[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 17:22:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การสอบพระปริยัติธรรม  (อ่าน 132 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 ธันวาคม 2566 16:17:08 »



การสอบพระปริยัติธรรม

การศึกษาพระปริยัติธรรม และมีการสอบเพื่อวัดความรู้ในแต่ละชั้น เป็นประเพณีในพระพุทธศาสนาสืบกันมาช้านาน อย่างต่ำสุดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้สอบผ่านความรู้ เรียกกันว่า มหาเปรียญ แปลว่ามีความรู้มาก ภายหลังกร่อนเหลือเพียง มหา นับเป็นคำนำหน้าสมณศักดิ์ชนิดหนึ่ง การสอบครั้งกรุงเก่า สืบความไม่ได้ แต่ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งต้นกรุงด้วยบ้านเมืองยังไม่สงบต้องมีศึกสงครามอยู่เนืองๆ การสอบจึงกำหนดไม่ตายตัว

ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ในการศึกษาของพระสงฆ์อย่างยิ่งยวด กำหนดสอบสามปีหนหนึ่ง การสอบพระปริยัติธรรมนั้นแต่เดิมสอบในวัดซึ่งเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดให้เข้ามาสอบที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาทบ้าง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามบ้าง และเสด็จทอดพระเนตรด้วยพระองค์เอง

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้เข้ามาสอบที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทบ้างในบางปี ปีใดจะมีการสอบเมื่อเข้าพรรษากระทรวงธรรมการจะมีหมายบอกไปยังพระอารามต่างๆ ครั้นออกพรรษาแล้วจึงได้ทำการสอบ วิธีการสอบนั้นนักเรียนจะเข้าไปแปลปากเปล่าในที่ประชุมพระราชาคณะ กำหนดแปลประโยคหนึ่ง ๓ ลาน คือ ๓๐ บรรทัด เมื่อแปลจบถือว่าสอบผ่าน การสอบดำเนินไปเช่นนี้จนถึง พ.ศ.๒๔๗๑ จึงได้เปลี่ยนเป็นวิธีสอบข้อเขียน มีสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นแม่กองบาลีสนามหลวงรูปแรก

มีเรื่องขำขันเล่าสืบกันว่า เมื่อมีการสอบคราวหนึ่ง ขณะนักเรียนกำลังทำการแปลอยู่นั้น มาถึงศัพท์ว่า อุคฺคนฺตฺวา (แปลว่าเหาะขึ้นไปแล้ว) นักเรียนติดอยู่นานสองนาน กรรมการท่านหนึ่งสงสารโยนผ้าซับน้ำหมากซึ่งมีสีแดงขึ้น ทำนองใบ้คำว่า เหาะขึ้นแล้ว นักเรียนเห็นดังนั้น ก็เข้าใจว่ากรรมท่านนี้ใบ้ให้จึงแปลว่า “แดงแล้ว”


#เผยแพร่เป็นวิทยาทานโดย พิกุลบรรณศาลา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.216 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 10 มกราคม 2567 08:21:35