[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 20:24:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - งานวิจัยระบบยุติธรรมของอังกฤษในศตวรรที่ 19 มีการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชา  (อ่าน 78 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2566 21:06:36 »

งานวิจัยระบบยุติธรรมของอังกฤษในศตวรรที่ 19  มีการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวไอริช
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-11-07 20:12</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพ ศาลอาญากลางลอนดอน วาดโดย Thomas Rowlandson and Augustus Pugin</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>งานวิจัยกระบวนการยุติธรรมในอังกฤษสมัยศตวรรษที่ 19 สะท้อนปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวไอริชก็ต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและผลการตัดสินคดีที่เลวร้ายกว่าในศาลอาญากลางของอังกฤษ บทเรียนจากยุคสมัยนั้นจะช่วยสร้างความเข้าใจต่อนโยบายกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในยุคปัจจุบันอย่างไรบ้าง</p>
<p>โครงการ The Economics Observatory (ECO) ระบุว่าในกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษนั้น ชนกลุ่มน้อยมักจะตกเป็นจำเลยในคดีต่างๆ จำนวนมากอย่างไม่ได้สัดส่วน ในอังกฤษมีประชากรที่ไม่ใช่คนขาวอยู่ร้อยละ 15 จากทั้งหมด แต่ข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรมของอังกฤษเมื่อปี 2564 พบว่าชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ก็มีผู้ที่ถูกสั่งหยุดตรวจร้อยละ 37 มีผู้ถูกจับกุมร้อยละ 23 และในเรือนจำมีนักโทษที่เป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ใช่คนขาวอยู่ร้อยละ 27</p>
<p>เรื่องที่ชนกลุ่มน้อยในอังกฤษเผชิญในกระบวนการยุติธรรมนั้นนับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตหลายแง่มุมที่พวกเขาต้องเผชิญของชีวิตประจำวันด้วย เช่น เรื่องตลาดแรงงาน, ที่อยู่อาศัย และตลาดผู้บริโภค</p>
<p>การที่พวกเขาได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะว่าไม่ค่อยมีชนกลุ่มน้อยเหล่านี้อยู่ในภาคส่วนการตัดสินใจในกระบวนการยุติธรรม จากสถิติของกระทรวงยุติธรรมปี 2566 ระบุว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษมีตำรวจที่ไม่ใช่คนขาวอยู่เพียงร้อยละ 7 และมีผู้พิพากษาที่ไม่ใช่คนขาวอยู่ร้อยละ 10 เท่านั้น</p>
<p>แม้ความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติสีผิวเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในอังกฤษเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือประเทศสหรัฐฯ แต่สำหรับในอังกฤษเรื่องนี้ยังเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยใหม่แล้ว มีการระบุไว้ในระบบกฎหมายอังกฤษอย่างชัดเจนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ที่ชนกลุ่มน้อยไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะทำงานเป็นลูกขุน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เรื่องจากประวัติศาสตร์</span></h2>
<p>งานศึกษาของโครงการได้ย้อนไปดูประวัติศาสตร์ของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสำหรับชาวไอริชในลอนดอน ในช่วงต้นศตวรรษ มีจำนวนชาวไอริชที่อาศัยอยู่ในลอนดอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเหตุการณ์ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ หรือบางก็เรียกว่า ภัยความขาดแคลนเนื่องจากโรคในมันฝรั่ง ค.ศ. 1846-1852 (พ.ศ. 2389-2395) กลุ่มชาวไอริชอพยพเข้าลอนดอนในฐานะผู้อพยพที่ยากจน กลายเป็นชนชั้นล่าง มีช่องว่างรายได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมาจนถึงแทบจะทุกวันนี้</p>
<p>ในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นที่รู้จักในฐานะช่วงเวลาที่เกิดความไม่สงบทางการเมืองและไอร์แลนด์มีความรู้สึกต้องการประกาศตัวเป็นเอกราชเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ความพยายามเรียกร้องการปกครองตนเองได้กลายมาเป็นการใช้ความรุนแรงและการก่อเหตุวางระเบิดโดยกลุ่มไอริชรีพับลิกันบราเธอร์ฮูดในลอนดอนช่วงศตวรรษที่ 1880s</p>
<p>มีหลักฐานคำบอกเล่าเกี่ยวกับการเหยียดและกีดกันชาวไอริชเกิดขึ้นตลอดช่วงศตวรรษที่ 18 ถึงขั้นมีการกีดกันเลือกปฏิบัติอย่างเปิดเผยในตลาดแรงงานที่มีการใช้ประโยคกีดกันในการสมัครที่ระบุว่า "ชาวไอริชไม่ต้องสมัครเข้ามา”</p>
<p>มีงานวิจัยเมื่อไม่นานนี้ทำการสำรวจในเชิงประจักษ์ว่าการกีดกันและเลือกปฏิบัติที่เคยเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาลในอดีตยังคงเกิดขึ้นมาจนถึงในศาลยุคปัจจุบันหรือไม่ โดยตั้งคำถามในงานวิจัยว่าลูกขุนที่เป็นผู้ชาย เกิดในอังกฤษ และมีความมั่งคั่งเพียงพอ ปฏิบัติต่อจำเลยไอริชและเหยื่อชาวไอริชแตกต่างไปจากที่ปฏิบัติต่อจำเลยผู้มีเชื้อสายชาวอังกฤษหรือไม่</p>
<p>งานวิจัยดังกล่าวนี้อาศัยข้อมูลจากการพิจารณาคดี 150,000 คดีที่ศาลอาญากลางกรุงลอนดอนที่เรียกว่า "โอลด์เบลีย์" ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1800-1899 (พ.ศ. 2343-2442) ซึ่งเอามาจากบันทึกการพิจารณาคดีของโอลด์เบลีย์ในฉบับดิจิทัล</p>
<p>ในฉบับดั้งเดิมของบันทึกการพิจารณาคดีนั้น มีการตีพิมพ์ออกมาหลังจากที่ศาลพิจารณาเสร็จสิ้นทุกครั้ง มีรายละเอียดต่างๆ อย่างเช่นชื่อของจำเลย และของผู้เข้าร่วมในการพิจารณาคดี, ข้อหา และผลการพิจารณาคดี เนื่องจากว่าในตอนนั้นไม่มีการบันทึกเชื้อชาติหรือชนชาติที่มาของจำเลย นักวิจัยจึงอาศัยสำมะโนประชากรอังกฤษและแคว้นเวลส์ปี 2424 ในการพิจารณาว่าชื่อของจำเลยเป็นชื่อแบบไอริช แบบอังกฤษ หรือแบบอื่นๆ เพื่อหาว่าจำเลยและผู้เข้าร่วมพิจารณาคดีนั้นๆ เป็นคนเชื้อสายใด</p>
<p>การพิจารณาที่ว่านี้ทำให้นักวิจัยสามารถเปรียบเทียบผลการตัดสินของศาลต่อจำเลยและเหยื่อที่มีชื่อแบบชาวไอริชเทียบกับคนที่มีชื่อแบบชาวอังกฤษได้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลออกมาเป็นอย่างไร</span></h2>
<p>ผลการวิจัยระบุว่า ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษดังกล่าวนั้น คณะลูกขุนจะปฏิบัติต่อจำเลยที่มีชื่อแบบไอริชอย่างแข็งกร้าวหรือหยาบคายมากกว่าและมีโอกาสที่จะถูกตัดสินว่ามีความผิดมากกว่า รวมถึงคนที่มีชื่อแบบไอริชยังมีโอกาสน้อยกว่าที่จะได้รับข้อเสนอแนะให้ลงโทษสถานเบา การเลือกปฏิบัติเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษดังกล่าวและดำเนินอย่างต่อเนื่องมาจนถึงช่วงปลายศตวรรษ</p>
<p>กลุ่มคนชื่อแบบไอริชที่ตกเป็นจำเลยในคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงมักจะเผชิญกับการตัดสินแบบเลือกปฏิบัติเช่นนี้มากกว่า แต่ก็พบการเลือกปฏิบัติแบบนี้ในคดีที่กระทำต่อทรัพย์สิน(ลักวิ่งชิงปล้นไปจนถึงการเผาหรือทำลาย) ในจำนวนมากเช่นเดียวกัน</p>
<p>มีการตั้งข้อสังเกตอีกว่า จำเลยที่มีชื่อฟังดูเป็นไอริชอย่างชัดเจนมากกว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างแข็งกร้าวมากกว่า แต่ปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่นบ้านเกิดของพวกเขาในไอร์แลนด์ไม่ได้นำมาอธิบายถึงการถูกเลือกปฏิบัติของพวกเขา</p>
<p>นอกจากนั้นทางโครงการ ECO ยังระบุอีกว่าได้ศึกษาถึงฝ่ายต่างๆ ในการพิจารณาคดีไปด้วย ทำให้ทราบว่ามีชนกลุ่มน้อยชาวไอริชอยู่น้อยมากในระดับผู้ตัดสินใจและอคติของฝ่ายตุลาการและลูกขุนที่มีชาติกำเนิดเป็นอังกฤษที่เอนเอียงต่อจำเลยที่มีชื่ออังกฤษ</p>
<p>มีกรณีตัวอย่างคดีที่เป็นชาวอังกฤษกับชาวไอริชตกเป็นจำเลยร่วมกัน ชาวอังกฤษรายนั้นก็มีโอกาสจะถูกตัดสินให้มีความผิดมากขึ้นตามไปด้วย รวมถึงมี "อคติแบบ พวกเขา-พวกเรา" ทำให้กรณีที่มีชาวอังกฤษเป็นเหยื่อและชาวไอริชเป็นจำเลย ชาวไอริชมีโอกาสที่จะถูกตัดสินให้มีความผิดมากกว่า ในทางตรงกันข้ามคดีที่มีชาวอังกฤษเป็นจำเลยแต่ชาวไอริชเป็นเหยื่อมีโอกาสจะตัดสินให้จำเลยมีความผิดน้อยกว่า</p>
<p>เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดมุมมองและทัศนคติเชิงลบต่อชาวไอริชเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการที่ชาวไอริชอพยพหลีกหนีความแร้นแค้นประเทศตนเป็นจำนวนมาก, ความไม่สงบทางการเมือง และเหตุวางระเบิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังคงหลงเหลือมาถึงยุคสมัยใหม่</p>
<p>ทั้งนี้การเลือกปฏิบัติต่อจำเลยชาวไอริชที่เริ่มเกิดขึ้นและเพิ่มขึ้นในช่วงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์แล้ว แต่รูปแบบการเลือกปฏิบัติลักษณะนี้กลับไม่ค่อยเกิดขึ้นน้อยในช่วงที่มีเหตุระเบิดจำนวนมากปลายศตวรรษ</p>
<p>ในรายงานของโครงการระบุข้อสันนิษฐานไว้ 2-3 เหตุผล เหตุผลแรกคือเป็นไปได้ว่ามุมมองต่อชาวไอริชอย่างมีอคติที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 นั้นแตกต่างไปจากอคติที่มีต่อชาวไอริชในช่วงทศวรรษ 1880</p>
<p>อีกความเป็นไปได้หนึ่งซึ่งสัมพันธ์กับธรรมชาติของเหตุการณ์คือ เหตุระเบิดอาจจะเป็นเหตุการณ์ที่นำมาใช้ตีขลุมเหมารวมประชากรชาวไอริชทั้งหมดไม่ค่อยได้และยังเป็นการง่ายกว่าที่จะระบุถึงตัวบุคคลที่จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ</p>
<p>นอกจากนี้แล้ว เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นช่วงปลายศตวรรษยังเป็นช่วงเดียวกับที่มีการกลืนกลายทางเศรษฐกิจของชาวไอริชในลอนดอนไปแล้ว ทำให้เป็นการลดผลกระทบเรื่องอคติต่อชาวไอริช</p>
<p>การเลือกปฏิบัติต่อชาวไอริชในการพิจารณาคดีเป็นแค่หนึ่งในตัวอย่างของอคติในการตัดสินตามกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นในช่วงยุคสมัยนั้น มีงานวิจัยอื่นๆ เกี่ยวกับศาลอาญากลางลอนดอนที่แสดงให้เห็นอคติอื่นๆ อีกเช่น เพศของจำเลย การพิจารณาลงโทษที่มีธงอยู่แล้วและมีการใช้ผลการพิจารณาคดีก่อนหน้ามาใช้พิจารณา ต่างก็เป็นปัจจัยในการนำมาตัดสินคดีทั้งที่ไม่ควรนำมาใช้ตัดสิน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">บทเรียนสำหรับปัจจุบันคืออะไร</span></h2>
<p>การวิจัยบันทึกจากศาลลอนดอนในช่วงยุคดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติจากระบบกฎหมายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อผู้อพยพชาวไอริช</p>
<p>การเลือกปฏิบัติเช่นนี้เกิดขึ้นไปพร้อมกับการขาดตัวแทนของชนกลุ่มน้อยในระบบกฎหมายด้วย อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ไม่เพียงแค่กระทบต่อจำเลยชาวไอริชเท่านั้นแต่ยังกระทบต่อเหยื่อชาวไอริชด้วย เรื่องนี้เมื่อนำมาพิจารณาเทียบเคียงกับหลักฐานเชิงประจักษ์ในยุคปัจจุบันในเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวในบริบทสหรัฐฯ แล้ว ก็เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอย่างมากว่า การมีตัวแทนที่เป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ด้วยนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างระบบกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นธรรมอย่างแท้จริง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ก็ระบุว่าพวกเขาได้ศึกษาเรื่องผลกระทบของการเลือกปฏิบัติต่อจำเลยหรือเหยื่อชาวไอริช แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามันส่งผลสืบเนื่องอย่างยาวนานมาถึงครอบครัวหรือชุมชนเชื้อสายไอริชในยุคปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไป</p>
<p> </p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong></p>
<p>How have minorities been treated by the UK’s judicial system?, Economics Observatory</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106693
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 449 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 465 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 356 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 359 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 272 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.457 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 29 เมษายน 2567 15:46:32