[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 22:09:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กองทุนประกันสังคม ช่วยท่านออมเงินเพื่อวัยเกษียณได้อย่างไร  (อ่าน 2603 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 22:02:45 »

กองทุนประกันสังคม ช่วยท่านออมเงินเพื่อวัยเกษียณได้อย่างไร
http://www.manager.co.th/MutualFund/...=9530000061202
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤษภาคม 2553 10:26 น.
 
ปัจจุบันท่านทราบหรือไม่ว่า เงินสมทบกองทุนประกันสังคมที่ท่านถูกหัก 5% จากเงินเดือนทุกเดือน ท่านจะได้อะไรกลับมาบ้าง เพื่อให้เข้าใจง่าย ขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลข

โดยสมมติว่าท่านมีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป เนื่องจากกองทุนประกันสังคมมีเพดานการจัดเก็บเงินสมทบจากฐานค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท ท่านที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จึงสมทบร้อยละ 5 ของเพดานค่าจ้าง 15,000 บาท เป็นจำนวนรวม 750 บาท นายจ้างของท่านสมทบอีก 750 บาท รัฐบาลช่วยสมทบอีก 412.50 บาท ซึ่งเงินสมทบทั้งหมดดูแลสิทธิของท่านดังนี้

 

 
เงินสมทบส่วนแรกจำนวน 225 บาท กับเงินสมทบในส่วนหลังจำนวน 75 บาทนั้น ถูกหักเพื่อการคุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร และว่างงาน เงินสมทบในส่วนนี้เปรียบเสมือนการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต

หากท่านไม่ได้ใช้สิทธิกรณีใดเลยในขณะนี้ เงินสมทบในส่วนนี้จะถูกนำไปรวมเป็นเงินกองกลาง เพื่อใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือจ่ายเป็นเงินประโยชน์ทดแทนการขาดรายได้ให้แก่เพื่อนๆ สมาชิกที่เป็นผู้ประกันตนเมื่อต้องประสบความเดือดร้อนจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร หรือว่างงาน ตามหลักการ “เฉลี่ยทุกข์ – เฉลี่ยสุข” ซึ่งกันและกัน

สำหรับเงินสมทบกรณีสงเคราะห์บุตร เป็นส่วนที่รัฐบาลจ่ายสนันสนุนให้กับผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 1 คิดเป็นเงิน 150 บาทต่อเดือนเงินสมทบกรณีชราภาพ เป็นการหักเงินสมทบเพื่อ “การออม” โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบร้อยละ 3 และนายจ้างสมทบร้อยละ 3 รวมเป็นร้อยละ 6 ของทุกเดือน ตามตัวอย่างในตาราง คิดเป็นเงินออมรวม 900 บาทต่อเดือน

ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับคืนเป็นประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง โดยจะได้รับเป็นเงินก้อน ซึ่งเรียกว่า “เงินบำเหน็จชราภาพ” ในกรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ครบ 180 เดือน หรือรับเป็นรายเดือน ซึ่งเรียกว่า “เงินบำนาญชราภาพ” ในกรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพครบ 180 เดือนขึ้นไป เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541



 
ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจะจ่ายเมื่อผู้ประกันตนอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือตาย หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. เงินบำนาญชราภาพ เริ่มนับเดือนที่ 1 เมื่อกฎหมายใช้บังคับเดือนธันวาคม 2541จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน รับเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต หากเสียชีวิตภายใน 60 เดือนหลังการรับเงินบำนาญ จะมีบำเหน็จตกทอดให้ทายาท 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือนที่ได้รับอยู่การคำนวณเงินบำนาญชราภาพนำเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายมาหาเฉลี่ย/เดือน คูณด้วย ร้อยละ 20 (บวกจำนวนร้อยละที่เพิ่มให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือนสำหรับระยะเวลาที่เกิน 180 เดือน)สูตรการคำนวณส่งเงินสมทบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญร้อยละ 20 ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และจะได้รับอีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่เกิน 180 เดือน


ตัวอย่าง ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 180 เดือน อายุ 55 ปีบริบูรณ์และไม่ได้ทำงานแล้ว ค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายเฉลี่ย/เดือน = 15,000 บาท จะได้รับเงินบำนาญ = (15,000 x 20%) = 3,000 บาท/เดือนในตัวอย่างนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญเป็นรายเดือน เดือนละ 3,000 บาท ไปตลอดชีวิต หากเสียชีวิตเมื่ออายุ 75 ปี คือ รับบำนาญแล้ว 20 ปี คิดเป็นเงินบำนาญที่ได้รับทั้งหมด (240 เดือน x 3,000 บาท) = 720,000 บาท
2. เงินบำเหน็จชราภาพ จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือนหากจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพมาไม่ครบ 12 เดือน จะได้รับเฉพาะส่วนที่ผู้ประกันตนจ่ายร้อยละ 3 ต่อเดือน เท่านั้นหากจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพมาครบ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับส่วนของผู้ประกันตน ส่วนของนายจ้าง และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปีที่กองทุนประกันสังคมให้ ซึ่งที่ผ่านมาสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร

ตัวอย่าง ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมา 120 เดือน อายุ 55 ปีบริบูรณ์และไม่ได้ทำงานแล้ว ค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายเฉลี่ย/เดือน = 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ 450 บาท/เดือน นายจ้างจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ 450 บาท/เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ = (120 เดือน x 900 บาท) + (ผลประโยชน์ตอบแทน 10 ปี) = 108,000 + (ผลประโยชน์ตอบแทน 10 ปี)

ท่านคงได้เห็นแล้วว่าเงินสมทบของท่าน ให้ประโยชน์อะไรกับท่านบ้าง ท่านผู้ประกันตนส่วนใหญ่รู้จักประกันสังคมเฉพาะเรื่องเจ็บป่วย แต่ไม่ทราบว่าที่จริงแล้ว ทุกๆ เดือนที่จ่ายสมทบ ท่านได้สร้างความคุ้มครองให้กับตนเองอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นคุ้มครองเรื่องทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน รวมทั้งท่านยังได้ออมเงินไว้กับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ท่านได้มีบำเหน็จหรือบำนาญใช้ในยามเกษียณด้วย

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการออมเงินกับกองทุนประกันสังคมเพื่อให้ได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพหลังเกษียณ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วนประกันสังคม 1506 ติดต่อระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติ ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง ให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 07.00 – 19.00 น.
ที่มา : วิน พรหมแพทย์ สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม
 
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 22:05:05 »

สปส. ย้ำ ผปต. เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุ ห้ามทิ้ง!! ใบเสร็จรับเงินเด็ดขาด

http://www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&cat=98&id=1177



          สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ย้ำผู้ประกันตนที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ในช่วงสงกรานต์ให้เก็บหลักฐานต่างๆ เพื่อยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01) ได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด ทุกสาขาทั่วประเทศ ภายใน 1 ปี
          สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองดูแลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยมีผู้ประกันตนที่เดินทางท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาและอาจประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้น หากผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้ และมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน ซึ่งหากไม่เข้ารับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุที่สุดได้ โดยผู้ประกันตน/ญาติ/ผู้เกี่ยวข้องจะต้องรีบแจ้งให้โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ทราบในทันที เพื่อจะได้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือเพื่อรับผู้ประกันตนไปรักษาต่อเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ สำนักงานประกันสังคมจะรับผิดชอบตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด ภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาจนถึงเวลาที่ โรงพยาบาลตามบัตรฯ ได้รับแจ้ง โดยผู้ประกันตนสามารถนำหลักฐานมายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ คือ
          - แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)
          - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,ใบรับรองแพทย์,ใบเสร็จรับเงิน
          - หนังสือรับรองของนายจ้าง (กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้)
          - สำเนาสมุดบัญชีธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ดังนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย,
 ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารซีไอเอ็มบี
           ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) พร้อมหลักฐานได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ทุกสาขาทั่วประเทศ ได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน มีข้อสงสัยสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม เขตพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการทุกวันตั้งแต่ 07.00-19.00 น. ระบบโทรศัพท์ตอบรับอัตโนมัติให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th
--------------------------------------------------------
ศูนย์สารนิเทศ สอบถามข้อมูลประกันสังคม โทร.1506 / www.sso.go.th

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.325 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 01 ตุลาคม 2566 03:39:33