[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 พฤษภาคม 2567 02:07:16 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กบฏลัทธิเหมาในอินเดีย  (อ่าน 1621 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2337


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2558 19:08:25 »

.

กบฏลัทธิเหมาในอินเดีย

เผยโฉมกลุ่มกบฏผู้อยู่เบื้องหลังความขัดแย้งภายในประเทศที่หยั่งรากลึกที่สุดและดำเนินมายาวนานที่สุดของอินเดีย

ชายมือปืนซึ่งอาศัยอยู่ในแถบชายป่าผู้นี้มีชีวิตและลาโลกไปพร้อมชื่อหลากหลาย บางคนรู้จักเขาในชื่อปราชานต์ คนอื่นๆ อาจรู้จักเขาในชื่อปรัมจิต  บางครั้งเขาเรียกตัวเองว่าโคปัลชี  นัยว่าเป็นการแลกเปลี่ยนชื่อปลอมกับหัวหน้ากลุ่มกบฎอีกรายเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ทางการอินเดียที่พยายามตามล่าเขา

ตอนที่เราพบกัน เขาเพิ่งฆ่าคนมาหมาดๆ และแนะนำตัวด้วยอีกชื่อหนึ่งว่า "สหายมนัส" ขณะนำร่างผอมบางก้าวออกมาจากเงามืดใต้ต้นวอลนัตพร้อมปืนกลในมือ

เย็นย่ำแล้ว ดวงตะวันคล้อยต่ำ เงามืดของมือปืนคนอื่นๆ อีกสิบกว่าคนหลบซุ่มอยู่ท่ามกลางนาข้าวสีเขียวเข้มที่อยู่ใกล้ๆ พวกเขาคอยระแวดระวังและเฝ้ารอ มนัสและพรรคพวกกำลังออกเดินทาง จึงไม่มีเวลาพูดคุยมากนัก

ในอินเดีย พวกเขาเป็นที่รู้จักในชื่อซึ่งเป็นคำคำเดียวว่า  “นักซาไลต์” (Naxaliteหรือกลุ่มกบฏลัทธิเหมา ผู้เป็นตัวการสำคัญของความขัดแย้งภายในประเทศที่รากหยั่งลึกที่สุดและดำเนินมายาวนานที่สุดของอินเดีย ทุกวันนี้ สงครามที่ยืดเยื้อยาวนานหลายสิบปีของพวกเขาทำให้ผู้คนล้มตายมากกว่าความขัดแย้งในแคว้นแคชเมียร์ที่เริ่มคลี่คลายลงเสียอีก มานโมฮัน ซิงห์ อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย เคยเรียกสงครามนี้ว่า "ภัยคุกคามความมั่นคงภายในที่ร้ายแรงที่สุด"

ระหว่างเหตุรุนแรงที่ประทุขึ้นในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนการนัดพบของเรา  มนัสซึ่งมีอายุแค่ 27 ปีกับพลพรรคของเขา สังหารตำรวจไปหกนาย และทำให้อีกแปดนายได้รับบาดเจ็บระหว่างการซุ่มโจมตีตามแนวเนินเขาเตี้ยๆ อันเป็นฐานที่มั่นของเขาที่เรานัดพบกันวันนี้

หากว่ากันตามจริงแล้ว  พวกนักซาไลต์ควรเป็นเพียงเศษซากจากอดีต  มากกว่าจะเป็นกลุ่มกบฎที่ฆ่าฟันผู้คนในนามเหมาเจ๋อตง  ผู้นำคอมมิวนิสต์ชาวจีนผู้สิ้นชีพไปนานแล้ว  ซ้ำยังเกิดขึ้นในประเทศที่เขาไม่เคยเหยียบย่างไปด้วยซ้ำ แถมยังเป็นประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย กระนั้น สงครามของพวกเขาที่สู้รบท่ามกลางความเฟื่องฟูของอุตสาหกรรมพลังงานของอินเดีย กลับได้รับการต่อลมหายใจด้วยความต้องการการพัฒนาและแรงขับจากระบบเศรษฐกิจในระดับโลกเมื่อการแสวงประโยชน์จากสินแร่และสิทธิในที่ดินกลายเป็นตัวกระตุ้นให้การก่อความไม่สงบฟื้นคืนอีกครั้ง

ในแง่นี้ ความต้องการพลังงานของอินเดียและความกระหายวัตถุดิบของวงการอุตสาหกรรมข้างต้น ไม่เพียงเชื่อมโยงนักฆ่าผู้กราดเกรี้ยวในป่าดงเข้ากับถ่านหิน เหล็ก และการผลิตไฟฟ้า แต่ยังหลอมรวมกลุ่มนักซาไลต์ให้เป็นปึกแผ่นกับชุมชนด้อยโอกาสที่สุดกลุ่มหนึ่งของอินเดีย  นั่นคือชนเผ่าอาทิวาสี  ชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มแรกที่ใช้ชีวิตอยู่ในอินเดีย   และแทนที่จะเป็นความด่างพร้อยจากอดีต กลุ่มกบฎนักซาไลต์ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกลไกอย่างการข่มขู่ การรีดไถ และความรุนแรง กลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งที่ชี้นำอนาคต ทำให้การพัฒนากลายเป็นคู่ขัดแย้งกับขนบประเพณี โดยมีรัฐต่างๆ ที่มีสินแร่มั่งคั่งที่สุดของอินเดียเป็นจุดศูนย์กลาง

แน่ล่ะว่า สหายมนัสซึ่งเป็นถึง "ผู้บัญชาการระดับเขต" ของนักซาไลต์ ทั้งๆ ที่อายุยังน้อย ดูมั่นอกมั่นใจมากว่า ความทุกข์ระทมของคนยากไร้ที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะช่วยให้การต่อสู้ของเขาได้รับชัยชนะในที่สุด เขามองไกลไปถึงว่าการโค่นล้มรัฐบาลที่กรุงเดลีเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง

"เสือที่โตเต็มวัยย่อมแก่ตัว แล้วก็ตายครับ" เขารับประกันกับผม ดวงตาเป็นประกายลุกโชนแบบเดียวกับสหายร่วมอุดมการณ์หัวรุนแรงที่พบเห็นได้ทั่วโลก  "ไม่ต่างจากรัฐบาลที่พวกเราพยายามโค่นล้ม ซึ่งแก่ตัวและผุพังลงเรื่อยๆ จนใกล้ตายอยู่รอมร่อ การปฏิวัติของพวกเรายังเยาว์วัยและมีแต่จะเติบโตงอกงาม นี่คือกฎแห่งจักรวาลครับ ในการต่อสู้ระหว่างนักการเมืองกับสังคมใหม่ที่ปกครองโดยประชาชน ประชาชนจะเป็นฝ่ายชนะ"

เขาพูดจนแสงสุดท้ายของวันลับหายไปหลังแนวไม้ ก่อนจะเดินหายลับไปในเงามืดอย่างเงียบเชียบพร้อมคนของเขา กองกำลังความมั่นคงกำลังคืบใกล้เข้ามา พวกเขาไม่อยากถูกตีวงล้อม

ครั้งต่อมาที่ผมเห็นหน้าเขา สหายมนัสเสียชีวิตแล้ว ใบหน้าเขาจ้องมองผมมาจากภาพถ่ายบนแท่นบูชาข้างทางแห่งหนึ่งในหมู่บ้านยากไร้อันเป็นบ้านเกิดของเขา  ชาวบ้านที่นั่นบอกผมว่า เขาถูกฆ่าในเหตุยิงต่อสู้กันไม่นานหลังเราพบกัน เมื่อได้อ่านข้อความจารึกบนแผ่นหินหน้าหลุมศพ ผมถึงได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของชายกบฎผู้มีหลายนามคนนี้ เขาชื่อ ลาเลศ

กลุ่มนักซาไลต์ตั้งชื่อตามชื่อหมู่บ้านนักซาลบารีในรัฐเบงกอลตะวันตก ย้อนหลังไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1967 เกิดเหตุชาวไร่ชาวนาลุกฮือต่อต้านต่อเจ้าของที่ดิน แต่ล้มเหลว  เหตุการณ์นั้นทำให้สารวัตรตำรวจนายหนึ่งเสียชีวิตจากคมธนู เหตุนองเลือดดังกล่าวให้กำเนิดขบวนการเคลื่อนไหวที่กระจัดกระจาย ปราศจากรูปร่างชัดเจน และยึดการปฏิวัติเกษตรกรรมของลัทธิเหมาเป็นต้นแบบอย่างหลวมๆ นับจากนั้นมา กลุ่มกบฏลัทธิเหมาก็เป็นที่รู้จักในชื่อ นักซาไลต์

แหล่งพักพิงของพวกเขาคือป่าทัณฑะการันยะ  ผืนป่ากว้างใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 92,200 ตารางกิโลเมตร  ชื่อภาษาสันสกฤตนี้แปลคร่าวๆ ได้ว่า  ป่าแห่งการลงทันฑ์  ป่าทัณฑะการันยะซึ่งแผ่กว้างคร่อมพื้นที่หลายรัฐรวมถึงรัฐฉัตติสครห์และรัฐอานธรประเทศ เปรียบเหมือนฐานที่มั่นหรือป้อมปราการของกลุ่มนักซาไลต์  นั่นคือป่าอพุชมรห์ ป่าดงกลางพงไพรและหนึ่งในดินแดนผืนสุดท้ายของอินเดียที่เข้าถึงได้ยากและยังไม่รับการสำรวจอย่างทั่วถึง

ความตายปรากฏโฉมหลายในหลายรูปแบบกลางป่าแห่งนั้น กลุ่มนักซาไลต์ฆ่าตำรวจและกองกำลังรบกึ่งทหารด้วยระเบิดข้างถนนและการซุ่มโจมตี  ตำรวจฆ่าพวกนักซาไลต์ใน "เหตุเผชิญหน้า" ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นหมายรวมทั้งการยิงปะทะกันซึ่งหน้าและการฆ่าแบบหมายหัว ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสายให้รัฐบาลถูกจับขึ้นศาลประชาชน แล้วสำเร็จโทษด้วยขวานหรือมีด ส่งผลให้อัตราการฆาตกรรมพุ่งสูงขึ้น และไม่รวมอยู่ในจำนวนผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บอย่างเป็นทางการจากความขัดแย้งนี้ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 12,000 คนในช่วง 20  ปีที่ผ่านมา

กลุ่มผู้นิยมลัทธิเหมากลุ่มแรกซึ่งเป็นพวกชนชั้นกลางหัวรุนแรงและฝักใฝ่คอมมิวนิสต์จากรัฐอานธรประเทศมาถึงป่าป่าอพุชมรห์ในปี 1989 โดยหลบหนีการปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น ขบวนการดังกล่าวอาจล่มสลายไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว แต่ป่าอพุชมรห์กลับกลายเป็นดั่งน้ำอมฤตสำหรับนักปฏิวัติลัทธิเหมา ณ ดินแดนกลางป่าลึกแห่งนี้ พวกเขาพบฐานผู้สนับสนุนใหม่อย่างง่ายดายจากชาวเผ่าอาทิวาสี

คำว่า อาทิวาสี เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า "พื้นเมืองดั้งเดิม" หรือ "ผู้ตั้งรกรากดั้งเดิม" ชาวอาทิวาสีได้รับการรับรองสถานะความเป็นกลุ่มชนเผ่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของอินเดีย พวกเขามีอยู่ด้วยกัน 84 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรอินเดีย และอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดภายในและรอบๆ ป่าทัณฑะการันยะ

คงเป็นการง่ายเกินไปหากจะอธิบายว่า ขบวนการนักซาไลต์ประกอบด้วยชนเผ่าอาทิวาสีล้วนๆ กองกำลังขององค์กรนี้ไม่ได้มีแค่สมาชิกกลุ่มชนเผ่าตามกฎหมายของอินเดีย แต่ยังมีนักศึกษาชนชั้นกลาง กลุ่มดาลิต (คนในวรรณะจัณฑาล) ซึ่งเป็นวรรณะต่ำสุด และรวมถึงนักรบจำนวนมากจากกลุ่มชนด้อยโอกาสทางสังคมของอินเดีย

ความไม่ประสีประสาต่อโลกและความเปราะบางทำให้ชาวอาทิวาสีในป่าอพุชมรห์พร้อมที่จะอ้าแขนรับผู้ร้ายหลบหนีให้อยู่ร่วมชุมชนด้วย และหลังจากสัมผัสอุดมการณ์ลัทธิเหมาติดต่อนานกันหลายปี พวกเขาหลายคนก็กลายเป็นกำลังพลใหม่ของขบวนการนักซาไลต์

ในประเทศที่ประชากรเกือบ 180 ล้านคนมีชีวิตรอดด้วยเงินไม่ถึงสองดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และการสั่งเครื่องดื่มเพียงรอบหนึ่งของคนมีอันจะกินในบาร์กลางกรุงนิวเดลีอาจแพงกว่าเงินเดือนชาวไร่คนหนึ่งหลายเท่าตัว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่กลุ่มกองกำลังลัทธิคอมมิวนิสต์จะเฟื่องฟูขึ้นในพื้นที่ถูกทอดทิ้งและห่างไกลจากการกำกับดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐ 

ทว่าสิ่งที่ทำให้การต่อสู้ของกลุ่มนักซาไลต์ดูเหมือนเป็นเรื่องตลกร้าย และทำให้พวกเขาสร้างผลกระทบต่ออนาคต ของประเทศได้อย่างมหาศาลคือข้อเท็จจริงที่ว่า จุดศูนย์กลางของขบวนการนี้ตั้งอยู่ ณ ดินแดนอันเป็นศูนย์กลางแห่งความมั่งคั่งทางสินแร่ของอินเดีย มรดกทางธรรมชาติอันรุ่มรวยนี้เป็นปัจจัยสำคัญในแผนการของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ที่จะชุบชีวิตเศรษฐกิจอันร่อแร่ของอินเดีย และส่งกระแสไฟฟ้าไปยังบ้านเรือนหนึ่งในสามของประเทศ หรือคิดเป็นประชากรร่วม 300 ล้านคนที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในความมืด




อาชัย มาริชาน คนงานเหมืองแบกถ่านหินจากเหมืองเปิดแห่งหนึ่งไปยังรถบรรทุกที่จอดรออยู่ที่เมืองโพกาพาฮารี ในรัฐฌารขัณฑ์
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




สตรีพื้นเมืองโพสท่าถ่ายรูปหน้าฉากภาพวาดในงานเทศกาลประจำปีที่หมู่บ้านโอรฌา
ในป่าอพุชมรห์ของรัฐฉัตติสครห์ อันเป็นฐานที่มั่นหลักของกลุ่มกบฏลัทธิเหมาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มนักซาไลต์
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




ในร้านอาหารที่สร้างขึ้นตามมีตามเกิด พวกผู้ชายเตรียมอาหารเช้าให้คนงานที่มาเข้ากะเช้า
ที่โรงงานไฟฟ้าพลังความร้อนจินดัลทัมนาร์ โรงไฟฟ้าในเขตไรครห์ รัฐฉัตติสครห์แห่งนี้ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




ชายซึ่งยืนอยู่หลังรถกระบะมารับศพลูกชายชื่อ นกุล มุนทา ในหมู่บ้านเฮโซ รัฐฌารขัณฑ์
กลุ่มกบฏนักซาไลต์สังหารเด็กหนุ่มวัยรุ่นผู้นี้ด้วยข้อหาเป็นสายให้ตำรวจ
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




คนรุ่นปู่รุ่นพ่อของพวกเขาคือพรานป่า แต่แรงงานชาวอาธิวาซิสเช่นที่เห็นต้องทำงานหลังขดหลังแข็ง
ในเหมืองถ่านหินเช่น ที่เหมืองอุริมารีแห่งนี้ พื้นที่ป่าและประเพณีของพวกเขากำลังถูกคุกคามจากความกระหายพลังงานของอินเดีย
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




หนูน้อยชาวอธิวาซิสที่ขาดสารอาหารอย่างรุนแรงซุกกายในอ้อมแขนของผู้เป็นแม่ที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กในเมืองฮารีซาบาด
ภาวะโลหิตจางและวัณโรคพบได้ทั่วไปในหมู่เด็กชาวอธิวาซิส ในพื้นที่ห่างไกลเด็กสามในห้าคนอาจเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




ตำรวจหน่วยเฉพาะกิจเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการจู่โจมที่วิทยาลัยต่อต้านการก่อการร้ายและการรบ
ในป่าที่เมืองกังเกอร์ รัฐฉัตติสครห์ ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจเกือบ 30,000 นายผ่านการฝึกอบรมที่นี่
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการตอบโต้เหตุรุนแรงจากกลุ่มนักซาไลต์
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




เจ้าหน้าที่ตำรวจในรัฐฉัตติสครห์ต้องเข้ารับการฝึกหลักสูตรหน่วยรบเฉพาะกิจที่วิทยาลัยต่อต้านการก่อการร้ายและการรบในป่าที่เมืองกันเกอร์ 
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




นักรบกลุ่มทีซีพีซึ่งแยกตัวออกมาจากกลุ่มลัทธิเหมาลาดตระเวนหมู่บ้านในรัฐฌารขัณฑ์ระหว่างตามล่าอดีตพันธมิตร
บ่อยครั้งที่ความบาดหมางและการรีดไถกรรโชกทรัพย์ทำให้พวกนักซาไลต์แตกแยกกันเอง
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




เด็กๆ ในเมืองซาร์จู รัฐฌาร์ขัณฑ์ กลับมาเรียนต่อได้ตามปกติอย่างน้อยก็ในตอนนี้ หลังจากกลุ่มกบฏลัทธิเหมาถูกขับออกจากพื้นที่
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




เด็กหญิงมาลตี เตลัง วัยเก้าขวบ ผู้สูญเสียบิดา หวีผมให้เพื่อนในบ้านเด็กกำพร้าที่กุฐรุ รัฐฉัตติสครห์
เธอก็เหมือนกับเด็กทุกคนที่นี่ที่สูญเสียอย่างน้อยพ่อหรือแม่ในเหตุการณ์ความไม่สงบ
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




รานี กุมารี เจ้าสาวชนเผ่าอาทิวาสี มีอายุเพียง 15 ปี เธอชโลมศีรษะด้วยชาดเปียกๆ นัยว่าเพื่อชำระล้างมลทิน
และให้มีโชคดี เด็กหญิงในรัฐฌารขัณฑ์เกือบสองในสามแต่งงานตั้งแต่อายุ 18 ปี
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




ขนนกยูงและเปลือกหอยกตกแต่งอยู่บนเครื่องประดับศีรษะทำจากเขากระทิงของมือกลองชาวอธิวาซิส ระหว่างเทศกาลโอรฌา
ในป่าอพุชมรห์ ทุกปีสมาชิกชนเผ่าจะมารวมตัวกันเพื่อร้องรำทำเพลงและค้าขายในเทศกาลที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี 
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ




มหาเถโร เสาร์ (ด้านหน้า) ทอดสายตามองหมู่กองหินซึ่งเคยใช้เป็นสถานที่ฝังศพและหอดูดาว พื้นที่ที่อุดมไปด้วยถ่านหินแห่งนี้
ได้รับการจัดสรรให้บริษัทผลิตไฟฟ้าของอินเดีย แม้การทำเหมืองถ่านหินยังคงชะงักงันจากการประท้วงคัดค้านของชาวบ้านในท้องถิ่น
ภาพโดย : ลินซีย์ แอดดารีโอ



: ngthai.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.519 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤษภาคม 2567 00:12:22