[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 18:28:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย Kimleng - กระทู้ล่าสุด โดย Kimleng

        ภาพที่ ๘๑
การแข่งขันในเชิงยุทธศิลป์ได้จบลงแล้ว โดยยอมรับนับถืออันแน่นอนจากเจ้าชายทั้งหลายและประชาชน พระบิดาของเจ้าหญิงได้เข้ากอดพระสิทธัตถะ พร้อมกับกล่าวว่า ความจริงนั้นท้าวเธอพอพระทัยในเจ้าชายอยู่แล้ว เมื่อมาได้ชัยชนะอันยิ่งใหญ่สุดที่ใครจะเสมอเหมือนดังนี้ จึงปลื้มพระทัยนัก จึงจะขอมอบของขวัญอันสูงค่าให้ในครานี้ แล้วท้าวเธอก็ผายพระหัตถ์ไปทางเจ้าหญิงศรียโสธรา



         ภาพที่ ๘๒
ขณะนั้น เจ้าหญิงได้เตรียมประคองพวงมาลัยดอกมะลิที่หอมฟุ้ง พลางสยายผ้าสไบให้พ้นพระเศียร เปิดเผยโฉมพระพักตร์อย่างเต็มที่ต่อหน้าประชาชน แล้วทรงดำเนินผ่านเจ้าชายทั้งหลายไปด้วยพระสิริร่างอันงามเฉิดฉาย ตรงไปสู่พระสิทธัตถะ เพื่อประกาศการมอบพระองค์แด่เจ้าชายผู้ชนะเลิศในการแข่งขันยุทธศิลป์ในครั้งนี้ ต่อหน้าคนทั่วไปไว้เป็นพยาน



         ภาพที่ ๘๓
ท้าวเธอได้ย่อพระกายคารวะแด่พระสิทธัตถะอย่างน้อม แล้วประคองพวงมาลัยขึ้น พลางมองสบพระเนตรพระเจ้าชายอย่างตรง ประหนึ่งจะฉายกระแสพระเนตรแห่งนางให้เป็นคำพูดว่า "โปรดรับมาลัยนี้กับรับมอบตัวข้าพระองค์ทั้งกายและใจซึ่งเป็นสิทธิของพระองค์แล้ว" พระสิทธัตถะได้ก้มพระเศียรลงต่ำให้ท้าวนางเธอได้สวมมาลัยด้วยพระหัตถ์อย่างถนัด



         ภาพที่ ๘๔
พระสิทธัตถะสุดจะปลื้มพระทัย เป็นครั้งแรกในชีวิตซึ่งมีแต่หนักไปทางนักพรต บัดนี้ พระองค์มีดวงหทัยเช่นเดียวกับหนุ่มทั่วไปที่สมปองในรัก พระองค์ดำรัสอะไรไม่ออก นอกจากใช้พระเนตรเป็นสื่อสารแทนคำพูด และโอษฐ์ที่ยิ้มแฉ่งนั้นเป็นคำรับคำตอบอย่างลึก แล้วพระองค์จึงอ้าพระกรออกกอดประทับ เมื่อเจ้าหญิงได้ซบพระพักตร์ลงที่พระอุระของพระองค์ ประชาชนก็โห่ร้องกึกก้อง



         ภาพที่ ๘๕
ขอผ่านการกล่าวพิธีวิวาห์อันมโหฬารเสีย ลัดเข้าถึงสองพระองค์เสร็จพิธีแล้ว ได้เสวยสุขยังปราสาทที่ใหม่ที่สุด เยี่ยมที่สุด มีอยู่หลายชั้นสูงต่ำลดหลั่นกันมาตามเชิงเขา มีอุทยานที่สวยสดด้วยนานาพฤกษาดอกหอมและดอกสี มีพื้นที่ติดกับภูเขาหิมาลัย มีสายธารไหลผ่าน ซึ่งเชื่อมมาแต่สายธารแห่งเทพเจ้าเบื้องบน และสัตว์เลี้ยงอีกนานาชนิดเป็นอาภรณ์ของอุทยาน ดังหนึ่งสองพระองค์เสวยสุขอยู่แดนสวรรค์



         ภาพที่ ๘๖
ระเบียงด้านหนึ่งนั้น เสาที่เรียงรายเป็นภาพแกะสลัก ตั้งแต่ต้นจนถึงขื่อเพดาน ด้วยเรื่องพระกฤษณะเจ้าแห่งความรัก ตอนพื้นล่างไปมีสระบัวที่บานสะพรั่งมีกำแพงเตี้ย ๆ กั้นไว้เป็นชั้น ๆ ชั้นกลางนั้นมีซุ้มประตู สร้างรูปพระคเณศวรผู้เป็นเจ้าแห่งฤกษ์ ข้างเฉลียงมีตู้ปลาสร้างด้วยแก้วเจียระไน มีปลาพันธุ์งาม ๆ ว่ายวนเวียน ดูแล้วสุดจะเพลิดเพลินลืมทุกข์ทั้งมวล



         ภาพที่ ๘๗
ภายในปราสาททุกมุม จะมีนางล้วนแต่ร่างสะคราญ เป็นเจ้าหน้าที่คอยรับใช้ทั่วไป พร้อมดนตรีขับกล่อมอยู่ทุกโมงยามตลอดสรงเสวย สุดแต่ตื่นบรรทมเมื่อใด ดนตรีจะบรรเลงเยือกเย็นและเพราะพริ้งด้วยเสียงนางขับร้องล้วนแต่เนื้อเพลงที่เจริญหู มิยอมจะให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในโมงใดนาทีใด ประกาศห้ามคนทั้งหมดกล่าวคำ เรื่องแก่ เรื่องเจ็บ เรื่องตาย ในที่นั้น



         ภาพที่ ๘๘
ปราสาทอันสวยงามและอุทยานอันน่ารื่นรมย์นี้ เพียงมองด้วยตาเท่านั้นจะรู้สึกว่าสูงไม่แพ้เมืองแมนแห่งเทพเจ้า แต่ถ้ารู้ความจริงหลังฉากแล้วไซร้ สถานนี้คือที่คุมขังอันวิจิตรนั้นเอง กว่าจะเข้าออกได้ต้องผ่านกำแพงถึงสามชั้น และแต่ละชั้นมียามรักษาอย่างเอาชีวิตเป็นประกัน แม้แต่พระสิทธัตถะกว่าจะเข้าออก จะออกก็มิได้ เรื่องนี้เจ้าชายสิทธัตถะหาได้ทรงทราบไม่ นั่นคือคำสั่งของพระราชบิดานั่นเอง



         ภาพที่ ๘๙
พระสิทธัตถะเสวยสุขอยู่ในพระราชฐานอย่างลืมทุกข์ ลืมแก่ ลืมเจ็บ ลืมตาย ทุกโมงยามจะระเริงอยู่กับความรักในองค์ศรียโสธรา ไม่เคยได้สติเลยว่า พระองค์จะเป็นอย่างไรต่อไปภายหน้า ไม่เคยรู้เลยว่ามนุษย์ทุกคนเกิดแล้วต้องตาย พระองค์หมดทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นตัวของพระองค์เอง ลืมตาจากบรรทมก็พบแต่สุขแสนสุข เสียงดนตรีเล่า เจ้าหญิงเล่า สนมงาม ๆ เล่า จะคอยบำรุงบำเรอตลอดเวลามิเคลื่อนคลาย



         ภาพที่ ๙๐
ก่อนจะหลับ พระองค์เอาเศียรหนุนพระอุระของเจ้าหญิงผู้เป็นนางแก้วของพระองค์ และทั้งได้รับการลูบไล้จากพระหัตถ์น้อย ๆ ที่นุ่มนิ่มของเธอจนหลับไป ต่อบางเวลาพระองค์จะมีสติคืนตัว เมื่อเวลาทรงสุบินเห็นโลกมนุษย์นี้อลเวงนัก พระองค์จะผวาเพ้อออกมาในสิ่งที่ฝันเห็น และในทันที ดนตรีจะรีบขับกล่อมด้วยเพลงที่แสนระเริงกลมกล่อมขึ้นเสียทันกัน



         ภาพที่ ๙๑
พระองค์ทรงโปรดพิณอยู่คันหนึ่ง ซึ่งมีสายเป็นเงินเนื้อดี พิณนั้นถ้าวางที่ช่องทางลม จะเกิดกังวานประสานเสียงด้วยสายลมที่เสียดสี เกิดเป็นเพลงขึ้นได้ โดยหัวใจผู้ฟังประพันธ์ไปเอง กลับมีรสนิยมผิดไปกว่าคนบรรเลงด้วยมือ พระองค์มักโปรดให้วางพิณนั้นที่ทางลมเสมอ และน่าประหลาดที่คล้ายเทพเจ้าสิงมากับกระแสลม แล้วเสียดสีสายพิณให้เป็นเพลงที่เจ้าชายจะฟังได้เข้าใจเรื่องทั้งหมด



         ภาพที่ ๙๒
เพลงจากสายพิณที่เกิดโดยลมนั้น ดูจงใจจะให้ฟังประกอบรูปเรื่องได้ก็แต่เฉพาะหัวใจของพระมหาบุรุษเท่านั้น รู้เรื่องด้วยหัวใจสัมผัส เป็นเรื่องอลเวงของโลก ความทุกข์ยากแห่งปวงสัตว์ ชาวโลกละเมออยู่กับกามารมณ์ ละเมออยู่กับลาภและสิ่งเย้ายวน บางตอนคล้าย ๆ กับชาวโลกทั้งผองจะเรียกร้องให้พระองค์เป็นผู้เห็นใจเห็นทุกข์ เป็นศาสดาสอนชาวโลกให้สงบและพันทางวิบัติ



         ภาพที่ ๙๓
พระสิทธัตถะทรงคำนึงเนื้อเพลงในสายลมอยู่เงียบ ๆ วันหนึ่ง นักร้องประจำราชสำนักได้จดจำเนื้อเพลงหนึ่งมาร้องถวาย เนื้อเพลงนั้นกล่าวถึงโลกอันไพศาล กล่าวถึงแคว้นต่าง ๆ ไกลๆ ซึ่งมีอะไรต่ออะไรที่น่าดู พระองค์จึงครุ่นคิดอยากเห็นสิ่งนั้น ๆ ด้วยพระเนตร และยังสงสัยว่าสิ่งต่าง ๆ ที่นางขับร้องมานั้นยังจะเหมือนกับที่พระองค์ทรงรอบรู้ในเพลงตามสายพิณนั้นหรือไม่ และโลกที่พ้นจากพระราชฐานนี้จะกว้างใหญ่สักปานใด



         ภาพที่ ๙๔
พระสิทธัตถะได้สั่งให้คนไปทูลกับพระราชบิดา อยากจะออกเที่ยวชมพระนคร ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อยังเด็กเคยไปเที่ยวในวันแรกนาขวัญ พระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งอนุญาต แต่รีบสั่งอำมาตย์ให้เร่งป่าวร้องชาวเมืองจงทำความสะอาดบ้านเมืองบ้านช่อง ตกแต่งให้งดงามจงทุกแห่ง ขอทานไม่มี คนแก่ไม่มี คนเจ็บไม่มี คนตายไม่มี นครกบิลพัสดุ์จะต้องผาสุกมิรู้จักดับมิรู้จักโทรม มีแต่เจริญรุ่งโรจน์ค้ำโลกอยู่กระนั้นนั่นเทียว



         ภาพที่ ๙๕
ครั้นถึงกำหนดชมพระนคร นายฉันนะได้จัดรถทรงงามหรู เทียมโคคู่ขาวผ่อง ซึ่งแต่งทั้งรถทั้งโคเพราเพริศตามแบบกษัตริย์ และทุกถนนก็เต็มไปด้วยความสดชื่นรื่นรมย์ โดยมารยาแต่งทำที่ราษฎรถูกผู้ควบคุมท้องถิ่นบังคับให้ทำ เจ้าชายสิทธัตถะจึงพบแต่ความหรรษาของปวงชน ถึงกับทรงรำพึงออกมาว่า ราษฎรเราช่างสุขสบายถึงปานนี้เชียวหนอ น่าปลื้มพระทัยนัก



         ภาพที่ ๙๖
อีกแดนหนึ่งห่างออกมา ก็คงมีแต่ความหรรษาเช่นแดนอื่น ๆ ที่ผ่านมาแล้ว ไม่มีความทุกข์อยู่ในมนุษย์เลยจนคนเดียว แต่บัดใจนั้นเองก็เกิดโกลาหลขึ้น คือ มีคนชราผอมแห้งกะโผลกกะเผลกออกจากที่ซึ่งถูกบังคับให้ซ่อนตัว ตะแกหลุดออกมาได้ก็ร้องตะโกนด้วยเสียงแหบแห้งว่า หิวโหยเป็นกำลัง สุดจะทนซ่อนมิให้ออกภิกขาจารนั้นมิได้แล้ว ฝูงชนก็เข้ากีดขวางกันแกไว้ พระสิทธัตถะสงสัยพระทัยจึงสั่งหยุดราชรถ



         ภาพที่ ๙๗
พระสิทธัตถะได้สั่งให้คนทั้งหมด ปลดปล่อยชายชรานั้นไป แล้วสั่งนายฉันนะให้นำรถกลับพระราชวังที่แสนบรมสุข พระองค์เคร่งขรึมผิดไปจากเดิม ทั้งมีพระประสงค์จะอยู่โดยลำพังในราชอุทยาน ทรงครุ่นคิดแต่ในความรู้ใหม่ที่ได้พบมา ซึ่งนายฉันนะช่วยบรรยายถวายมาในระหว่างทางว่า คนเราทุกคน เมื่อพ้นจากเด็กก็โตเป็นหนุ่มสาว และนานปีเข้าก็แก่ชรา สังขารเหี่ยวย่นร่วงโรยดังที่เห็นนั้นทุกเพศ



         ภาพที่ ๙๘
พระองค์เริ่มเกิดทุกข์ในพระทัยเป็นครั้งแรก เป็นความทุกข์ซึ่งมาจากการห่วงใยและเสียดายร่างกายของพระองค์ว่าจะต้องเป็นไปดังชายชรานั้น จึงมิไยดีจะระเริงสุขดั่งเคย ไม่เสวยผลไม้นมเนย และเบื่อหน่ายดนตรี เฝ้าแต่ครุ่นคิดเสียดายร่างกายที่งดงามจะกลับกลาย ปราสาทที่งดงาม ทั้งอุทยานที่สวยสดทั้งหลาย ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า เจ้าของผู้ครองก็จะมีร่างกายที่น่าเกลียดเดินปะปนอยู่กับของสวยงามเหล่านี้



         ภาพที่ ๙๙
เหล่าชาวที่นักดนตรีคงบรรเลงอยู่ตามหน้าที่ นักระบำร่างสะคราญยังนวยนาดวาดวงก้านไปตามจังหวะทั้งช้าและเร็วเร่าร้อนด้วยชั้นเชิงยั่วราคะ พระองค์ทุกข์ระทมพระทัย จึงมิโปรดปรานอย่างเคย ทั้งยังทอดพระเนตรนางนั้นด้วยการเปรียบเทียบว่า ร่างอันสะคราญนั้นอีกหลายปีข้างหน้าก็จะแปรผันไป เมื่อนางนั้นยังคงยึดวิชาร่ายรำอยู่ จะน่าเกลียดสักปานใดเมื่อร่างกายนางนั้นได้แปรรูปไปเสียแล้ว



         ภาพที่ ๑๐๐
สงสารอยู่แต่ยอดดวงหทัยของพระองค์ ที่เฝ้าทูลถามพระองค์ด้วยพระสุรเสียงละห้อยละเหี่ย ว่าพระองค์ไม่มีความสุขในข้าพระองค์นี้เสียแล้วหรือ คำนี้ก็เป็นครั้งแรกอีกที่พระองค์ได้ยิน และพระองค์ก็ไม่ทรงประสงค์จะได้ยินดังนี้ เพราะเป็นเสียงที่ทุกข์ระทมน้อยพระทัยของเจ้าหญิงด้วยเกรงจะหมดรักเธอ เหตุใดเล่าพระองค์จึงเป็นผู้ก่อให้แก่พระนางได้รับดังนี้ เกิดทุกข์เพิ่มขึ้นอีก เมื่อรู้ว่าเทพีผู้ยอดสวาทมีทุกข์



ขอขอบคุณ มูลนิธิ เหม เวชกร (ที่มาเรื่อง/ภาพ)
700
28.002 / 12.502

 2 
 เมื่อ: 1 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
สมบัติ บุญงามอนงค์ : เชลย ความทรงจำ หลังรัฐประหาร 2557 [คลิป]
 


<span>สมบัติ บุญงามอนงค์ : เชลย ความทรงจำ หลังรัฐประหาร 2557 [คลิป]</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-29T15:03:44+07:00" title="Wednesday, May 29, 2024 - 15:03">Wed, 2024-05-29 - 15:03</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="400" src="https://www.youtube.com/embed/BNh8HHizxEY?si=7EAV5AaLxkFDgRdH" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 67 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด พูดในกิจกรรม Truth Talk เล่าความทรงจำการถูกนำตัวเข้าค่ายทหารและความผิดปกติในกระบวนการยุติธรรมหลังรัฐประหาร 2557 และการเมืองไทยที่การยึดอำนาจหมุนไปมาเป็นวังวนเหมือนภาพยนต์เรื่องบ้านผีปอบ</p><p>“ผมบอกนายสิบคนนี้ว่าพี่ ผมพูดตรงๆ นะ ผมคิดว่ามันไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่ที่ผู้ต้องหาอย่างผมจะต้องถูกควบคุมตัวไว้ในที่นี้โดยที่ผมไม่สามารถใช้โทรศัพท์ติดต่อกับคนสนิท คนที่ไว้วางใจ หรือทนายความได้ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผมอยู่ที่ไหน</p><p>“ปรากฏเขาบอกว่าคุณสมบัติ คุณไม่ใช่ผู้ต้องหา คุณเป็นเชลย”</p><p>สำหรับกิจกรรม Truth Talk เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการวิสามัญยุติธรรม ซึ่งจัดขึ้นในวาระครบรอบสิบปี #ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน</p><p class="text-align-center"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53748282129_e522608c63_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"></p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53747961271_76641a4647_k.jpg" width="2047" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53747961091_83b8b30181_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"></p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วิสามัญยุติธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">สมบัติ บุญงามอนงคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A" hreflang="th">คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-2557" hreflang="th">รัฐประหาร 2557[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109392
 

 3 
 เมื่อ: 2 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"น้องพราวตะวัน" ลูกแม่ยุ้ย ส่งยิ้มหวานโปรยเสน่ห์ ทำ "น้ามิกค์ ทองระย้า" แพ้ทางเต็มๆ
         


&quot;น้องพราวตะวัน&quot; ลูกแม่ยุ้ย ส่งยิ้มหวานโปรยเสน่ห์ ทำ &quot;น้ามิกค์ ทองระย้า&quot; แพ้ทางเต็มๆ" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;"น้องพราวตะวัน" ลูกแม่ยุ้ย จีรนันท์ ส่งยิ้มหวานโปรยเสน่ห์ งานนี้ทำ "น้ามิกค์ ทองระย้า" แพ้ทางหลานสาวเต็มๆ
         

https://www.sanook.com/news/9398946/
         

 4 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
วงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุคสงครามเย็น | หมายเหตุประเพทไทย EP.324
 


<span>วงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุคสงครามเย็น | หมายเหตุประเพทไทย EP.324</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-05-26T19:41:30+07:00" title="Sunday, May 26, 2024 - 19:41">Sun, 2024-05-26 - 19:41</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="https://www.youtube.com/embed/YVKJ_jJtJw0?si=DWAu9x8KvYiRFGKj" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p>หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และภาวิน มาลัยวงศ์ พูดถึงกำเนิดและพัฒนาการของวงดนตรีสุนทราภรณ์ กระแสนิยมดนตรีแจ๊ส และในยุคสงครามเย็น อิทธิพลของวัฒนธรรมอเมริกันยังส่งผลต่อการเลือกรับปรับตัวงานดนตรีของวงสุนทราภรณ์อีกด้วย</p><p>พร้อมแนะนำบทความ สุนทราภรณ์ใต้ปีกพญาอินทรี: อัสดงคตอเมริกานุวัตรกับวงดนตรีสุนทราภรณ์ในยุุคสงครามเย็น (อ่านบทความ) ของ บุญพิทักษ์ เสนีบุรพทิศ นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตีพิมพ์ในวารสารประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ฉบับที่ 47 มกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2565 #หมายเหตุประเพทไทย #สุนทราภรณ์</p><div class="more-story"><p><strong>หมายเหตุประเพทไทย</strong></p><ul><li>ยุคฟื้นฟูของเพลงลูกทุ่ง | หมายเหตุประเพทไทย EP.523</li><li>โลกร้อน ภัยแล้ง กระทบคนจน | หมายเหตุประเพทไทย EP.522 (LIVE)</li><li>หลานม่า และสิ่งประกอบสร้างทางอารมณ์ความรู้สึก | หมายเหตุประเพทไทย EP.521</li></ul></div><p>&nbsp;</p>หมายเหตุประเพทไทย" width="1920" height="1080" loading="lazy</div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">หมายเหตุประเพทไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สุนทราภรณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5" hreflang="th">ดนตรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99" hreflang="th">สงครามเย็http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">วัฒนธรรมป็อhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">ประวัติศาสตร์สังคhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/05/109360
 

 5 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย ใบบุญ - กระทู้ล่าสุด โดย ใบบุญ

ท่านพุทธทาส (กลาง) คณะสงฆ์ และฆราวาส

อาหารมื้ออร่อยที่สุดของพุทธทาสภิกขุ คืออาหารชนิดใด

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2567


ระหว่างเข้าพรรษาปี 2477 พระธรรมโกศาจารย์ หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม 2449 – 8 กรกฎาคม 2536) แห่งสวนโมกพลาราม ได้กำหนดที่จะฝึกฝนตนเองอย่างเข้มข้น โดยงดพูดและงดติดต่อกับบุคคลภายนอก แต่ละวันท่านยังเขียนบันทึกลงใน “สมุดบันทึกธรรมปฏิบัติรายวัน” ที่ใช้กันในสวนโมกข์ ที่ภายหลังธรรมสภารวบรวมจัดพิมพ์เผยแพร่ในงานปลงศพของท่าน เมื่อปี 2536 โดยใช้ชื่อว่า “อนุทินการปฏิบัติธรรม” ซึ่งในที่นี้ขอนำเนื้อหาบางส่วนของเรื่อง “อาหารมื้ออร่อยที่สุด” ที่ท่านพุทธทาสเขียนไว้มานำเสนอดังนี้ (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ)


อาหารมื้ออร่อยที่สุด
อาหารมื้อที่มีความปรารถนาน้อยเปนเนื้อข้าว มีความสันโดษเปนกับข้าว เปนอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกนี้ บางคนกล่าวว่ามื้อที่หิว ข้อนั้นย่อมไม่แน่นอนนัก เพราะคนที่มีหิวบางคนก็ยังเลือกอาหาร และติเตียนเมื่อบริโภคแล้ว.

ข้าวสุกเปล่าที่เคี้ยวบดอยู่ในปากมีความสันโดษในห้วงแห่งดวงใจเปนกับ ย่อมหวานยิ่งกว่าข้าวสุกระคนด้วยนมข้นอย่างหวาน แต่เคี้ยวกลืนด้วยหัวใจแห่งชาวโลกธรรมดา! แม้ว่าตามธรรมชาติของแป้งข้าวในข้าวสุข เมื่อผสมกับน้ำลายแล้ว แปรธาตุเปนน้ำตาลรู้สึกหวานแก่ผู้เคี้ยวก็จริง แต่มันหวานไม่ถึง 1/100 ของข้างที่เคี้ยวและกลั้วด้วยน้ำลายอันผสมด้วยเชื้อแห่งสันโดษ.

เคยปรากฏแก่ข้าพเจ้าในบางครั้งว่า หวานจนขนลุกและเย็นซ่าไปทั่วตัว มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น จนรู้สึกว่า 3-4 คำก็พอแล้วสำหรับชีวิตในวันนี้ แต่ถ้าบางวันข้าพเจ้าเผลอลืมราดน้ำปรุงรสกล่าวคือความสันโดษนี่แล้ว ย่อมรู้สึกว่า ชาวบ้านช่างใจจืดแก่พวกเราเสียจริงหนอ! เขาไม่ให้อาหารที่เปนรสชาติแก่ลิ้นเสียเลย ทั้งที่วันนั้นมีการแกงไม่น้อยกว่า 2-3 อย่างก็มี

พระพุทธบิดาตรัสว่า จิตต์เปนธรรมชาติที่มีอารมณ์อันเดียว หมายความว่ามันเสวยอารมณ์ หรือรู้สึกอารมณ์ได้คราวละอัน ท่านจะป้อนอารมณ์อันไหนก็ให้แก่มันย่อมแล้วแต่ท่านจะเลือก เมื่อสันโดษเปนธรรมารมณ์ที่จิตเสวยอยู่แล้ว เมื่อนั้นมันย่อมเปนเด็กที่เลี้ยงง่ายไม่อ้อน และไม่รู้สึกถึงการที่มันเคยเลี้ยงยากครั้งก่อนๆ หรือครั้งอื่นๆ เลย

เพราะมันมีอารมณ์อันเดียว เปนแต่มันเปลี่ยนอารมณ์เร็วมากเท่านั้น เมื่อท่านไม่ยอมให้มันเปลี่ยน ผูกมัดไว้แน่นกับเสาเขื่อนคือสันโดษเหมือนลูกโคที่เขาจะนำไปฆ่าแล้ว ผักล้วนๆ หรือข้าวสุกล้วน ไม่มีอะไรเจือปน ก็ทำความพอใจอิ่มเอมให้แก่จิตต์เท่ากันกับอาหารที่ท่านหลงเพ้อว่าวิเศษทั้งหลาย ซึ่งเปนอาหารชนิดยาเสพติดมากกว่า ถ้าทำถูกวิธีจิตต์จะมีอารมณ์อันเดียว และไม่อ้อนเลย

วันหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นโคกินหญ้าด้วยความสังเกตยิ่งกว่าทุกวัน เข้าใจว่ามันรู้สึกอร่อยเท่าที่พวกมันเปนทาสลิ้นเห็นอาหารตามภัตตาคารสูงๆ หรือแม่ครัวฝีมือดีเหมือนกัน วันหนึ่งข้าพเจ้าเลี้ยงปลาในสระด้วยข้าวสุกอย่างเดียว ข้าวสุกซึ่งมนุสส์กินแต่อย่างเดียวไม่ได้ แต่พวกปลามันเห็นเปนดุจว่า เทวดาเอาของทิพย์มาหว่านให้ทีเดียว นี่คือธรรมชาติ! มนุสส์ได้ยอมเปนขี้ข้าของปิสาจมหาอุบาทว์คือตัณหาในรสที่ลิ้นไปเสียแล้ว จึงกินข้าวสุกอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งที่มนุสส์ก็คือสัตว์ธรรมชาติชนิดหนึ่งเหมือนกัน

วันหนึ่งข้าพเจ้าสละทองหยิบ และขนมหม้อแกง และของอื่นบางอย่าง แทนที่จะบริโภคเอง ให้พวกปลานั้นกิน แต่มันหากินไม่ ดูเถิดธรรมชาติ!
มนุสส์สัตว์ธรรมชาติ ได้ละจากสิ่งที่บริสุทธิ์ ไปยึดสิ่งที่เศร้าหมอง เสพติดยาฝิ่นอย่างเงียบๆ ให้เป็นของจำเป็นสำหรับชีวิตด้วยการยึดถือ เห็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติเปนของเลวทราม สิ่งที่ปรุงใหม่ และหายากเปนของดี เพราะอุปทานที่ลิ้น!…ข้าวต้องผัดต้องปรุงเสียก่อน จึงจะกินข้าวนั้นได้โดยไม่ต้องกินกับข้าว ซึ่งความจริงมันก็เหมือนกับข้าวนั่นเอง

ธรรมชาติต้องการอาหารที่บำรุง หาต้องการอาหารที่แสลงไม่, อาหารที่ปรุงยิ่งวิเศษยิ่งขึ้นเพียงใด ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเป็นอาหารเลวทรามลงเพียงนั้น เพราะแสลงและไม่เปนประโยชน์แก่ร่างกายยิ่งขึ้น เปนแต่มีกลิ่น, สี, รส ฝั่งมนุสส์ให้โง่หลงผิดยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง


อ่านต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_75298?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0uOOP8NyCCAipYjZuYb7T8gH3eBGOt0MHWmNi8-ZFn3y9R00b5EPog8IY_aem_AVhiAZHhlJ_ik7pU-X0FxbniBfIPdqIxXBkF-Jt3K1OTaa7dG8L2b48G6EwNGWyFoUfwYNVv5hQIJCADJMjmGLHY

 6 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย ใบบุญ - กระทู้ล่าสุด โดย ใบบุญ



(ซ้าย) รูปเคารพเห้งเจียใน "ศาลเจ้าพ่อเฮ่งเจีย" สวนผัก ธนบุรี
(ขวา) ลายเส้นเห้งเจียจาก "เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า


เห้งเจีย ลิงในนิยายไซอิ๋ว กลายเป็นเทพที่คนจีนกราบไหว้ และแพร่เข้าไทยได้อย่างไร

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2567


เห้งเจีย เป็นตัวละครหนึ่งใน “ไซอิ๋ว” เท่านั้น แต่ปัจจุบันตัวละครนี้เสมือนมีตัวตนดำรงอยู่ในโลกความเป็นจริง และเป็นที่เคารพของกลุ่มคน แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเห้งเจีย อาจต้องเอ่ยถึงต้นฉบับวรรณคดีที่ตัวละครนี้ปรากฏอยู่ นั่นคือ ไซอิ๋ว ซึ่งเดิมทีเชื่อกันว่าเป็นวรรณกรรมสมัยราชวงศ์หมิง เคยเล่ากันว่า “อู๋ เฉิงเอิน” นักประพันธ์ (ค.ศ.1500-1582) เป็นผู้รวบรวมเรื่องเล่าจากท้องถิ่นต่างๆ มาผสมผสานเป็นวรรณกรรม

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาค้นคว้าของ จรัสศรี จิรภาส ผู้เขียนหนังสือ “เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง)” อธิบายว่า ผู้แต่งที่แท้จริงนั้นจะใช่ “อู๋ เฉิงเอิน” หรือไม่ ยังไม่สามารถบ่งชี้อย่างชัดเจน แต่ที่ศึกษากันจนยอมรับกันนั้นคือ เรื่องไซอิ๋วเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง อันเป็นรอยต่อระหว่างราชวงศ์ถัง ภายหลังจากพระถังซัมจั๋งกลับมาจากประเทศอินเดีย และแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเผยแพร่ในประเทศ

เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ลูกศิษย์ของท่านแต่งหนังสือเรื่อง “ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” (บันทึกการเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎกของพระตรีปิฎกแห่งมหาราชวงศ์ถัง) ซึ่งเชื่อกันว่าผลงานนี้เป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมไซอิ๋ว และเล่มนี้เช่นกันที่ “เห้งเจีย” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก


การปรากฏตัวของเห้งเจีย
“ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” เล่าถึงการเดินทางของพระถังซัมจั๋ง พร้อมด้วยผู้ติดตาม 6 คน เมื่อเดินทางผ่านเมืองแรกก็พบลิงชุดขาวที่เรียกกันว่า “ไป๋อีซิ่วฉาย” มาดักรอ ลิงชุดขาวแนะนำตัวว่ามาจากถ้ำจื่ออวิ๋นที่ภูเขาฮวากั่ว เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือพระถังซัมจั๋งไปอาราธนาพระไตรปิฎก

พระถังซัมจั๋งตอบรับ และตั้งชื่อลิงชุดขาวว่า “ลิงเห้งเจีย” (โหวสิงเจ่อ) แต่ในฉบับนี้ ลิงเห้งเจียยังไม่มีอิทธิฤทธิ์พิสดารมากนัก นอกเหนือจากมีพละกำลัง หายตัว แปลงร่างได้หลายร่าง แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นแปลงได้ 72 อย่าง เหาะไม่ได้ กระโดดไกลเป็นพันลี้ ดัง “เห้งเจีย” ในไซอิ๋วไม่ได้เช่นกัน

(“ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” ไม่มีตัวละครอย่างตือโป๊ยก่าย และซัวเจ๋ง จรัสศรี จิรภาส มองว่า มีความเป็นไปได้ที่อู๋ เฉิงเอิน หรือผู้ที่แต่งขึ้นอาจเอานิทานพื้นบ้านถิ่นต่างๆ จากหลายยุคสมัยมาผนวกรวมกับเรื่องราวของพระถังซัมจั๋ง พร้อมปรับแต่งเติมจนกลายเป็นเห้งเจียในไซอิ๋ว)

แน่นอนว่าลิงเทพเจ้าที่โด่งดังอย่าง เห้งเจีย ก็สืบเนื่องมาจากฉบับไซอิ๋วมากกว่า และกลายเป็นเทพ “ฉีเทียนต้าเสิ้ง” ที่ผู้คนบูชา

สำหรับเนื้อเรื่องในไซอิ๋ว ชาวไทยและผู้คนหลายประเทศทั่วโลกน่าจะคุ้นเคยกันดี แต่ในที่นี้ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเห้งเจีย ตั้งข้อสังเกตกันไว้ว่า ในวรรณกรรมจีนไม่เคยมีตัวละครที่ถูกเขียนให้ท้าทายอาละวาดสวรรค์อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า ผู้เขียนแฝงแนวคิดต่อต้านระบอบศักดินาในช่วงเวลานั้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวคิดก้าวหน้าของผู้คนในยุคสมัยหมิงเช่นกัน


ศรัทธาบูชาลิง 
เมื่อมีกำเนิดตัวละครแล้ว พัฒนาการมาสู่ความศรัทธาในภายหลังนั้น อาจต้องเริ่มต้นที่คำอธิบายว่า การนับถือลิง หรือสัตว์อื่นไม่ใช่เรื่องแปลก ประวัติศาสตร์จีนปรากฏพฤติกรรมการบูชาลิงมาก่อน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ คนยุคโบราณจึงกราบไหว้ลิงเป็นเทพเจ้า แต่ความคิดเห็นของผู้ศึกษาเกี่ยวกับเห้งเจียอย่างจรัสศรีมองว่า การบูชาลิง-เห้งเจีย ซึ่งกำเนิดจากวรรณกรรมเป็นเรื่องแปลก

การบูชาลิงจากวรรณกรรมนี้ ไม่ใช่แค่ชนชาติอื่นอาจไม่เข้าใจ ชนชาติจีนเองและต้นกำเนิดตัวละครก็ยังไม่เข้าใจสาเหตุ ดังเช่นบันทึกของ เผิง กวางโต่ว ชาวจีนสมัยราชวงศ์ชิง เขาบันทึกการเดินทางไปเมืองฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ว่า เมืองแห่งนี้มีเรื่องประหลาด 3 เรื่อง หนึ่งในนั้นย่อมมีเรื่อง “การบูชาเห้งเจีย”

อย่างไรก็ตาม ชาวจีนทางใต้เองมองว่าการบูชาลิงเห้งเจียเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากทางใต้ของจีนบูชาลิงกันมายาวนาน จึงอาจพอสันนิษฐานได้ว่า เมื่อไซอิ๋วเริ่มแพร่หลายโด่งดังไปทั่วประเทศ ชาวจีนในท้องถิ่นที่มีการบูชาลิง จึงผนวกการบูชาลิงที่มีมาแต่โบราณ เข้ากับการบูชาเห้งเจีย

บันทึกของ เผิง กวางโต่ว ยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า การกราบไหว้บูชาลิงไม่ได้เป็นเรื่องปกติทั่วไปในจีน แต่นิยมอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะทางตอนใต้ อาทิ มณฑลหนิงเซี่ยะ กว่างตง (กวางตุ้ง) หูเป่ย และฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) พื้นที่เหล่านี้อยู่ในลุ่มน้ำตอนใต้ โดยเฉพาะฝูเจี้ยน ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ซึ่งมีการกราบไหว้เห้งเจียกันมากและเก่าแก่ที่สุด มีวัดบูชาเทพเจ้าลิงที่เก่าแก่ในฝูเจี้ยนชื่อ “วัดเหนิงเหยินซื่อ” อีกทั้งยังมีบันทึกโบราณหลายชิ้นบ่งชี้ว่า ทางตอนใต้ของจีนเป็นแหล่งที่อยู่ของฝูงลิง วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นย่อมคุ้นเคยกับลิงมาแต่เดิม

จรัสศรี ยังสืบค้นต่อไปว่า ชาวจีนภาคใต้มีความเชื่อเรื่องลิงมีจิตวิญญาณคล้ายมนุษย์ โดยมนุษย์โบราณเชื่อว่าลิงชราอายุร้อยปี กลายเป็นลิงวิเศษ หากอายุพันปีจะกลายเป็นมนุษย์ เรื่องเล่าเช่นนี้ทำให้ชาวจีนบางส่วนไม่กล้าทำร้ายลิง และอาจเรียกลิงว่า “ซือฟู่” (อาจารย์) สำหรับลิงขาวก็จะได้รับการยกย่องในหมู่ชาวจีนบางท้องถิ่น และกราบไหว้ลิงขาวเป็น “ไป๋เจี้ยงจวิน” หรือ จอมพลขาว เป็นเทพอารักษ์ในหมู่บ้าน

ยิ่งประกอบกับฝูเจี้ยน เป็นแหล่งโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ การเผยแพร่และความนิยมเรื่อง “ไซอิ๋ว” น่าจะแพร่กระจายได้ไม่ยาก ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดความนิยมความเชื่อบูชาเห้งเจียด้วย

แต่ในยุคปัจจุบัน ร่องรอยการบูชาเห้งเจียในจีนตอนใต้ โดยเฉพาะฝูเจี้ยนในมุมมองของชาวต่างชาติ ยังปรากฏหลากหลาย นักวิชาการไต้หวันเคยเขียนบทความว่าเขตเมืองฝูโจว ในมณฑลฝูเจี้ยน ไม่ปรากฏศาลเจ้าฉีเทียนต้าเสิ้ง อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ศึกษาของจรัสศรี เมื่อ พ.ศ. 2546 ได้พบว่า เมืองฝูโจวส่วนหนึ่งยังนิยมกราบไหว้เห้งเจีย มีสถานบูชาเห้งเจียหลายแห่ง แต่เมื่อสำรวจรอบเมืองฝูโจว ในพื้นที่ซึ่งเป็นเมืองโบราณเก่าแก่กลับไม่การบูชาเห้งเจียเทียบเท่า

ส่วนการแพร่ความเชื่อความศรัทธามาสู่ดินแดนอื่นนั้น เห็นได้ว่า ชาวจีนที่แผ่นดินใหญ่ที่ไปตั้งรกรากในที่ต่างๆ จะปรากฏร่องรอยความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าไปอยู่ด้วย ดินแดนโพ้นทะเลที่มีชาวจีนหรือลูกหลานชาวจีนอาศัยอยู่มาก และมีร่องรอยการเคารพบูชาเห้งเจีย ก็มีตั้งแต่ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย

สำหรับการแพร่สู่ไทย จรัสศรี วิเคราะห์ไว้ 2 แนวทางคือ เส้นทางตามข้อมูลประวัติศาสตร์ และเส้นทางร่องรอยที่ปรากฏในเชิงตำนาน

ในแง่เส้นทางประวัติศาสตร์ ผู้สืบค้นเกี่ยวกับเห้งเจียมองว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในไทยมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และกว่างตง (กวางตุ้ง-แต้จิ๋ว) มากพอสมควร กลุ่มนี้นับถือวานรเทพและเห้งเจียอย่างแพร่หลาย จึงสันนิษฐานได้ว่า ความศรัทธาในเห้งเจียเข้ามาในไทยพร้อมเรือสำเภาทะเล ผ่านการล่องเรือจากทางตอนใต้ของจีน มาสู่ท่าเรืออ่าวไทย เช่น ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต สำหรับภูเก็ตแล้วเป็นพื้นที่ซึ่งมีชาวฮกเกี้ยนอาศัยอยู่มาก เมื่อไปสำรวจพื้นที่เหล่านี้จะพบเห็นศาลเจ้าเห้งเจียจำนวนมาก

ส่วนเส้นทางในเชิงตำนานมีหลากหลายกันไป เมื่อพิจารณาจากความเชื่อและลักษณะของเห้งเจียที่มีอิทธิฤทธิ์พิสดาร จรัสศรี บรรยายว่า กลุ่มผู้นับถือมักอธิบายด้วยเรื่องเล่าอันพิสดาร อาทิ ผู้คนบางท้องที่ในไทยหยิบยกสถานที่สำคัญในเรื่องไซอิ๋วมาปรากฏในเมืองไทย อาทิ พระอุโบสถชื่อ “ลุ่ยอิมยี่” (วัดเหลยอินชื่อ) ที่ประทับของพระพุทธเจ้าในเรื่องไซอิ๋ว เป็นชื่อสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาที่วัดพระพุทธบาท สระบุรี

ชาวบ้านในท้องที่สระบุรีกลุ่มหนึ่งจะเชื่อกันว่า วิญญาณทุกดวงที่ล่องหนในที่ใดก็ตาม จะมาประทับตราต่ออายุที่วัดเหลยอินซื่อที่สระบุรี หรือกรณีอุโบสถ “ซีเทียนฝอ” หรือ “พุทธชมพูทวีป” จุดหมายที่เห้งเจียกับคณะเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎก

สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนคุณค่าทางความคิดของชาวบ้าน และยังแสดงถึงความศรัทธาและความแพร่หลายของ เจ้าพ่อเห้งเจีย ในเมืองไทยอีกด้วย สำหรับพื้นที่ที่ปรากฏเทพเจ้าเห้งเจียอย่างแพร่หลายย่อมมีชื่อภูเก็ตด้วย โดยจรัสศรีอธิบายว่า เห้งเจีย เป็นเทพขวัญใจของคนหนุ่ม คนทรงเห้งเจียมักเป็นกลุ่มวัยรุ่น


อ่านต้นฉบับได้ที่ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_39807?



 7 
 เมื่อ: 3 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย ใบบุญ - กระทู้ล่าสุด โดย ใบบุญ


ยาประจำบ้าน แก้ไข้ แก้หวัด

ที่มา - คอลัมน์โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง   มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 24 - 30 พฤษภาคม 2567
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2567


ยาไทยหรือยาสมุนไพรมีลักษณะพิเศษกว่ายาฝรั่ง จัดได้ 3 ลักษณะ เป็นยาที่ปรุงใช้เองในครัวเรือนหรือในชุมชนก็ได้ มีการผลิตแบบยาสามัญประจำบ้านที่ให้ประชาชนทั่วไปหาซื้อมาเก็บไว้ในตู้ยาประจำบ้าน และมีรายการยาสมุนไพรที่ได้รับการยกระดับให้เป็นรายการยาบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร

เหมือนแปลกแต่ก็จริง ตำรับยาสมุนไพรอย่างเดียวกันใช้จริงในครอบครัวหรือหมอพื้นบ้านหมอแผนไทยก็ปรุงเป็นสูตรยาช่วยเหลือชาวบ้าน ต่อมาตามยุคสมัยก็มีการนำเอาตำรับยาสมุนไพรสูตรนี้มาผลิตเป็นรูปแบบยาที่ใช้สะดวกขึ้น

ปัจจุบันก็มีผู้ผลิตยาไทยหรือเรียกว่าอุตสาหกรรมยาสมุนไพรของไทยผลิตออกจำหน่ายในร้านยาทั่วไป และเมื่อการศึกษาวิจัยหรือการเก็บข้อมูลความปลอดภัยและประสิทธิผลของตำรับยาสมุนไพรมีมากขึ้น คณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรก็พิจารณาคัดสรรบรรจุในรายการยาหลักแห่งชาติให้เบิกจ่ายได้ในระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ

ช่วงนี้ ลมร้อนกำลังจางไปลมฝนกำลังมา ไข้โควิด-19 ที่จะไม่ไปไหนแล้วจะอยู่ในไทยไปเรื่อยๆ และบรรดาไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ที่อยู่มาแต่เดิมก็กำลังเดินแถวมาจ่อในช่วงเปลี่ยนฤดูนี้ ถ้าใครเริ่มครั่นเนื้อครั่นตัวหรือเริ่มมีอาการไข้ สมุนไพรมีคำตอบช่วยตัดไข้แต่ต้นลมได้ จะช่วยลดความรุนแรงของโรคไปได้มาก

ขอแนะนำตัวอย่างแสดงให้เห็นความพิเศษของตำรับยาสมุนไพรที่มาจากการพึ่งตนเองเป็นความรู้ดั้งเดิมสู่รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ที่เป็นระบบสวัสดิการในหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว ยกตัวอย่างเพียง 4 ตำรับ ยาแก้ไข้ แก้หวัด


1) ฟ้าทะลายโจร มีการพูดถึงมากแล้วใช้ได้ทั้งไข้หวัดน้อย หวัดใหญ่ ไข้โควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง จึงขอไม่ลงรายละเอียด เพียงยืนยันว่าระดับพึ่งตนเองทำกินเองแบบสดๆ หรือแบบแห้ง ทั้งรูปแบบยาชาชงหรือปั้นเม็ดลูกกลอนก็ได้ หรือเพื่อความสะดวกก็มีวางจำหน่ายตามร้ายยาทั่วไป และถ้ามีเหตุไปรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อพบทั้งแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนปัจจุบันก็ให้สั่งจ่ายยาฟ้าทะลายโจร ซึ่งคนไข้ไม่ต้องจ่ายค่ายาเพราะเป็นรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

2) รางจืด คงนึกแปลกใจว่าสมุนไพรนี้จะแก้ไข้ได้ด้วยหรือ เพราะเป็นที่รู้จักกันในสรรพคุณรางจืดช่วยขจัดหรือลดสารพิษยาฆ่าแมลงศัตรูพืช และใช้แก้พิษเบื่อเมา แก้อาการผิดสำแดง จึงขอแนะนำให้รู้จักรางจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thunbergia laurifolia L.  ตามตำราโบราณใช้รากและเถารางจืดเป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ใบและน้ำคั้นจากใบสดนำมาใช้แก้ไข้ ถอนพิษ ในภูมิปัญญาอีสานที่สืบต่อกันมาเมื่อจะปรุงอาหารที่เก็บมาจากป่าทุกครั้งให้ใส่ใบและดอกของเถารางจืดเข้าไปด้วย เพื่อป้องกันพิษที่อาจเกิดจากพืชหรือสัตว์ป่าที่นำมากิน   ในบัญชียาหลักแห่งชาติบรรจุยารางจืดให้ใช้แก้ถอนพิษไข้ และแก้ร้อนใน โดยกินรูปแบบยาชง หรือแบบแคปซูลโดยนำใบรางจืดแห้งบรรจุแคปซูล ขนาด 500 มิลลิกรรม กินครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

3) ยาจันทลีลา ตำรับนี้ชาวบ้านทั่วไปคงไม่ได้ปรุงยากันเอง แต่เป็นตำรับยาที่หมอแผนไทยหรือหมอพื้นบ้านแต่เดิมนั้นเป็นผู้ปรุงยาไว้ช่วยเหลือคนในชุมชน เพราะมีตัวยาหลายชนิดที่ต้องจัดหามาประกอบขึ้นเป็นตำรับยา  ภูมิปัญญาดั้งเดิมแนะนำข้อดี “ยาจันทลีลา” ใช้สยบอาการไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูหรือที่เรียกว่าไข้เปลี่ยนฤดู นอกจากลดไข้ได้ดีแล้วสมุนไพรที่อยู่ในตำรับยานี้ยังมีสรรพคุณช่วยลดอาการข้างเคียง เช่น หวัด คัดจมูก หืดหอบ ไอ เสมหะ มึนงง กระสับกระส่าย เป็นต้น   ชื่อตำรับยามีจันทน์เป็นยาหลัก คือ แก่นจันทน์ทั้ง 2 ได้แก่ แก่นจันทน์ขาวและแก่นจันทน์แดง และสมุนไพรเด่นๆ อีก 3 ชนิด โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา และมีสมุนไพรที่เกี่ยวกับแก้ไข้อีกคือ ลูกกระดอม บอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก  สมุนไพรทั้งหมดนี้หนักสิ่งละ 4 ส่วน แทรกพิมเสนอีก 1 ส่วนสมุนไพรทั้ง 9 ชนิด นำมาบดเป็นผงละเอียดบรรจุแคปซูล ขนาด 500 มิลลิกรัม ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2-4 แคปซูล ทุก 4 ชั่วโมง เด็กก็กินได้ (อายุ 6-12 ปี) ลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งหรือกินครั้งละ 1-2 แคปซูล ทุก 4 ชั่วโมง

4) ยาห้าราก เป็นยาโบราณไทยแท้ หมอยาไทยมักปรุงไว้ช่วยเหลือชาวบ้าน ชื่อยาบางครั้งก็เรียกไพเราะว่า ยาเบญจโลกวิเชียร หรือเรียกว่า ยาแก้ว 5 ดวง เปรียบดั่งสมุนไพรเป็นแก้ว 5 ดวง หรือมี 5 ชนิดนั่นเอง คือ รากมะเดื่อชุมพร (มะเดื่ออุทุมพร) รากชิงชี่ รากเท้ายายม่อม รากคนทา รากย่านาง  ความสำคัญของตำรับยานี้ให้ศึกษาบันทึกในตำราแพทย์ดั้งเดิมฉบับหลวงในคัมภีร์แพทยศาสตร์สงเคราะห์ว่า “พิเคราะห์ตามไข้ หนักเบาอย่างไร อย่าให้เสียที ทำตามทำนอง ให้ต้องพิธีพิเคราะห์ให้ดี จึงมี เดชา รากเท้ายายม่อม มะเดื่อชุมพร อีกรากคนทา ชิงชี่ น้ำนอง ให้ต้องตำรา ปู่เจ้าเขาเขียว หญ้านาง แลนา สิริสรรพยา ให้เอาเสมอกัน ต้มให้กินก่อน ตกถึงอุทร ออกสิ้นทุกพรรณ ท่านตีค่าถึง ตำลึงทองนั้น”  สรรพคุณของสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ออกฤทธิ์แก้ไข้ได้หลายอย่าง และยังเรียกว่าช่วยกันกระทุ้งไข้ต่างๆ ให้ออกมาด้วย สมุนไพรเหล่านี้ยังช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงต่างๆ ที่มาพร้อมกับไข้ เช่น มะเดื่อชุมพร ช่วยละลายเสมหะได้ดี รากชิงชี่ แก้อาการไอ อาการเจ็บตามเนื้อตามตัวด้วย รากเท้ายายม่อม ช่วยแก้อาการ หืด ไอ รากคนทา แก้ตัวร้อนร่วมกับอาการปวดเมื่อยตามตัว รากย่านาง แก้ไข้จากแพ้อาหารด้วย

ขนาดและวิธีใช้ ยาผงบรรจุแคปซูล 500 มิลลิกรรม ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2-3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เด็กก็กินได้ (อายุ 6-12 ปี) ลดยาลงครึ่งหนึ่ง กินครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ 3 ครั้งเช่นกัน

ข้อควรระวัง ในตำรับยาแก้ไข้ทุกตำรับนั้น หากสงสัยหรือมีอาการเป็นไข้เลือดออกก็ไม่ควรกิน ควรไปพบแพทย์ และเมื่อกินยาสมุนไพรแก้ไข้เกิน 3 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย

อยากจะบอกว่าประเทศเรามีตำรับยาสมุนไพรใช้แก้ไข้หลายขนาน สมุนไพรเป็นการพึ่งตนเองจากระดับครัวเรือน ชุมชน ไปสู่บัญชียาหลักแห่งชาติช่วยพึ่งตนเองในระบบบสุขภาพของประเทศด้วย •



คอลัมน์ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichonweekly.com/column/article_769311

 8 
 เมื่อ: 4 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
พลาดตรงไหน? ทารกวัย 5 วัน หมอแนะ "ตากแดด" รักษาดีซ่าน แค่ครึ่งชั่วโมงตายสลด
         


พลาดตรงไหน? ทารกวัย 5 วัน หมอแนะ &quot;ตากแดด&quot; รักษาดีซ่าน แค่ครึ่งชั่วโมงตายสลด" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;แม่ใจสลาย… ลูกเพิ่งเกิดได้แค่ 5 วัน ป่วยดีซ่าน หมอแนะนำให้ “ตากแดด” ช็อก เสียชีวิตในครึ่งชั่วโมง พลาดตรงไหน...?
         

https://www.sanook.com/news/9396174/
         

 9 
 เมื่อ: 4 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ประวัติ “สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” อดีตกกปส. และผู้ก่อตั้งสื่อดัง
         


ประวัติ “สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” อดีตกกปส. และผู้ก่อตั้งสื่อดัง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;รู้จัก “สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” ว่าเขาคือใคร มีบทบาททางการเมืองและสื่อมวลชนอย่างไร
         

https://www.sanook.com/news/9398862/
         

 10 
 เมื่อ: 7 ชั่วโมงที่แล้ว 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"บุ๋ม ปนัดดา" น้ำตาคลอ ดราม่าเรียกทัวร์ลง รปภ. คดีพลิกถูกวิจารณ์แรงเรียกลูกเทวดา
         


&quot;บุ๋ม ปนัดดา&quot; น้ำตาคลอ ดราม่าเรียกทัวร์ลง รปภ. คดีพลิกถูกวิจารณ์แรงเรียกลูกเทวดา" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;บุ๋ม ปนัดดา ออกมาเคลียร์ทั้งน้ำตา ถึงปมดราม่าลูกล้มจนคางแตกแต่ตำหนิ รปภ.
         

https://www.sanook.com/news/9398414/
         

หน้า:  [1] 2 3 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.19 วินาที กับ 24 คำสั่ง

Google visited last this page 25 พฤษภาคม 2567 21:40:27