[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 31 ตุลาคม 2553 10:52:39



หัวข้อ: พระพุทธเจ้าหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 ตุลาคม 2553 10:52:39

(http://pirun.ku.ac.th/~b4946005/Rama5.jpg)

  พระพุทธเจ้าหลวง  
 
  ๒๐ กันยายน  วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

      “ เราจะต้องเป็นผู้ที่ไม่หลับตา ถือเอาการซึ่งจะเป็นการดีต่อชาติอื่นซึ่งจะไม่เป็นการดี หรือ เป็นการด่วนเกินต้องการของประเทศสยามไป  อีกฝ่ายหนึ่งเราจะต้องไม่เป็นผู้หลงใหลหลับตาถือมั่นตามแบบอย่าง หรือ กฎหมายโบราณ ซึ่งอาจดีได้ในกาลครั้งหนึ่ง แต่เป็นการล่วงพ้นความพอดี ซึ่งเรามีความต้องการและมีความคิดอยู่บัดนี้

  (หมาย ความว่า เราจะต้องใช้ปัญญาในการแยกแยะให้ได้ว่า อะไรที่ทำแล้วเป็นผลดีกับชาติอื่นแต่ไม่เกิดผลดีแก่ชาติของตนเอง หรือเป็นเรื่องที่เกินพอดีเกินความต้องการของประเทศชาติ และเราต้องไม่ยึดติด ใช้ปัญญาให้เห็นความเหมาะสมว่าการยึดตามแบบอย่างเก่าๆหรือกฏหมายเก่าๆซึ่ง อาจได้ผลดีในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการหรือแนวคิดในเวลาปัจจุบันก็ได้: ผู้เรียบเรียง)

        คำที่เรากล่าวนี้ เราเชื่อว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ และเราทั้งหลายจะเดินต่อไปด้วยกันในทางซึ่งสมควร และเป็นทางที่เจริญขึ้นเนืองนิตย์ จะละหลีกทางที่แรงเกินไปทั้งสองฝ่าย คือจะไม่หยุดนิ่งเกินไป หรือ ไม่เดินเร็วเกินไปกว่าที่สมควรจะเดิน จะทำสิ่งซึ่งเป็นการแน่นอนและเป็นการที่ดีแท้ทุกเมื่อ ”
 
   พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
   พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ  และข้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จกลับจากยุโรป พุทธศักราช

เมื่อมีเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นในบ้านเมือง ผู้นำประเทศควรจะทำอย่างไร ?
 
  วางเพลิงในวังหลวง
 
  มีบันทึกไว้ว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา เกิดการวางเพลิงรุนแรงในวังหลวง ซึ่งเชื่อว่ามีชนวนมาจากชาวต่างชาติซึ่งกำลังล่าเมืองขึ้น คือ อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซง มี วัตถุประสงค์ให้เกิดความร้าวฉานขึ้นในพระราชวงศ์ จะได้ถือโอกาสนั้นเข้าทำลายบ้านเมืองแบบเดียวกับที่เคยทำเมื่อคราวยึดเขมร และลาวเพื่อครอบครองแหลมอินโดจีน
 
          ก่อนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้นั้น มีบัตรสนเท่ห์มาก่อนแล้วว่าจะมีการลอบปลงพระชนม์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ทำให้เกิดความระแวงกันขึ้นระหว่างวังหลวงกับวังหน้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญถึงกับเสด็จไปประทับในบ้านของกงสุลเยเนราลอังกฤษ เมื่อจุลศักราช ๑๒๓๖ (พ.ศ.๒๔๑๗)
   
          หลังเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ครั้งนั้น ก่อให้เกิดความสับสนตระหนกกังวลไปทั่ว พ่อค้าประชาชนต่างพากันหวาดกลัว เหตุการณ์ตึงเครียดอย่างหนัก พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยถึงสถานการณ์ช่วง นั้นว่า การแถลงข้อเท็จจริงจะช่วยให้ประชาชนสิ้นความหวาดวิตกลงได้ จึงได้มีประกาศออกเป็นทางราชการความบางส่วนว่า
   
         “... แต่ความที่พูดจาดูร่ำลือกันนั้น ข้าพเจ้าก็มิได้เชื่อว่าเป็นความจริง เพราะกรมพระราชวังกับข้าพเจ้า มิได้มีอริร้าวฉานแก่กันกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด ครั้นถึงวันจันทร์ เดือนอ้ายแรมห้าค่ำ ปีจอ ฉศก ข้าพเจ้าได้ทราบความอีกว่า กรมพระราชวังได้เตรียมทหารและคนซึ่งมิได้เป็นทหาร ซึ่งอยู่บ้านนอกนั้น เจ้าหมู่มูลนายก็ได้เรียกไพร่เหล่านั้นให้เข้ามาพร้อมกันในเดือนอ้าย ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าก็ยังไม่เชื่อในความนั้นเป็นแน่ชัด
   
         ครั้นค่ำลงวันนั้น เวลา ๕ ทุ่มเศษ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในโรงแก๊สในพระบรมมหาราชวัง ที่โรงแก๊สซึ่งเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเป็นที่สำคัญน่ากลัวยิ่งนัก คือข้างฝ่ายตะวันตกของโรงแก๊ส เป็นโรงเก็บภูษามาลา อันนี้เป็นที่ไว้พระมหาพิชัยมงกุฎ และพระมหาชฎา และเครื่องต่างๆซึ่งเป็นต้นเครื่องสำหรับแผ่นดินสืบมาแต่โบราณ
   
         โรงภูษามาลา ที่ไว้เครื่องต้นนี้ห่างจากโรงแก๊สที่ติดเพลิงขึ้นนั้น ๒ วา หลังโรงภูษามาลานั้นติดกับฉนวนประตูดุสิตศาสดา ทางซึ่งจะออกวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หลังจากฉนวนนั้น ก็ติดกับหอพระปริตรสาตราคมและพระที่นั่งราชฤดี ใกล้กับพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัย และพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และด้านใต้ของโรงแก๊สนั้นมีเขื่อนเพ็ชร์ พระราชวังชั้นในห่างจากโรงแก๊ส ๑๔ วา ๓ ศอก ที่โรงแก๊สที่เพลิงติดขึ้นนั้นอยู่ตรงกลาง เป็นที่คับแคบ แลของที่เป็นเชื้อเพลิงนั้นมีมากคือ ดินประสิวแลน้ำมัน เป็นต้น
   
         ถ้าเพลิงไหม้ติดลามขึ้นแล้ว พระที่นั่ง แลคลังของต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงดังข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วนั้น ก็คงจะเป็นอันตรายทั้งสิ้น เพราะของเหล่านี้ติดเนื่องกัน โรงแก๊สซึ่งเกิดเพลิงขึ้นในเวลากลางคืนนั้นเป็นที่ลับ ที่สงัด มิได้มีผู้คนไปมาเล้าลม ซึ่งเพลิงติดขึ้นดังนั้นก็เป็นที่สงสัยหวาดหวั่นยิ่งนัก ในเวลาที่เพลิงติดขึ้นนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระปราบปรปักษ์แลข้าราชการได้ช่วยกันดับเพลิงนั้น ถ้าเพลิงนั้นจะติดอยู่ช้า ฤามีลมเป่ามาก็จะรักษาไว้ไม่ได้เลย ฤาถ้ามีหม้อแก๊สแตก ก็จะเป็นอันตรายแก่คนเป็นอันมากซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
   
         ในเวลานั้นเพราะเหตุบังเกิดขึ้น ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้มีความหวาดหวั่นเป็นอันมาก เพราะเพลิงเกิดขึ้นในที่สำคัญ จะเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใดก็ไม่รู้ เกรงว่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุกลอุบายอันใดอันหนึ่ง การอันนี้ก็เป็นการเหลือที่จะคาดคะเนว่าจะเป็นการเท็จฤาจริงให้แน่ได้ เหตุที่บังเกิดขึ้นได้ดังนี้แล้ว ครั้นจะเชิญท่านเสนาบดีมาประชุมปรึกษาในเวลากลางคืนนั้นก็เห็นว่าเป็นเวลา ดึกถึงเจ็ดทุ่ม เกินเวลาแล้ว
   
         ข้าพเจ้าจึงสั่งข้าราชการซึ่งเป็นพนักงานทั้งปวงที่มาช่วยดับเพลิงในเวลา กลางคืนนั้น ให้นอนอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ประจำซองอยู่ตามพนักงาน เพราะกลัวว่าจะมีเหตุขึ้นอีกในเวลากลางคืนนั้น..”


หัวข้อ: Re: พระพุทธเจ้าหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 ตุลาคม 2553 11:21:58

(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/503/37503/images/114.jpg)
เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์(ร.5)เมื่อทรงพระเยาว์ ถ่ายโดยชาวต่างชาติ


               อาจเป็นด้วยพระอำนาจของพระสยามเทวาธิราช จึงช่วยให้ดับไฟที่ไหม้โรงแก๊สนั้นได้ทัน เรื่องไฟไหม้ในพระบรมมหาราชวังนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ตอบปัญหาประจำวันในหนังสือสยามรัฐ ประจำวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๒ ความตอนหนึ่งว่า “... จน วันหนึ่ง มีคนร้ายลอบเข้าไปจุดไฟในพระบรมมหาราชวังใกล้กับตึกที่เก็บดินดำ โดยประสงค์ที่จะให้ดินดำนั้นระเบิดขึ้น เคราะห์ดีที่เจ้านายข้าราชการในวังหลวง เห็นเหตุการณ์และดับไฟเสียทัน มิฉะนั้นจะเกิดเหตุร้ายแรง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจถึงสวรรคตเสียแต่ในต้นรัชกาล
       
              เมื่อ เกิดเหตุนี้ขึ้นแล้ว ความอลเวงทางการเมืองก็เกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างหนัก กรมพระราชวังบวรฯเสด็จไปประทับอยู่ในกงสุลของชาติมหาอำนาจนั้น และยอมพระองค์อยู่ใต้อารักขาของชาตินั้น เมืองไทยขณะนั้นจึงล่อแหลมหวุดหวิดจะมีมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซงและยึดเอาเป็นเมืองขึ้น  เดชะบุญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถระงับเหตุต่างๆได้ทันท่วงที และเดชะบุญที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีใจซื่อสัตย์ จงรักภักดีและอาจหาญ ได้อุตสาหะบากบั่นเข้าไปถึงกงสุลต่างประเทศและเชิญเสด็จกรมพระราชวังบวรฯออก มาได้ เมืองไทยจึงรอดมาได้ไม่เสียเอกราช...”

             เรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนี้ ทำให้นึกโยงมาปัจจุบันโดยเฉพาะปัญหาทางภาคใต้ที่กำลังมีข่าวลือ มีความสับสนของข่าวสาร และในระดับบริหารก็มีข่าวลวงสารพัดชนิด ในระดับประชาชนมีการวิพากษ์วิจารณ์กันไปสารพัดทิศทาง ความระแวงเกิดขึ้นไปทั่ว (แต่ความระวังกลับไม่ค่อยจะมีมากนัก)   ย้อน กลับไปครั้งนั้นเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ซึ่งสมัยนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นวินาศกรรมครั้งสำคัญทีเดียว เพราะเกิดขึ้นในวังหลวง ต้องถือว่าร้ายแรงมาก นึกสภาพเราในฐานะพลเมืองคงจะสะเทือนขวัญไม่น้อยทีเดียว

           วิธีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าครั้งนี้  เมื่ออ่านแล้วทำให้เห็นว่าทรงตัดสินพระทัยได้อย่างเฉียบขาด ทันเหตุการณ์ และทรงมีความเป็น"ผู้นำ"อย่างแท้จริง ในประกาศนั้นจะเห็นว่าทรงใช้ "ความจริง"สยบ"ข่าวลือ" ทั้งการแจกแจงเนื้อหาเหตุร้ายที่เกิดขึ้นโดยละเอียด ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสเหมาะที่จะแถลงไขความคลุมเครือที่เกี่ยวข้องกับข่าวลือ เป็นโอกาสที่ถ่วงน้ำหนักได้พอดีในการทำความเข้าใจกับราษฎรและส่งสาส์นถึงฝ่ายตรงข้ามไปในตัวด้วย 

             ในตอนท้ายของบทความที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้เกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของผลพวงจากการที่สถาบันสงฆ์เป็นเสาหลักสำคัญหนึ่งในการปกป้องบ้านเมือง  สถาบันพระพุทธศาสนาไม่เคยแยกจากสถาบันพระมหากษัตริย์ และความมั่นคงของชาติสยามมาแต่ครั้งสุโขทัย อยุธยา เรื่อยมาแล้ว (ความจริงแต่ครั้งพุทธกาลพระบรมศาสดาก็ทรงคลี่คลายปัญหาการเมืองอยู่หลายครั้ง) ที่น่าสนใจค้นคว้าคือ ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่มีแนวคิดการห้ามพระยุ่งเกี่ยวกับการเมือง? แนวคิดนี้มาจากไหน? และมีจุดประสงค์อะไร?

   
          อันความกรุณาปรานี     
      จะมีใครบังคับก็หาไม่
      หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ   
      จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
     
      พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว


หัวข้อ: Re: พระพุทธเจ้าหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 ตุลาคม 2553 11:33:45

             อีก ครั้งหนึ่งที่เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จออกบัญชาการดับไฟ วันนั้นตรงกับวันเสาร์ที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ ไฟเริ่มไหม้จากหมู่บ้านบริเวณหลังวังบูรพาภิรมย์ ระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพาหุรัด ต้นเพลิงเกิดขึ้นตรงห้องแถวของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ซึ่งทรงให้จีนฮุนกับจีนเปงเช่า ตั้งเป็นโรงจำหน่ายยาฝิ่นอยู่ชิดติดกับมุมของวังบูรพาภิรมย์ด้านตะวันตก
     
      ต้นเพลิงเกิดจากครัวไฟพุ่งขึ้นไหม้ติดไปยังห้องชั้นบน จีนเจ้าของห้องกลับปิดประตูไว้ มัวแต่สาละวนกับการเก็บเข้าของหนีไฟ เพื่อนบ้านจะเข้าไปช่วยดับไฟก็เข้าไปไม่ได้ ไฟจึงลามออกไปติดร้านถ่ายรูป ขณะนั้นลมเริ่มแรงจัดขึ้นควันโขมงคลุ้งไปทั่ว ไฟลุกติดต่อไปอย่างรวดเร็ว ไม่นานก็ลามไปทั่ว เห็นไฟลุกแดงฉานเต็มท้องฟ้า
   
          ภายในวังบูรพาภิรมย์ของพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ต่างช่วยกันเตรียมน้ำไว้อย่างพร้อมเพรียง ลูกไฟที่แตกกระจายว่อนไปในอากาศนั้นก็หล่นลงในวังบูรพา แต่พวกทหารจากโรงหล่อได้เตรียมการดับไฟไว้ได้ ถึงกระนั้นหลังคาก็ร้อนจัดจนเกรียมทีเดียว ไฟไหม้ลามข้ามจากฟากถนนบูรพาไปติดที่ตึกของพระประจักษ์ยุทธธน และบ้านของนายพะยอมช่างทองฝีมือดีเป็นเหยื่อไฟถัดและโหมหนักเข้าไปถึง บ้านพระยาราชโกษา
   
          ลมแรงพาไฟให้ไหม้ลุกลามห้องแถวถนนพาหุรัดไปจนถึงใกล้กับวัดมงคล สมาคม ห้องแถว ๒๖ ห้องของกรมหมื่นสรรพสารทวอดหมดสิ้น บรรดาเรือนโรงของราษฎรที่อยู่ทางด้านหลังนั้นกลายเป็นทะเลเพลิง ไฟไหม้ไปถึงศาลาโรงธรรมบ้านลาว บ้านของพระประดิษฐ์ฯและหลวงราชถานฯ บ้านหลวงศรีสยุมพรเจ้ากรมน้ำสรง เป็นห้องแถวไม้ซึ่งเป็นเชื้อไฟอย่างดี ที่ทำให้ไฟลามไปถึงห้องแถวของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงษ์ ข้างถนนพาหุรัด
   
         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยรถพระที่นั่ง ตรงมายังที่เกิดไฟไหม้พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ตาม เสด็จมาอีกมาก เมื่อเสด็จมาถึงได้ทรงบัญชาการดับไฟอยู่ ณ ช่วงถนนพาหุรัด ระหว่างนั้นทอดพระเนตรพวกพลตระเวนและพลทหารซึ่งทำการดับไฟอย่างเสี่ยงต่ออันตราย บางคนก็ได้รับบาดเจ็บและถูกไฟลวก แต่ไฟยังคงโหมอย่างหนักจนไปถึงหน้าโรงพักพลตระเวน บ้านที่รอดพ้นอย่างมหัศจรรย์ได้แก่บ้านของหลวงทวยหาญฯกับบ้านของนายแปะซึ่ง ตั้งอยู่ตรงมุมถนนพาหุรัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้มีพระราชดำรัสกับพระบรมวงศ์พระองค์หนึ่งซึ่ง อยู่ใกล้ๆว่า
       “ ต้องให้เขา ” ทรงหมายถึงรางวัลและความดีความชอบของพวกที่ได้ช่วยดับไฟครั้งนั้น
   
         อาจเป็นด้วยอำนาจพระบารมีและบุญญาภินิหาร ในชั่วโมงต่อมาขณะที่ไฟยังไหม้โหมแรงอยู่นั้น ก็ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ไฟจึงซาและสงบลงทันที ประชาชนชาวพระนครต่างแซ่ซ้องสาธุการในพระบารมีปกเกล้าครั้งนี้กันทั่วหน้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯประทับที่วังบูรพาภิรมย์จนถึงเวลา ๕ โมงเศษ จึงเสด็จกลับยังพระบรมมหาราชวัง ไฟไหม้ครั้งนั้นตึกรามบ้านช่องเสียหายประมาณ ๑๕๐ กว่าหลัง ค่าเสียหายไม่น้อยกว่า ๕๐๐๐ชั่ง เจ้าหน้าที่ได้จับกุมจีนเปงผู้เป็นต้นเพลิงไว้ได้.


หัวข้อ: Re: พระพุทธเจ้าหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 31 ตุลาคม 2553 11:52:05

   ผ้าเช็ดพระพักตร์  
   
              จากหนังสือเรื่อง อนุสรณ์จากอดีต โดย ชาลี เอี่ยมกระสินธ์ ได้มีบันทึกคำบอกเล่าของเจ้าจอมมารดาอ่อนในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑ ณ วังสวนปาริจฉัตถ์ไว้ เป็นเหตุการณ์ตอนหนึ่งในสมัย ร.ศ.๑๑๒ ซึ่งฝรั่งเศสเข้ามา รุกรานไทย ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จตรวจป้อมปืน เมืองสมุทรปราการ เพื่อเตรียมรับมือฝรั่งเศส มีเจ้านายหลายพระองค์ตามเสด็จฯด้วย รวมทั้งพระพันวัสสา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ และเจ้าจอมมารดาอ่อน มีพระยาชลยุทธฯเป็นผู้ควบคุมป้อมปืนนั้น ได้มีการทดลองวิถีกระสุนปืนใหญ่ประจำป้อม ซ้อมยิงกระสุน จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
       
               ในครั้งนั้นได้เสด็จตรวจพลและรับสั่งกับนายและพลทหารประจำป้อมนั้นอย่างทั่ว ถึง. บังเอิญขณะเสด็จตรวจพลนั้น เกิดอุบัติเหตุมีพลทหารเรือผู้หนึ่ง ถูกของมีคมบาดเท้า จนเป็นแผลลึกโลหิตไหลโทรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯผ่านไปพอดี เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องกะทันหัน ทหารเรือผู้นั้นมีใบหน้าซีดเซียวเพราะเลือดออกมาก พระองค์จึงรับสั่งให้รีบจัดการช่วยเหลือโดยด่วน ทรงควักเอาผ้าเช็ดพระพักตร์ออกมาส่งให้นายทหารที่อยู่ใกล้ที่สุด และรับสั่งให้จัดการพันแผลที่เท้าทหารเรือผู้นั้นให้แน่น เพื่อป้องกันมิให้เลือดออกมาก ทหารเรือเคราะห์ร้ายและเคราะห์ดีในเวลาเดียวกันผู้นั้น ก้มลงกราบแทบพระบาทของพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยความซาบซึ้งในพระเมตตา
       
         “...ท่านเจ้าจอมมารดาอ่อนเล่าว่า...สีหน้าของ ทหารคนนั้นมีเลือดฝาดขึ้นทันที และดูเหมือนจะลืมความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เท้านั้น เมื่อได้รับผ้าเช็ดพระพักตร์ของพระเจ้าอยู่หัว..” เวลา นั้นนั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สมเด็จพระพันวัสสา ได้ประทานเงินรางวัล จากการปฏิบัติหน้าที่จนต้องบาดเจ็บ รวมทั้งเจ้านายอีกหลายพระองค์ วันนั้นทหารเรือผู้นั้นจึงได้รับเงินไปไม่น้อย พระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานแก่พลทหารเรือนั้น นับว่าเป็นขวัญและกำลังน้ำใจอย่างสำคัญแก่นายทหารและพลทหารทั้งหลายเป็น อย่างมาก.

              เพราะ เมตตาอันหาที่สุดมิได้ เพราะกรุณาที่มิได้เลือกแม้คนเล็กๆเพียงธุลีดิน คือมหาราชอันเป็นที่รักนิรันดร์กาล นี่คือตัวอย่างเรื่องเล็กๆแต่สำคัญยิ่ง คือ"ใจ"ของใครก็ตามที่คิดจะเป็นผู้นำต้องหล่อเลี้ยงด้วยคุณธรรมแห่งพรหมวิหารสี่ สามารถปกแผ่ความร่มเย็นไปสู่ราษฎร และ ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม.
     

         ปัณฑา สิริกุล     เรียบเรียง ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๖  เพิ่มเติม ๗ กันยายน ๒๕๔๘
       
         ข้อมูล
              :   เจ้าชีวิต สยามก่อนยุคประชาธิปไตย  โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
              :   หนังสือ อนุสรณ์จากอดีต โดย ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์
           
http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=191308&Ntype=1 (http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=191308&Ntype=1)
http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=93.0 (http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=93.0)


หัวข้อ: Re: พระพุทธเจ้าหลวง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 01 พฤศจิกายน 2553 07:33:44




ร. 5 สวรรคตปี 2468)

ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 โดย ราม  วชิราวุธ ( ร. 6 )
เป็นบันทึกของพระองค์ท่านในปี 2466(ร. 5 สวรรคตปี 2468)


 (:88:)  http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3102.500.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3102.500.html)
เรียนขออนุญาต คุณเริง 2520 นำมาเผยแพร่ ร่วมเทอดพระเกียรติค่ะ