[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 24 กันยายน 2555 16:55:12



หัวข้อ: สีและความเค็มของน้ำทะเล
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 24 กันยายน 2555 16:55:12
(http://th.thaiembassymoscow.com/articles/viewimage.php?file=79)
แหล่งพลังงานทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันที่มีสายแร่อยู่ในบริเวณทะเลสาบแคสเปียน
ภาพ : thaiembassymoscow.com


สีและความเค็มของน้ำทะเล

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  นิยมคำว่า “ทะเล”  ไว้ว่า หมายถึง ห้วงน้ำเค็มที่เวิ้งว้างกว้างใหญ่  แต่เล็กกว่ามหาสมุทร  ส่วนการที่น้ำทะเลมีรสเค็ม และน้ำทะเลมีสีฟ้าหรือสีเขียวนั้น  เกิดขึ้นจากเกลือทะเลที่ได้จากหินของเปลือกโลกที่แตกออก นับเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี  บางชนิดเป็นสารที่ละลายได้  บางชนิดละลายไม่ได้  และในที่สุดชนิดที่ไม่ละลายก็ตกตะกอนอยู่ที่ก้นมหาสมุทร   ส่วนสารที่ละลายน้ำได้ก็เป็นพวกเกลือ

เมื่อพื้นโลกเปลี่ยนแปลงระบบการระบายน้ำและภูมิอากาศไปตามกาลเวลา  ทำให้ทะเลบางส่วนถูกตัดขาดจากมหาสมุทร  และไม่มีการไหลติดต่อกันจึงกลายเป็นทะเลสาบน้ำเค็มในพื้นแผ่นดิน เช่นทะเลสาบเกรตซอลล์ (Great Salt Lake)  ในรัฐยูทาห์ (Utah)  สหรัฐอเมริกา  ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลางถึง ๑,๒๘๐ เมตร (๔,๒๐๐ ฟุต)  ทะเลสาบแห่งนี้เป็นอิสระแยกออกจากมหาสมุทร  การระเหยของน้ำทะเล ทำให้น้ำในทะเลสาบน้ำเค็มไม่ไหลล้นตลิ่ง  เกลือจะซึมออกไปตามบริเวณพื้นที่รอบ ๆ ทะเลสาบได้บ้าง  และซึมอยู่รอบ ๆ พื้นที่บริเวณนั้น  น้ำในทะเลสาบจึงเค็มขึ้นเรื่อย ๆ  เช่น ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea)  ทะเลเดดซี (Dead Sea)

มหาสมุทรทุกแห่งในโลก  ความเค็มที่ใกล้ผิวน้ำทะเล (Face salinity) เปลี่ยนแปรไปตามเส้นละติจูด  น้ำทะเลซึ่งเค็มน้อยที่สุดอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร  และน้ำทะเลที่เค็มมากที่สุด อยู่ประมาณบริเวณเส้นละติจูด ๒๐ องศาเหนือ และ ๒๐ องศาใต้  ความเค็มของน้ำทะเลจะลดลงเรื่อย ๆ ในบริเวณที่อยู่ในเส้นละติจูดสูง ๆ ขึ้นไป  และความเค็มของน้ำทะเลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๓๔.๗๕ (per mille) หรือถ้าคิดเป็นน้ำหนักจะได้เกลือ ๓๔.๗๕ กรัม ต่อน้ำทะเล ๑ กิโลกรัม

อุณหภูมิของน้ำทะเลบนโลกมีค่าต่าง ๆ กัน เป็นช่วงกว้างมากและเปลี่ยนแปลงไปตามเส้นละติจูดและฤดูกาลด้วย  ในมหาสมุทรทุกแห่ง อุณหภูมิที่ผิวพื้นทะเลมีค่าสูงสุดอยู่ในบริเวณตอนเหนือของเส้นศูนย์สูตร

ส่วนการที่น้ำทะเลมีสีฟ้า (สีฟ้าทะเล)  เหมือนกับสีท้องฟ้า  เป็นผลเนื่องมาจากการกระจายแสงโมเลกุลของน้ำทะเล และจากผลการเน่าเปื่อยของพืช  ทำให้เกิดสีเหลืองขึ้น  ดังนั้น น้ำทะเลตามชายฝั่งจึงมักมีสีเขียว



ที่มา : คอลัมน์ องค์ความรู้ภาษาไทย "สีและความเค็มของน้ำทะเล" โดย ราชบัณฑิตยสถาน  นสพ.เดลินิวส์ หน้า ๒๒ ฉบับประจำวันศุุกร์ที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕