[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤษภาคม 2567 22:51:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนเส้นทาง “กาฬโรค” มหันตภัยพลิกโลก  (อ่าน 2712 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5478


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2557 13:19:09 »

.


ย้อนเส้นทาง
กาฬโรค
มหันตภัยพลิกโลก!

กาฬโรค หรือ plague มหันตภัยโรคระบาดที่คุกคามมนุษยชาติ ทำลายล้างชีวิตผู้คนในอดีตจำนวนมหาศาล เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย เยอร์ซิเนีย เพสติส (Yersinia pestis-ตั้งตามชื่อนักวิทยาแบคทีเรียชาวฝรั่งเศส-สวิส อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน) กาฬโรคเป็นโรคที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะ มีหมัดที่อยู่ในสัตว์เหล่านั้นเป็นตัวแพร่สู่มนุษย์ โดยเมื่อมีการระบาดของโรค หนูจะตายก่อน หมัดหนูจะกระโดดมายังสัตว์อื่น และกัด ทำให้เกิดโรคขึ้นมา

กาฬโรค หรือ กาฬมรณะ-แบล็กเดธ (Black Death) เป็นโรคระบาดที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ มันทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว ๗๕-๒๐๐ ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี ค.ศ. ๑๓๔๘-๑๓๕๐ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตในทวีปยุโรปตอนเหนือและใต้บ่งชี้ว่า จุลชีพก่อโรคอันเป็นสาเหตุของโรคคือแบคทีเรียเยอร์ซิเนีย เพสติส กาฬโรคเป็นโรคระบาด ๑ ใน ๓ โรคที่ต้องรายงานต่อองค์การอนามัยโลก (อีก ๒ โรคคือ อหิวาตกโรค และไข้เหลือง)


กาฬโรคแบ่งออกตามกลุ่มอาการได้ ๓ แบบคือ
๑.บูโบนิก เพลก (Bubonic plague) อาการจะแสดงออกหลังจากถูกหมัดหนูกัดแล้ว ๒-๘ วัน เชื้อโรคจะเคลื่อนไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้ที่สุด ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขนาด ๑-๑๐ เซนติเมตร ลักษณะต่อมน้ำเหลืองจะบวม แดง กดเจ็บ อาจจะปวดมากจนขยับแขนหรือขาไม่ได้ ตำแหน่งที่เกิดมักเป็นบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้ อาการที่สำคัญได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองโต กดเจ็บ แดง ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ

๒.เซปติเซมิก เพลก (Septicemic plague) เป็นชนิดที่เชื้อ เข้ากระแสเลือด อาการที่สำคัญได้แก่ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดท้อง คลื่นไส้ และท้องเสีย เลือดออกในปาก จมูก ก้น เกิดภาวะช็อก และมักจะมีการเน่าของนิ้วที่เกิดจากการขาดเลือด และ

๓.นิว มอนิก เพลก (Pneumonic plague) เกิดจากการสูดเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศ อาการสำคัญได้แก่ ไข้สูง อ่อนแรง ไอ มีเสมหะ เหนื่อย เจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน จัดเป็นชนิดที่รุนแรงและอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

สรุปอาการแทรกซ้อนที่สำคัญ นิ้วมือนิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือดเนื่องจากลิ่มเลือดอุดตัน เกิดภาวะช็อกอย่างรุนแรง เกิดปอดบวมและหายใจล้มเหลว เกิดโลหิตเป็นพิษ เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิต



   สันนิษฐานกันว่าแบล็กเดธมีต้นทางมาจากจีนหรือเอเชียกลาง แพร่มาตามเส้นทางสายไหมจนถึงไครเมีย ยุโรปตะวันออก ในปี ค.ศ. ๑๓๔๖ ทั้งเชื่อว่าหมัดหนูตะวันออกซึ่งอาศัยอยู่ในหนูดำที่มีอยู่บนเรือพาณิชย์ทั่วไปน่าจะเป็นตัวนำโรคจากไครเมีย จากนั้นกาฬโรคก็แพร่ไปทั่วเมดิเตอร์เรเนียนและทวีปยุโรป ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิต ๓๐-๖๐% ของประชากรทั้งทวีปยุโรป ลดประชากรโลกจากที่ประเมินไว้ ๔๕๐ ล้านคน ลงเหลือ ๓๕๐-๓๗๕ ล้านคนในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ มันก่อผลร้ายใหญ่หลวงต่อเส้นทางประวัติศาสตร์ยุโรป ก่อให้เกิดกลียุคทางศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ และยังอุบัติซ้ำเป็นครั้งคราวกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙

ประวัติศาสตร์บันทึกการแพร่ระบาดของกาฬโรค เริ่มต้นขึ้นที่จีนในช่วง ค.ศ. ๑๓๓๐ กาฬโรคเริ่มระบาดในแถบหูเป่ยใน ค.ศ. ๑๓๓๔ และแพร่ระบาดอย่างหนักระหว่างปี ๑๓๕๓-๑๓๕๔

บันทึกเก่าแก่ของจีน ระบุว่า การแพร่ระบาดกระจายไปใน ๘ พื้นที่ ได้แก่ หูเป่ย เจียงซี ซานซี หูหนาน กวางตง กวางซี เหอหนาน และซุยยวน เพียงแต่ว่าข้อมูลนี้ได้มาจากผู้ที่รอดชีวิตจากยุคนั้น โดยยังไม่มีการศึกษาเพิ่มเติมในเบื้องลึก เพียงคาดกันว่ากองคาราวานมองโกลน่าจะเป็นผู้นำเอากาฬโรคที่ระบาดอยู่ที่เอเชียกลาง มายังยุโรป

ทั้งยังมีเรื่องเล่าว่า ช่วงเวลานั้น เมืองศูนย์กลางการค้า แคฟฟา ในไครเมีย ตกอยู่ในวงโอบล้อมโจมตีของกองทัพมองโกล และมองโกลเองก็เผชิญปัญหากาฬโรค พวกเขาจึงใช้ยุทธวิธียิงศพที่ติดเชื้อกาฬโรคแทนกระสุนปืนใหญ่ข้ามกำแพงเมืองไป เพื่อทำให้โรคระบาดแพร่กระจายเข้าไปยังชาวเมือง  เป็นเหตุให้พวกพ่อค้าชาวเจนัวที่อยู่ที่นั่นต้องพากันหลบหนี กาฬโรคจึงผ่านจากเรือเดินสมุทรไปสู่ซิซิลี อิตาลี และตอนใต้ของยุโรป ซึ่งเป็นที่ที่พบการแพร่ระบาด โดยในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๓๔๗ กองเรือสินค้าที่อพยพจากแคฟฟาผ่านหลายเมืองใหญ่ๆ และนำเชื้อไปติดด้วย ตั้งแต่กรุงคอนสแตนติโนเปิล มาขึ้นท่าที่เกาะซิซิลี อิตาลี ในเวลาที่เรือเทียบท่า ลูกเรือทุกคนติดเชื้อ และหลายคนเสียชีวิตแล้ว สันนิษฐานได้ว่า เรือนำเอาหนูติดเชื้อที่เป็นพาหะนำโรคมาด้วย เรือบางลำยังไม่เทียบท่า ก็กลายเป็นเรือร้างลอยลำอยู่กลางน้ำ เพราะทุกคนตายหมด พวกโจรสลัดที่เข้าไปปล้นเรือก็ยิ่งช่วยให้กาฬโรคแพร่ระบาดอีกทางหนึ่ง



  จากนั้นเชื้อก็แพร่ระบาดไปทางบก ขึ้นไปทางเจนัว และเวนิซ ในปลายปี ๑๓๔๗ จากนั้นไปยังกรีซ สเปน โปรตุเกส เยอรมนี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ในกลางปี ๑๓๔๘ ตามด้วยโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย จนถึงมอสโกในปี ๑๓๕๒

ขณะที่แถบตะวันออกกลาง การแพร่ระบาดมาจากตอนใต้ของรัสเซียในปี ๑๓๔๗ และบางทีอาจผ่านทางเมืองท่าจากการค้าขายกับคอนสแตนติโนเปิล และเมืองท่าแถบทะเลดำ การระบาดลุกลามไปทั่วทั้งอียิปต์ เลบานอน ซีเรีย ปาเลสไตน์ เมกกะ โมซุล แบกแดด และเยเมน

มีการประมาณผู้เสียชีวิตจากแบล็กเดธ ๑/๔ ถึง ๒/๓ ของประชากรยุโรปทั้งหมด ระหว่างปี ๑๓๔๘-๑๓๕๐ และอีกมากมายในการแพร่ระบาดใหญ่รอบที่ ๒ ในปี ๑๓๖๐-๑๓๖๓

กาฬโรคมีผลต่อประชากรทุกระดับชั้นไม่ไว้หน้า ไม่ว่าจะเป็นคนระดับล่างที่อยู่ในที่สกปรก หรือชนชั้นสูง

ช่วงเวลานี้ในปี ๑๓๓๗ อังกฤษและฝรั่งเศสอยู่ในช่วงสงครามที่รู้จักกันในชื่อ สงครามร้อยปี จากงบประมาณที่ร่อยหรอ ผู้คนล้มตายจำนวนมาก บ้านเมืองถูกทำลายจากภาวะสงคราม ความอดอยากหิวโหย โรคระบาด และเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ภาวะช่วงกลางของศตวรรษที่ ๑๔ ของยุโรปเหมือนตกอยู่ในฝันร้าย

ผู้คนในสมัยกลางเรียกความหายนะครั้งนั้นว่า Great Pestilence (โรคระบาดครั้งใหญ่) หรือ Great Plague (กาฬโรคครั้งใหญ่) หรือ Great Mortality (การตายครั้งใหญ่)

ส่วนบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของสวีเดนและเดนมาร์กในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ บรรยายถึงเหตุการณ์โดยใช้คำว่า black (สีดำ) เป็นครั้งแรก แต่คำนี้ไม่ได้สื่อถึงอาการขั้นสุดท้ายของโรคที่ผิวหนังของผู้ป่วยจะมีสีดำเนื่องมาจากเลือดออกใต้ชั้นหนังกำพร้า เนื้อตายเน่าบริเวณแขนและขา และการตายของเนื้อเยื่อบริเวณกระเบนเหน็บ

แต่หมายถึงสีดำในอารมณ์หม่นหมองโศกเศร้าหรือสะพรึงกลัวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และที่สุดมีการใช้คำภาษาละติน atra mors หรือแบล็กเดธ




ข้อมูลและภาพ : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 พฤศจิกายน 2558 16:35:58 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ไทยรัฐ] - กางเนื้อหาหนังสือ “ผู้นำ” ย้อนเส้นทาง-ผลงาน “บิ๊กตู่” บนเก้าอี้นายกฯ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 102 กระทู้ล่าสุด 03 เมษายน 2566 08:24:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.382 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 09 พฤษภาคม 2567 08:19:54