[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 14:53:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพลงร้องสรรเสริญวัดเวฬุวันมหาวิหาร (วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา)  (อ่าน 1609 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 สิงหาคม 2555 19:04:12 »

.
http://upic.me/i/lp/msgu2.jpg
เพลงร้องสรรเสริญวัดเวฬุวันมหาวิหาร (วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา)

ภาพจาก : phuketdata.net

เพลงร้องสรรเสริญเวฬุวันมหาวิหาร
(วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา)

พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภ์แห่งพุทธศาสนา ทรงมีความโสมนัสและปรีดาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์ทรงได้ยินและได้เห็นพวกพสกนิกรของพระองค์และต่างแคว้น  ต่างได้ดื่มรสอมตธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาดังที่พระองค์ได้ทรงปรารถนาไว้  แต่ก็ทรงที่จะอดน้อยพระทัยมิได้ ในเมื่อนึกถึงพระนางเขมาอัครมเหสีผู้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ที่ยังทรงลุ่มหลงแต่ในรูปกายของตนว่างาม  แต่ไม่ยอมติดตามพระองค์ไปเฝ้าพระบรมศาสดาเยี่ยงคนอื่นบ้าง  ครั้นดำรินี้แล้ว พระองค์จึงทรงสั่งให้นักกวีเอกประจำพระราชสำนักแต่งเพลงสรรเสริญความงามของพระราชอุทยานเวฬุวัน  เสร็จแล้วทรงรับสั่งให้จัดสรรหานักร้องชั้นยอดมาร้อง ณ สถานที่ใกล้กับปราสาทที่พระนางเขมาเทวีบรรทม

ผู้ใดมิได้เห็นพระมหาวิหารเวฬุวันอันน่ารื่นรมย์  ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของพระสุคตเจ้าและเหล่าพระอริยสาวก เขาผู้นั้นชื่อว่าไม่ได้เห็นสวนนันทวัน (ของท้าวอมรินทร์สักกเทวราช)

ส่วนผู้ใดได้เห็นพระมหาวิหารเวฬุวัน อันเป็นสวนนันทวันที่น่าเพลิดเพลินของนรชน (ไซร้)  ผู้นั้นชื่อว่าได้เห็นสวนนันทวันของท้าวอัมรินทร์สักกเทวราช

พวกทวยเทพพากันทอดทิ้งสวนนันทวันลงมายังพื้นดิน พากันชมพระมหาวิหารเวฬุวันอันน่ารื่นรมย์ เพลินชมกันอย่างไม่รู้เบื่อ

พระมหาวิหารเวฬุวันอันเกิดขึ้นด้วยบุญของพระราชา อันงามสง่าด้วยเดชานุภาพของพระบรมศาสดา ใครเล่าจักกล้าพรรณนาความงามนั้นให้ครบครันลงได้


ครั้นได้ทรงสดับเสียงเพลงสรรเสริญพระราชอุทยานเวฬุวันซึ่งไพเราะและเพราะพริ้งเช่นนั้น พระนางก็ทรงเกิดความปรารถนาจะไปชมบ้าง ครั้นทรงพระดำริในพระทัยดังนี้แล้ว  พระนางก็เสด็จไปกราบทูลพระราชสวามีให้ทรงทราบถึงความประสงค์ของพระนางทุกประการ

พระเจ้าพิมพิสารมหาราชทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับคำจากพระโอษฐ์ของน้องหญิงผู้เป็นที่รักกราบทูลเช่นนั้น พลันตรัสอนุญาตให้พระนางเสด็จไปได้ตามที่พระนางปรารถนา  แต่ก่อนจะเสด็จไปได้ทรงเตือนพระสติว่า “ควรจะไปเฝ้าพระบรมศาสดาก่อนแล้วจึงค่อยเสด็จกลับ”    พระนางไม่ทรงตอบรับและปฏิเสธประการใด  เพราะเหตุดังนี้ พระราชาจึงได้ทรงสั่งสำทับกับข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จไปด้วยอีกต่อหนึ่งว่า “ถ้าพระอัครมเหสีไม่ทรงยอมพบพระบรมศาสดา  จงกราบทูลเธอว่า นี่เป็นพระราชอาญาจากล้นเกล้าฯ  ครั้นแล้วพระนางเขมาพร้อมด้วยข้าราชบริพารก็ได้เสด็จไปเที่ยวชมพระราชอุทยานในตอนเช้าของวันนั้น



วัดเวฬุวนารามมหาสังคยิกาวาส ประเทศอินเดีย
ภาพจาก : phuketdata.net

เวฬุวันที่พระนางเขมาทรงเห็น

ณ วันนั้นสมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไปบิณฑบาตตั้งแต่ตอนเช้า และเที่ยวเทศนาสั่งสอนประชาชนผู้มีศรัทธาและเลื่อมใส กว่าจะเสด็จกลับมาถึงเวฬุวันได้ก็บ่ายเย็น

ฝ่ายพระนางเขมาก็เสด็จชมพระราชอุทยานสวนสวรรค์ที่อยู่บนพื้นดินเกือบตลอดทั้งวัน  พระนางได้ทอดพระเนตรเห็นความงามของต้นไม้และพรรณไม้ดอกนานาชนิด  ซึ่งกำลังออกดอกและออกผลจนทั่วบริเวณ ทรงเห็นหมู่แมลงผึ้งและแมลงภู่พากันมาชม และลิ้มรสแห่งเกสรอยู่เป็นหมู่ ๆ ได้ยินเสียงร้องของนกดุเหว่าส่งเสียงร้องอยู่เจื้อยแจ้วบนต้นไม้สูง เห็นนกยูงรำแพนอยู่เป็นคู่ ๆ ดูแล้วทำให้ใจเบิกบาน พระนางได้พบสถานที่อันเงียบสงัดและงดงามไปด้วยที่เดินจงกรม ทรงเห็นอาศรมและปะรำซึ่งเป็นที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์ที่สร้างไว้อย่างมีระเบียบเรียบร้อยเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่เป็นทิวแถวใกล้กอไผ่  ครั้นทอดพระเนตรไปยังโคนต้นไม้ พระนางได้ทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุหนุ่มกำลังนั่งสมาธิ พลางดำริในพระทัยว่า การนั่งสมาธิเพ่งธรรมอยู่เช่นนี้ น่าจะเหมาะแก่พวกคฤหัสถ์ผู้ที่มีความสุขทางโลกีย์มากเพียงพอแล้วจึงควรบำเพ็ญ  หรือมิเช่นนั้นก็ควรจะทำในยามแก่

พระนางได้เสด็จชมพระราชอุทยานเวฬุวัน โดยทำนองนี้เกือบตลอดวันไม่ทรงรู้สึกเบื่อพระทัย แต่พอเห็นเวลาบ่ายมากพระนางก็ทรงปรารภกับพวกข้าราชบริพารว่า จะเสด็จกลับสู่พระราชวัง พวกข้าราชบริพารครั้นได้ฟังพระราชเสาวนีย์จากพระนางดังนั้น จึงทูลอัญเชิญเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาตามพระราชโองการ

และในเวลาเย็นวันนั้น ตามประวัติกล่าวว่า  พระบรมศาสดาทรงทราบว่าพระนางเขมาเทวีผู้ซึ่งเป็นพระมเหสีที่รักของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมา พระองค์ทรงกระทำประหนึ่งว่ากำลังนั่งแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท  นิรมิตนางอัปสรกำลังนั่งถือพัดวีไปมาอยู่ข้าง ๆ พระราชเทวี  เมื่อเสด็จเข้าไปเห็นเข้าเช่นนั้น จึงทรงดำริติตนเองในใจว่า “เราเข้าใจผิดถนัดหญิงรูปสวยประดุจนางเทพอัปสรเช่นนี้ยังมี มายืนและนั่งใกล้ถือพัดวีไปมาอยู่ข้าง ๆ พระพุทธองค์  หากจะยกเอาตัวเราเข้าเปรียบแม้จะเทียบกับสาวใช้ของเธอก็ไม่ได้  ตัวเราได้คิดผิดไปเสียนานที่ได้แต่นั่งนึกนอนนึกฝันหวานอย่างผิด ๆ ว่า ตัวเราสวยอย่างหาผู้เปรียบมิได้”  ในขณะที่พระนางดำริอยู่และจ้องพระเนตรดูหญิงนั้นอยู่ พระทรงธรรม์ก็ทรงนิรมิตให้หญิงนั้นจากวันรุ่นสาวเปลี่ยนเป็นวัยกลางคน  จากวัยกลางคนไปเป็นวัยชรา มีหน้าเหี่ยวย่นตลอดทั่วสรรพางค์กาย  ผมหงอกฟันหลุด และในที่สุดพระองค์ก็ทรงนิรมิตให้หญิงนั้นกลิ้งล้มทิ้งพัดต่อหน้าพระพักตร์ของพระนาง  ครั้นพระนางได้ทอดพระเนตรเห็นด้วยตาตนเองเช่นนั้น จิตของพระนางก็พลันสลดได้พระสติว่า “รูปกายของคนเรานี้ถึงจะมีอย่างต่างกัน (คือจะสวยน้อยสวยมาก) ก็ตาม (ในที่สุด) ก็ย่อมถึงซึ่งความวิบัติ (แก่ ตาย) อย่างเดียวกัน ถึงแม้รูปกายของเรานั้นก็จักเป็นเหมือนอย่างนี้ในที่สุด”

ในขณะที่พระนางทรงพิจารณาเห็นความไม่แน่นอนของสังขารอยู่นั่นเอง พระพุทธองค์จึงตรัสพระคาถาสอนพระนางว่า


                                                                        เย ราครตฺตานุปตนฺติ  โสตํ
                                                                        สยํ กตํ มกฺกโฏว  ชาลํ
                                                                        เอตมฺปิ  เฉตฺวาน  วชนฺติ  ธีรา
                                                                        อนเปกฺขิโน  สพฺพทุกฺขํ  ปหาย


แปลว่า
“บุคคลใดก็ตามที่ถูกความรักใคร่ผูกมัด  เขาเหล่านั้นย่อมจัดว่าตกอยู่ในกระแสแห่งความอยากเหมือนกับแมงมุมที่กำลังติดใยตนเอง  ส่วนคนผู้มีปัญญา  ขจัดความอยากนั้น ไม่ติดใจในมันอีกต่อไป ย่อมละความทุกข์ทั้งหมดได้เที่ยวไป (อย่างเสรี)”
ในที่สุดแห่งพระคาถา  พระนางเขมาเทวีก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล หมดความกังวลในเรื่องโลกีย์อีกต่อไป

ครั้นแล้วพระนางก็ทรงกราบทูลลาพระบรมศาสดากลับสู่พระราชนิเวศน์ แล้วทรงแจ้งเหตุทุก ๆ ประการที่พระนางได้รับจากพระราชอุทยานเวฬุวัน ณ วันนั้น เสร็จแล้วพระนางจึงทูลขออนุญาตออกบรรพชาต่อพระราชสวามี

ครั้นได้ทรงสดับดังนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงให้เจ้าหน้าที่จัดเสลี่ยงทองคำแห่พระนางไปยังสำนักพระภิกษุณี



ที่มา : คอลัมน์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ "วัดเวฬุวนาราม วัดแรกในพระพุทธศาสนา"   วารสาร สายตรงศาสนา ประจำเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๕๕ จัดพิมพ์เผยแพร่โดย กระทรวงวัฒนธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 สิงหาคม 2555 19:10:10 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.366 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 05:58:19