[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 19:35:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กริช มีดสั้นที่เป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล  (อ่าน 12474 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2557 13:42:30 »

.



กริช
kris

คำ กริช ในภาษาไทยน่าจะถอดมาจาก kris ในภาษามลายู แปลว่ามีดสั้น โดยที่คำนี้ผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง แทง ภาษาอังกฤษใช้ว่า kris ตามภาษามลายู ส่วนภาษาถิ่นใต้เรียกว่า กรือเระฮ์ กริชเป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง เป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง และเนื่องจากกริชมีความเกี่ยวข้องกับชาวชวาในสมัยโบราณที่เชื่อในเทพเจ้า ลักษณะของด้ามกริชจึงมักทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ากริชเริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย และไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันนอกจากในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางจังหวัดทางภาคใต้ของไทย รวมถึงบรูไน และฟิลิปปินส์ตอนใต้ ยังเป็นที่รู้จักในกัมพูชา สิงคโปร์ และเวียดนาม

กริชมีส่วนประกอบสำคัญคือ
๑. ตัวกริช หรือตากริช หรือใบกริช ซึ่งมีโครงสร้างที่แตกต่างกันอยู่ ๒ แบบ คือ แบบใบปรือ (ปรือ คือพืชน้ำชนิดหนึ่ง ใบยาว บาง เรียว) กับแบบคด ตัวกริชแบบใบปรือ เป็นรูปยาว ตรง ส่วนปลายค่อยๆ เรียวและบางลงจนบางที่สุด จะแหลมหรือมนก็แล้วแต่ รูปทรงคล้ายใบปรือ กริชใบปรือบางเล่มจะมีร่องลึกยาวขนานไปกับคมกริช บางเล่มมีร่องลึก ๒-๔ ร่อง ส่วนตัวกริชคด มีลักษณะคดไปคดมา หยักเป็นลอนคลื่น (รอยหยักนับเป็นเลขคี่เสมอ) และค่อยๆ เรียวแหลม รูปทรงคล้ายเปลวเพลิง การทำกริชให้คดเพื่อเมื่อแทงจะทำให้บาดแผลเปิดกว้างกว่า และสามารถแทงผ่านกระดูก โคนของตัวกริชกว้าง และเป็นอาวุธมีคมทั้งสองด้าน

การทำตัวกริชโบราณเริ่มจากเตรียมกระบอกเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว ยาวประมาณ ๒๐ นิ้ว เอาชิ้นเหล็กหรือโลหะหลายๆ ชนิด รวมทั้งเหล็กกล้า เหล็กเนื้ออ่อน บรรจุลงในกระบอกเหล็กดังกล่าว ตีกระบอกเหล็กให้แบนพอเหมาะ นำตั้งบนเตาไฟหลอมให้เหล็กเหลวเป็นเนื้อเดียวกัน หากหลอมไม่เข้ากันสนิท ให้นำชิ้นเหล็กเหล่านั้นแช่ในน้ำดินเหนียว ตั้งไฟหลอมใหม่จนกว่าจะเข้ากันสนิทดี นำมาวางบนแท่นและตีให้แบนเป็นรูปร่างกริชที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้เวลามาก จากนั้นนำไปฝน ลับ ตกแต่งตามประสงค์

การหลอม ตี ฝน ลับ ต้องอาศัยจิตใจที่มีสงบ มีสมาธิ และพลังจิตสม่ำเสมอ การกำหนดสัดส่วนของโลหะที่ผสมกันต้องใช้ประสบการณ์ที่สูงส่งจนกระทั่งรู้ได้ว่าสัดส่วนใดดีที่สุด และเนื้อโลหะจะเกิดลวดลายออกมาแบบใด ต้องรักษาระดับความร้อนของไฟในเตาหลอมให้พอดีกับชนิดของโลหะที่จะหลอม ต้องรู้จังหวะและน้ำหนักของกำลังยามใช้ค้‰อนตีเหล็กที่กำลังร้อน ต้องเต็มไปด้วยความประณีตและบรรจง การทำมุกขั้นตอนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ได้กริชสวยงาม มีลวดลายสูงค่า และผนึกเอาจิตใจของผู้ทำเข้าไว้ในตัวกริช อันจะส่งผลในทางที่ดีต่อผู้พกพากริชเล่มนั้นตลอดไป ตรงใบมีดอาจมีรอยประทับประจำตัวของช่างแต่ละคน เช่น รอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก

๒. หัวกริช หรือด้ามกริช นิยมทำเป็นรูปหัวคน หัวสัตว์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่ไม่ผิดหลักศาสนา หัวกริชจะแกะจากวัสดุต่างๆ เช่น ไม้เนื้อแข็ง งาช้าง เขาสัตว์ หรือหล่อด้วยโลหะ

๓. ปลอกสวมกั่น เป็นส่วนที่ติดกับหัวกริชเพื่อให้หัวกริชยึดติดกับกั่นอย่างมั่นคง และไม่ให้หัวกริชแตกร้าวได้ง่าย นิยมทำด้วยโลหะทองเหลือง เงิน หรือทองคำ แกะสลักลวดลายประณีต

๔. ฝักกริช เป็นที่เก็บคมกริชเพื่อสะดวกในยามพกพา มักทำด้วยโลหะชนิดเดียวกับโลหะที่ทำปลอกสวมกั่น และแกะสลักด้วยความประณีตสวยงาม


สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ จัดพิมพ์โดยสถาบันทักษิณคดีศึกษา มีคำตอบถึง กริช ว่า คตินิยมของการใช้กริชในบริเวณคาบสมุทรมลายูและบริเวณ ใกล้เคียงมีขึ้นอย่างกว้างขวางจากอิทธิพลของชวา ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบไปตามกลุ่มวัฒนธรรม จนมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว โดยมีการจำแนกกลุ่มของกริชโดยอาศัยรูปแบบของด้ามและ ฝักเป็นหลักออกเป็น ๗ กลุ่ม คือ

๑. กริชแบบสกุลช่างบาหลีและมูดูรา  เป็นกริชของชวาฮินดู ด้ามกริชมักแกะสลักเป็นรูปบุคคลลักษณะเหมือนจริงมากกว่าเป็นแบบนามธรรม และมีความเป็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัด ๒ แบบ คือแกะสลักเป็นรูปยักษ์หรือรูปรากษส และแบบเทพยดาที่ทรงเครื่องแบบตัวละครในนาฏศิลป์ของบาหลี ทั้ง ๒ แบบแสดงรายละเอียดต่างๆ ไว้ชัดเจน ไม่ว่า ตา หู จมูก คอ มือ เท้า ตลอดจนเส้นผมและหนวดเครา และเสื้อผ้าอาภรณ์

ฝักกริชแบบบาหลีมี ๒ แบบ ที่นิยมกันและตรงกับของชวาคือแบบกายามันและแบบลาดรังงัน แต่แบบกายามันของบาหลีมีความมนกลมมากกว่า มีลักษณะคล้ายลอนตาลหรือเมล็ด ลูกสะบ้า ส่วนฝักกริชบาหลีแบบลาดรังงันปีกฝักลักษณะคล้ายตัวเรือและมีความหนาเทอะทะกว่าของชวา และนิยมสลักลวดลายในเนื้อไม้ มีทั้งลายเครือเถาและลายหน้ากาล

๒. กริชแบบสกุลช่างชวา ด้ามกริชแบบชวามองดูคล้ายกับศิวลึงค์ ปลายด้ามโค้งมนคล้ายเมล็ดถั่ว หรือเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ บริเวณโคนด้ามเป็นปุ่มมน มีการแกะสลักเพียงเล็กน้อยตรง บริเวณใต้จุดที่หักงอของด้ามและบริเวณโคนด้าม ส่วนที่เหลือจะเกลาจัดเรียบ ฝักกริชแบบชวา มี ๒ แบบ คือ แบบกายามัน ปีกฝักมีรูปคล้ายผลมะม่วง และแบบลาดรังงัน ของชวามีลักษณะคล้ายรูปเรือแต่ด้านหัวม้วนโค้ง ด้านท้ายเชิดงอนและเรียวแหลมกว่าแบบลาดรังงันของบาหลี ก้านฝักของชวานิยมสวมปลอกเงินหรือทองเหลืองทั้งแบบเรียบและดุนลาย ปลายฝักมีลักษณะโค้งมนคล้ายปลายนิ้วมือ

๓. กริชคาบสมุทรตอนเหนือ ด้ามกริชรูปแบบคล้ายคนนั่งกอดอก เอียงไหล่ ตะแคงหน้า บนศีรษะมีครีบแหลมคล้ายหงอนไก่ ในภาคใต้เรียกด้ามกริชแบบนี้ว่า "ด้ามกริชหัวลูกไก่" หรือ "ด้ามกริชหัวลูกไก่ตายโคม" ชาวมลายูในภาคใต้ตอนล่างเรียกว่า "ด้ามกริชแบบอา เนาะอาแย" แปลว่าด้ามกริชหัวลูกไก่เช่นกัน ส่วนชาวมุสลิมในมาเลเซียเรียกว่า "ฮูลูยาวาเดมัน" แปลว่าด้ามกริชแบบชวาป่วย เพราะดูคล้ายคนป่วยนั่งจับเจ่ากอดอกคอตกตะแคง ส่วนฝักกริชแบบกลุ่มคาบสมุทรตอนเหนือมีรูปแบบเรียบเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปีกฝักมีเหลี่ยมมุมคมชัด เชื่อกันว่าฝักกริชของ กลุ่มนี้ดัดแปลงมาจากรูปแบบของฝักกริชบูกิส และเป็นรูปแบบ ที่พัฒนาขึ้นในคาบสมุทรมลายู



๔. กริชแบบสกุลช่างบูกิส กริชกลุ่มนี้มีต้นกำเนิดมาจากชาวบูกิสในเกาะสุลาเวสี หรือเกาะซีลีเบส หรือเกาะมักกะสัน ด้ามกริชของ กลุ่มบูกิสคล้ายแบบลูกไก่ตายโคม แต่ไม่มีมือกอดอก ด้ามกริช แบบนี้ชาวไทยพุทธในภาคใต้เรียกว่า "ด้ามกริชแบบหัวจังเหลน" หรือ "หัวจังเหลนคอยบ่อ" เพราะมีลักษณะคล้ายกับตัวจังเหลน (จิ้งเหลน) ชาวมุสลิมในภาคใต้เรียกว่า ฮูลูกะด๊ะ (ด้ามกริชแบบฝักลูกเนียงนกซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านชนิดหนึ่ง) ชาวมุสลิมบางกลุ่มเรียกว่า ฮูลูแลแบ็ง ปีกฝักของกริชกลุ่มบูกิสมีเหลี่ยมมนไม่มาก และไม่ชัดเจนเหมือนอย่างแบบของกลุ่มคาบสมุทรตอนเหนือ

๕. กริชแบบสกุลช่างสุมาตรา หรือ กริชอาเนาะแล มีต้นกำเนิดในเกาะสุมาตรา ด้ามกริชกลุ่มนี้ที่พบมามากมี ๒ แบบ คือแบบด้ามหักมุมคู้งอคล้ายหัวไม้เท้า และแบบหัวลูกไก่ ฝักกริชแบบนี้ลักษณะเด่นอยู่ที่ส่วนปีกฝัก ซึ่งมีรูปคล้ายหางปลา หรือคล้ายพระจันทร์เสี้ยว ชาวมุสลิมในภาคใต้เรียกกริชที่มีฝักและด้ามดังกล่าวว่า กริชอาเนาะแลหัวไม้เท้า หรืออาเนาะแลหัวลูกไก่ แล้วแต่ลักษณะของด้าม

๖. กริชแบบซุนดัง เป็นกริชกลุ่มที่นิยมใช้กันในกลุ่มมุสลิม โมโรในเกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์ ส่วนแหล่งกำเนิดยังไม่แน่ชัด เป็นกริชขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายกระบี่หรือดาบสองคมของจีน บางเล่มกว้างถึง ๓ นิ้ว และยาวถึง ๒๗ นิ้ว มีทั้งแบบใบกริชตรงและใบกริชคด ด้ามกริชกลุ่มซุนดังมีลักษณะคล้ายหัวนกกระตั้ว เอกลักษณ์อีกอย่างคือ กั่นกริชเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมแบน ต่างกับของกลุ่มอื่นที่มีกั่นลักษณะกลม ฝักของกริชกลุ่มซุนดังไม่มีรูปแบบของตนเอง ใช้ฝักแบบอาเนาะอะแล ก็มี ฝักแบบบูกิส ก็มี

๗. กริชแบบสกุลช่างปัตตานี นิยมใช้ในพื้นที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส บางส่วนของสงขลาและสตูล ด้ามกริชแกะสลักจากไม้เป็นรูปยักษ์หรือรากษสตามคติความเชื่อแบบฮินดู-ชวา แต่มีจมูกยาวงอน นัยน์ตาถลนดุดัน ปากแสยะมองเห็นไรฟันและเขี้ยวแหลมงอนโค้ง ส่วนที่เป็นเส้นผมและเครา ตลอดจนเครื่องประดับช่างรังสรรค์ให้เป็นกระหนกเครือเถาที่มีความงามวิจิตรแฝงไว้ด้วยอำนาจและพลังลึกลับ เนื่องจากด้ามกริชแบบปัตตานีมีรูปเป็นยักษ์แต่จมูกยาวงอน คนทั่วไปในชั้นหลังจึง มองเห็นเป็นแบบ "หัวนกพังกะ" หรือนกกระเต็น จึงเรียกกันว่า กริชหัวนกพังกะ ส่วนชาวมุสลิมในภาคใต้เรียกว่า กริชตะยง เฉพาะกริชที่ด้ามไม่มีเคราใต้คางบางท้องถิ่นเรียกว่า กริชจอแต็ง

ฝักกริชแบบปัตตานีมีรูปคล้ายเรือ ก้านฝักมีลักษณะ ป้อม-มนและยาวขนาน ฝักมี ๒ แบบใหญ่ แบบรุ่นเก่าทำจากไม้ชิ้นเดียวนำมาเจาะคว้านและเกลาจนเป็นฝักกริช แบบรุ่นหลังทำแบบนำเอาไม้มาต่อเข้าเดือยเป็นส่วนๆ มีชนิด ๒ ชิ้นก็มี ๓ ชิ้นก็มี ฝักกริชรุ่นเก่านิยมทำจากไม้ประดู่หอม รุ่นหลังนิยมทำจากไม้แก้วดีปลี นิยมเคลือบเงาฝักกริชด้วยยางจากต้นชนวน ซึ่งเป็นไม้พื้นบ้าน ฝักกริชแบบปัตตานีไม่นิยมสวมปลอกด้วยเงินหรือโลหะชนิดอื่น
...นสพ. ข่าวสด


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 พฤศจิกายน 2558 13:45:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.366 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 30 เมษายน 2567 08:40:04