[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 22 มีนาคม 2560 11:58:24



หัวข้อ: วิธีเพาะเมล็ดเหรียง
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 22 มีนาคม 2560 11:58:24
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/46008525043725_SAM_3392.JPG)
เมล็ดเหรียงมีลายเห็นเด่นชัด - ลายโค้งมนจากส่วนล่าง ส่วนปลายเมล็ดลายจะมน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/78647152541412_SAM_3396.JPG)
นำเมล็ดเหรียงมาตัดตรงปลายของเม็ด ที่มีรอยหยักหรือส่วนแหลมของลาย เพื่อเปิดให้แตกหน่อ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/28974878084328_SAM_3398.JPG)
นำไปแช่น้ำสะอาด 1 คืน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94572170492675_SAM_3407.JPG)


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/85830353448788_SAM_3452.JPG)
เตรียมภาชนะที่เพาะ ให้น้ำไหลผ่านได้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32870085247688_SAM_3455.JPG)
วางผ้ารองภาชนะ แล้วใส่ลูกเหรียงที่แช่น้ำแล้วเกลี่ยให้เสมอกัน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/71491606616311_SAM_3462.JPG)
วางผ้าปิดทับด้านบนให้มิดชิด รดน้ำให้ชุ่ม  ผู้โพสท์เพาะไม่มากนัก คะเนรับประทาน 1 มื้อ
จึงใช้ผ้าขาวบางรองเมล็ดลูกเหรียง ถ้าเพาะประมาณมากทราบมาว่าเขารองด้วยทรายแล้วใช้ทรายกลบทับ
รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณสองสามวันต้นอ่อนจะแตกหน่อ พอยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
นำไปรับประทานได้ (โดยแกะเปลือกเมล็ดออกก่อน)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33416616792480_SAM_3595.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/39003556097547_SAM_3572.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/72986010172300_SAM_3600.JPG)


ผู้โพสท์มีโอกาสไปพักผ่อนที่อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นบ้านของน้องสะใภ้ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ทำให้ไม่ลืมพระคุณท่านพ่อเฒ่าแม่เฒ่า ซึ่งเป็นบิดามารดาของน้องสะใภ้ ก่อนจากลาในเช้าวันนั้น พ่อเฒ่าเสรีได้สอนวิธีการเพาะเมล็ดลูกเหรียง และมอบเมล็ดส่วนหนึ่งให้แก่ผู้โพสท์ไว้เพาะรับประทานเอง เมล็ดเหรียงเหล่านี้มีมากในป่าบนภูเขาซึ่งไม่ไกลจากบ้าน พอฝักแก่เต็มที่จะร่วงหล่นลงมาที่พื้นดิน พ่อเฒ่าจะไปเที่ยวหาเก็บรวบรวมมาแล้วแกะเมล็ดใส่ถุงไว้เพาะรับประทาน

ต้นเหรียงเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีลำต้นมีความสูงได้ถึง 50 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับสะตอ แต่จะแตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของต้นเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนัก เปลือกต้นเรียบ ที่กิ่งก้านมีขนปกคลุมขึ้นอยู่ประปราย และเป็นต้นไม้ที่ชอบแสงสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดใบในช่วงที่ออกช่อดอก และใบจะหลุดร่วงจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อมๆ ไปกับใบอ่อนที่จะเริ่มผลิออกมาใหม่

ผลเหรียง หรือ ฝักเหรียง กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 22-28 เซนติเมตร ตัวฝักตรง ฝักเมื่อแก่เต็มที่เปลือกจะแข็งและมีสีดำ ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดลักษณะเป็นรูปไข่ มีขนาดประมาณ 11 x 20 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีเมล็ดประมาณ 20 เมล็ด โดยจะออกผลหรือฝักในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และฝักจะแก่ในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ลูกเหรียง หรือ หน่อเหรียง มีลักษณะคล้ายกับถั่วงอกหัวโตแต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและมีสีเขียว มีรสมันและกลิ่นฉุนเล็กน้อย เกิดมาจากการนำเมล็ดเหรียงของฝักแก่ไปเพาะเพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ขึ้นมาเหมือนกับถั่วงอก จึงจะสามารถนำมารับประทานได้

ประโยชน์ของเหรียง
1.ลูกเหรียง หรือหน่อเหรียง หรือเมล็ดเหรียง ใช้รับประทานสดแกล้มกับน้ำพริกหรือแกงใต้ หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น การทำแกง แกงหมูลูกเหรียง ผัด หรือจะนำไปทำเป็นผักดองก็ได้
2.เหรียงจัดเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง จึงมีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงดินได้ดี ส่วนของใบเหรียงนั้นมีขนาดเล็กจึงเหมาะแก่การนำมาใช้ปลูกควบคู่ไปกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกกาแฟ ก็จะช่วยทำให้ผลผลิตของกาแฟสูงขึ้นติดต่อกัน

คุณค่าทางโภชนาการของเหรียง ในส่วนที่รับประทานได้ ต่อ 100 กรัม
• พลังงาน 88 แคลอรี
• คาร์โบไฮเดรต 6.7 กรัมแกงหมูลูกเหรียง
• โปรตีน 7.5 กรัม
• ไขมัน 3.5 กรัม
• เส้นใยอาหาร 1.3 กรัม
• น้ำ 79.6 กรัม
• วิตามินเอ 22 หน่วยสากล
• วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 2 0.62 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 3 0.1 มิลลิกรัม
• วิตามินซี 83 มิลลิกรัม
• ธาตุแคลเซียม 182 มิลลิกรัม
• ธาตุเหล็ก 2.0 มิลลิกรัม
• ธาตุฟอสฟอรัส 3.8 มิลลิกรัม


แหล่งที่มา : กองโภชนาการ กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าอาหารไทยในส่วนที่กินได้ 100 กรัม.


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/99128869838184_6.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/68231470220618_7.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14796416295899_3.JPG)
พ่อเฒ่าเสรีกับอุปกรณ์ตัดปลายเมล็ดลูกเหรียง ท่านทำขึ้นอย่างง่ายๆ ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน
โดยตัดลำไผ่ ผ่ากลางลำ ตัดปลายให้แหลมพอที่จะเสียบในร่องกระดานเตียงไม้่ที่ต่อขึ้นเองไว้นั่งพักผ่อนนอกตัวบ้าน
ส่วนกลางของไม้ไผ่ ใช้ปลายมีดเจาะให้เป็นรู มีขนาดพอที่จะเสียบเมล็ดเหรียงส่วนที่จะตัดทิ้งออกไปได้

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/80832022594081_2.JPG)
เสียบเมล็ดลูกเหรียงในรูที่เจาะไว้ แล้วตัดส่วนที่โผล่ออกทิ้ง
วิธีนี้ ทำให้ตัดปลายเม็ดลูกเหรียงซึ่งแข็งมากออกอย่างง่ายดาย และปลอดภัยจากคมมีดอีกด้วย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/62276818810237_1.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/38654938547147_4.JPG)
ลูกเหรียงที่ตัดปลายทิ้งแล้ว พร้อมที่จะนำไปแช่น้ำ เพาะรับประทาน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/48173809134297_5.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/94714057362741_8.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/32014148309826_DSC_0903.JPG)
ผู้เฒ่าเสรี ชี้ความสูงของต้นเหรียงให้ดูต้นยางข้างบ้านเป็นตัวอย่าง ว่าต้นเหรียงสูงพอๆ กับต้นยางนั่นทีเดียว