Pessimism หรือ Optimism
.................................พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง................................
เมื่อกล่าวสรุปให้สิ้นเชิง ในแง่แห่งการกระทำ หรือการปฏิบัติแล้ว พุทธศาสนาคือ ศาสนา แห่งการบังคับตัวเอง
มิใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอน พระเป็นเจ้าผู้มีอำนาจ หรือ เป็น ศาสนา แห่ง การแลกเปลี่ยน ทำนอง การค้าขาย ทำบุญ
ทำทานแลกนางฟ้าในสวรรค์ หรือ อะไรทำนองนี้แต่ประการใดเลยและเพราะความที่พุทธศาสนา เป็น ศาสนา แห่ง การบังคับตัวเอง โดยมีเหตุผล เพียงพอแก่ตนเอง จึงได้ชื่อว่าเป็น ศาสนา แห่ง เหตุผล ด้วย
พุทธศาสนา คือคำสั่งสอน อันเป็นแบบฝึกหัด บังคับตนเอง แต่ว่า ลำพังคำสั่งสอน อย่างเดียว หาใช่เป็น แก่น หรือ เป็นตัว พุทธศาสนา
อันแท้ไม่ แม้ว่าคำว่า ศาสนา จะแปลว่า คำสอน ก็ตาม ตัวศาสนาแท้ หรือ ตัวพรหมจรรย์นั้นได้แก่ การปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนนั้น ๆ
ซึ่งเรียกโดย ภาษาศาสนาว่า สีลสิกขา - จิตตสิกขา - ปัญญาสิกขา
พุทธมามกะ เป็นอันมาก เข้าใจว่า สิกขา ตรงตามรูปศัพท์ เกินไป คือ สิกขา แปลตามรูปศัพท์ ว่าการศึกษาแต่พระพุทธองค์ ตรัสไว้ เป็นหลักว่า
การศึกษาเล่าเรียน ปริยัตินั้น ไม่ใช่ สิกขา แต่การกระทำจริง ๆ ตามหลักที่เป็น การบังคับตนเอง ในส่วนที่เป็น ความ เสื่อมเสีย ทางกาย และ
วาจาเรียกว่า สีลสิกขา ในส่วนใจ เรียกว่า จิตตสิกขา และ ในส่วนที่เกี่ยวกับ ความคิดนึก เพื่อรู้สิ่งที่ชีวิต จะต้องรู้ เรียกว่า ปัญญาสิกขา
ในส่วน สีลสิกขา โดยประเภท คือ การบังคับตนให้ตั้ง หรือดำเนิน ไปด้วย กาย วาจา ตามกฏ อันเป็นระเบียบ มรรยาท หรือ จรรยาอันตนจะพึงประพฤติ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และ ต่อวัตถุสิ่งของ อันเกี่ยวเนื่องกัน เป็นข้อบังคับตายตัว ในเบื้องต้น เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรสีล มีหลายพวก
เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียม ของนักบวชก็มีเกี่ยวกับอนามัยของร่างกายก็มี เกี่ยวกับการเคารพปฏิสันถารปรนนิบัติ ฯลฯ ผู้อื่นก็มี เกี่ยวกับการรักษาสิ่งของเครื่องใช้สอยของตนหรือหมู่ก็มี และยังมีอย่างอื่นอีกซึ่งเป็นส่วนต้องรู้แล้วทำในเบื้องต้น อนุโลม ทำนองเดียวกัน ทั้งฆราวาส และบรรพชิตการควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ให้ กำเริบ ไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นโลกธรรม เรียกว่า
อินทรียสังวรสีล การควบคุมตน ให้มีการแสวงการรับ การบริโภค ปัจจัย เครื่องอาศัย อันจำเป็น แก่ชีวิต อย่างบริสุทธิ์จากการหลอกลวงตนและผู้อื่นเรียกว่า อาชีวปาริสุทธิสีล และ การควบคุมตน ให้มีสติระลึก เพียงเพื่อยัง อัตตภาพ ให้เป็นไปในการบริโภค ปัจจัยนั้น ๆ ไม่บริโภค ด้วยตัณหา เรียกว่า ปัจจยสันนิสสิตสีล รวมเรียกว่า ปาริสุทธิศีลสี่ หรือ จตุปาริสุทธศีล เรียกภาวะแห่งการกระทำจริง ๆ ตามนี้ว่า สีลสิกขา อันได้แก่การ