[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:41:43



หัวข้อ: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:41:43
การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
ที่มา http://board.palungjit.com/f108/ (http://board.palungjit.com/f108/)การบริจาคเลือด-ดวงตา-อวัยวะ-ร่างกาย-ให้สภากาชาดไทย-32274.html

.


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:42:33
บริจาคดวงตา
คุณประโยชน์
ช่วยผู้ป่วยกระจกตาพิการ ซึ่งอาจแบ่งเป็น
- กระจกตาขุ่นเป็นฝ้าขาว เช่น เป็นแผลเป็น หรือกระจกตาบวมจากอุบัติเหตุสารเคมี การติดเชื้อ โรคกระจกตาที่เป็นแต่กำเนิด เป็นต้น
- กระจกตามีความโค้งนูนผิดปกติ
- กรณีฉุกเฉิน เช่น เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ไม่สามารถควบคุมด้วยการใช้ยารักษาได้ หรือรายที่กระจกตากำลังทะลุ หรือทะลุแล้ว สาเหตุใดก็ตาม ต้องรีบตัดกระจกตาส่วนที่ติดเชื้อ แล้วใส่กระจกตาบริจาคแทนที่เพื่อรักษาดวงตาไว้ก่อน
- ทำเพื่อความสวยงามเป็นการทำให้ฝ้าขาวที่ตาดำหายไปโดยไม่คำนึงว่ามองเห็นหรือไม่ วิธีนี้ไม่นิยมทำในเมืองไทย เพราะดวงตาบริจาคมีน้อย จำเป็นต้องเก็บไว้ทำการผ่าตัดให้ผู้ที่ทำแล้วจะทำให้เห็นดีขึ้นเท่านั้น
วิธีการ
ภายหลังถึงแก่กรรม ดวงตาจะเริ่มเสื่อมคุณภาพและเน่าเปื่อยเหมือนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรีบเก็บดวงตาให้เร็วที่สุด อย่างช้าไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง ถ้าช้าเกินไปดวงตาจะใช้ไม่ได้ และไม่ควรอนุญาตให้ฉีดน้ำยากันเน่าเปื่อยของศพ ก่อนที่จะผ่าตัดเก็บดวงตา
ขั้นตอนการแสดงความจำนงอุทิศดวงตา
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาให้ชัดเจน
2. เมื่อศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ได้รับใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาจากท่านแล้ว ศูนย์ฯจะส่งบัตรประจำตัวให้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้
3. หากย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนสถานภาพใดๆ กรุณาแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา
1. แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ
2. เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย
3. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040
ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่งโมง
E-mail: eyebank@redcross.or.th
แสดงความจำนงบริจาคดวงตาผ่านระบบเครือข่าย
แบบฟอร์มใบสำคัญแสดงการยินยอมมอบดวงตาให้สภากาชาดไทย(PDF)
แบบฟอร์มขอรับดวงตา (สำหรับแพทย์) (PDF)
แบบฟอร์ม "Donor information form" (สำหรับแพทย์) (PDF)
แบบฟอร์ม "Recipient information" (สำหรับแพทย์) (PDF)



หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:43:13
บริจาคอวัยวะ
คุณประโยชน์
ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคมต่อไปได้
อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม

ขั้นตอนการบริจาค
1. กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)
2. พิมพ์ใบแสดงความจำนงบริจาค ส่งเอกสารมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ตามที่อยู่ด้านล่าง และเมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ได้รับใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้
3. หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตร
4. กรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ
1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
2. เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7. กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วย

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5
ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทร. 1666


 

**************************************************

บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาสร้างกุศลทานอันยิ่งใหญ่ ด้วยการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาการให้ หรือ การบริจาคย่อมทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ ผู้ให้มีความสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นผู้เสียสละ ผู้รับมีความสุข ที่ได้รับสิ่งจำเป็นที่สุดที่ตนเองยังขาดแคลน
การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา ผู้บริจาคเป็นผู้เสียสละที่ยิ่งใหญ่ ยอมสละร่างกายของตนเอง ให้ผู้ที่ไม่เคยได้รู้จักมาก่อนได้ศึกษาโดยเพียงแต่มุ่งหวังว่า ผู้ที่ศึกษาร่างของตนจะนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปช่วยมวลมนุษย์ชาติต่อไป ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาได้สร้างกุศลทานครั้งสุดท้ายของชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยได้แต่หวังว่า ผู้อยู่เบื้องหลังจะไม่ต้องทนทุกข์จากอาการเจ็บป่วย ตนเองมิได้หวังสิ่งตอบแทนใดใด นอกจากได้เป็นผู้"ให้"เท่านั้น
คุณประโยชน์
การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เป็นการสร้างประโยชน์ทั้งด้านวิชาการ ด้านสาธารณสุข ด้านจริยธรรมและการเสริมสร้างสังคมอันจะนำไปสู่พัฒนาการที่ดีต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในการศึกษาทางการแพทย์บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากร่างกายของมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาผู้ป่วยต่อไปในอนาคต
การศึกษาจากร่างกายผู้อุทิศร่างกาย ใช้ประโยชน์หลายกรณี อาทิเช่น
1. เพื่อใช้ในการศึกษาของนิสิตแพทย์
2. เพื่อใช้ในการศึกษาของแพทย์เฉพาะทาง
3. เพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษาพยาบาล
4. เพื่อใช้ในการศึกษาของนิสิตเทคนิคการแพทย์
5. เพื่อใช้ในการศึกษาของนักศึกษารังสีเทคนิค
6. เพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยทางการแพทย์
7. เพื่อใช้ในการจัดทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์
วิธีการ
ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายสามารถยื่นความจำนงได้ 2 แบบ คือ
1. ยื่นความจำนงโดยตรงที่ ฝ่ายอุทิศร่างกาย แผนกเลขานุการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โดยกรอกข้อความ ตามแบบฟอร์ม ทั้ง 3 ฉบับ เก็บไว้ที่ผู้อุทิศร่างกาย 1 ฉบับพร้อมทั้ง ใบประกาศของโรง
พยาบาล 1 ฉบับ และให้เจ้าหน้าที่เก็บไว้ 2 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะออกบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ไว้เป็น
หลักฐาน
2. ยื่นความจำนงทางไปรษณีย์ โดยกรอกข้อความในใบอุทิศร่างกายทั้ง 3 ฉบับ แล้วส่งมา
ทางไปรษณีย์ 2 ฉบับ เจ้าหน้าที่จะส่งบัตรประจำตัวผู้อุทิศร่างกายให้ภายหลัง
เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม ทายาท มีสิทธิ์คัดค้านไม่มอบศพให้กับโรงพยาบาลได้โดยต้องแจ้ง
การคัดค้านไม่มอบศพกับโรงพยาบาลฯภายใน 24 ชั่วโมง
เมื่อผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรม และทายาทผู้รับมรดกยินยอมพร้อมใจกันจะมอบศพให้โรงพยาบาลฯ
ขอให้ติดต่อโรงพยาบาลฯเพื่อจัดเจ้าหน้าที่ไปรับศพ โดยเจ้าหน้าที่จะให้กรอกใบสำคัญยินยอมมอบศพให้
โรงพยาบาลเพื่อการศึกษาไว้เป็นหลักฐาน โดยติดต่อแจ้งการรับศพได้ที่
1. ในเวลาราชการติดต่อที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์
2564281 หรือ 2527028 หรือ 2528181-9 ต่อ 3247
2. นอกเวลาราชการติดต่อที่ ตึกห้องพักศพ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการรับศพ หมายเลขโทรศัพท์
2564317
โรงพยาบาลจะสามารถรับร่างของผู้อุทิศร่างกายได้ก็ต่อเมื่อ มีใบมรณบัตรซึ่งออกโดย นายทะเบียน
ท้องถิ่นที่ผู้อุทิศร่างกายถึงแก่กรรมแล้วเท่านั้น
โรงพยาบาลจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกายเฉพาะที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
เมื่อโรงพยาบาลรับร่างผู้อุทิศร่างกายมาแล้ว ไม่สามารถอนุญาตให้ญาตินำกลับไปบำเพ็ญกุศล
ก่อน เพราะจะทำให้ไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการศึกษา
เมื่อเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้อุทิศร่างกาย ทายาทควรให้ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกที่สุดไว้กับเจ้าหน้าที่
เพื่อให้สามารถติดต่อได้เมื่อนิสิตศึกษาร่างผู้อุทิศร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้วและหากมีการเปลี่ยนแปลงที่
อยู่ต้องแจ้งให้ทราบ
ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ จะจัดให้มีการศึกษาร่างของผู้อุทิศร่างกายในกรณีต่างๆต่อไปนี้ ตามความ
เหมาะสม
1. เพื่อการศึกษาของนิสิตแพทย์ และแพทย์ประจำบ้าน
2. เพื่อการฝึกอบรมหัตถการต่างๆ และงานวิจัยทางการแพทย์
เมื่อฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศึกษาร่างผู้อุทิศฯศึกษาเรียบร้อยแล้ว
จะมีคณะกรรมการดำเนินการจัดงานฌาปนกิจ และขอพระราชทานเพลิงศพ (เป็นกรณีพิเศษ)
คุณสมบัติของผู้บริจาค
ผู้มีความประสงค์อุทิศร่างกายต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป กรณีที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความ
ยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
โรงพยาบาลจะไม่รับศพผู้อุทิศร่างกายในกรณีดังนี้
- ถึงแก่กรรมเกิน 24 ชั่วโมง ยกเว้นได้เก็บไว้ในห้องเย็นของโรงพยาบาล
- ผู้อุทิศร่างกายที่ได้รับการผ่าตัด หรือมีรอยเสียหายจากอุบัติเหตุ บริเวณศีรษะและ
สมอง
- ผู้อุทิศร่างกายที่ถึงแก่กรรมจากสาเหตุจากโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและ สมอง หรือติดเชื้อ โรคร้ายแรงเช่น เอดส์ ไวรัสลงตับ และวัณโรค
- ผู้อุทิศร่างกายที่มีคดี เกี่ยวข้องกับคดี หรือมีการผ่าพิสูจน์ ยกเว้นการผ่าพิสูจน์บริเวณช่องท้องที่แพทย์นำไปใช้ในทางการศึกษาทางการแพทย์เท่านั้น
- ผู้อุทิศฯที่ผ่านกระบวนการเก็บรักษาด้วยน้ำยาแล้ว
ในกรณีที่รับร่างผู้อุทิศฯมาแล้ว มีการตรวจพบว่าอยู่ในกรณีดังกว่าวข้างต้น โรงพยาบาลจะติดต่อญาติให้นำกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีต่อไป
สถานที่ติดต่อ
ฝ่ายเลขานุการ ตึกอำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เขตปทุมวัน กทม. 10330 ในวัน เวลาราชการ
หลักฐานที่ต้องเตรียมมามีดังนี้
1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ
3. สำเนาทะเบียนบ้าน


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:44:21
บริจาคโลหิต
เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการบริจาคนั่นเอง
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้
ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่ออยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะเก็บโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

โลหิตคืออะไร
โลหิตมีส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่า น้ำเหลือง มีสีเหลืองอ่อนใสมีโปรตีนและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตซึ่งมีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก ซึ่งได้แก่ กระดูกแขน กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายของมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000-5,000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) หรือสามารถคำนวณง่ายๆ คือ
น้ำหนักตัวสุทธิ x 80 = ปริมาณโลหิตที่มีในร่างกายโดยประมาณ (หน่วยเป็น ซี.ซี.)
โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. เม็ดโลหิต จะมีอยู่ประมาณ 45 % ของโลหิตทั้งหมด ซึ่งมี 3 ชนิด คือ
- เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้สันดาปอาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 120 วัน
- เม็ดโลหิตขาว ทำหน้าที่ปกป้องและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารที่เป็นอันตรายอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนทหารป้องกันประเทศ เม็ดโลหิตขาวมีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 10 ชั่วโมง
-เกล็ดโลหิต ทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของเส้นโลหิต มีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 5-10 วัน
2. พลาสมา (Plasma ) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง จะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 55 ของโลหิตทั้งหมด มีหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของโลหิตป้องกันเลือดออก และเป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย พลาสมานี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 92 % และส่วนที่เป็นโปรตีนประมาณ 8 % ซึ่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่
- แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ
- อิมมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะเข้าสูร่างกาย เกร็ดความรู้
ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ 2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกายจะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดโลหิตแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกายในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์ จะถึงกำหนดหมดอายุขัย ถูกขับถ่ายออกมาขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศรีษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่

จากชีวิตสู่ชีวิต มอบโลหิตช่วยผู้ป่วย
บริจาค
1. บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
2. บริจาคพลาสมา (Plasma)
3. บริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
4. บริจาคเม็ดโลหิตแดง (Single Donor Red Cell)
5. ตารางเวลาหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่
6. LOGO โครงการ BRAND'S YOUNG BLOOD

++++++++++++++++++++++++++++++++++++




หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:44:40
บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
คุณประโยชน์
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองทั้งระบบ เอ บี โอ และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่นๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้น เพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่ 1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108 ตามลำดับ

คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
ผู้มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตควรตรวจสอบคุณสมบัติตนเองก่อนบริจาค ดังนี้
1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์

ดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต
*ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
*ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
*ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
*งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
*งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
*สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
*การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต

ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
*นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
*ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
*ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
*หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
*หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์พยาบาล
*งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
*รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
*หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ

ผู้บริจาคโลหิตโปรดทราบ ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ
*ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
*เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
*รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์

ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริจาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวสำหรับคนเดียวแล้วทิ้ง


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:45:14
สถานที่ติดต่อ
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน) 08.00-16.30 น.
วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน) 07.30-19.30 น.
วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.00-12.00 น.
วันอาทิตย์ 12.00-16.00 น.
หน่วยเคลื่อนที่ประจำ
สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน) 10.00-15.00 น.
สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร) 09.00-14.00 น.
ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน) 10.00-15.00 น.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์) 10.00-15.00 น.
สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค) 09.00-15.00 น.
ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)
13.00-17.00 น.
ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)
13.00-17.00 น.
 
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)
13.00-17.00 น.
 
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.
 
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
13.00-17.00 น.
 
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
 โทร.0-2468-1116-20
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้า โทร.0-2245-8154
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ  โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี  โทร. 0-2246-1057-87
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
 โทร. 0-2243-0151-64
และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ในวันและเวลาราชการ)   


ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157
E-mail : blood@redcross.or.th
"3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง รวมพลังบริจาคโลหิต"


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:45:44
บริจาคพลาสมา(Plasma)
คุณประโยชน์
พลาสมาจะนำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดน้ำเหลือง มีอาการช็อคเนื่องจากน้ำร้อน ลวก ไฟไหม้ หรือช็อคในผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก
วิธีการ
เจาะโลหิตออกจากร่างกายผ่านตัวกรอง หรือตัวปั่น เพื่อทำการแยกพลาสมาออกจากเม็ดโลหิต จากนั้นส่วนที่เป็นพลาสมาจะถูกแยกส่งไปยังถุงบรรจุ ที่รองรับอยู่ ส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตแดงไหลกลับเข้าสู่ร่างกายผู้บริจาค
การบริจาคพลาสมา สามารถทำได้ทุก 14 วัน บริจาคครั้งละ 500 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) พลาสมาที่ได้รับบริจาค นอกจากจะใช้ในรูปของส่วนประกอบโลหิตที่นำไปช่วยชีวิตผู้ป่วยเฉพาะโรคแล้ว ยังนำไปผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์โลหิต เช่นแอลบูมิน (Albumin) แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แฟคเตอร์ 9 เข้มข้น อิมมูโนกลอบบูลิน ชนิดฉีดเข้าเส้น เซรุ่มป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี และเซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า
สถานที่ติดต่อ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2251-3111 ต่อ 113, 114, 161, 162

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การบริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
เกล็ดโลหิต เป็นเซลล์เม็ดโลหิตชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็กมาก แต่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะช่วยทำให้โลหิตแข็งเป็นลิ่ม และอุดรอยฉีกขาดของเส้นโลหิตเวลาที่ถูกของมีคมบาด โดยปกติเกล็ดโลหิต มีอายุในการทำงานประมาณ 5-10 วัน ในร่างกายมนุษย์เราจะมีเกล็ดโลหิตประมาณ 1-5 แสน/1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร ถ้ามีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำมากจะทำให้โลหิตออกง่าย นอกจากนี้ยังมีโรคหลายโรคที่ทำให้เกล็ดโลหิตต่ำ เช่นโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาว โรคที่เกี่ยวกับไขกระดูกไม่ทำงาน โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคไข้เลือดออก เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้เกล็ดโลหิตรักษา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเปิดรับบริจาคเกล็ดโลหิต เฉพาะที่มีการร้องขอจากโรงพยาบาลเท่านั้น มิได้เปิดรับบริจาคทั่วไปเหมือนรับบริจาคโลหิต หรือพลาสมา ทั้งนี้เพราะเกล็ดโลหิตเมื่อเจาะออกมานอกร่างกายแล้ว จะมีอายุเพียง 24 ชั่วโมง - 5 วัน ตามลักษณะและกรรมวิธีในการเจาะเก็บและต้องเก็บรักษาไว้ในตู้ซึ่งควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 22 องศาเซลเซียส พร้อมกับมีการเขย่าเบาๆ ตลอดเวลา

การรับบริจาคเกล็ดโลหิต
จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะถูกเจาะโลหิตจากแขนข้างหนึ่งผ่านเข้าเครื่องแยกอัตโนมัติ เพื่อแยกเกล็ดโลหิตออกจากเม็ดโลหิตแดง เมื่อได้เกล็ดโลหิตแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ จะถูกคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย ระยะเวลาในการบริจาคเกล็ดโลหิต ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

คุณประโยชน์
เกล็ดโลหิตใช้รักษาโรคในผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดโลหิตต่ำ และมีปัญหาเลือดออกไม่หยุด เช่นโรคไข้เลือดออก มะเร็งเม็ดโลหิตขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

วิธีการ
การรับบริจาคเกล็ดโลหิต จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะถูกเจาะโลหิตจากแขนข้างหนึ่งผ่านเข้าเครื่องแยกอัตโนมัติ เพื่อแยกเกล็ดโลหิตออกจากเม็ดโลหิตแดง เมื่อได้เกล็ดโลหิตแล้ว ส่วนประกอบอื่นๆ จะถูกคืนกลับเข้าสู่ร่างกาย ระยะเวลาในการบริจาคเกล็ดโลหิต ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง

คุณสมบัติพิเศษสำหรับผู้บริจาคเกล็ดโลหิต
*หมู่โลหิตจะต้องตรงกับผู้ป่วยที่ต้องการเกล็ดโลหิต
*เส้นโลหิตตรงข้อพับแขนชัดเจน
*ไม่รับประทานยาแก้ปวดแอสไพริน ในระยะเวลา 5 วันก่อนบริจาค
และควรเป็นผู้ที่บริจาคโลหิตสม่ำเสมอ
ผู้บริจาคเกล็ดโลหิตจะไม่อ่อนเพลีย สามารถปฏิบัติภารกิจการงาน ได้ตามปกติยกเว้นในกรณีจำเป็น อาจให้บริจาคได้ทุก 3 วัน หลังจากบริจาคเกล็ดโลหิตไปแล้ว 1 เดือน สามารถบริจาคโลหิตได้ตามปกติ

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2251-3111 ต่อ 113, 114, 161, 162


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:46:49
บริจาคเม็ดโลหิตแดง(Single Donor Red Cell)
ตุณประโยชน์
เม็ดโลหิตแดงใช้ในผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือซีดจากมีความผิด ปกติของเม็ดโลหิตแดง เช่นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
วิธีการ
1. สามารถเตรียมเม็ดโลหิตแดงได้จำนวนยูนิตมากขึ้น จากผู้บริจาคโลหิตที่มีหมู่โลหิตหายาก และไม่มีผู้บริจาคเพียงพอที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วย ถ้าให้ผู้บริจาคโลหิตบริจาคแบบปกติ
2. สามารถเตรียมโลหิตสำรองไว้สำหรับการผ่าตัดตนเองครั้งเดียวได้ 2 ถุง
3. เป็นโลหิตที่เตรียมจากผู้บริจาครายเดียว เป็นการลดอัตราเสี่ยงจากการติดเชื้อจากการรับบริจาคโลหิตจากผู้บริจาคหลายๆราย
คุณสมบัติของผู้บริจาค
- คุณสมบัติเบื้องต้นเช่นเดียวกับผู้บริจาคโลหิตทั่วไป เช่น อายุระหว่าง 17-60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างรับประทานยาต่างๆ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สำหรับคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากการบริจาคโลหิตทั่วไป



หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:47:35
คำถามที่เกี่ยวกับสภากาชาดไทยครับ
http://www.redcross.or.th/faq/index.php4 (http://www.redcross.or.th/faq/index.php4)

 
คำถามประจำของสภากาชาดไทย คำถามประจำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ทำไมไม่รับบริจาคโลหิตกับคนที่เคยเป็นมะเร็ง ถึงแม้รักษาหายขาดแล้ว [ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ]
เป็นเบาหวานบริจาคโลหิตได้หรือไม่ [ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ]
เป็นโรคผิวหนัง และเป็นโรคภูมิแพ้บริจาคโลหิตได้หรือไม่ [ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ]
เคยผ่าตัดต้อกระจกมาแล้ว จะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ? [ศูนย์ดวงตา]
เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาบอดมาหลายปีจะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ? [ศูนย์ดวงตา]
 
คำถามประจำทั้งหมด ค้นหาคำถามประจำ >> 
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 หน้าถัดไป >>

 
คำถาม : ทำไมไม่รับบริจาคโลหิตกับคนที่เคยเป็นมะเร็ง ถึงแม้รักษาหายขาดแล้ว
คำตอบ : คนที่เคยมีประวัติเป็นมะเร็ง ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษาถึงขั้นที่คิดว่าหายขาดแล้วก็ตาม แต่สภาพคนที่เป็นมะเร็งจะอ่อนแอกว่าคนปกติ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้สูง หากบริจาคโลหิตจะทำให้ความเข้มข้นโลหิตเจือจางได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้สุขภาพเสื่อมลง จึงของดบริจาค
กลับสู่ด้านบน 
 
คำถาม : เป็นเบาหวานบริจาคโลหิตได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ ถ้าสามารถควบคุมน้ำตาลให้ปกติได้ หรือหากอาการไม่รุนแรงถึงขั้นฉีดอินซูลิน และไม่มีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้ สุขภาพอื่นๆต้องพร้อมด้วย
กลับสู่ด้านบน 
 
คำถาม : เป็นโรคผิวหนัง และเป็นโรคภูมิแพ้บริจาคโลหิตได้หรือไม่
คำตอบ : 1. กรณีโรคภูมิแพ้ ถ้าแพ้อากาศมีอาการจาม น้ำมูกไหลเวลาอากาศเย็นๆ และต้องรับประทานยาแก้แพ้ เช่น Antihistamine ก็สามารถบริจาคโลหิตได้ แต่ถ้ามีการติดเชื้อทางเดินหายใจร่วมด้วย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ลำคออักเสบ ต้องใช้ยาปฏิชีวนะก็ต้องงดไว้ก่อน จนกว่าจะรับประทานยาครบชุดหลังจากนั้น 1 สัปดาห์ จึงมาบริจาคได้
2. ส่วนโรคผิวหนังเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับโรคอะไร และมีแผลตรงไหน ถ้ามีแผลบริเวณข้อพับแขนทั้งสองข้าง ต้องงดไว้ก่อนจนกว่าแผลจะหาย โรคผิวหนังอื่นๆและการใช้ยารักษาโรคผิวหนัง ต้องให้แพทย์ผู้ตรวจร่างกายพิจารณาเป็นรายๆไป
กลับสู่ด้านบน 
 
คำถาม : เคยผ่าตัดต้อกระจกมาแล้ว จะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ?
คำตอบ : ได้ เพราะกระจกตาดำยังดีอยู่
กลับสู่ด้านบน 
 
คำถาม : เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตาบอดมาหลายปีจะอุทิศดวงตาได้หรือไม่ ?
คำตอบ : ได้ เพราะกระจกตาดำยังดีอยู่
กลับสู่ด้านบน 
คำถามประจำทั้งหมด  ค้นหาคำถามประจำ >> 
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 หน้าถัดไป >>

 

คำถามประจำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
 
สำนักบริหาร
 เหล่ากาชาด
 
สำนักงานการคลัง
 สำนักงานการเจ้าหน้าที่
 
สำนักงานจัดหารายได้
 วิทยาลัยพยาบาล
 
สำนักงานกลาง
 สำนักงานยุวกาชาด
 
สำนักงานอาสากาชาด
 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
 
ศูนย์เลเซอร์สายตาจุฬา
 โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
 
สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
 
สถานเสาวภา
 ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
 
ศูนย์ดวงตา
 ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ
 
ศูนย์วิจัยโรคเอดส์
 สำนักงานโภชนาการวังสวนจิตรลดา
 
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน
 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย
 มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย
 
กลับสู่ด้านบน
 
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:48:13
มนุษยธรรม

 
 กาชาดเกิดขึ้นมาจากความปราถนาที่จะนำความช่วยเหลือโดยมิเลือกปฏิบัติมาสู่ผู้บาดเจ็บในสนามรบ กาชาดเพียรพยายามทั้งในฐานะระหว่างประเทศและในระดับชาติเพื่อป้องกัน และบรรเทาทความทุกข์ทรมานของมนุษย์ไม่ว่าจะพบได้ในที่ใด ความมุ่งประสงค์ของกาชาดได้แก่การคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ และการประกันความเคารพนับถือต่อมนุษยชน กาชาดส่งเสริมความเข้าใจ มิตรภาพ ความร่วมมือระหว่างกัน และสันติภาพยั่งยืนระหว่างประชากรทั้งมวล

 
 ความไม่ลำเอียง

 
 กาชาดไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องสัญชาติ เชื้อชาติ ความเชื่อถือทางศาสนา ชั้น วรรณะ หรือความคิดเห็นทางการเมือง กาชาดเพียรพยายามอย่างเดียวที่จะบรรเทาความทุกข์ทรมาน โดยให้การปฏิบัติเป็นลำดับแรกต่อกรณีความทุกข์ยากที่เร่งด่วนที่สุด   
 ความเป็นกลาง

 
 เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจสืบต่อไปจากทุกฝ่าย กาชาดไม่อาจเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในการสู้รบ หรือเกี่ยวข้องไม่ว่าในเวลาในการขัดแย้ง ซึ่งมีลักษณะทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา และลัทธินิยม   
 ความเป็นอิสระ

 
 กาชาดเป็นอิสระ สภากาชาดแม้จะมีส่วนช่วยเหลือในบริการด้านมนุษยธรรมของรัฐบาลของตน และอยู่ในบังคับแห่งกฏหมายของประเทศตน จะต้องธำรงความเป็นอิสระอยู่ต่อไป เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามหลักการกาชาดได้ทุกเวลา   
 บริการอาสาสมัคร

 
 กาชาดเป็นองค์การอาสาสมัครในการบรรเทาทุกข์ โดยไม่มีความปรารถนาผลประโยชน์ในประการใด ๆ   
 ความเป็นเอกภาพ

 
 ในประเทศพึงมีสภากาชาดได้เพียงแห่งเดียว สภากาชาดต้องเปิดให้กับคนทั่วไป สภากาชาดต้องปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมตลอดทั่วดินแดนของตน   
 ความเป็นสากล

 
 กาชาดเป็นสถาบันสากล ซึ่งสภากาชาดทั้งมวลสังกัดอยู่ในฐานะเท่าเทียมกัน และมีส่วนความรับผิดชอบและหน้าที่เท่าเทียมกันในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:49:11
ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย



ประวัติความเป็นมา 
 เนื่องด้วยในประเทศไทย มีคนตาบอดหรือมืดมัวอยู่เป็นจำนวนมากที่มีสาเหตุจากโรคกระจกตา หรือตาดำ ซึ่งศัพท์ทางแพทย์ เรียกว่า Cornea อันอาจจะรักษาให้หายหรือทุเลาได้ โดยวิธีการผ่าตัด ที่เรียกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา หรือ Corneal Transplantaiton ( Keratoplasty)
ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ว่า จักษุแพทย์ได้กระจกตามาด้วยวิธีใด ในสมัยก่อน ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์ดวงตาสากล (International Eye Bank) ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา มีศาสตราจารย์ นายแพทย์ John Harry King, Jr. เป็นผู้อำนวยการ จัดส่งดวงตามาให้ทางเครื่องบิน และบางโอกาสจักษุแพทย์ในประเทศไทยก็พยายามช่วยตัวเอง โดยการแสวงหาดวงตาจากศพที่ไม่มีญาติ ซึ่งถึงแก่กรรมในโรงพยาบาล ซึ่งทั้ง 2 ประการนี้ นานๆ ถึงจะได้ดวงตาสักครั้ง ไม่เพียงพอกับผู้ป่วยที่รออยู่เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยควรจะมีศูนย์ดวงตาตนเอง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยตามืดมัวอย่างในอารยะประเทศ ด้วยการปรึกษาร่วมกันระหว่าง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันทร์ (ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภากาชาดไทย) ศาสตราจารย์นายแพทย์ กอบชัย พรหมินทะโรจน์ และนายแพทย์พิศักดิ์ ลุ่มสวัสดิ์ มีความเห็นพ้องกันว่า สภากาชาดไทยซึ่งเป็นองค์กรสาธารณกุศลมีความเหมาะสมทุกประการที่จะเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคดวงตา เพื่อจะได้นำดวงตาเหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษย์ต่อไป ในปี พ.ศ. 2508 สภากาชาดไทย ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและบริจาคดวงตาสภากาชาดไทยชุดแรก เมื่อ 18 พฤษภาคม 2508 คณะกรรมการชุดแรกได้บัญญัติคำว่า ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษที่ว่า Thai Red Cross Eye Bank ซึ่งสภากาชาดไทยได้ใช้เป็นชื่อของหน่วยงานนี้ตลอดมา
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2512 ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ได้รับดวงตาจากผู้บริจาคที่ถึงแก่กรรมเป็นคู่แรก นำมาใช้ทำผ่าตัดให้ผู้ป่วยสำเร็จ 2 ราย เพื่อเป็นการระลึกถึงคณะกรรมการมีมติให้ถือเอาวันที่ 17 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ซึ่งต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานคำขวัญเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนให้แสดงความจำนงอุทิศดวงตา ความว่า
 
 "ดวงตาเราคู่นี้แสนมีค่า เกินกว่าจะทิ้งไปให้สูญเปล่า
 
 เราไม่อยู่เราไม่ใช้นัยน์ตาเรา ให้คนเขาเก็บไว้ใช้เราได้บุญ " 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:50:09
ศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย



ประวัติความเป็นมา   
 ปัจจุบันการปลูกถ่ายอวัยวะเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่หมดหวังที่จะรักษาด้วยวิธีอื่นให้มีชีวิตใหม่ ปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษา คือ การได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิต ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก กล่าวคือ ปัญหาการขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะทั้งวงการแพทย์และสาธารณชนทั่วไป และปัญหาในการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะและการปลูกถ่ายอวัยวะ ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ จึงเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่ง
สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นองค์กรกลางการกุศล ได้ริเริ่มเสนอโครงการจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย วันที่ 14 มีนาคม 2531 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง โดยมีการประชุมร่วมกับคณะแพทย์จากสถาบันต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน วันที่ 23 กรกฎาคม 2533 จึงมีคำสั่งตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทยเป็นการภายใน ในสังกัดสำนักงานกลาง แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการจึงไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ปี 2536 อันเป็นปีครบรอบร้อยปีสภากาชาดไทย สภากาชาดไทยได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการการอำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 โดยมีพลตำรวจเอกเภา สารสิน เป็นประธานกรรมการ มีสถานที่ทำการอยู่ที่ตึกกองอาสากาชาด ชั้น 2 และเริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537
 
   
 กลับสู่ด้านบน 
 ประวัติความเป็นมา -- วัตถุประสงค์ -- นโยบาย -- หน้าที่ความรับผิดชอบ -- โครงสร้าง -- กิจกรรม 
 วัตถุประสงค์   
 วัตถุประสงค์ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย 
 1. เป็นศูนย์รับแจ้งความจำนงในการบริจาคอวัยวะจากผู้มีจิตกุศลตั้งแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ 
 2. เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งญาติมีความประสงค์ที่จะบริจาคอวัยวะให้กับโรงพยาบาลที่มีผู้รอรับอวัยวะ 
 3. เป็นศูนย์กลางรับลงทะเบียนผู้ป่วยรอรับอวัยวะทั่วประเทศ   
 4. เป็นศูนย์กลางในการจัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาค ด้วยความเสมอภาคและถูกต้องตามหลักวิชาการ 
 5. เป็นศูนย์กลางการตรวจชนิดของเนื้อเยื่อของการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ สำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ 
 6. เป็นศูนย์ข้อมูล บริการข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะแก่วงการแพทย์และสาธารณชนโดยทั่วไป 
 7. เป็นตัวแทนในการติดต่อประสานงานกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะในประเทศข้างเคียง หากมีการจัดสรรแลกเปลี่ยนอวัยวะบริจาคระหว่างประเทศในอนาคต   
   
 กลับสู่ด้านบน 
 ประวัติความเป็นมา -- วัตถุประสงค์ -- นโยบาย -- หน้าที่ความรับผิดชอบ -- โครงสร้าง -- กิจกรรม 
 นโยบาย 
 - ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะให้มากเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ   
 - จัดสรรอวัยวะอย่างเป็นกลาง เสมอภาค โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะ 
 - ให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการนำอวัยวะต่างๆไปใช้   
   
 กลับสู่ด้านบน 
 ประวัติความเป็นมา -- วัตถุประสงค์ -- นโยบาย -- หน้าที่ความรับผิดชอบ -- โครงสร้าง -- กิจกรรม 
 หน้าที่ความรับผิดชอบ 
 - สนับสนุนส่งเสริมให้มีการบริจาคอวัยวะ โดยประชาสัมพันธ์ทั้งสาธารณชน บุคคลทางการแพทย์ ในเรื่องความสำเร็จของการปลูกถ่ายอวัยวะ สมองตาย กระบวนการบริจาคอวัยวะ และการขาดแคลนอวัยวะ 
 - รับแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ (Donor Registration) 
 - รับลงทะเบียนผู้ป่วยรอรับการบริจาคอวัยวะ 
 - การจัดสรรอวัยวะด้วยความเสมอภาค ถูกต้องตามหลักวิชาการ 
 - ประสานงานระหว่างโรงพยาบาลที่มีผู้เสียชีวิตสมองตายกับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ การเดินทางของทีมผ่าตัด การขนส่งอวัยวะ 
 - ดูแลอำนวยความสะดวกแก่ญาติผู้เสียชีวิตบริจาคอวัยวะ ดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ ถ้าญาติต้องการ และขอสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์สภากาชาดไทยแก่ทายาท


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:51:09
สภากาชาดไทย

ประวัติความเป็นมา   
 หลังจากการประชุมสันนิบาตกาชาด ครั้งที่ 17 เสร็จสิ้นลง ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทยในขณะนั้นได้นำมติดังกล่าวเสนอต่อกรรมการสภากาชาดไทยขอจัดตั้งแผนกบริการโลหิตขึ้นในกองวิทยาศาสตร์ งานบริการโลหิตของสภากาชาดไทย จึงได้เริ่มกิจการขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2495 เพื่อตอบสนองต่อข้อเสนอแนะของสภากาชาดสากล
ต่อมา พ.ศ.2496 ราชสกุลรังสิต ได้บริจาคเงินสร้างตึกที่ทำงานการบริการโลหิตขึ้น ว่าตึกรังสิตานุสรณ์ โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึก เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2496
การรับบริจาคโลหิตในปีแรกๆ นั้นจะกระทำเฉพาะภายในสถานที่เท่านั้นมีผู้บริจาควันละไม่ถึง 10 ราย โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฎพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิตเป็นผู้บริจาคโลหิตหมายเลข 1 ต่อมาในปี พ.ศ.2498 จึงได้เริ่มรับบริจาคโลหิตภายนอกสถานที่ โดยได้รับบริจาครถยนต์จากสมาคมเซ็นต์แอนดรูแห่งกรุงเทพฯ
พ.ศ.2499 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินมาให้ผู้บริจาคโลหิตเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดและพระราชทานของที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคโลหิต โดยเสด็จพระราชดำเนินปีละครั้งทุกปี ต่อมาปี พ.ศ.2503 สภากาชาดไทยได้จัดให้มีเข็มที่ระลึกแก่ผู้บริจาคโลหิต 1,7,20,30,40และ50 ครั้งขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.2520 ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการเข้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึกใหม่โดยกำหนดว่าจะต้องเป็นผู้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 24 ครั้งขึ้นไป
เพื่อให้งานบริการโลหิตขยายตัวกว้างขวางขึ้นสภากาชาดไทยได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาและส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทนชุดแรกเมื่อปี พ.ศ.2504 โดยมีพลตรี ศิริ สิริโยธิน เป็นประธานคณะกรรมการคนแรกซึ่งได้มีการพัฒนาขยายงานรับบริจาคโลหิตเพิ่มมากขึ้น โดยการเปิดสาขาบริการโลหิตในส่วนภูมิภาค
พลตรีศิริ สิริโยธิน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2505-2512 และถึงอนิจกรรมในปี พ.ศ.2520 ด้วยผลงานนานับประการที่ท่านทุ่มเทแแรงกายแรงใจกำลังความคิดให้กับงานบริการโลหิตของประเทศไทยมาตลอด 17 ปีเต็ม ถึงวาระสุดท้ายของชีวิตฉะนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่าน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงได้ตั้งชื่อห้องประชุมที่ชั้น 4 ว่าห้องประชุม "ศิริ สิริโยธิน"
ในปีพ.ศ.2506 รัฐบาลฝรั่งเศส ได้แสดงความสนใจที่จะให้ช่วยเหลือเพื่อพัฒนางานบริการโลหิตให้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งในการนี้ ศาสตราจารย์ฌอง แบร์นาร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยและเสนอว่ารัฐบาลฝรั่งเศสยินดีให้ความช่วยเหลือรัฐบาลไทยในการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเครืองมือเครื่องใช้รวมมูลค่า 10 ล้านบาทเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้เชิญผู้แทนจากสถาบันต่างๆ ที่มีงานบริการโลหิตมาประชุมกันเป็นครั้งแรกในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2506 โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานและที่ประชุมก็มีมติมอบหมายให้สภากาชาดไทยพิจารณารับไปจัดโครงการเสนอเนื่องจากมีความพร้อมทางด้านนี้มากที่สุด
ภายหลังจาการปรึกษาหารือในรายละเอียดกับกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศส นายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ ผู้อำนวยการกองวิทยาศาสตร์ได้จัดโครงการจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเสนอต่อที่ประชุมก็ให้ความเห็นชอบให้นำเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรีตามลำดับเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2508 ที่ประชุมกรรมการสภากาชาดไทย มีมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แล้วมอบให้สภากาชาดไทยรับไปดำเนินการ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2509 ที่ประชุมกรรมการสภากาชาดไทยมีมติอนุมัติให้แยกแผนกบริการโลหิตออกจากกองวิทยาศาสตร์ตั้งเป็นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และแต่งตั้งนายแพทย์เฉลิม บูรณะนนท์ เป็นอำนวยการท่านแรกของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และได้มีการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งและดำเนินงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ณ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509
ปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลได้จัดตั้งงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างและเครื่องเรือนรวม 6.1 ล้านบาท โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิติขจร เป็นประกอบการวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2511 และวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเปิดอาคาร ซึ่งอาคารดังกล่าวนี้ยังคงใช้เป็นที่ทำการอยู่ในปัจจุบันโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลง
ปี พ.ศ.2520 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 14 ล้านบาท สร้างอาคารขึ้นอีกหลังหนึ่งเป็นอาคาร 4 ชั้น ใช้สำหรับการผลิตพลาสมาแห้งและแยกส่วนประกอบพลาสมา โดยสร้างแล้วเสร็จในปลายปี พ.ศ.2522 นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน งานบริการโลหิตของชาติได้มีการพัฒนาและขยายขอบข่ายของงานออกไปอย่างกว้างขวาง เป็นที่ยอมรับของชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในด้านของคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:51:53
หน้าที่ความรับผิดชอบ 
 สภากาชาดไทย ได้กำหนดหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติไว้ในข้อบังคับของสภากาชาดไทย ข้อ 42 ทวิ ดังนี้คือ   
 1. มีหน้าที่จัดหาโลหิตให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้จากผู้บริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเพื่อนำไปจ่ายให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ 
 2. แปรรูปโลหิตที่เหลือใช้สำหรับเก็บและจ่ายเพื่อรักษาโรคบางชนิด   
 3. ทำการวิจัย การถ่ายโลหิตและเรื่องโลหิตวิทยา 
 4. ช่วยจัดตั้งงานบริการโลหิตให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดในรูปของสาขาบริการโลหิตแห่งชาติหรือภาคบริการโลหิตแห่งชาติ   
 ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้จัดตั้งสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ เหล่ากาชาดจังหวัด สาขาบริการโลหิตโรงพยาบาลอื่นๆ ในส่วนภูมิภาค และสาขาบริการโลหิตในกรุงเทพฯ รวมทั้งหมด 147 สาขา สำหรับการบริการโลหิต ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติในกรุงเทพฯ มีดังนี้คือ 
 1.โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช 
 2.โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า 
 3.สถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก 
 4.โรงพยาบาลตำรวจ 
 5.โรงพยาบาลรามาธิบดี   
 6.วชิรพยาบาล   
   
 บทบาทและหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติในปัจจุบัน 
 1. จัดหาโลหิตและส่วนประกอบของโลหิต เพื่อบริการให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง   
 2. จัดทำอุปกรณ์การเจาะเก็บโลหิต เช่น ถุงบรรจุโลหิต, น้ำยาต่าง ๆ ใช้ในกิจการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และจ่ายให้แก่สาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ 
 3. ผลิตน้ำยาตรวจหมู่โลหิต เพื่อใช้ในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทางการศึกษาทั่วประเทศ 
 4. ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา ได้แก่ แอลบูมิน, อิมมูโนโกลบูลิน 
 5. จัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ 
 6. ช่วยเหลือธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ ในด้านการตรวจสอบหมู่โลหิตที่มีปัญหาและการจัดหาหมู่โลหิตพิเศษ 
 7. จัดการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานทางธนาคารเลือด   
 8. จัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติให้ครบ 12 ภาค ทั่วประเทศ   
   
 การแบ่งงาน สายงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ แบ่งออกเป็น 10 ฝ่ายดังนี้ 
 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โดยแบ่งเป็น 4 หน่วย คือ 
 1. หน่วยธุรการ มีหน้าที่รับผิดชอบงานสารบรรณ งานการเจ้าหน้าที่ งานยานพาหนะ งานประชุมและจัดเลี้ยง งานเลขานุการ และให้ความร่วมมือสนับสนุนกับทุกฝ่ายในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ   
 2. หน่วยการเงิน บัญชี และพัสดุ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงิน ได้แก่เงินในงบประมาณ, เงินนอกงบประมาณ, เงินบริจาค, เงินทุนต่าง ๆ การจัดซื้อและการพัสดุของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและภาคบริการโลหิตแห่งชาติ   
 3. หน่วยอาคารสถานที่ มีหน้าที่รับผิดชอบงานช่างทุกประเภท งานซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องจักรกลและอาคารสำนักงาน ตลอดจนงานสวนและงานรักษาความปลอดภัย 
 4. หน่วยเลขานุการผู้อำนวยการ มีหน้าที่ในการประสานงานระหว่าง ผู้บริหารและหน่วยปฏิบัติการต่าง ๆ รวมทั้งการติดต่อกับหน่วยงานต่างประเทศและส่งเสริมวิชาการ 
   
 ฝ่ายควบคุมคุณภาพ มีหน้าที่รับผิดชอบงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์โลหิต ส่วนประกอบโลหิต ถุงบรรจุโลหิต, งานตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป, งานตรวจสอบความสะอาดสถานที่ผลิต, งานตรวจสอบความคงตัวของผลิตภัณฑ์, งานเตรียมน้ำยา Sterile และ Non-Sterile ให้ใช้ในฝ่ายต่าง ๆ, งานดำเนินการขอหนังสือรับรองรุ่นผลิตภัณฑ์จากกองชีววัตถุ, งานสอบเทียบเครื่องมือตรวจวัดและทดสอบ, งานศึกษาและควบคุมคุณภาพในโครงการต่าง ๆ   
   
 ฝ่ายประชาสัมพันธ์และผู้จัดหาผู้บริจาคโลหิต มีหน้าที่   
 1. วางแผนการดำเนินงานจัดหาโลหิตบริจาคภายนอกสถานที่ โดยการติดต่อประสานงานขอรับบริจาคโลหิตจากหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประชาชนกลุ่มเป้าหมาย   
 2. เสริมสร้างความเข้าใจที่ดีในการเชิญชวนหรือชักจูงใจให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการบริจาคโลหิตที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง   
 3. นำเสนอวิทยาการความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับงานบริการโลหิตต่อสื่อมวลชนทุกแขนง   
 4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ทุกประเภท ตลอดจนสื่อการเรียนการสอน   
 5. จัดอบรมสัมมนาประชุมวิชาการ และจัดทำโครงการต่างๆ ในการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายต่างๆ มองเห็นความสำคัญของงานบริการโลหิตและให้ความร่วมมือสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น   
   
 ฝ่ายเจาะเก็บโลหิต มีหน้าที่เจาะเก็บโลหิตทั้งภายในสถานที่และภายนอกสถานที่ดังนี้ 
 1. การเก็บเจาะโลหิตภายในสถานที่ เป็นการเจาะเก็บโลหิตจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพ ที่มีจิตศรัทธาเดินทางมาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ โดยปฏิบัติงานทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดรับเฉพาะวันที่ 1 มกราคม)   
 วันจันทร์ - อังคาร - พุธ - ศุกร์ จะเปิดรับตั้งแต่ 8.00-16.30 น. 
 วันพฤหัสบดี จะเปิดรับตั้งแต่ 7.30-18.30 น. 
 วันเสาร์และวันหยุดราชการอื่นๆ จะเปิดรับตั้งแต่ 8.00-12.00 น.   
 วันอาทิตย์ จะเปิดรับตั้งแต่ 12.00-16.00 น. 
 2. การเจาะเก็บภายนอกสถานที่ เป็นการเจาะเก็บโลหิตโดยการจัดหน่วยเคลื่อนที่ออกไปรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ ทั้งในกรุงเทพฯ เขตปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงต่าง ๆ ที่มีความประสงค์ให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ออกไปรับบริจาคโลหิต ทั้งนี้การออกรับบริจาคโลหิตภายนอกสถานที่ จะต้องดำเนินการติดต่อนัดหมาย วัน เวลา การใช้สถานที่หรือการใช้รถรับบริจาคเคลื่อนที่ โดยมีการประสานงานติดต่อนัดหมาย เช่น หน่วยราชการ ทหาร ตำรวจ สถาบันการศึกษา วัด รัฐวิสาหกิจ โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างสรรพสินค้า หน่วยงานเอกชน กลุ่มโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนปฏิบัติงาน ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ 
   
 ฝ่ายทะเบียนและสถิติ มีหน้าที่จัดทำทะเบียนผู้บริจาคโลหิตใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ทะเบียนประวัติผู้บริจาคโลหิต ข้อมูลโลหิตทุกหน่วย ทะเบียนผู้มีสิทธิรับเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิต ครั้งที่ 24 -108 ครั้ง และเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้น 3 ชั้น 2 และชั้น 1 สำหรับผู้บริจาคโลหิตที่บริจาคครบ 50 ครั้ง 75 ครั้ง และ 100 ครั้ง ตามลำดับ ตลอดจนการจัดทำรายงานสถิติของงานบริการโลหิต พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ดูแลระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติและภาคบริการโลหิตแห่งชาติ พร้อมจัดทำสถิติเกี่ยวกับการรับบริจาคโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศ รวมทั้งสถิติต่าง ๆ ที่หน่วยงานอื่น ๆ ขอมา 
   
 ฝ่ายคัดกรอง จ่ายโลหิตและผลิตภัณฑ์ มีหน้าที่ในการตรวจโลหิตทุกยูนิต เพื่อให้ได้โลหิตที่ปลอดภัยที่สุดก่อนจะจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วย 
 การตรวจที่สำคัญมีดังนี้ คือ   
 1.ตรวจหมู่โลหิต ระบบ ABO   
 2.ตรวจหมู่โลหิต ระบบ Rh 
 3.ตรวจกรองแอนติบอดีของหมู่โลหิตระบบอื่น 
 4.ตรวจซิฟิลิส (VDRL)   
 5.ตรวจร่องรอยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HbsAg) 
 6.ตรวจร่องรอยการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti-HVC) 
 7.ตรวจไวรัส เอชไอวี (HIV) (anti-HIV,HIV-Ag)   
   
 ฝ่ายห้องปฏิบัติการร่วมกับองค์การอนามัยโลก มีหน้าที่ดังนี้   
 1.ตรวจโลหิตเพื่อยืนยันผลการตรวจเดิมหรือตรวจเพิ่มเติมแก่ฝ่ายคัดกรอง จ่ายโลหิตและผลิตภัณฑ์ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และธนาคารเลือดของโรงพยาบาลทั่วประเทศ   
 2.รับบริจาคพลาสมาและเกล็ดโลหิตจากผู้บริจาครายเดียว 
 3.เก็บรักษาเม็ดโลหิตแดง,เซลล์ไขกระดูกและกระดูกแช่แข็ง 
 4.รับบริจาคโลหิตเพื่อใช้กับตนเองก่อนผ่าตัด 
 5.ตรวจโลหิตและดูแลสุขภาพผู้บริจาคโลหิตที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบ   
   
 ฝ่ายพลาสมาและแปรรูปโลหิต มีหน้าที่ เตรียมส่วนประกอบโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิต 
   
 ฝ่ายผลิตน้ำยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์มีหน้าที่ผลิตน้ำยาแอนติซีรัมที่ใช้ในการตรวจหมู่โลหิต ผลิตภัณฑ์เซลล์มาตรฐานและน้ำยาต่าง ๆ ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางธนาคารเลือด เพื่อใช้ในกิจการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และจำหน่ายแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาลรัฐบาล เอกชน ตลอดจนใช้ในการเรียนการสอนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 9 ชนิด   
 1.Anti-A 
 2. Anti-B 
 3. Anti-AB 
 4. Anti-A 
 5. Anti-H   
 6.Anti HUMAN GLOBULIN SERUM 
 7. Anti-M   
 8. Anti-N 
 9. Anti-D 
   
 ฝ่ายผลิตถุงบรรจุโลหิต อุปกรณ์และน้ำยา   
 มีหน้าที่ผลิตถุงบรรจุโลหิตชนิดต่าง ๆ, น้ำยาป้องกันการแข็งตัวของโลหิต, อุปกรณ์และน้ำยาต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ ดังนี้ 
 1. ผลิตและจำหน่ายน้ำยาป้องกันการแข็งตัวของโลหิต (ACD) สำหรับเก็บโลหิตเพื่อใช้ในกิจการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ 
 2. ผลิตและจำหน่ายน้ำกลั่น สำหรับใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ และใช้ในห้องปฏิบัติการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ 
 3. ผลิตน้ำยา สำหรับใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับห้องปฏิบัติการ และจ่ายให้สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ   
 4. ผลิตและจ่ายชุดเจาะเก็บโลหิตสำหรับใช้ในกิจการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ 
 5. เตรียมอุปกรณ์ปราศจากชื้อ สำหรับใช้ในการเจาะเก็บโลหิต 
 6. ทำการฆ่าเชื้อเครื่องมือที่ใช้เฉพาะในแผนกต่างๆ ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ   
 7. จัดเตรียมเครื่องมือใช้สำหรับหน่วยเคลื่อนที่ในการออกรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่ 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:52:39
บริการโลหิต   
ถุงบรรจุโลหิตที่ผลิตโดยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ (THAI RED CROSS BLOOD BAG)
ปัจจุบันการใช้โลหิตได้มีการนำไปใช้หลายรูปแบบ นอกเหนือจากการใช้ในรูปของโลหิตรวม (Whole Blood) แล้วยังนำไป ใช้ในรูปส่วนประกอบของโลหิต (Blood Components) ซึ่งได้แก่เกล็ดเลือด (Platelet) เม็ดโลหิตแดงเข้มข้น ( Packed Red Cell) และเม็ดโลหิตขาว ( Buffy Coat) แต่การใช้ขวดแก้ว เก็บโลหิตจะทำให้ได้โลหิตในรูปโลหิตรวม และเป็นการ ไม่สะดวกในการเตรียมส่วนประกอบโลหิตจากขวดแก้วโดยใช้เครื่องปั่น การใช้ขวดแก้วจะแตกง่ายกว่า ถุงบรรจุโลหิต อีกทั้ง ส่วนประกอบโลหิตที่เตรียมจากขวดต้องนำไปใช้โดยเร็วภายใน 24 ช.ม. เพราะเป็นระบบเปิด (Opened System) แต่ถ้าใช้ ถุงบรรจุโลหิต แบบถุงคู่ (Double bag),ถุงชุด 3 ใบ (Triple Bag) หรือถุง 4 ใบ (Quadruple bag) จะเป็นระบบปิด (Closed System) ซึ่งสามารถเก็บส่วนประกอบ โลหิตได้นานและได้คุณภาพดี หากโลหิตที่ได้รับบริจาคสามารถ เก็บไว้ในถุง ทั้งหมดและสามารถนำไปแยก ส่วนประกอบโลหิตได้ทุกยูนิต จะทำให้ผู้ป่วยได้รับ โลหิตเฉพาะส่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผลในการรักษามีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เป็นการประหยัดการใช้โลหิต เพื่อให้ต้นทุนถุงบรรจุโลหิตต่ำลง และเป็น การช่วยเหลือตนเองด้วย
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจึงได้พัฒนาการผลิตถุงบรรจุโลหิตแทนขวดแก้ว ในปีพ.ศ. 2532 ได้มีการ ประชุมนโยบายระดับชาติเกี่ยวกับงานบริจาคโลหิต และที่ประชุมมีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ส่วน ประกอบโลหิตอย่าง พอ เพียงทั่วประเทศ แต่เนื่องจากถุงบรรจุโลหิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจึงได้เล็งเห็นความจำเป็นที่จะพัฒนาการผลิตถุงบรรจุโลหิต จากสภากาชาดไทย และได้รับอนุมัติ ให้ดำเนินการได้ในปีพ.ศ. 2535 โดย ได้รับงบประมาณดำเนินการ 30 ล้านบาท โดยมอบหมาย ให้ฝ่าย เตรียมเครื่องมือและน้ำยาเอ.ซี.ดี ( ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายผลิต ถุงบรรจุโลหิต อุปกรณ์และน้ำยา) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหลัง จากได้รับอนุมัติแล้วก็ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานที่ ติดตั้งเครื่องมือ และดำเนินการทดลองผลิตใน ปี พ.ศ. 2538 โดยได้รับ ความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีจากสภากาชาดประเทศออสเตรีย (Transfusion Equipment Austria Red Cross) โครงการถุงบรรจุ โลหิตแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1
- มกราคม 2538 ได้ผลิตถุงบรรจุโลหิตชนิดถุงคู่บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี (CPD Double Bag) จากถุงเปล่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
- เมษายน 2538 นำออกทดลองใช้ ( Clinical Trial) ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ระยะที่ 2
- ตุลาคม 2538 ผลิตถุงชนิดถุงเดี่ยว บรรจุน้ำยา พี.ซี.ดี ขนาด 350 มิลลิลิตร (CPD Single Bag 350 ml.) จากถุงเปล่าที่ผลิตเองและทำการทดลองใช้ ( Clinical trial) ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- 27 มีนาคม 2539 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงงานผลิตถุงบรรจุโลหิต ซึ่งเป็นโรงงานแห่งแรกในภาคพื้นเอเชียซึ่งผลิต ถุงบรรจุโลหิตโดยสภากาชาด นับตั้งแต่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้ดำเนินการผลิตถุงบรรจุโลหิตเมื่อปี พ.ศ. 2539 ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และกำลังการผลิตขึ้นเป็นลำดับ และได้ผลิตใช้แล้วจำนวน 6 ชนิดดังนี้
1. ถุงเดี่ยว บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี ขนาด 350 มล. (ซีซี)
2. ถุงคู่ บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี ขนาด 350 มล. (ซีซี)
3. ถุงคู่ บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี ขนาด 450 มล. (ซีซี)
4. ถุงชุด บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี ขนาด 450 มล. (ซีซี)
5. ถุงเดี่ยว บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี เอวัน ขนาด 350 มล. (ซีซี)
6. ถุงคู่ บรรจุน้ำยาพี.ซี.ดี เอวัน ขนาด 350 มล. (ซีซี)

รวมการผลิตได้จำนวน 951,321 หน่วย หรือแยกเป็นจำนวนถุงได้ 1,400,000 ถุง โดยไม่มีผลแทรกซ้อนใดๆ กับผู้ป่วย เมื่อนำไปใช้งาน ซึ่งสามารถ ลดต้นทุนการจัดซื้อถุงบรรจุโลหิตถึง 22 ล้านบาท โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2542 สามารถลดต้นทุนจากการจัดซื้อถุงบรรจุโลหิตประมาณ 12 ล้านบาท นอกจากนี้ยัง สามารถลดอัตราการนำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นกลไกหนึ่ง ในการควบคุมราคาถุงบรรจุโลหิตที่จำหน่ายในประเทศอีกด้วย ปัจจุบันมีอัตราการผลิตถุงประมาณ 700,000ถุง หรือเมื่อคิด เป็นถุงชุดหรือถุงเดี่ยวจะได้ประมาณ 400,000 หน่วย สำหรับแผนการผลิต ในปี พ.ศ. 2543 ได้ประมาณการผลิตว่า จะผลิต ถุง Triple Bag จาก 50,000 เป็น 120,000 หน่วย ส่วนถุงชนิดอื่นๆ ก็อาจเพิ่มได้ประมาณ 10% ซึ่งคงเพียงพอ สำหรับใช้ ภายในศูนย์ฯ และภาคบริการโลหิตเท่านั้น แต่ยังไม่เพียงพอ สำหรับทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าหากได้รับงบประมาณเครื่องมืออีก 1 ชุดพร้อมอัตรากำลังในปี พ.ศ. 2544 ก็คงสามารถผลิตใช้เพียงพอทั่วประเทศ ในปีพ.ศ.2545 เพราะ ขณะนี้มีเครื่องมือ ชุด เดียวซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแม่พิมพ์เมื่อมีการเปลี่ยนชนิดถุงที่ผลิต นอกจากนี้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติยังมี โครงการที่จะผลิตถุงชุด 4 ใบ (Quadruple bag) เพื่อใช้เตรียมเม็ดโลหิตแดงที่มีเม็ดโลหิตขาวเจือปนน้อย (Leukocyte poor packed red cell ) และเกล็ดโลหิตที่มีเม็ดโลหิตขาว เจือปนน้อย (Leukocyte poor platelet concentrate) และผลิตน้ำยาเก็บรักษาและกันโลหิตแข็งตัว ( Additive solution) เพื่อเก็บเม็ดเลือดแดงได้นานถึง 42 วันด้วย
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:53:16
บริจาคอวัยวะ 
การจัดสรรอวัยวะ

การจัดสรรหัวใจ ปอด ตับ
1. จัดสรรตามสถานะของผู้รอรับอวัยวะ ถ้าผู้รอรับมีอาการหนัก ต้องได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะด่วน จะได้รับการพิจารณาจัดสรรอวัยวะให้ก่อน
2. จัดสรรตามลำดับของโรงพยาบาลสมาชิก

การจัดสรรไต
1. ไต 1 ข้างจัดสรรให้กับผู้รอรับไตที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ
2. ไตอีก 1 ข้างจัดสรรตามลำดับของโรงพยาบาลสมาชิก
การจัดสรรไตนี้จะพิจารณาจากการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ ระยะเวลาในการรอรับไต
อายุผู้รอรับไต และระดับภูมิต้านทานต่อชนิดของเนื้อเยื่อ ซึ่งคำนวณโดยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ที่มีคะแนนสูงสุดและผลการตรวจความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อผ่านจึงจะได้รับการจัดสรรไตให้
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:53:48
บริการดวงตา 
กระบวนการจัดเก็บดวงตาจากผู้บริจาค มีขั้นตอนดังนี้

1. ต้องรีบดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามปกติไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมงหลังผู้บริจาคเสียชีวิต
2. พิจารณาสาเหตุการตาย ผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่อาจติดต่อถึงผู้รับดวงตาได้ จะไม่ทำการจัดเก็บ
3. เมื่อพิจารณาตามข้อ (2) แล้วเห็นว่าสมควรเก็บดวงตาจึงทำการผ่าตัดเก็บดวงตา
4. ทำการเจาะเก็บตัวอย่างโลหิตของผู้บริจาคมาส่งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
์ 5. ให้จักษุแพทย์ตรวจดูสภาพกระจกตาของดวงตาที่เก็บมาได้และบันทึกรายละเอียด
6. จากข้อ (4 )หากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างโลหิตเป็น บวก ต้องทำลายดวงตา
7. เมื่อผลวิเคราะห์ตัวอย่างโลหิตเป็นลบจึงดำเนินการขั้นต่อไป คือ
8. ทำการผ่าตัดแยกส่วนดวงตาภายในสภาวะปลอดเชื้อ (ทำในห้องผ่าตัดหรือตู้ปลอดเชื้อ)
9. ตัดกระจกตาโดยมีตาขาวติดโดยรอบประมาณ 2 - 3 ม.ม. แช่ในภาชนะโปร่งใสบรรจุน้ำยา Optisol 20 มิลลิลิตร
แล้วส่งไปตรวจวิเคราะห์จำนวนเซลล์หลังกระจกตา
10. บันทึกข้อมูลของดวงตาบริจาคลงในแบบฟอร์ม
11. นำดวงตาทีตรวจนับเซลล์หลังกระจกตาแล้ว ตามข้อ(9) เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซีลส
ซึ่งพร้อมที่จะนำส่งให้จักษุแพทย์ตามลำดับที่จองคิวไว
12. นำส่วนตาขาวมาตัดเยื่อบุตา กล้ามเนื้อตา ประสาทตา นำแก้วตา น้ำวุ้น จอประสาทตา
และยูเวียออกให้หมด ทำความสะอาดตาขาวด้วยผ้ากอซ แล้วเก็บรักษาโดยวิธี
SilicaDessication แช่ใน Zephiran Chloride Solution แล้วจุ่มใน Xylod,
เก็บโดยใช้ 95% Glycerine และ Molecular Sieve ของSodium และ
Calcium Alumnosilicates แช่ใน Absolute Alcoshol หรืออาจเก็บแช่ใน 70% Alcohol ก็ได้
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:54:38
บริการดวงตา 
กระจกตาแช่น้ำยา Optisol

หลังจากผ่านกระบวนการจัดเก็บดวงตาแล้ว จะได้กระจกตาที่มีตาขาวติดโดยรอบประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร แช่อยู่ในภาชนะโปร่งใส บรรจุน้ำยา Optisol จำนวน 20 มิลลิลิตร ศูนย์ดวงตาจะนำกระจกตานี้เข้าเครื่องวิเคราะห์ นับจำนวน เซลล์หลังกระจกตาเพื่อชี้วัดสภาพความสมบูรณ์ของกระจกตา ควบคู่ไปกับการตรวจสภาพกระจกตาก่อนการตัดแช่น้ำยา Optisol รายละเอียดทั้งหลายจะถูกบันทึกไว้เป็นข้อมูลพร้อมที่จะส่งดวงตาให้จักษุแพทย์ที่ทำการ ขอจองดวงตาไว้ให้ผู้ป่วย การเก็บรักษาวิธีนี้สามารถ รักษาสภาพกระจกตาไว้ได้นานประมาณ 14 วัน แต่อย่างไรก็ตาม หากนำไปใช้ทำผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาให้ผู้ป่วยได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งดี การนำดวงตาส่งให้จักษุแพทย์ศูนย์ดวงตาจะเป็นผู้จัดส่งให้ทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบันศูนย์ดวงตาขอเรียกเก็บค่าน้ำยา Optisol พร้อมทั้งภาชนะโปร่งใสบรรจุกระจกตาซึ่งสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ จากผู้ป่วยในราคา 5,000.00 บาท ศูนย์ดวงตาจะออกใบเสร็จค่าน้ำยาให้ผู้ป่วยซึ่งสามารถนำไปเบิกจากสวัสดิการของราชการได้ แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดสามารถจ่ายได้เพียงบางส่วนหรือไม่สามารถจ่ายได้ จักษุแพทย์จะต้องให้สังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลนั้น ๆ เป็นผู้ออกหนังสือรับรองฐานะของผู้ป่วย.

กระจกตาแช่ Glycerine

ตามกระบวนการจัดเก็บดวงตา เมื่อแพทย์พบว่ากระจกตาของผู้บริจาคไม่สมบูรณ์พอที่จะนำไปใช้ปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยได้ เช่น เพราะอายุของผู้บริจาคสูงมาก จำนวน Cell หลังกระจกตาน้อยเกินไป แพทย์ก็อาจตัดกระจกตาแช่ใน Glycerine เพื่อเก็บกระจกตาไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน การเก็บกระจกตาวิธีนี้ กระจกตาจะเหลือแต่เพียงโครงสร้าง เซลล์หลังกระจกตาจะถูกทำลายไป การนำไปใช้ ใช้สำหรับกรณีผู้ป่วยกระจกตาทะลุและไม่สามารถหากระจกตา ที่มีสภาพดีมาปลูกเปลี่ยนได้ ก็จำเป็นต้องใช้กระจกตา แช่ในGlycerine ไปใช้ทำการผ่าตัดเพื่อรักษาดวงตาของผู้ป่วยไว้ และเมื่อมีกระจกตาสภาพ ดีถ้าจะทำการผ่าตัดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หรือใช้กรณีการเปลี่ยนกระจกตาเป็นบางชั้น (Lamellar Keratoplasty) หลังจากผ่านกระบวนการจัดเก็บดวงตาแล้ว จะได้กระจกตาที่มีตาขาวติดโดยรอบประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร
ปัจจุบันศูนย์ดวงตาคิดค่าการเตรียมกระจกตาแช่ Glocerime จากผู้ป่วยในราคา 500.00 บาท.

ตาขาว

หลังจากผ่านกระบวนการจัดเก็บดวงตาและแพทย์นำกระจกตาแช่ในน้ำยา OPTISOL เพื่อนำไปใช้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาให้ผู้ป่วยแล้ว แพทย์จะนำส่วนตาขาวมาตัดเยื่อบุตา กล้ามเนื้อตา ประสาทตา นำแก้วตา น้ำวุ้น จอประสาทตาและยูเวียออกให้หมด ทำความสะอาดตาขาวด้วยผ้ากอซ แล้วเก็บรักษาโดยวิธี Silica Dessication, แช่ใน Zephiran Chloride Solution แล้วจุ่มใน Xylol, เก็บโดยใช้ 95% Glycerine และ Molecular Sieve ของSodium และ Calcium Aluminosilicates, แช่ใน Absolute Alcoshol หรืออาจเก็บแช่ใน 70% Alcohol ก็ได้ คุณสมบัติของตาขาว
1. เป็นเนื้อเยื่อจากคนด้วยกันจึงทำให้มีการรับกันได้เมื่อนำไปใช้ผ่าตัดให้ผู้อื่น
2. มีความแข็งแรงมาก ทำให้เหมาะในการใช้หมุนส่วนต่าง ๆ ของตา
3. สามารถเก็บรักษาไว้ได้ง่ายและนาน และนำมาใช้ได้สะดวก
4. ไม่มีปฏิกริยาต่อต้านหรือปฏิกริยาอื่น ๆ เนื้อเยื่อของผู้รับจะทนทานต่อตาขาวที่นำไปใส่ให้ได้ดี
5. ตัดเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ง่ายตามที่ต้องการ
6. สามารถหาได้จากศูนย์ดวงตาเมื่อจะนำตาขาวไปใช้ในการทำผ่าตัด ให้นำตาขาวออกจากขวดน้ำยาที่เก็บ แล้วแช่ในน้ำเกลือ 5 - 10 นาที ตาขาวจะกลับเป็นสีขาว บิดงอได้ง่าย และกลับสู่สภาพเดิมเหมือนตอนแช่น้ำยาไว้ใหม่ ๆ จากนั้นนำมาแช่ในน้ำยาปฏิชีวนะอีก 5 - 10 นาที แล้วนำมาล้างด้วยน้ำเกลืออีกครั้งก็พร้อมที่จะนำไปใช้ได้
ปัจจุบันศูนย์ดวงตาคิดค่าจัดเตรียมตาขาวสำหรับใช้ในการรักษาโรคตา ราคาชิ้นละ 500.00 บาท.

เยื่อหุ้มรก Amniotie Humbrane

เยื่อหุ้มรกเป็นส่วนเยื่อบางใสที่หุ้มห่อทารกและน้ำคร่ำ เมื่อเด็กอยู่ในครรภ์มารดาภายหลังเมื่อเด็กคลอดออกมา เยื่อหุ้มรกก็จะเหลือค้างติดกับรก และออกมาเมื่อรกคลอด ปกติเป็นส่วนที่มักจะทิ้งไปพร้อมกับรก เนื่องจากไม่ได้นำใช้ประโยชน์ ส่วนประกอบในเยื่อหุ้มรกมี 2 ส่วน ได้แก่ส่วนของเซลล์และแผ่นฐานรองรับเซลล์ ที่เรียกว่า basement membrane และส่วนของเนื้อเยื่อผูกพันที่อยู่กันอย่างหลวม ๆ และมีสารหลายอย่างละลายอยู่ข้างใน
ในสมัยก่อน มีการนำเอาเยื่อหุ้มรกมาใช้ทางการแพทย์หลายอย่าง เช่น นำมาผ่าตัดในช่องท้อง ใช้ปกปิดแผล ที่เกิดที่ผิวหนังจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ใช้เป็นเนื้อเยื่อทดแทนเนื้อเยื่อที่ขาดหายไป ทั้งนี้เนื่อจากพบคุณสมบัติที่สำคัญของเยื่อหุ้มรกคือ สามารถลดอาการปวด การอักเสบและลดปริมาณเส้นเลือดผิดปกติที่งอกเข้ามา ช่วยสมานแผลให้หายเร็ว
โรคทางตาอะไรบ้างที่ใช้เยื่อหุ้มรกรักษาได้
ในทางจักษุวิทยา มีโรคกลุ่มหนึ่งที่เป็นปัญหาในการรักษาของจักษุแพทย์มาโดยตลอด โรคกลุ่มนี้คือโรคของผิวดวงตา ที่เรียกว่า ocular surface disease โรคชนิดนี้จะทำให้เกิด แผลเรื้อรังของกระจกตา ตามมาด้วยเกิดแผลเป็น มีเส้นเลือดใหม่งอกเข้าไปในกระจกตา ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ ระคายเคืองตาเรื้อรัง และแผลเป็นที่เกิดขึ้นก็ทำให้การมองเห็นน้อยลงเรื่อย ๆ ในสมัยก่อน การรักษาก็มักจะเป็นการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ซึ่งสามารถทำให้กระจกตาใสขึ้นและมองเห็นขึ้น แต่เป็นอยู่ได้ในช่วงสั้น ๆ เนื่องจากโรคเองไม่ได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ ก็จะกลับเป็นแผลเป็นขึ้นมาใหม่ นอกจากนั้น เส้นเลือดที่งอกเข้าไปในกระจกตาก็จะนำเอาภูมิคุ้มกันร่างกายเข้าไปต่อต้านกระจกตาที่เปลี่ยนใหม่ทำให้เกิดกระจกตาบวมขึ้น และผู้ป่วยกลับไปมองไม่เห็นเหมือนเก่า ตัวอย่างของโรคประเภทนี้ได้แก่ โรคกระจกตาขุ่นที่เกิดตามหลัง สารเคมีเข้าตา ถูกของร้อน การอักเสบจากการแพ้ยาอย่างรุนแรง การใช้คอนแทคเลนส์ การติดเชื้อของกระจกตา เป็นต้น
วิวัฒนาการปัจจุบัน ทำให้การค้นพบว่า เมื่อนำเยื่อหุ้มรกไปผ่าตัดลงบนตาของผู้ป่วยโรคผิวดวงตามีผลช่วยในการสมานแผล ลดการอักเสบ ผิวดวงตากลับมาใสขึ้น ปราศจากเส้นเลือด ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยบางราย กระจกตาอาจใสขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาใหม่ และ ในรายที่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ก็จะทำให้สภาพของดวงตาสงบลงเพิ่มความสำเร็จในการผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น เยื้อหุ้มรกยังสามารถใช้เป็นเนื้อเยื่อทดแทน ในการผ่าตัดโรคบางชนิด เช่น ต้อเนื้อ การใช้เยื่อหุ้มรกก็จะช่วยลดการเกิดต้อเนื้อซ้ำเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบลอกออกธรรมดา
ในอนาคต จักษุแพทย์กำลังทำการวิจัยเพื่อศึกษาประโยชน์ใหม่ ๆ ที่จะได้จากการนำเยื่อหุ้มรกไปใช้
จะติดต่อขอรับเยื่อหุ้มรกได้ที่ไหน
ปัจจุบันศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย เป็นผู้จัดเตรียมเยื่อหุ้มรกและสามารถจะให้บริการไปยังโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยบริการใหม่นี้ ก็จะให้ความสะดวกแก่ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางตา ศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทยคิดค่าน้ำยาแช่ เยื่อหุ้มรกในราคาขวดละ 500.00 บาท
ส่วนในรายที่ต้องการให้จัดส่งถึงที่จะคิดค่าจัดส่งเพิ่มขึ้นตามระยะทางและวิธีการจัดส่ง.


 
 กรุณาติดต่อ>> ศูนย์ดวงตา


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:55:37
บริการดวงตา 
การจ่ายดวงตาอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

เมื่อศูนย์ดวงตาได้รับแบบฟอร์มการขอรับดวงตาจากศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ซึ่งจักษุแพทย์ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เป็นผู้ส่งเข้ามาเพื่อขอจองดวงตาให้ผู้ป่วย ศูนย์ดวงตาจะพิจารณาแยกผู้ป่วยเป็นลักษณะต่าง ๆ แยกใบขอจองดวงตาเป็น 6 แฟ้ม (F) แต่ละแฟ้มเรียงตามลำดับที่ศูนย์ฯได้รับใบจอง ดังนี้
ผู้ป่วยต้องการดวงตาด่วนมาก หมายถึง ผู้ป่วยโรคกระจกตาซึ่งจำเป็นต้องรับการเปลี่ยนกระจกตาด่วนหรือฉุกเฉิน ได้แก่ ภาวะกระจกตาทะลุ ไม่ว่าจากสาเหตุใด เช่น การติดเชื้อ การอักเสบ เป็นต้น
ผู้ป่วยต้องการดวงตาด่วน หมายถึง ผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคกระจกตาที่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาตามการจัดลำดับทั่วไปเหมือนผู้ป่วยในประเภทที่ 4 แต่เกิดมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างขึ้นซึ่งหากรอนานจะมีผลเสียต่อสายตาอย่างถาวร จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเร็วขึ้นกว่าเดิม ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ได้แก่ เกิดต้อหินร่วมด้วย หรือเกิดต้อกระจกสุกเต็มที่ เป็นต้น
ผู้ป่วยสายตาพิการทั้ง 2 ข้าง หมายถึง ผู้ป่วยที่มีโรคทางตาทั้ง 2 ข้าง ทำให้มองไม่เห็นและไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันเป็นปกติได้
ผู้ป่วยที่ต้องการดวงตาไม่ด่วน หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระจกตาเพียงข้างใดข้างหนึ่งแต่ยังมีตาอีกหนึ่งข้างมองเห็นได้ดี สามารถช่วยเหลือตนเอง และดำเนินชีวิตเป็นปกติได้
ผู้ป่วยเด็ก เป็นการจัดลำดับของผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมีอายุน้อยกว่า 15 ปี
ผู้ป่วยโรคขอบตาดำ เป็นการจัดลำดับของผู้ป่วยซึ่งต้องการรับผ่าตัดโดยใช้เพียงส่วน LIMBUS ของกระจกตานำมาเปลี่ยนให้เท่านั้น ได้แก่ ผู้ป่วยโรคบางชนิดที่มีข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดวิธีนี้ เช่นโรคกระจกตาถูกสารเคมี กรด ด่าง เป็นต้น เมื่อศูนย์ดวงตาเก็บดวงตาได้และผ่านกระบวนการต่าง ๆ แล้ว แพทย์ผู้อำนวยการจะพิจารณาว่าดวงตาที่เก็บได้นั้น สมควรใช้กับผู้ป่วยในแฟ้ม(F)ใด ก็จะจ่ายให้ผู้ป่วยตามคิวในแฟ้มนั้นการพิจารณาจะคำนึงถึงความเท่าเทียมและเป็นธรรมที่สุด.
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:56:31
วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5606

ร่วมบริจาคอวัยวะ สร้างปาฏิหาริย์ชีวิตใหม่

ในชีวิตของคนเรา คงไม่มีใครต้องการอยู่คนเดียวโดยปราศจากครอบครัว และบุคคลที่ตนรัก แต่บางครั้งบางชีวิตก็ต้องพบเจอกับปัญหาที่ทำให้พลัดพรากจากกันไป บางคนอาจจากกันเพียงชั่วคราว แต่บางคนโชคร้ายต้องจากกันอย่างถาวร แต่ความโหดร้ายก็ไม่ได้ย่างกรายไปสู่ทุกคนเสมอไป ในความโชคร้ายเราอาจเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในชีวิต และเป็นปาฏิหาริย์ที่น้อยคนจะได้รับ

น.พ.วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เผยว่า การรักษาผู้ป่วยที่อวัยวะสำคัญเสื่อมสภาพด้วยการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังในชีวิตได้มีโอกาสพบกับชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่กว่าจะปลูกถ่ายอวัยวะสำเร็จลงได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งการประสานงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการที่ดี

ปัจจัยสำคัญที่สุดคือการได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้ป่วยสมองตาย ได้แก่ผู้ป่วยที่แกนสมองถูกทำลายโดยสิ้นเชิงและถาวรไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมาได้ ถือได้ว่าเสียชีวิตแล้ว แต่ด้วยความไม่เข้าใจ ความเชื่อของญาติผู้เสียชีวิตสมองตาย การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะของแพทย์และพยาบาล รวมทั้งสาธารณชนทั่วไป ทำให้การบริจาคอวัยวะในประเทศไทยยังมีน้อยมาก จึงเกิดปัญหาการขาดแคลนอวัยวะบริจาคขึ้น

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อรอคอยรับน้ำใจที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ด้วยกันเพื่อให้ทุกคนได้ทำความดีแม้ในยามที่ชีวิตสิ้นสูญไปแล้ว โดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2537 และได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้วันที่ 2 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันก่อตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ

12 ปีที่ผ่านมา ถือว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ได้รับบริจาคอวัยวะจากผู้เสียชีวิตสมองตายมากขึ้น รวมทั้งมีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเพิ่มขึ้นด้วย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการอวัยวะสำหรับปลูกถ่ายแล้ว ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะยังเป็นปัญหาใหญ่ แต่เชื่อว่าด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคไปได้ และทำให้การบริจาคอวัยวะเป็นสิ่งที่สังคมตระหนักและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

สำหรับผู้ที่มีจิตกุศลที่แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ (1 ก.พ.2537 - 31 ม.ค.2549) มี 385,655 คน มีผู้เสียชีวิตที่บริจาคอวัยวะ 652 คน มีผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะโดยการจัดสรรของศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จำนวน 2,304 คน แยกเป็นไต 1,170 คน ตับ 196 คน หัวใจ 60 คน หัวใจ-ปอด 22 คน ปอด 32 คน ไต-ตับ 3 คน ลิ้นหัวใจ 279 คน กระดูก 35 คน เส้นเลือด 3 คน และผิวหนัง 1 คน และดวงตาโดยมอบให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยจัดสรรอีก 503 ดวง

นางเบญจวรรณ ชาญชัยชนะพันธ์ อายุ 42 ปี ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะไต ถ่ายทอดให้ฟังว่า เคยป่วยด้วยโรคไตอักเสบเรื้อรัง ต้องฟอกเลือดอยู่ปีกว่าแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น ที่สำคัญค่าใช้จ่ายสูง แต่ละเดือนต้องใช้เงินเป็นหมื่นในการฟอกเลือดโดยยังไม่รวมค่ายาอื่นๆ และยังต้องเลี้ยงดูลูกอีก 2 คนตามลำพัง ตอนนั้นขายของอยู่ที่ตลาดสดบางกะปิ เมื่ออาการหนักก็ต้องหยุด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ต้องกู้ยืมมาจนเป็นหนี้สินจนถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะแล้วก็เหมือนชีวิตเปลี่ยนไปมาก สภาพร่างกายปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ จนตอนนี้ปกติดีแล้ว สามารถทำงานได้ ผ่านมา 1 ปีกว่าแล้วที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ รู้สึกว่าตัวเองโชคดีเหมือนได้เกิดใหม่อีกรอบ สิ่งที่จะทดแทนให้กับผู้ที่บริจาคอวัยวะให้เราได้ก็คือตอนนี้ก็จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขา

น.ส.อัศมา ธีรเชษฐมงคล อายุ 52 ปี บอกว่า เป็นโรคไตมาตั้งแต่อายุ 20 ปี ที่ผ่านมาฟอกเลือดมานาน 5 ปี สัปดาห์ละ 2 ครั้งรวมค่าใช้จ่ายแล้ว 5 หมื่นกว่าบาทต่อเดือน ผ่านชีวิตเกือบตายมาถึง 2 ครั้งเพราะมีอาการน้ำท่วมปอด หายใจไม่ออก แต่หลังจากได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะไตเมื่อปี 43 แล้วอาการก็ดีขึ้นจนรู้สึกแข็งแรงตามปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รู้สึกซาบซึ้งมากกับผู้ที่ได้บริจาคอวัยวะให้ผู้อื่นเพราะถ้าไม่มีเขาก็ไม่มีเรา ทำให้เราคิดได้ว่าเมื่อสามารถทำอะไรที่ตอบแทนสังคมได้ก็จะทำ เชื่อว่าการบริจาคอวัยวะถือเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว เมื่อเราเคยได้เป็นผู้รับก็คิดที่จะเป็นผู้ให้ต่อไป อนาคตก็หวังที่จะบริจาคอวัยวะด้วยรวมถึงตอนนี้ก็ได้พยายามเชิญชวนคนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะอวัยวะอื่นอย่าง หัวใจ ตับ ปอด ที่ยังมีความต้องการสูงและผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมาน บางรายรอไม่ไหวเพราะยังไม่มีอวัยวะจนต้องจากไป แต่ผู้ป่วยไตถือว่ายังโชคดีกว่าที่ระหว่างรอยังสามารถรักษาด้วยวิธีอื่นไปก่อนได้

น.ท.ทินกร พันธุ์กระวี อายุ 88 ปี ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะลิ้นหัวใจเมื่อ 2 ปีก่อน บอกว่า ก่อนหน้านี้มีหินปูนมาเกาะลิ้นหัวใจก็เคยเปลี่ยนหัวใจมาแล้ว 1 ครั้งโดยตอนนั้นใช้ลิ้นหมูซึ่งแพทย์สั่งมาจากต่างประเทศ จนปลายปี 46 ก็มีอาการลิ้นหัวใจทำงานไม่เต็มที่ประกอบกับช่วงนั้นที่คลังอวัยวะมีหัวใจขนาดพอเหมาะกับเราพอดีหมอจึงตัดสินใจทำให้ ขณะนี้ร่างกายก็แข็งแรงดีแต่ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอซึ่งรู้สึกซาบซึ้งน้ำใจของคนที่บริจาคอย่างมาก ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือตรงนี้คงแย่มาก ที่ผ่านมาก็เน้นเรื่องทำบุญมากขึ้นทั้งการทำบุญให้คนที่ช่วยเราและการช่วยเหลือสังคมโดยให้ทุนการศึกษาและบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลต่างๆ

นางกมลรัตน์ ชัยวัฒนไชย ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยะทั้งตับและไต กล่าวว่า เคยเปลี่ยนไตเมื่อปี 47 แต่ภายหลังมีปัญหาเส้นเลือดโป่งในสมองจนตาปิดไปข้างหนึ่งและต้องผ่าสมองจากนั้นก็มีอาการตับแข็งร่วมด้วย หมอจึงเปลี่ยนทั้งตับและไตพร้อมกัน ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกของเอเชียที่ทำสำเร็จ รู้สึกว่าชีวิตที่มีอยู่ทุกวันนี้มันยิ่งกว่าเกิดใหม่ ถ้าเราไม่ได้อวัยวะจากคนที่ช่วยบริจาคในตอนนั้น ตอนนี้ชีวิตเราก็คงไม่มีแล้ว ซึ่งความเชื่อที่ว่าหากบริจาคอวัยวะแล้วเกิดชาติหน้าจะมีอวัยวะไม่ครบนั้นถือว่าไม่เป็นความจริงเพราะในเมื่อเราได้ทำบุญที่ยิ่งใหญ่มากผลบุญก็จะทำให้ชีวิตเราดีแน่นอน

ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ยังรอการปลูกถ่ายอวัยวะอยู่อีก 1,838 คน ดังนั้น ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย จึงยังคงรอคอยน้ำใจจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่ตลอดเวลา

สำหรับผู้ที่ต้องการแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ติดต่อได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 1666 และ 0-2256-4045-6 เพื่อแจ้งชื่อและที่อยู่ให้เจ้าหน้าที่ส่งแบบฟอร์มผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไปให้ท่านถึงบ้านโดยทางไปรษณีย์ หรือหากท่านสะดวกเดินทางมาเองที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวรฯ ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:57:19
บริจาคดวงตาชาติหน้าจะตาบอด

--------------------------------------------------------------------------------
....คัดจากหนังสือหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ...

คำถาม
1. ผู้ที่บริจาคดวงตาให้กับโรงพยาบาลมีอานิสงส์ไหม
2. เมื่อบริจาคดวงตา ถ้าเป็นบุญบารมี จะเป็นปัจจัยให้ได้ดวงตาเห็นธรรมได้หรือเปล่า
3. จะเป็นอานิสงส์ให้ได้ถึงฌานสมาบัติได้ไหมสุดท้ายพระนิพพานด้วย
4. สมมติผู้บริจาคมีศรัทธา บริจาคมอบให้โรงพยาบาลแล้ว อยู่มาอีกเป็นสิบปีจึงสิ้นชีวิต ลูกหลานเกิดเบี้ยว
หรือไม่ยอมบอกให้หมอมาเอาดวงตา หรือลูกหลานลืมไม่ได้นึกถึงจึงไม่ได้เรียกหมอมาเอาดวงตา
กรณีเช่นนี้ผู้ตาย หรือผู้บริจาคจะได้บุญ หรืออานิสงส์ไหม
5. มีผู้คนเขาพูดว่าให้ดวงตาเขาไปแล้ว เมื่อไปเกิดชาติหน้าภพหน้าจะเป็นคนพิการ หรือไม่
6. บางคนก็ว่าสละดวงตาไปแล้วเป็นวิญญาณก็ดี หรือเป็นผี และไปเกิดในภพสัมภเวสีจะไม่มีลูกตา
ดวงตา จริงหรือไม่
7. เมื่อหมอเอาดวงตาไปแล้วใส่ให้ผู้อื่นเกิดใช้ไม่ได้ และดวงตานั้นเกิดเสียหาย หรือหมอทำผิดพลาด
ด้วยเหตุใดๆ ก็ดี จนดวงตาที่เอาไปนั้นใช้ไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ผู้สละดวงตาจะได้อานิสงส์ไหม
8. ผู้ที่บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล เพื่อให้บรรดาหมอ และพยาบาลไปเรียนหรือศึกษาจะได้อานิสงส์
ผลบุญหรือไม่อย่างไรเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว และชาติเบื้องหน้า
9. เมื่อบริจาคดวงตา และร่างกายให้โรงพยาบาลโดยได้ทำการจดชื่อลงชื่อมอบให้แล้วกลับมาบ้านจะ
นิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญบ้าน แล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ผู้บริจาคได้
ทำเอาไว้กับสัตว์นั้นจะได้ หรือไม่ จะถูกต้องหรือไม่
10. ถ้าถูกต้องทำได้ และถ้าทำบุญกรวดน้ำ ที่ได้บริจาคดวงตา หรือร่างกายไปแล้วภายหลังลูกหลานหรือ
หมอโรงพยาบาลเกิดทำผิดพลาด หรือลืมไป ไม่ได้เอาดวงตาร่างกายไปทำประโยชน์ดังที่ผู้บริจาค
ตั้งใจไว้ เมื่อผู้นั้นได้สิ้นชีวิตไปแล้ว เช่นนี้จะเป็นเวรเป็นกรรมเป็นบาปแก่ผู้บริจาค และลูกหลาน
ต่อไปหรือไม่ประการใด เพราะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแล้ว
11. กระผมอยากทราบว่า สมัยพระพุทธโคดม ท่านยังทรงพระชนม์อยู่พระอรหันต์ที่เป็นภิกษุณีองค์
แรกคือใคร มีพระนามว่ากระไรครับ

คำตอบ
1. ผู้บริจาคดวงตาให้กับโรงพยาบาล มีอานิสงส์มาก
2. เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้กุศลเป็นส่วนไหนนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับผู้ปรารถนานายกอุทาหรณ์ เช่น
นางอุบลวรรณถวายดอกบัวต่อพระปัจเจกฯ แล้วก็ปรารถนาว่า ข้าพเจ้าเกิดมาในภพใดชาติใด
ขอให้สีกายเหมือนดอกบัว และก็ได้รับผลอย่างนั้นจริง จนได้ชื่อว่าอุบลวรรณานั่นเอง
คำว่าอุบลแปลว่าดอกบัว คำว่าวรรณาแปลว่าผิพรรณ สีกายเหมือนดอกบัวอยู่ห้าร้อยชาติติดๆ กัน ดังนี้
ส่วนที่จะได้ดวงตาเห็นธรรม หรือไม่นั้นก็ต้องอธิษฐานว่า " ขอให้ข้าพเจ้าได้ดวงตาเห็น
ธรรม " อย่างนี้ก็จะได้จริงสมคำดังปรารถนาดังผลทาน
3. จะเป็นอานิสงส์ให้ได้ถึงฌาน หรือไม่นั้น มันก็ขึ้นกับคำปรารถนาดังกล่าวแล้วนั้นเองตลอดทั้ง
พระนิพพานด้วย
4. ในกรณีที่ตกลงบริจาคไว้แล้วไม่ได้พลิกคืนก็เท่ากับว่าบริจาคแล้ว ก็ต้องได้บุญซิ
5. ให้ดวงตาเขาไปแล้ว เกิดชาติหน้าไม่พิการ เพราะเชื่อผลศีลผลทาน เพราะผลศีลผลทานไม่ทำให้คน
มีรูปขี้เหร่
6. และผู้ที่ไปเกิดไม่มีดวงตานั้น เป็นผู้มีบุพกรรมแต่ชาติก่อนเป็นต้นว่าได้ทำตาให้เขาบอดเป็นต้น
เช่นพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ตาบอด เพราะได้ไปวางยาให้เขาตาบอด เพราะโกรธว่าเขา
ไม่ให้ค่ารักษา ที่เรารักษาตาให้หายแล้ว อันนี้พูดย่อเต็มที ในชีวประวัติของพระจักขุบาลยืดยาวนัก
7. เมื่อหมอเอาตาไปแล้วใส่ให้ผู้อื่นเกิดใช้ไม่ได้ หรือดวงนั้นเกิดเสียหาย หรือหมอทำผิดพลาดใดๆ
ก็ดีจนดวงตาที่เอาไปนั้นใช้ไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ผู้สละดวงตาก็ได้ผลตามเดิม เพราะจิตใจไม่ได้
พลิกคืนว่าจะไม่ให้
8. ผู้ที่ทานร่างกายให้โรงพยาบาลเพื่อให้บรรดาหมอ และพยาบาลไปเรียน หรือศึกษาก็ต้องได้บุญ
เต็มส่วนของเจตนานั้นๆ
9. เมื่อบริจาคดวงตา และร่างกายให้โรงพยาบาลโดยไปทำการจดชื่อลงชื่อมอบให้แล้วมาบ้าน
นิมนต์พระมาทำบุญ แล้วกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ที่ผู้บริจาคได้ทำเอาไว้กับ
สัตว์ จะได้หรือไม่นั้นก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก เขาจะได้รับ หรือไม่ได้รับก็เป็นการเสี่ยงบุญ
เพราะเขาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ถ้าหากว่าเขาเป็นเปรตสัมภเวสีเขาจึงจะได้รับ ส่วนเขาจะได้รับ
หรือไม่นั้นผลของบุญมาหาเราตามเดิม ถึงแม้เขาจะจองเวรเราอยู่ก็ตามผลบุญส่วนนั้น
ก็ต้องมาหาเราอยู่ ในบาลีจึงยืนยันว่า " ปัตติทานมัย " บุญสำเร็จด้วยการให้บุญ ดังนี้…
10. ถ้าเราบริจาคแล้ว ผู้อยู่ข้างหลังไม่ทำตามคำสั่งเสีย ก็เป็นความผิดของเขา แต่เราได้บุญตามเดิมอยู่
ผู้เขาลืมเขาก็ต้องเป็นบาปบ้าง
11. นางภิกษุณี องค์แรก คือนางปชาบดีโคตมี เป็นพระอรหันต์ก่อนเพื่อน
ที่มา http://www.geocities.com/pralaah/otherQ16_20.htm (http://www.geocities.com/pralaah/otherQ16_20.htm)


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:58:05
http://www.redcross.or.th/donation/moneydonate.php4 (http://www.redcross.or.th/donation/moneydonate.php4)

บริจาคเงินให้สภากาชาดไทย
สิทธิประโยชน์พิเศษจากการบริจาค นอกจากเป็นกุศลบุญของผู้บริจาคแล้ว สภากาชาดไทยยังมอบสิทธิประโยชน์พิเศษแก่ท่าน ดังนี้
บริจาคเงินหรือสิ่งของ  สิทธิที่จะได้รับ 
20,000 บาท (สองหมื่นบาท)  ได้รับสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์ 1 ท่าน
200,000 บาท (สองแสนบาท)  ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 2 จำนวน 1 ท่าน หรือได้รับสิทธิสมาชิก กิตติมศักดิ์ 
400,000 บาท (สี่แสนบาท)  ได้รับพระราชทาน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 จำนวน 1 ท่าน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หรือได้รับสิทธิสมาชิกกิตติมศักดิ์ 
ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย
1. ได้รับลดหย่อน ค่าห้องพิเศษ ค่าผ่าตัด และค่าผ่าตัดคลอดบุตรกึ่งหนึ่ง ของอัตราที่กำหนด เมื่อเข้ารับการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จตพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชาของสภากาชาดไทย และได้รับลดหย่อน ค่ารักษาพยาบาล ตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
2. ประดับเข็มได้ทั่วไป และประดับเข็มเข้าชมงานกาชาดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบัตรผ่านประตู
3. กรณีที่ท่านเป็นสมาชิกสภากาชาดไทย ไม่ว่าประเภทใด ทั้งสามีและภรรยา บุตรธิดาของท่าน ที่มีอายุที่ต่ำกว่า 12 ปี จะได้รับสิทธิตามข้อ 1 ด้วยเช่นกัน
 
กรุณาเลือกรูปแบบการบริจาคเงิน
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พิมพ์แบบฟอร์มการบริจาคเงิน(เพื่อนำไปชำระเงินทางธนาคาร)
 
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:58:48
บริจาคโลหิต
เนื่องจากโลหิตเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ให้อยู่รอด นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามค้นคว้ามาเป็นเวลานาน แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการหาสารประกอบอื่น ๆ ที่มาทดแทนโลหิตได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้โลหิตจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการบริจาคนั่นเอง
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเลย เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ซึ่งร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้
ผู้บริจาคโลหิตสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไป ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาในรูปของปัสสาวะ อุจจาระ หรือเหงื่ออยู่แล้ว การบริจาคโลหิตใช้เวลาประมาณ 15 นาที ท่านจะได้รับการเจาะเก็บโลหิตและบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

โลหิตคืออะไร
โลหิตมีส่วนที่เป็นน้ำ เรียกว่า น้ำเหลือง มีสีเหลืองอ่อนใสมีโปรตีนและปัจจัยการแข็งตัวของเลือดและส่วนที่เป็นเม็ดโลหิตซึ่งมีเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก ซึ่งได้แก่ กระดูกแขน กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง กระโหลกศีรษะ กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายของมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000-5,000 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) หรือสามารถคำนวณง่ายๆ คือ
น้ำหนักตัวสุทธิ x 80 = ปริมาณโลหิตที่มีในร่างกายโดยประมาณ (หน่วยเป็น ซี.ซี.)
โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ
1. เม็ดโลหิต จะมีอยู่ประมาณ 45 % ของโลหิตทั้งหมด ซึ่งมี 3 ชนิด คือ
- เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงออกซิเจนเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ใช้สันดาปอาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 120 วัน
- เม็ดโลหิตขาว ทำหน้าที่ปกป้องและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารที่เป็นอันตรายอื่นๆ ซึ่งเปรียบเหมือนทหารป้องกันประเทศ เม็ดโลหิตขาวมีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 10 ชั่วโมง
-เกล็ดโลหิต ทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวตรงจุดที่มีการฉีกขาดของเส้นโลหิต มีอายุการทำงานในกระแสโลหิต ประมาณ 5-10 วัน
2. พลาสมา (Plasma ) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง จะมีอยู่ประมาณ ร้อยละ 55 ของโลหิตทั้งหมด มีหน้าที่ควบคุมระดับความดันและปริมาตรของโลหิตป้องกันเลือดออก และเป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย พลาสมานี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำประมาณ 92 % และส่วนที่เป็นโปรตีนประมาณ 8 % ซึ่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่
- แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือดและเนื้อเยื่อ
- อิมมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่างๆ ที่จะเข้าสูร่างกาย เกร็ดความรู้
ถ้านำเส้นโลหิตทั่วร่างกายมาต่อกัน จะมีความยาวถึง 96,000 กิโลเมตร หรือความยาวเท่ากับ 2 เท่าครึ่งของระยะทางรอบโลก โดยเฉลี่ยแล้วปริมาณโลหิตในร่างกายจะมี 5-6 ลิตรในผู้ชาย และ 4-5 ลิตรในผู้หญิง และโลหิตจะมีการไหลเวียน โดยผ่านมาที่หัวใจถึง 1,000 เที่ยวต่อวัน คนหนุ่มสาวจะมีเซลล์เม็ดโลหิตแดงเท่ากับ 35,000,000,000,000 เซลล์ (สามสิบห้าล้านเซลล์) อยู่ภายในร่างกายในเวลา 120 วัน เซลล์เม็ดโลหิตแดง จำนวน 1.2 ล้านเซลล์ จะถึงกำหนดหมดอายุขัย ถูกขับถ่ายออกมาขณะเดียวกันไขกระดูกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกระดูกซี่โครง กะโหลกศรีษะ และกระดูกสันหลัง จะช่วยกันผลิตเซลล์ใหม่เท่ากับจำนวนที่ตายไปขึ้นมาแทนที่

จากชีวิตสู่ชีวิต มอบโลหิตช่วยผู้ป่วย
บริจาค
1. บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
2. บริจาคพลาสมา (Plasma)
3. บริจาคเกล็ดโลหิต (Single Donor Platelets)
4. บริจาคเม็ดโลหิตแดง (Single Donor Red Cell)
5. ตารางเวลาหน่วยรับบริจาคโลหิตนอกสถานที่
6. LOGO โครงการ BRAND'S YOUNG BLOOD
__________________


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 21:59:32
http://www.redcross.or.th/donation/b...holeblood.php4 (http://www.redcross.or.th/donation/b...holeblood.php4)


บริจาคโลหิตรวม (Whole blood)
คุณประโยชน์
1. ได้รับความภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ท่านมีความสุขใจ
2. ได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุก 3 เดือน
3. ได้รับทราบหมู่โลหิตของตนเองทั้งระบบ เอ บี โอ และ ระบบ อาร์เอช
4. โลหิตทุกยูนิตที่ได้รับบริจาค ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองเชื้อต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ เหมือนกับการที่ผู้บริจาคโลหิตได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบ ซี, เอดส์ และอื่นๆ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนผู้บริจาคโลหิต ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้จัดทำเข็มที่ระลึกผู้บริจาคโลหิตขึ้น เพื่อมอบให้ผู้บริจาคโลหิต โดยจัดทำเป็นเข็มที่ระลึกครั้งที่ 1,7,16,24,36,48,60,72,84,96 และ 108 ตามลำดับ


คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
ผู้มีความประสงค์จะบริจาคโลหิตควรตรวจสอบคุณสมบัติตนเองก่อนบริจาค ดังนี้
1. อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์
2. น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป สุขภาพทั่วไปสมบูรณ์ดี
3. ไม่มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
4. ไม่เป็นไข้มาเลเรียมาในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา และไม่เป็นกามโรค โรคติดเชื้อต่าง ๆ ไอเรื้อรัง ไอมีโลหิต โลหิตออกง่ายผิดปกติ โรคเลือดชนิดต่าง ๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์
5. ไม่อยู่ในภาวะน้ำหนักลดมากในระยะสั้น
6. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ หรือสำส่อนทางเพศ ไม่มีประวัติติดยาเสพติด
7. งดการบริจาคโลหิตภายหลังผ่าตัด คลอดบุตรหรือแท้งบุตร 6 เดือน (ถ้ามีการรับโลหิตต้องงดบริจาคโลหิต 1 ปี)
8. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน หรือตั้งครรภ์


ดูแลตัวเองก่อนมาบริจาคโลหิต
*ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง
*ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาใดๆ
*ควรรับประทานอาหารมาก่อน และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ไม่มีไขมัน
*งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
*งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี
*สุภาพสตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือนหรือตั้งครรภ์
*การบริจาคโลหิตครั้งต่อไปเว้นระยะ 3 เดือน ยกเว้นการบริจาคพลาสมาหรือเกล็ดโลหิต


ข้อปฏิบัติหลังบริจาคโลหิต
*นอนพักบนเตียงอย่างน้อย 3-5 นาที ห้ามลุกจากเตียงทันที จะเวียนศีรษะเป็นลมได้
*ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีบริการให้ และดื่มน้ำมากกว่าปกติเป็นเวลา 2 วัน
*ไม่ควรรีบร้อนกลับ นั่งพักจนแน่ใจว่าเป็นปกติ
*หากมีอาการเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลมระหว่างลุกจากเตียงหรือขณะเดินทางกลับ ต้องรีบนั่งก้มศีรษะต่ำ ระหว่างเข่าหรือนอนราบ เพื่อป้องกันอันตรายจากการล้ม
*หากมีโลหิตซึมออกมา ให้ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว กดลงบนผ้าก๊อสหรือพลาสเตอร์ที่ปิดรอยเจาะ ให้นิ้วหัวแม่มือกดด้านใต้ข้อศอกและยกแขนสูงจนโลหิตหยุดสนิท หากโลหิตไม่หยุดซึมให้กลับมายังสถานที่บริจาคเพื่อพบแพทย์พยาบาล
*งดออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากภายหลังการบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตที่ทำงานปีนป่ายที่สูงหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ควรหยุดพักหนึ่งวัน
*รับประทานยาธาตุเหล็กที่ได้รับวันละ 1 เม็ด จนหมด เพื่อป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
*หลีกเลี่ยงการใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการบวมช้ำ


ผู้บริจาคโลหิตโปรดทราบ ท่านที่มีประวัติดังต่อไปนี้ ควรงดการบริจาคโลหิตคือ
*ท่านหรือคู่สมรสของท่าน เคยมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชาย ที่ขายบริการทางเพศ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
*เคยเป็นผู้ที่เสพยาเสพติดโดยใช้เข็มฉีดยา
*รู้ตัวว่าติดเชื้อเอดส์


ทุกท่านมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ในการรับบริจาคโลหิต ใช้ครั้งเดียวสำหรับคนเดียวแล้วทิ้ง


สถานที่ติดต่อ
ท่านสามารถบริจาคโลหิตได้ที่


ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

 
วันจันทร์ - วันพุธ, วันศุกร์ (ไม่หยุดพักกลางวัน) 08.00-16.30 น.
วันพฤหัสบดี (ไม่หยุดพักกลางวัน) 07.30-19.30 น.
วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.00-12.00 น.
วันอาทิตย์ 12.00-16.00 น.
หน่วยเคลื่อนที่ประจำ

 
สวนจตุจักร ทุกวันเสาร์
(รถจอดริมถนนพหลโยธิน)
 10.00-15.00 น.
สนามหลวง วันอาทิตย์
(รถจอดบริเวณด้านหน้ากรมศิลปากร)
 09.00-14.00 น.
ตลาดนัดธนบุรี (สนามหลวง 2)
ทุกวันอาทิตย์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รถจอดหน้าสำนักงาน)
 10.00-15.00 น.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
ทุกวันจันทร์และวันอังคาร
(รถจอดบริเวณข้างหอสมุดด้านคณะนิติศาสตร์)
 10.00-15.00 น.
สถานีกาชาด 11"วิเศษนิยม" บางแค
ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคาร ข้างฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค)
 09.00-15.00 น.
ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตภายในอาคารหน้าร้าน S.B. เฟอร์นิเจอร์ ชั้น 2)
 
13.00-17.00 น.
 
ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
ทุกวันศุกร์และวันเสาร์สัปดาห์ที่สามของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณลานโยโย่ ชั้น 3)
 
13.00-17.00 น.

 
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาบางพลี
ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่สองของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณด้านหน้าห้าง)
 
13.00-17.00 น.

 
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
 
13.00-17.00 น.

 
ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาแฟชั่นไอส์แลนด์
ทุกวันเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
(รับบริจาคโลหิตบริเวณชั้น 2 หน้าซุปเปอร์ Big C )
 
13.00-17.00 น.

 
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า

 โทร.0-2468-1116-20
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ สถาบันพยาธิกรมแพทย์ทหารบก รพ.พระมงกุฎเกล้า โทร.0-2245-8154
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ตำรวจ  โทร. 0-2252-8111 ต่อ 4146
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.รามาธิบดี  โทร. 0-2246-1057-87
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช  โทร.0-2531-1970-99 ต่อ 27109-10
สาขาบริการโลหิตแห่งชาติ วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล

 โทร. 0-2243-0151-64
และสาขาบริการโลหิตแห่งชาติ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ (ในวันและเวลาราชการ)   

ท่านสามารถสอบถามหน่วยเคลื่อนที่อื่น ๆ ได้ที่
โทรศัพท์ 0-2252-6116,0-2252-1637 ,0-2252-4106-9 ต่อ 113, 157
E-mail : blood@redcross.or.th
"3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง รวมพลังบริจาคโลหิต"



หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 22:01:21
กาชาดนำร่องตั้งธนาคารสเต็มเซลล์ เปิดรับ 1 ก.พ.นี้
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000011537 (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000011537)
 
 
โดย ผู้จัดการออนไลน์
28 มกราคม 2551 20:06 น.

สภากาชาดไทย นำร่องตั้งธนาคารสเต็มเซลล์ เปิดรับสมัครผู้สนใจ 1 ก.พ.นี้ ตั้งเป้า 5 ปี ได้อาสาสมัคร 1 แสนคน เดินหน้างานด้านสเต็มเซลล์อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทางโลหิตอย่างครบวงจร

วันนี้ (28 ม.ค.) พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยถึงการจัดตั้งธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ (Thai national Stem cell Donor Registry) ว่า ตั้งแต่ปี 2545 แพทยสภาได้มอบหมายให้สภากาชาดทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับลงทะเบียนอาสาสมัครบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือสเต็มเซลล์ จากผู้บริจาคโลหิต และตรวจหาชนิดเนื้อเยื่อ (HLA typing) ของผู้บริจาคและผู้ป่วยโรคทางโลหิตที่รอรับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสถิติผู้ลงทะเบียนขอรับบริจาคกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2545-2550 มีจำนวนถึง 20,000 ราย โดยมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรอรับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์กว่า 1,000 ราย และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่มีผู้บริจาคสเต็มเซลล์ให้ผู้ป่วยน้อยมาก ไม่ถึง 50 ราย

พญ.สร้อยสอางค์ กล่าวต่อว่า โครงการจัดตั้งธนาคารเซลล์ต้นกำเนิด จึงจะเปิดให้ประชาชนที่สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นต้นไป ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถ.อังรีดูนังต์ โดยตั้งเป้าภายใน 5 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2551-2555 ต้องได้อาสาสมัครจำนวน 1 แสนคน ซึ่งโครงการนี้เป็นการเพิ่มโอกาสการรักษาให้แก่ผู้ป่วย และพัฒนาเป็นสู่การเป็นศูนย์ดำเนินงานด้านสเต็มเซลล์อย่างเต็มรูปแบบ ตลอดจนให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคทางโลหิตอย่างครบวงจร

ทั้งนี้ อาสาสมัครต้องมีคุณสมบัติทั่วไป คือ มีอายุระหว่าง 18-55 ปี น้ำหนัก 48 กิโลกรัมขึ้นไป มีสุขภาพรางกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว หรือโรคติดต่อใดๆ ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง โดยจะมีการเก็บตัวอย่างโลหิตจากอาสาสมัครในปริมาณ 18 มิลลิลิตร (ซีซี) เพื่อนำไปตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อระหว่างผู้บริจาคของผู้ป่วย ซึ่งหากผลวิเคราะห์เนื้อเยื่อเข้ากันได้ ก็จะทำการติดต่อให้อาสาสมัครมาตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง หากผลออกมาเนื้อเยื่อเข้ากันได้ทั้งหมด ก็จะเข้าสู่กระบวนการบริจาคสเต็มเซลล์

พญ.สร้อยสอางค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการบริจาคสเต็มเซลล์ มี 2 วิธี คือ 1.บริจาคผ่านทางกระแสเลือด เนื่องจากในเลือดมีสเต็มเซลล์อยู่น้อยจึงต้องฉีดยากระตุ้น จำนวน 4 เข็ม เข็มหนึ่งใช้เวลา 3 ชั่วโมง โดยเจาะเลือดต่อสายเข้าเครื่องคัดแยกสเต็มเซลล์เมื่อคัดแยกเสร็จก็นำเลือดกลับเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากใช้เวลานาน แพทย์จึงให้อาสาสมัครมาฉีดยากระตุ้นที่สภากาชาด วันละ 1 เข็ม เป็นเวลา 3-4 วัน จึงเสร็จกระบวนการ 2.บริจาคไขกระดูก เป็นวิธีที่ใช้เวลาน้อยมาก คือ 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยแพทย์จะวางยาสลบอาสาสมัคร เพื่อเจาะไขกระดูกผ่านทางสะโพกด้านหลัง ซึ่งวิธีนี้อาสาสมัครจะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 1 คืน ในประเทศไทยมีโรงพยาบาลเพียง 4 แห่ง ที่ให้บริการด้านนี้ คือ โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลศิริราช
 
 


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 22:02:54
วอนบริจาคดวงตา อย่าเชื่อชาติหน้าตาบอด

http://hilight.kapook.com/view/25520 (http://hilight.kapook.com/view/25520)

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติบรมราชินีนาถ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีการแถลงข่าวการประกวดแผนการประชาสัมพันธ์ "ให้ตา ได้กุศล" โดย ผศ.พญ.ลลิดา ปริยกนก ผู้อำนวยการศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์ดวงตาฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2508 หรือ 43 ปีมาแล้ว แต่ขณะนี้สามารถผ่าตัดดวงตาได้เพียง 6,281 ดวง ซึ่งยังมีผู้ป่วยที่รอคิวรับบริจาคอีก 3,205 ราย โดยในแต่ละปีมีผู้จองรับการบริจาคดวงตา 800-900 ราย หากดวงตาไม่เพียงพอกับความต้องการ จะทำให้มีผู้รอคิวสะสมเป็นหมื่นรายได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้แสดงความจำนงบริจาคดวงตา 649,000 ราย หรือ 1% ของประชากร

"ปัญหาคือมีผู้ที่เสียชีวิตทุกๆ วันในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทำอย่างไรจะให้มีการบริจาคดวงตา ทำอย่างไรให้ญาติบริจาคดวงตาแทนผู้เสียชีวิต เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้แสดงความจำนงการบริจาคไว้ อีกทั้งในผู้ที่แสดงความจำนงบริจาค แต่ญาติกลับไม่อนุญาต ดังนั้นจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์การบริจาคดวงตาให้ประชาชนเข้าใจ ซึ่งในปี 2543 ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทยได้ดวงตาบริจาคเพียง 228 ดวง ทำให้มีการวางแผนโดยจัดให้มีผู้ประสานงานในการขอดวงตาผู้เสียชีวิตจากญาติ จากโรงพยาบาลเครือข่าย 19 แห่ง ทำให้ปี 2550 สามารถหาดวงตาได้ 453 ราย ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าจัดหาดวงตาให้ได้ 500 ดวง" ผศ.พญ.ลลิดากล่าว

ผอ.ศูนย์ดวงตา กล่าวต่อว่า ข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนกระจกตาในประเทศไทย พบว่า โรคแผลเป็นที่กระจกตาเป็นข้อบ่งชี้อันดับ 1 ในการเปลี่ยนกระจกตา 21.52% ตามมาด้วยแผลหนองที่กระจกตา 17.23% กระจกตาบวม 15.02% กระจกตาเสื่อมหรือโป่งนูนผิดปกติ 11.18% และอันดับสุดท้ายคือ การเปลี่ยนกระจกตาซ้ำ 9.88% โดยในช่วง 8 ปีหลัง สัดส่วนของโรคกระจกตาบวมเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ในแต่ละปีมีเปอร์เซ็นต์เพิ่มมากขึ้น

"จากการสำรวจของทางสำนักงานสถิติแห่งชาติ เหตุผลที่ประชาชนไม่บริจาคดวงตา ส่วนใหญ่กลัวว่าชาติหน้าเกิดมาแล้วจะไม่มีตาและห่วงในเรื่องความสวยความงาม กลัวศพไม่สวย ทำให้ญาติไม่ยอมบริจาคตาให้ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วจะมีการเย็บให้เรียบร้อย ให้สภาพศพดูเหมือนเดิมไม่น่าเกลียด นอกจากนี้ยังพบว่า กว่า 50% ของประชากรที่สำรวจยังไม่รู้จักศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ดังนั้นจำเป็นต้องประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักและเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้ การจัดเก็บดวงตาจะต้องจัดเก็บภายใน 6 ชั่วโมงหลังเสียชีวิตแล้ว แต่หากเสียชีวิตในโรงพยาบาลที่เป็นห้องเย็นจะต้องจัดเก็บภายใน 12 ชั่งโมง"

ผศ.พญ.ลลิตากล่าวอีกว่า ญาติไม่ให้จัดเก็บดวงตาเป็นปัญหาสำคัญมาก ต่างจากสหรัฐอเมริกาที่มีกฎหมายกำหนดชัดเจนว่า เมื่อผู้เสียชีวิตบริจาคตาแล้ว แพทย์สามารถนำตาออกมาได้ เพราะถือเป็นสมบัติส่วนกลาง แต่ประเทศไทยเราไม่มีกฎหมายนี้ หากแพทย์กระทำเองจะเป็นปัญหาได้

ด้าน รศ.อรุณีประภา หอมเศรษฐี ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และคณะกรรมการประกวดแผนการประชาสัมพันธ์" ให้ตา ให้กุศล" กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ประชาสัมพันธ์เชิงรุกต่างๆ และเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายคือเยาวชนที่เป็นผู้ทำความเข้าใจในเรื่องบริจาค จึงได้จัดการประกวดแผนการประชาสัมพันธ์" ให้ตา ได้กุศล" เป็นครั้งแรก เพื่อให้นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไปเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกิดจิตสำนึก เห็นคุณค่าของการแสดงความจำนงอุทิศดวงตาภายหลังเสียชีวิตแล้ว

สำหรับหลักเกณฑ์การประกวดแผนประชาสัมพันธ์ คือ ผู้เข้าประกวดต้องสังกัดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยให้สถาบันการศึกษาเป็นผู้จัดส่ง โดย 1 ทีมมีสมาชิก 3 คน ให้ทำแผนประชาสัมพันธ์ระยะเวลา 1 ปี งบประมาณดำเนินการ 5-8 ล้านบาท มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกร่วมกัน เห็นคุณค่าของการบริจาคดวงตาภายหลังถึงแก่กรรม โดยผู้ชนะเลิศประกวดแผนประชาสัมพันธ์ได้รางวัลเงินสด 50,000 บาท พร้อมเข้าฝึกงานด้านการประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.eyebankthai.com/ (http://www.eyebankthai.com/)



ข้อมูลจาก ไทยโพสต์
 
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต



หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 22:03:50
'บริจาคอวัยวะ' บุญยิ่งใหญ่...ให้ชีวิตใหม่พ้นทุกข์
http://www.dailynews.co.th/web/html/...e=1&Template=1 (http://www.dailynews.co.th/web/html/...e=1&Template=1)

เป็นที่ทราบกันสำหรับความสำคัญของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจากปัจจุบันที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญไม่ว่าจะเป็น หัวใจ ตับ ไต ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานตามปกติได้

การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยต่อชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ป่วยที่หมดหวังรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ซึ่งปัจจัยสำคัญในการรักษานี้คือ การให้ได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิต ทั้งนี้เพราะการบริจาค อวัยวะของผู้มีจิตศรัทธาสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีกว่าเดิม

จากการคาดคะเนในประเทศไทยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิต ที่อยู่ในเกณฑ์บริจาคอวัยวะได้เกือบสองพันคน แต่ในความเป็นจริงยังมีข้อจำกัดในการนำอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตมาใช้รักษาผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย ซึ่งอุปสรรคสำคัญคือ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะภายหลังเสียชีวิต

จากที่ผ่านมา สภากาชาดไทย องค์กรกลางการกุศลได้ให้ความช่วยเหลือโดยเป็นศูนย์กลางดำเนินการเสนอโครงการ จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย ขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2536 สภากาชาดไทยได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะและในปีต่อมาได้จัดหาสถานที่ ทำการของศูนย์ฯ โดยตั้งอยู่ ณ ตึกกองอาสากาชาด ถนนราชดำริ จากนั้นย้ายที่ทำการมายังชั้น 5 อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ถนนอังรีดูนังต์ และจากปี พ.ศ. 2537 ที่เริ่มปฏิบัติงานมาจวบปัจจุบันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ครบรอบ 15 ปี อีกทั้งในวันนี้ยังเป็นวันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนร่วมกันให้ความรู้ สร้างความเข้าใจการบริจาคอวัยวะทั้งในเรื่อง สมองตาย ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินการเสียชีวิต การจัดระบบการจัดสรรอวัยวะอย่างเป็นธรรม ตลอดจนรณรงค์ประชาชนในสังคมให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง สร้างการรับรู้เข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ นายแพทย์วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เล่าถึงจำนวนผู้รอรับการบริจาค พร้อมให้ความรู้การบริจาค อวัยวะให้ชีวิตใหม่ช่วยเหลือผู้ป่วยว่า จากจำนวน ผู้รอรับบริจาคอวัยวะที่ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มีจำนวนรวมกว่าสองพันราย โดย มีจำนวนผู้รอรับบริจาคไตมาก ที่สุด รองลงมาได้แก่ ตับ หัวใจและปอด ฯลฯ

ขณะที่โอกาสการได้รับ บริจาคอวัยวะยังคงมีไม่มากเพียงแค่ 36 รายซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ระหว่างจำนวนผู้ลงทะเบียนขอรับบริจาคอวัยวะกับจำนวนผู้ได้รับ บริจาคอวัยวะอยู่ในระดับแค่ร้อยละ 1.5 และแนวโน้มคาดว่าจะมีจำนวนผู้ขอรับบริจาคเพิ่มขึ้น

การบริจาคอวัยวะนอกจากจะช่วยชีวิต ให้ชีวิตใหม่แก่ ผู้ป่วยแล้วยังช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะให้มากเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ จัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาคอย่างเป็นกลางเสมอภาค โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการนำอวัยวะต่าง ๆ ไปใช้




หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 22:04:29
ขาดแคลน อาจารย์ใหญ่ ญาติแจ้งช้าศพเน่า ไม่ทันสอน

�Ҩ�����˭� �ԡĵ�Ҵ��Ź Ⱦ�Ҩ�����˭� ������͹

ที่มา กระปุก


วิกฤตขาดแคลน"อาจารย์ใหญ่" ญาติแจ้งช้า"ศพเน่า"ไม่ทันใช้สอน มอ.สงขลาหวั่นไฟใต้ไม่กล้าไปรับ (มติชนออนไลน์)

จุฬาฯ ชี้วิกฤต"อาจารย์ใหญ่" เหตุหนึ่งมาจากญาติแจ้งช้า ทำให้ศพเน่าใช้การไม่ได้ แนะให้ใช้น้ำแข็งวางช่องท้อง "พระมงกุฎ"เฉลี่ยรับปีละ 20 ร่าง ให้นักเรียนศึกษา 6:1 มอ.สงขลาเจอปัญหาความไม่สงบภาคใต้ ไม่กล้าออกไปรับศพบริจาค

จากกรณีข่าวเกิดวิกฤต "อาจารย์ใหญ่" ขาดแคลน อันเนื่องมาจากตัวเลขการบริจาคร่างไร้วิญญาณที่พร้อมจะให้นิสิต นักศึกษาแพทย์ แพทย์ฝึกหัด รวมทั้งอาจารย์แพทย์ใช้เป็นตำราเรียนเริ่มลดน้อยลงทุกๆ ปี จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลกระทบกับการเรียนการสอนวิชาแพทย์หลายสถาบันนั้น

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม รศ.นพ.ธันวา ตันสถิตย์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์การฝึกผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อีกปัญหาที่ทำให้ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ เกิดจากเมื่อผู้ที่แสดงความจำนงบริจาคร่างกายเสียชีวิต ญาติติดต่อแจ้งมายังศูนย์บริจาคร่างกายล่าช้า ทำให้ศพเน่าและไม่สามารถนำมาใช้ได้

"ร่างกายของมนุษย์เมื่อเสียชีวิต ส่วนที่เน่าเร็วที่สุดคือ ช่องท้อง หากแจ้งบริจาคร่างกายช้ากว่า 12-18 ชั่วโมง ร่างจะไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้น หากมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น ญาติควรรีบแจ้งมายังศูนย์ฯ ทันทีภายใน 12-18 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรอใบมรณะบัตรจากอำเภอ ขอเพียงใบชันสูตรของตำรวจหรือแพทย์ผู้ตรวจศพก็พอ เพราะหากข้ามวัน ร่างจะเริ่มเน่าทำให้คุณภาพของอาจารย์ใหญ่ไม่ค่อยดี และระหว่างที่รอให้เจ้าหน้าที่ไปรับศพให้นำถุงน้ำแข็งวางบริเวณท้องน้อยของศพ การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้ศพเน่าช้าลง" รศ.นพ.ธันวา กล่าว และว่า อาจารย์ใหญ่จะได้รับการแสดงความเคารพจากคณาจารย์และนิสิตแพทย์อย่างสมเกียรติ ที่สำคัญเมื่อเรียนจบ 1 ปี ร่างอาจารย์ใหญ่ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในการจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษด้วย โดยญาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ด้าน พ.อ.มานพ ชัยมัติ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ กองการศึกษา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ตัวเลขการบริจาคร่างอาจารย์ใหญ่ในส่วนของวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ถือว่าไม่มาก แต่ละปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ร่าง โดยนักศึกษาแพทย์จะใช้เรียนในสัดส่วนนักเรียนแพทย์ 6 คนต่ออาจารย์ใหญ่ 1 ร่าง และจะใช้เรียนตลอดทั้งปี ส่วนแพทย์ฝึกหัดผ่าตัดจะมีร่างอาจารย์ใหญ่เพียง 2 ร่างต่อปี ซึ่งดูจากตัวเลขถือว่าค่อนข้างน้อย

"สาเหตุที่คนบริจาคร่างอาจารย์ใหญ่เข้ามาน้อย อาจจะสรุปได้ลำบาก แต่ส่วนหนึ่งคือ วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น บางคนแจ้งความจำนงค์บริจาคร่างกายตอนอายุ 40 ปี แต่เสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี ทำให้จำนวนอาจารย์ใหญ่ที่จะได้รับมาแต่ละปีจึงมีไม่มาก บางปีหากขาดแคลนอาจารย์ใหญ่จริงๆ คงต้องติดขอไปยังคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากมีร่างอาจารย์ใหญ่ค่อนข้างมาก" พ.อ.มานพ กล่าว

ผศ.พรพิมล คีรีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) เปิดเผยว่า มอ.สงขลา ประสบปัญหาอาจารย์ใหญ่ไม่พอเช่นกัน แต่ละปีจะมีอาจารย์ใหญ่ 40-50 ร่างในการเรียนการสอน ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอน เพียงทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จริงไม่ทั่วถึง ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยให้นักศึกษาจัดกลุ่มให้เยอะขึ้นตามจำนวนอาจารย์ใหญ่ที่มี หากเป็นไปได้ น่าจะมีอาจารย์เพิ่มอีกปีละ 10 ร่าง จะทำให้การเรียนการสอนของนักศึกษาทั่วถึงมากขึ้น แต่ปีใดที่มีร่างอาจารย์ใหญ่น้อยกว่านี้ ก็จะขอความอนุเคราะห์ไปยังโรงพยาบาลศิริราช ขอร่างอาจารย์ใหญ่มาเสริม ทั้งนี้ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีประชาชนจาก 14 จังหวัดภาคใต้แสดงความจำนงค์บริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้มีกว่า 6,000 ราย

"ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้เรามีอาจารย์ใหญ่น้อย เนื่องจากสถานการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เราไม่กล้าจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับร่างของอาจารย์" ผศ.พรพิมล กล่าว

พญ.ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า แต่ละปีการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มช.ต้องใช้อาจารย์ใหญ่ประมาณ 300 ร่าง แต่ไม่ประสบปัญหาไม่เพียงพอ โดยหลังจากโรงพยาบาลได้รับศพของผู้อุทิศร่างกายก็จะนำมาฉีดน้ำยารักษาศพ และนำศพลงแช่ในน้ำยาอีกครั้ง ใช้เวลา 2 ปี จึงจะนำขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ หรือเพื่อทำโครงกระดูกไว้ศึกษา

พญ.ผาสุก กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับการอนุเคราะห์จากผู้มีกุศลจิตบริจาคร่างกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้รถยนต์ที่ใช้ในการเดินทางไปรับร่างอาจารย์ใหญ่มีสภาพทรุดโทรม จึงตั้งกองทุนเพื่อจัดซื้อรถยนต์รับร่างอาจารย์ใหญ่ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถติดต่อสมทบทุนได้ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เช่นเดียวกับการติดต่อขออุทิศร่างกาย หรือติดต่อได้ที่โทร. 0-5394-5312 หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาคณะแทยศาสตร์ มช.เลขที่บัญชี 566-477327-3 ชื่อบัญชีรถรับร่างอาจารย์ใหญ่

รศ.พรทิพย์ บุญเรืองศรี อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ศรัทธาลงทะเบียนบริจาคร่างกาย ปีละประมาณ 1,000 - 2,000 ราย ขณะนี้มีรายชื่อผู้บริจาคอยู่เกือบ 40,000 ราย แต่ไม่ได้หมายความว่า มีอาจารย์ใหญ่เข้ามาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งหมด เนื่องจากผู้บริจาคยังไม่เสียชีวิต และบางรายที่เสียชีวิตก็มีข้อจำกัดไม่สามารถนำร่างมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ เช่น เสียชีวิตจากโรคติดต่อร้ายแรง เสียชีวิตจากอุบัติเหตุและอวัยวะส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย

"มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งติดต่อขอให้ภาควิชาฯ ส่งร่างของอาจารย์ใหญ่ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งการนำอาจารย์ใหญ่มาใช้ในงานวิจัยทางวิชาการ เนื่องจากทางภาควิชาฯ มีความพร้อมและมีการจัดการที่ดี" รศ.พรทิพย์ กล่าว



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก มติชน


พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 26 เมษายน 2553 22:05:45
เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต
Quality of Life - Manager Online

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 มกราคม 2553 09:20 น.

บทความโดย : รศ.พญ.ศศิจิต เวชแพศย์ ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด

คำว่า “โลหิต” อาจฟังดูน่าหวาดเสียว และน่ากลัวสำหรับคนบางคน แต่สำหรับโรงพยาบาลแล้ว โลหิตเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งการรักษาหลายๆ อย่างในปัจจุบันนี้ จะไม่สามารถทำได้หากไม่มี

โลหิตมีความสำคัญอย่างไร

ในร่างกายคนเรามีเลือดไหลเวียนอยู่ในตัว เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร สารน้ำ ออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันก็นำสารพิษ ของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์จากส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปกำจัดออกจากร่างกายเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ในเลือดมีทั้งของเหลว (ส่วนน้ำ) และเซลล์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน กล่าวคือ

เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เนื้อเยื่อออกไปขับถ่าย เม็ดเลือดแดงมีปริมาณประมาณร้อยละ 40 – 45 ของเลือดทั้งหมด และมีอายุเพียง 120 วัน

เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ ให้ภูมิคุ้มกันเหมือนทหาร ปกป้องเชื้อโรคในร่างกาย มีปริมาณประมาณ 1% ของเลือด
เกร็ดเลือดทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนของเซลล์ขนาดเล็ก มีอยู่ประมาณ 5% ของเลือด

พลาสมา เป็นสารน้ำสีเหลือง มีโปรตีน เกลือแร่ ไขมัน ฮอร์โมน ไวตามิน มีปริมาณร้อยละ 55 ของเลือด

ประเภทของหมู่โลหิต (กรุ๊ปเลือด)
โลหิตที่อยู่ในคนไทยเรา แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. หมู่โอ พบได้ประมาณร้อยละ 38 , 2. หมู่เอ พบร้อยละ 21, 3. หมู่บี พบร้อยละ 34 และ4. หมู่เอบีพบร้อยละ 7

นอกจากนี้ในหมู่เลือด เอ บี โอ แต่ละชนิด จะพบว่าประมาณ 1 ถึง 3 คน ในจำนวนประชากร 1,000 คน จะมีหมู่เลือดอาร์เอ็ชลบ ซึ่งเป็น หมู่โลหิตที่หายากหรือหมู่โลหิตพิเศษ เท่าที่พบมา เราพบว่าหมู่โลหิตโอ เป็นหมู่โลหิตที่หาง่าย เมื่อเทียบกับหมู่โลหิตประเภทอื่นที่บริจาคกันเข้ามา สำหรับผู้ที่ไม่เคยบริจาคโลหิตมาก่อน แต่อยากช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ยากเลยค่ะ


 
 
 
 
คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว อายุ 18 – 60 ปี น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาป้องกันเลือดแข็งตัวและฮอร์โมนเพศ ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี ไม่ได้รับการถอนฟันหรือขูดหินปูน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด ไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อใดๆ ตามร่างกาย ผู้หญิงที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ใครบ้างที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง ลมชัก โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครอง(สามีหรือภรรยา)เป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับ อักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโตหรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต

การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
เพื่อมิให้ผู้บริจาคโลหิตอ่อนเพลียมากหลังบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตจึงควรเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต 1 – 2 วัน ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนดี งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากก่อนบริจาคโลหิต 1 วัน รับประทานอาหารก่อนบริจาคโลหิตประมาณ 4 ชั่วโมงนอนหลับพักผ่อนเพียงพอประมาณ 6 ชั่วโมง

แต่ละครั้งโรงพยาบาลต้องการโลหิตประมาณ 350 – 450 ซีซี / คน ซึ่งปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่ปลอดภัย โลหิตที่ได้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนนำไปให้ผู้ป่วยคือ ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และตรวจหาไวรัสเอดส์

รับประทานอะไรหลังบริจาคโลหิต
หลังการบริจาคโลหิตเสร็จแล้ว ควรนั่งพักประมาณ 10 -15 นาที รับประทานขนมหรืออาหารว่าง ดื่มน้ำ/เครื่องดื่ม 1-2 แก้ว แล้วรับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ตับ ไข่ เลือดหมู เลือดไก่ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง งดสูบบุหรี่หลังบริจาคโลหิตอย่างน้อย ? ชั่วโมง งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และถ้าจะดื่ม ผู้บริจาคโลหิตควรรับประทานอาหารให้มากพอก่อนดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์

เห็นไหมคะว่า หากมีการเตรียมพร้อมก่อนมาบริจาคโลหิตก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เมื่อคุณบริจาคโลหิตไปแล้วเท่ากับคุณได้กระตุ้นร่างกายให้สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ (เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน) มีผลให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น สำหรับผู้หญิงสามารถบริจาคได้ทุก 6 เดือน ส่วนผู้ชายบริจาคได้ทุก 3 เดือน

คุณเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ มาร่วมบริจาคโลหิตกับโรงพยาบาลศิริราชได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่ห้องรับบริจาคเลือด ตึก 72 ปี ชั้น 3 นอกจากนี้ยังมีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ โทร. 02-419 8081 ต่อ 110

เลือดท่านเพียงน้อยนิด ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้

 
 

--------------------------------------------
ศิริราชจัดกิจกรรมเพื่อคุณ

วันเด็กปีนี้ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช จัดกิจกรรมต้อนรับหนูน้อย ในงาน “ตัวน้อยรักษ์โลก” อิ่มฟรี! สนุกกับกิจกรรมมากมาย อย่าพลาด 9 ม.ค. 53 ที่ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 2 รพ.ศิริราช เวลา 09.00 – 16.00 น.

สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ขอเชิญแพทย์ศิริราชทุกรุ่นร่วมงานราตรีคืนสู่เหย้า Home coming day วันเสาร์ที่ 16 ม.ค.53 เวลา 17.00 – 22.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหอประชุมราชแพทยาลัย รพ.ศิริราช สอบถามได้ที่ โทร. 0 2419 8518, 085 1999314

http://board.palungjit.com/f108/ (http://board.palungjit.com/f108/)การบริจาคเลือด-ดวงตา-อวัยวะ-ร่างกาย-ให้สภากาชาดไทย-32274-4.html

.


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 05 พฤษภาคม 2553 07:40:23
กาชาดขาดเลือด ขอรับบริจาคเพิ่มด่วน
กาชาดขาดเลือด ขอรับบริจาคเพิ่มด่วน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

สภากาชาดไทย ประกาศของรับบริจาคเลือดด่วน หลังจากที่ประสบปัญหาวิกฤติ ขาดเลือดสำรองทุกกรุ๊ป เหลือไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต วอนประชาชนบริจาคเลือดให้ผู้ป่วย...

พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าววันนี้ (4 พ.ค.) ว่า เนื่องจากขณะนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ประสบปัญหาโลหิตสำรองลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีผู้เดินทางมาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ลดลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันแรงงานแห่งชาติที่ผ่านมา มีผู้มาบริจาคโลหิตลดลงวันละไม่ถึง 1,000 ยูนิต แต่ไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการโลหิตวันละ 1,500 ยูนิต

ผอ.ศุนย์บริการโลหิตฯ กล่าวด้วยว่า สภากาชาดไทยจึงได้ดำเนินการจัดหน่วยเคลื่อนที่เพิ่มเติม และขยายเวลารับบริจาคโลหิต ดังนี้ วันที่ 5 พ.ค.53 ได้เพิ่มรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ ไปจอดบริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค ถนนเพชรเกษม รับบริจาคโลหิต เวลา 12.00-18.00 น.
สำหรับวันที่ 7 พ.ค.53 ขยายเวลาเปิดรับบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ตั้งแต่เวลา 08.00-19.30 น. ผู้บริจาคโลหิตสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โทร. 0-2256-4300 และ 0-2263-9600-99 ต่อ 1101

http://www.thairath.co.th/content/edu/80942 (http://www.thairath.co.th/content/edu/80942)

.


หัวข้อ: Re: การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 05 พฤษภาคม 2553 08:24:15

บริจาคดวงตาชาติหน้าจะตาบอด

--------------------------------------------------------------------------------
....คัดจากหนังสือหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ...

คำถาม
1. ผู้ที่บริจาคดวงตาให้กับโรงพยาบาลมีอานิสงส์ไหม
2. เมื่อบริจาคดวงตา ถ้าเป็นบุญบารมี จะเป็นปัจจัยให้ได้ดวงตาเห็นธรรมได้หรือเปล่า
3. จะเป็นอานิสงส์ให้ได้ถึงฌานสมาบัติได้ไหมสุดท้ายพระนิพพานด้วย
4. สมมติผู้บริจาคมีศรัทธา บริจาคมอบให้โรงพยาบาลแล้ว อยู่มาอีกเป็นสิบปีจึงสิ้นชีวิต ลูกหลานเกิดเบี้ยว
หรือไม่ยอมบอกให้หมอมาเอาดวงตา หรือลูกหลานลืมไม่ได้นึกถึงจึงไม่ได้เรียกหมอมาเอาดวงตา
กรณีเช่นนี้ผู้ตาย หรือผู้บริจาคจะได้บุญ หรืออานิสงส์ไหม
5. มีผู้คนเขาพูดว่าให้ดวงตาเขาไปแล้ว เมื่อไปเกิดชาติหน้าภพหน้าจะเป็นคนพิการ หรือไม่
6. บางคนก็ว่าสละดวงตาไปแล้วเป็นวิญญาณก็ดี หรือเป็นผี และไปเกิดในภพสัมภเวสีจะไม่มีลูกตา
ดวงตา จริงหรือไม่
7. เมื่อหมอเอาดวงตาไปแล้วใส่ให้ผู้อื่นเกิดใช้ไม่ได้ และดวงตานั้นเกิดเสียหาย หรือหมอทำผิดพลาด
ด้วยเหตุใดๆ ก็ดี จนดวงตาที่เอาไปนั้นใช้ไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ผู้สละดวงตาจะได้อานิสงส์ไหม
8. ผู้ที่บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาล เพื่อให้บรรดาหมอ และพยาบาลไปเรียนหรือศึกษาจะได้อานิสงส์
ผลบุญหรือไม่อย่างไรเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว และชาติเบื้องหน้า
9. เมื่อบริจาคดวงตา และร่างกายให้โรงพยาบาลโดยได้ทำการจดชื่อลงชื่อมอบให้แล้วกลับมาบ้านจะ
นิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญบ้าน แล้วกรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ผู้บริจาคได้
ทำเอาไว้กับสัตว์นั้นจะได้ หรือไม่ จะถูกต้องหรือไม่
10. ถ้าถูกต้องทำได้ และถ้าทำบุญกรวดน้ำ ที่ได้บริจาคดวงตา หรือร่างกายไปแล้วภายหลังลูกหลานหรือ
หมอโรงพยาบาลเกิดทำผิดพลาด หรือลืมไป ไม่ได้เอาดวงตาร่างกายไปทำประโยชน์ดังที่ผู้บริจาค
ตั้งใจไว้ เมื่อผู้นั้นได้สิ้นชีวิตไปแล้ว เช่นนี้จะเป็นเวรเป็นกรรมเป็นบาปแก่ผู้บริจาค และลูกหลาน
ต่อไปหรือไม่ประการใด เพราะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแล้ว
11. กระผมอยากทราบว่า สมัยพระพุทธโคดม ท่านยังทรงพระชนม์อยู่พระอรหันต์ที่เป็นภิกษุณีองค์
แรกคือใคร มีพระนามว่ากระไรครับ

คำตอบ
1. ผู้บริจาคดวงตาให้กับโรงพยาบาล มีอานิสงส์มาก
2. เมื่อบริจาคดวงตาแล้วจะได้กุศลเป็นส่วนไหนนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับผู้ปรารถนานายกอุทาหรณ์ เช่น
นางอุบลวรรณถวายดอกบัวต่อพระปัจเจกฯ แล้วก็ปรารถนาว่า ข้าพเจ้าเกิดมาในภพใดชาติใด
ขอให้สีกายเหมือนดอกบัว และก็ได้รับผลอย่างนั้นจริง จนได้ชื่อว่าอุบลวรรณานั่นเอง
คำว่าอุบลแปลว่าดอกบัว คำว่าวรรณาแปลว่าผิพรรณ สีกายเหมือนดอกบัวอยู่ห้าร้อยชาติติดๆ กัน ดังนี้
ส่วนที่จะได้ดวงตาเห็นธรรม หรือไม่นั้นก็ต้องอธิษฐานว่า " ขอให้ข้าพเจ้าได้ดวงตาเห็น
ธรรม " อย่างนี้ก็จะได้จริงสมคำดังปรารถนาดังผลทาน
3. จะเป็นอานิสงส์ให้ได้ถึงฌาน หรือไม่นั้น มันก็ขึ้นกับคำปรารถนาดังกล่าวแล้วนั้นเองตลอดทั้ง
พระนิพพานด้วย
4. ในกรณีที่ตกลงบริจาคไว้แล้วไม่ได้พลิกคืนก็เท่ากับว่าบริจาคแล้ว ก็ต้องได้บุญซิ
5. ให้ดวงตาเขาไปแล้ว เกิดชาติหน้าไม่พิการ เพราะเชื่อผลศีลผลทาน เพราะผลศีลผลทานไม่ทำให้คน
มีรูปขี้เหร่
6. และผู้ที่ไปเกิดไม่มีดวงตานั้น เป็นผู้มีบุพกรรมแต่ชาติก่อนเป็นต้นว่าได้ทำตาให้เขาบอดเป็นต้น
เช่นพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ตาบอด เพราะได้ไปวางยาให้เขาตาบอด เพราะโกรธว่าเขา
ไม่ให้ค่ารักษา ที่เรารักษาตาให้หายแล้ว อันนี้พูดย่อเต็มที ในชีวประวัติของพระจักขุบาลยืดยาวนัก
7. เมื่อหมอเอาตาไปแล้วใส่ให้ผู้อื่นเกิดใช้ไม่ได้ หรือดวงนั้นเกิดเสียหาย หรือหมอทำผิดพลาดใดๆ
ก็ดีจนดวงตาที่เอาไปนั้นใช้ไม่ได้ เหตุการณ์เช่นนี้ผู้สละดวงตาก็ได้ผลตามเดิม เพราะจิตใจไม่ได้
พลิกคืนว่าจะไม่ให้
8. ผู้ที่ทานร่างกายให้โรงพยาบาลเพื่อให้บรรดาหมอ และพยาบาลไปเรียน หรือศึกษาก็ต้องได้บุญ
เต็มส่วนของเจตนานั้นๆ
9. เมื่อบริจาคดวงตา และร่างกายให้โรงพยาบาลโดยไปทำการจดชื่อลงชื่อมอบให้แล้วมาบ้าน
นิมนต์พระมาทำบุญ แล้วกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร และสัตว์ที่ผู้บริจาคได้ทำเอาไว้กับ
สัตว์ จะได้หรือไม่นั้นก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก เขาจะได้รับ หรือไม่ได้รับก็เป็นการเสี่ยงบุญ
เพราะเขาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ถ้าหากว่าเขาเป็นเปรตสัมภเวสีเขาจึงจะได้รับ ส่วนเขาจะได้รับ
หรือไม่นั้นผลของบุญมาหาเราตามเดิม ถึงแม้เขาจะจองเวรเราอยู่ก็ตามผลบุญส่วนนั้น
ก็ต้องมาหาเราอยู่ ในบาลีจึงยืนยันว่า " ปัตติทานมัย " บุญสำเร็จด้วยการให้บุญ ดังนี้…
10. ถ้าเราบริจาคแล้ว ผู้อยู่ข้างหลังไม่ทำตามคำสั่งเสีย ก็เป็นความผิดของเขา แต่เราได้บุญตามเดิมอยู่
ผู้เขาลืมเขาก็ต้องเป็นบาปบ้าง
11. นางภิกษุณี องค์แรก คือนางปชาบดีโคตมี เป็นพระอรหันต์ก่อนเพื่อน
ที่มา http://www.geocities.com/pralaah/otherQ16_20.htm (http://www.geocities.com/pralaah/otherQ16_20.htm)



- -" บริจาคแล้วค่ะ ดวงตาก่อน ต่อมาก็ร่างกาย
เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมทุกข์ท่านอื่นๆ
เรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธานะคะ...

อนุโมทนาสาธุค่ะคุณหนุ่ม ข้อมูลละเอียดมากๆเลย
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ


(http://bp0.blogger.com/_JQyGy6FVrQE/SHwJqPh2EAI/AAAAAAAAAyA/FyBu_M_c0ec/s320/DSC00003_1.jpg)