[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 21:06:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คนกินหมา - กินกบ หลาายพันปีมาแล้ว  (อ่าน 8195 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2557 14:32:42 »

.

คนกินหมาศักดิ์สิทธิ์ ในอาเซียน ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว


โครงกระดูกหมา ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ขุดพบที่บ้านโนนวัด อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา

หมา เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผีของบรรพชนคนยุคดึกดำบรรพ์ในอาเซียน ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว  จึงวาดรูปหมาไว้ทำพิธีกรรมตามเพิงผาและผนังถ้ำ บางชุมชนปั้นรูปหมาไว้คุ้มครองชุมชนหมู่บ้าน แล้วฆ่าหมาฝังร่วมกับคนตาย โดยมีคำบอกเล่าเรื่องหมาให้จดจำแพร่หลายทั่วไป
หมาในตำนานและพิธีกรรม
 
ความเชื่อเรื่องหมาศักดิ์สิทธิ์มีมากและกว้างขวาง เกินความรับรู้ของผมที่เคยได้ยินมา แต่มีบทความวิชาการเรื่อง บทบาทของ “หมา” ในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ในอุษาคเนย์ โดย ปฐม หงษ์สุวรรณ  [พิมพ์ในวารสารอักษรศาสตร์ ฉบับนิทาน ตำนาน จินตนาการ ความจริง โดย ศิราพร ณ ถลาง บรรณาธิการประจำฉบับ ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๔๙) หน้า ๒๑๓-๒๔๑]
 
จะขอคัดโดยสรุปมาแบ่งปันเผยแพร่ไว้ดังนี้

หมาในตำนานและพิธีกรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แยกบทบาทออกได้ ๔ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. บรรพชน  ให้ความสำคัญกับหมาเป็นบรรพชนของมนุษย์ ได้แก่ ตำนานของชนเผ่าตะเรียง ตะรีว กะตู ดักกัง โลโลโพ และเย้า  กล่าวตรงกันว่าหมาเป็นตัวเอก ที่แต่งงานอยู่กินกับมนุษย์ผู้หญิงที่เหลือรอดจากภัยน้ำท่วมโลก แล้วมีลูกหลานสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์  แม้ตำนานส่วนใหญ่จะฉายภาพให้เห็นว่าหมาถึก (หมาตัวผู้) แต่งงานอยู่กินกับมนุษย์ผู้หญิง แต่ก็มีตำนานบางเรื่องที่อธิบายให้เห็นว่ามนุษย์ไม่ได้เกิดจากการแต่งงานระหว่างหมากับผู้หญิง แต่เกิดจากน้ำเต้าปุง เช่น ตำนานสร้างโลก ของชนเผ่าโลโลโพ ซึ่งอธิบายว่ามนุษย์เกิดจากผลน้ำเต้าปุง แต่ผู้คนไม่มีอาหาร จึงอาศัยน้ำนมของหมากิน เช่นนี้หมาจึงมีฐานะเป็นเสมือนบรรพชนของมนุษย์ด้วย
 
๒. ผู้นำทางวัฒนธรรม เน้นเรื่องหมาเป็นผู้นำพันธุ์ข้าวและไฟมาสู่โลกมนุษย์เพื่อใช้ยังชีพ ซึ่งจะพบในตำนานของม้ง ดักกัง ไทใต้คง จ้วง ปู้ยี่ ลีซอ และมูเซอ  มักอธิบายว่าหมาตัวผู้ได้ช่วยเหลือมนุษย์ผู้หญิง บ้างก็เล่าว่าหมาว่ายน้ำไปเอาพันธุ์ข้าวหรือไฟมาให้ บ้างก็เล่าว่าหมาปีนไต่ขึ้นไปบนเมืองฟ้าเพื่อนำพันธุ์ข้าวหรือไฟมาให้กับมนุษย์ แสดงให้เห็นฐานะของหมาว่าเป็นผู้ช่วยเหลือมนุษย์ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าหมาเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมในสังคมบรรพกาลก็ได้ เพราะหมาเป็นผู้นำเอาพันธุ์ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลัก และเป็นผู้นำไฟที่ใช้ประกอบการหุงหาอาหารมาสู่สังคมมนุษย์
 
๓. สัญลักษณ์ของการสืบเผ่าพันธุ์ และความุอดมสมบูรณ์  ให้ความสำคัญกับเรื่องหมาเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์และการแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ พบในตำนานของชนเผ่าโลโลโพ เย้า ไทลื้อ และจ้วง มักอธิบายว่าหมาทำผู้หญิงตั้งท้อง แล้วให้กำเนิดเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์ ทั้งนี้ผู้หญิงในตำนานบางเรื่องฉายภาพให้เห็นว่าเป็นหญิงหม้ายบ้าง แม่ย่าบ้าง ซึ่งโดยธรรมชาติของผู้หญิงเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนของคนที่ไม่สามารถให้กำเนิดหรือไม่ได้อยู่ในภาวะเจริญพันธุ์ที่จะให้กำเนิดทายาทได้ แต่ตำนานอธิบายว่าหมาทำผู้หญิงเหล่านี้ตั้งครรภ์ได้  หมาจึงเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่เกี่ยวพันกับภาวะการให้กำเนิดหรือการแพร่ขยายเผ่าพันธุ์
 
๓. ผู้เชื่อมโยงโลกมนุษย์กับโลกศักดิ์สิทธิ์ เน้นเรื่องหมาเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกศักดิ์สิทธิ์ พบในตำนานของกลุ่มไทแถง ไทเมือง จ้วง ตำนานและพิธีกรรมของกลุ่มชนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีภาพของหมาที่เป็นตัวแทนของพลังอำนาจวิเศษสามารถเดินทางไปยังภพภูมิอื่นได้ โดยเฉพาะเมืองแห่งวิญญาณ









โครงกระดูกหมา (แบบเต็มโครงสมบูรณ์) ในวัฒนธรรมบ้านเชียง ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
ขุดพบ (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗) ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ยุคเดียวกัน ที่วัดโพธิ์ศรีใน

ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ภาพจาก อ. สุรพล นาถะพินธุ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


หมาเป็นผู้ปกป้องคุ้มครอง รูปปั้นที่หน้าหมู่บ้าน Chung-chia
ของชาวม้ง มณฑลกุ้ยโจว ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

(ภาพจาก “Culture Traits of Non-Chinese Tribes in Kweichow Province,
Southwest China” in Inez de Beauclair. Ethnographic studies : the collected papers
of Inez de Beauclair. Taipei : Southern Materials Center, 1986.)

ข้อมูลและภาพ : "คนกินหมาศักดิ์สิทธิ์ ในอาเซียน ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว"  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ   มติชนสุดสัปดาห์ ลงฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 ตุลาคม 2557 08:35:28 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2557 09:17:59 »

.

คนกินกบ เมื่อหลายพันปีมาแล้ว

กบ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเมื่อหลายพันปีมาแล้ว และเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ด้วย คนจึงกินกบเพื่อเซ่นผีและเพิ่มพลังให้ตนเองและชุมชนรอดพ้นจากผีร้าย
 
มักพบเมื่อฝนตกทุกครั้งไป คนทั้งหลายเลยเชื่อว่ากบคือผู้นำน้ำจากฟ้าให้ไหลหล่นลงมา อันเป็นสิ่งที่มนุษย์ในเขตร้อนชื้นต้องการใช้ดำรงชีวิต
 
เซ่นกบ
จึงมีพิธีกรรมบูชายัญกบ คือเซ่นผีด้วยกบ แล้วมีการละเล่นเต้นฟ้อนโดยเอาโคลนมาทาเนื้อตัวแข้งขาให้มีลวดลายอย่างกบ แล้วทำท่าย่อขาแข้งเหมือนกบ พร้อมกับเซ่นวักเครื่องมือทำมาหากิน เช่น มีด พร้า ขวาน ไถ เป็นต้น
 
เครื่องมือสัมฤทธิ์ เช่น กลองทองมโหระทึก จึงมีรูปกบเป็นสัญลักษณ์สำคัญประดับหน้ากลอง ฯลฯ

ภาพเขียนบนเพิงผากับผนังถ้ำมีรูปคนทำท่าคล้ายกบ จะพบทั่วไปทั้งในไทยและประเทศใกล้เคียง แต่ที่มีมากและยิ่งใหญ่สุดอยู่ในมณฑลกวางสี ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นหลักแหล่งของตระกูลภาษาลาว-ไทยเก่าแก่สุด เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
 
คางคก, คันคาก
คางคกที่ชาวบ้านสองฝั่งโขงเรียกคันคาก (คันคาก เป็นคำลาว ตรงกับคำไทยภาคกลางว่า คางคก) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเช่นเดียวกับกบและแสดงตัวพร้อมกับฝนเช่นเดียวกัน
 
ชาวบ้านสองฝั่งโขงจึงยกย่องคางคกว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีคุณเอาน้ำฝนมาให้คน แล้วแต่งนิทานเรื่องพญาคันคาก  เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไปสืบจนทุกวันนี้
 
นิทานเรื่องพญาคันคากของคนหลายเผ่าพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำโขง มีเรื่องย่อต่อไปนี้
 
พญาแถนเป็นใหญ่บนฟ้าที่มีห้วงน้ำขังอยู่ตามเมฆหมอกมหาศาล แต่คราวหนึ่งไม่ปล่อยน้ำเป็นฝนตกตามฤดูกาลสู่โลกมนุษย์
 
คนทั้งหลายเดือดร้อน จึงวิงวอนให้พญาคันคากแก้ไข มีเล่าไว้ในสารานุกรมฯ ภาคอีสาน (เล่ม ๙ หน้า ๒๘๙๘) จะคัดมาอย่างสรุปรวบรัดดังนี้
 
พญาคันคากคิดหาทางขึ้นฟ้าไปเมืองแถน ได้ไปตามพวก ครุฑ นาค ปลวก มาก่อภูเขาทำทางแล้วขึ้นไปรบพระยาแถน
 
พญาคันคากเสกเป่าให้มีกบเขียดมากมายเหมือนกองทัพยกขึ้นเมืองแถน ทำให้ชาวแถนตกใจกลัวอย่างยิ่ง พระยาแถนก็เสกเป่าให้มีงูร้ายมากมายหลายชนิด ออกจับกบและเขียดกิน
 
พญาคันคากแก้ไขโดยเสกให้ครุฑและกามาจิกกินงู พระยาแถนเสกให้หมามาวิ่งไล่จับครุฑและกากิน
 
พญาคันคากให้เสือโคร่งออกมาจับกินหมา
 
พระยาแถนยิงธนูให้กลายเป็นห่าฝนหอกดาบตกลงมาเสียบคนล้มตายจำนวนมาก พญาคันคากเนรมิตปีกให้แผ่กว้างเพื่อกำบังห่าฝนหอกดาบ และเสกเป่าให้ผู้คนที่ล้มตายกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
 
พญาคันคากกับพระยาแถน ต่างก็มีคาถาอาคมเสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ จึงได้ออกชนช้าง ในที่สุดพญาแถนแพ้
 
พญาคันคากมีบัญชาให้พระยาแถนยอมให้นาคมาเล่นน้ำบนฟ้า น้ำจะได้ล้นกระฉอกเป็นฝนตกบนพื้นพิภพดังเดิม
 
สัตว์ต่างๆ ที่พญาคันคากกับพระยาแถนเสกเป่าสู้กันจึงเป็นศัตรูกันตั้งแต่นั้นมา
 
กบ เหมือนอวัยวะเพศหญิง
กบ หมายถึงอวัยวะเพศหญิง ใช้เป็นคำเรียกอวัยวะเพศหญิงดั้งเดิมเก่าแก่มาก เพราะคนแต่ก่อนมองว่าอวัยวะเพศหญิงมีรูปร่างคล้ายกบ
 
น่าจะมาจากความเชื่อในศาสนาผีราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ว่ากบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ให้กำเนิดฝนตกจนชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ เสมือนอวัยวะเพศหญิงให้กำเนิดคน
 
เขียด หมายถึงอวัยวะเพศเด็กหญิงน้อยๆ เพราะเขียดเป็นลูกกบ หรือกบน้อย
 
บางทีเรียกเด็กหญิงน้อยๆ นั้นว่า อีเขียดน้อย หมายถึงอวัยวะเพศเท่าเขียดน้อย




“คนครึ่งกบ” ภาพเปรียบเทียบบนลายทอผ้าของคนหลายชาติพันธุ์ เช่น ชาวลาว-ไทย,
ชาวอิบาน (ในซาราวัก มาเลเซีย), ชาวอิฟูเกา (ทางเหนือของเกาะลูซอน ฟิลิปปินส์)
กับ (แถวขวาสุด) ภาพเขียนสีคนทำท่ากบของชาวจ้วงที่ผาลาย (ในกวางสี จีน)




คันคาก (คางคก) หรือกบ เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว บันดาลฝน
เพื่อให้คนทั้งหลายเฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา (ซ้าย) คันคาก สลักหิน ที่ทุ่งไหหิน เชียงขวาง ในลาว
(ขวาบน) กบหรือคางคกที่หลุดจากหน้ากลองทองมโหระทึก พบที่ควนลูกปัด อ. คลองท่อม จ. กระบี่
(ขวาล่าง) คันคากหรือกบบนหน้ากลองทองมโหระทึก พบที่ ต. ท่าเรือ อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช


ข้อมูลและภาพ : "คนกินกบเมื่อหลายพันปีมาแล้ว"  โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หน้า ๘๕ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๓-๙ ตุลาคม  ๒๕๕๗
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.368 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 18:01:12