[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:20:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “แม่นาก” ผีชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระผู้ใหญ่ได้อย่างไร  (อ่าน 310 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2457


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2567 10:09:14 »



(ซ้าย) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม
 (ขวา) รูปปั้นแม่นากพระโขนง ในศาลแม่นาก ข้างป่าช้าวัดมหาบุศย์ ถ่ายโดย เอนก นาวิกมูล พ.ศ.2521


“แม่นาก” ผีชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระผู้ใหญ่ได้อย่างไร

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - ศิลปวัฒนธรรม วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566


ตำนาน “แม่นาก พระโขนง” เป็นเรื่องเล่าอมตะของคนไทยที่ร่ำลือกันมาหลายยุคหลายสมัย รายละเอียดแต่ละฉบับอาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ส่วนหนึ่งมักมีเอ่ยถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยกันว่า พระผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เริ่มถูกเชื่อมโยงเข้ากับ “ผีชาวบ้าน” ได้อย่างไร

เรื่องเล่าเหนือธรรมชาติในไทยที่เป็นชิ้นคลาสสิก ซึ่งแทบทุกสมัยก็ยังหยิบยกมาพูดถึงเสมอคือเรื่อง “แม่นาก พระโขนง” แม้ว่าเรื่องราวจะผ่านมากว่าร้อยปีแล้วก็ตาม

ต้นตอของเรื่องราวนี้ เอนก นาวิกมูล ผู้ค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์หลายด้าน รวบรวมข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับแม่นาก และเรียบเรียงไว้ในหนังสือ “เปิดตำนานแม่นากพระโขนง” โดยต้นตำรับประวัติของ”แม่นาก” ที่เชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดเป็นฉบับ นายกุหลาบ (ก.ศ.ร. กุหลาบ เกิดสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ.2377 ถึงแก่กรรมสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2464) เขียนลงใน สยามประเภท ฉบับมีนาคม ร.ศ.118 (พ.ศ.2422) เป็นการเขียนตอบผู้อ่านที่เขียนคำถามในรูปแบบโคลงสี่สุภาพมาถามผู้รอบรู้เรื่องเก่า

นายกุหลาบเขียนคำตอบเป็นร้อยแก้วความยาวหน้าครึ่ง ใจความว่า พระศรีสมโภช (บุศย์) ผู้สร้างวัดมหาบุศย์ เล่าเรื่อง “อำแดงนากพระโขนง” ถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (วัดโพธิ์) เสด็จอุปัชฌาย์ของนายกุหลาบ เรื่องผีแม่นากตามข้อเขียนของนายกุหลาบ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 3 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2367-2394)

เรื่องราวของนายกุหลาบสะท้อนว่า แม่นากมีตัวตนจริง แต่ผีที่เล่าลือกันนั้นเป็นผีปลอม เนื่องจากบุตรของนายชุ่ม-อำแดงนาก หวงทรัพย์ของบิดา กลัวบิดาจะมีภรรยาใหม่ จึงทำอุบายใช้คนไปขว้างปาชาวเรือตามลำคลองริมป่าช้าที่ฝังศพอำแดงนาก

แต่ข้อมูลจากหลักฐานตามคำของนายกุหลาบ ก็ยังไม่อาจปักใจเชื่อได้ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่เกิดเหตุผีแม่นาก

เมื่อพิจารณาจากพระนิพนธ์ของ ม.จ.หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล เรื่อง “ชีวิตและงานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ที่เล่าว่า ช่วงที่กรมพระยาดำรงฯ ยังเป็นนายทหารรักษาวังหลวง (ประมาณ ใกล้ๆ พ.ศ.2420) สมเด็จฯ กับเจ้าพี่เจ้าน้องเคยลองถามคนเข้าออกประตูวังว่า ในบรรดารายชื่อ “ท่านขรัวโต (สมเด็จพุฒาจารย์), พระพุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1, จำไม่ได้ว่าใคร และอีนากพระโขนง” ระหว่าง 4 ท่านนี้รู้จักใครบ้าง




สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

คนกลับรู้จัก “อีนากพระโขนง” มากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าคนรู้จักแม่นากกันมานานพอสมควรแล้ว

ส่วนคำถามว่า แม่นาก กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร เอนกเขียนอธิบายไว้ว่า หนังสือชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่เขียนเมื่อ พ.ศ.2473 โดย มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) อดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ

เนื้อหาตอนหนึ่งอ้างอิงมาจากคำบอกเล่าของเจ้านายหม่อมราชวงศ์วังหลังที่ไม่ปรากฏนาม เล่าให้พระยาทิพโกษาว่า พักหนึ่งสมเด็จฯ ท่านทำอะไรแปลกๆ อยู่กรุงเทพฯ ไม่มีเวลาว่างสักวัน ผู้คนไปมาไม่ขาดสาย ต้องเอาปัสสาวะสาดกุฏิบ้าง ทาหัวบ้างจนหัวเหลือง และยังไปพักผ่อนในป่าช้าผีดิบวัดสระเกศ

เมื่อครั้งนางนากพระโขนงตายทั้งกลม ปีศาจของนางกำเริบ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รู้เรื่อง ท่านลงไปค้างที่วัดมหาบุศย์ ตกค่ำก็ไปนั่งหน้าปากหลุม เรียกนางนากขึ้นมาสนทนา เรื่องราวจากนั้นก็เป็นไปตามที่ทุกท่านเล่าต่อกันมาคือ พระพุฒาจารย์เจาะกระดูกหน้าผากนางนาก ขัดเกลาเป็นมัน นำมาวัดระฆัง ลงยันต์เป็นอักษรไว้ตลอด เจาะเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ปีศาจในพระโขนงก็หายกำเริบ

ส่วนปั้นเหน่งนั้น เล่าต่อกันมาว่า สมเด็จฯ มอบให้หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์

เนื้อเรื่องเหล่านี้เป็นการอ้างอิงคำบอกเล่าจากเจ้านายหม่อมราชวงศ์วังหลัง ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริง ไม่อาจหาหลักฐานมายืนยันได้ ยังมีวิจารณ์กันไปต่างๆ นานา บางท่านว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นพระผู้ใหญ่มาก การข้องเกี่ยวกับผีชาวบ้านอาจเป็นไปได้ยาก และท่านไม่น่ายุ่งเกี่ยวกับไสยศาสตร์ขนาดเอาหน้าผากแม่นากมาคาดเอว

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาที่พระยาทิพโกษานำเรื่องแม่นากมาเขียนก็ห่างไกลเหตุการณ์มากแล้ว เขียนเมื่อ พ.ศ.2473 แต่ความเกี่ยวข้องระหว่าง แม่นาก กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็เป็นด้วยการบอกเล่าประการนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 กุมภาพันธ์ 2567 10:13:01 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.761 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 08 พฤศจิกายน 2567 18:17:59