[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 06:49:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: เป็นแรงงาน = สูญเสียความอิสระจริงหรือ ?  (อ่าน 26 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 มีนาคม 2567 23:50:13 »

เมื่อโรงงานคือท้องถนน: เป็นแรงงาน = สูญเสียความอิสระจริงหรือ ?
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-18 21:36</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>พฤกษ์ เถาถวิล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>พร้อมกับร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงาน “ทำงาน พักผ่อน ใช้ชีวิต” ของพรรคก้าวไกล ถูกปัดตกจากสภาฯในชั้นรับหลักการ แนวรบอีกด้าน ว่าด้วยความเห็นต่างระหว่างการเป็น “แรงงาน” กับ “อาชีพอิสระ” ก็เดือดไม่แพ้กัน เพจใหญ่ของไรเดอร์ที่มีผู้ติดตามแสนกว่าคน โพสต์สเตตัสแสดงความโล่งใจที่กฎหมายของก้าวไกลถูกปัดตก อีกเพจใหญ่ที่สนับสนุนแนวทางของก้าวไกลก็โต้ตอบ เกิดเป็นวิวาทะเผ็ดร้อนข้ามเพจ</p>
<p>ความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่ไรเดอร์ ระหว่างการมีสถานะเป็น แรงงาน กับ อาชีพอิสระ เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ฝ่ายหนึ่งต้องการให้มีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อีกฝ่ายเห็นว่าถ้ามีกฎหมาย ก็จะต้อง “เข้าระบบ” สูญเสียความอิสระ ไม่สามารถเลือกเวลาทำงานได้ ความคิดแบบหลังขยายตัวเร็ว เพราะมาจากความเคยชิน ที่เห็นว่า แรงงานคือคนทำงานตามเวลาเข้า-ออกงาน ตามกฎระเบียบที่นายจ้างกำหนดไว้ ส่วนคนมีอาชีพอิสระ ก็คือคนไม่มีนายจ้าง เป็นนายตัวเอง เอาความสะดวกของตัวเองเป็นที่ตั้ง ความเข้าใจแบบนี้ กลายเป็นกับดักคู่ตรงข้าม เกรงว่าได้อย่างหนึ่ง จะเสียอีกอย่างหนึ่ง  </p>
<p>การออกจากกับดักคู่ตรงข้ามนี้ อาจเริ่มจากทำความเข้าใจ ความสัมพันธ์ระหว่างไรเดอร์กับบริษัทแพลตฟอร์ม โดยดูจากโมเดลธุรกิจของแพลตฟอร์ม ในทางธุรกิจ บริษัทแพลตฟอร์มสั่งอาหารในไทย (เหมือนกับส่วนใหญ่ในโลก) นิยามตัวเองเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยี ทำหน้าที่ตัวกลางจับคู่ความต้องการระหว่าง ไรเดอร์ กับ ผู้สั่งอาหาร ตามนิยามนี้ หมายความว่า ไรเดอร์คือผู้ใช้บริการของบริษัท เพื่อเป็นช่องทางประกอบอาชีพ ไรเดอร์มีฐานะเป็น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ให้บริการกับผู้สั่งอาหาร</p>
<p>ความสัมพันธ์ระหว่างไรเดอร์กับบริษัทเช่นนี้ มีฐานะเป็นสัญญาตามกฎหมาย โดยเกิดขึ้นเมื่อไรเดอร์ดาวโหลดแอปของบริษัท ซึ่งไรเดอร์จะต้องให้การยินยอม ข้อกำหนดการให้บริการของบริษัท ในข้อกำหนดฯระบุสถานะ บทบาท อำนาจหน้าที่ ของสองฝ่ายไว้โดยละเอียด โดยทั่วไปข้อกำหนดให้อำนาจเต็มที่ในการปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท และบริษัทสามารถปรับเปลี่ยนข้อกำหนดฯได้ตามต้องการ</p>
<p>ในขณะที่บริษัทอ้างว่าทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงผู้ใช้บริการ แต่คนทำงานภายใต้แอป อย่างไรเดอร์ รู้ดีว่า บริษัทไม่ได้ทำแค่นั้น ตรงกันข้าม ระบบปฏิบัติการอัตโนมัติของบริษัทที่เรียกว่า อัลกอริทึม ทำหน้าที่ไม่ต่างจากนายจ้างที่ควบคุมคนงานทุกขั้นตอน สามารถให้คุณให้โทษ และให้ค่าตอบแทนที่เรียกว่า “ค่ารอบ” จากการทำงานสำเร็จในแต่ละครั้ง</p>
<p>สิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ การทำงานภายใต้การควบคุมของอัลกอริทึม โดยได้ค่าตอบแทนรายครั้งจากการทำงาน  (อาจเรียกว่า gig work หรือ “งานกิ๊ก”) นำมาสู่การตีความตามกฎหมายแรงงานว่า ความสัมพันธ์การจ้างงานระหว่างบริษัทกับไรเดอร์ เป็นความสัมพันธ์แบบ “นายจ้าง-ลูกจ้าง” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 หรือเป็น “สัญญาจ้างทำของ” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 หากเป็นกรณีแรก ไรเดอร์จะมีสถานะเป็นแรงงาน ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน หากเป็นกรณีหลัง ไรเดอร์จะมีสถานะเป็น คนทำงานอิสระ/ผู้ประกอบอาชีพด้วยตนเอง บริษัทไม่มีพันธะดูแลรับผิดชอบตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน</p>
<p>งานวิจัยของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<a href="#_edn1" name="_ednref1" title="" id="_ednref1">[1][/url] พิจารณาสภาพการทำงานของไรเดอร์พบว่า ความสัมพันธ์การจ้างงาน มีความคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างการจ้างแรงงานกับการจ้างทำของ เพราะเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง บริษัทมีอำนาจควบคุมการทำงานของไรเดอร์ และการที่บริษัทเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหาย กรณีลูกค้าไม่รับอาหาร หรือไรเดอร์ส่งอาหารให้ลูกค้าผิด เข้าข่ายการจ้างแรงงาน ด้านการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งไรเดอร์ได้รับเมื่อทำงานเสร็จแต่ละครั้ง และบริษัททำการหักภาษีจากค่าตอบแทนเพื่อนำส่งสรรพากร เป็นไปตามสัญญาจ้างทำของ ครั้นพิจารณาเครื่องมือทำงาน พบว่า ไรเดอร์เป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ เช่น มอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์ ฯลฯ ขณะเดียวกันบริษัทเป็นเจ้าของแอปพลิเคชั่น ไรเดอร์ใช้อุปกรณ์ที่บริษัทจัดเตรียมไว้ให้ กรณีนี้ไม่สามารถตัดสินได้ว่าเข้าเกณฑ์การจ้างแรงงงานหรือจ้างทำของ</p>
<p><strong>ความสัมพันธ์การจ้างงาน ที่คาบเกี่ยวกันระหว่างสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ ทำให้เกิดปัญหาการตีความว่า ไรเดอร์เป็นแรงงานหรือคนทำงานอิสระ ความคลุมเครือของสถานะไรเดอร์ ทำให้บริษัทได้ประโยชน์จากสภาพที่เป็นอยู่นี้  </strong>  </p>
<p>สถานการณ์ในประเทศไทย ไม่ต่างจากหลายประเทศ ไรเดอร์ (รวมทั้งคนขับขี่รถจักรยาน รถยนต์ ส่งคนและส่งของภายใต้แอป) เผชิญความไม่มั่นคงและไม่เป็นธรรมในการทำงาน ได้เรียกร้องให้บริษัทซึ่งมีอำนาจเสมือนนายจ้าง ดูแลแรงงานอย่างเหมาะสม  การประท้วงของไรเดอร์เกิดขึ้นแพร่หลาย และหนึ่งในวิธีต่อสู้ที่สำคัญ คือการฟ้องศาลให้ตีความสถานะการจ้างงานระหว่างแพลตฟอร์มกับไรเดอร์</p>
<p>ในยุโรป ท่ามกลางการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นแพร่หลาย พบว่า ศาลแต่ละประเทศพิพากษาคดีความเป็นรายกรณี ไม่มีแนวคำพิพากษาที่ใช้ได้เป็นการทั่วไป เนื่องจากแต่ละแพลตฟอร์มมีข้อตกลงการให้บริการกับไรเดอร์ต่างกัน อีกทั้งการโต้กลับจากอีกฝ่าย ทำให้คำพิพากษามีโอกาสพลิกไปมา เช่น ประเทศฝรั่งเศส ศาลตัดสินให้คนทำงานภายใต้แพลตฟอร์ม Uber เป็นลูกจ้าง (employee) แต่อีกกรณีหนึ่ง ศาลตัดสินให้คนทำงานภายใต้ Deliveroo เป็นคนทำงานอิสระ (independent contractor) ตามมาด้วยการอุทธรณ์ และในที่สุดศาลฎีกาตัดสินให้คนทำงานใน Deliveroo เป็นลูกจ้าง ในขณะที่กรณีแพลตฟอร์ม Deliveroo ในสหราชอาณาจักร ศาลแห่งสหราชอาณาจักรตัดสินให้ไรเดอร์เป็นคนทำงานอิสระ<a href="#_edn2" name="_ednref2" title="" id="_ednref2">[2][/url]</p>
<p>กระแสความขัดแย้ง ที่เกิดจากกฎหมายตามไม่ทันการเปลี่ยนรูปแบบงานยุคใหม่ ทำให้หลายประเทศ ปฏิรูปกฎหมายหรือกลไกทางกฎหมาย ให้การกำกับดูแลแรงงานเป็นไปอย่างเหมาะสม มีตัวอย่างน่าสนใจจากหลายประเทศ เช่น ประเทศสเปน หลังจากการมีคดีฟ้องร้องจำนวนมาก และการโต้แย้งกันอย่างเข้มข้นในเวทีสาธาณะ ในปี 2021 รัฐสภาสเปนได้ผ่านกฎหมายคุ้มครองไรเดอร์ฉบับแรก (Riders Laws); สหราชอาณาจักร มีขบวนการยุติธรรมที่ปกป้องสิทธิแรงงานอย่างเข้มแข็ง กฎหมายแบ่งสถานะคนทำงานออกเป็น 3 ประเภท คือลูกจ้าง (employee) คนงาน (worker) และคนทำงานอิสระ  (independent contractor) คนงานแม้ไม่ได้รับสิทธิเต็มร้อยเท่ากับลูกจ้าง แต่ได้รับสิทธิพื้นฐาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ วันหยุด วันลา และสวัสดิการขั้นต้น;  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีการพัฒนาเครื่องมือ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ในการจำแนกสถานะคนทำงานหลายรูปแบบ เช่น เครื่องมือที่ชื่อว่า ABC Test ซึ่งกำหนดให้คนทำงานมีสถานะเป็นลูกจ้างไว้ก่อน และกำหนดให้บริษัทเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่า ไม่มีการกระทำการอันใดเข้าเข้าข่ายความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง หากมีลักษณะข้อใดไม่ผ่านเกณฑ์ ต้องถือว่าคนทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท<a href="#_edn3" name="_ednref3" title="" id="_ednref3">[3][/url]      </p>
<p>ในประเทศไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานฯ ได้ผลักดันกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ เพื่อรับมือกับงานรูปแบบใหม่ชื่อว่า พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมแรงงานอิสระ ขณะนี้ยังเป็นร่างกฎหมายรอผ่านกระบวนการของสภาฯ กฎหมายใหม่นี้มีข้อดีที่จะให้การคุ้มครองแรงงานอิสระ และอาจนับว่าเป็นความก้าวหน้าในแบบเดียวกับสหราชอาณาจักร ที่จะทำให้มีทางเลือกอื่นที่อยู่ระหว่าง สัญญาจ้างงานแรงงาน กับสัญญาจ้างทำของ</p>
<p><strong>แต่ข้อน่ากังวลในกฎหมายนี้คือ การกำหนดให้แรงงานแพลตฟอร์ม รวมทั้งไรเดอร์ เป็น ผู้ประกอบอาชีพ “กึ่งอิสระ” ซึ่งนิยามไว้ว่า หมายถึงผู้ทำงานภายใต้ข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการของแพลตฟอร์ม แปลความอีกชั้นก็คือ แพลตฟอร์มมีฐานะกึ่งนายจ้าง แต่ก็ไม่ใช่นายจ้าง คนทำงานจึงไม่ใช่ลูกจ้าง แต่เป็นผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ</strong></p>
<p>ผู้เขียนเห็นว่าเป็นนิยามที่ขัดกับข้อเท็จจริง และจะทำให้ไรเดอร์เสียโอกาสต่อสู้ทางกฎหมาย ว่าไรเดอร์เป็นลูกจ้างหรือไม่<a href="#_edn4" name="_ednref4" title="" id="_ednref4">[4][/url] การเข้าใจความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างบริษัทกับไรเดอร์ ต้องมุ่งไปที่หัวใจของธุรกิจแพลตฟอร์ม คือเทคโนโลยีอัลกอริทึม ในทุกยุคสมัย เทคโนโลยีล้วนเกิดขึ้นตามความมุ่งหมายของผู้สร้าง ในระบบอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ควบคุมกับคนงาน จากโรงงานในระบบสายพาน ไปสู่ระบบหลังสายพาน และเมื่อรวมกับ การพัฒนาการบริหารจัดการโรงงาน การเกิดขึ้นของการจ้างงานอย่างยืดหยุ่น ทั้งหมดคือเทคโนโลยีเชิงวัตถุและเชิงการจัดการ เพื่อเร่งประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน</p>
<p>เมื่อมองภาพอย่างมีประวัติศาสตร์จะเห็นว่า อัลกอริทึมเป็นเพียงเหล้าเก่าในขวดใหม่ หมายถึง การเป็นเครื่องมือควบคุมแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ที่มาในรูปแบบเทคโนโลยีใหม่ หรือนัยหนึ่งเป็นกลยุทธ์ใหม่ในการควบคุมแรงงาน และเมื่อมองลึกลงไปถึงระดับการประมวลผลและสั่งงานของอัลกอริทึม<a href="#_edn5" name="_ednref5" title="" id="_ednref5">[5][/url] จะพบว่า การทำงานของอัลกอริทึมนั้น ไม่ต่างๆจากผู้ควบคุมงานในสายพานการผลิตของโรงงาน แต่ที่เหนือกว่าคือ อัลกอริทึม เก็บข้อมูลทุกอย่าง และบริษัทผู้นั่งอยู่หลังบ้าน นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจอื่นๆ และสามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรมการทำงานได้ตลอดเวลา</p>
<p>ส่วนข้ออ้างว่าด้วยความอิสระ คือ “จุดขาย” เพื่อดึงดูดใจคนทำงาน นอกเหนือไปจากความสามารถเลือกเวลาทำงานตามต้องการ (แต่หากหยุดงานบ่อย เวลาทำงานน้อย ก็ได้รับผลกระทบ) การทำงานของไรเดอร์เต็มไปด้วยกฎระเบียบ ความกดดัน และความไม่แน่นอน การให้ความอิสระแบบปลอมๆ จึงเป็นไปเพื่อเป็นประโยชน์ของบริษัทในการอ้างว่า เป็นการจ้างทำของ และผลักภาระเรื่องอุปกรณ์ และต้นทุนการทำงานไปให้กับไรเดอร์</p>
<p>หากไม่ยึดติดกับภาพปรากฏ และการแบ่งประเภทสัญญาตามสภาพการทำงานตามกฎหมายโบราณ แต่พิจารณาความสัมพันธ์การผลิตระหว่างทุนกับแรงงานอย่างมีมิติประวัติศาสตร์ จะเข้าใจว่า โมเดลธุรกิจแพลตฟอร์ม ถูกออกแบบมาเพื่อเลี่ยงกฎหมายควบคุมแรงงาน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ อำพรางความสัมพันธ์แบบนายจ้าง-ลูกจ้าง ดังนั้นในประเทศที่ทันเกมธุรกิจ คำพิพากษาของศาลจึงโน้มเอียงไปในทางตัดสินให้ไรเดอร์เป็นลูกจ้าง และการปฏิรูปกฎหมายเป็นไปในทิศทางปิดช่องว่างทางกฎหมายที่ทุนใช้หาประโยชน์</p>
<p>แต่กฎหมายคุ้มครองแรงงานอิสระที่รัฐบาลพยายามผลักดัน แทนที่จะอุดช่องว่างทางกฎหมายที่ทุนใช้หาประโยชน์ กลับจะทำให้สิ่งที่บริษัททำกลายเป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทำงาน พักผ่อน ใช้ชีวิต ของพรรคก้าวไกล ที่มองสถานะของไรเดอร์ (และแรงงานแพลตฟอร์มอื่นๆ) อย่างถูกต้องว่า มีสถานะเป็นลูกจ้าง กลับถูกปัดตกในขั้นรับหลักการในสภาฯ อย่างน่าเสียดาย</p>
<p><strong>อย่างไรก็ตาม ยังไม่สายเกินไปที่จะเข้าใจว่า ไม่จำเป็นต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง แรงงาน กับ อาชีพอิสระ แต่สามารถมีกฎหมายคุ้มครองไรเดอร์ พร้อมกับมีอิสระในการทำงาน ประเทศต่างๆพยายามบัญญัติกฎหมาย หรือสร้างเครื่องมือทางกฎหมายใหม่ๆ ให้สามารถคุ้มครองแรงงานโดยสอดคล้องกับสภาพการทำงานยุคใหม่ อนาคตจึงอยู่ที่การร่วมมือกันสนับสนุนให้มีกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่สอดคล้องกับความต้องการของไรเดอร์ </strong></p>
<div>
<p> </p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง</strong></p>
<div id="edn1">
<p><a href="#_ednref1" name="_edn1" title="" id="_edn1">[1][/url]อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และอนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2564). ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน สภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคมของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. รายงานการวิจัย. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</p>
</div>
<div id="edn2">
<p><a href="#_ednref2" name="_edn2" title="" id="_edn2">[2][/url] Defossez, D. (2022). The employment status of food delivery riders in Europe and the UK: Self-employed or worker? Maastricht Journal of European and Comparative Law. 29(1), 25–46.</p>
</div>
<div id="edn3">
<p><a href="#_ednref3" name="_edn3" title="" id="_edn3">[3][/url]มีงานหลายชิ้นที่ทบทวนประเด็นนี้ไว้อย่างดี เช่น <a name="_Hlk161052809" id="_Hlk161052809">อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ และอนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2564). ไรเดอร์-ฮีโร่-โซ่ตรวน สภาพการทำงานและหลักประกันทางสังคมของแรงงานส่งอาหารบนเศรษฐกิจแพลตฟอร์มในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. รายงานการวิจัย. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.[/url]; ธานี ชัยวัฒน์ กุลลินี มุทธากลิน และ กิริยา กุลกลการ. (2565).  โครงการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายต่อคุณภาพชีวิตของคนทำงานแพลตฟอร์ม (platform). รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.; ปกิตตา นิภาวรรณ โชติกิตติกุล. (2564). สถานะทางกฎหมายของ “ผู้ใช้แรงงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล”. วารสารกฤษฎีกา, 3(1): 48-53. และผู้เขียนบทความนี้ได้เรียบเรียงประเด็นนี้ไว้โดยละเอียดใน พฤกษ์ เถาถวิล  และ วรดุลย์ ตุลารักษ์. (2565) การโต้แย้งเรื่องสถานะคนทำงานส่งอาหารภายใต้แพลตฟอร์ม บทเรียนจากต่างประเทศ และข้อเสนอทางออกในประเทศไทย. เอกสารประกอบการเสวนา “การคุ้มครองไรเดอร์: ปัญหา ทางออก การรวมกลุ่ม และก้าวต่อไปของการขับเคลื่อน” 26 กันยายน 2565 ณ ห้อง 201 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดโดย “โครงการพัฒนาความรู้และความเข้มแข็งกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อสุขภาวะ” สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/NsR60</p>
</div>
<div id="edn4">
<p><a href="#_ednref4" name="_edn4" title="" id="_edn4">[4][/url] โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการสร้างอำนาจต่อรองเพื่อสุขภาวะของแรงงานนอกระบบกลุ่มแรงงานแพลตฟอร์มส่งอาหารและกลุ่มแรงงานส่งสินค้าในกิจการขนส่ง. (2566, 18 ก.พ.). (ร่าง) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานอิสระ กับผลกระทบต่อแรงงงานแพลตฟอร์ม. https://www.tcijthai.com/news/2023/2/article/12811</p>
</div>
<div id="edn5">
<p><a href="#_ednref5" name="_edn5" title="" id="_edn5">[5][/url] ผู้เขียนวิเคราะห์การทำงานของอัลกอริทึมเพื่อแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์การจ้างงานระหว่างบริษัทกับไรเดอร์เป็นการจ้างแรงงาน ไรเดอร์มีฐานะเป็นลูกจ้างของบริษัท โดยใช้กรอบแนวคิดหลักคือ ทฤษฎีกระบวนการแรงงาน (labour process theory) ทฤษฎีดังกล่าวอยู่ในสำนักมาร์กซิสใหม่ (Neo-Marxism) ดู พฤกษ์ เถาถวิล และวรดุลย์ ตุลารักษ์. (2566). อุบัติเหตุและสุขภาพของคนขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหารภายใต้การควบคุมของแพลตฟอร์ม. รายงานการวิจัย. โครงการพัฒนาความรู้และความเข้มแข็งกลุ่มแรงงานนอกระบบเพื่อสุขภาวะ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา; พฤกษ์ เถาถวิล และวรดุลย์ ตุลารักษ์. (2566) อุบัติเหตุ สุขภาพ และหลักประกันความเสี่ยงจากการทำงานของคนขับรถจักรยานยนต์ส่งอาหารภายใต้การควบคุมของแพลตฟอร์ม. วารสารมานุษยวิทยา. 6(2), 129-178.</p>
</div>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108485
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 397 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: ออฟฟิศซินโดรมกลางแจ้ง วิกฤตสุขภาพของไรเดอร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 60 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2566 23:05:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: สหภาพขยายบทบาทสู่แรงงานแพลตฟอร์ม การปรับตัวขององค์กรแ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 57 กระทู้ล่าสุด 28 มกราคม 2567 22:26:11
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน: อำนาจต่อรองของไรเดอร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 36 กระทู้ล่าสุด 01 มีนาคม 2567 03:30:35
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เมื่อโรงงานคือท้องถนน : “อาชีพอิสระ” V.S. “แรงงาน” การต่อสู้ทางความคิดในโซเชียลมี
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 36 กระทู้ล่าสุด 14 เมษายน 2567 00:05:31
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.193 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มีนาคม 2567 16:27:15