[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 พฤษภาคม 2567 17:40:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: (中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน  (อ่าน 9649 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 20 เมษายน 2553 19:25:16 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 64px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-shockwave-flash" src="http://www.flash-mp3-player.net/medias/player_mp3_maxi.swf?mp3=http://www.mahaparamita.com/music.mp3&amp;width=250&amp;showstop=1&amp;showinfo=1&amp;showvolume=1&amp;volumewidth=35&amp;sliderovercolor=ff0000&amp;buttonovercolor=ff0000" width="800px" height="64px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" pluginspage="http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" autoplay="false" autostart="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.mahaparamita.com/music.mp3" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.mahaparamita.com/music.mp3</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

ทศมหาปณิธานของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์จริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


.........................ปาฐกถาโดย........................


..................................พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก (釋聖傑)......................................


..............................ณ.สมาคมพุทธบริษัทไทย-จีนประชา (中華佛學研究社)............................


...............................................วันที่ 27 กันยายน 2552.......................................


พระสูตรของฝ่ายมหายานนั้น มีอวตังสกะสูตรเป็นเอก เมื่อพระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว ขณะทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข บรรดาโพธิสัตว์ทั้งหลายก็ได้มาสรรเสริญ ธรรมธาตุกายภาวะของพระองค์ อวตังสกะสูตรนี้จึงถือเป็นสูตรแรกและสูตรใหญ่ของมหายาน
ชื่อพระสูตรนี้ในภาษาจีนคือ 大方廣佛華嚴經 คำว่า 大 หมายถึง ธรรมธาตุกาย คือพระไวโรจนพุทธเจ้า คำว่า方 หมายถึง สัมโภคกาย คือพระโลจนพุทธเจ้า และ廣 หมายถึง นิรมาณกาย คือพระศากยมุนีพุทธเจ้า ดังนั้น พระสูตรนี้จึงรวบรวมไว้ซึ่งตรีกาย(大,方,廣)ของ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรีกายนี้คือผลแห่งความเป็นพุทธะ เมื่อผลไม่ไกลจากเหตุ และเหตุคือการปฏิบัติจริยาทั้งปวงที่นำไปสู่ผลคือพุทธภูมิได้เช่นกัน จึงเรียกว่า 華 หมายถึงดอกไม้ ที่ร้อยกันเป็นพวง คือความที่เหตุและผลเป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องกัน และเพราะคุณแห่งตรีกายและความสืบเนื่องของเหตุปัจจัยไม่มีประมาณ มีความยิ่งใหญ่ไพศาลจึงเรียก 嚴 หมายถึงความอลังการ สูตรนี้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า 華嚴 หรือ อวตังสกะ หรือดอกไม้ที่เรียงร้อยกันเป็นพวง



http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:38:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 19:35:01 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน



อวตังสกะมุ่งเน้นบำเพ็ญที่เหตุ เมื่อเหตุสมบูรณ์ผลย่อมสมบูรณ์ บรรดาโพธิสัตว์ผู้บำเพ็ญเหตุ ที่ประชุมอยู่ในอวตังกะสันนิบาต ต่างก็สรรเสริญพระพุทธคุณตามที่ตนเองได้บรรลุเข้าถึงแต่ละประการ พระตถาคตก็ทรงนิ่งอยู่ มีเพียงพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ที่มีจริยาวัตรบริบูรณ์ เมื่อพรรณนาถึงผลของพระพุทธะได้สมบูรณ์ครบถ้วน พระตถาคตเจ้าจึงแย้มสรวล
พระสมันตภัทร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญ ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหายานและจริยาวัตรที่ประเสริฐ ซึ่งบรรดาโพธิสัตว์ทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตาม
ในตอนท้ายของอวตังสกะสูตร (ฉบับ 40 ผูก) มีสมันตภัทรจริยาวรรค (入不思議解脫境界 《普賢行願品》) ภายในมีมหาปณิธานที่สำคัญยิ่ง 10 ประการที่แสดงถึงอัธยาศัยของกาย วาจาและใจของพระโพธิสัตว์ ที่ปุถุชนและอริยภูมิต่างๆ ยากจะหยั่งถึง เมื่อพระโพธิสัตว์มีปณิธานและจริยาวัตร
ยิ่งใหญ่ ที่ล้วนแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก มิใช่เพื่อตนเอง จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงค์ใหญ่ ทำให้สามารถบรรลุพุทธผลที่ยิ่งใหญ่ และอนุเคราะห์สัตว์โลกได้ยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ จึงจะถือว่าเป็นคำนิยามของมหายานได้โดยแท้ ซึ่งมิใช่มหายานในแง่ของนิกายหนึ่งของพระพุทธศาสนาอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ กัน ดังนี้........................................................



1.เคารพ นอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งปวง 一者禮敬諸佛


พระสมันตภัทรโพธิสัตว์กล่าวกับสุธนกุมารว่าแม้น เราจักพรรณนาพระคุณของพระตถาคตแล้ว ก็ยังเสมือนน้ำ 1 หยดในมหาสาคร หากจักกล่าววิภาษาอธิบายให้กว้างขวางแล้ว แม้นจะพรรณนาพระคุณของพระตถาคตเจ้าทั้งปวง จนสิ้นอนาคตภาคก็หาจุดอวสานมิได้ บัดนี้เมื่อปรารถนาเข้าสู่ตถาคตคุณสาครอันไม่มีขอบเขตและหยั่งวัดไม่ได้ การประพฤติตามมหาปณิธานอันเป็นราชาทั้ง 10 นี้เท่านั้น จึงจักทำให้เข้าถึงได้
พระสุธนกุมารกล่าวว่า ขอมหาบุรุษโปรดแสดงเถิด ข้าพเจ้าและหมู่สัตว์ต่างปรารถนาจักประพฤติตาม”พระสมันตภัทรมหาโพธิสัตว์กล่าวว่า ประการที่ 1 คือ เคารพนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งปวง
ปณิธาน ข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานของทั้ง 10 ข้อ คือต้องเลื่อมใสพระพุทธองค์ด้วยใจจริงก่อน พร้อมจะปฏิบัติตามคำสอนหรือดำเนินจริยาวัตรตามพระองค์ จึงจะกระทำปณิธานที่เหลือได้ ของอักษรจีนว่า 禮 หมายถึง กายแสดงความเคารพ, คำว่า敬 หมาย ถึง ใจมีความนอบน้อม เมื่อใจนอบน้อมกายจึงแสดงความเคารพ เมื่อกายแสดงความเคารพจึงเรียกว่ามีศรัทธา เมื่อนอบน้อมแล้วจึงมิแสร้งกระทำ เมื่อมิแสร้งกระทำแล้วจึงเรียกว่าสุจริตใจ จึงสามารถเข้าสู่ธรรมธาตุ ได้เห็นพุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าในตรีกาลทั่วทศทิศอันมีจำนวนมากเท่ากับ ปรมาณูทั้งหมดได้ ซึ่งแต่ละพุทธเกษตรหนึ่งๆ ก็มีความว่างเป็นสภาวะ ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เช่นกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:50:22 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 19:37:48 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


เมื่อความว่างไม่กีดขวางและไม่เป็นอุปสรรคแก่กัน ธรรมธาตุจึงปรากฏใน 2 ลักษณะ คือความเป็นธาตุ(理) และความเป็นลักษณะ(事)เพราะอาศัยธาตุคือสภาวะแท้ประกาศปณิธาน จึงมีชื่อว่า สมันตภัทรปณิธาน (願) คือปณิธานที่ประเสริฐโดยรอบ เพราะอาศัยธาตุคือสภาวะแท้ประพฤติจริยา จึงชื่อว่า สมันตภัทรจริยา (行) คือ จริยาที่ประเสริฐโดยรอบ เพราะอาศัยธาตุคือสภาวะแท้ประพฤติจริยา จริยาจึงมีกำลังไปทั่วธรรมธาตุ(คือธาตุแห่งธรรมที่เป็นสากลไม่ขึ้นกับสิ่งใด , ธรรมชาติของจักรวาลที่ไม่มีขอบเขตปราศจากข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่) เพราะอาศัยธาตุคือสภาวะแท้ประกาศปณิธาน ปณิธานจึงมีกำลังไปทั่วจักรวาล เพราะปณิธานและจริยามีกำลังเช่นนี้ จึงสามารถทำให้ผู้ประพฤติมีจิตศรัทธาที่บริสุทธิ์ และมีปัญญารู้จำแนกได้ทันที ส่องเห็นปวงพระพุทธเจ้าในธรรมธาตุ ดุจว่าปรากฏอยู่เบื้องหน้า กล่าวคือได้เห็นตามปริมาณที่ปรากฏ แต่มิใช่รู้เท่ากับปริมาณที่มี เหมือนครั้งที่สุธนกุมารเยี่ยมคารวะท่านเมฆศรีภิกษุ (德雲比丘) ซึ่งท่านได้บรรลุการเจริญพุทธานุสติ สามารถเห็นปวงพระพุทธะในธรรมธาตุจากสมาธิ
เมื่อมีใจน้อมถึงพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายว่าทรงมาปรากฏอยู่ตรงหน้า จิตจึงเกิดศรัทธา ความตั้งมั่นเป็นเอกัคตา และสงบขึ้นเอง ในขณะจิตนั้น ความคิดฟุ้งซ่านจะหายไปหมดชั่วขณะ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้กาย วาจา ใจบริสุทธิ์ เมื่อทวารทั้งสามนี้บริสุทธิ์ จึงสามารถแสดงความเคารพพระพุทธเจ้า
ได้ทุกพระองค์ ด้วย เหตุที่ได้พบพระพุทธะในธรรมธาตุ ได้มีปรีชาญาณแห่งพุทธะ จึงได้แลเห็นกายของตนบริสุทธิ์ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมของตนก็บริสุทธิ์ แล้วจึงใช้กรรม 3 ที่บริสุทธิ์ของตนเอง แสดงความเคารพนอบน้อมต่อพระพุทธะอยู่เป็นนิจ
อุบายวิธีในการสักการะพระพุทธองค์ตามพระสูตร ได้อธิบายว่า อุปมาฝุ่นละอองหนึ่ง เป็นโลกแห่งหนึ่ง ในโลกนี้ก็มีพระพุทธเจ้ามากมาย แวดล้อมด้วยโพธิสัตว์ไม่มีประมาณ ในจักรวาลนี้มีฝุ่นละอองมากมาย จึงทราบได้ว่า มีพระพุทธเจ้าและโพธิสัตว์มากมายนับไม่ถ้วน เมื่อทำจิตแผ่กว้างออกไปอย่างนี้ เราก็น้อมจิตว่าจะขอนมัสการพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เหล่านั้น  
เมื่อมีกายบริสุทธิ์แล้ว จึงสามารถปรากฏกายจำนวนมากเท่าปรมาณูไปยังพุทธเกษตรต่างๆ จำนวนประมาณมิได้ เพื่อนมัสการพระพุทธเจ้าจำนวนเท่าปรมาณูอันประมาณมิได้ ในขณะนั้นจึงได้เข้าสู่ธรรมธาตุ เพื่อนมัสการพระพุทธะในธรรมธาตุ อันธรรมธาตุนั้นไม่สิ้นสุด  พระพุทธะก็ไม่สิ้นสุด กายของเราก็ไม่สิ้นสุด การนมัสการจึงไม่สิ้นสุดด้วยเช่นกัน..................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:23:06 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 19:41:39 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


สมมติว่าอากาศหรือจักรวาลสิ้นสุด การนมัสการเคารพนอบน้อมของเราจึงสิ้นสุด แต่อากาศธาตุหรือจักรวาลก็คือธรรมธาตุ เพราะธรรมธาตุไม่สิ้น จักรวาลจึงไม่สิ้น การนมัสการนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงของเราจึงไม่สิ้นสุด
สัตวธาตุ ก็คือธรรมธาตุ เพราะธรรมธาตุไม่สิ้น สัตวธาตุจึงไม่สิ้น ดังนั้น การนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงของเราจึงไม่สิ้นสุด
กิเลสของสัตว์ ก็คือธรรมธาตุ กิเลสของสัตว์ไม่สิ้น การนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงของเราจึงไม่สิ้นสุด
กรรมธาตุ เพราะธรรมธาตุไม่สิ้น กรรมธาตุไม่สิ้น การนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวงของเราจึงไม่มีที่สิ้นสุดอวสาน
การระลึกแม้นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็ระลึกด้วยนอบน้อมสืบเนื่องไม่ขาดหายอยู่เช่นนี้ จึงไร้ซึ่งกาลเวลา มีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ด้วยความไม่มีคู่เปรียบ จึงเรียกว่า อสังขตธรรม เหตุนี้จึงนอบน้อมเคารพอยู่เป็นปกติ อย่างไม่รู้เบื่อหน่าย



2. สรรเสริญพระตถาคต 二者稱讚如來


คือการยกย่อง สรรเสริญ สดุดีซึ่งพระพุทธคุณ พระคุณของพระพุทธเจ้านั้นมีอเนกประการ เป็นที่สุด หาสิ่งใดในจักรวาลเสมอมิได้ เหตุนี้เราจึงจะยกย่อง สรรเสริญ สดุดีดั่งความตอนหนึ่งในปรินิพพานสูตรฝ่ายมหายานที่พระกัสสปะโพธิสัตว์สรรเสริญ พระพุทธเจ้าว่า ข้าฯ ขอสรรเสริญซึ่งธรรมประการหนึ่งของพระพุทธองค์ คือทรงมีเมตตาจิตอย่างยิ่งได้เสด็จไปในโลกธาตุ อันเมตตานี้คือสุทธิวิโมกษ์ เมตตานี้คือมหาธรรมขันธ์
ก็เพราะความเมตตาของพระพุทธองค์ จึงก่อเกิดธรรมทั้งปวง ความเมตตาสมบูรณ์ด้วยความดีทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยทศพละ เวสารัชชธรรม คือกำลังและธรรมที่มีเฉพาะพระพุทธเจ้า อันไม่เหมือนกับเมตตาของพระสาวกที่ไม่สมบูรณ์ แล้วจะประสาไรกับความเมตตาเทวดาและมนุษย์ที่เทียบกันไม่ได้เลย
ดังนั้น ความเมตตาของพระพุทธองค์จึงรวมไว้ซึ่งคุณธรรมหมื่นประการ และความกรุณา มุฑิตา อุเบกขาของพระพุทธองค์ก็เช่นกัน หากสรรเสริญพระพุทธคุณด้วยสภาวะแห่งธรรมหรือกำลังของพระสมันตภัทรแล้วมิได้ เข้าถึงธรรมธาตุ มิได้พบ มิเข้าใจย่อมเป็นไปมิได้
นี่คือสมันตภัทรปณิธานประการแรก ๆ ด้วยเพราะมีปณิธานจึงก่อเกิดจริยา เพราะมีปณิธานและจริยาผสานกันจึงเข้าสู่ธรรมธาตุได้ และ โลกธาตุทั้งหลายที่มีจำนวนเท่าปรมาณูในอวกาศ แต่ละปรมาณูก็มีสภาวะเป็นศูนยตา ซึ่งล้วนแต่มีพระพุทธเจ้าจำนวนเท่าปรมาณูอยู่ภายใน แต่ละพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ ก็มีหมู่โพธิสัตว์มหาศาลแวดล้อมอยู่ อุปมาหมู่ดาวบนฟ้า และดุจไพร่ฟ้าเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน พระพุทธคุณประเสริฐหาประมาณมิได้อันหมู่สัตว์พึงน้อมเป็นที่พึ่งเราใช้ศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้าในข้อแรก น้อมมาพิจารณาพระคุณธรรมต่างๆ ของพระพุทธเจ้าทั้งปวงอีกครั้ง จะเห็นว่ามีมากมายไม่อาจพรรณนาได้หมดในช่วงเวลาที่น้อยนิด ในพระสูตรกล่าวไว้เสมอว่า พระพุทธเจ้าอีกองค์หากจะพรรณนาถึงพระคุณธรรมของพระพุทธเจ้า หรือพระมหาโพธิสัตว์สักองค์ หากจะใช้เวลาเป็นกัลป์หนึ่งหรือหลายกัลป์ไม่อาจกล่าวได้ครบถ้วน ในข้อนี้เราจะต้องมีความเลื่อมใสในปณิธานข้อแรกอย่างเต็มเปี่ยมเสียก่อน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:24:18 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 19:46:08 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


จากนั้นจึงสรรเสริญสดุดีพระพุทธคุณด้วยภาษาสำเนียงที่ไพเราะกว่าศัพท์หรือ สำเนียงของพระนางสุรัสวตี เทวีแห่งการศึกษา วาจาและอักษรศาสตร์ พระพุทธเจ้ามีจำนวนมาก หากเราจะสรรเสริญไปจนถึงอวกาศหรือสัตว์โลกหมดสิ้นไปก็ยังสรรเสริญได้ไม่หมดสิ้น
หากเราใช้ปัญญาและศรัทธาที่ลึกซึ้ง ก็จะรับรู้หรือสัมผัสพระพุทธเจ้าทั้งปวงในจิต เมื่อเรามีจิตเช่นนี้แล้ว จะรู้เห็นว่าสรรพเสียงต่างๆในโลก ก็คือสุรเสียงของพระพุทธองค์ คือการลดทวิภาวะ ความเห็นแบ่งแยก หรือทลายอัตตาลงได้ ไม่ว่าจะมอง ดู ฟังอะไรๆ ก็คือธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเราอยู่ตลอดเวลาไม่เคยหยุดเลย เพราะเมื่อใจเป็นธรรม เห็นธรรม ทุกสิ่งในจักรวาลก็เป็นธรรมราบเสมอกัน ไม่แบ่งแยกว่าสิ่งนี้คืออธรรม
สิ่งนั้นคือธรรม      
ในพระสูตรสอน การทำสมาธิเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าไว้ 4 ขั้นตอน คือ..................................................
1. สรรเสริญพระพุทธเจ้าให้ออกมาทางวาจา และจากจิตภายใน      
2. ทุกอณูหรือทุกเซลล์ของร่างกายที่ไหลเวียน ก็มีตัวเราสรรเสริญพระพุทธเจ้าอยู่
3. มีการสรรเสริญพระพุทธเจ้าเปล่งออกมาทุกขุมขนในร่างกาย
4. จนมีการสรรเสริญพระพุทธเจ้าดังก้องไปทั่วจักรวาลนี้ คือวิธีเริ่มต้นการสรรเสริญพระพุทธเจ้าจากภายในตนเอง แล้วแสดงออกมาภายนอกนับเป็น
อุปายะที่แยบคาย เมื่อเจริญแล้วจะได้ทั้งศรัทธาและความสงบทั้งกาย วาจาและใจ เพราะความไม่มีอัตตา เป็นอนัตตาหรือไร้ตัวตน สลัดทิ้งความรู้สึกว่าเป็นตัวตนในปัจจุบัน เพื่อรวมเป็นสภาวะเดียวกับจักรวาล จึงเข้าสู่ธรรมธาตุ แล้วจึงน้อมมาพิจารณาตัวตนในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญญาว่าทั้งตัวตนในปัจจุบันของเรานี้กับธรรมธาตุก็เป็นอนัตตา ไม่เที่ยง ไม่เป็นตัวตน เป็นมายา เพราะจิตปรุงแต่งแล้วไปยึดมั่นเอาเองทั้งสิ้น
อันพระคุณแห่งพระพุทธเจ้านั้นมีปริมาณกว้างใหญ่ไพศาลดุจอวกาศเมื่อ ธรรมธาตุไม่สิ้น การสรรเสริญของเราจึงไม่สิ้น อากาศธาตุ สัตวธาตุ กิเลสของสัตว์ กรรมของสัตว์ไม่สิ้น เราจึงสรรเสริญอยู่ไม่รู้จบสิ้นการ ระลึกแม้นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็ระลึกด้วยนอบน้อมสืบเนื่องไม่ขาดหายอยู่เช่นนี้จึงไร้ซึ่งกาลเวลา เหตุนี้จึงสรรเสริญสดุดีอยู่เป็นปกติ ไม่รู้เบื่อหน่าย...............................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:24:47 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:09:14 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน



3. ถวายสักการะยิ่งใหญ่ 三者廣修供養


ฟ้า - ดินก่อเกิดสรรพสิ่งเพื่อหล่อเลี้ยงมนุษย์ มนุษย์ก็นำสรรพสิ่งบูชาพระพุทธองค์ และบริจาคแก่สัตว์ทั้งหลาย ให้ภายในรู้ละวางความละโมบถี่เหนียว(ปัญญา หรือ 慧)ภายนอกก็สั่งสมกุศลสมภาร (บุญ หรือ 福) จึงเรียกว่า บุญและปัญญาสมบูรณ์ทั้งสองส่วน(福慧雙修)การบูชาด้วยธรรม สิ่งของที่ประณีต บูชาด้วยกายทำดี วาจาสรรเสริญ หรือน้อมจิตบูชา ก็คือการบูชาด้วยการทำดี 10 ประการทางกาย วาจาและใจนั่นเอง
ผู้บูชาหากนำสิ่งมีค่าที่สุดของตนถวายต่อพระอริยเจ้าแล้วไซร้จึงชื่อว่า สักการะยิ่งใหญ่หาใช่ที่ปริมาณ พึงทราบว่าการสักการะมีอานิสงค์คือ บุญ
เพราะมีบุญจึงมั่งมี เมื่อมั่งมีจึงสามารถสักการบูชา อันสิ่งของ การบูชา และบุญ ทั้ง 3 ส่วนมีความเกี่ยวพันเป็นเหตุปัจจัยอยู่เช่นนี้
แล้วพระพุทธะประทับที่ใด? ที่ไหนจึงได้เห็นพระพุทธะ ? ธรรมธาตุนั้นไร้ลักษณะ อวกาศก็รูปร่าง โลกธาตุจำนวนเท่ากับปรมาณูในทิศทั้ง 10 และในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ก็ล้วนมีสภาวะเป็นศูนยตา สามารถแลเห็นพระพุทธะในธรรมธาตุได้จากแต่ละปรมาณูหนึ่ง ๆ ทั้งสิ้น พระพุทธะหนึ่ง ๆ
ต่างทรงหมุนมหาธรรมจักร ที่ประทับของพระพุทธะหนึ่งๆ ก็ยังแวดล้อมด้วยหมู่โพธิสัตว์จำนวนมหาศาล
เราทั้งหลายได้ประกาศสมันตภัทรมหาปณิธาน ประพฤติสมันตภัทรมหาจริยาแล้ว ด้วยกำลังของปณิธานและจริยา ความมีจิตศรัทธาบริสุทธิ์ลึกซึ้งมีใจอันน้อมไปตาม จึงได้เห็นตามที่ปรากฏ จึงได้รู้ตามที่ปรากฏ เมื่อได้เห็นธรรมสันนิบาตที่ประชุมของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย แล้วจึงมีลักษณะ(事) อันเกิดแต่ธาตุ(理)หรือจริยา(行)ที่เกิดจากปณิธาน(願)ทุกสิ่งจึงบริสุทธิ์และสมบูรณ์  เรียก ว่าการกระทำอันเกิดแต่ธรรมธาตุภาวะ การสักการะ
จึงยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ เครื่องสักการะที่ประณีตทั้งปวง อันมีของหอม ควันของเครื่องหอมที่ลอยเต็มท้องฟ้า เครื่องทาหอมก็ชโลมทาทั่วพื้นปฐพีในโลก
พวงมาลา เครื่องดนตรี ร่มฉัตร แพรพรรณ ก็เต็มเปี่ยมทั่วธรรมธาตุเพื่อบูชาพระตถาคต ดวงประทีปมีความใหญ่โตปานสิเนรุสิงขร น้ำมันหอมมีปริมาณเท่ามหาสมุทรเพื่อบูชาพระตถาคต
ประการนี้เรียกว่าการบูชาโดยลักษณะ(事) แล้วนำลักษณะกลับสู่ธาตุ(理)เพราะธาตุเดิมแท้บริสุทธิ์จึงคือธรรม อีกนัยยะหนึ่งคือการบูชาอันเกิดจากธาตุ(理)แล้วแสดงออกในรูปของลักษณะ(事) เพื่อสั่งสอนสัตว์โลกก็ได้ล้วนเรียกว่า ธรรมบูชา เมื่อประพฤติตามธรรม ดวงจิตจึงครอบคลุมธรรมธาตุ
มีกุศลเท่าอวกาศ เพราะในบรรดาการบูชาทั้งปวง ธรรมบูชาประเสริฐที่สุด เพราะธรรมภาวะนั้นบริสุทธิ์ เมื่อประพฤติตามธรรมจึงคือการบูชาธรรมธาตุ
กายของพระตถาคต........................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:25:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:12:12 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


.................................การบูชาพระตถาคตแบ่งได้ 7 ประการคือ.............................


1. การปฏิบัติบูชา ตามคำสอนของพระพุทธองค์
2. บูชาด้วยการยังประโยชน์สุขให้สรรพสัตว์ พวกเรารู้จักแต่การบูชาเพื่อขอให้ตนเองมีความสุข ได้บุญกุศล แต่การบูชาพระพุทธเจ้าของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั้น มีแต่หวังให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้มีสุข
3. บูชาด้วยการสงเคราะห์สรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกก็เพื่อสงเคราะห์หมู่สัตว์ ด้วยความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ ไม่ใช่ทรงอุบัติขึ้นเพื่อพระองค์เอง การบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการช่วยเหลือ การสงเคราะห์เพื่อนร่วมโลก ไม่เฉพาะแต่มนุษย์ด้วยกัน แม้แต่เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย เทวดา นาค เราก็จะช่วยเหลือตามกำลังสามารถ จึงจะเรียกว่าได้เจริญตามจริยาวัตรของพระพุทธองค์
4. การรับทุกข์แทนสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระเมตตากรุณาไม่มีประมาณ ที่อุบัติขึ้นในโลกแห่งความทุกข์ ความเสื่อม ทรงตรากตรำ ทรงวิริยะเหนื่อยยากเพื่ออธิบายธรรมแก่หมู่สัตว์ที่ดื้อดึง แข็งกระด้าง ก่อนหน้านั้นพระองค์ยังได้บำเพ็ญบารมี ด้วยการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ ทรงสละร่างกาย สิ่งอันเป็นที่รัก ความสุขเฉพาะตนมานานแสนนาน ด้วยปรารถนาช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ รู้ธรรม การเกิดจิตที่จะรับทุกข์แทนสรรพสัตว์เท่านี้ จิตของเราก็จะยิ่งใหญ่และเข้าสู่ธรรมธาตุได้ หากจะเปรียบความทุกข์ของสรรพสัตว์อุปมาหินก้อนใหญ่ แต่เมื่อจิตเราเป็นดั่งธรรมธาตุหรือจักรวาลที่ไม่มีขอบเขตแล้ว ก็ย่อมรับทุกอย่างไว้ได้ด้วยความไม่สะทกสะท้าน เพราะหินและตัวเราล้วนเป็นมายา ที่เกิดเป็นตัวตนขึ้นมาเพราะอวิชชาไปยึดมั่นถือมั่นเอง อุปายะข้อนี้ถือเป็นการละลายอัตตาของโพธิสัตว์ทั้งหลาย
5. การเร่งเพียรสร้างกุศลมูล ในตนเองให้ถึงพร้อมและช่วยให้สรรพสัตว์ปฏิบัติตาม
6. การไม่ละทิ้งจริยาวัตรของโพธิสัตว์ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายประพฤติจริยา อันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของสัตว์โลกทั้งสิ้น ดังนั้นทุกๆความรู้สึก ทุกๆความระลึกในจิต ล้วนเป็นไปเพื่อให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ ไม่ทอดทิ้ง ไม่ดูดาย ไม่วางเฉย จึงทำให้โพธิสัตว์ทั้งหลายเพียรสร้างกุศลบารมีในตน เพียรอบรมปัญญา และนำมาเป็นอุปายะช่วยเหลือสัตว์โลกตามจริตอัธยาศัย โดยมีเมตตากรุณาที่ยิ่งใหญ่ เป็นเครื่องนำ
7. บูชาด้วยการไม่ห่างจากโพธิจิต การมีโพธิจิตจะทำให้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ เพราะการมีโพธิจิตนี้จึงเป็นกำลังในการบูชาทั้ง 6 ข้อข้างต้นได้ จึงเป็นกำลังในการทำประโยชน์แก่สัตว์โลกไม่มีประมาณ ถือว่าเป็นพลังใจที่น่าอัศจรรย์...............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:25:44 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:14:45 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


อนึ่งการให้ธรรมเป็นทานนั้นไม่มีประมาณ ไม่สิ้นสุด แต่ให้ทรัพย์เป็นทานยังมีจำกัด พระพุทธเจ้าทั้งปวงมีธรรมเป็นอาจารย์
เมื่อบรรลุธรรมจึงสำเร็จพุทธะ เมื่อสำเร็จพุทธะจึงแสดงธรรม จึงทรงเคารพธรรมเป็นหนักหนา หากสรรพสัตว์ประพฤติตามธรรม จึงได้ชื่อว่าประพฤติตามพระพุทธเจ้า บรรดาโพธิสัตว์ปฏิบัติบูชา จึงได้พบพระพุทธะอันมีกายเป็นธรรม มีดวงจิตตามธรรม เช่นนี้จึงชื่อว่า “ธรรมบูชา อย่างแท้จริง
ผู้คนในปัจจุบันส่วนมากจะเข้าใจว่าการบูชาพระพุทธเจ้านั้นมีเพียงการบูชาด้วย สิ่งของ หรืออามิสบูชา ด้วยสิ่งของสวย ๆง าม ๆ หรือมีราคาแพง ๆ หรือการจัดประรำพิธีให้ยิ่งใหญ่สมฐานะของผู้เป็นเจ้าภาพ แต่ไม่เข้าใจการบูชาที่แท้จริง จึงนับว่าเป็นผู้ที่เสียทรัพย์ เสียแรง เสียเวลาไปโดยไม่ได้
อานิสงค์ที่พึงได้เลย เรากล่าวว่าการให้ทรัพย์ ให้ธรรม ให้อภัยเป็นทาน ก็คือการบูชาเช่นกัน หากเราบูชาด้วยธรรมเราจึงเข้าถึงธรรม แต่หากเราบูชาด้วยอามิสหรือสิ่งของ ที่เจือปนด้วยกิเลสจึงได้แต่กิเลสเป็นสิ่งตอบแทน
เราไม่อาจปฏิเสธอามิสสิ่งของบูชาว่าไม่มีความสำคัญ เพราะเราท่านยังมีกายสังขาร หากเราจะใช้อามิสสิ่งของให้เกิดประโยชน์ตามคุณลักษณะที่แท้
ก็ควรบริจาคทานแก่ผู้ยากไร้จะดีกว่าเมื่อพูดถึงการให้ทาน ก็จะประกอบด้วยคนทั้ง 2 ฝ่ายคือผู้ให้และผู้รับ ในคัมภีร์วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (金剛經)ยังกล่าวว่า การให้ทานที่มีอานิสงค์มาก คือผู้ให้ทานก็ให้ด้วยความไม่มีอัตตาตัวตนว่าเป็นผู้ให้ และไม่มองผู้รับว่ามีผู้รับ คือการมองเป็นความว่าง
สักว่าเป็นกิริยาทั้งสองส่วน เพราะเมื่อเรามองเห็นว่าเป็นให้ย่อมเกิดอัตตา หากมองว่ามีผู้รับก็จะเกิดมานะ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการให้ทานที่มุ่งให้สละทรัพย์ภายนอกจนถึงความเป็นตัวตน    
การบูชาที่วิเศษยิ่งใหญ่ ต้องพร้อมด้วยธาตุ(理)และลักษณะ(事)คือธรรมและทรัพย์ไม่เป็นสองคือไม่มีความเห็นแยกว่าต่างกัน(財法無二)ด้วยใจที่ไม่มีกิเลสอย่างแท้จริง และเพราะอวกาศไม่สิ้นสุด  ธรรมธาตุไม่สิ้น สัตวธาตุ กิเลสของสัตว์ กรรมของสัตว์ไม่สิ้น เราจึงบูชาอยู่ไม่จบสิ้น  การ ระลึกแม้นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็ระลึกถึงการสักการะสืบเนื่องไม่ขาดหายอยู่เช่นนี้ จึงไร้ซึ่งกาลเวลา ด้วยกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ เหตุนี้จึงถวายบูชาอยู่เป็นปกติ ไม่รู้เบื่อหน่าย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:26:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:18:55 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


4. สำนึกในความผิด 四者懺悔業障



อวตังสกะสูตร มีศัพท์เฉพาะของนิกายมหายานสำนักนี้ว่า เอกสัตยธรรมธาตุ(一真法界)หมายถึง ธาตุ(理)ซึ่งก็คือสภาวะเดิมแท้ของทุกสรรพสิ่ง เมื่อไม่รู้แจ้งเอกสัตยธรรมธาตุจึงเรียกว่า อวิชชา บริวารของอวิชชามี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น เพราะพิษทั้ง 3 นี้ทำให้สร้างกรรมจำนวนมากมายประมาณไม่ได้ เพราะกรรมจึงนำมาซึ่งความทุกข์ ดังนั้นทะเลทุกข์จึงหาขอบฝั่งมิได้เพราะสรรพสัตว์ทำกรรมด้วยความโลภ โกรธ หลง อันกิเลส กรรมและทุกข์นี้ มีกรรมเป็นสิ่งร้ายแรงที่สุด เช่น กรรมจากการขัดขวางผู้ประพฤติธรรม ขัดขวางผู้จะรู้แจ้งธรรม ขัดขวางผู้ฟังธรรม
ขัดขวางผู้เผยแผ่ธรรม ขัดขวางผู้จะไปเกิดยังวิศุทธิภูมิ ชักนำมนุษย์เข้าสู่สังสารวัฏ เข้าสู่นรก ชักนำคนให้สร้างกรรมชั่ว ชักจูงให้คนเกิดกิเลส
ชักนำให้คนเสื่อมถอยจากโพธิจิต ล้วนมีผลเป็นวิบากคอยขัดขวางทั้งสิ้นพระ โพธิสัตว์เมื่อระลึกน้อมเข้ามาในตนเองแล้วย้อนไปในอดีตอันหา
จุดเริ่มมิได้ พบว่าเป็นเพราะโลภ โกรธ หลง
ที่ทำให้กาย วาจา ใจกระทำอกุศลกรรมทั้งปวง บ้างก็สร้างกรรมแค่ 1 วันหรือ 1 ปี หรือทั้งชีวิต ทุกภพชาติก่อแต่กรรมชั่ว ไม่มีประมาณไร้ขอบเขต หากกรรมชั่วนี้จับต้องได้แล้วไซร้ อวกาศที่ว่างเปล่าคงบรรจุไม่หมดเป็นแน่ เมื่อพิจารณาอย่างนี้มหาหิริ มหาโอตัปปะ คือความเกรงกลัวและ
ละอายบาปที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นในตนเอง เกรงกลัวแม้แต่กรรมที่เล็กน้อย ในกษิติครรภ์มูลปณิธานสูตร (地藏本願經) กล่าวว่า เพราะสรรพสัตว์ไม่ละอายต่อความชั่วเล็กน้อยจนเคยชินเป็นนิสัย ความชั่วนั้นจึงมากขึ้นเรื่อย ๆ  
บัดนี้เราได้พบเจอพระสมันตภัทร จะใช้กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่บริสุทธิ์แผ่ไปทั่วธรรมธาตุ แล้วตั้งจิตที่เบื้องหน้าพระพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์แต่ละองค์เพื่อรู้สำนึกและขมากรรมต่อความผิดพลาดในอดีตและปฏิญาณว่าจะไม่กระทำซ้ำอีก คือบาปเก่าดับสิ้น บาปใหม่ไม่เกิด แล้วจะพบว่าสภาวะ
แต่เดิมนั้นบริสุทธิ์ ทำให้เราดำรงอยู่ในพระธรรมวินัย สร้างกุศลธรรมและยังประโยชน์เกื้อกูลหมู่สัตว์ตลอดไป(三聚大戒)เช่นนี้จึงได้บรรลุถึง
ศีลกุศลทั้งปวง ทั้งยังจะอาศัยกำลังแห่งปณิธานและจริยาของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์พิจารณาบาปว่า “บาปเกิดขึ้นแต่จิตแล้วขมาที่จิต
หากจิตดับแล้วบาปก็สูญ
บาปสูญและจิตดับคือความว่าง 2 ประการ เช่นนี้จึงชื่อว่าการขมากรรมที่แท้จริง(罪從心起將心 心若滅時罪亦 罪亡心滅兩俱 是則名為真懺悔)อุปมากระจก ที่แต่เดิมนั้นไร้ฝุ่นละออง รู้แจ้งว่ามลทินนั้นที่แท้ไร้ซึ่งมลทิน ดวงจิตและกระจกจึงบริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:26:42 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:23:16 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


เพราะอวกาศไม่สิ้นสุด การขมากรรมของเราจึงไม่สิ้นสุด หากสัตวธาตุสิ้นสุด เราจึงหยุดขมากรรม ตราบใดที่กิเลสของสัตว์ กรรมของสัตว์ไม่สิ้น เราจึงขมากรรมอยู่ไม่จบสิ้น การระลึกแม้นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็ระลึกถึงการสำนึกผิดและขมากรรมอยู่สืบเนื่องไม่ขาดหายเช่นนี้ และไม่กระทำบาปทั้งปวงอีก ระลึกอยู่เช่นนี้ไม่ขาดสิ้น สำนึกผิดเป็นนิจ ขมากรรมเป็นนิจ จึงบริสุทธิ์อยู่เป็นนิจ มีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ เหตุนี้จึงไม่รู้เบื่อหน่าย



5. โมทนาในกุศล 五者隨喜功德


สรรพธรรมมีสภาวะเดียวกัน ผู้อื่นและเรามีต้นกำเนิดเช่นเดียวกัน พระธรรมกล่าวว่า ตนเองกระทำกุศลสิบ สอนผู้อื่นทำกุศลสิบ โมทนากับผู้ทำกุศลสิบ สรรเสริญกุศลสิบ จึงนับรวมเป็นกุศลถึง 40 ประการ ผู้โง่เขลาจักเพ่งประโยชน์เฉพาะตน เหตุที่ไม่สอนผู้อื่นต่อ จึงไม่รู้จักการโมทนากับผู้อื่น เช่นนี้แล้วจักสดุดีสรรเสริญผู้อื่นได้อย่างไร แต่ผู้มีปัญญานั้นเมื่อตนเองได้กระทำแล้วยังสอนให้ผู้อื่นทำด้วย ตนเองและผู้อื่นย่อมได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย แล้วจึงโมทนากุศลของผู้อื่นแม้จะมีปริมาณเล็กน้อยเพียงเส้นขนก็ตาม ถ้ายิ่งโมทนากับผู้อื่นด้วยใจบริสุทธิ์มากเท่าไร ความอิจฉาริษยาภายในตนก็ถูกกำจัดไปมากเท่านั้น ทั้งจะมีกุศลความดีงามของผู้อื่นประดับในตนอีกด้วย จึงทำให้สามารถสดุดีสรรเสริญกุศลของผู้อื่นได้ และสามารถเป็นผู้ประกาศธรรมได้ กล่าวคือ เมื่อมีใจอนุโมทนาแล้วเราจึงสามารถประพฤติตามได้ เมื่อเรายินดรกับความดี ความสำเร็จของสรรพสัตว์ ด้วยความไม่มีอคติ อิจฉาริษยาด้วยใจจริงแล้ว เราจึงอนุโมทนากุศลของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้  
เช่นเมื่อเห็นผู้อื่นออกบวชในจิตก็ปลาบปลื้มยินดี จึงทำให้เรามีกุศลของการออกบวชอยู่ในตน เห็นผู้อื่นปล่อยสัตว์ ในจิตพลอยยินดีก็มีความดีของการปล่อยสัตว์อยู่ในตน เมื่อเห็นผู้อื่นแสดงธรรม ตนเองแม้ยังไม่มีเหตุปัจจัยให้แสดงธรรม แต่จิตมีความยินดีโมทนาก็มีกุศลในการแสดงธรรมอยู่ในตน เห็นผู้อื่นเจริญสมาธิ ตนเองแม้นไม่ได้เจริญสมาธิ แต่มีจิตโมทนาก็มีส่วนร่วมในกุศลของการเจริญสมาธิ หากสัตว์โลกเกิดความคิดที่เป็นกุศลแม้แต่ความระลึกเดียวเราก็จะอนุโมทนา
เมื่อเราทำกุศลเองบางครั้งยังมีข้อจำกัด แต่การอนุโมทนานั้นไร้ขอบเขตประมาณ หากอนุโมทนาในความดีของผู้อื่นร้อย พัน หมื่นครั้ง กุศลก็เกิดร้อย พัน หมื่นครั้ง ไม่ว่าเป็นกุศลที่เราสร้างเองก็ดี ผู้อื่นสร้างก็ดี ล้วนหลั่งไหลเข้าสู่จิตของตน เมื่อในจิตมีกุศลของผู้อื่นจึงปราศจากความอิจฉาริษยา ด้วยเหตุผลเช่นนี้เอง.........................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:27:51 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:29:24 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


ตัวอย่างเช่น เมื่อบุตรหลานน่ารัก พ่อแม่ก็ปลาบปลื้ม พ่อลูกเหมือนกับว่ามีกายเดียวกัน เหตุนี้ เมื่อปรารถนาน้อมนำกุศลของผู้อื่นมาไว้ในตนแล้ว จึงควรมีจิตอนุโมทนาพลอยยินดีในความดีของผู้อื่นก่อน ไม่ควรอิจฉาริษยาหรือไม่ยินดี ยิ่งหากผู้มีความรู้และทรงภูมิเกิดจิตอิจฉาริษยาแล้ว ตนเองนั้นย่อมขาดจากหนทางแห่งปราชญ์ทันที
น่าเวทนายิ่งนัก ที่ตั้งแต่อดีตมานานหาประมาณไม่ได้ หมู่สัตว์ได้ถูกความริษยาเป็นเสมือนโจรร้ายที่ลุกล้ำอยู่ในจิต ที่เมื่อประทุขึ้นครั้งใดก็ทำร้ายตนเองและผู้อื่น บัดนี้เราได้ศึกษามหาปณิธานของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ จึงเป็นแสงสว่างกำจัดความมืดมนในดวงใจ มีคำกล่าวว่าเราควรใช้ความอิจฉาไปในทางที่ดีได้คือ เมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีเรามีจิตมุฑิตาพลอยยินดีแล้ว ก็อยากได้ดีเช่นนั้นบ้างก็พากเพียรให้ความดีแบบนั้นๆ เกิดขึ้นในตัวเรา เมื่อความดีความสำเร็จแบบนั้นๆ สำเร็จแก่เราแล้ว เรายังต้องขอบคุณกับผู้นั้นที่เป็นแบบอย่างในเราได้ดี ไม่ใช่เมื่อเราได้ดีแล้วหรือดีกว่าก็ทับถมผู้อื่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะเราไม่มีมุฑิตาจิตตั้งแต่แรก การเพียรทำความดีของเรานั้นจึงเจือด้วยโทสะกิเลส แต่สำหรับความริษยานี้ เมื่อเกิดกับผู้ใดก็จะปิดกั้นดวงจิต การกระทำและคำพูดของผู้นั้นให้มืดบอดตลอดกาล อย่างเช่นในสังคมปัจจุบันที่กำลังมืดบอดกันทุกสังคม ทุกวงการ เพราะกำลังขาดแคลนมุฑิตาธรรม มากด้วยทิฐิมานะและริษยา เห็นประโยชน์ส่วนตนกันมากจนลืมตนเอง ทำให้สิ่งดีงามไม่อาจเกิดขึ้นได้ตามที่พึงเป็น นับตั้งแต่สังคมชาติโดยรวมและสังคมส่วนย่อยในหมู่คณะต่าง ๆ เลยทีเดียว
เมื่อ ปรารถนารู้ว่าจิตของตนกว้างใหญ่ไพศาลเพียงใด ก็ควรพิจารณาธรรมธาตุ อากาศธาตุ และบรรดาพระพุทธเจ้าในกาลทั้ง 3 ทั่วทศทิศที่มีปริมาณดุจปรมาณู ว่าตั้งแต่ที่พระองค์เหล่านั้นทรงประกาศโพธิจิต ก็ประกาศโพธิจิตด้วยดวงจิตที่ไม่แตกต่างกับพวกเราเลย แล้วใยเราจะไม่ประกาศโพธิจิตเล่า ? หากเรายินดี เราย่อมมีกุศลแห่งโพธิจิตของพระพุทธเจ้าทั้งปวงอยู่ในจิตตน ทำให้เราปีติ ให้เราศึกษา และประพฤติตาม ช่วยให้เราทั้งหลายบังเกิดโพธิ
จิตที่ยิ่งใหญ่ในเร็ววัน พระพุทธะทั้งหลายมีโพธิจิตเพราะปรารถนาปัญญาอันรู้แจ้งสรรพสิ่ง แล้วจึงพากเพียรสร้างกุศลพร้อมอบรมปัญญา เราทั้งหลายก็พึงยินดีในความพากเพียรนั้น อย่างเช่นพวกเราแต่ก่อนนั้น เมื่อได้ยินว่ามีคนเขียนพระธรรมด้วยเลือดหรือเผานิ้ว เวลานั้นในจิตก็อนุโมทนา
ต่อมาพวกเราก็จะสามารถเอาเลือดมาเขียนพระธรรม หรือเผานิ้วเป็นพุทธบูชาได้เช่นกัน  หากเราไม่ยินดีในครั้งนั้น บัดนี้ก็ไม่สามารถทำเช่นนั้ได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:28:19 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:35:01 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


พระพุทธะทั้งหลายไม่เสียดายชีวิตและสังขาร ผ่านกาลเวลามาหลายกัลป์ เปรียบเทียบ 1 กัลป์ด้วยฝุ่นละอองที่เล็กที่สุด(ปรมาณู) ที่มีอยู่ในโลกธาตุต่าง ๆจำนวนประมาณไม่ได้ กล่าวไม่ได้ด้วยมาตรานับใด ๆ แต่ละกัลป์หนึ่ง ๆ ทรงเสียสละศีรษะ ดวงตา เท้า แขน ขา อวัยวะ นับจำนวนได้เท่ากับฝุ่นละอองที่เล็กที่สุด(ปรมาณู) ที่อยู่ในโลกธาตุต่างๆจำนวนประมาณไม่ได้ ซึ่งพวกเราก็ขออนุโมทนากับจริยาวัตรที่ประพฤติได้ยากเหล่านี้ ตลอดจนพลอยยินดีกับพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่สมบูรณ์ในบารมีธรรมประการต่าง ๆ จนได้บรรลุพระโพธิญาณและเสด็จสู่ปรินิพพาน
ขออนุโมทนากับกุศลของพระพุทธองค์ ตลอดถึงขอยินดีในกุศลของสรรพสัตว์ในภูมิทั้ง 6(นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์ เทวดา)ผู้ที่มีกำเนิดทั้ง 4 (สัตว์ที่เกิดจากไข่ จากครรภ์ จากเถ้าไคล้หรือเชื้อโรค และเกิดแบบโอปติกกะหรือพวกเทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต) ในโลกธาตุทั่วทศทิศทุกรูปนาม แม้นกุศลเหล่านั้นจะมีปริมาณเพียงอณูธุลี เราก็จะขออนุโมทนายินดีด้วยทั้งสิ้น
กุศลของพระสาวกผู้ปหานกิเลสจนสิ้นอาสวะได้พ้นจากสังสารวัฏ พระปัจเจกโพธิ เสกขบุคคล อเสขบุคคลนั้น เราก็ขออนุโมทนา
บรรดาพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยความลำบากเพื่อมุ่งสู่พระโพธิญาณ เพื่อยังประโยชน์แก่ตนเองและสรรพสัตว์ เราก็ขออนุโมทนาเรา
ได้พลอยยินดีในกุศลของทศธรรมธาตุ(พระพุทธะ พระโพธิสัตว์ พระปัจเจก พระสาวก มนุษย์ เทวดา อสูร นรก เปรต เดรัจฉาน) ให้กุศลเหล่านั้นเข้ามาสู่ใจเรา เพราะอวกาศไม่สิ้นสุด สัตวธาตุ กิเลสของสัตว์ กรรมของสัตว์ไม่สิ้น เราจึงอนุโมทนาอยู่ด้วยไม่จบสิ้น สืบเนื่องไม่ขาดหาย ด้วยกาย วาจา ใจ
ที่บริสุทธิ์ ด้วยความไม่เบื่อหน่าย



6. อาราธนาให้หมุนธรรมจักร 六者請轉法輪


ผู้จะประพฤติธรรมข้อนี้ได้จำต้องอยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ หากปราศจากธรรมข้อนี้แล้ว พวกเราคงจะลำบากและเป็นทุกข์ไปแสนนาน พระบรมศาสดาทรงหมุนธรรมจักรครั้งแรก สาวกทั้ง 5 ก็ได้บรรลุอรหันตผล บรรดาเทวดาจำนวนแปดหมื่นได้บรรลุธรรมกษานติ ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร(法華經)ปริเฉทที่ว่าด้วยเมืองนิรมิตกล่าวว่า แม้สมณะ พราหมณ์ แม้เทวดา มาร พรหม และผู้ใดก็ไม่อาจหมุนกลับ
ผู้จะหมุนธรรมจักรนี้ได้ ต้องเป็นผู้บรรลุธรรมของพระพุทธองค์ แล้วยังสามารถหมุนจักรแห่งธรรมเข้าสู่จิตผู้อื่นด้วย เช่นนี้จึงเรียกกว่า หมุนเคลื่อน
เมื่อสมัยที่พระพุทธองค์เพิ่งตรัสรู้พระโพธิญาณ พรหมราช องค์อินทร์ต่างก็เสด็จลงมาจากทิพยโลก เพื่อทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมเช่นกัน
มหายานว่าพระศาสดาทรงแสดงธรรมอยู่ 49 ปี (เถรวาทว่า 48 ปี) ในสถานที่กว่า 300 แห่ง
ตามพระสูตรของมหายานที่กล่าวว่า    พระ อานนท์ทูลเชิญให้พระพุทธองค์แสดงศูรางคมสูตร พระเมตไตรยโพธิสัตว์ทำให้เกิดการแสดง
สัทธรรมปุณฑริกสูตร โดยมีพระสารีบุตรเป็นผู้ทูลอาราธนาถึง 3 ครั้ง พระสุภูติเป็นผู้ทูลเชิญให้ตรัสวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร วิมลเกียรตินิทเทศสูตร
ก็มีท่านวิมลเกียรติคหบดีเป็นต้นเรื่อง และภิกษุในสมัยพุทธกาลที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมจนพระพุทธองค์ทรงบัญญัติ สิกขาบท เป็นพระธรรมวินัย
ปาฏิโมกข์ อันเป็นธรรมที่นำออกจากราคะ คือวิราคธรรม คือวิศุทธิธรรม คือคัมภีรภาพธรรม ที่แพร่หลายยังประโยชน์แก่มนุษย์และเทวดาอยู่ถึงบัดนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:28:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:40:06 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน



เมื่อสมัยที่พระพุทธองค์ยังมิทรงอุบัติขึ้นในโลก ในโลกก็ปราศจากพุทธธรรม โลกจึงมืดมนยิ่งนัก หมู่สัตว์ไม่อาจพบหนทางสว่างถูกต้องต่อเมื่อพระพุทธองค์ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก จึงหมุนธรรมจักรอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ โลกจึงพบแสงสว่างมาตั้งแต่บัดนั้น คือรู้ว่าทางใดไปสุคติ ทางใดไปทุคติในวิมลเกียรตินิทเทศสูตร กล่าวว่าเพราะการหมุนธรรมจักรไปทั่วมหาสหัสโลกธาตุ ด้วยจักรนี้บริสุทธิ์มาแต่เดิม เทวดาและมนุษย์เมื่อได้บรรลุธรรมจักรนี้แล้ว พระรัตนตรัยจึงปรากฏขึ้นในโลกดังนั้น การหมุนธรรมจักรอีกนัยยะหนึ่ง ก็คือ การปฏิบัติสัมมาธรรมที่ตัวเอง และการเผยแผ่เพื่อหมุนธรรมจักรเข้าสู่ใจของผู้อื่นในพระสูตรกล่าวว่าบรรดาโลกธาตุต่าง ๆ ในอนันตจักรวาล หรือธรรมธาตุทั่วทิศทั้งสิบ ในกาลทั้งสาม คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ในโลกต่าง ๆ เหล่านั้นก็คือพุทธเกษตรที่กว้างใหญ่ไพศาล แต่ละโลกนั้น ๆ ทุก ๆ ความระลึกของจิต หรือทุก ๆ ความเกิดดับของจิตก็ยังมีพระพุทธเจ้าต่าง ๆ จำนวนเท่ากับ
ปรมาณูธุลีกำลังตรัสรู้โพธิญาณอยู่ตลอดเวลา กับทั้งมีพระโพธิสัตว์จำนวนมหาศาลแวดล้อมอยู่ เราจะพึ่งพาอำนาจแห่งปณิธานและจริยาของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์
ไปปรากฏกายอยู่เบื้องหน้าพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยความเคารพ แล้วใช้กาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ ใช้อุปายะที่ชาญฉลาดหลากหลายวิธี เพื่อทูลเชิญให้ทรงแสดงธรรมเรา จะประพฤติอยู่เช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าอากาศธาตุ สัตวธาตุ กรรมของสัตว์ กิเลสของสัตว์จะจบสิ้น ตราบใดสิ่งเหล่านี้ยังไม่สิ้น เราก็จะทูลเชิญให้พระพุทธเจ้าทั้งปวงหมุนธรรมจักร ด้วยการกระทำ วาจา และความคิดที่บริสุทธิ์อยู่ตลอด โดยไม่เบื่อหน่ายเลย



7. อาราธนาให้อุบัติยังโลก 七者請佛住世


ในเมื่ออากาศธาตุ สรรพสัตว์ กรรมและกิเลสของสรรพสัตว์ก็ไม่สิ้น ดังนั้นพระพุทธองค์จึงยังทรงสถิตในโลกอยู่เป็นนิตย์ เพื่อโปรดสรรพสัตว์ที่ไม่มีหมดสิ้น เพราะพระพุทธองค์อยู่ในโลกจึงแสดงธรรมมากมาย เมื่อมีเหตุปัจจัยให้นิพพานพระองค์ก็นิพพานเช่นนั้นเอง ในพระสูตรกล่าวว่า ด้วยการอาศัยอำนาจปณิธานและจริยาของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ จึงทำให้เราทราบว่าพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในโลกธาตุต่างๆ ในอนันตจักรวาล ทั่วทิศทั้ง 10 และกาลทั้ง 3 นั้น ทรงแสดงนิมิตว่ากำลังจะเสด็จปรินิพพานอยู่ตลอดเวลา เราก็จะทูลยับยั้งมิให้ทรงด่วนเสด็จสู่พระนิพพาน ขอให้ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ในต่อไป เพื่อยังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
อีกทั้งบรรดาพระโพธิสัตว์ พระสาวก พระปัจเจกโพธิ พระเสขะ พระอเสขะ ไปจนถึงกัลยาณมิตรทั้งหลายที่จะนิพพาน เราก็จะอาราธนาให้อย่าได้นิพพาน เพื่อปรารถนายังประโยชน์ให้แก่โลกต่อไป เพื่อสถิตเป็นดวงตาของมนุษย์และเทวดา เป็นประทีปของโลก เพื่อชี้แนะสั่งสอนหนทางที่ถูกต้อง และบำราบมารนอกพระศาสนาให้สิ้น
ดั่งคราวที่พระศาสดาจะเสด็จปรินิพพานนั้น ทรงกำชับพระกัสสปะ พระราหุล เป็นต้น ว่าอย่าด่วนนิพพานแต่ ที่แท้แล้วการทูลเชิญให้พระพุทธองค์ทรงสถิตอยู่ในโลกนั้น ก็คือการขอให้สรรพสัตว์มีกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ เช่นนี้แล้วย่อมได้เห็นพระตถาคตสถิตอยู่ในโลก สหาโลกธาตุแห่งนี้จึงกลายเป็นวิศุทธิภูมิ อ้างตามพระสูตรที่ว่าการ กระทำ วาจา จิตใจบริสุทธิ์ จึงได้ชื่อว่า พระพุทธองค์ได้อุบัติขึ้นในโลก เมื่อการกระทำ วาจาและจิตใจไม่บริสุทธิ์จึงชื่อว่าพระพุทธองค์ได้นิพพาน ดังนั้นเราท่านทั้งหลายจึงต้องรักษาการกระทำ วาจาและจิตใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ เพื่อเป็นการทูลเชิญให้พระศาสดาสถิตอยู่ในโลก ตราบจนอากาศธาตุจักรวาลสิ้นสุด สัตว์โลก กิเลส และกรรมสิ้นสุด ด้วยความไม่เบื่อหน่าย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:29:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:43:01 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


8. ศึกษาตามพระพุทธองค์ 八者常隨佛學



ข้อนี้คือการมีการกระทำและพฤติกรรมเหมือนกับพระพุทธองค์ เมื่อประพฤติตามทุกประการแล้วจึงได้ชื่อว่า ศึกษาตามอย่างพระพุทธองค์ สัทธรรมปุณฑริกสูตรกล่าวว่า พระศากยมุนีพุทธะทรงเคยใกล้ชิดพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ มาแล้วนับร้อยพันหมื่นโกฏิอสงไขยพระองค์ และได้ประพฤติตามมรรคธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยความวีริยะแกล้วกล้า จนได้พระนามว่า สมันตสุตะ แปลว่า ผู้ได้สดับมาโดยรอบทั่วและยังได้สำเร็จในคัมภีรธรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน เราท่านทั้งหลายก็ถือว่าได้อยู่ในธรรมสมัยของพระศากยมุนีพุทธเจ้า นับเป็นโชคดีที่เราไม่เกิดมาในสมัยที่ว่างจากพระธรรม หรือไปเกิดในที่ทุรกันดารไม่ได้ฟังธรรม จึงควรเร่งรีบปฏิบัติธรรมให้เกิดปัญญา และเจริญโพธิจิตไม่ให้เสื่อมถอย
ปัญญาที่แท้จริงสมบูรณ์รอบตามคัมภีร์อวตังสกะแบ่งได้ 2 ลักษณะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์คือ นำปัญญาชั่วคราว(事)มาเป็นอุปายะสั่งสอนสัตว์ ทำให้โปรดสัตว์ได้ทุกจำพวก และนำปัญญาที่จริงแท้(理) มาปรารถนาพุทธภูมิ ซึ่งจะทำให้สำเร็จพุทธภูมิได้แน่นอน เมื่อใช้ปัญญาทั้ง 2 ประเภทนี้ เราจึงศึกษาตามพระพุทธองค์ได้
เหมือนพระศากยมุนีพุทธเจ้าที่ตั้งแต่เริ่มเกิดโพธิจิตก็พากเพียรไม่เสื่อมถอยได้ สละชีพสังขารจำนวนประมาณไม่ได้เพื่อบริจาคเป็นทาน ครั้งหนึ่งได้เสวยพระชาติเป็นฤาษี เวลานั้นโลกยังไม่มีพุทธธรรม ฤาษีตนนี้กระหายใฝ่ธรรมยิ่งนัก พญามารจึงกล่าวว่า เรามีพุทธพจน์ หากเธอสามารถถลกหนังออกมาเป็นกระดาษ เลาะเอากระดูกเป็นพู่กัน และกรีดเลือดเป็นน้ำหมึกแล้วไซร้ เราจะกล่าวแก่เธอ เมื่อฤาษีได้ยินก็โสมนัสดีใจ แล้วถลกหนัง เลาะกระดูก
กรีดเลือดทันที พญามารเมื่อเห็นเช่นนั้นก็ตกใจหนีกลับไป ฝ่ายฤาษีก็ประกาศความตั้งใจว่า ผู้ใดมีพุทธธรรม จงมาแสดงแก่เราเถิด”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:30:04 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:46:59 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


เวลานั้นมีโลกแห่งหนึ่งซึ่งห่างจากสหาโลกธาตุไป 32 แห่ง มีโลกชื่อว่า สมันตวิมล แปลว่า ไร้มลทินโดยรอบ มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศุทธินามราชา พระพุทธเจ้าองค์นี้รีบเสด็จมาที่เบื้องหน้าของฤาษีตนนี้ แล้วทรงฉายพุทธรัศมีที่กายของฤาษีทำให้มีเนื้อหนังกลับเต็มดังเดิม แล้วประทานพระเทศนา เมื่อฤาษีตนนั้นได้สดับธรรมแล้ว ก็บรรลุปัญญาญาณที่ยิ่งใหญ่ แล้วได้สั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งปวงต่อไป เรื่องนี้ทำให้ทราบว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นแก่ธรรมมากจนไม่เสียดายชีพสังขาร แล้วนับประสาอะไรกับราชศักดิ์ ประเทศ บ้านเรือนและทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
แม้กระทั่งการที่พระศาสดาทรงสำเร็จโพธิญาณ และทรงแสดงฤทธิ์อันน่าอัศจรรย์ ทรงนิรมาณกาย และทรงมีพระสุรเสียงที่สมบูรณ์วิเศษสามารถอนุโลมตามความต้องการของผู้ได้ยินเพื่ออบรมสรรพสัตว์ จนถึงการเสด็จสู่มหาปรินิพพาน สิ่งทั้งปวงอันเป็นจริยาวัตรและกิจของพระพุทธองค์เราจะขอประพฤติตามทั้งสิ้น
เหมือนกับพระศากยมุนีพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ที่เราก็จะศึกษาตามด้วย เช่น เราจะศึกษาตามปณิธาน 48 ประการของพระอมิตายุสพุทธเจ้า ศึกษาตามปณิธานที่ยังประโยชน์สุขให้แก่สรรพสัตว์โดยไม่มีขอบเขตของพระไภษัช ยคุรุพุทธเจ้า ศึกษาความเป็นผู้ไม่โกรธตามแบบพระอักโษภยพุทธเจ้า เป็นต้น ตามควรแก่สถานที่และเวลา เช่น พระพุทธองค์ ทรงสละร่างกายให้เสือหิว เราก็บริจาคทรัพย์สิ่งของให้ผู้ยากไร้ พระองค์พากเพียรในธรรมยิ่งกว่าชีวิต เราก็พยายามขวนขวายฟังธรรม ศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นต้น
เราจะศึกษาและประพฤติตามพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทับในโลกต่างๆ ทั่วอนันตจักรวาล เพื่อปรารถนาจะมีกุศลที่สมบูรณ์เหมือนพระพุทธเจ้าทั้งปวง เราจะใช้กาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ศึกษาตามพระพุทธเจ้าทั้งปวง จนกว่าอากาศ สัตว์โลก กิเลสและกรรมจะสิ้นสุด อย่างไม่เบื่อหน่ายเลย



9. อนุโลมตามหมู่สัตว์ 九者恒順眾生


ปณิธานข้อ 1 - 8 เป็นไปเพื่อปรารถนาพุทธภูมิข้อ 9 - 10 เพื่อประโยชน์ของหมู่สัตว์ พระพุทธเจ้าทั้งปวงทรงมีพระคุณธรรม
เสมือนกัน
แต่สรรพสัตว์มีทั้งดีและเลวต่างกัน เมื่อโปรดสัตว์จนสิ้นแล้วจึงจะได้พบพระตถาคต อ้างตามคำกล่าวของท่านเว่ยหล่างว่าเมื่อรู้จักความเป็นสรรพสัตว์
จึงว่างจากสรรพสัตว์แล้วได้พบพระตถาคต เมื่อไม่รู้จักความเป็นสรรพสัตว์ ย่อมถูกความลุ่มหลงของความเป็นสรรพสัตว์ผูกมัด หมื่นกัลป์ก็ไม่เจอภาวะเดิมแท้ ดังนั้นเมื่อต้องการสำเร็จพุทธ จึงต้องรู้จักสรรพสัตว์เสียก่อน
วิมลเกียรตินิทเทศสูตร กล่าวว่า วิมุตติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ก็เนื่องด้วยความปรารถนาของสรรพสัตว์ ความหมายคือเมื่อโปรดสัตว์น้อยก็รู้แจ้งน้อย โปรดสัตว์ได้ครึ่งเดียวก็รู้แจ้งครึ่งเดียว เมื่อโปรดสัตว์จนหมดสิ้นจึงรู้แจ้งโดยสมบูรณ์ เพราะได้มีและเข้าใจความเป็นสรรพสัตว์ จึงรู้แจ้งธรรมที่ไม่เกิด
เพราะมองไม่เห็นสมมุติบัญญัติว่าเป็นสรรพสัตว์ แล้วจึงได้ชื่อว่า พุทธะ เทียบได้กับการรู้จักทุกข์อย่างถ่องแท้จึงละทุกข์เป็นสมุทัย
พระโพธิสัตว์เพราะมีปัญญาเช่นนี้ จึงไม่ย่อท้อเบื่อหน่ายในการโปรดสัตว์และการเวียนว่ายในสังสารวัฏเพื่อ บำเพ็ญบารมีและโปรดสัตว์ไม่ว่าจะนานเพียงใด เพราะแม้แต่กาลเวลาในโลกใบนี้ของเรา ในแต่ละทวีปก็ยังมีช่วงของเวลาไม่เท่ากัน ในโลกธาตุต่างๆก็มีห้วงเวลาไม่เท่ากัน 1 วันคืนของสุขาวตีโลกธาตุนั้นเท่ากับ 1 กัลป์ของโลกนี้ แต่ 1 กัลป์ของสุขาวตีเป็น 1 วันคืนของกษายเกตุโลกธาตุของพระวัชระพุทธเจ้า และใน 1 กัลป์ของกษายะเกตุก็เท่ากับ 1 วันคืนของอนิวรรตจักรโลกธาตุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:30:36 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:52:00 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


สมันตภัทรมหาปณิธานข้อที่ว่าด้วยการอนุโลมตามสรรพสัตว์นี้  คือ การช่วยหมู่สัตว์ให้บรรลุเป็นพระพุทธะ คือการอนุโลมตามพุทธภาวะของสรรพสัตว์ คือพยายามทำให้หมู่สัตว์บรรลุพุทธภาวะ ซึ่งแต่ละจำพวกก็ต้องมีวิธีการหรืออุปายะที่ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่การอนุโลมตามนิสัยของสรรพสัตว์ เช่นไม่อนุโลมส่งเสริมการทำบาป โดยเมื่อทำให้เขาอิ่มใจพอใจเป็นสุขใจแล้ว ก็ปลูกฝังเหตุปัจจัยแห่งโพธิให้เจริญงอกงาม ด้วยการดูแลเอาใจใส่เหมือนทำกับพระพุทธเจ้า บิดามารดาซึ่งที่แท้แล้วสัตว์ทั้งหลายก็เคยเป็นพ่อแม่ของเรามาก่อนทั้งสิ้น เราจึงต้องช่วยให้พวกเขาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าให้ได้
เมื่ออาศัยกำลังปณิธานของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ ทำให้สามารถทัศนาโลกธาตุต่างๆในธรรมธาตุทั่วทศทิศ มองเห็นสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีความแตกต่างกันนานัปการ ประดุจมหาสมุทรเดียวแต่มีเกลียวคลื่นนับหมื่นพัน ที่หากลมแห่งอวิชชาหยุดพัดพา มหาสมุทรย่อมสงบนิ่ง วิญญาณคือสิ่งที่ไปรับรู้อารมณ์ที่ส่งผ่านเข้ามาทางอายตนะทั้ง 6 เสมือนมหาสมุทร คือมหาสมุทรแห่งสภาวะของการปรุงแต่ง
พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ล้วนมีอุปายะในการโปรดสัตว์ต่างๆมากมาย แต่อย่างไรก็คือการอนุโลมตามพุทธภาวะของสัตว์ทั้งสิ้น คือส่งเสริมให้ได้บรรลุพุทธผล เช่นพระกษิติครรภ์ช่วยสัตว์ในอบายภูมิ พระอวโลกิเตศวรโปรดสัตว์ด้วยความกรุณา พระมัญชุศรีเน้นด้านโลกุตระปัญญา พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าเน้นด้านโรคทางกายและทางใจ พระอักโษภยะพุทธเจ้าเน้นเรื่องความไม่โกรธ เป็นต้น หากสามารถอนุโลมตามสรรพสัตว์ได้ก็เพราะเรามองสรรพสัตว์ว่าประดุจพระพุทธะ เพราเห็นว่า สรรพสัตว์มีพุทธภาวะเหมือนเรา จะได้สำเร็จพุทธผลในอนาคตทั้งสิ้น ทวิบัญญัติ ทวิภาวะจึงหมดไปด้วยการมองแบบนี้
ได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น เมื่ออาศัยกำลังแห่งสมันตภัทรปณิธาน เพื่อเข้าใจล่วงรู้จิตวิญญาณของหมู่สัตว์ก่อน จากนั้นจึงค่อยอนุโลมตามได้อย่างถูกต้อง เข้าใจว่าหมู่สัตว์
นั้นมีเกิดโดยไข่ โดยครรภ์ โดยเถ้าไคล โดยผุดขึ้นเอง ซึ่งอาศัยดิน น้ำ ไฟ ลมในการก่อตั้งขึ้น บ้างก็อาศัยความว่างคืออากาศเกิดขึ้น เกิดตามขอน
ไม้คือเชื้อโรค เป็นสัตว์ที่อาศัยบนบก ในน้ำ ใต้ดิน บนอากาศ เป็นต้น
ศูรางคมสูตร(楞嚴經)กล่าวว่ามีถึง 12 จำพวก ซึ่งล้วนแต่มีรูปกายไม่เหมือนกัน มีลักษณะแข็งบ้าง นุ่มบ้าง น่ารักบ้าง น่าเกียจบ้าง อายุขัยก็มียาวนานและสั้น มีหลากหลายสีสัน และมีชื่อเรียกสายพันธุ์มากมายต่างกัน จิตภาวะก็มีความดีชั่ว กระด้างอ่อนโยน มีทั้งความเห็นชอบและเห็นผิด ชอบเคลื่อนไหว ชอบอยู่นิ่ง มีสัญชาตญาณดุร้ายหรือเป็นมิตร ล้วนแต่มีพฤติกรรมต่างกัน เป็นต้น บางประเภทก็มีอาภรณ์เป็นปีก ขน กระดอง เป็นต้น อาหารก็มีความต่างกัน แม้แต่มนุษย์เราเองก็ยังมีชาติกำเนิด ภูมิลำเนา วัฒนธรรมประเพณีต่างกัน สัตว์ทั้งหลายอันมี เทพ นาค อสูร คนธรรพ์ ครุฑ ก็ย่อมมีความต่างเช่นกัน บ้างก็มี 2 เท้า 4 เท้า หรือหลายเท้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:31:07 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:55:57 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


และยังแบ่งเป็นมีรูป ไร้รูป มีสัญญา ไร้สัญญา มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง แต่บรรดาสัตว์เหล่านี้ยังไม่อาจหลุดพ้นจากภูมิทั้ง
3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ซึ่งเราก็จะช่วยเหลือโดยการอนุโลมตามสัตว์จำพวกต่างๆเหล่านี้ จะนำอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคมาดูแล ประดุจการอุปัฏฐากดูแลบิดามารดาครูอาจารย์ ไม่กล้าดูแคลนสรรพสัตว์ เพราะว่าสรรพสัตว์ล้วนจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ปณิธานข้อนี้
ดูเหมือน
ใกล้ชิดกับชีวิตมนุษย์มากที่สุด เพราะมนุษย์ทั้งหลายไม่อยากเป็นทุกข์ หากมองกลับกันสรรพสัตว์ทั้งหลายนอกจากมนุษย์ก็อยากเป็นสุขเช่นกัน  
หากพบผู้ป่วยไข้ก็จะเป็นโอสถ หากพบคนหลงทางก็จะชี้หนทางที่ถูกต้อง หากเข้าไปในสังสารวัฏที่มืดมิด ก็จะเป็นแสงสว่างแห่งนิพพาน
หากขาดแคลนทรัพย์และธรรมก็จะเป็นจินดามณี เพราะอาศัยปณิธานของพระสมันตภัทรที่ยังประโยชน์แก่สรรพสัตว์ได้โดยเสมอภาคทำ ให้เข้าสู่ธรรมธาตุ และช่วยให้สามารถโปรดสรรพสัตว์จนหมดสิ้น
การอนุโลมตามสรรพสัตว์นี้ อุปมาน้ำที่อนุโลมตามภาชนะ ดั่งเงาที่อนุโลมตามวัตถุ ซึ่งการอนุโลมตามเพื่อช่วยให้หมู่สัตว์รู้แจ้งธรรมคือการสักการะพระพุทธเจ้าทั้งปวง การเคารพสรรพสัตว์ก็คือการเคารพพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยิ่งสามารถทำให้สรรพสัตว์บำเพ็ญธรรมด้วยสภาวะเดิมแท้จนเกิดธรรมปีติ
ก็คือการทำให้พระพุทธเจ้าทั้งปวงยินดี
นั่นเป็นเพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายปราศจากภาวะ หากพบว่ามีภาวะแห่งตนแล้ว ย่อมถือว่ามีการเข้าถึงและการไม่เข้าถึงเกิดขึ้น ความเห็นหรือทิฐิทั้งปวงย่อมเกิดตามขึ้น อัตตาและมานะก็จะยิ่งทวีขึ้นเช่นกัน ดังนั้นพระพุทธเจ้าทั้งปวงจึงปราศจากสังขารภาวะคือการปรุงแต่งทั้งปวง ได้แต่อาศัยมหากรุณาจิตเป็นสังขาร ตามที่สัทธรรมปุณฑริกสูตร ตอนอวโลกิเตศวรสมันตมุขปริวรรค ก็กล่าวว่า พระอวโลกิเตศวรมีความกรุณาเป็นสังขาร มีศีลาจารวัตรดุจฟ้าร้อง มีจิตเมตตาดุจเมฆกลุ่มใหญ่ ที่เมื่อรวมกันแล้วเป็นฝนอมฤต ดับสิ้นเพลิงแห่งกิเลส 悲體戒雷震,慈意妙大雲,澍甘露法雨,滅除煩惱焰แสดง ให้เห็นว่าทั้งความเมตตาและกรุณาของพระอวโลกิเตศวรผู้เป็นเลิศแห่งกรุณานี้ ก็ปราศจากสภาวะ เมื่อเมตตากรุณาและศีลาจารประกอบกันเป็นเมฆกลุ่มใหญ่ จึงกลั่นเป็นน้ำอมฤต ดับไฟกิเลสได้........................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:31:36 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 20:59:52 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


ในข้อที่เป็นเมฆนี้ ก็ยังเป็นปริศนาธรรมที่ว่า ปกติเวลาฝนตกจากฟ้านั้นไม่ได้เลือกเลยว่าที่ใต้ฟ้าแห่งนั้นคือที่ใด ไม่เลือกชนชั้น
บุคคลใด ๆ เมื่อเหตุปัจจัยถึงพร้อมก็โปรยปรายฝนเท่าเทียมกัน เหมือนกับความเมตตากรุณาที่ไม่เลือกชนชั้นเช่นกัน เมื่อเราเมตตากรุณาใครโดยไม่แบ่งแยกว่าเขาเป็นญาติ เป็นมิตร หรือเป็นศัตรู เราและผู้นั้นย่อมจะมีใจอิ่มเอิบด้วยน้ำอมฤตนี้
เมื่อมหากรุณาจิตนั้นก็ปราศจากสังขาร เหตุเพราะสรรพสัตว์เป็นทุกข์จึงเกิดมหากรุณา มีกรุณายิ่งใหญ่จะปลดเปลื้องทุกข์ เมื่อไม่มีภาวะแห่งความรู้แจ้ง
หรือโพธิภาวะ ก็ย่อมไม่คิดจะเปลื้องทุกข์ให้หมู่สัตว์ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะการคิดจะเปลื้องทุกข์ให้สรรพสัตว์เป็นเหตุให้เกิดโพธิจิต เหตุเพราะเกิดโพธิจิตจึงประพฤติโพธิจริยาแล้วได้สำเร็จพุทธผลในที่สุด
อุปมาสังสารวัฏเป็นป่ารกชัฏ ท่ามกลางเศษกระเบื้องกรวดทรายคือกิเลสเครื่องเศร้าหมอง ยังมีต้นโพธิ์เป็นราชาแห่งรุกขชาติ บรรดาสรรพสัตว์ล้วนสมบูรณ์ในพุทธภาวะอยู่แล้ว ก็คือเป็นส่วนรากของต้นโพธิ์ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ทั้งหลายล้วนบำเพ็ญจริยานับประมาณมิได้จึงบรรลุคุณธรรมนับ ประมาณมิได้ถือเป็นดอกผลของต้นโพธิ์ พระโพธิสัตว์ใช้น้ำแห่งมหากรุณาประพรมรากโพธิ์คือสรรพสัตว์ จึงทำให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงามออกดอกผล คือสรรพสัตว์ได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าและโพธิสัตว์ทั้งปวง
เป็นเพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายใช้น้ำแห่งมหากรุณาช่วยเหลือสรรพสัตว์ จึงทำให้เกิดโพธิจิต และจากโพธิจิตจึงก่อเกิดจริยาวัตรนานัปการอันเป็นไปเพื่อปลดเปลื้องทุกข์ของ สรรพสัตว์อื่น ๆ  เมื่อสมบูรณ์ในกุศลทั้งปวงแล้วจึงได้สำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ดั่งคำที่ว่า หากปราศจากความลุ่มหลงของสรรพสัตว์แล้วไซร้ โพธิญาณจะมาแต่ที่ไหน?
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีความเห็นว่า เพราะมีเธอจึงมีฉัน เมื่อเธอไม่มีฉันจึงไม่มี ซึ่งเป็นแนวคิดแบบหวนหลับสู่วัฏสงสารด้วยมหากรุณา แต่เมื่อพระโพธิสัตว์จะทำกิเลสนิพพานแล้วก็จะเห็นว่า เพราะมีฉันจึงมีเธอ เมื่อไม่มีฉันจึงไม่มีเธอ เป็นคุณลักษณะด้านมหาปัญญา ซึ่งในคัมภีร์อวตังสกสูตรก็กล่าวเช่นนี้
ในการคิดที่ทำให้พระโพธิสัตว์ทั้งหลายท่องเที่ยวไปในส่วนของโลกียะและ โลกุตระได้โดยไม่ตกสู่สังสารวัฏและไม่ด่วนนิพพาน จึงเรียกว่า
การนำมหาอุปายะ มาจัดแจงมหากรุณาและมหาปัญญาให้มีปริมาณที่เหมาะสม
อุบายในการประพฤติปณิธานข้อนี้คือ
1.กำหนดจิตว่า จิตเราไปอยู่ในจิตของสัตว์ทั้งปวง และ
2.สัตว์ทั้งปวงนั้นได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า จะช่วยให้เราลดความยึดมั่นในตนและทวิภาวะ
เกิดความเสมอภาค มองสรรพสัตว์ทั้งหลายจากพุทธภาวะภายใน
ด้วยเหตุนี้ โพธิญาณและสรรพสัตว์จึงเกี่ยวเนื่องกัน หากปราศจากทุกข์ของสรรพสัตว์ บรรดาโพธิสัตว์ก็ปราศจากที่กำเนิดแห่งโพธิจิต สุดท้ายก็ไม่อาจสำเร็จพระอนุตรสัมโพธิ เหตุที่บำเพ็ญจริยาและปณิธานของพระสมันตภัทร จึงสามารถทำให้ดวงจิตเข้าสู่ธรรมธาตุ ล่วงรู้ว่าสรรพสัตว์ล้วนมีพุทธภาวะ
จึงช่วยเหลือด้วยความเสมอภาค ทั้งไม่แบ่งแยกว่าสัตว์เหล่านั้นเป็นมิตรหรือศัตรู ไม่แบ่งแยกว่าเป็นเขาและเป็นเราจึงเรียกว่าสมบูรณ์พร้อมในมหากรุณา เมื่อใช้มหากรุณาจิตในการช่วยเหลือสัตว์โลกจึงสำเร็จคุณธรรมนานัปการ จึงถือเป็นการสักการะพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง เพราะอากาศธาตุ สัตวธาตุ
กรรมและกิเลสของสัตว์ไม่สิ้นสุด การอนุโลมตามสรรพสัตว์ของเราเฃ่นนี้ก็ไม่สิ้นสุด ซึ่งเราจะประพฤติตามจริยาวัตรข้อนี้ด้วยกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์
สืบเนื่องไปไม่หยุดพัก และไม่เบื่อหน่ายเลย.................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:32:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 21:04:11 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน



10. อุทิศกุศลทั้งมวล十者普皆回向



บรรดา กุศลบุญที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญล้วนแต่อุทิศให้จนหมดสิ้น เมื่อมีการอุทิศให้ผู้อื่นแล้วจึงไม่ได้ทำเพื่อตนเอง เมื่อไม่เป็นไปเพื่อตนเองจึงเป็นสัจจะ คือสภาวะที่เป็นจริง เป็นสากล เป็นสาธารณะ เช่นนี้จึงเข้าสู่ธรรมธาตุภาวะ เพราะธรรมธาตุภาวะเป็นสากล เป็นสาธารณะเช่นกัน เมื่อเข้าสู่ธรรมธาตุจึงสามารถยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั้งปวง เมื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์บริบูรณ์แล้ว จึงได้สำเร็จโพธิญาณ
การ อุทิศยังแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.กลับสู่ตนและมุ่งให้ผู้อื่น ย่อมได้สำเร็จเป็นนิรมาณกายพุทธ
2.กลับสู่เหตุมุ่งสู่ผลจะสำเร็จเป็นสัมโภคกายพุทธ
3.กลับสู่ลักษณะมุ่งสู่ธาตุก็จะสำเร็จธรรมธาตุกายพุทธเจ้า อุปมาเหมือนน้ำถ้วยเดียวเมื่อเทลงในมหาสมุทรก็กลายเป็นน้ำในมหาสมุทร เช่นนี้จึงเรียกว่าคืนจากเล็กมุ่งสู่ใหญ่ เมื่ออุทิศกุศลทั้งปวงให้สรรพสัตว์ก็สามารถทำให้สรรพสัตว์ไกลจากทุกข์และ เข้าถึงสุข อันการอุทิศนี้ก็ไม่ได้หวังผลสิ่งใด นอกจากปรารถนาความเป็นพุทธะ คือการย้อนไปสู่รากเง้าเดิมแท้ เรียกว่ากลับสู่เหตุมุ่งสู่ผล ทั้งหมดนี้คือการใช้ปัญญาพิจารณาเห็นความเป็นตน เป็นเหตุและเป็นลักษณะ อันมีนัยยะทางธรรมว่าการมุ่งสู่ความเป็นพุทธะที่มีกาย 3 อันล้วนแต่คือพุทธกาย
สัทธรรมปุณฑริกสูตร กล่าวว่า ขอให้กุศลนี้ จงแผ่ไปอย่างไพศาล ขอให้เราและสรรพสัตว์ จงได้สำเร็จพุทธภูมิทั่วกันกษิติครรภ์มูลปณิธานสูตร กล่าวว่า เมื่อสามารถอุทิศกุศลแล้ว ไม่ว่ามากหรือน้อย ย่อมสำเร็จพุทธมรรคในที่สุด
สำหรับ มหาปณิธานทั้ง 10 ประการนี้ ข้อสุดท้ายคือ การอุทิศให้ทั้งสิ้น นับตั้งแต่การเคารพ สรรเสริญ จนถึงการอนุโลมตามสรรพสัตว์ ไม่ว่าจะเกิดมีกุศลใด ๆ ก็ขออุทิศให้กับสรรพสัตว์ในธรรมธาตุตลอดสิ้นทั้งจักรวาลที่ไร้ขอบเขต เพื่อปรารถนาให้สัตว์เหล่านั้นมีความสุขอยู่เสมอ ไร้โรคภัยทั้งปวง
กุศลของเราจึงนับว่าเป็นกุศลที่แท้จริง หากไม่สามารถทำให้สัตว์ทั้งหลายไกลจากทุกข์และได้รับความสุขได้ กุศลของเรายังเป็นของไม่จริง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:32:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #19 เมื่อ: 20 เมษายน 2553 21:07:57 »

http://img641.imageshack.us/img641/9418/66199834.jpg
(中華佛學研究社) ปาฐกถาธรรมเรื่องจริยาวัตรแม่บทของโพธิสัตว์ในยุคปัจจุบัน


การอุทิศกุศลนี้ถือเป็นวิธีสร้างหินให้เป็นทอง เราอุทิศกุศลเพื่อให้สัตว์ที่จะทำความชั่วจงทำความชั่วไม่สำเร็จ คือการไม่อนุโลมตามกิเลสของสัตว์โลก ผู้ที่บำเพ็ญกุศลจงสำเร็จโดยเร็ว คือการอนุโลมตามพุทธภาวะของสัตว์โลก หากทำได้เช่นนี้กุศลของเราจึงเป็นกุศลจริง มิฉะนั้นยังนับเป็นกุศลปลอม เวลาที่เราอุทิศกุศลประตูอบายจะปิด หนทางนิพพานจะเปิด กุศลของเราจึงเป็นของจริง หากไม่สามารถปิดประตูอบายและไม่สามารถเปิดประตูสุคติได้กุศลนี้ก็ยังเป็นของไม่จริงอยู่
เวลาเราอุทิศกุศล กุศล ของเราจะต้องสามารถแบกรับทุกข์ทรมานที่แสนสาหัสของสรรพสัตว์ได้ ต้องสามารถทำให้สรรพสัตว์ได้หลุดพ้นและได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ กุศลของเราจึงเป็นกุศลที่แท้จริงอย่างไม่ต้องสงสัย แล้วเรายังจะอุทิศกุศลที่แท้จริงเหล่านี้ไปตลอดจนกว่าอากาศธาตุ สัตวธาตุ กรรมและกิเลสของสัตว์จะสิ้นไป ด้วยกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์ ไม่รู้เบื่อหน่าย
อันมหาปณิธานทั้ง 10 ประการนี้ หากจะทำได้แม้เพียงข้อก็จะทำให้ตนเองและทุกสังคม ตลอดถึงโลกโดยร่วมสงบสุขร่มเย็น และยังจะนำพาให้ทุกท่านได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัยเลย..................................................




.......................................THE END.................................................



...................สมาคมเผยแผ่คุณธรรม(จีจินเกาะ)หลังโรงพยาบาลตากสิน ฝั่งธนบุรี............................


................................จัดพิมพ์เผยแผ่ จำนวน 10,000 เล่ม ปี 2552......................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2553 21:40:28 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.388 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 12:00:47