[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => นิทาน - ชาดก => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 14 กรกฎาคม 2553 21:03:29



หัวข้อ: มนต์คาถาของนกยูงทอง
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 14 กรกฎาคม 2553 21:03:29
(http://www.taklong.com/pictpost/t/91331IMG0035.jpg)

http://www.fungdham.com/download/song/sec2/2buddhapower/01.wma


(:LOVE:)ถ่ายภาพโดย(บางครั้ง) (:LOVE:)


พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยูง มีขนสีเหลืองเหมือนทอง จึงมีชื่อว่านกยูงทอง อาศัยอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ตามปรกตินกยูงทอง พอถึงเวลาเช้าก็จะไปจับบนยอดภูเขา บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก แลดูดงอาทิตย์ที่แรกขึ้น แล้วเจริญมนต์ว่า อุเทตะยัญจักขุมา เอกราชา เป็นต้น ซึ่งมีความหมายว่า พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเหมือนทอง ส่องพื้นภิภพให้สว่าง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระอาทิตย์ ขอให้คุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นสุขตลอดวัน ข้าพเจ้าขอมนัสการผู้รู้ธรรม ขอให้รักษาข้าพเจ้า ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ จงมีแด่ท่านผู้พ้นทุกข์ ดังนี้ พอเจริญมนต์เสณ้จแล้วก็ไปหาอาหาร การเจริญมนต์ของนกยูงทองตอนนี้ เพื่อคุ้มครองป้องกันในเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นกลับมาจากหาอาหารแล้วก็ขึ้นไปจับบนยอดเขา บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันตก แลดูดวงอาทิตย์ที่กำลังจะตก เจริญมนต์ว่า อะเปตะยัญจักขุมา เอกราชา เป็นต้น ซึ่งมีใจความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์อันเป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเหมือนทอง กำลังจะตกไปแล้ว ขอให้คุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นสุขตลอดคืน เป็นต้น การเจริญมนต์ของนกยูงตอนนี้เพื่อคุ้มครองป้องกันตนในเวลากลางคืน จริยาวัตรดังกล่าวนี่ นกยูงได้ทำเป็นเนืองนิตย์ทุกวันทุกคืน จึงอยุ่เป็นสุขปราศจากอันตรายตลอดมา
อยู่มาวันหนึ่ง พระนางเขมาอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงสุบินเห็นนกยูงทองแสดงธรรมให้ฟังอย่างไพเราะจับใจ ครั้นตื่นขึ้นก็กราบทูลพระราชาสวามี และทูลประสงค์จะฟังธรรม ของนกยูงทองที่ทรงสุบินนั้น พระราชสามีเที่ยวสืบถามเหล่าพรานไพรก็ทรงทราบจากลูกชายของพรานคนหนึ่งซึ่ง พ่อของเขาได้บอกว่าก่อนตายว่า มีนกยูงสีทองตัวหนึ่งอาศัยที่ภูเขาโน้น จึงสั่งให้จับมาถวาย แต่อย่าทำให้ถึงตาย พรานไพรก็เอาบ่วงไปดักในที่ที่นกยูงทองเที่ยวหากิน เมื่อยกยูงทองเหยียบที่บ่วง บ่วงไม่สามารถทำอะไรนกยูงทองได้ ด้วยอำนาจมนต์ที่นกยูงทองเจริญอยู่เป็นนิตย์ นายพรานพยายามดักอยู่ถึงเจ็ดปีก็จับไม่ได้จนตัวตาย พระนางเขมาราชเทวเมื่อไม่ได้สมความปรารถนาก็เศร้าโศกซูบผอมตรอมพระทัยจนสิ้น พระชนม์ พระราชาพิโรธเป็นกำลังที่มเหสีต้องสิ้นพระชนม์ลงเพราะนกยูงทอง จึงทรงจองเวร ให้อาลักษณ์จารึกหนังสือไว้บนแผ่นทองว่า มีนกยูงทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา ถ้าใครได้กินเนื้อนกยูงทองตัวนี้จะอายุยืนไม่แก่ตาย จารึกแล้วบรรจุแผ่นทองลงในหีบเพื่อคนภายหลังจะได้อ่าน ต่อมาพระราชาก็สวรรคต
พระราชาองค์ต่อมาผู้สืบสันตติวงศ์ทรงอ่านแผ่นทองนั้น สำคัญว่าเป็นจริงจึงสั่งให้พรานไปดักจับก็ไม่สมพระราชประสงค์ จนคราวหนึ่งพรานคนหนึ่งสังเกตุว่า ทำไมหนอบ่วงจึงไม่รูดรัดเท้านกยูงทองตัวนี้ เมื่อสะกดรอยดูก็เห็นนกยูงทอเจริญมนต์ทุกเชาทุกเย็น จึแน่ใจว่าเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้นกยูงทองไม่ติดบ่วง นายพรานคิดอุบายขึ้นมาได้จึงไปจับนางนกยูงตัวหนึ่งมาฝึกให้รู้อาณัติสัญญาณ เช่นดีดนิ้วมือนกยูงก็ร้อง ถ้าปรบมือนางนกยูงก็ฟ้อนรำ เมื่อฝึกสอนจนชำนาญแล้ว จึงอุ้มนางนกยูงไปแต่มืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แล้วดักบ่วงไว้ก่อนที่นกยูงทองจะเจริญมนต์ พอเสร็จดีดนิ้วมือขึ้น นางนกยูงจึงส่งเสียงด้วยสำเนียงไพเราะจำใจพอนกยูงทองได้ยิเสียงร้องของนางนก ยูง ก็รุ่มร้อนด้วยอำนาจกิเลสลืมเจริญมนต์รีบโผบินไปยังที่นางนกยูงอยู่ พอโผบินลงจากอากาศเท้าก็สอดเข้าในบ่วง นายพรานจึงนำนกยูงทองไปถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินทรงพอพระราชหฤทัยมากที่จะได้เสวยเนื้อนกยูงทอง จะได้ไม่แก่ตายตามคำจารึกนั้น แต่ก่อนจะเสวยจึงใครจะสนทนากับนกยูงทองเสียก่อน จึงจัดที่ให้นกยูงทองจับ เมื่อนกยูงทองจับที่นั้นแล้ว จึงทรงทูลถามที่เหตุที่ทรงดักจับได้ พระเจ้าแผ่นดินก็ตรัสเล่าให้ตามที่ปรากฎในจารึกนั้น นกยูงทองจึงทูลว่า ทำไมพระองค์จึงเชื่อดังนั้น ถ้าเนื้อของข้าพเจ้าวิเศษจริงถึงกับทำให้คกินไม่แก่ไม่ตายจริง แต่นี่ไม่เป็นเช่นนั้น แม้ข้าพเจ้ายังต้องตาย ไฉนผู้กินเนื้อข้าพเจ้าจะไม่ตายเล่า ขอพระองค์ได้เชื่อตามนั้นเลย กรรมหนักจะตกแก่พระองค์ แล้วนกยูงทองก็แสดงอานิสงส์ของการไม่เบียดเบียนสัตว์ จนพระเจ้าแผ่นดินทรงเลื่อมใส รับใส่ให้ปล่อยนกยูงทองไป แล้วออกหมายประกาศไม่ให้ผู้ใดทำร้ายสัตว์ทุกชนิดในพระราชอาณาเขตของพระองค์ มนต์บทนี้ถือกันว่า ทำให้แคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวงฯ


หัวข้อ: Re: มนต์คาถาของนกยูงทอง
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 14 กรกฎาคม 2553 21:08:29
(http://www.taklong.com/pictpost/t/91331IMG0035.jpg)




พระคาถายูงทอง ป้องกันอันตราย ของหลวงปู่มั่นโมระปะริตตัง(คาถายูงทอง)



อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ

นะมัตถุ พุทธานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นะมัตถุ โพธิยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่พระโพธิญาณ
นะโม วิมุตตานัง : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
นะโม วิมุตติยา : ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแด่วิมุตติธรรม
๑. พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก ป็นเอกราชา มีสีดั่งสีทอง
ยังพื้นปฐพีให้สว่างอุทัยขึ้นมา เพราะเหตุนั้น
ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้นซึ่งมีสีดั่งสีทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง
ข้าพเจ้าทั้งหลายอันท่านปกครองแล้วในวันนี้
พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน

๒. พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าฯ
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้า
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
นกยูงนั้นได้กระทำพระปริตรบทนี้แล้ว จึงเที่ยวไปเพื่อแสวงหาอาหาร

๓ . พระอาทิตย์ เป็นดวงตาของโลก ป็นเอกราชา มีสีดั่งสีทอง
ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น
ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้นซึ่งมีสีดั่งสีทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง
ข้าพเจ้าทั้งหลายอันท่านปกครองแล้วในวันนี้
พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน

๔ .พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า
อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาข้าพเจ้า
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จงมีแด่พระโพธิญาณ
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่ผู้พ้นแล้วทั้งหลาย
ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติธรรม
นกยูงนั้นได้กระทำพระปริตรบทนี้แล้ว จึงสำเร็จความอยู่แล ฯ


............................ตำนาโมระปริตร...........................


จาก..............................http://www.dhammajak.net/ (http://www.dhammajak.net/)