[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤษภาคม 2567 14:38:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สุขภาวะที่ทุกคนเข้าถึงได้  (อ่าน 1262 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 13:55:48 »

สุขภาวะที่ทุกคนเข้าถึงได้


โดย ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 21 สิงหาคม 2547

ท่านผู้อ่านเคยรู้สึกอย่างผมไหมว่า เราแต่ละคนทุกวันนี้ นอกจากทำงานหนักและมีปัญหาคาใจกันแทบทุกคนแล้ว ไม่ว่าอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังข่าว หรือพูดคุยเมื่อพบหน้ากัน ดูจะมีแต่เรื่องรกหู รกตา รกใจเต็มไปหมด เหนื่อยกับงาน ยุ่งกับการทำมาหากินและสู้กับปัญหาไม่พอ ยังต้องรับรู้และหวั่นไหวระทึกใจไปกับปัญหา ข้อขัดแย้งและกระแสความเป็นไปต่างๆ ที่ยุ่งเหยิงซับซ้อนทั้งใกล้และไกลตัว

ในภาวะเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรดี จึงจะทำให้สุขภาพจิต สุขภาพกาย “อยู่เย็นเป็นสุข” ท่ามกลางทุกอย่างที่แปรปรวน

บางคนบอกว่า ต้องมีอารมณ์ขันไว้ บางคนธรรมะธัมโมหน่อยบอกให้อ่านหนังสือธรรมะ ทำสมาธิ วิปัสสนา บางคนบอกให้ปลงเสียเถิด ฯลฯ ก็สุดแต่พื้นฐานและนิสัยปัจจัยของแต่ละคนจะเกื้อหนุนให้เป็นไป

ทว่า ... สำหรับผม ขอทำอย่างนี้ครับ

  • นั่งพักเงียบๆ ดูแมกไม้สีเขียว ดูฟ้า ดูน้ำ และดูนก
  • [/SIZE]
  • หลับตา หายใจเข้ายาวๆ หายใจออกยาวๆ ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง
  • [/SIZE]
  • ดื่มน้ำเย็นจืดสนิทใสสะอาด
  • [/SIZE]
  • ออกกำลังกายตามอัธยาศัย เช่น ทำสวน รดน้ำต้นไม้ เดินเล่น
  • [/SIZE]
  • เล่นกับสัตว์เลี้ยง
  • [/SIZE]
  • หยุดหมดทุกอย่าง หยุดพูด หยุดฟัง หยุดดู หยุดอ่าน หยุดเคลื่อนไหว
  • [/SIZE]
  • ฝึกใจปล่อยวางให้หมดทุกอย่าง
ถ้าทำได้เช่นนี้ ไม่ต้องมาก วันละ ๑๕-๒๐ นาที จะรู้สึกเบากาย เบาใจ สบายขึ้นทุกครั้งไป

จะว่าไป คนทั้งหลายจำนวนมากก็ทำเช่นนี้อยู่บ้างแล้ว มากบ้าง น้อยบ้าง เราจึงอยู่กันมาได้เป็นปรกติ

ก็ความเป็นปรกตินี่แหละคือชีวิตที่น่าเป็น ความเป็นปรกติแบบง่ายๆ ดังยกตัวอย่างมาข้างต้น เป็นวิธีเรียกกำลังใจกำลังกายของเรากลับคืนมา เสียแต่ว่าทั้งๆ ที่เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้ เข้าใจ เห็นด้วย แต่ไม่ค่อยทำกัน ทั้งนี้คงเพราะ “จิตไม่ว่าง” มีความยึดถือ คือมีมายาคติ มีอารมณ์หลายอย่างครอบงำเราอยู่มากเป็นสำคัญ

นอกเหนือจากพฤติกรรมตามปรกติวิสัยดังกล่าวแล้ว การเลือกรับรู้หรือเลือกทำเฉพาะเรื่องที่ดีงาม สร้างสรรค์ก็น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่เหมาะสมและเป็นผลดีแก่จิตใจเรา เช่น เลือกฟังเพลงเพราะๆ เลือกอ่านหนังสือดีๆ เลือกเล่นกีฬาที่ถนัด เลือกสนทนากับคนที่รักนับถือกันเป็นครั้งคราว หรือแม้แต่เลือกอาหารจานโปรดที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงมากนัก เป็นต้น

โดยนัยนี้ ผมขอยกตัวอย่างสิ่งที่ผมเลือกรับรู้เมื่อเร็วๆ นี้มาเล่าสู่กันฟังสักเรื่องหนึ่ง กล่าวคือเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ที่ผ่านมา ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ลงข่าวและภาพพระภิกษุอายุมากแล้วรูปหนึ่งออกบิณฑบาตยามเช้าตรู่ ท่วงทีอันสง่างามและสงบเย็นของท่านดูน่าประทับใจมาก พระภิกษุรูปนั้นมิใช่ใครอื่น แต่เป็นผู้ที่คนทั่วบ้านทั่วเมืองรู้จักดี ท่านคืออดีต พลเอก สุรยุทธ จุลานนท์

ผมคงไม่ต้องอธิบายอะไรให้มากความเกี่ยวกับเกียรติภูมิของผู้ใหญ่ท่านนี้ อาการสงบเย็น สำรวม เรียบง่ายของท่านท่ามกลางเขตคามชนบท นำปีติสุขมาสู่ผม ผู้ได้อ่านข่าวได้ลึกเอาการ

ผมเชื่อว่าหลายท่านที่ได้อ่านเรื่องเดียวกันนี้คงรู้สึกคล้ายๆ กัน สำหรับผมแล้ว ขณะดูภาพท่านในหน้าหนังสือพิมพ์ ผมเข้าในโดยพลันว่า “นี่ไง ที่เรียกว่าเนื้อนาบุญอันไพศาล” ที่เราอาจเข้าถึงได้ในยุคสมัยนี้ ที่สื่ออย่างหนังสือพิมพ์ (และสื่ออื่นๆ) ช่วยให้เป็นไปได้

นี่คือปีติสุขเงียบๆ ลึกๆ ที่เราหยิบฉวยเข้ามาสู่ใจเราได้จากอะไรๆ ที่เรียกว่ามีอยู่กลาดเกลื่อนธรรมดาๆ เสียอย่างเดียวคือ ข่าวและภาพดีๆ เช่นนี้มีน้อยเกินไปในยุคสมัยของเรา

เขียนมาได้ถึงตรงนี้ ผมได้ความรู้ ความเข้าใจผุดเกิดขึ้นประการหนึ่ง นั่นคือธรรมชาติเดิมแท้ที่เป็นศักยภาพแฝงเร้นอยู่ในตัวเราทุกคนคือ “สุขภาวะ” ที่รอการเปิดตัวออกมาทุกขณะที่มีการกระตุ้นอันเหมาะสม ปัญหาอยู่ที่ว่า ใครจะสามารถเตรียมพื้นที่ทางใจและมีความอ่อนไหวเพียงพอที่จะจุดประกายให้สุขภาวะนั้นเบ่งบานออกมาจากภายใจตัวเรา เรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะรู้ตัวทั่วพร้อมในการเข้าถึงสุขภาวะของแต่ละคน

ในภาวะปรกติของชีวิต ถ้าเราไม่เผลอตัว หมกมุ่นอยู่กับการงาน ภาระหน้าที่ หรือหัวชนฝาอยู่กับปัญหาที่ต้องผจญมากเกินไป รู้จักคลายเครียด หรือปล่อยวางเป็น เราก็น่าจะให้รางวัลชีวิตเราได้จากการรับรู้หรือการเปิดใจสัมผัสของธรรมดาๆ ที่อาจพบเห็นทั่วไป ได้แก่ ดูดอกไม้บานรับแสงตะวันยามเช้า (หรือดอกไม้ในแจกันก็ยังดี) ฟังเสียงหัวเราะหัวไห้ของเด็กๆ ดูต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่มหน้าฝน ดูน้ำใสไหลเย็น (ถ้ามีหรือเดินทางผ่าน) แม้แต่เช้าได้สูดกลิ่นกาแฟหอมกรุ่น ตอบรับยิ้มของลูกหลานหรือเพื่อนฝูงเมื่อพบกัน สุดแต่ว่าจะมีใคร อะไรผ่านเข้ามาในชีวิตประจำวัน หากแต่เรารู้จักรับรู้ด้วยใจอันงาม ไม่อมทุกข์เกินไป เราก็จะพบมากขึ้นว่า ดีๆ ชั่วๆ ชีวิตนี้น่าจะพออยู่ได้

ข้อสรุปของผมในที่นี้คือ เราสามารถจะหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ แต่บ่อยๆ และหลายหลากได้จากของธรรมดาๆ นี่แหละ อะไรๆ เล็กๆ ไม่สลักสำคัญนี่แหละที่รวมกันแล้ว สามารถหล่อเลี้ยงจิตใจเราให้สมดุลเข้มแข็ง ความเป็นปรกติธรรมดาดังนี้แหละที่ช่วยให้เราอยู่ได้ ดำเนินชีวิตได้เป็นปรกติ สำคัญอยู่ที่เราทำใจเป็นด้วยสติและปัญญาของเรา

หลายปีมาแล้ว เพื่อนๆ ของผมกลุ่มหนึ่ง สี่ห้าคน มีความเชื่อที่นำมาทักมายหยอกล้อกันบ่อยๆ คือเชื่อตรงกันว่า ชีวิตเราทุกวันนี้ อย่าไปมุ่งแสวงหาความสำเร็จยิ่งใหญ่อะไรนักเลย วางเฉยเสียบ้าง แล้วหันมาสนใจ “เก็บตก” รางวัลชีวิตเล็กๆ น้อยๆ จากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราได้คิด ได้ทำโดยสุจริตใจ แล้วบังเอิญมันถูกต้อง ดีงาม เท่านี้ก็เพียงพอที่เราจะมีความสุข ความพอใจได้แล้ว เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “ชัยชนะเล็กๆ” ที่ดูแล้วไม่สลักสำคัญ แต่เรารู้ดีว่าทำให้เราสบายใจก็แล้วกัน (ในกลุ่มนี้มีเพื่อนฝรั่งที่น่ารักรวมอยู่ด้วย คือ ลู เซตตี้ เราจึงเรียกชัยชนะหรือความสุขน้อยๆ นี้ว่า “small victories” ส่วนอีก ๔ คน ได้แก่ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์, คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์, คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา และผม)

ครับ ผมจงใจหยิบเอาเรื่องเล็กๆ สิ่งปรกติธรรมดามาเล่าสู่กันฟังในที่นี้ด้วยความตั้งใจเป็น “ฐาน” ของการพิจารณาเพื่อนำไปสู่ “สุขภาวะ” ที่เราแต่ละคนสามารถสร้างให้ตัวเราเองและให้ซึ่งกันและกันได้ไม่รู้จบ จนสามารถพัฒนาต่อเนื่องให้วิวัฒน์งอกงาม ยกระดับขึ้นเป็นจิตและกายที่เจริญมาก กอปรด้วยมโนธรรมสำนึกและความอ่อนไหวที่งดงามสร้างสรรค์ไม่สิ้นสุด




วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 at ที่ 13:20 น. by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, เอกวิทย์ ณ ถลาง | 0 ความคิดเห็น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.342 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 09 ตุลาคม 2566 13:58:32