[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 พฤษภาคม 2567 07:32:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วิทยาศาสตร์เก่าไม่ได้ผิด … แต่  (อ่าน 1294 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5079


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 13:54:28 »

โดย นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ื 28 สิงหาคม 2547

Theme หลักเรื่องหนึ่งของการพูดคุยในวงจิตวิวัฒน์ก็คือ ความเป็นวิทยาศาสตร์แบบเก่าและวิทยาศาสตร์แบบใหม่ แนวคิดหลักของความเป็นวิทยาศาสตร์แบบเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ถือว่ามี เซอร์ ไอแซค นิวตัน เป็นต้นแบบของความคิด ส่วนวิทยาศาสตร์ใหม่นั้นเริ่มตั้งแต่การค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ และทฤษฎีควอนตัมของ นีล บอห์ร ในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐

ที่เขียนแบบนี้ ผมไม่ได้หมายความว่าความคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่าจะเป็นเรื่องผิดพลาดหรือเลวร้ายที่สมควรจะถูกประณามอะไร ตรงกันข้าม วิทยาศาสตร์เก่าโดยเฉพาะนิวตันรวมไปถึงคนต้นคิดแรกๆ ได้แก่ นิโคลัส คอร์ปอนิคุส และกาลิเลโอ นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีคุณอนันต์ต่อมนุษยชาติทั้งสิ้น เพียงแต่แนวคิดแบบเก่านั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบันซึ่งเข้ามาถึงศตวรรษที่ ๒๑ แล้ว

ในบทความนี้ ผมอยากจะขอลองลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น เพื่อความเข้าใจที่ผมคิดว่ามีความสำคัญ คือให้เราได้มองเห็น “ความเป็นมา” ของวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญและจะช่วยให้เราได้พอมองเห็น “สิ่งที่ควรจะเป็นไป” ของวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน

ต้องถือว่า “การปฏิวัติทางความคิด” ของมนุษย์ตรงนี้เริ่มต้นมาจากคอร์ปอนิคุส ซึ่งเป็นคนแรกที่บอกว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เด็กประถมในสมัยปัจจุบันก็ทราบว่าเป็นเรื่องจริง หากแต่ความจริงข้อนี้ท้าทายต่ออำนาจของกรอบคิดแบบเก่าในสมัยนั้น เขาจึงถูกลงโทษด้วยการถูกจองจำและทรมานจนตาย การค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอก็ยิ่งช่วยพิสูจน์ให้มนุษย์เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า นิโคลัส คอร์ปอนิคุส นั้นถูกต้อง แต่กาลิเลโอก็ไม่ค่อยกล้าพูดอะไรมากจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

น่าแปลกเหมือนกันที่กาลิเลโอเสียชีวิตในปี ค.ศ. ๑๖๔๒ และเซอร์ ไอแซค นิวตัน ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อต้นปี ค.ศ. ๑๖๔๓ พอดี นิวตันนั้นถือกำเนิดมาแบบผิดปกติคือคลอดก่อนกำหนด (Premature Baby) ดูเหมือนว่านิวตันจะรีบเกิดมา “เพื่อภารกิจ” อะไรบางอย่าง เพราะดูๆ แล้ว ด้วยการแพทย์ในสมัยนั้นเขาไม่น่าจะมีชีวิตรอดอยู่ได้ แถมชีวิตในวัยเด็กก็ยังมีความยากลำบากเกือบจะไม่ได้เรียนหนังสือ แต่เขาก็อยู่รอดจนกระทั่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่

นิวตันสร้างทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลกและทฤษฎีกลศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายให้มนุษย์ได้ “เห็นจริง” ของความเป็นไปของวัตถุที่มองเห็นด้วยตาเปล่าแบบจะจะ ได้ช่วยดึงและถือว่าทำให้เกิดการ “ปฏิวัติทางความคิด” หรือกรอบคิดของมนุษย์ในยุคนั้น “ได้สำเร็จสมบูรณ์” คือออกมาจากแนวคิดเดิมที่ตั้งอยู่บนฐานของความคิดแบบศาสนาในยุคกลางตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๔

ทฤษฎีของนิวตันเป็นจุดเริ่มแรกที่ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดของแนวคิด ทฤษฎีทางสังคมและเศรษฐศาสตร์ ที่ทำให้เกิดยุคอุตสาหกรรมขึ้นมา มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ มีอายุเฉลี่ยยืนยาวมากขึ้น จากการที่วิทยาศาสตร์สามารถเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นโรคระบาดหลายๆ อย่าง เช่น ไข้ทรพิษ กาฬโรค โปลิโอ อหิวาหตกโรค ฯลฯ มีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นเครื่องกลต่างๆ รถยนต์ เครื่องบิน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตต่างๆ มากมาย

แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นได้ทำให้มนุษย์ค่อยๆ “ฝังรากแห่งความอหังการ” ที่คิดว่าตัวเองสามารถ “เอาชนะธรรมชาติได้เสมอ” และเกิดความคิดขึ้นมาถึงการต้องการจะ “ควบคุม” ทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในอำนาจของตัวเองอย่างไม่รู้ตัว เรื่องต่างๆ อีกมากมายที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ก็คิดว่าเป็นเพราะยังพยายามไม่มากพอ พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยออกมามากมายจนปัจจุบันก้าวหน้าไปถึงขั้นไบโอเทคโนโลยีที่มุ่ง “ควบคุม” ระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และนาโนเทคโนโลยีที่ลงรายละเอียดไปถึงสิ่งเล็กจิ๋วของวัตถุต่างๆ ที่พยายามจะนำมาประยุกต์กับทุกสิ่งทุกอย่างภายใต้ความคิดหลักๆ ของการควบคุมและอหังการอย่างไม่รู้ตัว เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะ ๒ เรื่องหลังก็คือไบโอเทคโนโลยีและนาโนเทคโนโลยี จึงยังเป็นเรื่องทันสมัยแต่อยู่ภายใต้กรอบคิดแบบเดิมๆ ที่แยกส่วนและมองสิ่งมีชีวิตเป็นกลไกแบบเครื่องจักรสไตล์นิวตันที่คิดจะควบคุมโลกให้ได้ ทำตัวเป็นพระเจ้า เหมือนกับที่นิวตันเคยพูดไว้ว่า ถ้าสามารถนำตัวเขาไปยังจุดๆ หนึ่งนอกโลกและสามารถหาไม้คานให้เขาหนึ่งอัน เขาจะสามารถงัดโลกให้กระเด็นไปได้

สิ่งต่างๆ เหล่านี้เริ่มทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายเกิดขึ้นมาในโลกใบนี้ เพราะความคิดอหังการแบบนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับความเป็นไปของธรรมชาติ เริ่มเลยออกจาก “จุดสมดุล” ของความพอดีไปสู่จุดที่ “เสียดุล” มนุษย์ลงทุนกับสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีในรูปแบบที่ “ผิดทาง” เพราะไปทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทำลายห่วงโซ่ของอาหาร สร้างสิ่งปนเปื้อนขึ้นมาในระบบนิเวศ และที่สำคัญที่สุดคือความอหังการที่มุ่ง “ควบคุมและจัดการ” กับโลกใบนี้ เหมือนกับที่นิวตันได้กล่าวไว้

ในขณะเดียวกัน คือช่วงประมาณต้นศตวรรษที่ ๒๐ นี้เอง มนุษย์ได้มีการค้นพบทฤษฎีใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ๒ ทฤษฎีที่สำคัญมากๆ ก็คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ และทฤษฎีควอนตัมของ นีล บอห์ร ทั้ง ๒ ทฤษฎีนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองเห็นว่า ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเซอร์ ไอแซค นิวตัน นั้นเป็นจริงเฉพาะวัตถุที่ปรากฏให้เห็นเท่านั้น ไม่ได้เป็นจริงเสมอในกรณีอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ถ้านำวัตถุขึ้นยานอวกาศที่มีความเร็วเหนือแสง วัตถุจะไม่ได้แสดงตัวไปตามกฎของนิวตันเลย ขณะเดียวกันในระดับเล็กๆ ย่อยๆ จนถึงระดับอะตอมของวัตถุเดียวกันนั้น อิเลกตรอนก็ไม่ได้ทำตัวเป็น “ที่น่ารัก” ให้ควบคุมได้ แต่กลับชอบทำตัว “เป็นกบฏ” ไม่ได้เป็นไปตามกฎของนิวตันเช่นกัน ที่สำคัญคือมีความเชื่อมรวมเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ แบบกลไกตามแนวคิดแบบเก่า

นักวิทยาศาสตร์หลายท่านที่ค้นพบทฤษฎีทางฟิสิกส์แบบใหม่นี้ ต่างก็งงงวยกับสิ่งที่ตัวเองค้นพบในห้องทดลอง หลายคนพูดว่า พระเจ้าเล่นตลกอะไร เพราะสิ่งที่เห็นที่พบในห้องทดลองนั้น “ขัดกับความรู้สึกที่เป็นมา” เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยตลอด ที่คิดว่ามนุษย์สามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ วิทยาศาสตร์ใหม่นี้สามารถอธิบายได้ทั้งหมด แถมยังสามารถอธิบายปรากฏการณ์ของนิวตันในทางกลศาสตร์ได้ด้วย คือเป็นการ “ต่อยอดและหลอมรวมความคิดเก่า” (Transcend & Include)

วิทยาศาสตร์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ ถือได้ว่า “เป็นการปฏิวัติทางความคิด” “ครั้งใหม่” ของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ส่วนหนึ่งมองเห็นทางออกของปัญหาได้ว่า ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างศานติกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อย่างมีความสุข

ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ใหม่นี้เริ่มทำให้มนุษย์ส่วนหนึ่งค่อยๆ เริ่มมองเห็น “ทางออก” ของปัญหาที่เกิดขึ้น เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เกิดความนอบน้อมถ่อมตัวกับธรรมชาติมากขึ้น เริ่มเข้าใจว่ามนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตหนึ่งในโลกใบนี้เท่านั้น แม้ว่าเราจะมีสิ่งที่พวกเราตั้งกันเองว่า “ความฉลาด” มากกว่าสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เรากลับมีความทุกข์และทำลายกัน ทำลายสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มากมายแบบที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตชนิดไหนทำมาก่อน

เซอร์ ไอแซค นิวตัน จะยังคงยิ่งใหญ่ไปตลอดกาล หากว่ามนุษย์ตีความหมาย เข้าใจสิ่งที่เขาบอกอย่างถูกต้องและสามารถ “มองเห็นข้อจำกัด” ในทฤษฎีของเขาอย่างเป็นจริง ไม่ใช่ “ตะบี้ตะบันเชื่อ” ถือว่าเป็นเรื่องถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอไปตลอดชั่วกาลนานแบบที่เป็นกันอยู่ในสังคม




วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 at ที่ 13:16 น. by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, วิธาน ฐานะวุฑฒ์ | 0 ความคิดเห็น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.328 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 08 กุมภาพันธ์ 2567 10:17:26