแดงเป็นเข็มขัดรัดเอว     ไม่สวมรองเท้า              ดูลักษณะแล้วเหมือนพวกทาสหรือนักโทษ    เป็นผู้รุมประชาทัณฑ์จนเขาตายจมกองเลือด    ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นมาทำให้ดิฉันมีความหวาดกลัวมาก   และคิดไปว่า   คงเป็นเพราะเราทำบุญ    สุนทานไปให้เขากระมัง   เขาถึงได้ตามมาทวงชีวิต
ภายหลังคุณแม่ของดิฉันได้อธิษฐานจิตขอชีวิตเขา     โดยขอบวชเนกขัมมะปิดวาจาเป็นเวลา ๑ เดือน   และดิฉันเองก็ตั้งสัจจะจะกินเจและ    ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ใหญ่ตลอดชีวิต   เมื่อผลการผ่าตัดวิเคราะห์ออกมา     ก็ปรากฏว่าสามีของดิฉันไม่ได้เป็นเนื้อร้าย       แต่เป็นโรคที่สามารถรักษา    ให้หายได้    ทำให้ฉันและคุณแม่น้ำตาไหลด้วยความดีใจ    เมื่อทราบผล   แต่ผลกรรมก็ยังทำให้ดิฉันต้องเสียลูกที่อยู่ในท้อง     คือดิฉันต้องแท้งลูก   ของดิฉันไปแทน
หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้      ทำให้ฉันเริ่มสนใจในคำสอนของ      หลวงพ่อจรัญ      จากการที่ได้อ่านหนังสือกฎแห่งกรรมจำนวนหลายเล่ม   ดิฉันเริ่มสนใจที่จะปฏิบัติ    วิปัสสนากรรมฐาน
จนกระทั่งดิฉันตามคุณแม่ไปปิดวาจาที่เกาะมหามงคล    คืนหนึ่งขณะที่ดิฉันนั่งกรรมฐาน  ตามวิธีการที่หลวงพ่อได้ให้ความรู้ไว้ในหนังสือ   กฎแห่งกรรม  เมื่อดิฉันนั่งกำหนดพองหนอ  ยุบหนอ  ดิฉันเริ่มปวดขมับเหมือนมีใครเอาเหล็กมาบีบทั้งสองข้าง       จากนั้นเริ่มปวดจากปลายแขน   ขา   มุ่งเข้าสู่ลำตัว    มันปวดมากทรมานมากเหมือนมี   ใครมาบีบขมับ      ดิฉันตกใจด้วยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น   แต่ก็พยายามตั้งสติไว้เพราะ        หลวงพ่อสอนไว้ว่า  ถ้ามีอาการเช่นนี้ขึ้นมาให้ตั้งสติให้ดีและพยายามสู้กับเวทนา    ให้ตายเป็นตาย    เพราะถ้าจะตาย    ก็ขอตายด้วยมีสติ   ตายด้วยกรรมฐาน     ถือว่าเป็นบุญ    แต่ก็ไม่มีใครตาย
เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่กับความเจ็บปวด   ก็เริ่มรู้สึกร้อนเหมือนมีไฟมาเผาเราทั้งตัว         ปวดแสบปวดร้อนไปหมด   ทั้ง ๆ ที่อากาศรอบนอกหนาวเย็นจากสายฝน
           ในที่สุดเมื่อเหตุการณ์นี้ผ่านไป   รุ่งเช้ารู้สึกเจ็บคอเหมือนมีใครเอา  มีดมาบาด           
พูดออกมาก็จะเจ็บปวดทรมาน   จนกระทั่งในช่วงต่อมาขณะกำลังกรรมฐานอยู่ก็ปรากฏ เห็นเป็นนิมิตคล้ายกับว่าเรากำลังดูภาพยนตร์อยู่   เห็นเป็นภาพสาวแขกในชุดสีแดงและแขกหนุ่ม  กำลังทำฟาร์มปศุสัตว์  ได้นำสัตว์มาใช้แรงงานหนักมากโดยเฉพาะม้าใหญ่       ตัวหนึ่งถูกใช้ให้ทำงานหนัก   ให้วิ่งอยู่กับที่ตลอด   แล้วนำแรงงานของมันไปหมุนวงล้อ      ไม้ที่คล้ายล้อเกวียนแต่เล็กกว่า   เหนือวงล้อเป็นถังไม้สมัยเก่า    มีผลไม้บรรจุอยู่เต็ม           รู้แต่ว่าเป็น     ขบวนการนำผลไม้ไปเก็บหรือเอาไปไหนสักแห่ง   ปรากฏภาพว่าพยายาม   ดึงเน้นมาให้      เราเห็นที่ คอม้าซึ่งเสียดสี   กับเชือกตลอดการทำงานจนเป็นแผล
บาดลึก  เลือดไหลซิบๆ จากบาดแผลทั่วคอ    โดยไม่ได้รับการดูแลรักษา   จากผลกรรมนี้  ทำให้ดิฉันต้องใช้เวลาในการรักษาตัวเอง   ที่เป็น ๆ  หาย ๆ  ทรมานอยู่เกือบ 
๒  เดือน
หลังจากที่ได้เห็นภาพในอดีต    และกฎแห่งกรรมที่ตามมาตอบสนองในชาตินี้          ทำให้เริ่มขยาดการทำชั่วและหมั่นหาหนทางปฏิบัติตามสายทางคำสอนของพระพุทธองค์   ต่อมาดิฉันและสามีได้ไปปฏิบัติธรรมที่    วัดอัมพวัน 
ซึ่งเจ็ดวันแห่งการตั้งใจจริง   ทำให้ดิฉันและครอบครัวเห็นผลทันตา  คือในระยะที่    เข้าฝึก     ดิฉันมีอาการเลือดไหลกะปริบกะปรอยจากการที่   ต้องแท้งลูกคนที่สอง           โดยคุณหมอบอกว่าน่าจะมีเศษรกติดอยู่นิดหน่อย    คุณหมอนัดให้ไปหา    แต่ดิฉัน          มาขอทำกรรมฐานเพื่อแก้กรรมก่อน
คืนนั้นหลังจากสวดมนต์ตามปกติ     ดิฉันฝันเห็นลูกชายคนที่เพิ่งเสียชีวิตไป          จากการแท้ง   เห็นเขารูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์กว่าปกติที่เคยเห็นเขาในความฝัน               เมื่อตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่ในท้อง   เขาเดินเข้ามาหาและพาเพื่อน ๆ   เป็นเด็กหญิง            เด็กชายหลายคน   แต่สภาพของแต่ละคน   ผอมแห้งซูบเซียว  เหมือนคนอดอยาก           แต่งตัวมอมแมม   ซึ่งผิดกับเขาที่อ้วนท้วนสมบูรณ์    มีของกินอยู่ในมือและแต่งกาย     สะอาดสะอ้าน    เขาพาเพื่อนมาอวดว่า    นี่แหละคือคุณแม่และคุณพ่อของเขา                 และตอนนี้คุณแม่   คุณพ่อมานั่งกรรมฐานทำให้เข้าได้รับส่วนบุญส่วนกุศลด้วย              และขอให้เขาและเพื่อน ๆ  นั่งรถไปกับพ่อแม่   ในฝันดิฉันก็อนุญาตเขาไป
หลังจากนั้น ๓ วัน   ประจำเดือนได้ทำให้เศษรกที่ติดค้างหลุดออกมาหมด                ร่างกายก็กลับคืนสภาพสู่ความปกติ   ทำให้ดิฉันคิดไปว่า   ลูกเขาคงให้อภัย                     ถึงทำให้เลือดที่ไหลมาเดือนกว่าหายไป  เพราะไม่เช่นนั้นดิฉันคงต้องไปเจ็บตัว                  กับการขูดมดลูกตามที่คุณหมอนัดไว้
           ดิฉันปฏิบัติอย่างหนักจนกระทั่งวันสุดท้ายก่อนลากลับบ้าน   ก็รู้สึกปวดที่                ข้อต่อ   ระหว่างสะโพกกับขาท่อนบนเหมือนโดนหักขาขวา   ตลอดการทำกรรมฐาน   
ดิฉันต้องทุกข์ทรมานกับการเดินลากขามาก   ตอนแรกคิดว่าอาจเป็นเพราะการ                นั่งสมาธินานเกินไป    แต่มาคิดดูอีกทีก็ไม่ใช่    เพราะดิฉันนั่งอยู่ที่บ้านเป็นปกติ                 วันละ  ๑  ชั่วโมงอยู่แล้ว
      เมื่อดิฉันกลับมาบ้านก็คงปฏิบัติกรรมฐานเป็นปกติ   จนกระทั่งคืนที่สอง  ดิฉัน              ก็เห็นนิมิตไปว่าเห็นผู้ชายลักษณะคล้ายนักโทษหรือทาส    ใส่กางเกงสามส่วนคล้าย   กางเกงจีน   คาดเอวด้วยผ้าแดงไม่ใส่เสื้อ   ผู้ชายคนนี้ถูกมัดด้วยโซ่ตรวนอันใหญ่              เดินลากขากระเผลก ๆ เข้ามาหา   ตอนนั้นดิฉันตกใจมาก   กลัวเขามาทำร้าย                 และเขาก็ให้เห็นภาพว่า   เขามาจากสถานที่ที่ตัวเองเคยไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ  ที่                 เกาะน้อยรีสอร์ท  จังหวัดกาญจนบุรี   ทำให้ดิฉันคาดคะเนได้ว่า    คงเป็นวิญญาณ              ที่อาฆาตดิฉันอยู่     ดิฉันจึงแผ่เมตตาให้เขาไป    เรื่องนี้เป็นเรื่องบางส่วนจาก     ประสบการณ์ในชีวิตของดิฉัน   ขอให้กุศลผลบุญที่จะได้จากการนำเรื่องนี้เผยแผ่             เป็นวิทยาทาน    สอนคนให้รู้ในเรื่องของกฎความจริงที่ไม่มีใครหนีพ้น   
 
                                                              เกวลี    เตรียมแจ้งอรุณ     
                                          จากหนังสือเรื่องกฎแห่งกรรม  เล่มที่  ๙   
                                                               วัดอัมพวัน   จ.สิงห์บุรี
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 45.0.2454.85 Chrome 45.0.2454.85


ดูรายละเอียด
« ตอบ #137 เมื่อ: 11 กันยายน 2558 20:38:39 »


ในทางพระศาสนาท่านบอกอยู่เสมอว่า
ให้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
การที่ต้องดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทนั้น
เพราะอะไรก็เพราะสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
เพราะสิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เราจึงต้องไม่ประมาท
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน
เปลี่ยนแปลงไปอย่างโน้นอย่างนี้
เราจะนอนใจนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้
จะต้องต้อนรับความเปลี่ยนแปลงด้วยปัญญา

ท่านบอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
แต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
อันนี้เป็นข้อสำคัญ คือหลักความเปลี่ยนนั้น
ไม่ได้บอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปลอยๆ
ตัวหลักนี้เองก็ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวลอยๆ ของมัน
กล่าวคือ หลักความเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องไปสัมพันธ์กับหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
แต่มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
พอมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
ก็เป็นเรื่องที่โยงมาถึงการกระทำของเราว่า
จะต้องมีการใช้ปัญญา
คือ การที่เราจะต้องสืบสาวค้นคว้าหาเหตุปัจจัย
เพื่อว่าเมื่อเรารู้เหตุปัจจัยแล้ว เราจะได้แก้ไขป้องกัน
และสร้างเสริมได้ถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมเราไม่ต้องการ
เมื่อเรารู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
เราก็สามารถแก้ไขป้องกันความเสื่อมนั้นได้

ถ้าความเปลี่ยนแปลงใด เป็นความเจริญที่ต้องการ
เราก็ลืมหาว่าอะไร
เป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความเจริญนั้น
เมื่อรู้แล้วเราก็ทำเหตุปัจจัยนั้น
ก็จะเกิดความเจริญที่ต้องการ

ฉะนั้น หลักการเปลี่ยนแปลงนี้
อย่าให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นหลักที่ลอยๆ
จะกำไรแค่ไหน ก็อยู่ที่รู้จักใช้อนิจจังหรือไม่
คนจำนวนมาก ใช้หลักอนิจจัง
หรือความเปลี่ยนแปลงนี้ ในทางที่ไม่สมบูรณ์
คือมองแค่ว่าสิ่งทั้งหลายต้องเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไป ก็ได้แต่ปลง
ว่าสิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้เอง
เราต้องรู้เท่าทันว่า สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว
ก็แตกสลายไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็วางใจสบาย
ก็จบ คือสบายใจว่า
เออ มันเป็นไปตามธรรมดาของมัน
ที่จะต้องเสื่อมสลายก็จบเท่านั้น
อย่างนี้ท่านว่า เป็นการใช้ประโยชน์
จากหลักอนิจจังได้ครึ่งเดียว
แล้วก็เกิดโทษอีกด้านหนึ่ง หรืออีกครึ่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นโทษเกิดจากการไม่โยกหลักนี้
ไปหาหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

กฎไตรลักษณ์ ที่มีหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องโยงไปหาหลักฐาน
อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท
สองกฎนี้สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ปฏิจจสมุปบาท คือกฎแห่งความเป็นเหตุปัจจัย
สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏรูปร่างออกมา
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นต้นนั้น
เพราะว่ามันเป็นไปเหตุปัจจัย
คือเป็นไปตาม กฎอิทัปปัจจยตา
ซึ่งมีสาระว่า เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนั้นจึงเกิด
เมื่อสิ่งนั้นดับไป สิ่งนี้ดับไป อันนี้เป็นหลักที่สำคัญมาก

ฉะนั้น ไตรลักษณ์ จะต้องโยงไปหา ปฏิจจสมุปบาท
ถ้าเราเห็นหลัก ปฏิจจสมุปบาท ก็ถึงตัวหลักที่แท้จริง
ไตรลักษณ์ นั้น เป็นเพียงลักษณะ เท่านั้น
คือ เป็นอาการปรากฏที่แท้จริง
คือ ปฏิจจสมุปบาท คือกฎของความเป็นเหตุปัจจัย
เราจะต้องจับเหตุปัจจัยได้
แล้วการรู้เหตุปัจจัยนี้แหละ
จะเป็นตัวนำไปสู่การที่จะต้องปฏิบัติได้ถูกต้อง

เพียงแต่เห็นสิ่งทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงไป
แล้วปลงว่า มันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมดา
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดา
วางใจสบาย อันนั้นก็เป็นเพียงรู้เท่าทันในขั้นหนึ่ง
แต่จะต้องรู้ต่อไปอีกว่าที่มันเป็นอย่างนี้
ก็เพราะมันเป็นตามเหตุปัจจัย

ตรงนี้สิ เป็นตอนสำคัญ
ซึ่งจะโยงต่อไปสู่ภาคปฏิบัติ
คือ สืบสาวหาเหตุปัจจัยรู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
และความเจริญ แล้วก็มาถึงภาคปฏิบัติ
คือการที่จะทำตามเหตุปัจจัยแก้ไขที่เหตุปัจจัย
และสร้างเสริมเหตุปัจจัย
หมายความว่า แก้เหตุปัจจัยที่จะทำให้เสื่อม
และสร้างเสริมเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญงอกงาม
อันนี้คือภาคปฏิบัติและนี่แหละ
คือหลักความไม่ประมาท

เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาท
ก็เกิดจากการที่เข้าใจรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
ความเปลี่ยนแปลงโยงอยู่ด้วยกัน
กับความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
แล้วอาศัยกาลเวลา
กาลเวลาก็เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงนี้เอง
แต่ดูเหมือนว่า กาลเวลานั้นรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่
ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
เมื่อกาลเวลานี้สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
กาลเวลาที่ผ่านไป เป็นไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้นเมื่อเราเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
เราก็ต้องเห็นความสำคัญของกาลเวลาด้วย

กาลเวลาที่ผ่านไปแต่ละขณะจึงสำคัญมาก
พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่า ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะอย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
คำว่า อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า นี่สำคัญมาก
สำนวนของท่านว่า ขณะอย่าได้ล่วงท่านไปเสีย
หมายความว่า จะต้องหมั่นถามตัวเองว่า
ขณะแต่ขณะนี้ เราได้ใช้ประโยชน์มันหรือเปล่า
มันผ่านไปอย่างมีค่า หรือผ่านไปอย่างไร
ประโยชน์ว่างเปล่า การเห็นความสำคัญของกาลเวลานี้
จะเห็นได้ในคำพิจารณาตัวเองของพระพุทธเจ้า
ทรงสอนพระให้พิจารณาเป็นประจำ
ท่านเรียกว่าหลัก อภิณหปัจจเวกขณะ ๑๐ ประการ
ตามหลักนี้ พระจะต้องพิจารณาตนเอง อยู่เนืองๆ
เป็นประจำสม่ำเสมอ ๑๐ ข้อ
ในบรรดา ๑๐ ข้อนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่า

กถมฺ ภูตสฺส เม รตฺตินฺ ทิวา วีติ ปตนฺติ
บรรพชิต คือพระภิกษุพึ่งพิจารณาเนืองๆ ว่า
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
นี่เป็นคำเตือนที่สำคัญมาก
พอพิจารณาขั้นมาอย่างนี้
สติก็มาทันทีเลยว่าเวลาล่วงไป
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
พอพูดแค่นี้แหละก็ได้สติ
พิจารณาตัวเองว่า เรากำลัง ทำอะไรอยู่หรือเปล่า
เวลาให้เลื่อนลอยไป และถ้าทำเราทำสิ่งที่ผิดหรือเปล่า
ถ้าทำสิ่งที่ผิด ที่ไม่ดีก็จะได้ยั้งหยุด
ถ้าปล่อยเวลาล่วงไป
ไม่ได้ทำอะไรก็จะได้เร่งทำ
หลักนี้ ฆราวาสก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
ถ้าพิจารณาทุกวัน ชีวิตจะเจริญงอกงาม พัฒนาแน่นอน
เพราะเมื่อพิจารณาว่าวันคือล่วงไป บัดนี้ เราทำอะไรอยู่
ก็ทำให้มีการสำรวจตรวจสอบปัจจุบันของตนเองทันที

คำเตือนสติอีกข้อหนึ่ง ที่น่าจะมาด้วยกัน
ก็คือ คาถาภาษิตว่า
อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกนวา
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
นี่คือ การรู้จักใช้เวลา
ถ้าได้ แค่นี้ แต่ละวันแล้ว กว่าจะถึงปีงบดุล
ชีวิตนี้จะต้องได้กำไรขอให้ทำอย่างนี้ทุกวัน
เป็นอันว่าคราวนี้ขอเสนอแค่สองข้อ
คือ ข้อที่หนึ่ง เตือนสติของตนเองว่า
พึงพิจารณาเนือง เนืองว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
ข้อที่สอง บอกตัวเองต่อไปว่า
เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
เอาละ ได้แค่นี้ก็พอแล้ว

ถ้าพิจารณาทุกๆ วัน ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้า
กำไรก็จะตามมา
ถ้าเอามากข้อกว่านั้น
ก็ยากขึ้นไปหน่อย คือถึงขั้นที่ว่า
ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะ อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
ข้อนี้หมายความว่า แม้แต่เวลา แต่ละขณะๆ
ก็อย่าปล่อยผ่านต้องจับเวลาแต่ละขณะไว้ให้ได้ประโยชน์
ถ้าทำอย่างที่ว่ามานี้ ก็เรียกว่าใช้เวลาเป็น

ในการดำเนินชีวิตของคนเรานี้
การใช้เวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะว่าเวลามันกลืนกินชีวิตเรา
พระท่านว่า เวลากลืนกินสรรพสัตว์
พร้อมกันไปกับกินตัวของมันเอง
ซึ่งแปลจากคำบาลีว่า
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพา เนว สหตฺตนา
ที่ว่ากาลเวลากลืนกินตัวมันเองนั้น
เป็นการพูดแบบภาพพจน์
ที่จริงเวลามันไม่กินอะไร
แต่พูดเป็นภาพพจน์ ว่ามันกิน กาลเวลาผ่านไป
มันก็กลืนกินสรรพสัตว์ไปด้วย
เมื่อมันกลืนกินเรา เพื่อให้ประโยชน์คุ้มกัน
เราก็กลืนกินมันบ้าง
นี่แหละคือการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
หรือรู้จักบริโภคเวลา การใช้เวลาก็คือการบริโภคเวลา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักใช้เวลาก็คือ รู้จักบริโภคเวลา
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 41.0 Firefox 41.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #138 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2558 10:45:34 »

ทุกข์ซ้อนทุกข์

คำว่า " ทุกข์ " นี่แปลว่า ทนได้ หรือ น่าเกลียด เพราะมันทนอยู่ไม่ได้ มันเป็นไปตามสภาพอย่างนั้น ต้นไม้ก็เป็นทุกข์ตามสภาพของต้นไม้ สัตว์ก็เป็นทุกข์ตามสภาพของสัตว์ เก้าอี้มันก็เป็นทุกข์ตามสภาพของของเก้าอี้ มันเป็นอย่างนั้น แต่ว่าคนเรามีจิตที่จะยึดจะถืออะไรได้เลยเข้าไปจับไปถือเอาไว้ เพิ่มทุกข์ขึ้นมาอีกที่หนึ่ง เพราะสิ่งนั้นไม่เหมือนใจเรา มันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราไม่ต้องการไห้แก่ มันก็แก่ ไม่ต้องการให้เจ็บ มันก็เจ็บ
ไม่ให้ตาย มันก็ตาย ไม่ให้หาย มันก็หาย อยากให้มันอยู่อย่างนั้น อยู่อย่างนี้ อยู่ๆมันก็เสียไป มันก็แตกไป หายไป นี่เกิดความทุกข์ เพราะเราไปคิดว่าของนั้นเป็นของเรา ของกูนะ เกิดตัวกู ของกูขึ้นมา ก็เลยเป็นทุกข์ซ้อนทุกข์ขึ้นมา เดิมมันก็เป็นทุกข์อยู่ตามสภาพอย่างหนึ่งแล้ว ไปยึดถือเข้าอีก เป็นสองทุกข์ สามทุกข์ สี่ทุกข์....ทุกข์เรื่อยไปไม่สิ้นสุด....
บันทึกการเข้า
เรือใบ
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 234


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 48.0.2564.97 Chrome 48.0.2564.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #139 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2559 11:33:24 »

คติธรรมของหลวงพ่อจรัญ
เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า  สติปัญญา  เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้น แท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยมาก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าต่อชีวิต และจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าเหลือที่จะประมาณได้
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 ... 5 6 [7] 8   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.232 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 05 พฤศจิกายน 2566 01:08:07