[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => นิทาน - ชาดก => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 13 มิถุนายน 2555 14:54:36



หัวข้อ: นิทานเซน : สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 13 มิถุนายน 2555 14:54:36



                   (http://www.villa4vacation.com/pictures/middle/7446/property_445167_6.jpg)

นิทานเซน : สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว
โดย
ASTV ผู้จัดการออนไลน์

 ทุกสิ่งย่อมมี ‘นั้น’ ในตัวเอง ทุกสิ่งย่อมมี ‘นี้’ ในตัวเอง หากมองจากมุมมองของ ‘นั้น’ เราก็ไม่อาจเห็นมันได้ แต่หากใช้ความเข้าใจ เราก็สามารถรับรู้ถึงมันได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ‘นั้น’ เกิดจาก ‘นี้’ และ ‘นี้’ ขึ้นอยู่กับ ‘นั้น’ จึงอาจกล่าวได้ว่า ‘นี้’ และ ‘นั้น’ ต่างให้กำเนิดแก่กันและกัน แต่ที่ใดมีการเกิดย่อมมีการตาย ที่ใดมีการตายย่อมมีการเกิด ที่ใดมีการยอมรับย่อมมีการไม่ยอมรับ ที่ใดมีการไม่ยอมรับก็ย่อมมีการยอมรับ ดังนั้นปราชญ์จึงไม่ดำเนินตามหนทางนี้ หากแต่ใช้ความกระจ่างแห่งฟ้าในการตัดสินทุกสิ่ง
       
       ในภาวะที่ ‘นี้’ และ ‘นั้น’ ไม่มีด้านตรงข้ามของมันอีกต่อไปนั้น เรียกว่าแกนของเต๋า
       ที่อาจยอมรับเราเรียกว่าการยอมรับ ที่ไม่อาจยอมรับเราเรียกว่าการไม่ยอมรับ ถนนหนทางเกิดขึ้นจากการที่ผู้คนเดินเหยียบย่ำไป สิ่งต่างๆเป็นเช่นนั้นเพราะพวกมันถูกเรียกเช่นนั้น

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSaiKxq_yCGaWE4YQ484L39WX3HI-GDeiCW4WFZhohVZJB4LagiDA)               

       ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าท่านจะชี้ไปที่กิ่งก้านอันบอบบางหรือเสาต้นใหญ่ คนป่วยโรคเรื้อนหรือสาวงามนามระบือไซซี สิ่งหยาบช้าสามานย์ หรือสิ่งวิจิตรพิสดาร เต๋าได้ผนึกรวมสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งเดียว ความแตกต่างระหว่างสิ่งเหล่านี้คือความสมบูรณ์เต็มเปี่ยม ความสมบูรณ์ของสิ่งเหล่านี้คือความขาดพร่อง ไม่มีสิ่งใดที่สมบูรณ์หรือขาดพร่องไป แต่ทุกสิ่งถูกผนึกรวมเข้าเป็น ‘หนึ่ง’ มีเพียง ผู้หยั่งเห็น ที่อาจผนวกรวมสิ่งเหล่านี้เข้าเป็น ‘หนึ่ง
       
       แต่การใช้สมองขบคิดเพื่อพยายามเข้าใจถึง ‘หนึ่ง’ โดยมิตระหนักรู้ว่าทุกสิ่งล้วนเป็นเฉกเช่นกัน นี่เรียกว่า ‘เช้าสาม’ ‘เช้าสาม’ นั้นหมายความว่าอย่างไร? เมื่อผู้ฝึกนำผลเกาลัดมาให้ฝูงลิง แล้วบอกว่า “พวกเจ้าจะได้กินในตอนเช้าสามลูก และตอนเย็นสี่ลูก” ฝูงลิงต่างไม่พอใจส่งเสียงร้องเกรี้ยวกราด “เอาล่ะ พวกเจ้าจะได้กินในตอนเช้าสี่ลูก และตอนเย็นสามลูก” ฝูงลิงต่างดีใจกระโดดลิงโลด ความจริงเบื้องหลังคำพูดนี้ไม่ได้แตกต่างกัน แต่กลับทำให้ฝูงลิงบังเกิดความดีใจและโกรธเกรี้ยว ปล่อยมันไปเถิด หากมันต้องการเช่นนั้น ปราชญ์จึงประสานกลมกลืนกับทั้งความถูกความผิด และผ่อนพักในสรวงสวรรค์แห่งความเสมอภาค นี้เรียกว่าการเดินบนเส้นทางคู่.

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTb-M_CdyY5YJr0FeYU50Ok8ByXVWhPhcANpQbOk_slEauEpSui)

       แปลเรียบเรียงตัดตอนจากหนังสือจวงจื่อ(庄子) บทที่สอง สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว 《齐物论》