[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2566 18:41:51



หัวข้อ: “ฮิจรา(Hijra) กะเทยอินเดีย” ทำไมถึงมีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ในการสาปแช่ง?
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2566 18:41:51
“ฮิจรา – กะเทยอินเดีย” ทำไมถึงมีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ในการสาปแช่ง?

(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2023/01/%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2-696x392.jpg)
กะเทย หรือ ฮิจรา (Hijra) เป็นภาษาอูรดู ภาษาถิ่นของทางอินเดียเหนือ ภาษาฮินดีได้ยืมคำนี้มาใช้เรียกคนข้ามเพศหรือเพศที่สาม บุคคลเพศชายที่แสดงลักษณะและพฤติกรรมท่าทางใกล้เคียงกับลักษณะของเพศหญิง

ตำนานที่มาของฮิจรา

ตำนาน “ฮิจรา” ได้รับการพูดถึงในไทย ลงบทความในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 17 มกราคม 2566 โดย อธิพัฒน์ ไพบูลย์ กล่าวถึงตำนานฮิจราว่า “ตอนหนึ่งของรามเกียรติ์ หรือ รามายณะของฉบับอินเดียใต้ ครั้งที่พระรามถูกเนรเทศ มีกลุ่มคนออกไปส่งพระราม จนกระทั่ง 14 ปี พระรามกลับมา คนกลุ่มนั้นก็ยังยืนรออยู่ ด้วยเหตุเพราะ 14 ปีก่อน พระรามบอกเข้าเมืองแต่ด้วยคนกลุ่มนั้นไม่ใช่ทั้งชายและหญิง จึงไม่กล้ากลับเพราะไม่กล้าโกหก พระรามอวยพรให้มีสิทธิให้พรใครก็ได้ และมีสิทธิ์สาปใครก็ได้โดยคำสาปนั้นจะเป็นจริงเสมอ”
ตำนานฮิจรามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรราว 400 ปี ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความหลากหลายทางเพศที่มีมานาน แต่มักถูกลืมเลือนในวัฒนธรรมอินเดีย

ต่อมาปลายศตวรรษที่ 15 มีนิทานพื้นบ้านที่เล่าเกี่ยวกับความภักดีของชาวฮิจรา ซึ่งมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์มุสลิมของอินเดีย ทำหน้าที่เป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ไร้เพศของฮาเร็มโมกุลของจักรพรรดิโมกุลในอินเดีย

ปัจจุบันฮิจรายังไม่เป็นที่ยอมรับมากนักในสังคม จึงเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว มักจะโดนไล่ออกจากบ้าน เพราะถูกมองว่าเป็นเพศที่น่ารังเกียจ ทำให้ฮิจราจำนวนมากเกาะกลุ่มและสร้างชุมชนฮิจรา ขึ้นมา เพื่อดูแลและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประเทศที่มีฮิจรามากที่สุด  คือ อินเดีย ปากีสถาน และ บังกลาเทศ ตามลำดับ

(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2023/01/Hijra-in-Bangladesh-696x464.jpg)
“ฮิจรา” ในบังคลาเทศ (ภาพจาก https://wikimedia.org (https://wikimedia.org)

ความเชื่อของคนอินเดียที่มีต่อฮิจรา

คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 ฮิจรายังถือว่ามีอำนาจทางศาสนาและได้รับการขอพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงพิธีทางศาสนา วันสำคัญต่างๆ เช่น พิธีต้อนรับเด็กเกิดใหม่ ซึ่งจะนำโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์สู่เด็กและครอบครัว

ภายใต้วัฒนธรรมฮินดูดั้งเดิม ฮิจราได้รับความเคารพในระดับหนึ่ง แต่โดนรัฐบาลอังกฤษเข้ามาเปลี่ยนวัฒนธรรม ครั้งที่อินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 อังกฤษได้ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการตัดสินเรื่องศีลธรรมทางเพศ โดยตัดสินว่าเพศสภาพของฮิจรานั้นขัดต่อธรรมชาติ ทำให้ผู้คนเริ่มลดการเคารพและให้เกียรติฮิจรา

ฮิจราจะนับถือพระแม่พหุชรา เป็นเทพธิดาท้องถิ่นในศาสนาฮินดู ซึ่งมีที่มาและนิยมสักการะบูชาในรัฐคุชราต และรัฐราชสถานของประเทศอินเดีย พระนางได้รับการนับถือในศาสนาฮินดูว่าเป็นเทพีผู้อุปถัมภ์คุ้มครองรักษาเหล่าฮิจรา (กะเทย) และเป็นเทพีผู้อุปถัมภ์คุ้มครองรักษากลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศของศาสนาฮินดูและศาสนาท้องถิ่นของเอเชียใต้

(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2023/01/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%B2.jpg)
พระแม่พหุชราถือตรีศูล ดาบ และคัมภีร์เป็นอาวุธ มีไก่เป็นพาหนะ (ภาพจาก :wikipedia.org)

ทุกวันนี้ ฮิจรา รวมถึงคนข้ามเพศพบเจอได้ง่ายบนท้องถนน พวกเธอจะสวมชุดส่าหรีระยิบระยับ ใบหน้าเคลือบหนาด้วยเครื่องสำอางราคาถูก เดินโซเซตามถนนสี่แยกที่มีผู้คนพลุกพล่าน เคาะกระจกรถขอเงินจากผู้คนที่จอดรถตามไฟจราจร โดยมีความเชื่อที่อ้างมาจาก ตำนาน “รามายณะ” หรือ “รามเกียรติ์” หากผู้ใดที่ได้คำอวยพรจากฮิจรา จะมีความโชคดี ได้สิ่งที่ต้องการตามปรารถนา ทว่ามีฮิจราส่วนน้อยมากที่จะอวยพรหรือให้พรกลับ ถึงแม้จะไม่ได้รับพรจากฮิจรา ผู้คนก็ยังคงให้เงินแก่ฮิจราทุกครั้ง เพราะหากไม่ให้เงิน พวกเธอก็จะสาปแช่ง ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายและเคราะห์แก่ผู้ที่โดนสาปแช่ง

สังคมอินเดียยังไม่เปิดกว้างต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ และระบบวรรณะยังคงฝังราก กลายเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ฮิจราไม่สามารถขยับสถานะทางสังคมหรือประกอบอาชีพอื่นได้มากนัก ประกอบกับความเชื่อการให้โชคของฮิจรายังมีผู้คนสนับสนุนและพร้อมที่จะให้เงิน จึงยังคงพบเห็นฮิจราขอเงินอยู่ทั่วไป  

จาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_100489 (https://www.silpa-mag.com/culture/article_100489)

https://www.youtube.com/v/u9Swm2Ectz0  

https://www.youtube.com/v/Qr1kUhvE3ms

https://www.youtube.com/v/u-i2mMLaOGk  

https://www.youtube.com/v/lRY8DnLaJgs  

https://www.youtube.com/v/rlHaZe0N9Rs