[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 พฤษภาคม 2567 22:30:04 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 155 156 [157] 158 159 ... 274
3121  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / Re: สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 15:28:21

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 4 (จบ)
รายการ ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร
โดย หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 4 (จบ)
3122  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / Re: สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 15:27:00

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 3
รายการ ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร
โดย หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 3


3123  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / Re: สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 15:25:49

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 2
รายการ ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร
โดย หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 2

3124  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 15:23:26

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 1
รายการ ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร
โดย หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ วัดเวฬุวัน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

สารคดี ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร ตอนที่ 1

สารคดีธรรมะเชิงสร้างสรรค์แห่งวงการพุทธศา­สนา ที่นำเสนอเรื่องราวการเดินทางในผืนป่าทุ่ง­ใหญ่นเรศวร การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำคั­ญซึ่งเป็นผู้วางรากฐานในการบุกเบิกเส้นทาง­สายธุดงควัตรแห่งนี้นั่นก็คือ หลวงปู่สาคร ธัมมาวุโธ พระอุปัฏฐากหลวงปู่ฝั้น อาจาโร อยู่เป็นเวลาถึง ๑๐ ปี ท่านเป็นผู้ที่นำความช่วยเหลือและเชื่อมโย­งสายสัมพันธ์อันดีงามต่อประชาชนที่อาศัยอย­ู่ในพื้นที่ดั้งเดิม เพื่อนำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลซึ่งกันและก­ันระหว่างพระธุดงค์กับชาวบ้านในแถบนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอันเป็นตำนานแห่งการธุ­ดงควัตร ณ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรในศตวรรษนี้ พบกับเรื่องราวความผูกพันและประทับใจอันยา­กที่จะลืมเลือนระหว่างชาวบ้านวาชูคุและลูก­ศิษย์มากมายทั่วสารทิศของพระอรหันต์องค์สำ­คัญองค์หนึ่งนั่นก็คือ พระอาจารย์เสถียร สมาจาโร สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่นี่ ตามรอยเส้นทางสายธุดงควัตรอันเป็นตำนาน อะไรคือแรงดึงดูดให้ทุกคนมุ่งเข้ามา อะไรคือสิ่งที่ทุกคนค้นหา คิดตามได้ใน "ธุดงค์ทุ่งใหญ่นเรศวร"
 
3125  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: รวมภาพโบสถ์-วิหาร-ศาลา เก่าๆ เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 14:17:47
แห่งที่ ๒๐ วิหาร-ศาลา
"หอฉัน" วัดพระบรมธาตุ
อำเภอเมือง  จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพถ่าย : พ.ศ. ๒๕๕๗





หอฉัน วัดพระบรมธาตุ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ระหว่างการบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๗


แห่งที่ ๒๑ วิหาร-ศาลา
"วิหาร" วัดพิชัยปุรณาราม
อำเภอเมือง  จังหวัดอุทัยธานี

ภาพถ่าย : พ.ศ. ๒๕๕๘





วิหารพระพุทธชัยสิทธิ์ วัดพิชัยปุรณาราม สร้างในมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น บูรณเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗

 
แห่งที่ ๒๒ วิหาร-ศาลา
"วิหาร" วัดสุทธาวาส (วัดใหม่)
ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ภาพถ่าย : พ.ศ. ๒๕๕๙









วิหารพระพุทธบาท วัดสุทธาวาส ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี


แห่งที่ ๒๓ วิหาร-ศาลา
"อุโบสถ" วัดเขียน
ตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ภาพถ่าย : พ.ศ. ๒๕๕๘



ภาพถ่ายอุโบสถวัดเขียนก่อนการบูรณะ


ภาพอุโบสถปัจจุบัน หลังจากบูรณะแล้ว


แห่งที่ ๒๔ วิหาร-ศาลา
"อุโบสถุ" วัดทัพหลวง
ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่  จังหวัดอุทัยธานี

ภาพถ่าย : พ.ศ. ๒๕๕๘



โบสถ์หลังเก่าวัดทัพหลวง ได้รับการอนุรักษ์โดยดีดอุโบสถยกขึ้นสูง
มีฐานรากและเสาคอนกรีตแข็งแรงรองรับน้ำหนัก




อุโบสถแห่งใหม่ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

* หมายเหตุ รูปที่โพสต์ ระบุวันถ่ายภาพไว้แล้ว
   ณ กาลปัจจุบัน ศาสนสถานดังกล่าวอาจมีการปรับปรุงซ่อมแซม
   รูปลักษณ์อาจเปลี่ยนไป



แห่งที่ ๒๕ วิหาร-ศาลา
"หอพระไตรปิฎก" วัดทุ่งศรีเมือง
ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

วันเดือนปี ถ่ายภาพ : ๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙



หอพระไตรปิฎก วัดทุ่งศรีเมือง
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
เพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก นับเป็นหอไตรที่มีความงดงามที่สุด


หอพระไตรปิฎกวัดทุ่งศรีเมือง สร้างอยู่กลางสระน้ำ
ป้องกันมิให้มดปลวกไปกัดทำลายพระธรรมคัมภีร์


หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ ถูกจัดอันดับให้เป็นหอไตรที่มีงามงดงามที่สุด
ลักษณะของตัวอาคารเป็นแบบไทย - ศิลปะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว
โดยเฉพาะส่วนของหลังคาลักษณะศิลปะไทยผสมพม่า คือ ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น
และมีใบระกา  ส่วนหน้าบันทั้งสองด้านแกะสลักลวดลายศิลปะลาว ฝีมือชั้นสูง


คันทวยหอพระไตรปิฎกวัดทุ่งศรีเมือง แกะสลักเป็นรูปเทวดาและพญานาค
ประดับลวดลายอ่อนช้อยงดงาม


ฝาปะกนด้านล่างแกะเป็นรูปสัตว์ประจำราศรีต่างๆ


กาบล่าง สลักจากไม้ประดับตอนล่างของผนังตู้เก็บพระธรรม




ผนังตู้เก็บพระธรรม เขียนรูปสัตว์หิมพานต์ และลวดลายดอกไม้
ลงรักปิดทองประดับที่ผนังทั้งสี่ด้าน

พระคุณเจ้าวัดทุ่งศรีเมือง ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓
ยังไม่ได้ทำการบูรณะซ่อมแซม ทุกส่วนยังคงอยู่ในสภาพเดิม ท่านเป็นกังวลในเรื่องกลิ่นมูลของนกพิราบ
ซึ่งอาศัยอยู่จำนวนมากในหอไตรแห่งนี้ และทางวัดไม่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมได้ เพราะ
กรมศิลปากรได้จดทะเบียนเป็นสมบัติของชาติไปแล้ว     แม้การกั้นตาข่ายกันไม่ให้นกเข้าไปถ่ายมูล
ก็ไม่สามารถทำได้  ในเบื้องต้น วัดได้ทำหนังสือไปยังกรมศิลปากร  เพื่อขออนุญาตติดตาข่ายป้องกัน
นกพิราบ ยังไม่ได้รับคำตอบแต่อย่างใด ผู้โพสท์ก็ได้รับความรำคาญในเรื่องกลิ่นมูลและไรนกพิราบ
อยู่มาก มือข้างหนึ่งถือกล้องดิจิตอล มืออีกข้างยกชายเสื้อคลุมปิดจมูก ก็ทุลักทุเลพอสมควร...
3126  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / ปลาหมึกนึ่งมะนาว : สูตรและวิธีทำ เมื่อ: 02 มิถุนายน 2559 12:31:41
.



ปลาหมึกนึ่งมะนาว

• เครื่องปรุง
- ปลาหมึกสด  ½ กิโลกรัม
- ผักกาดขาวปลีลวกพอสุก หรือผักสลัดสดอื่นตามชอบ
- มะนาว
- คึ่นไช่
- น้ำจิ้มซีฟู๊ด


วิธีทำ
1.ทำความสะอาดปลาหมึก แล้วบั้งตามแนวเฉียง นำไปนึ่งไฟแรงพอสุก พักไว้
2.หั่นผักกาดขาวปลีให้เป็นฝอยละเอียด หั่นมะนาวเป็นชิ้นบางตามขวาง จัดวางในจานเสิร์ฟ
 วางทับบนผักด้วยปลาหมึกนึ่ง ราดด้วยน้ำจิ้มซีฟู๊ด โรยหน้าด้วยใบคึ่นใช่


วิธีทำน้ำจิ้มซีฟู๊ด: ผสมพริกขี้หนูสวน 20-30 เม็ด,  กระเทียมไทยแกะกลีบ ½ หัว, รากผักชีหั่น ½ ราก และเกลือป่น
                      โขลกให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลาดี และน้ำตาลทราย ชิมให้รสเปรี้ยวนำ




















3127  นั่งเล่นหลังสวน / เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว / Re: คุณค่าของพืชผักในครัวไทย เมื่อ: 01 มิถุนายน 2559 16:22:26

กระเทียม แก้แผลสด เลือดไม่หยุด

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย รู้ไว้ประเทืองปัญญา สามารถนำไปใช้ก่อนพบแพทย์ให้รักษา ซึ่งหากใครเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมหรือเป็นแผลสดเลือดไหลไม่หยุดให้เอา “กระเทียม” สดปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด ใช้มีดฝานเป็นแว่นบางๆ นำไปปิดทับแผลให้เต็มแล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้ ไม่นานเลือดจะหยุดได้ จากนั้นก็เอาออกไม่อันตรายอะไร นิยมใช้กันมาแต่โบราณแล้ว

กระเทียม หรือ ALLIUM SATIVUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE ในงานวิจัยพบว่า “กระเทียม” มีบทบาทลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่ม รักษาโรคความดันโลหิตสูง สาร “อัลลิซิน” มีแนวโน้มทำให้ระดับของ “คอเลสเทอรอล” ในเลือดลดลงด้วย ใบสดของ “กระเทียม” มีสารจำพวกวิตามินเกลือแร่ต่างๆเยอะ ที่โดดเด่นคือเบต้าแคโรทีน
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ


ใบมะกรูด ลดความดันโลหิต

สมุนไพร ใช้ลดความดันโลหิตสูงมีหลายสูตรอยู่ที่ใครกินหรือใช้แล้วได้ผลดีกับสูตรไหนก็ใช้สูตรนั้นได้ต่อเนื่อง และ “ใบมะกรูด” เป็นอีก วิธีหนึ่งขอแนะนำไปปฏิบัติคือเอาใบสดเป็นใบแก่ จำนวน 10 ใบ ต้มกับน้ำครึ่งลิตรจนเดือด ดื่มขณะอุ่น วันละ 2 เวลา เช้าเย็นครั้งละ 1 แก้ว ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ต้มดื่มประจำ ถ้าถูกทางยาจะช่วยให้ความดันโลหิตสูงลดลงได้ หากกินแล้วไม่ได้ผลสามารถเลิกได้ไม่มีอันตรายอะไร ใครที่มีความดันโลหิตสูงทดลองดูไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด

มะกรูด หรือ LEECH LIME, CITRUS HYSTRIX DC. อยู่ในวงศ์ RUTACEAE สรรพคุณเฉพาะตำรายาไทย น้ำมะกรูดแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ไอ ผลสดย่างไฟพอสลบสระผมป้องกันการเกิดรังแค ผิวผลปรุงเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ผลสดปิ้งไฟให้เกรียมละลายให้เข้ากับน้ำผึ้งใช้ทาลิ้นเด็กที่เกิดใหม่เป็นยาขับขี้เทา ขับผายลม แก้ปวดท้องดีมาก
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



มะเขือพวง กับวิธีแก้วนิ้วมือนิ้วเท้าชา

อาการนิ้วมือนิ้วเท้าชา มีสูตรบรรเทาได้ โดยชาวเขาเผ่าอีก้อระบุว่าให้เอาต้นกับใบสดของ “มะเขือพวง” กะจำนวนตามต้องการ ปั่นให้ละเอียดใส่นํ้าเล็กน้อย แล้วใช้ผ้าขาวบางกรองคั้นเอานํ้าทาและเอากากพอกบริเวณที่เป็น และต้มนํ้าอาบ จะช่วยบรรเทาปลายประสาทนิ้วมือนิ้วเท้าชา ให้ดีขึ้นได้ระดับหนึ่ง และยังช่วยให้คนที่เพิ่งเริ่มเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตใหม่ๆ ได้อีกด้วย สาร SOLASODINE, SOLA SODIENE ที่แยกได้จากใบ ต้านเชื้อไวรัสได้

มะเขือพวง หรือ SOLANUM TORVUM SW. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE มีต้นขายทั่วไป สรรพคุณเฉพาะลำต้นต้มนํ้าดื่มหรือเคี้ยวกินสดๆ แก้เมาเหล้าทำให้รสชาติของเหล้าจืดลง กินบ่อยๆ สามารถแก้โรคเบาหวานได้ แต่ไม่ใช่รักษาให้โรคเบาหวานหาย เมล็ดเผาไฟสูดเอาควันเข้าจมูกแก้ปวดฟัน รากสดตำพอกส้นเท้าที่แตกระแหงจนเป็นแผลให้หายดีมาก .
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



กระเจี๊ยบเขียว-หอมหัวใหญ่ บำรุงข้อและกระดูก

สูตรดังกล่าว ให้เอา “กระเจี๊ยบเขียว” สด 3 ผล กับ “หอมหัวใหญ่” สด 1 หัว ผ่าซีกแล้วนำทั้ง 2 อย่างต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด เคี่ยวให้เหลือครึ่งลิตร ดื่มเฉพาะน้ำขณะอุ่น ครั้งละครึ่งแก้ว 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ จะช่วยบำรุงข้อและกระดูกให้แข็งแรงขึ้น และยังเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกได้อีกด้วย ต้มดื่มบ่อยๆ ได้ไม่มีอันตราย

กระเจี๊ยบเขียว หรือ ABELMOSCHUS ESCULENTUS MOENCH, HIBICUS ESCULENTUS (L.) อยู่ในวงศ์ MALVACEAE มีถิ่นกำเนิดเขตร้อนทวีปแอฟริกาและเอเชียทั่วไป “หอมหัวใหญ่” หรือ ALLIUM CEPA LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE มีรกรากแถบเอเชีย

ตะวันตก กินสดมีสารชื่อ “อัลลิโปรบิลไตซัลไฟต์” แต่ปรุงผ่านความร้อน สารดังกล่าวจะระเหยทำให้เกิดสารชนิดใหม่ซึ่งจะมีรสหวานเข้ามาแทนที่.
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



สะเดา กับสรรพคุณน่ารู้

คนรุ่นใหม่ อยากทราบว่า “สะเดา” มีสรรพคุณทางสมุนไพรอะไรบ้าง ซึ่งในตำรายาแผนไทยระบุว่า ใบอ่อน แก้โรคผิวหนังนํ้าเหลืองเสียพุพอง ใบแก่ ช่วยย่อยอาหาร ดอก แก้กำเดาไหล แก้ริดสีดวงในลำคอที่เป็นเม็ดคันเหมือนกับมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ ผล แก้โรคหัวใจเต้นผิดปกติ กระพี้ แก้นํ้าดี พิการที่เป็นสาเหตุให้มีอาการคลั่งและเพ้อ รากต้มดื่ม แก้เสมหะเกาะแน่นในทรวงอกและเสมหะจุกในลำคอ เปลือกของราก แก้ไข้ทำให้อาเจียน ต้มนํ้าอาบแก้โรคผิวหนัง ก้านใบแก้ไข้ เมล็ดกลั่นนํ้ามันปรุงทำเครื่องสำอาง ใช้จุดตะเกียง ใบสดและเมล็ดสดมีสารกำจัดแมลงชื่อ AZADIRACHTIN ฆ่าเห็บหมัดไรได้ดีมาก

สะเดา หรือ AZADIRACHTA INDICA JUSS.VAR. SIAMENSIS VAL. ชื่อสามัญ SIAMESE NEEM TREE อยู่ในวงศ์ MELIACEAE เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 7-9 คู่ ปลายใบแหลม โคนเบี้ยว ยอดอ่อนที่แตกใหม่ๆ เป็นสีนํ้าตาลแดง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกขนาดเล็กจำนวนมาก มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นสีขาว มีเกสรตัวผู้ 10 อัน “ผล” กลมรี มีเนื้อฉ่ำนํ้า ผลแก่เป็นสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 1-1.5 ซม. ใน 1 ผล จะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดอกออกช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ทุกปี พบขึ้นตามที่แห้งแล้ง เป็นไม้เบิกนํ้าตามธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ มีชื่ออีกคือ สะเดาบ้าน (ภาคกลาง) สะเลียม (ภาคเหนือ) เดา, จะเดา (ภาคใต้) และ จะตัง (ส่วย)

มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ราคาแต่ละแผงไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ขนาดของต้น ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายสายพันธุ์ให้เลือกซื้อไปปลูกด้วย เช่น สะเดามัน สะเดาดำ หรือสะเดายอดทั้งปีครับ.
  ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ
3128  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมื่อ: 01 มิถุนายน 2559 15:59:39
.


ตำลึงตัวผู้ กับวิธีบรรเทาปวดหัวข้างเดียว

ปวดหัวข้างเดียวแต่ไม่ใช่เกิดจากการเป็นไมเกรน หากเริ่มมีอาการใหม่ๆ เป็นๆ หายๆ บรรเทาได้โดยให้เอาใบสดของ “ตำลึง” กับใบสดของต้นข่อย กะจำนวนเท่ากันตามที่ต้องการใช้ในแต่ละครั้ง และข้าวสารเหนียวหรือข้าวสารเจ้า ๑ ขยุ้มมือตำรวมกันทั้ง ๓ อย่างจนละเอียดใส่น้ำพอเปียกคั้นเอาเฉพาะน้ำทาบริเวณศีรษะข้างที่ปวดพอน้ำแห้งให้ทาใหม่เรื่อยๆ ประมาณครึ่งชั่วโมงอาการปวดจะหายได้ ซึ่งวิธีดังกล่าวไม่ใช่การรักษาให้หายขาดเป็นการบรรเทาเวลาเกิดอาการขึ้นเท่านั้น

ตำลึง หรือ COCCINIA GRANDIS LINN. VOIGT. อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE รากและใบขยี้ทาแก้คันถอนพิษปวด ใบแห้งและผลดิบ ลดน้ำตาลในเลือดได้ ข่อย หรือ STREBLUS ASPEP LOUR. เปลือกต้นดับพิษในกระดูกและเส้นเอ็น ใบสดปิ้งไฟชงน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อนๆ ดีมาก
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



ผีพวนน้อย รากแก้ไตพิการใหม่ๆ ได้

อาการของโรคไตพิการใหม่ๆ เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือสีแดง และมักจะมีอาการแน่นท้องจุกขึ้นไปถึงยอดอกกินอะไรไม่ได้มันแน่นไปหมด หากมีอาการตามที่กล่าวใหม่ๆ พอช่วยได้คือให้เอารากสดของต้น “พีพวนน้อย” กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มขณะอุ่นครั้งละ ๑ แก้ว ๒ เวลา ตอนไหนก็ได้ จะช่วยรักษาโรคไตพิการเป็นใหม่ๆให้หายได้ รากสดของ “พีพวนน้อย” ยังนำไปผสมกับรากสดหญ้าคา เหง้าต้นเอื้องหมายนาและลำต้นอ้อยแดงจำนวนเท่ากันกะตามเหมาะสมต้มกับน้ำมากหน่อย ให้สตรีที่มีรูปร่างผอม แห้งแรงน้อยดื่มต่างน้ำเรื่อยๆ ช่วยบำรุงเลือดทำให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลขึ้นอย่างเหลือเชื่อ

พีพวนน้อย หรือ UVARIA RUTABLUME ชื่อพ้อง UVARIA RIDLEYI KING อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง สามารถเลื้อยได้ไกลกว่า ๑๐ เมตร ลำต้นหรือเถาใหญ่ประมาณลำแขนผู้ใหญ่ แตกกิ่งก้านน้อย ใบออกสลับรูปรี ปลายแหลม โคนเว้าเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีแดงอมม่วง กลีบดอกมี ๖ กลีบ เรียงเป็น ๒ ชั้น “ผล” เป็นช่อห้อยลง ประกอบด้วยผลย่อยหลายผล ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองหรือสีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดเยอะ รับประทานได้ รสชาติหวานปนเปรี้ยว มีดอกและติดผลเดือนเมษายน-มิถุนายนทุกปี ติดผลแก่หรือสุกหลังจากมีดอก ๔ เดือน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นตามป่าธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะขึ้นตามริมห้วยริมลำธาร คนที่ชอบขึ้นเขาเข้าป่าจะรู้จัก “พีพวนน้อย” เป็นอย่างดี และมักจะเก็บผลสุกลงไปวางขายมัดเป็นช่อละหลายบาท มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆเยอะ เช่น นมแมว (ภาคกลาง) บุหงาใหญ่ (เหนือ) นมควาย (ใต้) นมแมวป่า (เชียงใหม่) หำลิง (อีสาน) ติงตัง (โคราช) ติงตังเครือ (ศรีสะเกษ-อุบลฯ) พีพวนน้อย (อุดรฯ)

ไม่มีวางขายที่ไหน แนะนำให้รู้จักประดับความรู้ครับ.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



หูเสือ แก้เจ็บคอทอนซิลอักเสบ

ในช่วงฤดูร้อน หากกินน้ำน้อยจะทำให้รู้สึกเจ็บคอเป็นประจำ หรือ บางครั้งอาจทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบได้ ในทางสมุนไพรมีวิธีช่วยหรือแก้ได้คือ ให้เอาใบสดของต้น “หูเสือ” จะเป็นใบใหญ่หรือเล็กก็ได้ตามแต่จะหาได้ จำนวน ๕ ใบ ล้างน้ำให้สะอาด สับรวมกับเนื้อหมูไม่ติดมันกะจำนวนตามต้องการ ไม่ต้องปรุงแต่งรสชาติหรือใส่อะไรลงไปอีก จากนั้นปั้นเป็นก้อนๆโตพอประมาณต้มกับน้ำไม่ต้องมากนักจนเดือด หรือจนเนื้อหมูสุก กินทั้งน้ำและเนื้อเช้า–เย็น ไม่ต้องกินกับข้าวสวย ทำกินติดต่อกันทุกวัน ๔-๕ วัน อาการเจ็บคอและอาการต่อมทอนซิลอักเสบจะบรรเทาขึ้นและหายได้ในที่สุด หากยังไม่หายต้มกินจนกว่าอาการจะหายไม่มีอันตรายอะไร เมื่อหายแล้วหยุดกินได้ สูตรดังกล่าวนิยมใช้กันมาแต่โบราณแล้ว

หูเสือ หรือ COLEUS AMBOINICUS LOUR อยู่ในวงศ์ LABIATEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี แตกกิ่งก้านเยอะ ใบหนาแข็งและมีขนกระจายทั่ว ขอบใบจักคล้ายใบพิมเสน แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ใบหนาแน่นคลุมดิน เป็นไม้ที่สามารถเก็บน้ำไว้เลี้ยงลำต้นและใบตัวเองได้เป็นเวลานานแม้จะขาดน้ำหลายๆ วัน ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำต้น มีชื่อเรียกอีกคือ ผักหูเสือ หูเสือไทย อีไหลหลึง หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ) และ หูเสือ (อีสาน) สมัยก่อนนิยมปลูกตามบ้านกันเยอะเพื่อเก็บใบสดกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ลาบ ก้อย ชาวอีสานและชาวเหนือชอบรับประทานอย่างกว้างขวาง

ประโยชน์ทางยา น้ำคั้นจากใบสดของต้น “หูเสือ” หยอดหูแก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู แก้หูเป็นน้ำหนวกดีมาก

อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “หูเสือจีน” มีความแตกต่างกันเพียงใบจะบางกว่าใบของต้นหูเสือไทย และใบจะกลมกว่าด้วย อย่างอื่นคล้ายกันหมด หากไม่สังเกตให้ดีจะดูไม่ออกว่าเป็นหูเสือไทยหรือหูเสือจีน ประโยชน์ทางยาใช้เหมือนกันทุกอย่าง มีชื่ออีกคือ โฮทิเช้า และ หูเสือจีน ครับ
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



กะทกรก ฆ่าตัวหิด
โรคหิด เป็นกันเยอะในยุคสมัยก่อน เป็นแล้วผิวหนังตามร่างกายดูน่าเกลียดมาก สังคมไม่ต้อนรับเนื่องจากเป็นโรคติดต่อกันได้ ในทางสมุนไพร ให้เอาใบสดของ “กะทกรก” ตามต้องการล้างน้ำให้สะอาด ตำจนละเอียดใส่น้ำลงไปเล็กน้อย แล้วเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ ๑ อาทิตย์จะแห้งหายได้ เพราะตัวหิดจะตายเกลี้ยง

กะทกรก หรือ PASSIFLORA FOETIDAL. อยู่ในวงศ์ PASSIFLORACEAE เป็นไม้เลื้อยล้มลุก มีมือเกาะ คนส่วนใหญ่จะรู้จักดี เพราะมีขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ใบเป็น ๓ แฉก ดอกเป็นสีเขียวอ่อน “ผล” รูปทรงกลมและพองลมสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดง มีเมล็ดจำนวนมากกินได้ รสเปรี้ยวปนหวาน ยอดอ่อนเป็นอาหาร ประโยชน์ทั้งต้นเป็นยาแก้เหน็บชา โดยให้เอาไปสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดพอสลบหรือสดก็ได้ ใช้ ๑ กำมือต้มกับน้ำ ๔ แก้ว เคี้ยวจนเหลือ ๒ แก้ว กินเช้า เย็น อาการเหน็บชาจะหายได้
  นสพ.ไทยรัฐ


ผักคราดหัวแหวน กับวิธีแก้ปวดฟัน
การปวดฟัน ที่เกิดจากฟันเป็นรูเพราะถูกแมงกินฟัน เป็นแล้วทรมานมาก กินอะไรไม่ได้ มันปวดร้าวไปหมดถึงน้ำตาร่วงเลยทีเดียว ในทางสมุนไพรช่วยได้คือให้เอาต้นสดของ “ผักคราด หัวแหวน” ๒ ต้นไม่รวมรากตำให้ละเอียด ใส่เกลือป่นลงไป ๑ ช้อนชา ใช้ผ้าขาวบางห่อบีบคั้นเอาน้ำแล้วใช้สำลีพันปลายไม้จิ้มฟันจุ่มกับน้ำดังกล่าวให้เปียก นำไปอุดรูฟันที่ปวดจะหายปวดทันที ทำวันละ ๒-๓ ครั้ง อาการปวดจะดีขึ้นและอาจหายได้

ผักคราดหัวแหวน หรือ PARA CRESS SPILANTHES ACMELLA MURR อยู่ในวงศ์ COMPOSITAI ต้นสดตำผสมเหล้าขาวหรือผสมกับน้ำสมสายชูเล็กน้อย อมแก้ฝีในลำคอ ใช้อุดรูฟันที่ถูกแมงกินฟัน แก้ปวดฟันได้ ช่อดอก ก้านช่อดอกมีสาร SPILANTHOL มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ สารสกัดจากต้นสดด้วยแอลกอฮอล์เทียบกับยาชา LIDOCAINE ได้ผลเร็วกว่า แต่ระยะออกฤทธิ์สั้นกว่า
  นสพ.ไทยรัฐ



แห้วหมู แก้โรคไข้เลือดออก
สมัยก่อน คนเป็นไข้เลือดออกเยอะ เมื่อเป็นแล้วส่วนใหญ่มักจะใช้สมุนไพรรักษาแบบง่ายๆ ซึ่งสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาไข้เลือดออกมีหลายชนิด และ “แห้วหมู” จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วย โดย ให้เอาหัว “แห้วหมู” แบบสดใช้ได้ทั้งหัว แห้วหมูใหญ่ หรือ แห้วหมูเล็ก จำนวน ๑ ขยุ้มมือผู้ใหญ่ ล้างน้ำให้สะอาดตำละเอียดผสมเหล้าขาว ๒๘ หรือ ๔๐ ดีกรี ก็ได้ ๑ แก้ว ใช้ผ้าขาวบางกรองบีบเอาน้ำดื่มให้หมด จะทำให้อาเจียน เมื่อหยุดอาเจียนแล้วอาการของไข้เลือดออกจะค่อยๆดีขึ้นและหายได้ในที่สุด

แห้วหมู หรือ NUTGRASS CYPERUS ROTUNDUS LINN. อยู่ในวงศ์ CYPERACEAE มี ๒ ชนิด จะต่างกันทั้งขนาดของต้นและรูปทรงของดอก หัว เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ การทดลองในสัตว์พบฤทธิ์ลดไข้ลดความดันโลหิต นอกจากนั้นยังพบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิด พันซิพารัม ด้วย
  นสพ.ไทยรัฐ



คำแสด กับสรรพคุณน่ารู้
ผู้อ่านไทยรัฐ จำนวนมากอยากทราบว่า “คำแสด” มีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งในตำรายาแผนไทยระบุสรรพคุณว่า เปลือกของราก ต้น “คำแสด” กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำจนเดือดดื่มขณะอุ่นวันละ ๒ เวลา ก่อนหรือหลังอาหารเช้าเย็น เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ใบ ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ แก้บิด ขับปัสสาวะ ผล ใช้เป็นยาฝาดสมาน เปลือกช่องเมล็ดมีสาร BIXIN ให้สีแดงใช้แต่งสีอาหารได้ เนื้อเมล็ด นำไปเข้ายาหอม ยาฝาดสมานแก้ไข้ แก้โรคหนองใน ได้ทั้งบุรุษและสตรี แก้ไข้มาลาเรีย ใช้ถอนพิษที่เกิดจากพิษมันสำปะหลังและต้นสบู่แดง

คำแสด หรือ BIXA ORELLANA LINN. ชื่อสามัญ ANNATO, ARNATTO, ROUCOU อยู่ในวงศ์ BIXACEAE มีถิ่นกำเนิดอเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยมีปลูกแพร่หลายทั่วไป เคยพบมากที่สุดในแถบจังหวัดสิงห์บุรี มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น สูง ๕-๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงสามเหลี่ยมหรือทรงฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้า สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ลักษณะดอกมีกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีขาวหรือสีชมพูอ่อน ใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกจำนวนมาก เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะงดงามยิ่ง “ผล” เป็นรูปไข่หรือรูปทรงกลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เวลาติดผลทั้งต้นจะดูแปลกตามาก ผลแก่แตกได้ ภายในมีเมล็ดเยอะ มีเปลือกหุ้มสีแดง ดอกและผลออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยคือ คำเงาะ, คำแงะ, คำไท, คำแฝด (กรุงเทพฯ) ชาด (ภาคใต้) ซิติหมัก (เลย) มะกายหยุม และ แสด (ภาคเหนือ)

คำแสด มีต้นขาย ทั่วไปที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ละแผงราคาไม่เท่ากันอยู่ที่ขนาดของต้น เหมาะจะปลูกเป็นทั้งไม้ประดับและใช้ประโยชน์ตามที่กล่าวข้างต้นคุ้มค่ามากครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ



ระย่อม ยาดีพื้นบ้าน
ระย่อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า RAUVOLFIA SERPENTINA (L.) BENTH. EX KURZ อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดลงรากใต้ดิน รากขนาดใหญ่และยาวมาก ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๓-๕ เมตร เนื้อไม้แข็ง ผิวเปลือกต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกหรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ใบดกและหนาแน่นในช่วงปลายยอด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็มแดง ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวสีแดงอมม่วง ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ ปลายกลีบดอกแหลมเป็นสีขาว ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๓ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักคู่ แบนและยาว มีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นอยู่ตามริมห้วยริมลำธารทั่วไป พบมากที่สุดทางภาคเหนือ รากจะมีขนาดใหญ่และยาวตามที่กล่าวข้างต้น มีชื่อเรียกอีกคือ กะย่อม, ย่อม, ย่อมตีนหมา, เข็ม และตูมคลาน

รากรสขม รากสดต้มน้ำดื่มแก้โรคเลือด แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร แต่รับประทานมากจะทำให้เมาได้ รากสดต้มน้ำดื่มช่วยย่อยอาหารและจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยหรือกินจุ อาจทำให้เกียจคร้านคล้ายกับคนสูบกัญชา แต่ไม่ใช่ยาเสพติด หากกินแบบพอดีจะมีประโยชน์มาก ในอดีตทหารญี่ปุ่นเอารากของ “ระย่อม” สดตำละเอียดกรอกปากม้ากินเพื่อถ่ายพยาธิด้วย เด็กที่มีพยาธิในตัวใช้รากดังกล่าวกินขับออกจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ซึ่งในรากของ “ระย่อม” มีสาร “อัลคาลอยด์” ชนิดหนึ่งสามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้

สมัยก่อน นิยมปลูกตามหมู่บ้านอย่างแพร่หลายเพื่อใช้เป็นยากลางบ้านหรือยาพื้นบ้านตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้นอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบางพื้นที่ยังนิยมใช้อยู่ครับ
  นสพ.ไทยรัฐ



     มะก่องข้าว กับสูตรแก้ปวดกระดูก
วิธีดังกล่าว ให้เอา “มะก่องข้าว” ทั้งต้นรวมรากแบบแห้ง ๑ กำมือต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือดแล้วเอาเนื้อห่อผ้าขาวบางประคบจุดที่ปวดกระดูกและดื่มน้ำที่ต้มครั้งละครึ่งแก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ หรือ จะเอาทั้งต้นแบบแห้งต้มน้ำอาบ จะช่วยให้อาการปวดกระดูกและอาการไข้ที่เกิดจากการปวดกระดูกที่อักเสบให้หายได้

มะก่องข้าว หรือ CHINESE BELL FLOWER, COUNTRY MALLOW ABUTILON INDICUM SWEET. อยู่ในวงศ์ MALVACEAE มีขึ้นเองตามที่รกร้างทั่วไป และมีชื่อเรียกอีกเยอะ ทั้งต้น เป็นยาบำรุงโลหิตขับลมช่วยให้เจริญอาหาร รากบำรุงธาตุแก้มุตกิด (อาการปัสสาวะขุ่น เสียวมดลูก ตกขาว มีกลิ่นเหม็น ปวดชายกระเบนเหน็บในสตรี) แก้ไอบำรุงกำลัง ใบหรือทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้โรคเบาหวานดีมาก ใบตำพอกบ่มหนองให้สุกและแตกเร็ว ขยี้อุดฟันแก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ
  นสพ.ไทยรัฐ



โคกกระออม ยาดีข้างถนน
ตำรายาไทย ระบุว่า ทั้งต้นรวมราก ของ “โคกกระออม” จำนวนพอประมาณตัดเป็นท่อนเล็กๆต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เป็นยา แก้ไขข้ออักเสบได้ดีระดับหนึ่ง สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งต้นยังนำ ไปผสมตัวยาอื่น เป็นยาแก้หอบหืดได้อีกด้วย ปัจจุบันยังนิยมใช้กันอยู่

ใบสด กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มแก้ไอ ตำพอกฝีให้แตกเร็วและหายได้ ต้นหรือเถาต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ดอก ขับโลหิต ผลตำ พอกดับพิษไฟลวกไม่ให้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด สด กินแก้ไอ ขับเหงื่อ รากตำ คั้นเอาเฉพาะน้ำหยอดตาแก้ตาต้อ รากตำ เอากากพอกแก้พิษ แมลงพิษต่อยหรือถูกงูพิษกัดก่อนพาส่งโรงพยาบาลให้แพทย์รักษา ยอดอ่อน สดกินขับปัสสาวะ กินเป็นผักสดได้ แต่รสชาติจะขมมาก แพทย์จีน ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขับน้ำนมทำให้เกิดน้ำนมในสตรี ท้องระบายเป็นยาแก้ไข้ น้ำคั้นจากใบสดหยอดตาแก้ตาเจ็บได้

โคกกระออม BALLOON-VINE, HEARTPEA หรือ CARDIOS PERMUM HALICACABUM LINN. อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ขึ้นตามที่รกร้างข้างถนนทั่วไป ต้นเป็นเหลี่ยมสีเขียว มีมือเกาะคล้ายตำลึง ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ขอบใบหยักลึก ๓ แฉก ดอกสีเหลืองอ่อน ดอกขนาดเล็กคล้ายดอกมะระ ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ มีดอกย่อย ๘-๑๐ ดอก มีกลีบดอก ๔ กลีบ มีเกสรเป็นกระจุก “ผล” ทรงกลม โตประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ พองลมเป็นสามเหลี่ยมสีเขียวอ่อนใส ห้อยลงคล้ายโคมไฟสวยงามมาก หากเอาผลบีบให้แตกจะมีเสียงดัง ภายในมีเมล็ดสีดำ ดอกออกช่วงปลายฤดูร้อนไปจนถึงปลายฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่ออีกคือต้นต้อก, ลุมลับเครือ, เครือผักไล่น้ำ, โพออม, ติ๊นไข่และไหน มีปลูกเฉพาะตามสวนยาเท่านั้น หากต้องการต้นจะต้องเสาะหากันเองไม่มีวางขายครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ



มะลิวัลย์เถา
Jasminum siamense Craib
OLEACEAE


ไม้เลื้อยเป็นพุ่มกึ่งล้มลุก แตกกิ่งก้านน้อย โคนต้นมีเนื้อไม้ กิ่งอ่อนมีขนละเอียด

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีกว้างถึงรูปใบหอก ปลายใบแหลมมีติ่งขนาดเล็ก ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้านหรือมีขนละเอียดที่โคนใบของเส้นกลางใบเมื่อยังอ่อนอยู่ ไม่มีตุ่มใบ

ดอกช่อกระจุก ออกที่ปลายยอด ดอกย่อย ๑-๓ ดอกเกลี้ยง วงกลีบเลี้ยงเหมือนใบเชื่อมติดกันเป็นหลอด
กลีบดอก สีขาว กลิ่นหอม หลอดดอกยาว
ผลสด มีเนื้อหลายเมล็ด รูปคล้ายทรงกลม เมื่อสุกสีส้มถึงแดง
ดอก บำรุงหัวใจ




คนทีสอต้น
Vitex trifolia L.
Lamiaceae (VERBENACEAE)


ไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๔ เมตร กิ่งก้านมีขน
ใบ ประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย ๓ ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอก ขอบเรียบ ปลายแหลม โคนสอบ ท้องใบสีนวลขาว มีขน
ดอก ออกเป็นช่อ แยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอก ๕ กลีบ สีฟ้าอมม่วง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น ๒ ปาก
ผล สด ทรงกลม มีเมล็ดเดียว
ใบ บำรุงน้ำดี ขับลม ใบ ใช้แก้กลิ่นสาบในร่างกาย เคี้ยวอมตอนเช้าทุกวันทำให้ฟันแข็งแรง
ดอก แก้ไข้ แก้พิษ และหืดไอ และใช้หั่นผสมเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก
ลูก แก้มองคร่อ และหืดไอ ริดสีดวง ท้องมาน
ราก ใช้แก้โรคตับ โรคตา ถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
ชาวบ้านใช้ใบแห้งบดเป็นผง ทำขนมคนทีโดยผสมแป้งและน้ำตาล นึ่งจนสุก




คนทีเขมา
Vitex negundo L.
Lamiaceae (VERBENACEAE)


ไม้พุ่ม สูง ๑-๕ เมตร
ใบ ประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม ใบย่อย ๕ ใบ อาจมี ๓ ใบย่อย หรือ ๗ ใบย่อย รูปใบหอกแคบ ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบหยัก
ดอกช่อ แยกแขนง ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อย สีขาวแกมม่วงอ่อน กลีบรองดอกเชื่อมติดกัน เป็นถ้วย ปลายแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอก ๕ กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เชื่อมกันที่โคน ปลายกลีบล่างแผ่โค้ง เกสรผู้ ๔ อัน
ผล รูปทรงกลม ขนาดเล็ก
เปลือก แก้ไข้ และฟกบวม แก้ริดสีดวง แก้ลมเสียดแทง แก้พยาธิ
ใบ แก้เสมหะ
ยาง ขับเลือดและลมให้กระจาย ฆ่าแม่พยาธิ และคุดทะราด บำรุงกำลัง
น้ำคั้นจากใบสด รับประทานแก้ปวดศีรษะ แก้เยื่อจมูกอักเสบ
ใบสด ขยี้ ทาถอนพิษสาหร่ายทะเล ปวดแสบปวดร้อน
ราก แก้ลม ขับเหงื่อ แก้ริดสีดวงแห้ง
รากและใบ รับประทานหรือประคบแก้ปวดตามข้อ ปวดตามกล้ามเนื้อ




ต้นกำเนิด “ยาธาตุน้ำเปลือกอบเชย”

หลายคนอาจเคยได้ยิน ‘ยาธาตุน้ำเปลือกอบเชย’ แต่ก็มีอีกหลายคนเคยกินเคยใช้ ย่อมรู้ดีถึงสรรพคุณโดดเด่นช่วยย่อยอาหาร แก้อาการท้องอืดเฟ้อที่ได้ผลดีไม่แพ้ยาแผนปัจจุบัน บางท่านบอกว่าใช้แล้วรู้สึกดีกว่า และกินง่ายอร่อยกว่าด้วยซ้ำ

ยาธาตุน้ำเปลือกอบเชยนี้ได้รับการประกาศให้เป็นรายการบัญชียาหลักแห่งชาติในส่วนที่เป็นยาจากสมุนไพร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ เรียกได้ว่ายกชั้นจากตำรับยาที่ใช้กันในหมู่ประชาชนทั่วไปสู่ระดับชาติ และถือเป็นกรณีศึกษาที่สำคัญในการนำเอาตำรับยาพื้นบ้านสู่การยอมรับของประเทศ 

แต่หลายคนอาจไม่รู้ประวัติความเป็นมาของตำรับยานี้  จึงขอนำมาบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

ขอย้อนหลังกลับไป พ.ศ.๒๕๒๒ ปีก่อตั้งโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง (ก่อนจะกลายมาเป็นมูลนิธิสุขภาพไทย) ช่วงเวลานั้นเจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งพื้นที่แรกในการทำงานอยู่ในอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา และได้รู้จักกับผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งนับว่าเป็นบุคคลแรกๆ ที่ถอยห่างจากระบบการเกษตรสมัยใหม่ที่มีแต่สร้างหนี้สินและบั่นทอนสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต

การทำงานของโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองสมัยนั้น เก็บรวบรวมตำรายาพื้นบ้านมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ตำรายาของหมอจันดี เข็มเฉลิม ซึ่งเป็นแพทย์ประจำตำบลเกาะขนุน อ.สนามชัยเขต และคือคุณพ่อของผู้ใหญ่วิบูลย์ นั่นเอง

หมอจันดี เป็นหมอยาไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างมากในอดีต ในตำรายาดังกล่าว มีตำรับยาน้ำเปลือกอบเชยอยู่ด้วย ซึ่งผู้ใหญ่วิบูลย์นำมาต้มเผยแพร่ และทางโครงการสมุนไพรฯ ก็นำมาขยายผลต่อเมื่อเริ่มไปทำงานในภาคอีสาน โดยเฉพาะที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ผลปรากฏว่า ทั้งชาวบ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในช่วงปี ๒๕๒๕-๒๕๒๘ นิยมชมชอบตำรับยานี้มาก มีการขยายตัวผ่านโรงพยาบาลชุมชุนหลายแห่ง  สรรพคุณยา แก้อาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยย่อยอาหารอย่างดี  ยิ่งผู้สูงอายุที่มักมีอาการกินอาหารแล้วย่อยยาก พอจิบยาธาตุน้ำเปลือกอบเชยสัก ๑-๒ ช้อน สบายท้องไปตามๆ กัน ฯ

มาถึงตรงนี้ ขอแนะนำตำรับยาน้ำเปลือกอบเชยให้รู้จัก ดังนี้คือ เปลือกอบเชย เปลือกสมุนแว้ง ชะเอมเทศ ดอกกานพลู น้ำหนักสิ่งละ ๕๐ กรัม การบูร ๑ ช้อนชา เมนทอล ๑ ช้อนชา น้ำ ๗,๐๐๐ ซีซี (สูตรนี้จะได้ยาปริมาณมาก หากต้มกินเองลดลงตามส่วนได้)

วิธีเตรียม 
นำสมุนไพรทั้ง ๔ อย่างต้มน้ำประมาณ ๑๕ นาที จากนั้นตั้งทิ้งไว้พออุ่น จึงเติมการบูรและเมนทอล แล้วหาขวดยามาบรรจุเก็บไว้ (ขวดยาควรนำไปนึ่งทำความสะอาดก่อน)

วิธีใช้ ผู้ใหญ่ ครั้งละ ๒-๓ ช้อนโต๊ะ เด็กลดลงตามส่วน รับประทานหลังอาหารหรือทุก ๒-๓ ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวดท้อง จุกเสียด แน่นเฟ้อ ยาธาตุเปลือกอบเชยนี้รสชาติอร่อยมาก ทำนองเด็กกินได้ผู้ใหญ่กินดี

หากใครสนใจตำรับยานี้ สามารถติดต่อมูลนิธิสุขภาพไทยได้ แต่ถ้าใครอยากทำเองแต่ไม่สามารถหาตัวยาได้ครบ แนะนำให้ใช้เปลือกอบเชยเทศเท่านั้น น้ำหนัก ๑๕ กรัม ต้มในน้ำ ๑ ลิตร ให้เดือดนาน ๕-๑๐ นาที กินแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยได้ผลดีเช่นกัน

อบเชยเป็นสมุนไพรที่ให้กลิ่นหอม ชาวอียิปต์รู้จักใช้มาตั้งแต่เมื่อ ๓,๕๐๐ ปีแล้ว และในปัจจุบันก็ค้นพบและยอมรับในสรรพคุณทางยาเพิ่มมากขึ้น ในอบเชยมีส่วนประกอบสำคัญ คือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งในทางยาไทยถือว่า มีรสเผ็ด หวาน สุขุม กินแล้วช่วยทั้งขับลม ช่วยย่อย และยังบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจด้วย


ที่มา : สมุนไพรเพื่อสุขภาพ  โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทย, หนังสือมติชนรายสัปดาห์
3129  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เมื่อ: 01 มิถุนายน 2559 15:57:20
.

มะก่องข้าว กับสูตรแก้ปวดกระดูก
วิธีดังกล่าว ให้เอา “มะก่องข้าว” ทั้งต้นรวมรากแบบแห้ง ๑ กำมือต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือดแล้วเอาเนื้อห่อผ้าขาวบางประคบจุดที่ปวดกระดูกและดื่มน้ำที่ต้มครั้งละครึ่งแก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ หรือ จะเอาทั้งต้นแบบแห้งต้มน้ำอาบ จะช่วยให้อาการปวดกระดูกและอาการไข้ที่เกิดจากการปวดกระดูกที่อักเสบให้หายได้

มะก่องข้าว หรือ CHINESE BELL FLOWER, COUNTRY MALLOW ABUTILON INDICUM SWEET. อยู่ในวงศ์ MALVACEAE มีขึ้นเองตามที่รกร้างทั่วไป และมีชื่อเรียกอีกเยอะ ทั้งต้น เป็นยาบำรุงโลหิตขับลมช่วยให้เจริญอาหาร รากบำรุงธาตุแก้มุตกิด (อาการปัสสาวะขุ่น เสียวมดลูก ตกขาว มีกลิ่นเหม็น ปวดชายกระเบนเหน็บในสตรี) แก้ไอบำรุงกำลัง ใบหรือทั้งต้นต้มน้ำดื่มแก้โรคเบาหวานดีมาก ใบตำพอกบ่มหนองให้สุกและแตกเร็ว ขยี้อุดฟันแก้ปวดฟัน แก้เหงือกอักเสบ
  นสพ.ไทยรัฐ



โคกกระออม ยาดีข้างถนน
ตำรายาไทย ระบุว่า ทั้งต้นรวมราก ของ “โคกกระออม” จำนวนพอประมาณตัดเป็นท่อนเล็กๆต้มกับน้ำท่วมยาจนเดือด ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ เป็นยา แก้ไขข้ออักเสบได้ดีระดับหนึ่ง สมัยก่อนนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งต้นยังนำ ไปผสมตัวยาอื่น เป็นยาแก้หอบหืดได้อีกด้วย ปัจจุบันยังนิยมใช้กันอยู่

ใบสด กะจำนวนพอประมาณต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มแก้ไอ ตำพอกฝีให้แตกเร็วและหายได้ ต้นหรือเถาต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ดอก ขับโลหิต ผลตำ พอกดับพิษไฟลวกไม่ให้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ด สด กินแก้ไอ ขับเหงื่อ รากตำ คั้นเอาเฉพาะน้ำหยอดตาแก้ตาต้อ รากตำ เอากากพอกแก้พิษ แมลงพิษต่อยหรือถูกงูพิษกัดก่อนพาส่งโรงพยาบาลให้แพทย์รักษา ยอดอ่อน สดกินขับปัสสาวะ กินเป็นผักสดได้ แต่รสชาติจะขมมาก แพทย์จีน ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่มขับน้ำนมทำให้เกิดน้ำนมในสตรี ท้องระบายเป็นยาแก้ไข้ น้ำคั้นจากใบสดหยอดตาแก้ตาเจ็บได้

โคกกระออม BALLOON-VINE, HEARTPEA หรือ CARDIOS PERMUM HALICACABUM LINN. อยู่ในวงศ์ SAPINDACEAE เป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ขึ้นตามที่รกร้างข้างถนนทั่วไป ต้นเป็นเหลี่ยมสีเขียว มีมือเกาะคล้ายตำลึง ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ขอบใบหยักลึก ๓ แฉก ดอกสีเหลืองอ่อน ดอกขนาดเล็กคล้ายดอกมะระ ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ มีดอกย่อย ๘-๑๐ ดอก มีกลีบดอก ๔ กลีบ มีเกสรเป็นกระจุก “ผล” ทรงกลม โตประมาณปลายนิ้วหัวแม่มือผู้ใหญ่ พองลมเป็นสามเหลี่ยมสีเขียวอ่อนใส ห้อยลงคล้ายโคมไฟสวยงามมาก หากเอาผลบีบให้แตกจะมีเสียงดัง ภายในมีเมล็ดสีดำ ดอกออกช่วงปลายฤดูร้อนไปจนถึงปลายฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่ออีกคือต้นต้อก, ลุมลับเครือ, เครือผักไล่น้ำ, โพออม, ติ๊นไข่และไหน มีปลูกเฉพาะตามสวนยาเท่านั้น หากต้องการต้นจะต้องเสาะหากันเองไม่มีวางขายครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ



ระย่อม ยาดีพื้นบ้าน
ระย่อม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า RAUVOLFIA SERPENTINA (L.) BENTH. EX KURZ อยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กชนิดลงรากใต้ดิน รากขนาดใหญ่และยาวมาก ต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน ๓-๕ เมตร เนื้อไม้แข็ง ผิวเปลือกต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปใบหอกหรือรูปรี ปลายและโคนใบแหลม ใบดกและหนาแน่นในช่วงปลายยอด

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ลักษณะดอกคล้ายดอกเข็มแดง ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวสีแดงอมม่วง ปลายแยกเป็นกลีบดอก ๕ กลีบ ปลายกลีบดอกแหลมเป็นสีขาว ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๐.๓ ซม. เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก “ผล” เป็นฝักคู่ แบนและยาว มีเมล็ดหลายเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย โดยจะขึ้นอยู่ตามริมห้วยริมลำธารทั่วไป พบมากที่สุดทางภาคเหนือ รากจะมีขนาดใหญ่และยาวตามที่กล่าวข้างต้น มีชื่อเรียกอีกคือ กะย่อม, ย่อม, ย่อมตีนหมา, เข็ม และตูมคลาน

รากรสขม รากสดต้มน้ำดื่มแก้โรคเลือด แก้ไข้ ช่วยเจริญอาหาร แต่รับประทานมากจะทำให้เมาได้ รากสดต้มน้ำดื่มช่วยย่อยอาหารและจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยหรือกินจุ อาจทำให้เกียจคร้านคล้ายกับคนสูบกัญชา แต่ไม่ใช่ยาเสพติด หากกินแบบพอดีจะมีประโยชน์มาก ในอดีตทหารญี่ปุ่นเอารากของ “ระย่อม” สดตำละเอียดกรอกปากม้ากินเพื่อถ่ายพยาธิด้วย เด็กที่มีพยาธิในตัวใช้รากดังกล่าวกินขับออกจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ซึ่งในรากของ “ระย่อม” มีสาร “อัลคาลอยด์” ชนิดหนึ่งสามารถรักษาอาการเหล่านี้ได้

สมัยก่อน นิยมปลูกตามหมู่บ้านอย่างแพร่หลายเพื่อใช้เป็นยากลางบ้านหรือยาพื้นบ้านตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้นอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันบางพื้นที่ยังนิยมใช้อยู่ครับ
  นสพ.ไทยรัฐ



สาบแร้งสาบกา ยาดีข้างทาง
ไม้ต้นนี้ พบมีขึ้นตามธรรมชาติในที่รกร้างข้างทางทั่วไป มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศไทยคือ หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่) ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียนแม่ฮาง (เลย) และ หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี) ซึ่งต้น “สาบแร้งสาบกา” เป็นชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า AGERATUM CONY-ZOIDES LINN. อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง มักงอกรากที่โคนต้น ต้นสูง ๑๕-๑๐๐ ซม. กิ่งก้านที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุม ต้นและใบสดเด็ดขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงเป็นที่มาของชื่อ “สาบแร้งสาบกา” ใบเดี่ยว ออกสลับหรือตรงกันข้าม รูปไข่ ขอบใบหยัก โคนใบป้าน ปลายใบแหลม ทั้ง ๒ ด้านมีขนละเอียด ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก ๓-๕ ดอก ดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงอ่อน “ผล” รูปทรงกลม เมื่อแก่ไม่แตก ภายในมีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทางยา ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว มูเซอ ใช้รากและใบสดเคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร แก้ไข้ ปวดศีรษะ รากและใบสดตำพอกหรือคั้นน้ำทารักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด แก้อาการอักเสบจากพิษแมลงกัดต่อย เช่น พิษตะขาบ แมงป่อง เป็นต้น

ยาพื้นบ้าน ใช้ทั้งต้นรวมรากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ทับระดู ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ใบสดตำคั้นน้ำดื่มช่วยให้อาเจียนและตำพอกแก้คันตามผิวหนังร่างกาย การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำต้มจากทั้งต้นรวมราก หรือเฉพาะรากเพียงอย่างเดียวมีฤทธิ์ระงับความปวดมีความแรงเท่ากับ “มอร์ฟีน”

ต้น “สาบแร้งสาบกา” เป็นยาดีข้างทางที่พบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ไม่มีต้นวางขายที่ไหน ส่วนใหญ่นิยมปลูกเฉพาะตามสวนยาสมุนไพรไทยและสวนยาจีนเท่านั้น จึงแนะนำเพื่อเป็นความรู้ครับ.
  นสพ.ไทยรัฐ



มะพลับไทย แก้กามตายด้าน

สถิติ ผู้ชายเป็นโรคกามตายด้าน หรือ “ลึงค์ตาย” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหนุ่มและแก่ ซึ่งทางสมุนไพร ให้เอา เปลือกต้น “มะพลับไทย” แห้งหรือสดจำนวนตามต้องการ ปิ้งไฟให้กรอบหัก ห่อผ้าขาวบางต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มต่างน้ำเรื่อยๆ สามารถแก้กามตายด้านหรือ “ลึงค์ตาย” ได้ และช่วยบำรุงให้เกิดกำหนัดดีมาก น้ำต้มดังกล่าวยังอมกลั้วในปาก ๕ นาทีหลังอาหาร ๓ เวลาบ้วนทิ้ง รักษาแผลในช่องปาก ทำให้เหงือกและฟันทนแข็งแรง เปลือกต้นและเนื้อไม้ของ “มะพลับไทย” แห้งหรือสดยังต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหารแก้ท้องร่วงด้วย

มะพลับไทย หรือ มะพลับป่า DIDSPYROS EMBRYOPTERIS SIAMENSIS อยู่ในวงศ์ EBENACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๐-๑๕ เมตร ดอกสีขาว “ผล” กลม เมื่อสุกเป็นสีแดง เนื้อรสหวานกินได้ ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเอง
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



เกสรบัวหลวง แก้ขี้หลังขี้ลืม

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ปัจจุบันคนหันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะสมุนไพรเป็นทางเลือกที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และ “เกสรบัวหลวง” เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้อาการขี้หลงขี้ลืม แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นอัลไซเมอร์ได้ คือให้เอา “เกสรบัวหลวง” แห้ง ๑ หยิบมือ กับ มะตูม แห้ง ๓ แว่น และ ตะไคร้แกง สด ๓ ต้นไม่เอาใบ ต้มกับน้ำ ๑ ลิตร ดื่มวันละ ๑ แก้ว ก่อนอาหารเช้า ประมาณ ๑ อาทิตย์จะดีขึ้นและเห็นผลอย่างชัดเจน สามารถต้มดื่มเรื่อยๆ ได้ ไม่อันตรายอะไร คนอายุ ๗๐ ปี ต้มดื่มได้

บัวหลวง หรือ NELUMBO NUCIFERA GAERTN. อยู่ในวงศ์ NELUMBONACEAE กลีบดอกเป็นยาฝาดสมาน เหง้าเป็นยาเย็น “ดีบัว” หรือต้นอ่อนในเมล็ดสีเขียวออกฤทธิ์ขยายเส้นเลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจ เกสรเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ เป็นส่วนหนึ่งในเกสรทั้ง ๕ ทั้ง ๗ และทั้ง ๙
 
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



งิ้ว เกสรอร่อย สรรพคุณดี

งิ้ว พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไปในประเทศไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือ ชาวเหนือรู้จัก “งิ้ว” เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะมีขึ้นเองตามป่าธรรมชาติแล้วยังนิยมปลูกไว้ในบริเวณบ้านกันอย่างแพร่หลายมาแต่โบราณเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหาร คือ เกสรตัวผู้จากดอกของ “งิ้ว” นำไปตากแห้งโรยในขนมจีนนํ้าเงี้ยวหรือปรุงเป็นแกงแครับประทานอร่อยมาก ซึ่งอาหารทั้ง ๒ อย่างจะขาดเกสรของดอก “งิ้ว” ไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด

ในทางสมุนไพรและการใช้ประโยชน์อื่นๆ ราก นำไปต้มกับนํ้าจนเดือดดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนเพื่อขับและถอนพิษต่างๆออกจากร่างกาย เปลือกต้นใช้ทำเชือก ยาง จากต้นแก้ท้องร่วงได้ เนื้อไม้ทำฟืน ทำฝาบ้าน หีบใส่ของ ผลิตเป็นของเล่นเด็กๆ แบบยุคโบราณหลายอย่าง ซึ่งในยุคปัจจุบันไม่พบเห็นอีกแล้ว ทำก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ไม้จิ้มฟัน ทำไม้อัด เยื่อกระดาษใบแห้งหรือสด ตำทาแก้บวมชํ้าดีมาก ดอกแห้ง ปรุงเป็นยาทาระงับปวดและแก้พิษได้

งิ้ว หรือ BOMBAX CEIBA LINN อยู่ในวงศ์ BOMBACA CEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง ๑๐-๒๐ เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม กิ่งแขนงแผ่กางออกเกือบตั้งฉากกับลำต้น ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย ๕-๗ ใบ รูปรี ดอก ออกเป็นช่อกระจุก ๓-๕ ดอกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย ๓-๔ แฉกไม่เท่ากัน กลีบดอก ๕ กลีบเป็นสีแดง ปลายกลีบม้วนออก ซึ่งอีกชนิดดอกเป็นสีเหลือง แต่ละดอกมีเกสรตัวผู้เป็นกระจุกติดกันเป็นกลุ่ม และเกสรดังกล่าวนำไปตากแห้งเป็นอาหารตามที่กล่าวข้างต้น “ผล” รูปรี หรือรูปขอบขนานคล้ายผลนุ่น มีเมล็ดสีดำจำนวนมากหุ้มด้วยปุยนุ่นสีขาว ดอกออกเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ทุกปี และจะทิ้งใบก่อนจะมีดอกทุกครั้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีชื่อเรียกอีกคือ นุ่นนาง งิ้วแดง ปักมี้ (จีน) งิ้วป่า งิ้วปงแดง และ งิ้วบ้าน มีดอกแห้งขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๔
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



ชุมแสง ความเชื่อดีมีสรรพคุณ

สมัยก่อน ตามชนบทนิยมปลูกต้น “ชุมแสง” อย่างแพร่หลาย เนื่องจาก ในยุคนั้นเวลาจะสร้างหลังคาโบสถ์ของวัด คาน ขื่อ และ แป จะต้องใช้เนื้อไม้จากต้น “ชุมแสง” เท่านั้น จึงจะเป็นมงคล และนอกจากจะมีความเชื่อดีๆ ตามที่กล่าวแล้ว ต้น “ชุมแสง” ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรด้วย คือ ราก เปลือกต้น และใบ เอาไปผสมกับเนื้อไม้ต้นสะแกแสง เนื้อไม้ต้นสะแบงและเนื้อไม้ต้นสังวาลย์–พระอินทร์จำนวนพอประมาณ หรือใกล้เคียงกัน นำทั้งหมดไปแช่ในน้ำต้มจนเนื้อยาออก แล้วตักอาบ เช้าเย็นแก้โรคผิวหนังผื่นคันพุพองได้ดีมาก

ชุมแสง หรือ XANTHO PHYLLUM LAN CEATUM (MIQ) อยู่ในวงศ์ XANTHOPHYLLACEAE เป็นไม้ต้น สูง ๘-๑๕ เมตร ใบเดี่ยวออกสลับรูปขอบขนาน ดอกออกตามซอกใบสีม่วงอ่อนแกมสีเหลืองอมน้ำตาล “ผล” กลม มีเมล็ด พบขึ้นทุกภาคของประเทศไทย มีชื่ออีกคือ กันแสง ไม้แสง และประดงทอง
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



สาบแร้งสาบกา ยาดีข้างทาง

ไม้ต้นนี้พบมีขึ้นตามธรรมชาติในที่รกร้างข้างทางทั่วไป มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศไทยคือ หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่) ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียนแม่ฮาง (เลย) และ หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี) ซึ่งต้น “สาบแร้งสาบกา” เป็นชื่อที่นิยมเรียกกันทั่วไป มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า AGERATUM CONY-ZOIDES LINN. อยู่ในวงศ์ ASTERACEAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง มักงอกรากที่โคนต้น ต้นสูง ๑๕-๑๐๐ ซม. กิ่งก้านที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุม ต้นและใบสดเด็ดขยี้จะมีกลิ่นเหม็น จึงเป็นที่มาของชื่อ “สาบแร้งสาบกา” ใบเดี่ยว ออกสลับหรือตรงกันข้าม รูปไข่ ขอบใบหยัก โคนใบป้าน ปลายใบแหลม ทั้ง ๒ ด้านมีขนละเอียด ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก ๓-๕ ดอก ดอกเป็นสีขาวหรือสีม่วงอ่อน “ผล” รูปทรงกลม เมื่อแก่ไม่แตก ภายในมีเมล็ด ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทางยา ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว มูเซอ ใช้รากและใบสดเคี้ยวกินหรือต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะอาหาร แก้ไข้ ปวดศีรษะ รากและใบสดตำพอกหรือคั้นน้ำทารักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด แก้อาการอักเสบจากพิษแมลงกัดต่อย เช่น พิษตะขาบ แมงป่อง เป็นต้น

ยาพื้นบ้าน ใช้ทั้งต้นรวมรากต้มน้ำดื่มแก้ไข้ทับระดู ขับเสมหะ ขับลม แก้บิด ใบสดตำคั้นน้ำดื่มช่วยให้อาเจียนและตำพอกแก้คันตามผิวหนังร่างกาย การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์และน้ำต้มจากทั้งต้นรวมราก หรือเฉพาะรากเพียงอย่างเดียวมีฤทธิ์ระงับความปวดมีความแรงเท่ากับ “มอร์ฟีน”

ต้น “สาบแร้งสาบกา” เป็นยาดีข้างทางที่พบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ไม่มีต้นวางขายที่ไหน ส่วนใหญ่นิยมปลูกเฉพาะตามสวนยาสมุนไพรไทยและสวนยาจีนเท่านั้น จึงแนะนำเพื่อเป็นความรู้ครับ.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



ก้ามปูหลุด แก้ข้อบวมปวด

ตำรายาจีน ระบุว่า ใบสด ของต้น “ก้ามปูหลุด” จำนวนตามต้องการใช้แต่ละครั้งตำพอละเอียด เอาเนื้อพอกจุดที่ข้อบวมและปวดวันละครั้งตอนไหนก็ได้ ตำพอกทุกวัน ๑-๒ อาทิตย์จะดีขึ้นและหายได้ ยาแผนไทย เอาทั้งต้นรวมรากแบบสดจำนวนพอประมาณ ตำละเอียดผสมเหล้าขาว ๒๘ หรือ ๔๐ ดีกรีเล็กน้อย แล้วเอาทั้งน้ำและเนื้อพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น จะช่วยให้ไม่ปวดแสบปวดร้อนและแผลค่อยๆ ดีขึ้น ทั้ง ๒ วิธีทดลองดูไม่มีอันตรายอะไร

ก้ามปูหลุด หรือ TRADESCANTIA ZEBRINA HORT. EX BOSSE ชื่อพ้อง ZEBRINA PENDULA SCHNIZL. ชื่อสามัญ WAN DERING JEW อยู่ในวงศ์ COMME-LINACEAE เป็นไม้คลุมดินลำต้นทอดเลื้อย ใบสองสีสวยงามมาก มีต้นขายทั่วไป นิยมปลูกประดับแพร่หลาย.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



ไม้เท้าเฒ่าอารี สรรพคุณดีมีต้นขาย

ในประเทศไทย รู้จักต้น “ไม้เท้าเฒ่าอาลี” มาช้านานแล้ว และรู้จักนำเอาบางส่วนของต้นไปใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรมาแต่โบราณเช่นกัน โดยเฉพาะในแถบ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ด้วยการนำเอากิ่งก้านและเนื้อไม้หรือลำต้นจะแก่หรืออ่อน สดหรือตากแห้งก็ได้ กะจำนวนตามต้องการ ต้มกับน้ำจนเดือดดื่มวันละ ๔ เวลาก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ ๑ แก้วประจำ จะช่วยเพิ่มพลังทางเพศให้บุรุษได้ดีมาก จึงทำให้มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า ต้น “ตุกะอาลี” แต่เป็นไม้ที่พบขึ้นทั่วไปบนเขาสูงและป่าดิบชื้นใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และมีชื่อเรียกตามสรรพคุณอีกว่า “เจ้าคุณกวนเมีย”

ในประเทศมาเลเซีย เรียกไม้ต้นนี้ว่า “สตรองกัสอาลี” และได้นำเอาเนื้อไม้ไปทำเป็นผงบรรจุใส่แคปซูลออกวางขาย โดยได้จดทะเบียนยาเป็นลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศมาเลเซีย ซึ่งชาวมาเลเซียถือเป็นยาไวอากร้าของประเทศเขาเลยทีเดียว

ไม้เท้าเฒ่าอาลี หรือ “สตรองกัสอาลี” ยังมีสรรพคุณดีอีกหลายอย่าง คือ สามารถรักษาโรคผิวหนังด้วยการต้มอาบ โรคร้ายแรงเช่นเอดส์และมะเร็งผิวหนังได้ระดับหนึ่ง และยังนำไปเข้ายา เช่น ต้นแกแล ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ต้นไกรทอง และอื่นๆอีกมากกว่า ๑๐ ชนิด จำนวนแตกต่างกันตามตำรับยาโบราณและพิกัดยาแผนไทย ทำเป็นห่อๆต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มต่างน้ำเรื่อยๆ กินจนยาจืดช่วยคลายเส้นคลายกล้ามเนื้อแก้เกาต์ ลดอาการบวมที่เกิดจากเกาต์ และลดน้ำตาลในเลือดหรือโรคเบาหวานได้ระดับหนึ่ง ส่วนคนไม่เป็นเบาหวาน สามารถนำไปดองกับเหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ดื่มครั้งละ ๑ แก้วตะไลก่อนอาหารและก่อนนอนได้

ไม้เท้าเฒ่าอาลี เป็นไม้พุ่ม สูง ๔-๕ เมตร ผ่าหรือตัดเนื้อไม้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบประกอบออกเรียงสลับ ใบย่อยออกตรงกันข้ามรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯบริเวณโครงการ ๒๑  ราคาสอบถามกันเองครับ.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



กระทกรก ฆ่าตัวหิด

โรคหิด เป็นกันเยอะในยุคสมัยก่อน เป็นแล้วผิวหนังตามร่างกายดูน่าเกลียดมาก สังคมไม่ต้อนรับเนื่องจากเป็นโรคติดต่อกันได้ ในทางสมุนไพร ให้เอาใบสดของ “กะทกรก” ตามต้องการล้างน้ำให้สะอาด ตำจนละเอียดใส่น้ำลงไปเล็กน้อย แล้วเอาน้ำทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ ๓ เวลา เช้า กลางวัน เย็น ประมาณ ๑ อาทิตย์จะแห้งหายได้ เพราะตัวหิดจะตายเกลี้ยง

กะทกรก หรือ PASSIFLORA FOETIDAL. อยู่ในวงศ์ PASSIFLORACEAE เป็นไม้เลื้อยล้มลุก มีมือเกาะ คนส่วนใหญ่จะรู้จักดี เพราะมีขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ใบเป็น ๓ แฉก ดอกเป็นสีเขียวอ่อน “ผล” รูปทรงกลมและพองลมสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดง มีเมล็ดจำนวนมากกินได้ รสเปรี้ยวปนหวาน ยอดอ่อนเป็นอาหาร ประโยชน์ทั้งต้นเป็นยาแก้เหน็บชา โดยให้เอาไปสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดพอสลบหรือสดก็ได้ ใช้ ๑ กำมือต้มกับน้ำ ๔ แก้ว เคี้ยวจนเหลือ ๒ แก้ว กินเช้า เย็น อาการเหน็บชาจะหายได้.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



เพชรสังฆาต กับวิธีแก้่กระดูกเสื่อม

ผู้สูงอายุไม่น้อยเพิ่งเริ่มมีอาการปวดกระดูกตามข้อต่างๆ ของร่างกาย แต่ยังไม่รุนแรง อยากทราบว่ามีสมุนไพรอะไรบ้างที่มีสรรพคุณบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ซึ่งก็เคยแนะนำไปแล้วคือให้เอาต้น “เพชรสังฆาต” กับหัวจุกมะพร้าวน้ำหอม แก่นต้นเถาวัลย์เปรียง และว่านหางจระเข้ไม่ปอกเปลือกแบบสด ทั้งหมดเท่ากันกะตามต้องการต้มกับน้ำ ๒ ลิตร จนเดือดดื่มครั้งละ ๓ ส่วน ๔ แก้ว เช้า กลางวัน เย็น ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ถ้าดื่มแล้วอาการดีขึ้นต้มดื่มจนยาจืดและต้มดื่มต่อเนื่องจะหายได้ หลังจากนั้นต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์เฉพาะทางให้รักษาประจำจะไม่เกิดอาการปวดขึ้นอีก

เพชรสังฆาต หรือ CISSUS QUADRANGULALIS LINN. อยู่ในวงศ์ VITACEAE เถาสดกินแก้ริดสีดวงทวาร วันละ ๑ ข้อจนครบ ๓ วัน โดยหั่นบางๆ ใช้เนื้อมะขามเปียกหรือกล้วยสุกหุ้มกลืนทั้งหมด เพราะเถาอาจจะทำให้คันคอได้
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



ตะลิงปลิง กับวิธีรักษาโรคคางทูม

ในยุคสมัยก่อน คนเป็นโรคคางทูมกันเยอะ เป็นแล้วบริเวณลำคอใต้คางจะนูนขึ้นมองเห็นอย่างชัดเจน ซึ่งในยุคนั้น คนที่มีอาการของโรคดังกล่าวจะเดินทางไปพบแพทย์เฉพาะทางลำบากมาก เนื่องจากบ้านอยู่ห่างไกลโรงหมอหรือสุขศาลา ส่วนใหญ่จึงอาศัยหมอพื้นบ้านให้เจียดสมุนไพรรักษาให้ โดยเอาใบสดของ “ตะลิงปลิง” ประมาณ ๑ กำมือล้างนํ้าให้สะอาด ตำหรือโขลกพอละเอียดใส่นํ้าลงไปเล็กน้อย จากนั้นเอาทั้งนํ้าและเนื้อพอกบริเวณที่เป็นคางทูม ๒ เวลา เช้าเย็น พร้อมเปลี่ยนตัวยาไปเรื่อยๆ ทุกวัน ประมาณ ๑ อาทิตย์จะหายได้ ปัจจุบันโรคคางทูมแทบไม่พบอีกแล้ว แนะนำให้เป็นความรู้

ตะลิงปลิง หรือ AVERRHOA BILIMBI LINN. ชื่อสามัญ BILIMBI, CUCUMBER TREE อยู่ในวงศ์ AVERRHOACEAE เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๒ เมตร ใบประกอบ ออกสลับ มีใบย่อย ๒๕-๓๕ ใบ เป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนสอบและมีขนนุ่มทั้งใบ ดอก ออกเป็นช่อตามโคนต้นและกิ่งแก่ มีกลีบดอก ๕ กลีบ เป็นสีแดงอมม่วง ใจกลางดอกเป็นสีนวล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑-๑.๕ ซม. มีเกสรตัวผู้ ๑๐ อัน สั้นยาวอย่างละ ๕ อัน “ผล” รูปกลมรีกว้างประมาณ ๒ ซม. ยาวประมาณ ๔ ซม. ผลแบ่งเป็นพูตื้นๆ ๕ พู เนื้อผลฉ่ำนํ้า รสเปรี้ยวจัด ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกจะเป็นสีเขียวอมเหลือง ภายในมีเมล็ด มีดอกและติดผลเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและตอนกิ่ง มีถิ่นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย อเมริกาเขตร้อน ในประเทศไทยมีปลูกมาแต่โบราณแล้ว จนกลายเป็นไม้ไทยไปโดยปริยาย มีชื่อเรียกอีกคือปลีมิง (มาเลเซีย-นราธิวาส) และ หลิงปลิง (ภาคใต้)

ทางอาหาร ผลสดปรุงอาหารที่ต้องการให้มีรสเปรี้ยว แปรรูปเป็นผลไม้แห้ง แช่อิ่ม ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพร ใบสดรักษาโรคผิวหนัง ขับเสมหะครับ.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



จาวตาล ละลายนิ่วถุงน้ำดี

จาวตาล คือเนื้อในของลูกตาล ที่ได้จากการเอาผลตาลสุกไปเพาะเป็นต้นกล้า เมื่อมีต้นแทงขึ้นจากหัวผลตาลยาวประมาณ ๔-๕ นิ้วฟุต ให้รีบปอกเปลือกแล้วผ่าเอาเนื้อในจะเป็นจาวเหมือนจาวมะพร้าวรับประทานหวานหอมอร่อยมาก เรียกว่า “จาวตาล” ซึ่งจาวตาลดังกล่าวจำนวน ๑ จาว แบ่งกิน ๓ ครั้ง คือ เที่ยง ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ บ่ายสามโมงและสามทุ่ม กินติดต่อกัน ๗ วัน จะละลายนิ่วในถุงน้ำดีสำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าเพิ่งเป็นใหม่ๆ ได้ สามารถกินได้ต่อเนื่องไม่อันตรายอะไร

ตาล หรือ BORASSUS FLABELLIFER LINN. อยู่ในวงศ์ ARECACEAE ใบสดหรือแห้งคั่วไฟอ่อนๆ พอกรอบแล้วบดเป็นผงสูบหรือเป่า ลดความดันโลหิต รากสดต้มน้ำดื่มครั้งละ ๑ แก้ว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ กาบหรือก้านใบสด อังไฟให้ร้อนแล้วบีบเอาน้ำกินแก้ท้องร่วมหรืออมบ้วนทิ้งแก้ปากเปื่อยได้
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



สะบ้ามอญ สรรพคุณดี

ในยุคสมัยก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่มีวิธีรักษาเส้นผมให้แข็งแรงและดกดำเป็นเงางามอยู่เสมอด้วยธรรมชาติ คือ เอาใบกิ่งก้านที่ยังไม่แก่ของ “สะบ้ามอญ” มากน้อยตามต้องการใช้ในแต่ละครั้ง ทุบพอชํ้าแล้วผึ่งลมให้หมาดนำไปตีกับนํ้าในกะละมังจะเกิดฟองลื่นเหมือนฟองสบู่ จากนั้นเอานํ้าดังกล่าวชโลมเส้นผมให้ทั่ว ขยี้เกาเหมือนการสระผมจนพอใจแล้วล้างนํ้าออก จะทำกี่ครั้งได้ตามใจชอบ เมื่อใช้ผ้าเช็ดเส้นผมจะพบว่ามีกลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ เส้นผมแข็งแรงดกดำเป็นเงางามไม่แตกปลายและไม่เป็นรังแคทำให้คันหนังศีรษะ ลำต้นกิ่งก้านยังใช้เป็นยาขับพยาธิผิวหนังโดยใช้ภายนอกได้อีก เมล็ดสุมไฟจนเป็นเถ้ากินแก้พิษไข้ดีระดับหนึ่ง

สะบ้ามอญ หรือ ENTADA SCANDENS, CENTH. อยู่ในวงศ์ MIMOSEAE เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแบนและมักบิดเป็นเกลียว ดอกเป็นช่อกระจุกสีขาวอมเหลือง “ผล” เป็นฝักยาว มีเมล็ด ๕-๗ เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงเข้ม รูปทรงคล้ายสะบ้าหัวเข่า ในเทศกาลสงกรานต์ชาวมอญนิยมเอาเมล็ดไปทอยเรียกว่าเล่น “สะบ้า” จึงถูกเรียกชื่อว่า “สะบ้ามอญ” พบขึ้นตามป่าราบทุกภาคของประเทศไทย

สะบ้ามีอีก ๓ ชนิด แต่ละชนิดเป็นไม้เถาเลื้อยเหมือนกัน แตกต่างเพียงเมล็ดและฝักคือ “สะบ้าลาย” มีเมล็ด ๒-๓ เมล็ด ไม่นิยมใช้เป็นสมุนไพร ชนิดที่ ๒ คือ “สะบ้าดำ” มี ๗-๘ เมล็ด ขนาดของเมล็ดและฝักเล็กกว่า “สะบ้ามอญ” นิยมเอาเมล็ดเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิดเหา ผื่นคัน โรคผิวหนังต่างๆ และสุดท้ายได้แก่ “สะบ้าเลือด” เปลือกเมล็ดจะแข็งมาก นิยมเอาไปหุงเป็นนํ้ามันทาแก้กลากเกลื้อนดีมาก

ปัจจุบันต้น “สะบ้ามอญ” หายากแล้ว ใครต้องการต้นไปปลูกต้องเดินสอบถามตามแผงขายไม้ไทยโบราณ ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ ให้ผู้ขายช่วยจัดหาให้ ส่วนเมล็ดของ “สะบ้ามอญ” ตามภาพประกอบคอลัมน์ มีขายที่บริเวณโครงการ ๒๔ สามารถนำเมล็ดไปเพาะเป็นต้นได้ ราคาสอบถามกันเองครับ.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



ดีปลี กับวิธีแก้โรคภูมิแพ้

สมุนไพรแก้โรคภูมิแพ้ มีหลายอย่าง แต่ “ดีปลี” ที่แนะนำในวันนี้ ใช้ได้ผลดีระดับหนึ่งกับคนทุกธาตุ โดยให้เอาดอก “ดีปลี” ๓๐ กรัม หัวตะไคร้แกง ยาว ๒ นิ้วฟุต ๓๐ กรัม ขิง แก่หรืออ่อนก็ได้ ๓๐ กรัม ทั้งหมดแบบแห้ง และใบต้นหนุมานประสานกาย จำนวน ๔๐ ใบย่อยแบบสด นำทั้งหมดต้มรวมกันในน้ำมากหน่อยจนเดือดดื่มก่อนอาหารครึ่งแก้วเช้าเย็น ดื่มไปเรื่อยๆ อาการโรคภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบ มีเสมหะเยอะจะดีขึ้นให้ต้มดื่มจนกว่าจะหาย

ดีปลี หรือ LONG PEPPER, PIPER RETROFLACTUM VAHL. อยู่ในวงศ์ PIPERA-CEAE สรรพคุณเฉพาะ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุกตากแห้งใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องเสีย ขับรกหลังคลอด โดยให้ใช้ผล ๑๐-๑๕ ผล ต้มน้ำดื่มเป็นยา ช่วยแก้ไอด้วย ผลแห้งครึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวเกลือป่นเล็กน้อยกวาดคอ หรือจิบบ่อยๆ มีฤทธิ์ขับลม แก้ไอได้ดีมาก
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ



แปะก๊วย กับสรรพคุณน่ารู้

สตรีหลังคลอดจะมีอาการปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกจะหย่อน เป็นแล้วบางครั้งไอหรือจามจะกลั้นไม่อยู่ ปัสสาวะไหลหรือเล็ดได้ ทำให้รู้สึกรำคาญมาก สามารถแก้ได้คือ ให้เอา “แปะก๊วย”๗ เม็ด หรือ ๑๐ เม็ด เผื่อเสีย เอาทั้งเปลือกคั่วไฟให้เปลือกเกรียมเกือบดำ จากนั้นกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อในที่ยังคงมีเยื่อหุ้มอยู่กินก่อนอาหารทุกวัน วันละครั้งจนครบ ๑๐ วัน ทำกินต่ออีกแบบเดิม แต่ครั้งนี้ให้เอาเยื่อหุ้มออกกินจนครบ ๑๐ วันเช่นกัน และ ที่สำคัญก่อนนอนจะต้องขมิบช่องคลอดช่วยด้วย ครั้งละไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ครั้ง อาการปัสสาวะบ่อยจะหายได้ ยังทำให้มดลูกกระชับดีด้วย

แปะก๊วย หรือ GINKGO BILOBA เป็นไม้ยืนต้น สูง ๑๕-๒๐ เมตร ใบคล้ายใบขึ้นฉ่าย ดอกเป็นสีขาวนวล “ผล” รูปกลมรีคล้ายลูกรักบี้ เนื้อในผลเป็นสีเหลือง มีดอกและผลปีละ ๒ ครั้ง มีผลแห้งขายทั่วไป ส่วนต้นมีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ ๒๑ ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป

สรรพคุณเฉพาะ ใบของ “แปะก๊วย” ช่วยให้โลหิตหัวใจสมองไหลเวียนดี บำรุงร่างกาย แก้อาการหูอื้อ ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท ความจำ เสื่อมขี้หลงขี้ลืมยังไม่ถึงขั้นเป็นอัลไซเมอร์ ชะลอความแก่ เสริมภูมิต้านทานในร่างกาย โดยให้เอาใบแห้งหรือสดต้มกับนํ้า ครั้งละ ๓-๑๒ กรัม ดื่มวันละ ๒ เวลา เช้ดาเย็นก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ ครั้งละ ๑ แก้ว ถ้าเป็นแบบบรรจุห่อสำเร็จ ๑ ซอง ต้มได้ ๕ ครั้ง สัดส่วน ๑ ครั้งต่อนํ้า ๓ แก้ว ดื่มประจำจะดีมาก ผลทั้งเปลือก ๑๐ ผล ต้มนํ้าผสมนํ้าตาลทรายแดงเล็กน้อย ดื่มแก้โรคฉี่บ่อยและไตไม่ปกติได้ ดังนั้น ต้น “แปะก๊วย” จึงเหมาะจะปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เป็นทั้งอาหารและประโยชน์ทางยาตามที่กล่าวข้างต้นได้คุ้มค่าครับ.
 ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ

fu
3130  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / นันโทปนันทสูตรคำหลวง เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2559 16:23:44
.



นันโทปนันทสูตรคำหลวง

นันโทปนันทสูตรคำหลวง เป็นพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทรงนิพนธ์ขณะที่ออกผนวชเพื่อหลบหนีพระราชอาญา เนื่องจากลอบทำร้ายพระภิกษุเจ้าฟ้านเรนทร์หรือกรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพิโรธมาก มีรับสั่งให้ตามจับตัวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรมาประหารชีวิต แต่เจ้าฟ้านเรนทร์ทรงช่วยไว้ โดยแนะนำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรหนีไปผนวชที่วัดโคกแสง ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศคลายพิโรธแล้วจึงค่อยลาผนวชกลับไป ช่วงเวลาที่ผนวชอยู่นี้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงนิพนธ์เรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวงขึ้น มีผู้สันนิษฐานว่าคงมีพระประสงค์เพื่อล้างบาปที่ฟันพระภิกษุ หรือเพื่อดำเนินรอยตามการแต่งมหาชาติคำหลวงซึ่งเป็นวรรณคดีศาสนาเช่นกัน

ลักษณะคำประพันธ์แต่งเป็นร่ายยาวโดยมีคาถาภาษาบาลีนำ เริ่มเรื่องด้วยการอารัมภบทว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระทรงทรมานพระยานันโทปนันทนาคราช และบอกชื่อผู้แต่งตามฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “สิริปาโลภิกขุ” ทรงพระนามตามอิสริยศักดิ์ว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นำเอาเรื่องนันโทปนันทสูตรมาแต่งโดยตั้งใจให้เป็นภาษาที่สละสลวยและมีเนื้อความครบตามพระบาลี แล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยและขอให้ผู้แต่งปราศจากอันตรายและความเจ็บป่วยทั้งหลายดังความต่อไปนี้
“...อหํ อันว่าข้า สิริปาโล นาม ผู้ชื่อมหาสิริบาลเมื่อในกาลบรรพัช ครั้นนิวัตรนิเวสเป็นกษัตรเพศวรำ ธมฺมธิเปสฺสชยเชฏฐสุริยวํส นาม กชื่อเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงศ์เสวยรัชชงศฤงคาร วังบวรสถานมงคล ดำกลเป็นฝ่ายหน้า ผจญปัจจามิตรแพ้พ่าย นมสฺสิตฺวา ถวายนมัสการบังคม ชินพุทฺธํ ซึ่งสมเด็จพระชิเนนทรทศพล อันผจญเบญจวิธมารทังห้ากดี แลข้าพระองค์นี้กนมัสการเคารพย์ สทฺธมฺมํ จ ซึ่งพระนพโลกุดดรธรรมทังเก้าแลพระปริยัติธรรมเจ้าทังหลาย หมายทังแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธนั้นกดี แลพระสัทธรรมนี้อุดดมา อมลํ อันนฤมลาจากมุทิล แลข้าถวิลนมัสการ อริยสํฆํ จ ซึ่งพระอัษฎาริยสงฆ์ก็ดี ตราบเท้าสมมุดดิสงฆนี้กบังคม อุตฺตมํ อันอุดดมบวรา ครั้นแลข้าถวายนมัสการ ซึ่งพระรตนัตไตรยสถานเสร็จประณาม นบ วกฺขามิ กปรารพภ์เพื่อจักกล่าววตฺถุํ ในเรื่องราวนิทานธรรม นนฺโทปนนฺนมามกํ อันชื่อนันโทปนนท์ ปวรํ อันมีพจนุสนธิบวร สิลิฏฐํ ให้เกลี้ยงเกลาในอักษรแลพากยา สามภาสายด้วยสยามภาษาแห่งไทย นิสฺสาย เหตุอาไศรยพระบาฬี มคธภาสํ ซึ่งมีในมคธภาษา...”

จากนั้นกล่าวถึงการสร้างสมบารมีของพระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ กล่าวถึงพระโมคคัลลานะอัครสาวกของพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้มีความปรารถนาจะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นมัจฉาทิฐิ และกล่าวถึงการทรมานนันโทปนันทนาคราชของพระโมคคัลลานะ มีเนื้อเรื่องดังนี้

วันหนึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและสาวกไปรับบิณฑบาตที่บ้านของตน ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยทิพยญาณว่าพระยานันโทปนันทนาคราชเคยสร้างกุศลไว้ในชาติก่อน ควรจะได้รับรสพระธรรม แต่พระยานันโทปนันทนาคราชยังมีมิจฉาทิฐิจะต้องทรมานให้มีศรัทธาในศาสนาของพระองค์เสียก่อน พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพระโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องซ้ายมีอิทธิฤทธิ์อาจทรมานพระยานันโทปนันทนาคราชให้ละพยศเสียได้ เมื่อสว่างแล้วจึงมีรับสั่งให้พระอานนท์และสาวกตามเสด็จไปยังเทวโลก แล้วทรงแสร้งนำพระสาวกเหาะไปเหนือวิมานของพระยานันโทปนันทนาคราช พระยานันโทปนันทนาคราชแลเห็นก็โกรธ นำบริวารนาคเหาะขึ้นไปทำอิทธิฤทธิ์ขวางทางไว้และกล่าวดูหมิ่นพระพุทธเจ้า พระสาวกหลายรูปรับอาสาจะไปปราบพญานาค แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระโมคคัลลานะไปทรมานสั่งสอนพระยานันโทปนันทนาคราช พระโมคคัลลานะจึงออกไปลองฤทธิ์กับพระยานันโทปนาคราชจนพญานาคยอมจำนน พระโมคคัลลานะจึงนำพระยานันโทปนันทนาคราชไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อสมาทานศีลและรับฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จากนั้นพระพุทธเจ้าและพระสาวกจึงพากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อจบเรื่องได้บอกที่มาของเรื่องว่ามาจากเรื่องนันโทปนันทสูตร ของพระมหาพุทธสิริเถระในคัมภีร์ทีฆนิยกาย ดังนี้

“...พุทฺธสิริตฺเถเรน สงฺคายิตํ นนฺโทปนนฺทวตฺถุนิฏฐิตํ เถโร  อันว่าพระมหาเถระอันเปนพระชิเนนโทรรสา พุทธฺสิรินาม ผู้ชื่อพระมหาพุทธศิริกสำแดง สงฺคายิตํ แต่งแต่ลิลิษฏฺฐํ ให้เกลี้ยงเกลาในบทพระบาฬี นนฺโทปนนฺทวตฺถุ อันมีในนนโทปนนทปกรณัม นิฏฺฐิตํ กสำเร็จในดำนานนิทาน อิติ เมาะ อิมินา ปกาเรน ด้วยประการด่งงนี้ แล...”

และบอกนามผู้นิพนธ์อีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับข้อความตอนต้นเรื่องทุกประการว่า พระมหาสิริบาลหรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่งขึ้นเพื่อจรรโลงความยินดีปรีดาของสมณชีพราหมณ์ เสนาอำมาตย์ ราชบัณฑิต และประดับสติปัญญาแก่ปราชญ์ทั้งหลาย ตามด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน ๒ บท และความเรียงว่าด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งและเวลาที่แต่ง ดังต่อไปนี้
“นนโท            พ่ายลิศยซ้าย     ภควา
ปะนนทะ          นาเคนทรา        กราบเกล้า
สูตร              ทีฆนิกายสา       ทรเลอศ
บริบูรณ          ธรรมพระเจ้า       เทศนไว้ควรยอฯ

เจ้าฟ้าธรรม       ท่านแท้           พยายาม
ธิเบศร            กุมารนาม         บอกแจ้ง
ไชยเชษฐ         ปัญญาคาม       ภีรภาพ
สูริยวงษ์           ธรงแต่งแกล้ง      กล่าวเกลี้ยงนนโทฯ

พระบาฬีนนโทปนนทสูตรนี้ พระมหาพุทธสิริเถรเจ้าแต่งไว้ก่อน บ่มิได้ลงพุทธสักราชไว้ว่าเมื่อแรกแต่งพระบาฬีสำเร็จน้นน พุทธสักราชได้เท่าน้นนเท่าน้นน แลเจ้าฟ้าธรงพระผนวชกรมขุนเสนาพิทักษ์ มาธรงแต่งเปนเนื้อความคำประดับครั้งนี้ เมื่อสำเร็จน้นนพระพุทธสักราชล่วงแล้วได้ ๒๒๗๙ ปีกับ ๓ เดือน ในวาร ทุติยาสาธ ปีมโรงนักสัตร อัษฐศก จุลสักราช ๑๐๕๘ ศก...”

การใช้ภาษาในนันโทปนันทสูตรคำหลวง มีคำแผลงและคำภาษาโบราณปะปนมาก เช่น อุบัดดิ (อุบัติ) ประเสอรรดิ (ประเสริฐ) พิเศส (พิเศษ) ทอรมาน (ทรมาน) บรรสัษย (บริษัท) ฉพอะ (เฉพาะ) ฯลฯ แต่มีบรรยายโวหารที่ละเอียด มีการเปรียบเทียบก่อให้เกิดจินตภาพได้เป็นอย่างดี เช่น ตอนพระโมคคัลลานะทรมานพญานันโทปนันทนาคราช ดังนี้
“อถ เตน สิเนรุนา นิปฺปิลิยมานํ อุรคราชสฺส ทีฆปุถุสรีรํ อวิรตสนฺทเสทํ เตลนิปฺปิตฺตติ ลวิชปุรตฺตํ เวตฺตปจฺฉิกํ วิย อตีตนุกมโหสิฯ

ในกาลนั้น อันว่ากายแห่งโภคินทรราชา พระมหาโมคคัลลานหนีบเข้าไว้ แลกายอันใหญ่มหิมา กน้อยเข้านักหนามานทำเนียบ เปรียบกระเช้าอันเขาทำด้วยหวายแห่งนายช่างเตลาบีบน้ำมันงากยวิกย แลกายิกแห่งโภเคนทรราชา มีเสทารินรี่ไหลสรกปรี่บมิขาด หยาดเสทางคเปนธาร กมีในกาลนั้น แล

อถ นาคราชา ธุมาสิ ในกาลนั้น อันว่าสัลปราชา กบังหวนธูรรมาให้กลุ้มไป ในทิศานุทิศ แล”


ที่มา: สารานุกรมวัฒนธรรมไทย พิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
3131  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: ชีวิต-ผลงาน ครู 'เหม เวชกร' เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2559 15:43:46
ภาพพาหุง
โดย ครูเหม  เวชกร

บทที่ ๗ ผะจญพญาภุชงค์
นนฺโทปนนฺทภุชคํ วิพุธํ มหิทฺธึ

ใจความว่า พระสัพพัญญูเสด็จอยู่ ณ วัดพระเชตุพน
ครั้งนั้นอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีออกไปทูลอาราธนาเข้ามาฉันที่เรือน
พร้อมกับพระสงฆ์ ๕๐๐ องค์ ในวันพรุ่งนี้ พระพุทธองค์ก็รับกิจนิมนต์ 
ครั้นราตรีใกล้รุ่งพระองค์ก็พิจารณาดูโลก ได้เห็นอุปนิสัยพญานันโทปนันทนาค
ผู้จะได้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์  ครั้นรุ่งขึ้นพระองค์ก็พาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์
เหาะไปสู่เทวโลก พญานาคเห็นก็โกรธว่า พระสมณะเหาะข้ามศีรษะ
จึงบันดาลขนดกายใหญ่พันเขาพระเมรุไว้ เลิกพังพานบังดาวดึงส์พิภพ
พระพุทธองค์ก็ส่งพระโมคคัลลานเถระไปทรมาน พระมหาเถระก็นิมิตกาย
เป็นนาคมัดพญานาคไว้ ต่างฝ่ายต่างสำแดงฤทธิ์กันต่างๆ เป็นโกลาหลยิ่งนัก
ภายหลังพญานาคก็แพ้ฤทธิ์พระมหาเถระ แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์
พระพุทธเจ้าก็พาพระสงฆ์ ๕๐๐ องค์ มาฉันบ้านมหาอนาถบิณฑิกเศรษฐี



๑.พญาภุชงค์กำลังสำราญรมย์ เห็นพระพุทธองค์จะเสด็จข้ามเศียรไปสวรรค์ก็โกรธ


๒.สำแดงเดชกลายเพศเป็นพญานาคพันภูเขา ขัดขวางทางเสด็จพุทธดำเนิน


๓.พระโมคคัลลาน์ปาฏิหาริย์เป็นพญานาคตัวใหญ่กว่า ยุทธนากับพญาภุชงค์ถึงยอมแพ้


๔.พญาภุชงค์สิ้นทิฏฐิมานะ เข้าเฝ้าพระพุทธองค์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ


บทที่ ๘ ผะจญพกาพรหม
ทุคฺคาหทิฏฺฐิภุชเคน สุทฏฺฐหตฺถํ

ใจความว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในป่าศุภตรันใกล้เมืองอุกกัฐนคร
กับพระสงฆ์ทั้งปวง พระองค์พิจารณาเห็นท้าวพกาพรหม กับพรหมบริษัท ๑๐๐๐
ในชั้นปฐมญาณจึงเสด็จขึ้นไปสู่พรหมโลก ท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธเจ้า
เสด็จมาร้องเรียกด้วยถ้อยคำอันกระด้าง แล้วท้าวพกาพรหมจึงกำบังกายๆ ก็ปรากฏอยู่
มิอาจกำบังได้ ก็นั่งกอดเข่าอยู่ หมู่พรหมทั้งหลายก็หัวเราะเยาะเย้ยท้าวพกาพรหม
ท้าวพกาพรหมได้ความละอายยิ่งนัก แล้วพระพุทธองค์เทศนาทรมานพกาพรหม
กับพรหม ๑๐๐๐ ให้สำเร็จมรรคผลฯ



๑.พกาพรหมมีทิฏฐิวิปริตว่าพรหมโลกเที่ยง พระพุทธองค์เสด็จไปโปรด ก็ไม่เชื่อฟัง


๒.กลับท้าประลองฤทธิ์หายตัว ก็ไม่พ้นพุทธทัศนะวิสัย พรหมทั้งหลายยังเห็นตัวอยู่


๓.ถึงวาระพระพุทธองค์หายตัว พกาพรหมหาไม่พบ ได้ยินแต่พระสุรเสียง


๔.ผลที่สุดพกาพรหมยอมรับนับถือพระบรมพุทธานุสาสนี ก้มเกศีถวายอภิวาท
(คัดโดยคงตัวสะกดเดิม)

จบ ภาพพาหุง ผลงานครูเหม เวชกร
3132  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ภาษาชาวเน็ตฝรั่ง เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2559 14:25:51
.



ภาษาชาวเน็ตฝรั่ง

อินเตอร์เน็ตช่วยให้ผู้คนทั่วโลกเชื่อมต่อถึงกันได้ จะมีก็แต่ภาษาที่ยังเป็นกำแพงกั้นระหว่างกันอยู่

ดังนั้น เวลาคนฝรั่งกับคนไทยมาเจอกันในเฟซบุ๊ก มักจะเกิดความสับสนกัน เช่น เวลาคนไทยพิมพ์หัวเราะว่า 555 ฝรั่งอาจจะงงว่า คอมเมนต์เป็นตัวเลขกันทำไม

คอลัมน์วันนี้จึงขอสอนวิธีหัวเราะแบบภาษาเฟซบุ๊กฝรั่ง

สิ่งที่ใกล้เคียงกับ 555 ในสังคมชาวเน็ตฝรั่งมากที่สุดคือ lol อันเป็นคำย่อมาจาก "laugh out loud" (หัวเราะออกมาดังๆ)

คำนี้ใช้เหมือนกับ 555 คือบางทีจะพิมพ์แค่ lol เฉยๆ แต่อันไหนฮามาก ก็จะพิมพ์ย้ำเป็น lololololololol คล้ายๆ กับ 55555555 ของคนไทย

นอกจากนี้ยังมีอีกสองคำที่ใช้กันบ่อย คือ rofl กับ lmao

คำว่า rofl ย่อมาจาก "rolling on the floor laughing" แปลว่า หัวเราะจนกลิ้งลงไปบนพื้น ส่วนคำว่า lmao ย่อมาจาก "laughing my ass off" แปลว่า หัวเราะจนก้นหลุด (สงสัยต่อมตลกของฝรั่งอยู่ที่ก้น) ทั้งนี้ ขอเตือนไว้เล็กน้อยว่า คำว่า ass เป็นคำที่ฝรั่งถือว่าไม่ค่อยสุภาพนัก ไม่ควรใช้ในภาษาทางการอย่างยิ่ง

สำนวนฝรั่งไม่ได้มีเฉพาะสำหรับแสดงความขบขันเท่านั้น อีกคำหนึ่งที่เรามักจะเห็นกันบ่อยคือ omg! อันเป็นคำแสดงอาการตกใจ

คำดังกล่าวย่อมาจาก "Oh my God" หรือแปลว่า โอ้ว! พระเจ้า คล้ายๆ คุณพระช่วย! หรือ แม่เจ้าโว้ย! ทำนองนั้น

วันนี้ขอปิดท้ายด้วยสำนวนที่ทั้งคนไทยและฝรั่งมีเหมือนกัน คือคำว่า "ยาวไป ไม่อ่าน" อันเป็นคำที่ชาวเน็ตชอบเขียนคอมเมนต์ เวลาเจอข่าวหรือบทความยาวๆ ในอินเตอร์เน็ต

ฝรั่งก็มีคำนี้เช่นกัน คือ tl;dr โดยย่อมาจากประโยค "too long; didn"t read" แปลตรงตัวว่า "ยาวไป ไม่อ่าน" เหมือนกับภาษาไทย

แสดงให้เห็นว่าปัญหาการอ่านหนังสือน้อย มีอยู่ในสังคมชาวเน็ตหลายๆ ชาติ ไม่ใช่แค่ไทย

"ข่าวสดอิงลิช" จึงได้แต่หวังว่าคอลัมน์นี้จะไม่ยาวเกินไปสำหรับท่านทั้งหลาย (ฮา)


ข่าวสดออนไลน์
3133  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / Re: ประวัติบุคคลสำคัญของพระพุทธศาสนา โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2559 13:54:58



สามเณรปลด

วันนี้ขอต่อด้วยเรื่องราวสามเณรน้อยนามว่า ปลด ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สามเณรปลด นามสกุล เกตุทัต เป็นบุตรขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ)  และนางปลั่ง เกิดวันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๑ โยมบิดาเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า และเป็นเจ้ากรมคนแรกในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ

สามเณรปลดบวชเรียนเมื่ออายุ ๑๒ ปี ที่วัดพระเชตุพน เข้าสอบแปลบาลีคราวแรกได้ ๑ ประโยค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า เสด็จพระราชดำเนินฟังการแปลในวันนั้นด้วย ทอดพระเนตรเห็นสามเณรปลดแปลได้ก็ทรงพอพระทัย ตรัสว่า “เณรเล็กๆ ก็แปลได้”

และเมื่อทรงทราบว่า “เณรเล็กๆ” เป็นบุตรขุนพิษณุโลกประชานาถ ก็ทรงมีพระมหากรุณายิ่งขึ้น  ทรงโปรดฯ ให้ย้ายมาอยู่วัดเบญจมบพิตรตั้งแต่วันที่เข้าสอบครั้งแรกนั้น

สามเณรปลดเข้าแปลอีกประมาณห้าหรือหกครั้ง ก็สอบผ่านได้เปรียญ ๙ ประโยค เมื่ออายุย่าง ๒๐ ปี ใน พ.ศ.๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า ทรงมีพระราชปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ โดยรับจัดพิธีอุปสมบทให้

พูดอย่างภาษาสามัญก็ว่าทรงเป็น “โยมบวช” ให้ สามเณรปลดเป็น “นาคหลวง” ว่าอย่างนั้นเถอะ

พระมหาปลดได้ฉายาว่า กิตฺติโสภโณ (ผู้งามด้วยเกียรติ) มีสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทยมหาเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวโรดม (จ่าย ปุณณทัตตมหาเถระ) และพระธรรมเจดีย์ (เข้ม ธัมมสรมหาเถระ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์ ตามลำดับ

พระมหาหนุ่มความรู้เปรียญธรรมเก้าประโยค ใครๆ ก็คาดว่าคงจะบวชไม่นาน คงจะลาสิกขาไปรับราชการเหมือนพระมหาหนุ่มอื่นๆ หลายรูปในสมัยนั้น เช่น

พระมหาปั้น สุขุม เปรียญสามประโยค วัดหงส์รัตนาราม ลาสิกขา ออกมารับราชการจนเป็นถึงเจ้าพระยายมราช
พระมหานิ่ม กาญจนาชีวะ เปรียญ ๖ ประโยคแห่งวัดสุทัศนเทพวราราม ลาพรตออกมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย แต่ไวยากรณ์ไทยที่คนไทยบ่นกันว่ายากอย่างยิ่ง (เพราะท่านยืมไวยากรณ์บาลีมาใช้) ท่านผู้นี้รับราชการจนเป็นถึงพระยาอุปกิตศิลปสาร

เวลาคนไทยพบหน้ากันก็ทักกันว่า “สวัสดี” จนติดปาก ใครไม่รู้ก็จงรู้เสียว่ามหานิ่มคนนี้แหละครับเป็นผู้บัญญัติคำนี้ขึ้นใช้

พระมหาน้อย อาจารยางกูร เปรียญ ๗ ประโยคแห่งวัดสระเกศ สึกออกมารับราชการเป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร เป็นกวีเอก แต่งฉันท์ กาพย์กลอนได้ไพเราะยิ่ง บทสวดมนต์ที่สวดแล้วกินใจ “องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลศมาร บมิหม่นมิหมองมัว...”

นั่นแหละครับฝีปากมหาน้อยท่าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่หก ทรงเปรยทำนองจะชวนพระมหาปลดสึกมารับราชการ แต่พระมหาปลดแสดงท่าทีว่ายินดีอยู่ประพฤติพรหมจรรย์มากกว่า

ตอนนั้นท่านเป็นพระราชาคณะหนุ่ม ถวายพระธรรมเทศนาแด่ในหลวงเป็นที่โปรดปรานมาก ถ้าท่านลาสิกขาไปรับราชการ ท่านคงเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการแน่นอน

ผู้เฒ่าผู้แก่กระซิบ (ประวัติศาสตร์กระซิบอีกแล้ว) ว่า ที่พระมหาปลดไม่สึกนั้นเพราะ “รับฝากวัด” ไว้จากในหลวงรัชกาลที่ห้า เรื่องมีอยู่ว่า ก่อนอุปสมบทหนึ่งวัน มีการประกอบพิธีทำขวัญนาคที่พระที่นั่งทรงธรรม ในหลวงรัชกาลที่ห้าเสด็จในพิธีด้วย  ในตอนเสร็จพิธีก่อนจะเสด็จกลับ ทรงมีพระราชดำรัสกับสามเณรปลดว่า “เณร ฝากวัดด้วยนะ”  สามเณรปลดก็ได้เฝ้าวัดที่ทรงฝากไว้จนกระทั่งได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช  ถ้าหากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ห้า ทรงทราบว่าสามเณรน้อยรูปนั้นได้รักษาวัดที่ทรงฝากไว้มาเป็นอย่างดี พระองค์ก็คงทรงปีติและโสมนัสมิใช่น้อย

สามเณรปลด ได้เจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาตามลำดับ ได้เป็นพระราชาคณะที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ แล้วเลื่อนเป็นพระราชเวที พระเทพมุนี พระธรรมโกศาจารย์ พระพรหมมุนี สมเด็จพระวันรัต และในที่สุดได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ พระนามตามจารึกในสุพรรณบัฏยาวถึงสามบรรทัดว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมวิธานธำรง สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชอนุศาสวนาจารย์ กิตติโสภณาภิธานสังฆวิสสุต ปาวจนุตมกิตติโสภณ วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถานวิจิตปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุนทร บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช”

เรื่องชื่อยาวนี้มีเกร็ดเล่าว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้เสด็จไปดูการพระศาสนายังยุโรปและอเมริกา หนังสือพิมพ์ฝรั่งพาดหัวข่าวว่า พระสังฆราชแห่งเมืองไทย ผู้มีนามยาวที่สุดในโลก โดยนำพระนามมาลงเป็นอักษรโรมัน

ผมอ่านแล้วทั้งฉุนทั้งขัน ที่ฉุนก็เพราะแกเรียกพระองค์ว่า “Mister Somdej” แต่เมื่อนึกว่าอยู่คนละวัฒนธรรมกับเรา ก็หายฉุนกลายเป็นขันแทน

อย่าว่าแต่คนอื่นเลย พี่ไทยเรานี่ก็เหมือนกัน ส่วนมากไม่ค่อยจะรู้เรื่องพระเรื่องเจ้า บางคนอยู่สมาคมอื่น องอาจกล้าหาญ พูดเสียงดัง แต่พอเข้าพระเข้าเจ้าตัวสั่นงันงก เก้ๆ กังๆ ไม่รู้จะวางตัวอย่างไร ไม่รู้จะพูดกับท่านอย่างไร พระท่านถามว่า มีธุระอะไรหรือโยม

“อาตมาจะมานิมนต์เชิญท่านไปฉันเพลที่บ้าน เจริญพร” แน่ะ แย่งคำของพระมาใช้หน้าตาเฉย

สมณศักดิ์พระราชาคณะที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ศรี” สมัยก่อนสงวนไว้สำหรับพระมหาเปรียญเก้าประโยค เช่น ถ้าเห็นพระราชทินนามว่า พระศรีวิสุทธิวงศ์ พระศรีโสภณ รู้ทันที่ว่า “เจ้าคุณ” องค์นี้มีภูมิปริยัติเปรียญเก้าประโยค  และถ้าอยู่ในยุทธจักรดงขมิ้นก็จะรู้ “ศักดิ์ศรี” ของแต่ละตำแหน่งไม่เท่ากัน ตำแหน่งใน “ทำเนียบ” จะดูดีกว่า ผู้ได้รับสถาปนาก็จะภูมิใจกว่า ว่ากันอย่างนั้น สังเกตดูตำแหน่งที่พระมหาปลดได้รับล้วนแต่อยู่ในทำเนียบทั้งนั้น เช่น พระศรีวิสุทธิโมลี พระราชเวที พระเทพมุนี ฯลฯ  

เฉพาะนามที่ลงท้ายด้วย “เวที” มีปัญหา ถูกญาติโยมผู้หวังดีแก้เป็น “เทวี” ทุกครั้งเลย เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ อาจารย์ผมเมื่อสมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเวที รับนิมนต์ไปแสดงธรรมทางวิทยุบ่อย แต่ถูกแก้ชื่อแทบทุกครั้ง “ต่อไปนี้ ท่านจะได้ฟังพระธรรมเทศนา แสดงโดย พระเทพเวที” ทราบว่าท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์สมัยดำรงสมณศักดิ์ พระเทพเวที ก็ถูกแก้ชื่อเช่นเดียวกัน นี่คือฝีมือของ “ผู้หวังดี” คือหวังดีจนทำเสีย

อดีตสามเณรปลด เป็นคนเจ้าระเบียบ เป็นนักการศึกษาและให้การศึกษาแก่ศิษยานุศิษย์ตลอดเวลาที่มีโอกาส ความเป็นเจ้าระเบียบ “เฮี้ยบ” นั้นลือลั่นกันมากในสมัยนั้น

เอาแค่ภายในวัดเบญจมบพิตร พระเณรเวลาลงจากกุฏิ จะเดินลงมาโดยมีแต่สบงกับอังสะเท่านั้นไม่ได้ ต้องห่มผ้าให้เรียบร้อยเป็นปริมณฑล

สีสบงกับจีวรจะต้องให้กลมกลืนกัน เข้มหรืออ่อนกว่ากันผืนใดผืนหนึ่ง นุ่งห่มแล้วมองเห็นสีไม่กลมกลืนกันไม่ได้

เวลามีงานพระราชพิธี ในหลวงจะเสด็จ เช่นที่วัดพระแก้ว อดีตสามเณรปลด เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต หรือสมเด็จพระสังฆราชแล้ว จะไปตรวจดูก่อนว่า จัดสถานที่เรียบร้อยหรือไม่  

บุคลิกภาพก็เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านกวดขันมาก เริ่มแต่รูปร่างหน้าตา ถ้าพระเณรรูปใดรูปร่าง “ขี้ริ้ว” เช่น ดำเกินไป (จนจะปิดทองได้เลย) สูงเกินไป (จนจะพอๆ กับเปรตวัดสุทัศน์) อย่าหมายว่าจะได้อยู่วัดเบญจมบพิตร เพราะท่านไม่เต็มใจรับ หาว่าเป็น “ปุริสทูสกะ” (ทำให้บริษัทเสียความงาม)

บริษัทในที่นี้หมายถึงภิกษุบริษัทนะครับ ไม่ใช่บริษัทมติชน อะไรทำนองนั้น

ความเป็นนักการศึกษาของท่าน ยืนยันได้จากการที่ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่ง “แม่กองบาลีสนามหลวง” และ “สังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา” มีหน้าที่จัดการศึกษารวมถึงการวัดและประเมินผล ติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน

เวลาให้อุปสมบทแก่กุลบุตร เมื่อให้ฉายาแก่นาคแล้ว มักจะหันมาถามพระที่ร่วมพิธีอุปสมบทว่า แปลว่าอย่างไร เป็นการทดสอบความรู้สัทธิวิหาริก (ศิษย์ที่ท่านบวชให้) และอันเตวาสิก (ศิษย์ที่ผู้อื่นบวชให้แต่มาอยู่ด้วย) ไปในตัว นี้นับเป็นวิธีการให้การศึกษาทางอ้อมที่ได้ผลดี ทำให้ศิษยานุศิษย์ตื่นตัวเตรียมพร้อมที่จะตอบคำถาม ซึ่งไม่รู้ว่าจะถูกถามเมื่อใด  แต่ถึงจะเป็นนักการศึกษาอย่างใดก็ตาม ในช่วงแรกๆ นั้นท่านไม่นิยมให้พระเณรเรียนวิชาอื่นนอกจากพระธรรมวินัย หาว่าเป็น “ดิรัจฉานวิชา” ท่านจะไม่พอใจเมื่อเห็นพระในวัดไปเรียนมหาจุฬาฯ  มหามกุฏฯ  หรือเรียนภาษาฝรั่งมังค่า

ต่อเมื่อได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้วนั่นแหละ ทรรศนะนี้ได้เปลี่ยนไป  พระองค์ได้รับอาราธนาให้ไปดูการพระศาสนายังต่างแดน ตรัสภาษาฝรั่งไม่ได้ต้องอาศัยล่ามช่วยแปล นั่นแหละพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของวิชาการอื่นจากพระธรรมวินัย

เมื่อผมบวชใหม่ๆ ไปเข้าเฝ้า พระองค์ท่านรับสั่งถามว่า “เรียนภาษาฝรั่งบ้างหรือเปล่า” ผมกราบทูลด้วยความมั่นใจว่าพระองค์ทรงโปรดแน่ “ไม่ กระหม่อม” แต่ผิดถนัด พระองค์รับสั่งว่า “เรียนไว้นั่นแหละดี ไม่รู้ภาษาฝรั่งต้องหัวเราะทีหลัง อายเขา” เมื่อเห็นผมงง จึงทรงอธิบายว่า “ฉันพูดฝรั่งไม่ได้ ต้องผ่านล่าม เวลาพวกเขาพูดคุยกันหัวเราะขบขัน กว่าจะรู้ว่าเขาพูดเรื่องอะไรและได้หัวเราะบ้างก็ช้าไปแล้ว หัวเราะทีหลังมันอายเขาอย่างนี้แหละ”

สามเณรปลดนับเป็นสามเณรรูปที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สอบได้เปรียญเก้าประโยคในสมัยแปลปาก แต่หลังจากเปลี่ยนเป็นสอบข้อเขียนแล้ว ไม่มีใครสอบได้มาเป็นเวลาห้าสิบกว่าปี จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๐๓ มีสามเณรน้อยจากมหาสารคาม ชื่อ เสฐียรพงษ์ วรรณปก สอบได้เป็นรูปแรกในรัชกาลปัจจุบัน ในปีถัดมาก็มีสามเณรประยุทธ์ อารยางกูร ถัดจากสามเณรประยุทธ์ ก็มีตามมาอีกจำนวนมาก มีใครบ้างจำไม่ค่อยได้แล้ว

ต่อไป ถ้ารัฐได้ขยายโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับจากหกปีเป็นเก้าปี ผู้จบประถมศึกษาย่างเข้าวัยต้องใช้แรงงานกันแล้ว คงจะพากันบวชเณรน้อยลง ถึงมาบวชก็คงไม่มีสามเณรเปรียญเก้าอีกต่อไป เพราะอายุจะเลยยี่สิบปีบริบูรณ์

นั่นไม่สำคัญเท่ากับต่อไปจะหาเณรน้อยลงทุกที เมื่อเณรน้อยลง พระก็จะลดน้อยลงด้วย แล้วใครจะอยู่สืบพระศาสนาเล่าเจ้าประคุณเอ๋ย


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรปลด โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๖๖ ประจำวันที่ ๒๐-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙





สามเณรนิรนาม สมัยพระโปฏฐิละ

คราวนี้ถึงคิวสามเณรนิรนาม ไม่ทราบว่าชื่ออะไร รู้แต่ว่าอายุ ๗ ขวบ แถมยังเป็นสามเณรอรหันต์อีกต่างหาก มีบทบาทในการ “ปราบพยศ” พระเถระพหูสูตรูปหนึ่งผู้หยิ่งผยองในความรู้ของตนเอง

พระเถระรูปนี้ชื่อว่า โปฏฐิละ แปลว่า ตำราหรือคัมภีร์

นัยว่าท่านคัมภีร์นี้มีอายุอยู่ร่วมสมัยพุทธกาลโน่นแน่ะครับ อรรถกถาธรรมบท เขียนเล่าไว้อย่างนั้น

แต่เปิดพระไตรปิฎกดูทำเนียบพระสาวกทั้งหลายแล้วไม่ปรากฏชื่อ 

เปิดพจนานุกรมอสาธารณนาม หรือ Dictionary of Pali Proper Names รวบรวมโดย ดร.มาลาลาเสเกรา ก็ไม่มี  สงสัยผู้แต่ง (พระพุทธโฆษาจารย์) จะแต่งขึ้นมา โยงเรื่องราวไปถึงสมัยพุทธกาลมากกว่า 

ท่านโปฏฐิละเป็นผู้ทรงจำพุทธวจนะได้มาก เป็นอาจารย์ของภิกษุทั้งหลายจำนวนหลายร้อย (ว่ากันว่า ๕๐๐ รูป) วันๆ ได้แต่สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา ไม่เคยคิดสั่งสอนตัวเองเลยว่า จะหาที่สิ้นสุดทุกข์แก่ตนได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธประสงค์จะเตือนเธอ เวลาท่านไปเฝ้าพระพุทธองค์พร้อมภิกษุทั้งหลาย พระองค์จะตรัสกับท่านว่า "อ้อ คุณใบลานเปล่า นั่งสิ คุณใบลานเปล่า”

เวลาท่านกราบทูลลากลับ พระองค์ก็จะตรัสว่า “คุณใบลานเปล่า จะกลับแล้วหรือ” อะไรอย่างนี้เป็นต้น

ท่านโปฏฐิละ คิดว่า เราเป็นถึงอาจารย์ใหญ่ เชี่ยวชาญในพระพุทธวจนะบอกธรรมแก่พระสงฆ์ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ทำไมหนอ พระบรมศาสดายังตรัสเรียกเราว่า “ใบลานเปล่า”  นี่คงหมายความว่า เราได้แต่บอกได้แต่สอนคนอื่น ไม่ได้สอนตัวเองเลย ไม่เช่นนั้นพระองค์คงไม่ทรงเรียกเราอย่างนี้

ครับ เรียกว่า ได้สำนึกตัวขึ้นมา เพราะพระพุทธองค์ตรัสเตือน จะเรียกว่าโดยตรงก็ได้ โดยอ้อมก็ได้ พระองค์มิได้ตรัสตรงๆ แต่ถ้อยคำมันบ่งค่อนข้างชัด “ใบลานเปล่า” ใครฟังก็เข้าใจทันทีว่า มีแต่ใบลาน ไม่มีพระธรรมจารึกไว้เลย

คนที่หลงตัว มัวเมาว่าตนเก่ง ตนดี ก็ต้องมีผู้เตือนอย่างนี้แหละครับจึงจะสำนึกได้ จะรอให้เขาเตือนตนเองคงยาก

“แพรเยื่อไม้” นักเขียนเรื่องสั้นชั้นเยี่ยมรูปเดียว ในวงการคณะสงฆ์ ผู้ล่วงลับไปแล้วได้แต่งเรื่อง “หลวงตา” เล่าถึงพระนักเทศน์เอกรูปหนึ่ง เทศน์เก่งมาก ไปเทศน์ที่ไหนญาติโยมตามไปฟังเป็นร้อยๆ แน่นศาลา ท่านจึงหลงตัว มัวเมาในความเด่นความดังของตน ไม่มีเวลาตรวจสอบจิตและสอนจิตตนเองแม้แต่น้อย  วันหนึ่งหลังจากเทศน์จบ หลวงตาก็ลงจากธรรมาสน์ กระหยิ่มยิ้มย่องว่าวันนี้ตนเทศน์ได้ยอดเยี่ยมจริงๆ มานั่งรอรับกัณฑ์เทศน์ ทายกผู้เฒ่าคนหนึ่งยกถาดกัณฑ์เทศน์ถวาย สายตาหลวงตาเหลือบไปเห็นขวานวางอยู่ในถาดด้วย จึงเอ่ยถามว่า “กัณฑ์เทศน์มีขวานด้วยหรือ โยม”

“ครับ ถวายขวานให้ท่านใช้ ขวานนี้ดีนะครับ คม ถากอะไรได้สารพัด เสียอย่างเดียว...” พูดแค่นี้ก็ทำท่าจะยกกัณฑ์เทศน์ถวาย
“เสียอะไร โยม” พระถามต่อ
“มันถากด้ามของมันไม่ได้ครับ”

หลวงตานั่งรถกลับวัด คิดถึงคำพูดของทายกไปตลอดทาง กว่าจะรู้ว่าถูกโยมด่าก็ต่อเมื่อก้าวขึ้นบันไดกุฏินั้นแล

โยมเขาเตือนว่า ท่านก็ได้แต่ “ถาก” (สอน) คนอื่น ไม่ได้ “ถาก” ตนเองเลย แสบไหมละครับ

ท่านโปฏฐิละก็เช่นกัน เมื่อสำนึกตนได้ ก็บอกลาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย เข้าไปวัดป่าเพื่อขอปฏิบัติกรรมฐาน ไปกราบพระอาจารย์ผู้เฒ่ารูปหนึ่ง กล่าวว่า “ท่านอาจารย์ โปรดเป็นที่พึ่งของกระผมเถิด สอนธรรมให้ผมด้วยเถิด”

พระเถระกล่าวว่า “ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรเช่นนั้น ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญพระพุทธวจนะ พวกเราได้รู้แนวการปฏิบัติก็เพราะท่านเป็นคนช่วยบอกช่วยสอน”

พระเถระนักปฏิบัติ ๓๐ รูป ที่ท่านโปฏฐิละเข้าไปมอบตนเป็นศิษย์ไม่ยอมรับ ต่างออกตัวไปตามๆ กัน ว่ากันว่า เพื่อขจัดทิฐิมานะของท่านให้หมดไป

พระนักปฏิบัติทั้งหลาย ดูเหมือนจะมองออกว่า คนระดับอาจารย์ใหญ่ มีลูกศิษย์ลูกหามากมายนั้น ทิฐิมานะย่อมฝังรากลึก เพื่อให้แน่ใจว่าหมดพยศจริงๆ จึงจะยินดีสอนกรรมฐานให้ ทางเดียวที่จะรู้ว่าหมดพยศจริงๆ หรือไม่ คือส่งไปหาสามเณร จึงส่งท่านไปยังสามเณรน้อยนิรนามรูปหนึ่ง ขณะกำลังสั่งสอยจีวรอยู่  ท่านโปฏฐิละเข้าไปหาสามเณรประคองอัญชลี (ยกมือไหว้) กล่าวว่า ท่านสัตบุรุษโปรดเป็นที่พึ่งให้ผมด้วย สอนธรรมให้ผมด้วย

สามเณรน้อยตกใจ ร้องว่า “ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรอย่างนั้นผมเป็นสามเณรมิบังอาจสอนอะไรให้แก่ท่านได้ ท่านเป็นถึงอาจารย์ใหญ่ระดับซาร์ศาสนา” (คงประมาณเดียวกับ “ซาร์เศรษฐกิจ” กระมัง ฮิฮิ)

“ได้โปรดเถิด พ่อเณร ผมไม่มีที่พึ่งอีกแล้ว” ซาร์ใหญ่อ้อนวอนอย่างน่าสงสาร

สามเณรน้อยกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ถ้าผมบอกให้ท่านอาจารย์ทำอะไรท่านอาจารย์ยินดีทำตามไหม” สามเณรน้อยยื่นเงื่อนไข

ความจริงสามเณรน้อยมิใช่ขี้ไก่ เป็นสามเณรอรหันต์ ย่อมรู้ว่าจะสอนนักวิชาการแสนรู้จะต้องทำอะไร

“ยินดีทำตามทุกอย่างครับ พ่อเณร” พระโปฏฐิละตอบ
“ท่านอาจารย์ เห็นสระน้ำข้างหน้าไหม”
“เห็นครับ”
“นิมนต์ท่านอาจารย์เดินลงไปยังสระน้ำนั้น ก้าวลงอย่างช้าๆ จนกว่าผมจะสั่งให้หยุด” อรหันต์น้อยสั่ง

พระเถระเดินลงสระน้ำอย่างว่าง่าย จนจีวรเปียกน้ำแล้วเดินลงไปตามลำดับ สามเณรน้อยเห็นพระเถระเอาจริง จึงสั่งให้หยุดให้ขึ้นมา แล้วกล่าวสอนว่า “ท่านอาจารย์ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง เหี้ยตัวหนึ่งวิ่งเข้าวิ่งออกตามช่องทั้ง ๖ นั้นเสมอ บุคคลประสงค์จะจับเหี้ยตัวนั้น จึงอุดช่องทั้ง ๕ ช่อง เปิดไว้เพียงช่องเดียว คอยเฝ้าอยู่ใกล้ช่องนั้น เมื่อเหี้ยออกช่องอื่นไม่ได้ ก็ออกมาทางช่องนั้น เขาก็จับเหี้ยตัวนั้นได้ตามประสงค์ เรื่องมันก็เป็นเช่นนี้แหละ ท่านอาจารย์”

อรหันต์น้อยกล่าวเป็นปริศนาธรรม

พระเถระผู้พหูสูต ฟังแค่นี้ก็ “get” ทันที ร้องว่า I’ve got it อะไรทำนองนั้น ท่านโปฏฐิละเข้าใจอย่างไรหรือครับ ท่านเข้าใจว่า ในกายของเรานี้มีอายตนะ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเป็นดุจ “ช่อง” ให้จิตเราเข้า-ออกๆ อยู่เสมอด้วยความเคยชิน เป็นที่ตั้งใจแห่งรัก โลภ โกรธ หลง ผูกพันไว้กับทุกข์ตลอดเวลา เมื่อต้องการบังคับจิตให้อยู่ในอำนาจ ก็ต้องปิด “ช่อง” (ทวาร) ทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เปิดไว้ช่องเดียว คือ จิต คอยเฝ้าดูจิตตลอดเวลา บังคับให้มันอยู่กับที่เป็นสมาธินานๆ ไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อทำได้ดังนี้ก็จะสามารถทำจิตให้อยู่ในอำนาจได้ ไม่ตกเป็นทาสให้กิเลสตัณหามันเสือกไสไปตามปรารถนาของมัน

พูดให้สั้นก็คือ พระเถระนึกได้แล้ว จะพ้นทุกข์ต้องฝึกฝนจิตของตนด้วยการปฏิบัติกรรมฐานนั่นแหละ จึงเริ่มปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง แล้วก็ก้าวหน้าในการปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนวันหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแผ่รัศมีไปตรงหน้าท่าน ขณะท่านนั่งสมาธิอยู่ ดังหนึ่งปรากฏพระวรกายตรงหน้า ตรัสคาถา (โศลก) สอนว่า
     โยคา เว ชายเต ภูริ       อโยคา ภูริสงฺขโย
     เอตํ เทวธาปถํ ญตฺวา     ภวาย วิภวาย จ
     ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย        ยถา ปญฺญา ปวฑฺฒติ

ปัญญาเกิดมีได้ เพราะตั้งใจพินิจ   เสื่อมไป เพราะไม่ตั้งใจพินิจ

เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของปัญญาแล้ว ควรทำตนโดยวิถีทางปัญญาจะเจริญ

พระดำรัสสั้นๆ นี้ กระจ่างแก่พระโปฏฐิละเป็นอย่างยิ่ง ในที่สุด ท่านก็ได้บรรลุพระอรหัต ถึงจุดหมายปลายทางแห่งชีวิตแล้ว
 
งานนี้ ไม่ขอบคุณสามเณรน้อย จะขอบคุณใครเล่าครับ เพราะสามเณรน้อยอรหันต์นี้เอง พระพหูสูตอย่างท่านโปฏฐิละจึงเดินถูกทาง จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาจากพระบรมศาสดาเสด็จมาโปรดในที่สุด

เสียดายเราไม่มีโอกาสรู้ว่า สามเณรน้อยรูปนี้คือใคร


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรนิรนาม สมัยพระโปฏฐิละ โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๖๗ ประจำวันที่ ๒๗ พฤษภาคม-๒ มิถุนายน ๒๕๕๙





สามเณรนิรนาม สมัยพุทธกาล

สามเณรนิรนามอีกรูปหนึ่ง ผู้มีฤทธิ์มาก เหาะเหินเดินหาวได้ด้วยอิทธิฤทธิ์ แต่ท้ายสุดก็เสื่อมจากฤทธิ์ เพราะวัยหนุ่มเป็นเหตุ เสื่อมอย่างไร เสื่อมเพราะใครคงเดากันได้ ถ้าเดาไม่ได้ก็ตามผมมา จะเล่าให้ฟัง

เรื่องราวเกิดขึ้นสมัยหลังพุทธกาล คงราว พ.ศ.๙๐๐ กว่า ยุคที่อรรถกถา (หนังสืออธิบายพระไตรปิฎก) รุ่งเรือง ในอรรถกถา “สัมโมหวิโนทนี” เล่าไว้ว่า พระเถระอรหันต์รูปหนึ่ง พร้อมกับสามเณรผู้ติดตามเดินทางจากชนบทไปยังวัดในเมืองหลวงอันชื่อว่า ปิงครบริเวณ เพื่อนมัสการพระเจดีย์และต้นพระศรีมหาโพธิ์

ขณะที่พระเถระทั้งหลายพากันไปไหว้พระเจดีย์ พระเถระจากชนบท ท่านไม่ได้ไปด้วย รอให้ผู้คนกลับกันหมดแล้ว กลางคืนดึกสงัด ท่านจึงลุกขึ้นไปไหว้พระเจดีย์แต่เพียงผู้เดียวเงียบๆ ไม่ให้รู้แม้กระทั่งสามเณร

สามเณรเฝ้าดูอาการของพระเถระด้วยความแปลกใจ จึงแอบเดินตามหลังไปเงียบๆ พระเถระกราบพระเจดีย์แล้ว ก็ลุกขึ้นยืนประคองอัญชลีจ้องพระเจดีย์ด้วยความเคารพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานานจนกระทั่งสามเณรกระแอมกระไอขึ้น จึงหันมาถามว่า สามเณรมาเมื่อไร
     “มาพร้อมท่าน ขอรับ”
     “เหรอ ฉันไม่ทันสังเกต”
     “ท่านอาจารย์ไหว้พระเจดีย์ ไม่เห็นมีดอกไม้เลยขอรับ”
     “ถ้ามีก็ดี แต่เมื่อไม่มี ด้วยจิตที่เลื่อมใส ก็เสมือนบูชาด้วยดอกไม้นั่นแหละ สามเณร”
     “ถ้าท่านอาจารย์ประสงค์ดอกไม้ กระผมจะไปนำมาถวาย” ว่าแล้วก็เข้าฌานเหาะไปยังป่าหิมพานต์นำดอกไม้หลากสีใส่ธมกรก (กระบอกกรองน้ำดื่ม) มาถวายพระเถระ พระเถระเกลี่ยดอกไม้ลงยังแท่นบูชา กล่าวว่า “ดอกไม้มีน้อยนะ สามเณร”
     “ท่านอาจารย์ขอรับ ขอให้ท่านรำลึกถึงพระคุณอันมหาศาลของพระพุทธเจ้าแล้วบูชาเถิด” สามเณรกล่าว

พระเถระก้าวขึ้นตามบันไดไปยังมุขด้านทิศปัจฉิม แล้วเกลี่ยดอกไม้ลงแท่นบูชา ทันใดนั้นแท่นบูชาเต็มไปด้วยดอกไม้ แถมยังหล่นลงมากองบนพื้นข้างล่างอีกสูงท่วมเข่า พระเถระเดินลงยังพื้นชั้นล่าง วางดอกไม้บนฐานพระเจดีย์ ดอกไม้ก็แผ่เต็มบริเวณพระเจดีย์

“สามเณร ดอกไม้ยิ่งวางก็ยิ่งมาก” พระเถระหันมาพูดกับสามเณร สามเณรกราบเรียนท่านว่า “ท่านอาจารย์จงคว่ำธมกรกลง” พระเถระก็ทำตาม ทันใดนั้นดอกไม้ก็หมดไป

พระเถระอรหันต์ทรงอภิญญา ทราบว่า สามเณรหนุ่มนี้ต่อไปจักเสื่อมจากฤทธิ์เพราะมาตุคาม จึงกล่าวเตือนว่า “สามเณร เธอมีฤทธิ์มาก แต่ถ้าเธอประมาท ต่อไปเธอก็จะเสื่อมจากฤทธิ์ เธอจักดื่มน้ำข้าวอันช่างทอหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำแล้ว”

สามเณรขัดใจนึกตำหนิว่า “พระผู้เฒ่านี้พูดอะไร ไม่เห็นเข้ารูหูเลย” ไม่ใส่ใจ เดินหนีไป

เมื่อพระเถระจะเข้าไปบิณฑบาต ให้สามเณรถือบาตรตามหลัง สามเณรถามว่าท่านจะไปหมู่บ้านไหน เมื่อพระเถระบอกชื่อหมู่บ้าน สามเณรก็บอกว่านิมนต์ท่านอาจารย์ไปก่อนเถอะ ปล่อยให้พระเถระเดินไป จวนจะเข้าหมู่บ้านแล้ว จึงเหาะตามไปเอาบาตรถวายพระเถระ

พระเถระกล่าวเตือนสามเณรผู้คะนองด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ มันหวั่นไหว เสื่อมได้ถ้าคะนอง เมื่อมันเสื่อมแล้วจะเป็นอันตรายต่อพรหมจรรย์ในที่สุด

“พระผู้เฒ่าพูดอะไร ไม่เข้ารูหู” สามเณรหนุ่มบ่นอีกด้วยความรำคาญ ไม่ยอมฟัง

วันหนึ่งสามเณรเหาะลิ่วๆ ผ่านไปสระบัวแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงหญิงสาวร้องเพลงไพเราะจับใจ ยังกับเธอกำลังออกคอนเสิร์ตกลางสระน้ำก็มิปาน สามเณร “ลอยคว้าง” กลางอากาศ ตำราเปรียบว่า “เหมือนแมลงตาบอดติดอยู่ในรสหวาน” ไปไหนไม่ได้ ด้วยกำลังแห่งสมาบัติที่เหลืออยู่ถึงแม้ฤทธิ์จะเสื่อมแล้วแต่ก็ไม่หล่นตุ๊บลงบนพื้นน้ำ สามเณรผู้ต้องศรกามเทพค่อยๆ ลงมายืนเซ่ออยู่ริมฝั่ง สติยังมีอยู่บ้าง จึงรีบกลับวัดมาลาอาจารย์ว่าตนมีความจำเป็นจะต้องจากไป

พระเถระรู้ล่วงหน้าแล้วว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม่เอ่ยปากทัดทานแม้คำเดียว ถึงห้ามก็คงไม่ฟัง ดังพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ที่ว่า “ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิว์ขังไว้ ย่อมโลดและแล่นไป มิยอมอยู่ ณ ที่ขัง” ฉะนั้นแล

ไม่ว่ารักของคนหนุ่มหรือของคนแก่ ความรักมันบุกไปถึงทั้งนั้นแหละครับ

สามเณรถอดสบงจีวรทิ้ง ยืนคอยหญิงสาวอยู่ริมสระ หญิงสาวขึ้นจากสระน้ำรู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงขอร้องให้สามเณรกลับไปอยู่วัดอยู่วาตามเดิม ชีวิตครองเรือนมันมิได้โรยด้วยดอกกุหลาบดังสามเณรฝันดอก 

ก็คงพูดไปตามประสา แต่ใจจริงหญิงสาวก็มีใจปฏิพัทธ์สามเณรหนุ่มรูปหล่ออยู่ เมื่อสามเณร (ตอนนี้กลายเป็น “น้อย” หรือ “เซียง” ไปแล้ว) ยืนยันจะอยู่เคียงข้างน้องนาง ไม่ว่าจะเข้าดงกุหลาบหรือดงอุตพิดก็ตาม

“ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดๆ” ว่าอย่างนั้นเถอะ

ทั้งสองก็พากันกลับไปยังเรือนของหญิงสาว พ่อแม่หญิงสาวกล่าวว่า “พ่อหนุ่มเอย เราเป็นช่างหูกจนๆ พ่อหนุ่มจะอยู่กับเราได้หรือ พ่อหนุ่มเคยบวชเรียนอยู่ในเพศสมณะสบายๆ จะทนลำบากไหวหรือ”

พ่อหนุ่มผู้มีรักเป็นสรณะยืนยันว่า “จะให้ทำอะไร ผมทำได้ทั้งนั้น เรื่องการงานข้อยบ่ยั่น” ขึงขังอะไรปานนั้น

เมื่อพ่อหนุ่มยืนยันแข็งขัน จึงยกลูกสาวให้ ทั้งสองอยู่ครองรักกันต่อมา จนพ่อตาแม่ยายเสียชีวิต พ่อหนุ่มก็ได้เป็นหัวหน้าครอบครัวรับมรดกช่างทอหูกสืบไป ครอบครัวอื่นเขามีคนใช้หรือผู้ช่วยงาน ครอบครัวของอดีตสามเณรมีกันเพียงสองคน เมื่อครอบครัวอื่นเขาให้คนนำอาหารไปให้สามีของเขาที่โรงทอหูกแต่เช้า ภรรยาของอดีตสามเณรหนุ่มทำงานบ้านก่อน กว่าจะนำอาหารไปให้สามีก็สาย สามีรอจนโมโหหิว เหตุการณ์มักจะเป็นอย่างนี้แทบทุกวัน

จนวันหนึ่งสามีทนไม่ได้ จึงดุด่าเอาแรงๆ ภรรยาก็เถียงบ้างว่า ก็ฉันมีอยู่คนเดียว ไม่มีใครช่วยงานบ้าน ก็ทำไมไม่หาคนมาช่วยงานบ้าง นำอาหารมาให้ก็บุญแล้ว อยากกินก็กิน ไม่อยากกินก็ตามใจสิ ว่าแล้วก็โยนอาหารลงพื้น โกรธเหมือนกันนี่คะ

เท่านั้นแหละครับ อดีตสามเณรผู้มีฤทธิ์ คราวนี้ออกฤทธิ์แบบชาวบ้านคือ หยิบกระสวยขว้างแม่ยอดยาหยี ภรรยาหลบไม่ทัน ปลายกระสวยทิ่มตาข้างหนึ่ง เลือดไหลเป็นทาง เธอเอามือกุมตาที่แตก ร้องไห้ครวญครางด้วยความเจ็บปวด

ตาบอดทันทีทันใดครับ

ไอ้ “น้อย” หรือ “ไอ้เซียง” เห็นดังนั้น ก็ร้องไห้ครวญครางไม่แพ้ภรรยา ชาวบ้านต่างก็มาปลอบโยนทั้งสองคนว่า เรื่องมันเกิดขึ้นแล้ว ทำคืนไม่ได้อย่าได้ถือสากันเลย ไอ้หนุ่มก็พาเมียไปรักษาตาให้หายเสีย เธอก็อย่าได้คร่ำครวญไปเลย ถึงเมียตาบอดข้าง ก็ยังมีอีกข้างมองเห็นอยู่ ต่อไปอย่าให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกก็แล้วกัน บวชเรียนมาแล้ว เย็นๆ ลงเสียบ้างไอ้น้อย

ไอ้น้อยครางอ่อยๆ ว่า “ฉันมิได้ร้องไห้เพราะเหตุนี้ดอก ฉันนึกถึงคำพูดของพระเถระอาจารย์ของฉัน ท่านบอกว่า ต่อไปฉันจะกินน้ำข้าวที่ช่างทอหูกตาบอดข้างหนึ่งเอามือขยำ อาจารย์ท่านมองเห็นล่วงหน้าแล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้น อุตส่าห์ตักเตือน แต่ฉันไม่ฟัง ฉันไม่ดีเอง ฮือ ฮือ”

“ไอ้น้อยเอ๋ย ก็เอ็งเลือกเดินทางนี้แล้ว ก็จงเดินต่อไป เมียตาบอดข้างก็เพราะเอ็งทำเขา เอ็งก็จงรับผิดชอบต่อไป”

ดูเหมือนอดีตสามเณรหนุ่มแว่วเสียงของอาจารย์มาแต่ไกลฉะนี้แล


ข้อมูล : บทความพิเศษ สามเณรนิรนาม สมัยพุทธกาล โดย ศาสตราจารย์ (พิเศษ) เสฐียรพงษ์ วรรณปก  หน้า ๖๗ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๘๖๘ ประจำวันที่ ๓-๙ มิถุนายน ๒๕๕๙


3134  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / คัสตาร์ดเค้ก - สูตรและวิธีทำ เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2559 16:30:44





คัสตาร์ดเค้ก
โดย กิมเล้ง

ส่วนผสม
- แป้งเค้ก 120 กรัม
- ไข่ไก่ 6 ฟอง
- นมข้นจืด 1+1/2 ถ้วยตวง
- แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทรายเม็ดเล็ก 12 ช้อนโต๊ะ  (ผู้โพสท์ใช้ยี่ห้อ ลิน...แบ่งน้ำตาลเป็น 2 ส่วน ๆ ละ 6 ช้อนโต๊ะ)
- น้ำตาลทรายทำคาราเมล 2-3 ช้อนโต๊ะ
- ผงฟู 1 + 1/2 ช้อนชา
- เกลือป่น 1/4 ข้อนชา
- กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
- หัวกะทิสด 1/4 ถ้วยตวง
- ครีมออฟทาร์ทาร์ 1/4 ช้อนชา

   
วิธีทำ - ขั้นตอนที่ 1 การทำน้ำตาลคาราเมล
ใส่น้ำตาลทรายในพิมพ์ที่แห้งสนิท ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน
ใช้ผ้ารองมือหนาๆ จับพิมพ์เอียงไปมาให้น้ำตาลทรายละลายหมด
และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง หรือสีน้ำตาลอ่อน กรอกน้ำตาลคาราเมลให้กระจายทั่วถาด
ยกพิมพ์ออกจากเตาทิ้งไว้ให้เย็น  


วิธีทำ - ขั้นตอนที่ 2 การทำสังขยา
1.ตอกไข่ใส่ถ้วยทีละฟอง จำนวน 3 ฟอง  ใช้ช้อนตักเอาแต่ไข่แดงแยกไปใส่ชามผสม
2.ใส่นมข้นจืด 1+1/2 ถ้วย น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ และกลินวานิลลา 1 ช้อนชา
3.ใช้ตะกร้อมือคนส่วนผสมให้เข้ากัน และน้ำตาลละลายหมด
4.ใช้กระชอนตาถี่กรองส่วนผสมของไข่ ใส่ในพิมพ์คาราเมล พักไว้


วิธีทำ - ขั้นตอนที่ 3 การทำเค้กชิฟฟ่อน
1.ร่อนแป้ง ผงฟู และเกลือ พักไว้
2.แยกเอาแต่ไข่แดงของไข่ไก่ จำนวน 3 ฟอง ใส่ชามหรือโถ
3.ใส่น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันพืช 1/4 ถ้วย
   ใช้ตะกร้อมือ คนให้ส่วนผสมเฟูขาว พักไว้
   -----------------------

4.เอาไข่ขาวที่เหลือจากการแยกไข่แดง (6 ฟอง) ใส่ในโถปั่นที่แห้งสนิท (ถ้าโถผสมอาหารมีความชื้นจะตีไข่ไม่ขึ้น)
5.ใส่ครีมออฟทาร์ทาร์ 1/4 ช้่อนชา ลงในไข่ขาว นำไปตีด้วยความเร็วสูงสุดของเครื่อง
   โดยค่อยๆ ใส่น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะตีไปพร้อมๆ กัน จนส่วนผสมตั้งยอดอ่อน ฟูขาว ปิดเครื่อง
   -----------------------

6.เติมกะทิสด 1/4 ถ้วยตวง และแป้งที่ร่อนแล้ว ลงในส่วนผสมของไข่แดง (ตามข้อ 2-3)
   ใช้ตะกร้อมือคนส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ในส่วนผสมของไข่ขาว (ตามข้อ 4-5)
   ใช้่พายยางตะล่อมเบาๆ ให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ในพิมพ์ที่รองด้วยน้ำตาลคาราเมล
   และสังขยา
7.นำพิมพ์เข้าเตาอบ วางในถาดที่ใส่น้ำร้อน (อบแบบรองน้ำ) ด้วยอุณหภูมิ 170°C
   อบไฟล่าง-บน  ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
8.พอขนมสุก ยกวางบนตะแกรง ใช้ปลายมีดเล็ก ค่อยๆ แซะตามขอบถาดให้เนื้อเค้กแยกตัวจากพิมพ์
   แล้วคว่ำพิมพ์ในจานรอง...น้ำตาลคาราเมลอยู่บนสุดของขนม  พักให้ขนมเย็นสนิทจึงตัดแบ่งเสิร์ฟ  







คาราเมล : ใส่น้ำตาลทรายในพิมพ์ที่แห้งสนิท ยกขึ้นตั้งไฟอ่อน ใช้ผ้ารองมือหนาๆ จับพิมพ์เอียงไปมาให้น้ำตาลทรายละลายหมด
และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง หรือสีน้ำตาลอ่อน กรอกน้ำตาลคาราเมลให้กระจายทั่วก้นถาด ยกพิมพ์ออกจากเตาทิ้งไว้ให้เย็น
(พิมพ์ใหญ่ ∅ 8 นิ้ว ผู้ทำใส่น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ส่วนพิมพ์กลมเล็ก ใส่น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา)


ส่วนผสมสังขยา : ไข่แดงของไก่ไก่ 3 ฟอง  นมข้นจืด 1+1/2 ถ้วย น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ
แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ และกลินวานิลลา 1 ช้อนชา
ผูโพสท์ เคยทำตามที่อ่านมาเขาไม่ได้แนะนำให้ใส่แป้งลงไปด้วย แต่เมื่ออบออกมาแล้ว ส่วนที่เป็นสังขยาเละเทะ
จึงใส่แป้งข้าวโพดผสม ทำให้ส่วนของสังขยาอยู่ตัว...ตามภาพด้านบน


ใช้ตะกร้อมือคนส่วนผสมให้เข้ากัน และน้ำตาลละลาย เทใส่กระชอนตาถี่กรองส่วนผสมใส่ในคาราเมล พักไว้


ขั้นตอนของการทำเค้กชิฟฟ่อน : แยกเอาแต่ไข่แดงของไข่ไก่ จำนวน 3 ฟอง ใส่ชามหรือโถ
ใส่น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ และน้ำมันพืช 1/4 ถ้วย ใช้ตะกร้อมือ คนให้ส่วนผสมเฟูขาว พักไว้ก่อน
(ยังไม่ต้องใส่แป้ง และกะทิ)...วิธีแยกไข่แดงไข่ขาวอย่างง่ายๆ คือ ตอกไข่ไก่ใส่ถ้วยที่แห้งสนิท
ใช้ช้อนกลางช้อนเอาแต่ไข่แดงทั้งฟอง แยกไปใส่ในภาชนะอื่น ส่วนไข่ขาวที่เหลือให้นำไปใส่ในโถผสมอาหาร
(เหตุที่ใช้ภาชนะแยกไข่ที่แห้งสนิท เพราะส่วนของไข่ขาวต้องนำไปตีใส่เค้ก...ไข่ขาวถ้ามีส่วนผสมของน้ำจะตีไม่ขึ้น)


หลังจากตีไข่ขาวจนขึ้นฟูแล้ว...มาต่อกันที่โถส่วนผสมของไข่แดง ให้ผสมกะทิลงไป 1/4 ถ้วย ตามด้วยแป้งที่ร่อนไว้แล้ว
ผู้โพสท์ใส่กะทิสดลงผสม เพื่อให้เนื้อเค้กมีความมันจากกะทิสด ซึ่งจะเข้ากันได้ดีกับสังขยาคาราเมล
 

ใช้ตะกร้อมมือคนให้ส่วนผสมเข้ากัน


ซ้าย : ส่วนผสมของไข่ขาว  ขวา : ส่วนผสมของไข่แดงและแป้งเค้ก
ให้นำส่วนผสมของไข่แดงใส่ไข่ขาว ใช้พายยางคนตะล่อมให้เข้ากันแต่เบามือ


เทใส่ถาดที่รองด้วยคาราเมลและส่วนผสมของสังขยา ใช้พายยางเกลี่ยให้เสมอกัน


วางพิมพ์ขนมในถาดที่ใส่น้ำร้อน (อบแบบรองน้ำ) ด้วยอุณหภูมิ 170°C  อบไฟล่าง-บน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
*ควรต้มน้ำในกาหรือหม้อ และเปิดเตาอบ ขณะทำเค้กไปพร้อมกัน พอทำเค้กเสร็จเรียบร้อย
นำถาดขนาดพอใส่พิมพ์ได้ ใส่ในเตาอบ เทน้ำร้อนรองพิมพ์สูงประมาณ 2 เซนติเมตร แล้ววางพิมพ์ขนมอบได้ทันที






 
3135  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / โพชฌงค์ 7 องค์แห่งการตรัสรู้ : ลพ.สุรศักดิ์ เขมรํสี วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2559 10:58:36

91 โพชฌงค์7 องค์แห่งการตรัสรู้ ;พระครูเกษมธรรมทัต


โพชฌงค์ 7 องค์แห่งการตรัสรู้
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
วัดมเหยงคณ์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
3136  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: วิธีทำ ข้าวเหนียวตัด : ขนมที่คุณปู่คุณย่าบอกว่าอร่อยจนลุกไม่ขึ้น!..ไอ้หลานเอ๊ย! เมื่อ: 21 พฤษภาคม 2559 10:36:54

อีกหนึ่งสูตรของข้าวเหนียวตัด
สูตรนี้ ใช้ข้าวเหนียวดำค่ะ จึงขอตั้งชื่อว่า "ข้าวเหนียวดำตัด"
รู้สึกว่าจะหากินยากมาก เห็นใช้กันแต่ข้าวเหนียวขาว
ส่วนผสมอื่นๆ นอกจาก 'ข้าวเหนียว' เช่น กะทิ เกลือ น้ำตาล
ให้ผสมในอัตราส่วนเช่นเดียวกับสูตรตามกระทู้แรก
ในส่วนของข้าวเหนียวนั้น ใช้ข้าวเหนียวดำ 2 ส่วน - ข้าวเหนียวขาว 1 ส่วน
แช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน และเพิ่มเวลาของการนึ่งอีกประมาณ 10 นาที
(ข้าวเหนียวขาวใช้เวลานึ่งประมาณ 15 นาที ข้าวเหนียวดำใช้เวลานึ่งประมาณ 25-30 นาที)






้ใช้ข้าวเหนียวดำ 2 ส่วน ข้าวเหนียวขาว 1 ส่วน เกลี่ยใส่ถาดให้เข้ากัน


ผสมหางกะทิ (ผู้ทำใช้หัวกะทิ ให้ข้าวเหนียวมีรสชาติมัน)


หน้าตาข้าวเหนียวดำ หลังจากนึ่งด้วยไฟแรงครึ่งชั่วโมง จะเห็นมันกะทิขาวอยู่ที่หน้าขนม
เพราะใช้หัวกะทิล้วนๆ


ราดหน้าข้าวเหนียวด้วย หัวกะทิ เกลือป่น น้ำตาลทราย แป้งข้าวเจ้า และแป้งถั่วเขียว
นำไปกวนให้แป้งข้นเล็กน้อย แล้วนำไปนึ่งต่ออีกประมาณ 20 นาที
...ใช้เวลานึ่งมากกว่าสูตรแรก เพราะผู้โพสท์ต้องการหน้าขนมมากๆ จึงเพิ่มสัดส่วนของกะทิ เกลือ น้ำตาล และแป้ง...




3137  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / วิธีทำ ข้าวเหนียวดำมูน หน้าสังขยา - หน้ามะม่วง เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2559 13:53:20





ข้าวเหนียวดำมูน

ส่วนผสมข้าวเหนียวมูน
- ข้าวเหนียวดำ 3/4 ถ้วยตวง
- ข้าวเหนียวเขี้ยวงู (ขาว) 1/4 ถ้วยตวง
  * ใช้ข้าวเหนียวดำ 3 ส่วน ข้าวเหนียวขาว 1 ส่วน
- กะทิ 100%  ½ ถ้วยตวง
- น้ำตาลทรายขาว ¼ ถ้วยตวง
- เกลือป่น ¼ ช้อนชา


วิธีทำ
1. แช่ข้าวเหนียวค้างคืน หรือแช่ไว้อย่างน้อย 5 ชั่วโมง
    เทน้ำทิ้ง ล้างข้าวเหนียวอีกครั้ง เทใส่กระชอนให้สะเด็ดน้ำ นำข้าวเหนียวใส่หวดหรือลังถึงปูผ้าขาวบาง นึ่งให้สุก
2. น้ำกะทิราดข้าวเหนียว: ผสมกะทิ เกลือ และน้ำตาลทรายคนให้ละลาย
    ตั้งไฟคนอย่าให้กะทิเป็นลูก พอเดือดยกลง
3. ข้าวเหนียวสุกดีแล้ว เทใส่ภาชนะที่มีฝาปิด ใส่กะทิคนให้เข้ากันจนชุ่ม
    ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนข้าวเหนียวระอุดี
4. ตักใส่จานเสิร์ฟ ปิดหน้าด้วยสังขยา ราดด้วยกะทิสด


ส่วนผสมสังขยา
- กะทิ 100% 1/3 ถ้วยตวง
- ไข่เป็ด 3 ฟอง
- น้ำตาลปี๊บ 1/3 ถ้วยตวง
- ใบเตยหอม 3 ใบ หรือใบตองปิ้งไฟให้เหลืองหอม
* ใช้ใบเตยหรือใบตองปิ้ง ขยำไข่ น้ำตาล และกะทิ กรองใส่ชามหรือถาด นำไปนึ่งไฟแรง ประมาณ 30 นาที จนสุกยกลง


กะทิราดข้าวเหนียว
ผสมกะทิสด 1/3 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น ¼ ช้อนชา
และแป้งข้าวโพด 2 ช้อนชา คนให้เข้ากันนำไปตั้งไฟให้เดือด


ข้อแนะนำ
1. เมื่อข้าวเหนียวสุก ยกลงจากเตา ตักข้าวเหนียวใส่ภาชนะมีฝาปิดและรีบราดด้วยกะทิ
    ถ้าข้าวเหนียวเย็นแล้วจะไม่ดูดน้ำ ทำให้ข้าวเหนียวแฉะ
2. ไข่เป็ดจะคาวมากกว่าไข่ไก่ แต่สีของไข่เป็ดจะสวยกว่า ทำให้สังขยาดูน่ารับประทาน
3. การหุงข้าวเหนียวให้เมล็ดข้าวกระจ่าง เป็นเงาใส ตามวิธีของคนโบราณ: ก่อนนึ่งข้าวเหนียว ให้แกว่งสารส้มในข้าวเหนียว
    ทิ้งไว้สักครู่ ใส่กระชอนกรองงให้สะเด็ดน้ำแล้วนำไปนึ่งจนสุก



ใส่ข้าวเหนียวในรังถึงปูด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำ ฉีกใบเตยหอมใส่ ตลบชายผ้าปิดข้าวเหนียว
นำไปนึ่งด้วยไฟแรงจนสุก (ประมาณ 30 นาที)


ข้าวเหนียวสุกดีแล้ว ตักใส่ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
แล้วรีบราดด้วยส่วนผสมน้ำกะทิ คนให้เข้ากัน


ปิดฝาให้ข้าวระอุ (ระหว่างนึ่งข้าวเหนียว ให้ทำน้ำกะทิราดข้าวเหนียว: ผสมกะทิ เกลือ
และน้ำตาลทรายคนให้ละลาย ตั้งไฟคนอย่าให้กะทิเป็นลูก พอเดือดยกลง)






ใช้ใบเตยหรือใบตองปิ้ง ขยำไข่ น้ำตาล และหัวกะทิ


กรองใส่ชามหรือถาด นำไปนึ่งไฟแรง ประมาณ 30 นาที








จานนี้เสิร์ฟกับมะม่วงอกร่องสุก ราดหัวกะทิสด เข้มข้น หวาน มัน
3138  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: วัฒนธรรมร่วมอาเซียน เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2559 13:40:09

วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน คนเล่นเป็นควาย ในพิธีขอฝน เดือน ๖


คนสวมเครื่องประดับศีรษะ และเครื่องแต่งกายคล้ายอยู่ในพิธีกรรม
จูงวัวหรือควายที่ตกแต่งร่างกายแสดงถึงความสำคัญซึ่งมีบทบาทต่อการทำไร่ไถนา
(ลายเส้นคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ภูปลาร้า จ.อุทัยธานี)

เลี้ยงผีบรรพชน เดือน ๕ หน้าแล้ง มีการละเล่นต่อเนื่องยาวนานถึงเดือน ๖ ขอฝน

บวชควาย เป็นการละเล่นในพิธีเลี้ยงผีบรรพชนประจำปีในหน้าแล้งของชาวบ้านเพื่อขอฝนทำนา โดยคนกลุ่มหนึ่งแต่งเป็นควายและแต่งเป็นอื่นๆ เล่นกันทั้งชุมชน แล้วจบลงด้วยกินเลี้ยงกินเหล้า

คนสวมเครื่องประดับศีรษะ และเครื่องแต่งกายคล้ายอยู่ในพิธีกรรม จูงวัวหรือควายที่ตกแต่งร่างกาย แสดงถึงความสำคัญ ซึ่งมีบทบาทต่อการทำไร่ไถนา (ลายเส้นคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ภูปลาร้า จ. อุทัยธานี)

คนสวมเครื่องประดับศีรษะ และเครื่องแต่งกายคล้ายอยู่ในพิธีกรรม จูงวัวหรือควายที่ตกแต่งร่างกาย แสดงถึงความสำคัญ ซึ่งมีบทบาทต่อการทำไร่ไถนา (ลายเส้นคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ภูปลาร้า จ. อุทัยธานี)

ยุคดึกดำบรรพ์ทำกันทั่วไปทั้งภูมิภาค ดังพบในภาพเขียนสีราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ทั้งบริเวณลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ทุกวันนี้เหลือร่องรอยในอีสานและมณฑลกวางสีในจีน

[บวชควาย เป็นชื่อใหม่ แต่โครงสร้างหลักของการละเล่นเป็นพิธีกรรมดั้งเดิมดึกดำบรรพ์]

คำว่า บวช (ในชื่อบวชควาย) ยืมจากศัพท์พุทธศาสนา หมายถึงพิธีกรรมปรับเปลี่ยนสถานะของคนเล่นเป็นควาย จากคนธรรมดาๆ เป็นควายศักดิ์สิทธิ์ ต้องเป็นบุคคลในตระกูลสายแหรกที่ได้รับมอบหมายถ่ายทอดจากชุมชนให้ทำพิธีกรรมนี้ (คนอื่นนอกสายแหรกทำไม่ได้)

[บวชในพุทธศาสนา หมายถึงชายเปลี่ยนสถานะจากคนธรรมดาเป็นนักบวช เช่น ภิกษุ, สามเณร โดยโกนผม แล้วนุ่งห่มด้วยผ้าย้อมสีที่กำหนด]

 

ควายให้กำเนิดคน
คนสองฝั่งโขงเชื่อว่าควายให้กำเนิดคน โดยคนออกมาจากน้ำเต้าปุงที่งอกจากซากจมูกควายที่ตายแล้ว หลังจากพญาแถนส่งควายลงมาบนโลก อีกทั้งมีนิทานเล่ากันในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่าควายสอนคนให้ปลูกข้าว

นอกจากนี้ คนเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วยังฝังโครงกระดูกควายหรือควายดินเผาร่วมกับศพ เช่น ที่บ้านเชียง และบ้านนาดี จ. อุดรธานี แสดงถึงความสัมพันธ์ของควายต่อพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันชาวจ้วงทางตอนใต้ของจีนยังมีประเพณีที่ยกย่องวัวควายในฐานะผู้ทำให้การเพาะปลูกเจริญงอกงาม



คนแต่งเป็นควายและสัตว์อื่นๆ เกี่ยวกับทำนา เช่น กบ ฯลฯ ในการละเล่นบูชากบขอฝน
ที่หมู่บ้านชาวจ้วง (พูดตระกูลภาษาไท-กะได มณฑลกวางสี ในภาคใต้ของจีน
ติดกับมณฑลกวางตุ้งและเวียดนามภาคเหนือ (ภาพเมื่อมีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗)


การละเล่นบวชควายเพื่อขอฝน เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๘ บ้านหวายหลึม กับบ้านแมด อ.เชียงขวัญ จ.ร้อยเอ็ด
(ซ้าย) ชกมวยวาย “ปู่เผ้า เจ้าโฮงแดง” ซึ่งชาวเชียงขวัญเชื่อว่าเป็นบรรพชน
(ขวา) ขบวนควายหลวงหรือควายจ่า ฟ้อนเซิ้งครึกครื้นไปกับเสียงดนตรีที่มี “พังฮาด”
(ฆ้องไม่มีปุ่ม) เคียงข้างด้วย “นางว่า” ชายแต่งกายเป็นหญิง

กระอั้วแทงควาย

การละเล่นบวชควายในอีสาน เป็นร่องรอยที่หลงเหลือของพิธีฆ่าควาย (แทงควาย)เอาเลือดควายทำพิธีศักดิ์สิทธิ์เซ่นผีบรรพชน ยุคดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว

พบหลักฐานเก่าสุดในภาพเขียนสีราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว บนเพิงผาและผนังถ้ำ มีรูปควายกับคน ทั้งที่ภาคกลางและภาคอีสาน (นักโบราณคดีไม่อธิบายว่าพิธีอะไร?)

ยุคแรกเริ่มดั้งเดิมการละเล่นนี้ไม่ชื่อบวชควาย(อย่างที่ชาวบ้านเรียกปัจจุบัน) แต่ยังไม่พบหลักฐานว่าชื่อดั้งเดิมว่าอะไร?

ชื่อการละเล่นอย่างนี้เก่าสุดเรียกกระอั้วแทงควาย มีร่องรอยสืบเนื่องตั้งแต่สมัยอยุธยา, ธนบุรี, รัตนโกสินทร์ ในพระราชพิธีสมโภชต่างๆ

มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่ในโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า [(วัดบวรสุทธาวาส) ใกล้โรงละครแห่งชาติ เชิงสะพานปิ่นเกล้า ฝั่งกรุงเทพฯ]




กระอั้วแทงควาย จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า
[ภาพจากหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่มที่ ๗ นาฏดุริยางคศิลป์ไทย กรุงรัตนโกสินทร์
พิมพ์เป็นที่ระลึกงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๕ หน้า ๖๓]


ลายเส้นคัดลอกกระอั้วแทงควายจากจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า
โดย ธัชชัย ยอดพิชัย

แล้วยังบอกมีไว้ในหนังสือโคลงดั้นเรื่องโสกันต์ พระราชนิพนธ์ ร.๕ ดังนี้

         นางกระอั้วกั้นร่มเว้า            เผอเรอ
         แป้งเปรอะห่มแดงนม            พลัดกลิ้ง
         เคี้ยวหมากผย่ำเผยอ           ยาจุก ตุ่ยนา
         ทำกระตุกกระติกตุ้งติ้ง          ติดผัว
         พบควายร้องหวีดว้าย           ตะกุย ตาแฮ
         ควายไล่กระชั้นตัว              หอกจ้อง
         กระจายหกกระจุกกระจุย       ของหมด
         ต่างวิ่งวุ่นว้าร้อง                 ช่วยที

ต่อมาชาวบ้านเลียนแบบไปเล่นสืบถึงทุกวันนี้ เรียกกระตั้วแทงเสือ แล้วมีบทร้องทำนองเพลงกราวตะลุงว่าบ้องตันถือหอกไปแทงเสือ



กระอั้วแทงควาย การละเล่นมหรสพหลวง
[ภาพจากหนังสือวัฒนธรรม ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๗หน้า ๒๖]

แทงควาย กลายเป็นแทงเสือ
กระตั้วแทงเสือ เป็นการละเล่นของชาวบ้านภาคกลาง ยุคปัจจุบัน [เป็นอย่างเดียวกันกับเพลงทำนองกราวตะลุง ร้องบ้องตันถือหอกไปแทงเสือ]

ลักษณะโครงสร้างเรื่องอย่างนี้ดัดแปลงเลียนแบบการละเล่นของหลวง ชื่อกระอั้วแทงควาย ทุกวันนี้ในอีสานยังมีการละเล่นแบบนี้ เรียกบวชควาย [มีรายงานพิเศษเรื่องบวชควายอยู่ในประชาชื่น มติชน ฉบับวันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๑๗]





วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน นาตาแฮก แรกนาขวัญ เดือนหก

เดือนหกเริ่มเข้าฤดูการผลิตใหม่ เพราะฝนเริ่มตกแล้ว ถึงเวลาต้องเตรียมเครื่องมือทำไร่ไถนา

ที่สำคัญก็คือต้องทำพิธีแรกนาหรือนาแรก ทางอีสานเรียกนาตาแฮก ในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้วว่า “ฤดูไพศาขยสร้อง ฝนสวรรค์” ต่อจากนี้ไปจะมีพิธีแรกนาขวัญ

แรกนาขวัญชุมชนหมู่บ้านทุกแห่งจะมีธงปักและผูกคันไถปลิวไปตามลมทุกหนทุกแห่ง ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาว่า
       ๏ เดือนหกเรียมไห้ร่ำ                  ฤๅวาย
          ยามย่อมชนบทถือ                 ท่องหล้า
          ธงธวัชโบกโบยปลาย                งอนง่า
          คิดว่ากรกวักข้า                    แล่นตาม ฯ
          ๏ ทันธงบใช่น้อง                    เรียมทรุด
          หิวคระหนรนกาม                   พรั่นกว้า
          ธวัชงอนโบกโบยสุด                 ลิ่วลี่
          กรใช่กรหน้าหน้า                   ใช่น้องนาไถ ฯ

จนถึงปลายกรุงศรีอยุธยาก็ยังมีพรรณนาแรกนาขวัญไว้ในนิราศธารโศกของเจ้าฟ้า ธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) ว่า
          ๏ เดือนหกสรกฝนสวรรค์           จรดนังคัลตามพิธี
          แรกนาเข้าธรณี                     พี่ดูเจ้าเปล่าใจหาย
          ๏ เดือนหกตกครั่นครื้น              ฝนสวรรค์
          พิธีจรดนังคัล                        ก่อเกล้า
          แรกนาจอมไอศวรรย์                 กรุงเทพ
          พี่แลบเห็นเจ้า                        เปล่าแล้วใจหาย

 นาตาแฮก แรกนาขวัญ
แรกนาขวัญ เป็นภาษาของคนในภาคกลางที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตรงกับภาษาของคนบริเวณลุ่มน้ำโขงว่า นาตาแฮก (แฮก คือ แรก)

หมายถึงการไถนาทำนาปลูกข้าวครั้งแรกในนาจำลองขนาดเล็กๆ ที่สมมุติขึ้น แล้วมีพิธีสู่ขวัญวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ (บางทีเรียกผีนาหรือพระภูมินา) จงบันดาลให้ทำนาจริงๆ ได้ผลผลิตเป็นข้าวงอกงามอุดมสมบูรณ์เหมือนนาจำลองที่สมมุติขึ้นครั้งแรกนี้ บางแห่งเช่นภาคเหนือจะทำพิธีสังเวยแม่โพสพพร้อมกันไปด้วย



นาตาแฮก มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว มีวัวหรือควาย กับมีคนถืออาวุธทำท่าล่าวัวควายและมีมือประทับทำแนวโค้ง
พร้อมด้วยลายขีดข่วน [ลายเส้นจำลองจากภาพเขียนสีราว๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ที่ผาหมอนน้อย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี]

พิธีอย่างนี้มีมาแต่ดั้งเดิมในชุมชนคนดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สมัยก่อนๆ ทุกคนที่มีอาชีพทำนาต้องทำกันทั่วไปก่อนจะทำนาจริง

ต่อมาเมื่อราชสำนักรับศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย จึงปรุงแต่งให้สอดคล้องกับพิธีพราหมณ์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์สูงขึ้น เช่น มีพระโคเสี่ยงทาย มีเชิญเทวดามาเสกเป่าข้าวเปลือกที่ใช้หว่านในพิธี

เมื่อเสร็จงานก็ให้ชาวบ้านเก็บเม็ดข้าวเปลือกไปบูชา และโปรยลงในนาของตนเพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวมากขึ้น และรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ

ภาษาทางราชการเรียกจรดพระนังคัล เป็นคำเขมร (นังคัล คือ ผาลไถนา) แปลว่าไถนาครั้งแรก มีหลักฐานในกฎมณเฑียรบาลว่าพระเจ้าแผ่นดินยุคต้นอยุธยาหรือก่อนนั้นมอบให้เจ้านายและขุนนางทำพิธีนี้เพื่อความมั่งคั่งในพืชพันธุ์ธัญญาหารของราชอาณาจักร จะละเว้นมิได้ ต้องทำทุกปี จึงมีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ขวัญ มีอยู่ในคน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติ
คนทุกคนในชุมชน (ยุคก่อนรับศาสนาจากอินเดีย) นานมาแล้วเชื่อว่ามีส่วนประกอบสำคัญอยู่ ๒ ส่วน คือ

ส่วนที่เป็นตัวตนได้แก่ร่างกาย กับส่วนที่ไม่เป็นตัวตนคือขวัญ

แม้สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติก็มีขวัญทั้งนั้น เช่น ขวัญควาย ขวัญยุ้งข้าว ขวัญนา จึงมีพิธีแรกนาขวัญ

ขวัญต่างจากวิญญาณ (ในคำสอนทางศาสนา) เพราะเมื่อคนตายไปวิญญาณก็ดับหายไป แต่ขวัญไม่หายไปพร้อมเจ้าของที่ตาย ในทางตรงข้าม ขวัญของผู้ตายยังมีอยู่ แล้วพยายามหาหนทางกลับเหย้าเรือนเดิมของตน ไม่ว่าเหย้าเรือนเดิมจะอยู่ส่วนไหนของโลก

ขวัญมีหน่วยเดียว แต่ฝังกระจายอยู่ทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่แรกเกิดมาเป็นตัวตน และมีความสำคัญเท่าๆ กันหมด รวมถึงสำคัญเท่ากับร่างกายด้วย เพราะร่างกายต้องมีขวัญ ถ้าไม่มีขวัญก็ไม่มีชีวิต ฉะนั้นร่างกายที่มีชีวิตต้องมีขวัญ เช่น ขวัญหัว ขวัญตา ขวัญมือ ขวัญแขน ขวัญขา ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้คนสมัยก่อนจึงเชื่อว่าถ้ามีขวัญอยู่กับร่างกาย เจ้าของขวัญจะมีความสุข แต่ถ้าขวัญออกจากร่างกายไปเจ้าของขวัญก็ไม่มีความสุข ไม่เป็นปกติ อาจเจ็บไข้ได้ป่วยจนถึงตายได้ ฉะนั้นเมื่อคนเราเจ้าของขวัญเจ็บป่วยแสดงว่าขวัญไม่ได้อยู่กับตัว มีความจำเป็นต้องจัดพิธีเรียกขวัญ หรือพิธีสู่ขวัญให้กลับเข้าสู่ตัวตนเหมือนเดิม จะได้อยู่ดีมีสุขตามปกติ

พิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญมีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามท้องถิ่น เช่น เรียกขวัญ, สู่ขวัญ, ทำขวัญ ฯลฯ เป็นพิธีกรรมที่แสดงความผูกพันในระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติระหว่างบุคคลกับครอบครัว และบุคคลกับชุมชน ที่เริ่มมีขึ้นในสังคมชาวนาที่ล้าหลังทางเทคโนโลยี ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว บรรดาเครือญาติจะจัดขึ้นเมื่อเกิดเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งเหตุดีและเหตุไม่ดี เช่น ฝันร้าย รวมทั้งได้รับอุบัติเหตุเภทภัยจากสถานการณ์ต่างๆ

ผู้ทำพิธีเกี่ยวกับขวัญด้วยการท่องบ่นคำสู่ขวัญเป็นทำนองอย่างหนึ่งด้วยฉันทลักษณ์กลอนร่าย เรียกหมอขวัญ เป็นคนเดียวกับหมอผี-หมอพร เทียบเท่ากับผู้เชี่ยวชาญพิเศษในวิชาความรู้เหมือนนักบวชในศาสนาต่างๆ สมัยหลัง โดยใช้เครื่องมือสื่อสารกับขวัญและอำนาจเหนือธรรมชาติคือดนตรี มีฆ้องกับแคนเป็นหลัก ที่ภายหลังเรียกปี่-กลอง



พิธีแรกนาขวัญของราชสำนักรัฐสุพรรณภูมิ (ร่วมยุครัฐละโว้-อโยธยา) ราวหลัง พ.ศ.๑๘๐๐
(เศษภาชนะดินเผามีลายประทับรูปบุคคล คันไถ และวัว จากเตาเผาบ้านบางปูน ต.พิหารแดง อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี)


(ซ้าย) ชาวบ้านอีสานกำลังสวดขวัญวิงวอนร้องขออำนาจเหนือธรรมชาติในพิธีนาตาแฮก
โดยปลูกต้นข้าว ๗-๘ ต้น เรียกปักกกแฮก (ภาพก่อน พ.ศ.๒๕๔๗)
(ขวา) ชาวบ้านกำลังแรกนาขวัญก่อนทำนาจริง บ้านโพธิ์สามต้น อ.บางปะหัน
จ.พระนครศรีอยุธยา (ถ่ายราว พ.ศ.๒๕๔๗)


พิธีแรกนาขวัญ แถวขบวนของพระยาแรกนาขณะทำพิธีแรกนาที่ท้องสนามหลวง
(ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)




วัฒนธรรมร่วมอาเซียน
ตอน ขอฝน เดือน ๖ กบ คางคก คันคาก

เดือนหกตามธรรมชาติจะเริ่มมีฝนตกลงมาบ้าง แต่บางปียังไม่มีฝน คนทั้งหลายเดือดร้อน เพราะวิตกว่าจะลงมือทำนาไม่ได้ เลยเกิดประเพณีขอฝน

ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือจุดบั้งไฟขอฝน จากระบบความเชื่อดั้งเดิมดึกดำบรรพ์เกี่ยวกับกบและคันคาก (คางคก) มากกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ให้น้ำ
ความเชื่อว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างกบ-คางคก-คันคาก เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาไม่น้อยกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว พยานหลักฐานมี ๒ อย่าง คือ

•กบสัมฤทธิ์ ประดับอยู่หน้ากลองทอง หรือกลองสัมฤทธิ์ ที่เรียกกันภายหลังว่ามโหระทึก ใช้ตีขอฝน ฯลฯ พบทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ตั้งแต่ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
•คนทำท่ากบ เป็นภาพเขียนสีบนหน้าผาในถ้ำ และสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ วาดรูปคนกางแขน-ขาทำท่าเหมือนกบ พบมากที่ชุมชนชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีในจีน แล้วยังพบในไทยด้วย มีอายุราว ๒,๐๐ ปีมาแล้ว

ลายสัก หรือสักหมึก ตามร่างกาย แขนขาของผู้คนชนเผ่าในอุษาคเนย์ ล้วนเกี่ยวข้องกับกบ เพราะยุคแรกเริ่มทำลวดลายเหมือนผิวหนังกบจริงๆ ถือเป็นเครื่องรางปกป้องคุ้มครองให้คลาดแคล้วจากภยันตรายและทำให้มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์

เหตุที่คนแต่ก่อนทำท่ากบ เพราะเชื่อว่ากบเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์สื่อสารกับอำนาจอย่างหนึ่งได้ ทำให้มีน้ำฝนหล่นจากฟ้ามาสร้างพืชพันธุ์ธัญญาหารความอุดมสมบูรณ์

แต่ฝนก็ไม่ได้ตกลงมาทุกคราวตามต้องการ เพราะยังมีฤดูที่ฝนไม่ตก ทำให้แห้งแล้ง คนเลยต้องบูชากบเพื่อวิงวอนร้องขอให้กบช่วยบอกผู้มีอำนาจบนฟ้าปล่อยน้ำลงมาเป็นฝนตก

นี่เองจึงมีพิธีกรรม มีการละเล่นเต้นฟ้อนทำท่ากบบริเวณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลานกว้างตรงหน้าผาที่เขียนรูปไว้บูชาเซ่นวักวิงวอน ดังมีอยู่ทั่วไปตั้งแต่ผาลายในมณฑลกวางสี จนถึงสองฝั่งโขงที่ผาแต้ม (จ.อุบลราชธานี) กับเขาปลาร้า (จ.อุทัยธานี)

คันคาก
แต่การวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติผ่านพิธีบูชากบไม่สำเร็จเสมอไป เพราะมนุษย์ควบคุมธรรมชาติไม่ได้ ฉะนั้นหลายครั้งฝนก็ไม่ตกตามที่คนต้องการ

เลยจินตนาการว่าผู้มีอำนาจบนฟ้ากำลังประพฤติมิชอบ ต้องกำราบปราบปรามให้อยู่ในความควบคุม แล้วปล่อยน้ำฝนหล่นมาตามต้องการเมื่อถึงเวลาฤดูกาลทำไร่ทำนา

ทำให้คนสร้างเรื่องขึ้นจากจินตนาการ แล้วบอกเล่ากันปากต่อปากสืบมาเป็นนิทาน เรื่องพญาคันคาก หรือคางคกยกรบขอฝนจากแถนบนฟ้า ทำให้เกิดประเพณีจุดบั้งไฟบอกแถนฟ้าให้ฝนตก แต่ลงท้ายก็ล้มเหลวหมด คือเอาชนะธรรมชาติอย่างแท้จริงไม่ได้

คันคาก เป็นคำลาว ตรงกับคำไทยว่า คางคก คันคาก หรือคางคก เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทเดียวกับกบ รวมทั้งเขียดและอึ่งอ่าง ที่คนดั้งเดิมเริ่มแรกยุคดึกดำบรรพ์ (หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์) เคารพยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ สัญลักษณ์ของน้ำและฝน เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกลงมาเป็นน้ำนองทั่วไป ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผู้คนทุกชนเผ่าที่มีหลักแหล่งอยู่เขตมรสุมที่ทำกสิกรรมโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น เพราะยังล้าหลังทางเทคโนโลยี

คำบอกเล่าอย่างนี้ ยุคแรกเริ่มเป็นเรื่องสั้นๆ ง่ายๆ ใช้บอกเล่าสาธยายในพิธีกรรมขอฝน นานเข้าก็แต่งเติมเสริมต่อยาวขึ้น เมื่อตกไปอยู่กับกลุ่มชนต่างๆ ก็ยิ่งเพิ่มรายละเอียดเข้าไปอีกให้เป็นไปตามประสบการณ์ของกลุ่มตน

ครั้นบางกลุ่มเมื่อรับศาสนาจากบ้านเมืองและรัฐที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแล้ว ก็ยังบอกเล่าเรื่องเก่าๆ ต่อเนื่องมา แต่เพิ่มความเชื่อใหม่ที่ได้จากศาสนาเข้าไปด้วย ดังมีแทรกในเรื่องพญาคันคาก

ส่วนกลุ่มชนที่อยู่ห่างไกลและล้าหลังทางเทคโนโลยี เพราะไม่ได้รับศาสนาจากที่ไหน ก็สืบทอดแบบแผนดั้งเดิมไว้มากที่สุด ดังพบในกลุ่มชนชาติจ้วงที่มณฑลกวางสี ยังมีพิธีกรรมบูชากบแล้วมีการละเล่นเต้นฟ้อนทำท่ากบเหมือนภาพเขียนสีเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้วสืบจนทุกวันนี้

นอกจากนั้นยังมีคำบอกเล่าในรูปของนิทานบันทึกไว้ มีโครงเรื่องใกล้เคียงคล้ายคลึงกับนิทานเรื่องแถนที่แพร่หลายอยู่ในกลุ่มไทยดำทางภาคเหนือของเวียดนาม กับพงศาวดารล้านช้างในลาว

นิทานของชาวจ้วงไม่มีนาค แต่เรื่องพญาคันคากมีนาค เพราะคำนี้ไม่ใช่สมบัติของคนพื้นเมืองในภูมิภาคนี้ หากเป็นคำในตระกูลอินโด-ยุโรป ที่คนจากชมพูทวีป (อินเดีย) ใช้เรียกคนพื้นเมืองที่ล้าหลังทางเทคโนโลยีอย่างรวมๆ และโดยเฉพาะที่มีหลักแหล่งอยู่ทางปากน้ำโขง, เจ้าพระยา, และสาละวิน ต่อมาภายหลังจึงแพร่หลายทั่วไปถึงดินแดนภายใน แล้วมีความหมายเปลี่ยนไปเป็นงู ซึ่งเป็นสัตว์มีพิษ แต่มีอำนาจควบคุมน้ำและมีหลักแหล่งอยู่ใต้ดิน เรียกว่าบาดาล

บริเวณสองฝั่งโขงยุคดึกดำบรรพ์เชื่อว่าหนองน้ำคือถิ่นที่อยู่ของนาค และน้ำผุด น้ำพุ น้ำซึม น้ำซับ รวมทั้งบ่อน้ำ คือรูนาค ที่เป็นเส้นทางไปมาของนาค จอมปลวกก็คือรูนาคอย่างหนึ่ง เพราะมีตาน้ำอยู่ข้างใน

แต่เรื่องพญาคันคากกำหนดให้น้ำอยู่บนฟ้า มีพญาแถนรักษาไว้ น้ำบนฟ้าจะตกลงมาเป็นน้ำฝนให้มนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อนาคจากบาดาลขึ้นไปเล่นน้ำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ไปกระทบโขดหินขุนเขาบนสวรรค์ คือหมู่เมฆนั่นเอง น้ำบนฟ้าจึงจะแตกกระจายกลายเป็นฝนหล่นลงมาสู่โลก ถ้านาคไม่ขึ้นไปเล่นน้ำก็ไม่มีฝน

โครงเรื่องอย่างนี้สะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อของมนุษย์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างดินกับฟ้าว่าต้องอ้างอิงเกี่ยวข้องกัน

วัฒนธรรมฆ้อง
ฆ้อง เป็นวัฒนธรรมร่วมของอุษาคเนย์ มีแหล่งกำเนิดบนผืนแผ่นดินใหญ่ แล้วแพร่กระจายลงไปทางหมู่เกาะทะเลใต้ มีใช้ในทุกกลุ่มชาติพันธุ์สืบเนื่องถึงทุกวันนี้

คำว่าฆ้อง อยู่ในตระกูลภาษาชวา-มลายู คำเดียวกับระฆัง เคยมีใช้ในภาษาไทยคู่กันว่าระฆ้องระฆัง แต่ต่อมากร่อนกลายเหลือเป็นฆ้องคำหนึ่ง และระฆังอีกคำหนึ่ง

คำว่าฆ้องใช้เรียกเครื่องมือทำด้วยโลหะ เช่น ทองสัมฤทธิ์ ฯลฯ แต่มักรู้จักทั่วไปว่า กลองทอง (หรือมโหระทึก) และใช้ประโคมตีขอฝนให้เป็นเสียงสื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ คือผี ฯลฯ ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาชนเผ่าชาติพันธุ์ทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

กลองทองบางใบมีรูปกบหล่อสัมฤทธิ์ลอยตัว ประดับหน้ากลองเป็นสี่ตำแหน่ง คนบางกลุ่มจึงเรียกฆ้องกบ เพราะกบเป็นสัญลักษณ์ของฝนที่บันดาลน้ำให้ทำนา



พิธีกรรมขอฝนมีกลองทองอยู่ด้วยเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว (จากภาพเขียนสีที่ถ้ำตาด้วง จ. กาญจนบุรี)


กบบนหน้ากลองทอง สัญลักษณ์สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้ฝนตก


ฆ้องและกลองทอง เครื่องประโคมในพิธีแรกนาขวัญ เป็นสัญลักษณ์ขอฝน
(พิธีแรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวง พ.ศ.๒๕๔๗)

ที่มา (เรื่อง-ภาพ) : "วัฒนธรรมร่วมอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ หนังสือมติชนสุดสัปดาห์

3139  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก / Re: พระประวัติ-บันทึกข้อคิด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถระ) เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2559 12:45:55


การนับถือศาสนา

เมื่อคืนวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๙๖ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ได้ไปเยี่ยมศพนาง...... อายุ ๘๔ ปี มารดาภรรยาของท่านขุนชำนิขบวนสาส์น (ถนอม นาควัชระ) ที่บ้านตรอกราชเบญญา และคืนนี้ราชบพิธสมาคมขอเป็นเจ้าภาพสวด ๑ คืน  ในฐานะท่านขุนเป็นกรรมการอาวุโส สมาคมจึงอาราธนาพระภิกษุวัดราชบพิธสวด ๔ รูป ซึ่งฝ่ายวัดพิจารณาเห็นว่า เป็นกิจการของสมาคมเพื่อกรรมการของสมาคม และสมาคมก็อยู่ในวงวัด มีกิจเกี่ยวข้องภายในร่วมกันอยู่แล้ว จึงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

การสวดของภิกษุทั้ง ๔ ใช้คาถาจากหนังสือพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๒ สวดโดยสรภัญวิธี พร้อมทั้งคำแปล จึงเกิดเป็นของแปลกสำหรับผู้ฟังทั่วไป เพราะรู้เรื่องได้บ้าง ผิดกับสวดอภิธรรมหรือสังคหะที่ใช้กันเป็นพื้นนั้น สวดเฉพาะบาลี ประกอบกับทำนองผสมเข้าด้วยจึงไม่ทราบว่าสวดเรื่องอะไร เลยไม่สนใจฟัง ครั้งนี้เป็นครั้งแรก แม้แต่เด็กขนาดนักเรียนตอนกลาง ก็ยังสนใจฟังร่วมกับผู้ใหญ่

อาศัยเหตุนี้ พอสวดจบตอนที่ ๓-๔ เห็นพวกเด็กสนใจฟังหลายคน จึงปรารภขึ้นว่า  คาถาที่พระสวดแล้วแปลให้ฟังนี้ ล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นส่วนมาก จะมีของพระสาวกปนบ้างเป็นส่วนน้อย เราได้ฟังรู้ว่าท่านสอนว่าอย่างไร ท่านห้ามว่าอย่างไร แล้วจำมาตรวจเทียบกับตัวของเรา เคยทำอย่างท่านสอนบ้านหรือยัง ถ้ายังก็ต้องพยายามทำตามให้ได้ ถึงเคยทำ แต่ยังบกพร่อง เว้นๆ ขาดๆ ก็ต้องตั้งใจทำให้ดีจนเต็มสามารถเสมอไปทุกโอกาสจนตลอดชีวิต และเคยทำอย่างที่ท่านห้ามบ้างหรือไม่ ถ้าเคย จงพยายามงดเว้นอย่างยิ่ง อย่าฝ่าฝืนกระทำ, คอยละชั่วคือบาป, ทำแต่ดีคือบุญเสมอไปไม่ขาดตกบกพร่องตามที่ศาสนาห้ามและแนะนำ อย่างนี้ เรียกได้ว่าผู้นับถือศาสนาแท้ เป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง เพราะหลักคำสอนของพระพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ ประการ คือ ไม่ทำบาป ๑ ทำบุญ ๑ ทำใจให้ผ่องใส ๑ เท่านี้ ส่วนผู้ที่แสดงตนว่านับถือศาสนาเพียงเห็นพระเณรผ่านมาก็ไหว้ เวลาเช้าพระเณรมาบิณฑบาตก็ใส่ เขาฟังเทศน์ก็พลอยฟังกับเขา เขารับศีลก็พลอยรับกับเขา แต่อาการภายในมิได้เว้นบาป มิได้ทำบุญ ตลอดถึงน้ำใจให้ผ่องใสเลย ไม่มีหลักของศาสนาประจำใจ จึงเป็นการนับถือเพียงผิวเผิน หรือนับถืออย่างงมงาย ย่อมไม่ได้ชื่อว่านับถือพุทธศาสนา หรือเป็นพุทธศาสนิกตรงตามจุดมุ่งหมาย เพียงแต่แสดงอาการภายนอกว่านับถือ ส่วนอัธยาศัยใจคอไม่ได้นิยมทำตามคือเว้นข้อที่ศาสนาห้าม ทำตามข้อที่ศาสนาแนะนำ จึงเป็นการนับถือยังไม่ถูกต้อง

คำที่เราเรียกว่า นับถือ ถ้าจะลองแยกถ้อยคำพิจารณาก็จะเห็นได้ว่า คำว่า นับ ก็ได้แก่การพิจารณาตรวจตรา ใคร่ครวญให้ละเอียดถี่ถ้วนว่าถูกผิด ชั่วดี ควรไม่ควรอย่างไรก่อน เมื่อใคร่ครวญพิจารณาถี่ถ้วนแล้วเห็นว่า เป็นสิ่งถูกเป็นของดี ควรที่จะประพฤติตามได้ก็เริ่ม ถือ คือยึดเป็นแนวนำความประพฤติตลอดไป สิ่งที่ห้ามก็พยายามงดเว้น สิ่งที่แนะนำก็พยายามฝึกฝนอบรมประพฤติไป ถึงจะถือได้ทำได้ครั้งละเล็กคราวละน้อย ก็นับว่าตั้งตนไว้ถูกต้องแนวที่ตนมีความนับถือ ทำได้อย่างนี้จึงจะเรียกว่านับถือแท้  เมื่อเราประกาศตนว่าเป็นพุทธศาสนิกก็คือยอมรับนับถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าประเสริฐแท้ดียิ่งกว่าคำสอนของศาสดาอื่น แต่หากเราไม่ได้ฝึกฝนอบรมตัวของเราตามแนวคำสอน มัวไปติดแต่พิธีภายนอกเพียงการไหว้กราบ ทำบุญใส่บาตรเท่านั้น จะชื่อว่าผู้นับถือศาสนาพุทธได้แท้จริงอย่างไร ครั้นทำไปตามพิธีศาสนาเนิ่นนานก็มักบ่นทวงบุญทวงคุณว่า ทำบุญมาเท่านั้นเท่านี้ ไม่เห็นบุญช่วยให้ร่ำรวยบ้างเลยก็มี เช่นนี้ กลายเป็นทำบุญทำนองค้ากำไรไปเสียแล้ว

ฉะนั้นไม่เลือกว่าใคร ผู้ใหญ่หรือเด็ก หญิงหรือชาย เมื่อถือตนว่าเป็นพุทธศาสนิกคือคนที่นับถือคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ถึงจะไม่ได้เข้าวัด ทำบุญใส่บาตร ถือศีลกินเพล ฟังเทศน์มหาชาติ ไม่ได้ไปนมัสการพระพุทธบาทอย่างไรก็ตาม หากเป็นผู้งดเว้นไม่กระทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสห้าม ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทุกอิริยาบถ หมั่นอบรมฝึกฝนประพฤติตามข้อที่ตรัสสั่งสอนตลอดไปเช่นเดียวกันแล้ว ก็นับว่าเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธอย่างถูกต้องมั่นคง ตรงตามจุดแห่งการนับถือทั้งหมดอย่างแท้จริง

พอจบคำปรารภตอนนี้ ในพวกผู้ใหญ่ได้พูดว่า เพิ่งมาได้ความเข้าใจที่นี่เอง เมื่อก่อนๆ ยังไม่รู้เรื่อง ทำไมไม่ไปพูดทางวิทยุกระจายเสียงให้คนทั่วไปเข้าใจอย่างนี้ได้บ้าง จะเป็นการปรับความเข้าใจของคนอื่นที่ยังเขวอีกมากทีเดียว

และเมื่อตอนจบการสวด เจ้าภาพบังสุกุล ถวายไทยทาน พระอนุโมทนาแล้ว เลยถือโอกาสปรารภแนะนำแก่กรรมการสมาคมผู้เป็นเจ้าภาพว่า บัดนี้เราได้บำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศให้แก่ท่านผู้ล่วงลับเสร็จตามพิธีในศาสนาแล้ว แต่ใคร่แนะนำว่า การอุทิศส่วนบุญเช่นนี้ ควรที่พวกเราจะได้ระลึกตรวจตราถึงบุญกุศลที่เราได้ต่างกระทำกันมาตามสติกำลังของตนๆ แล้วสำรวมใจอุทิศบุญของตนนั้น เพื่อให้บังเกิดเป็นความสุขสำราญแก่ท่านผู้ล่วงลับในสัมปรายภพ อย่างนี้ก็จะได้ชื่อว่าบำเพ็ญบุญ คือคุณงามความดี แล้วอุทิศความดีไปให้ เชื่อว่าท่านคงยินดีรับด้วยความเต็มใจ นี้ก็เป็นจุดหมายแห่งการอุทิศส่วนบุญประการหนึ่ง

บันทึก ๒๐ มี.ค.๙๖



สุขได้เพียงนึก

เสาร์ที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๙๗ เดินทางไปเพชรบุรีด้วยรถส่วนตัว เนื่องในงานฉลองศาลาพรหมจารีย์รังสฤษฏ์ ในเขตวัดสนามพราหมณ์  ขณะพักผ่อนราวเวลา ๑๗.๐๐ น. หมอผล (หมอแผนโบราณ) ผู้คุ้นเคยมาเยี่ยม ปราศรัยทุกข์สุขพอควรแล้ว เรื่องสนทนาก็วกเข้ามาสู่ชีวิต หมอผลได้ปรารภว่า สมัยก่อน (คือมีอายุปูน ๒๕-๓๐ ปี) เคยเดินจากบ้านตำบลโพธิ์พระ มาจังหวัด คิดเป็นระยะทางราว ๘ กม. ทั้งไป-กลับ ได้วันละ ๔ เที่ยว  เดี๋ยวนี้ (อายุประมาณ ๕๐ เศษ) เพียงมาเที่ยวเดียวก็เต็มทีเสียแล้ว จึงเสริมขึ้นว่า นี่เป็นเรื่องของความชราซึ่งเริ่มเสื่อมถอยเรื่อยไป ไม่มีเวลากลับฟื้นคืนหลังเหมือนดังเดิมได้ ใจนั้นยังรู้สึกเข้มแข็งแต่ร่างกายไปไม่ไหว เรื่องจิตใจของคนเรา ดูตามอาการที่กำลังคิดนึกปรารถนา ย่อมรู้สึกว่าแสนสุขสบายหรือสำเร็จทะลุปรุโปร่งไปหมด ไม่มีอะไรขัดข้อง ครั้นลงมือทำตามที่คิดนึกไว้นั้นแล้ว ย่อมผิดจากคิดนึกอย่างมากมาย ทุกคนย่อมได้รับความผิดคาดอย่างนี้เหมือนกันหมด ไม่เลือกว่าใคร ตลอดอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเพียงอารมณ์นึกคิดปรารถนา ย่อมไม่พบอุปสรรคอะไรขัดขวาง จึงรู้สึกปราบปลื้มเบิกบาน เป็นสุขใจอย่างยิ่ง ถึงกับยิ้มให้ตัวเองคนเดียวก็ได้ แต่เมื่อลงมือกระทำ จึงจะพบอุปสรรคขัดขวาง ไม่ให้สำเร็จได้ดังใจนึก เมื่อได้ถลำมาแล้ว ก็ต้องเลยตามเลย ฟันฝ่าอุปสรรคไปตามยถากรรม ขอโทษที่จะยกตัวอย่างเหมือนภิกษุสามเณรผู้คิดจะลาสิกขา ย่อมคิดเห็นแต่ทางสะดวกสบายในการประกอบอาชีพ มีทางสำเร็จมากมาย ไปติดต่อขอความอนุเคราะห์จากใคร มักมีผู้รับรอง เพราะเขาเห็นแก่เพศภิกษุสามเณร พอลาสิกขาออกไปแล้ว มีเพศเท่ากับเขา ต้องเอาชีวิตร่างกาย วิชาความรู้ออกดำเนินงาน จึงมักประสบอุปสรรคนานาประการ ทำให้ผิดความมุ่งหมายเดิม ครั้นจะถอยกลับคืนเพศตามเดิม ก็ด้วยมานะ ต้องเลยตามเลย กระเสือกกระสนไปตามสภาพ จึงพูดได้ว่าคนเราทั่วๆ ไป ล้วนได้รับความผิดหวังจากความตั้งใจเช่นเดียวกันหมด หาพบความสุขสะดวกสบายเหมือนอย่างคิดนึกไว้แต่เดิมไม่ เรียกได้ว่า สุขได้แต่เพียงนึกคิดเอาเองเท่านั้น ครั้นถึงเข้าจริง ล้วนผิดพลาดไปหมด อย่างดีก็ได้เพียงเสี้ยวหนึ่งเท่านั้น แม้ในด้านตรงกันข้ามคืออารมณ์ทุกข์ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน

หมอผล ยกมือประนมรับรองว่า เป็นความจริงโดยแท้ ผมขอรับรอง เพราะตัวผมเองเคยนึกย้อนตรวจดูชีวิตที่ผ่านมาแล้วว่า ตอนไหนที่มีความสุขสบายอย่างจริงจัง ก็เห็นอยู่ตอนที่อุปสมบทแล้วออกธุดงค์ รู้สึกว่าชีวิตตอนนั้นเป็นสุขสบายอย่างที่สุด อยากจะเดินทาง อยากจะพักผ่อน อยากจะสวดมนต์ภาวนาอย่างไร ล้วนทำได้ตามปรารถนาจริงๆ ไม่มีกังวลห่วงใยอะไรเลย เที่ยวบิณฑบาตมาพอมื้อแล้วก็หมดกังวลเรื่องอาหาร ดำเนินชีวิตอย่างสันโดษเดี่ยว เป็นชีวิตอิสระ จึงรู้สึกว่าเป็นสุขรื่นรมย์อย่างแท้จริง  ครั้นลาสิกขาออกมามีครอบครัว ประกอบการอาชีพ ก็นึกอยากจะมีทรัพย์สมบัติเพียงนั้นเพียงนี้ ที่เห็นว่าพอจะเป็นสุขสบาย เมื่อสมประสงค์ตอนต้นแล้วก็เขยิบปรารถนาสูงยิ่งขึ้นอีก ครั้นสมใจแล้วก็ยังตั้งปรารถนาเขยิบต่อไปอยู่เรื่อยๆ ไม่มีหยุดชะงัก ด้วยแต่เดิมก็นึกเพียงเป็นหลักฐานเฉพาะครอบครัว เมื่อมีบุตรธิดา ก็หวังเพื่อให้บุตรธิดาเป็นสุข จึงขวนขวายต่อไป คิดเพื่อความสุขแก่หลานเลนอยู่อีก จึงไม่มีเวลาที่จะเห็นว่าในชีวิตตอนนี้เป็นความสุขอย่างไร ล้วนแต่กำลังทนทุกข์ทรมานเพื่อคนอื่นอยู่ทุกวี่วัน บางวันคนอื่นหลับนอนพักผ่อนสบายแล้ว แต่ตัวเองเป็นพ่อบ้าน ต้องคอยระแวดระวังรักษาป้องกันโจรผู้ร้าย คิดบัญชีรายได้รายจ่าย ตรึกตรองหาวิธีเพิ่มรายได้เพื่อจะให้ทวียิ่งขึ้น ไว้ใจคนอื่นก็ไม่ได้ผลเท่ากับทำเอง จึงต้องเป็นธุระกังวลห่วงใย ตลอดวัน-คืน จะไปไหนมาไหนก็อดที่ห่วงหน้าห่วงหลังไม่ได้ จึงขอรับรองได้ว่าตั้งแต่มีครอบครัวมาแล้วจนบัดนี้ ฐานะก็พอมั่งคั่งสมบูรณ์ แต่หาความสุขทางใจมิได้เลย เป็นความสัตย์จริง

เมื่อมีผู้รับรองในหลักการที่ว่า เรานึกว่าเป็นสุขสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างล้นเหลือนั้น เพียงในอารมณ์ แต่ครั้นลงมือประพฤติปฏิบัติด้วยกายวาจาแล้ว ย่อมไม่ได้สุขเหมือนดังนึกฝันเลย ล้วนต้องประสบกับความผิดพลาดเสมอ ดังนี้แล้ว ใคร่ให้เป็นเครื่องเตือนสติตัวเอง จึงต้องบันทึกไว้ เพื่อเป็นอตีตารมณ์ที่น่าคิดและควรสำรวมอยู่ไม่น้อย  

 
บันทึก ๒๖ เม.ย.๙๗



ไปหาที่สุด

เที่ยงเศษแห่งวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๙๗ ได้ไปส่งนายสรรศรี วงศ์ทองศรี ผู้เป็นศิษย์จะไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่สถานีการบินดอนเมือง ด้วยรถยนต์ของร้านรีฆินทร์ ถนนเฟื่องนคร ผู้โดยสารพระ ๓ รูป ฆราวาส ๓ ทั้งเจ้าของผู้รับ เครื่องบินออกเดินทางประมาณ ๑๓.๑๕ น. เมื่อรอการส่งจนเครื่องบินขึ้นสู่อากาศแล้ว เดินทางกลับมาตามถนนพหลโยธิน มีรถยนต์แล่นสวนทางมาบ้าง ขอทางแล่นเลยไปก่อนด้วยความเร็วบ้าง บรรดาพระต่างก็ปราศรัยเหตุการณ์อื่นๆ ตามควร  ครั้นเห็นรถขอทางผ่านเลยไปมากคัน ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นพวกไปส่งญาติมิตรที่ดอนเมืองเมื่อกี้นี้เอง รูป ๑  ก็ปรารภว่า “จะรีบไปไหนกันนัก เมื่อกี้คงรีบไปส่ง ตอนนี้คงรีบกลับบ้าน?”  เราได้เอ่ยตอบขึ้นว่า “ต่างก็ไปหาที่สุดด้วยกันทั้งนั้น” แล้วก็เงียบกันไป

ตามนัยแห่งคำตอบนี้ หมายความได้ ๒ ทาง คือที่สุดในที่นี้หมายถึงถิ่นฐานบ้านเรือน ที่พัก หรือสถานที่ๆ ตนมุ่งจะไปให้ถึงอย่างเร่งจะกลับบ้านของตน ด้วยกลัวถูกฝนกลางทางนี้ทางหนึ่ง ซึ่งมิใช่จุดประสงค์แห่งการตอบ จุดประสงค์แห่งการตอบ มุ่งหมายที่สุดคือความตาย คือใครจะมาเร็ว มาช้า ไปเร็ว ไปช้า อย่างไรก็ตาม ที่สุดแม้เดินด้วยลำแข้งตนเองก็ตาม ต่างก็มุ่งไปหาที่สุด คือความตายเหมือนกันหมด. ความตายถือว่าเป็นที่สุดของชีวิตในภพนี้ แต่นึกให้เข้าหลักธรรม ถ้าตายไปทั้งยังพอกพูนอยู่ด้วยบาปหยาบช้าที่สุดของกรรมที่จะตามสนองผลัดเปลี่ยนให้เวียนว่ายตายเกิดอีกเท่าไรมิรู้สิ้น ก็เหมือนมัววนเวียนหลงทางหลงถนน ไปไม่ถึงที่ตนประสงค์ คล้ายกับยืดทางให้ยาวต่อไปอีกมิรู้จบ. หากตายไปด้วยความผ่องใส มีจิตใจมากด้วยบุญคุณงามความดี ย่อมใกล้ถึงที่สุดแห่งกรรมคือ สันติสุขรวดเร็วเข้า คล้ายอาศัยยานพาหนะด้วยรถยนต์ ย่อมถึงที่สุดได้เร็วกว่าเดินเท้าหลายร้อยเท่า นัยนี้หมายที่สุดคือที่สุดของกรรม ได้แก่พระนิพพานแล.  

บันทึก ๒๒ ก.ค.๙๗

3140  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / Re: แฝดสยามอิน-จัน เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2559 15:41:34
.



ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๐๕ รัฐบาลสหรัฐได้มีสาส์นตอบแสดงความซาบซึ้งในน้ำพระทัย โดยแจ้งว่าสภาพอากาศในอเมริกาไม่เหมาะสมกับช้างสยาม ประกอบกับสหรัฐมีเครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพสำหรับการขนส่ง และใช้ทำงานภายในประเทศอยู่แล้ว

และต่อมาหลังสงคราม นายพลยูลิซีส แกรนท์ ผู้นำกองทัพฝ่ายเหนือที่นำทัพชนะกองทัพฝ่ายใต้ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐในปี พ.ศ.๒๔๑๒-๒๔๒๐ หลังหมดวาระการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐแล้ว แกรนท์ออกเดินทางไปรอบโลก และในปี พ.ศ.๒๔๒๒ ท่านแวะมากรุงเทพฯ มีโอกาสเข้าเฝ้าในหลวง ร.๕ ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานเครื่องดนตรีไทยเป็นของที่ระลึกหลายชิ้น นายพลแกรนท์นำของดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

วกกลับมาที่เรื่องของปู่ทวดอิน-จัน ในอเมริกาครับ

หลังสงครามกลางเมือง ผู้คนฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มีความชิงชังซึ่งกันและกัน ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความอาฆาตพยาบาทต่อกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน คำว่า “แฝดสยาม หรือ Siamese Twins” ถูกรัฐบาลนำไปเป็นสัญลักษณ์ “ของการอยู่ร่วมกันแม้แตกต่าง การแบ่งปัน ความยุติธรรม” เพื่อเร่งฟื้นฟูความปรองดองของสังคมที่เป็นซากแหลกละเอียด

น่าภูมิใจนะครับที่คำว่า Siam หรือสยาม คือประเทศสยาม ไปเป็นสัญลักษณ์ในเชิงสร้างสรรค์ในสังคมอเมริกา ในขณะที่ชาวสยามแทบไม่รู้จักอเมริกา

สงครามเลิก ทาสนิโกรผิวดำชักแถวเดินออกจากไร่ของอิน-จัน บังเกอร์ เช่นเดียวกับทาสทั่วอเมริกา การเกษตรกรรมในไร่หยุดลงโดยอัตโนมัติทั่วพื้นที่รัฐตอนใต้ของอเมริกา ครอบครัวใหญ่ต้องใช้เงินมาก

บุญเก่าที่พ่อแม่ให้มา คือการเป็นแฝดตัวติดกัน ซึ่งมาถึงวันนี้ อิน-จัน อายุอานามมากโขแล้ว จะต้องหาเงินมาประทังชีวิต

แฝดสยามตัดสินใจกัดฟันกลับไปเปิดการแสดงโชว์ตัวอีกครั้ง โดยเลือกให้นายเอช.พี.อิงกอลล์ (H.P.Ingalls) เพื่อนเก่าทำหน้าที่ผู้จัดการ คราวนี้ต้องปรับแผน โดยเอาภรรยา ซาร่าห์และอาดีเลดที่ยังไม่เคยปรากฏตัวบนเวทีมาก่อน พร้อมบุตรชาย ๒ คนคือแพทริก และอัลเบิร์ตร่วมเดินทาง

ผู้เขียนต้องขอบูชาในความเป็นนักสู้ชีวิตที่ไม่เคยยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆ บรรพบุรุษ ๒ ท่านนี้ยิ่งใหญ่ ไม่รู้จักความเหนื่อยยาก

นายอิงกอลล์เป็นมือใหม่หัดขับ ไม่มั่นใจว่าตนเองจะนำพาคณะการแสดงไปตลอดรอดฝั่งหรือไม่ จึงตัดสินใจพาแฝดและลูกๆ ไปพบกับเจ้าพ่อแห่งวงการแสดงเจ้าเดียวที่ยืนหยัดตลอดการ คือ นายพี.ที.บาร์นัม (P.T.Barnum)

ในราวกลางปี พ.ศ.๒๔๑๑ เหมือนราชรถมาเกย นายบาร์นัมดีดนิ้วเป๊าะ ตอบตกลงโดยจะให้แฝดแสดงที่นิวยอร์กก่อนแล้วจะพาคณะไปลุยในยุโรป ในช่วงนั้นนายบาร์นัมเองก็ถังแตก เนื่องจากในระหว่างสงครามกลางเมือง อาคารพิพิธภัณฑ์การแสดงของเขาถูกไฟไหม้เกลี้ยง

กลยุทธ์เรียกคนดูที่มีมนต์ขลังของพ่อมด บาร์นัมคือ ป่าวประกาศว่านี่จะเป็นการแสดงตัวครั้งสุดท้ายของแฝดสยามตัวติดกัน ก่อนเดินทางไปผ่าตัดแยกร่างในอังกฤษ

ผลการโหมโฆษณาของยอดนักขายบาร์นัมได้ผลอีกตามเคย ผู้คนแห่กันเข้ามาชมการแสดงไม่น้อยกว่าสมัยแรกๆ ทำเงินได้พอสมควร ทั้งๆ ที่อเมริกายังไม่ฟื้นจากบาดแผลสงครามกลางเมือง

๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๑๑ คณะการแสดงประกอบด้วย อิน-จัน และแคเธอรีน สาวสวยวัย ๒๔ ลูกสาวของแฝดอิน และแนนซี่ ลูกสาว หน้าหวานสยาม-อเมริกัน วัย ๒๑ ปี พร้อมด้วย นายอิงกอลล์ ออกเดินทางจากท่าเรือนิวยอร์กด้วยเรือชื่อไอโอวา (Iowa) หันหัวเรือไปเมืองลิเวอร์พูลของอังกฤษ

ตลอดการเดินทางเจอคลื่นลมตลอดทาง ผู้โดยสารเมาเรืออาเจียนเจ็บป่วยร้องระงม แต่แฝดอิน-จันลูกทะเลจากแม่กลองกลับเล่นหมากรุก ดื่ม กินอาหาร สูบบุหรี่ กินลมชมทะเลอย่างมีความสุขยิ่งนัก

๑๘ ธันวาคม ปีเดียวกัน คณะทั้งหมดขึ้นฝั่งที่เมืองลิเวอร์พูล

ครอบครัวบังเกอร์มาอังกฤษคราวนี้มีวาระซ่อนเร้นในใจหลายเรื่องที่ล้วนสะสมความร้อนรุ่มท่ามกลางความหนาวเหน็บ แคเธอรีนลูกสาวคนสวยของแฝดอินป่วยเป็นวัณโรคที่รักษาในอเมริกามานานไม่ดีขึ้นเลย ภาวนาขอให้เจอแพทย์ในอังกฤษที่จะช่วยรักษาเธอให้หาย

แฝดอิน-จันที่ตัวติดกันมานานราว ๕๗ ปี เกิดความคุกรุ่นในใจ ที่อดทนและทนอดกันมา ช่วงหลังแฝดจันกลายเป็นนักดื่มคอทองแดงที่ยืดเยื้อเรื้อรัง ทำเอาแฝดอินต้องทุกข์ระทมไปด้วยนานนับปี และการที่พ่อของลูกๆ ต้องแยกกันอยู่บ้านละ ๓ วัน มันเป็นความอึดอัดสะสม

ความคิดเรื่องการผ่าตัดแยกร่างในวัย ๕๗ ปียังเป็นความคิดที่ไม่สายเกินไป

จะเกิดอะไรขึ้น การตัดสินใจครั้งสำคัญบนแผ่นดินอังกฤษ






• คนคู่จากสยามได้เฝ้าควีนวิกตอเรียที่บัคกิง

ท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านมหากาพย์ระดับโลกเรื่องแฝดสยามอิน-จัน มาตลอด ๒๐ตอน สอบถามมาว่า ได้ข้อมูลของแฝดอิน-จันและครอบครัวที่ละเอียดทุกซอกทุกมุมเหล่านี้มาจากไหน

เกือบ ๒๐๐ ปีที่แล้ว แฝดสยามอิน-จัน ลูก หลาน และเพื่อนๆ ของแฝดอิน-จันในอเมริกา เขียนบันทึกไดอารี่ เขียนจดหมายตอบโต้กันทางไปรษณีย์ บรรยายความอย่างละเอียด ระบุวัน เดือน ปี และเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของแฝดอิน-จัน มีทั้งดี ทั้งร้าย จดหมายเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ลูกหลานเหลนภูมิใจนำข้อมูลมาเปิดเผยรวบรวมเพื่อสืบค้นหาบรรพบุรุษต้นตระกูลของตนเอง

เพื่อนสนิทมิตรสหายของแฝดสยาม แพทย์ ผู้พิพากษา พ่อค้า ชาวอังกฤษและอเมริกัน ที่เคยสัมผัสกับครอบครัวของแฝดคนคู่ ล้วนเขียนเป็นหนังสือขายดีโด่งดังในอเมริกา นี่คืออุปนิสัยของชาวตะวันตกที่ชอบบันทึก ขีดเขียน วาดภาพ บอกเล่าทุกอย่าง น่ายกย่องยิ่งนัก

ถ้าฝรั่งเหล่านี้ไม่เขียนบันทึกอะไรไว้ คนไทยรุ่นหลังจะไม่ทราบเรื่องบรรพบุรุษสยามจากเมืองแม่กลองที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกคู่นี้เลย

ผู้เขียนขอเรียนว่า พ.ศ.๒๕๕๙ ลูก หลาน เหลน โหลน ของแฝดสยามจากเมืองแม่กลองที่สืบตระกูล ขยายเครือญาติ ๕ ชั่วอายุคนต่อมาเกือบ ๒๐๐ ปี เป็นพลเมืองอเมริกันนามสกุลบังเกอร์ (Bunker) รวมตัวกันนับญาติได้ราว ๑,๕๐๐ คน ได้รวบรวมข้อมูลทั้งปวงของบรรพบุรุษอิน-จัน มาเผยแพร่ ทายาทของแฝดสยามเก็บรักษาเอกสาร เครื่องใช้ของแฝดอิน-จันไว้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย และยังมีนักเขียนของอเมริกา เขียนหนังสือเป็นวรรณกรรมขายทั่วโลก

แฝดสยามที่ชื่ออิน-จัน ฝรั่งเรียกว่า Eng-Chang ที่กล้าเดินทางออกไปจากแผ่นดินสยามเมื่ออายุ ๑๘ ปี ในขณะที่ภาษาอังกฤษไม่กระดิกหู เพื่อแสวงโชคลาภจากโลกกว้างในสมัยในหลวง ร.๓ คือบรรพบุรุษชาวสยามที่ทำให้คนทั้งโลก โดยเฉพาะแพทย์ รู้จักคำว่า Siamese Twins มาจนถึงทุกวันนี้

สำหรับในประเทศไทยปัจจุบัน ชาวเมืองแม่กลอง สมุทรสงคราม จะลองสืบหาลูกหลาน เหลน วงศาคณาญาติของแฝดบันลือโลกคู่นี้หรือไม่? ท่านเป็นวีรบุรุษของชาวไทยนะครับ

กลับมาที่ตำนานชีวิตแฝดสยามครับ

ในยุคสมัยที่แฝดไปอยู่ที่อเมริกานั้น ชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีความฝันว่า อยากจะเห็นลอนดอน มหานครที่เจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรม ตึกรามบ้านช่องสถานที่ราชการที่งามสง่า มีบุคคลที่มีชื่อเสียง คนเก่งๆ ของโลก แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ กวี นักดนตรี การศึกษาทุกแขนง กองทัพเรืออันเกรียงไกร ล้วนรวมตัวกันอยู่ที่ลอนดอน อังกฤษคือศูนย์กลางของโลกนี้

ในตอนค่ำของ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๑๑ แฝดอิน-จันที่อายุหมิ่นเหม่ ๖๐ ปี และลูกสาว ๒ คน คือ แคเธอรีน สาวน้อยวัย ๒๔ ปี และแนนนี่ อายุ ๒๑ ปี พร้อมด้วยนายอิงกอลส์ (Ingalls) เดินทางด้วยเรือจากนิวยอร์กมาถึงเมืองลิเวอร์พูล ของอังกฤษ ในช่วงที่อากาศหนาวกัดเซาะเข้าไปถึงกระดูกอ่อนข้างในร่างกาย

เดินทางในทะเลมานาน ๑๔ วันเต็ม ลูกสาว ๒ คนเมาคลื่น เมาทะเล อาเจียนจนรากเขียวรากเหลืองเหมือนผู้โดยสารอื่นๆ แต่แฝดสยามลูกแม่กลองอิน-จัน กิน ดื่ม เล่นลูกเต๋า เล่นหมากรุกกันมาตลอดทาง เฮฮาปาร์ตี้ กระเซ้าเย้าแหย่ เล่าเรื่องตลกโปกฮากับผู้โดยสารคนอื่นๆ ในเรือมาตลอด หาได้ปวดหัวตัวร้อนแต่ประการใดไม่

คณะของลุงอิน-จัน เข้าที่พักชั่วคราว แล้วเดินทางต่อด้วยรถไฟไปถึงเมืองเอดินเบอร์ก (Edinburgh) ที่อยู่ทางตอนเหนือติดชายทะเลด้านตะวันออกของเกาะอังกฤษ มีงานเลี้ยงต้อนรับคณะของแฝดสยามรวมทั้งคณะการแสดงอื่นๆ ที่จะมาร่วมโชว์ตัว โชว์ของแปลก คนประหลาด มีชาวเมืองสนใจเข้ามาชมการแสดงพอสมควร ซึ่งต่างก็มาขอดูแฝดตัวติดกันเป็นๆ ครั้งสุดท้ายตามคำโฆษณาชวนเชื่อ ก่อนการผ่าแยกร่างในอังกฤษ

หน้าฉากของแฝดสยาม คือการยิ้มแย้ม แจ่มใส ตั้งใจพูดคุยกับผู้คนทั้งหลาย แต่สิ่งที่ร้อนรุ่มกลุ้มใจและรอคำตอบอย่างกระวนกระวาย คือการขอนัดพบกับแพทย์แห่งวิทยาลัยแพทย์เอดินเบอร์ก (Edinburgh Medical College) เพื่อให้ตรวจร่างกายแคเธอรีนลูกสาวคนสวยของแฝดอินที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เธอป่วยเจ็บมานาน ไม่แข็งแรง ทุกคนสวดภาวนา ขอให้เกิดปาฏิหาริย์กับลูกสาวคนสวย ลูกครึ่งสยาม-อเมริกัน สักครั้ง

ทีมแพทย์ที่วิทยาลัยเอดินเบอร์กช่วยกันตรวจร่างกายแคเธอรีนอย่างละเอียดแล้ว ลงความเห็นว่าเธอป่วยเป็นวัณโรค การรักษาในขณะนี้ทำได้เพียงแค่การบรรเทาอาการเท่านั้น

มันคือพายุอีกลูกที่กระหน่ำเข้ามาในชีวิต สาวน้อยแคเธอรีนได้รับการยืนยันชัดเจนสิ้นสงสัยจากแพทย์ในอังกฤษ ซึ่งฟังแล้วหดหู่ไร้ความหวัง (ในสมัยนั้นยังไม่มีวิธีการรักษาวัณโรค : ผู้เขียน)

ชีวิตต้องดำเนินต่อไป การนัดพบแพทย์คิวต่อไปคือ เรื่องของแฝดตัวติดกันจากสยาม ที่ตัดสินใจเด็ดขาดแล้วจะขอผ่าตัดแยกร่าง แสวงหาเสรีภาพ อิสรภาพ ประสงค์จะแยกทางกันเดินก่อนตายให้จงได้

เรื่องนี้เป็นประเด็นโด่งดัง และเป็นความท้าทายของแพทย์ระดับโลกในยุโรปและอเมริกาครับ จะเป็นการตรวจร่างกายก่อนการผ่าแยกร่างของแฝดตัวติดกัน (Cojoined Twins) ซึ่งการตัดสินใจตรงนี้ จะเป็นการวัดความเก่ง ความซื่อตรงของแพทย์ ที่ใครก็อยากแสดงฝีมือเป็นรายแรกของโลก

เซอร์เจมส์ ซิมป์สัน (Prof. Sir James Simpson) เป็นศาสตราจารย์ของวิทยาลัยแพทย์เอดินเบอร์ก มีดีกรีเป็นแพทย์ที่เคยถวายการรักษาพระราชินีของอังกฤษและบุคคลสำคัญระดับโลกมาแล้วหลายราย มีเกียรติประวัติผลงานระดับโลก ขอเป็นเจ้าภาพดูแลความเป็นไปได้ที่จะผ่าแยกร่างแฝดประหลาดคู่นี้ให้เองกับมือ

หนังสือ The Two ของ Irving Wallace และ Amy Wallace บรรยายอย่างละเอียดว่า ศาสตราจารย์แพทย์ยอดเก่งคนนี้แหละคือคนที่คิดผลิตคีมที่แพทย์ใช้ เรียกว่า Forceps แกยังเป็นคนริเริ่มใช้อีเทอร์ (Ether) เป็นยาสลบเป็นคนแรก และเป็นคนริเริ่มการใช้ยาชาเฉพาะที่เป็นคนแรกของโลก

แนนนี่เขียนบันทึกไดอารี่เมื่อ ๒๒ ธันวาคม ว่า เซอร์ ซิมป์สันเดินทางมาพบกับแฝดอิน-จัน ในงานเลี้ยงด้วยตัวเอง ท่านเป็นคนมีบุคลิกน่านับถือ สุขุมเยือกเย็น คุณหมอเอ่ยปากเชิญอิน-จันให้ไปพบที่ที่ทำงาน แต่ให้ไปพบศ.โซจีน (Prof. Sogine) เพื่อการตรวจขั้นต้นก่อน

วันรุ่งขึ้น อิน-จันเดินทางไปพบ ศ.โซจีนตามนัด คณะแพทย์ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ใช้เวลานานพอดู คำตอบที่ลุงอิน-จันได้รับคือ ไม่สมควรผ่าแยกร่าง และแพทย์ยังกล่าวเสริมอีกว่า แม้จะเดินทางไปที่ปารีส หรือที่ไหนๆ ก็จะไม่มีหมอคนใดกล้าลงมือผ่าแยกร่างให้

ยังเหลือ ศ.ซิมป์สันอีกคนที่จะให้ความเห็นเป็นคนสุดท้าย

วันรุ่งขึ้นคณะของแฝดสยามเดินทางไปพบ ศ.ซิมป์สันด้วยหัวใจระทึก เพราะหัวใจของแฝดทั้งสองได้แยกร่างออกจากกันล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ศ.ซิมป์สัน แพทย์มือหนึ่งระดับโลกตรวจร่างกายอย่างละเอียดซ้ำอีก ทีมแพทย์ใช้แสงไฟส่องไปที่เนื้อเยื่อตรงที่ยึดร่างกายแฝดเข้าด้วยกันเพื่อต้องการทราบข้อมูลอวัยวะภายใน ดูแล้วดูอีก แต่ยังไม่ลงความเห็นทันที ขอไปประชุมหารือกับทีมแพทย์ให้รอบคอบ ให้อิน-จันอดทนรอคำตอบอย่างเป็นทางการ

๗ สัปดาห์แห่งการอคอยคำตอบที่สำคัญที่สุดในชีวิต ผลการวินิจฉัยของ ศ.ซิมป์สัน ระบุอีกเช่นกันว่า ไม่สมควรผ่าแยกร่าง

ศ.ซิมป์สัน นำผลการตรวจวิเคราะห์ร่างกายของลุงอิน-จัน ไปเขียนบทความทางวิชาการชื่อ “A Lecture on the Siamese and Other Viable United Twins” ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษเมื่อ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๑๒

แฝดสยามหมดอาลัยตายอยาก ความทุกข์โศกเข้ามาปกคลุมชีวิตให้ทุกข์ระทมหนักเป็นทวีคูณ คนคู่นี้รอคอยการผ่าแยกร่างมาทั้งชีวิตตั้งแต่เป็นทารกจนแก่เฒ่า แต่ก็ต้องผิดหวัง

อิสรภาพที่โหยหา ขอผ่าแยกร่างก่อนตายเป็นไปไม่ได้ซะแล้ว ตั้งแต่เกิดมา ๕๗ ปีแล้วไม่เคยเดินไปไหนคนเดียว ไม่เคยนอนคนเดียว ไม่เคยเข้าส้วมคนเดียว แต่งงานมีเพศสัมพันธ์ก็ต้องอุ้มกระเตงกันไป พลิกคว่ำพลิกหงาย กินเหล้าเล่นไพ่ ติดหนึบกันไปทั้งกายและใจมาตลอด

ผู้เขียนขอแทรกความเห็นส่วนตัวว่า แพทย์ทุกท่านที่แฝดไปขอคำปรึกษามาตลอดชีวิต ตั้งแต่เหยียบแผ่นดินอเมริกาเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อนจนมาถึงมือ ศ.ซิมป์สัน ทุกท่านมีจรรยาบรรณของแพทย์มืออาชีพ ซื่อสัตย์ในหลักวิชาการของแพทย์ การผ่าแยกร่างเป็นเรื่องเล็กมากสำหรับแพทย์ทุกคน แต่อวัยวะภายในต่างหากที่ไม่เกื้อกูลต่อการผ่า

ผ่าไม่ได้คือไม่ได้ ถ้าแพทย์คนใดคิดอยากดัง ทรยศต่อวิชาชีพ กะล่อนเหลวไหล ตัดสินใจลงมือผ่าแยกร่างให้ คงไม่มีใครกล้าขัดขวาง ซึ่งแฝดก็คงจะเสียชีวิตทันที และแพทย์ที่ลงมือทำคงจะออกมากล่าวขอโทษพอเป็นพิธี อ้างโน่นอ้างนี่เรื่อยเปื่อย

คณะของอิน-จัน พักสงบจิตใจ ทำใจ แต่ก็โชว์ตัวหาเงินไปด้วยแบบหน้าชื่นอกตรมในเมืองเอดินเบอร์กต่ออีก ๒ สัปดาห์ จึงย้ายวิกเดินทางต่อไปตะวันตกถึงเมืองกลาสโกว์ (Glasgow) แสดงตัวเก็บเงินอีก ๒ สัปดาห์ อากาศหนาวสุดๆ ไม่มีแสงแดด ลมแรง ฝนตกเฉอะแฉะตามแบบฉบับของเกาะอังกฤษ ทุกคนในคณะล้วนปวดหัวตัวร้อน ไอจามเป็นไข้หวัดกันงอมแงม

แฝดและคณะเดินทางฝ่าลมหนาว ละอองฝน ท้องฟ้าที่ไร้ดวงตะวัน ขึ้นไปโชว์ตัวในสกอตแลนด์ ตระเวนแสดงตัวเก็บเงินอยู่อีกราว ๖ เดือน ซึ่งก็ได้เงินมาจากกระเป๋าชาวสก๊อตไม่น้อย เพราะผลของการโฆษณาของนายบาร์นัมที่พยายามโกหกชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลายว่า นี่จะเป็นการแสดงครั้งสุดท้ายก่อนผ่าแยกร่าง

ได้เงินมาพอสมควร แต่สิ่งที่สูญเสียไปมากโขคือ สุขภาพร่างกายของแฝดอาวุโสที่เสื่อมทรุดลงอย่างฮวบฮาบ

ระหว่างที่แฝดสยามตระเวนในอังกฤษ หนังสือพิมพ์แสดงความเป็นมิตรกับแฝดอย่างอบอุ่น โดยนำเรื่องราวเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ตอนที่แฝดหนุ่มจากสยามคู่นี้มาที่เกาะอังกฤษ แทรกด้วยตำนานรักของสาวลอนดอนที่จะขอวิวาห์กับแฝด “แบบเหมาจ่าย” ขอรวบแฝดเป็นสามีแต่ผู้เดียว เป็นที่วี้ดว้ายกระตู้วู้สนั่นเมืองมาแล้ว

แนนนี่ ลูกสาวของแฝดบันทึกในไดอารี่ว่า คนอังกฤษชื่นชมการแสดง ปรบมือต้อนรับให้กำลังใจแฝดในทุกเวที ชาวอังกฤษให้การยอมรับแฝดว่าเป็นนักสู้ชีวิต เป็นพระเอกตัวจริง ที่ ๔๐ ปีที่แล้ว แฝดหนุ่มมาปรากฏตัว มาตรวจร่างกายในอังกฤษ เมื่ออายุมากขึ้นราว ๕๗ ปี ก็มิได้มีความผิดปกติของร่างกาย มิได้แปลงร่างเป็นอสูร เป็นปีศาจซาตานแต่อย่างใด แถมยังมีลูกสาวสวยมาโชว์ตัวให้ดูซะอีก

ระหว่างการแสดงในอังกฤษยังไม่ทันเลิกรา เพื่อนใหม่ที่มีนามว่านายวอลเลซ (Wallace) เข้ามาตีสนิท เสนอตัวขอนำแฝดไปแสดงที่ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย เวียนนา อิตาลี และสเปน คุณลุงอิน-จันตกตะลึงในข้อเสนอธุรกิจที่ร้อนแรง และจะได้เดินทางสุดหล้าฟ้าเขียวในยุโรป แฝดให้ความสนใจกับข้อเสนอทางการเงินของนายวอลเลซ หลายประเทศในยุโรปที่รุ่งเรืองเจิดจรัส คนคู่สู้ชีวิตประสงค์จะไปเยือนให้จงได้

โชคชะตาของแฝดสยามที่จะได้พบบุคคลสำคัญของโลกเวียนมาอีกแล้วครับ

วันหนึ่งบนเกาะอังกฤษ อิน-จันได้รับการติดต่อจากสำนักพระราชวังให้ไปเข้าเฝ้าพระราชินีวิกตอเรียของอังกฤษในพระราชวังบัคกิงแฮม นี่เป็นเกียรติประวัติอันสูงส่งของชีวิตแฝดสยามอีกครั้ง

ลูกสาวที่ไปด้วยบันทึกว่า พระราชินีวิกตอเรียทรงมีพระราชปฏิสันถาร สอบถามเรื่องราวชีวิตของอิน-จันในสยาม ก่อนกราบบังคมทูลลากลับ พระราชินีของอังกฤษได้พระราชทานนาฬิกาพกแบบมีโซ่คล้องแกะสลักชื่อให้แก่แฝดสยามคนละเรือน ซึ่งปัจจุบันเหลนของแฝดยังคงเก็บรักษาไว้ เป็นสมบัติของตระกูลบังเกอร์ในอเมริกา

อิน-จัน คือทูตตัวจริงเสียงจริงจากสยามประเทศที่ได้เข้าเฝ้าพระราชินีอังกฤษ ผู้เป็นมหาอำนาจอันดับต้นของโลกใบนี้ จะมีใครซักกี่คนที่ได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงให้กับสยามประเทศเฉกเช่นอิน-จัน

แฝดจากแม่กลอง อายุอานามใกล้ ๖๐ ปี เดินทางท่องโลกไปมา เหมือนตัวละครในเทพนิยาย ถึงแม้จะเป็นการทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ต้องยอมรับว่าไม่เคยหวาดหวั่นภยันตราย เหตุเภทภัยและมัจจุราชทั้งปวง บนบก และในทะเล

การแสดงตัวหาเงินในอังกฤษปิดฉากลงอย่างสวยงาม

๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๒ เรือกลไฟชื่อ City of Antwerp ออกจากท่าเรือเมืองควีนส์ทาวน์ (Queenstown) แล่นฝ่าคลื่นลมข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก นำผู้โดยสารเต็มลำรวมทั้งแฝดสยามผู้โด่งดังกลับมาถึงนิวยอร์กในราวกลางเดือนสิงหาคม

เงินตุงกระเป๋า บวกกับของฝากของขวัญสารพัดที่ซื้อเพื่อครอบครัวมาจากอังกฤษ อิน-จันไม่ลืมที่จะช้อปปิ้งในมหานครนิวยอร์ก หาซื้อของฝากทุกคนในครอบครัวที่รอคอยที่บ้านเมาท์แอรี่ นอร์ธแคโรไลนา มีของฝากให้แม้กระทั่งทาสที่บ้าน

เพื่อนรัก เพื่อนสนิทของแฝดได้บันทึกว่า ลุงแฝดมือหนัก ใช้จ่ายเงินไม่น้อยเพื่อซื้อของฝากครอบครัว เพื่อครอบครัวแล้ว แฝดทั้งสองจะใช้ของดี กินดีอยู่ดีเสมอ

แต่ตอนนี้ หลังสงครามกลางเมือง แฝดและครอบครัวประสบปัญหาการเงิน การทำเกษตรในที่ดินอันกว้างใหญ่ที่เคยทำรายได้เป็นอันต้องพังพาบเพราะไม่มีทาสไว้ทำงานในไร่อีกต่อไป

การตระเวนแสดงตัวเก็บเงินไปเรื่อยๆ คือบุญเก่า ที่พระเจ้าให้มา ที่พอจะหาเงินมาจุนเจือครอบครัวได้

ขอเปลี่ยนอารมณ์ท่านผู้อ่านมาย้อนอดีตดูว่า ในขณะที่แฝดสยามไปใช้ชีวิตในอเมริกา ยุโรปแบบโชกชุ่ม แล้วในสมัยนั้นมีอะไรน่าสนใจบ้างในสยามประเทศของเรา เพื่อเป็นความรู้เสริมครับ

ในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น พระราชินีวิกตอเรียของอังกฤษได้ส่งราชทูตคือ เซอร์จอห์น เบาริง มาเข้าเฝ้าฯในหลวง ร.๔ ที่กรุงเทพฯ เพื่อขอทำสัญญาทางไมตรีและการค้ากับสยาม คณะของอังกฤษมาพำนักและประชุมกับข้าราชการของสยามในกรุงเทพฯ ราว ๑ เดือน และลงนามในสัญญาร่วมกันเมื่อ ๑๘ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๘ สัญญาดังกล่าวชาวสยามเรียกว่าสนธิสัญญาเบาริง (Bowring Treaty) ที่เปิดประตูการค้าให้พ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯโดยเสรี สยามอนุญาตให้ตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพฯ ให้ชาวอังกฤษถือครองที่ดินในสยามได้ ประการสำคัญ ข้าว ปลา และเกลือ จะไม่เป็นสินค้าต้องห้ามอีกต่อไป

กลับมาที่ตำนานชีวิตแฝดอิน-จัน ที่มีชะตาชีวิตสูงส่งได้ไปเฝ้าพระราชินีวิกตอเรียของอังกฤษที่บัคกิงแฮม

คณะของลุงแฝดอิน-จันยอดทรหด เดินทางต่อจากนิวยอร์กกลับถึงบ้านที่เมาท์แอรี่ นอร์ธแคโลไรนา พร้อมเงินก้อนใหญ่เพื่อเลี้ยงครอบครัว ที่มีลูก ๒ ท้องรวมกัน ๒๑คน และเพื่อเงินเป็นทุนจ้างทาสนิโกรมาทำงานในไร่ขนาดมหึมาให้มีผลผลิต

ตามความตกลงที่ลุงแฝดจับมือกับนายวอลเลซที่อังกฤษ หมายความว่า ลุงแฝดตอบรับที่จะเดินทางทัวร์ยุโรปอีกครั้ง อิน-จันจะมีเวลาอยู่บ้านทำมาหากินในอเมริกาอีก ๕ เดือน ก็จะต้องร่อนเร่ไปแสดงตัวหาเงินในเยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซีย อิตาลี และสเปน เพื่อเปิดตลาดหาเงินมาประคับประคองครอบครัวต่อไปอีก

สำหรับสาวสวย แคเธอรีน ที่ป่วยเป็นวัณโรค หลังจากเดินทางกลับจากพบแพทย์ที่อังกฤษ อาการของเธอไม่ดีขึ้นเลย พระผู้เป็นเจ้ามิได้ประทานปาฏิหาริย์ต่อเธอ ถัดมาอีกราว ๒ ปี เธอเสียชีวิตครับ

ซึ่งถ้าเป็นสมัยปัจจุบัน วัณโรคเป็นโรคที่รักษาหายได้ (ผู้เขียน)

ลุงแฝดมีครอบครัวใหญ่ ต้องใจถึง ต้องไม่กลัวความยากลำบาก ต้องพร้อมเผชิญกับทุกสถานการณ์ การเดินทางไปยุโรปครั้งต่อไปจะเป็นครั้งสุดท้าย? และจะเกิดอะไรขึ้นในพระราชวังที่รัสเซีย?


โปรดติดตามตอนต่อไปครับ
หน้า:  1 ... 155 156 [157] 158 159 ... 274
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.705 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 07 กันยายน 2566 04:21:12