[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 พฤษภาคม 2567 13:53:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท้าวกุเวร เทพแห่งความมั่งคั่ง  (อ่าน 2190 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5502


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 08 มีนาคม 2558 09:23:34 »

.


ท้าวกุเวรทรงมนุษย์เป็นพาหนะ

ท้าวกุเวร
เทพแห่งความมั่งคั่ง

อาจารย์ผาสุข อินทราวุธ เขียนเรื่อง เครื่องรางสำหรับพ่อค้า ไว้ในหนังสือปัจจุบันของโบราณคดีไทย (จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร) ว่า จารึกภาษาสันสกฤตที่โวคาญ ประเทศเวียดนาม อายุช่วงพุทธศตวรรษที่ ๘ เป็นหลักฐานสำคัญในการติดต่อค้าขาย ระหว่างอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงต้นพุทธกาลถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๐ หรืออาจถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕

พ่อค้าที่นับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์เดินทางไกล จึงนำเครื่องของขลัง ติดมาเป็นตัวช่วย

พ่อค้าชาวพุทธนำพระพุทธรูปศิลปะแบบอมราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐) ที่รู้จักกันในนามพุทธทีปังกรห้ามสมุทรเข้ามา พบในแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทย เวียดนาม เกาะสุมาตรา เกาะชวาและเกาะเซเลเบส

พ่อค้าฮินดู นำพระคเณศ (เทพผู้ขจัดอุปสรรค) มาบูชา พบพระคเณศขนาดเล็กจำนวนมากในพม่า ไทยและตะวันตกของแหลมอินโดจีน

อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๙ ถึง ๑๖ มีการติดต่อค้าขายระหว่างชาวอินเดียและประชาชนที่อยู่รอบอ่าวตอนบน ตามแนวชายฝั่งทะเลเดิม รู้จักกันในนามชุมชนทวาราวดี หรือพวกที่พูดภาษามอญ

ส่วนชุมชนที่อยู่บริเวณแนวชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ของไทย เรียกกันว่าชุมชนศรีวิชัย

ความรุ่งเรืองของการค้าของรัฐต่างๆ เหล่านี้ ดูจะพุ่งขึ้นถึงขีดสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖

เมืองท่าสำคัญในช่วงนี้ มีเมืองนครปฐมโบราณ จังหวัดนครปฐม เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองซับจำปา จังหวัดลพบุรี เมืองจันเสนและเมืองบน จังหวัดนครสวรรค์

บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ ก็มีเมืองต่างๆ ที่อยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เช่น เมืองสทิงพระ จังหวัดสงขลา และจังหวัดตรัง

เครื่องรางสำหรับพ่อค้าและชาวพื้นเมืองที่พบมากมายในบริเวณนี้ เป็นรูปเทพแห่งความมั่งคั่งที่ชาวฮินดู เรียกว่า กุเวร และชาวพุทธเรียกว่าซัมภล และเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เทพีลักษมีในรูปของคช-ลักษมี ในแผ่นดินเผารูปกลมมีทั้งแบบหน้าเดียว และแบบสองหน้า

คัมภีร์วิษณุปุราณะ บรรยายว่า เทพกุเวร เป็นเจ้าแห่งยักษ์ทั้งปวง มีเมืองหลวงชื่ออลกา อยู่บนเขาไกรลาส เป็นลูกของฤาษีวิศรวัส

วรรณกรรมพุทธศาสนา กล่าวถึงเทพกุเวรในชื่อว่า เวสสวัณ เป็นหนึ่งในจตุโลกบาลประจำทิศและเป็นบริวารของพระพุทธเจ้า เมื่อนับถือในฐานะเทพแห่งความมั่งคั่ง เรียกว่าซัมภล นับถือกันมากในหมู่พุทธศาสนิกชนนิกายมหายาน

ส่วนพวกเชน จัดให้เทพกุเวร เป็นบริวารของอรหันต์องค์ที่ ๑๙

คัมภีร์ปุราณะ บรรยายรูปลักษณะเทพกุเวรไว้มาก ที่เด่นชัด คือมีอุทรขนาดใหญ่ (พุงพลุ้ย) มีเครื่องประดับตกแต่งมากมาย แวดล้อมสมบัติ ๘ ประการ ถือถุงเงินและมีพาหนะเป็นคน หรือช้าง หรือแกะ

ส่วนในรูปเทพซัมภล เทพแห่งความร่ำรวยของชาวพุทธ แทนที่จะถือกระเป๋าเงินกลับบีบคอพังพอน ซึ่งกำลังคายเพชรพลอยออกมา

ชาวพุทธถือว่าพังพอนเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย เนื่องจากปราบงู (นาค) ผู้เฝ้าทรัพย์สมบัติของเมืองบาดาลได้

เมืองโบราณคดีรอบอ่าวไทย ทำสัญลักษณ์เทพกุเวร และเทพีลักษมีในรูปคช-ลักษมีมาประกอบกันเป็นแผ่นดินเผา ๒ หน้า

จากการศึกษาเกี่ยวกับคติการนับถือเทพี ลักษมีในรูปของ คช-ลักษมี และเทพกุเวร (ซัมภล) ในอินเดียสรุปได้ว่า เทพและเทพีทั้งสองนี้ได้รับยกย่องเป็นเทพเทพีแห่งความร่ำรวยและความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ

ชาวอินเดียทุกศาสนา ทั้งศาสนาพราหมณ์ พุทธ และเชน ยอมรับนับถือร่วมกัน

โดยเฉพาะพ่อค้านิยมนำติดตัวเดินทางมาค้าขาย ดังได้พบประติมากรรมรูปเทพเทพีเหล่านี้ จำนวนมากในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าขายของอินเดีย

สัญลักษณ์แห่งความร่ำรวยดังกล่าว ยังปรากฏในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบริเวณแหล่งโบราณคดีรอบอ่าวไทยและตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ของไทย

ประติมากรรมสำริดรูปเทพซัมภล ที่พบในภาคใต้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียแบบปาละมาก โดยเฉพาะเทพซัมภลที่พบที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ กำหนดอายุไว้ในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ ๑๕

อาจารย์ผาสุข อินทราวุธ สรุปว่า พิจารณาจากตำแหน่งที่พบประติมากรรมดินเผาและสำริดรูปเทพกุเวร (ซัมภล) และคช-ลักษมีขนาดเล็กเหล่านี้แล้ว ย่อมนำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า คงจะใช้เป็นเครื่องรางสำหรับพ่อค้า ทั้งชาวอินเดีย และชาวพื้นเมือง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕

ตำแหน่งที่พบ ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเดิม คือ เมืองนครปฐมโบราณ เมืองอู่ทอง เมืองซับจำปา เมืองจันเสน และเมืองบนในภาคกลางของไทย ตลอดจนเมืองสงขลาและตรังในภาคใต้ของไทย

เมืองเหล่านี้คงจะเป็นเมืองท่าค้าขายทางทะเลที่สำคัญ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕ หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย



ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.28 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 08 มีนาคม 2567 23:39:56