[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 พฤษภาคม 2567 16:50:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เรื่องเล่าจากนิทรรศการ Four Senses of Rights เมล็ดพันธุ์แห่งสิทธิมนุษยชน  (อ่าน 41 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2567 20:24:09 »

เรื่องเล่าจากนิทรรศการ Four Senses of Rights เมล็ดพันธุ์แห่งสิทธิมนุษยชน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-26 19:27</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เรื่องเล่าจากนิทรรศการ Four Senses of Rights ส่วนหนึ่งภายใต้โครงการเขียน เปลี่ยน โลก ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาฝึกงานจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ผู้มีความเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53553708450_2db7927860_k_d.jpg" /></p>
<p>ภายในห้องสี่เหลี่ยมชั้น 3 ของอาคาร Palette Artspace ย่านทองหล่อ รูปภาพของคนทั้ง 4 คน ถูกติดอยู่ที่ริมผนังทางเข้าฝั่งทางด้านซ้ายมือ ถัดไปเพียงไม่กี่ก้าวก็เจอเข้ากับแว่น VR ที่ฉายภาพน้ำทะเลที่ค่อยๆ กัดเซาะแผ่นดินของลุงพอลและลุงพาไบ ผู้นำชุมชน Guda Maluyligal Nation ทางตอนเหนือสุดของออสเตรเลียพวกเขากำลังออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลต่อชุมชนดั้งเดิมของพวกเขา</p>
<p>ถัดไปจากนั้นจอ LCD เปิดคลิปวิดีโอหนึ่งที่มีเพียงแต่สีดำ พร้อมซับไตเติ้ลเสียงของใครคนหนึ่ง ที่เมื่อลองสวมหูฟังฟังเสียงก็พบว่ามันกลายเป็นเสียงสะอื้น ที่พาผู้ฟังจมดิ่งไปกับเรื่องราวของทูลานี มาเซโกะ ทนายความและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในประเทศเอสวาตินีซึ่งปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทูลานีเคยออกมาวิจารณ์กระบวนการยุติธรรมในประเทศของเขา ก่อนถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2566 ต่อหน้าภรรยาของเขาที่ออกมาส่งเสียงเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับทูลานี</p>
<p>ถัดไปฝั่งตรงข้ามของห้อง มีรูปของแม่ลูกคู่หนึ่งที่ถูกแขวนอยู่ระหว่างกลางของเสื้อสีดำสองตัว ด้านหน้ามีตาชั่งสองแขน  ที่ด้านหนึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ของอำนาจที่มีน้ำหนักมากกว่าเสียงของประชาชนเพียงแค่หนึ่งคนในอีกด้าน ไม่ต่างอะไรจากเรื่องราวของอันนา มาเรีย ซานโตส ครูซ แม่ผู้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้กับลูกชายของเธอที่มีชื่อว่า เปรโตร เฮนดริค นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวบราซิล ที่ได้จัดกิจกรรมเดินเพื่อสันติภาพ เขาถูกสังหารโดยชายสวมฮู้ด 3 คน โดยมีการตั้งข้อหาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สังหารเขาแต่ทั้งหมดก็ยังลอยนวล อันนาผู้เป็นแม่จึงออกมาเรียกร้องความยุติธรรมให้ลูกของเธอ แต่เธอกลับถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ</p>
<p>และสุดท้ายคืออัญชัญ ปรีเลิศ อดีตข้าราชการชาวไทยที่ถูกจำคุกยาวนานถึง 87 ปี เพียงเพราะการแชร์คลิปเสียงที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์บนโซเชียลมีเดียของเธอ ขวดน้ำหอมสีดอกอัญชัญตั้งอยู่ที่ด้านหน้ารูปของเธอ แม้ดอกอัญชัญจะไร้กลิ่นหอมหวาน แต่ดอกอัญชัญก็มีกลิ่นและตัวตนเป็นของตัวเอง 
    
นิทรรศการ Four Senses of Rights ทั้ง 4 เรื่องราวนี้ เป็นส่วนหนึ่งภายใต้โครงการเขียน เปลี่ยน โลก หรือ Write For Rights ที่ถูกจัดทำขึ้นโดย บรี แสงเทียน เผ่าเผือก และ ฟ้า อังคณา อัญชนะ นักศึกษาฝึกงานจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ผู้มีความเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนเป็นของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รายงานชิ้นนี้จะพาไปชมที่มาของนิทรรศการดังกล่าว และความมุ่งมั่นที่จะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนของทั้ง 2 คน </p>
<h2><span style="color:#3498db;">4 sense of Human rights สัมผัสทั้ง 4 ผ่านเรื่องราวผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน</span></h2>
<p>“นิทรรศการนี้เริ่มมาจากการที่เราอยากนำเสนอเรื่องราว ของคนที่ถูกละเมิดสิทธิผ่านการมีส่วนร่วม โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 4 เราเชื่อว่าถ้าได้ทำอะไรด้วยตัวเอง มันจะจดจำได้ง่ายกว่า”
    
บรีเล่าเรื่องราวที่มาของนิทรรศการ 4 sense of Human rights ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 ก.พ. 2567 โดยการนำเรื่องราวของผู้คนจากโครงการเขียน เปลี่ยน โลก หรือ Write For Rights ประจำปี 2566 ทั้ง 4 คน มานำเสนอผ่านผัสสะการดู การฟัง การสัมผัสและการดมกลิ่น ในฐานะที่บรีเรียนปริญญาตรีสาขาการเมืองการปกครอง และปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เธอกล่าวว่านี่คือโอกาสแรกในชีวิตของเธอในการจัดนิทรรศการเช่นนี้ 
    
ในขณะที่ฟ้า นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก็เป็นอีกหนึ่งนักศึกษาฝึกงานของแอมเนสตี้ ที่ได้เข้ามาฝึกงานฝ่ายแคมเปญ ฟ้าเล่าว่าเลือกที่จะจัดนิทรรศการในย่านทองหล่อ เพราะอยากให้ชนชั้นกลางในเขตเมือง ได้สัมผัสความรู้สึกของการถูกกดขี่ และการที่คนที่รักถูกบังคับให้สูญหาย ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับเรื่องราวของอันนา มาเรีย ซานโตส ครูซ แม่ผู้ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้กับลูกชายของเธอที่ประเทศบราซิล
    
“แคมเปญที่เราทำอาจจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวันนี้หรือปีนี้ แต่ถ้าเราสามารถรวบรวมพลังของผู้คนได้นานพอ มันก็สามารถเปลี่ยนได้” ฟ้ากล่าว</p>
<p>ฟ้าได้เสริมจากไอเดียของบรีว่า ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะสื่อสารเรื่องราวผู้คนที่ถูกละเมิดสิทธิ ผ่านการพูดหรือการอ่าน แต่หลายครั้งคนทั่วไปก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ การให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมกับเรื่องราวจึงเป็นวิธีที่ดีกว่า </p>
<p>บรีเล่าว่ามีคนที่มาฟังเรื่องราวของทูลานี มาเซโกะ ทนายความและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในประเทศเอสวาตินี เขาบอกกับเธอว่าเรื่องราวดังกล่าวทำงานกับความรู้สึกของเขาเป็นอย่างมาก</p>
<p>“คนที่มานิทรรศการอย่างน้อยที่สุดจะได้เรียนรู้ว่ามีคนถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ทั่วโลก ผ่านเรื่องราวของพวกเขาที่เรานำมาจัดแสดง” บรีกล่าว</p>
<p>ซึ่งแน่นอนว่านิทรรศการดังกล่าว คือความสำเร็จก้าวหนึ่งของทั้งสองคนในฐานะนักศึกษาฝึกงาน แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ทั้งสองคนต่างผ่านการเรียนรู้ และบทเรียนระหว่างทางของการก้าวขึ้นมาเป็นผู้ทำงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหนื่อยจริง เรียนรู้จากพื้นที่จริง ประสบการณ์ฝึกงานกับแอมเนสตี้</span></h2>
<p>“งานสิทธิมนุษยชนไม่ใช่งานที่สบาย มันอาจทำให้เราเกิดความกลัวและหนีไปทำอย่างอื่นไหม?”
    
ข้อความข้างต้นเป็นคำถามที่ฟ้าถูกถามเมื่อเข้ามาสัมภาษณ์ฝึกงานกับแอมเนสตี้ ฟ้ายอมรับว่าในวันดังกล่าวเกิดความกลัวว่าครอบครัวอาจจะไม่เข้าใจในสิ่งที่ฟ้ากำลังจะทำ รวมทั้งความกลัวเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยที่อาจถูกคุกคามจากการทำงานได้ แต่สุดท้ายฟ้าก็เลือกที่จะทำมัน เพราะความต้องการที่จะเข้าใจงานด้านสิทธิมนุษยชน
    
ทางด้านบรีนั้นก็บอกว่า ความกังวลเรื่องความปลอดภัยและการถูกคุกคามเกิดขึ้นกับเธอเป็นธรรมดา แต่เธอเชื่อว่าหากทำงานตามข้อกำหนดขององค์กร สุดท้ายแล้วองค์กรและงานที่ทำจะปกป้องคนทำงานเอง 
    
“ทุกคนที่นี่ทำงานหนัก” บรีกล่าวถึงเพื่อนร่วมงานของเธอ “ทุกคนมีความคิดเห็นที่หลากหลาย และเคารพความหลากหลายของทุกคน  เราปะทะกันทางความคิด แต่ในท้ายที่สุดมันคือเป้าหมายเดียวกัน ให้สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของคนทุกคน”
    
โดยก่อนที่จะเข้ามาฝึกงานนั้น ทั้งสองได้แชร์เรื่องราวชีวิตที่ทำให้ทั้งคู่สนใจงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยทางฝั่งของฟ้านั้น ตัดสินใจเรียนรัฐศาสตร์ในช่วงที่เกิดการชุมนุมปี 2563 
    
“ช่วงนั้นเกิดคำถามในใจว่า ทำไมมีคนหลายกลุ่มออกมาประท้วงตั้งคำถามกับรัฐบาล เราเลยคิดว่า สาขาที่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้คือคณะรัฐศาสตร์”</p>
<p>แม้ว่าฟ้าจะมาจากครอบครัวที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกันข้ามกับตัวเอง ทั้งยังถูกตั้งคำถามว่า ทำไมถึงตัดสินใจฝึกงานกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่างแอมเนสตี้ แต่ด้วยความที่ฟ้ามองว่าการฝึกงานกับแอมเนสตี้ นั้นตอบโจทย์และทำให้ฟ้าสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ตรงกันข้ามกับบรีที่ครอบครัวของเธอนั้น เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองมาโดยตลอด สิ่งเหล่านี้ซึมซับอยู่ในตัวเธอตั้งแต่เด็ก เธอจึงเลือกที่จะมาฝึกงานกับแอมเนสตี้ หลังจากเรียนจบปริญญาโท</p>
<p>“ในแคมเปญปล่อยเพื่อนเรา มีการเขียนจดหมายสื่อสารถึงเพื่อนที่ถูกคดีทางการเมือง” บรีเล่าเรื่องราวที่เธอจำจดได้อย่างไม่ลืมระหว่างฝึกงาน “เราได้รับมอบหมายในการถอดความจดหมาย ต้องอ่านจดหมายทุกฉบับและถอดความมันออกมา บางจดหมายทำให้เราร้องไห้ แต่ก็ทำให้เรารู้สึกดีที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ ได้สื่อสารให้เพื่อนหลังกำแพงไปสู่สังคมว่า ยังมีคนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่”</p>
<p>สำหรับฟ้าเองก็ได้กล่าวว่า การฝึกงานครั้งนี้คือการพัฒนาตัวเองที่ทำให้ฟ้ากล้าที่จะจับไมโครโฟน และเล่าเรื่องราวของผู้คนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนให้กับคนทั่วไปฟัง</p>
<p>“วันนั้นเป็นครั้งแรกที่เราเข้าใจว่าข้อความที่เราพูดไป มันมีหลายคนที่เขาฟัง” ฟ้ากล่าว</p>
<p>โดยหลังจากการจบฝึกงาน บรีได้รับโอกาสในการทำงานต่อกับแอมเนสตี้ ในตำแหน่ง campaign assistant ส่วนฟ้านั้นอยากใช้เวลาหลังเรียนจบในการพักผ่อนและกลับมาทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศและความหลากหลายทางอัตลักษณ์ในอนาคต ฟ้ายังคงไม่ลืมคำถามที่ได้รับตอนสัมภาษณ์ฝึกงาน โดยในวันนี้ก็ได้รับคำตอบใหม่หลังจากผ่านไป 4 เดือน
“หลังจากฝึกงานทำให้รู้ว่า เราไม่ได้ทำในสิ่งที่ผิด เรากำลังทำงานและยืนหยัดอยู่บนสิ่งที่ถูกต้องต่างหาก ความกลัวเหล่านี้ไม่มีแล้ว เราสื่อสารในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน”</p>
<h2><span style="color:#3498db;">Write for Rights ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เมล็ดพันธุ์แห่งสิทธิมนุษยชนยังคงผลิบาน</span></h2>
<p>“การเขียนยังมีพลัง แม้สื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก แต่การเขียนยังคงทำงานผ่านกระบวนการทางความคิดและอารมณ์ ทำให้เราเห็นว่ามันช่วยคนได้จริงๆ”
    
บรีเล่าถึงโครงการเขียน เปลี่ยน โลก หรือ Write For Rights ที่เธอคลุกคลีมาตลอด 4 เดือนของระยะเวลาการฝึกงาน บรีเห็นว่าการเขียนสามารถช่วยคนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในแง่ของการกดดันรัฐบาล ทำให้คนทั่วโลกมาสนใจและเขียนจดหมายถึงผู้คนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่แอมนาสตี้เลือกมานำเสนอในแต่ละปี
    
ฟ้าเองมองว่าการเขียนคือวิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิม และเป็นจุดเริ่มต้นหนึ่งของแอมนาสตี้ รวมทั้งการเขียนยังแสดงถึงเจตจำนง ที่ผู้เขียนได้ทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง 
    
โดยทั้งบรีและฟ้านั้นต่างมีความคิดเห็นตรงกันว่า คนรุ่นใหม่ต่างตื่นตัวเรื่องสิทธิมนุษยชน และไม่เห็นด้วยกับการที่ใครคนใดคนหนึ่งถูกกดขี่โดยอำนาจจากรัฐ ดังนั้นภาพที่ทั้งสองอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงคือ คนทุกคนในสังคมเท่ากัน </p>
<p>“เราเชื่อว่ามันค่อยๆ เปลี่ยน ไม่มีใครรั้งความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างน้อยถ้าเปลี่ยนไม่ได้ในช่วงชีวิตของเรา ก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตต่อไป” </p>
<p>บรีกล่าวทิ้งท้าย ก่อนที่ฟ้าจะได้เชิญชวนให้คนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ได้ลองมาฝึกงานกับทางแอมเนสตี้ ประเทศไทยเพราะยังมีเรื่องราวสิทธิมนุษยชนอีกหลายเรื่องราว ที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้อยู่ในตำราเรียน</p>
<p>ท้องฟ้าด้านนอกมืดสนิทไปแล้วในช่วงหัวค่ำของวัน แต่แสงสีและผู้คนที่ขวักไขว่ในย่านทองหล่อ ยังคงให้ความรู้สึกตื่นตัวอยู่ในเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยผู้คนนับล้าน ห้องนิทรรศการ Four Senses of Rights ตั้งอยู่เบียดชิดกับบันไดรถไฟฟ้า BTS ที่มีเพียงกระจกกั้น คนเมืองกำลังเลิกงานเดินทางกลับบ้านอย่างเร่งรีบ  ในอีกไม่ช้าแสงไฟในนิทรรศการก็จะดับลงเมื่อถึงเวลาปิด ในกระบวนการสุดท้ายของนิทรรศการ บรีและฟ้าเชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมได้ลงชื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับลุงพอลและลุงพาไบ, ทูลานี มาเซโกะ, อันนา มาเรีย ซานโตส ครูซ และอัญชัญ ปรีเลิศ ก่อนที่จะเชิญชวนให้เขียนจดหมายถึงพวกเขาเป็นลำดับสุดท้าย</p>
<p>การเขียนยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญ และทำให้โครงการเขียน เปลี่ยน โลก หรือ Write For Rights ยังคงมีอยู่ต่อไป และในฐานะที่ฟ้าและบรีคลุกคลีอยู่กับโครงการดังกล่าวมาตลอด 4 เดือน เราจึงขอให้ทั้งสองเขียนหนึ่งประโยค ที่แทนความหมายเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับทั้งสองคน</p>
<p>“คนทุกคนเท่ากัน” ฟ้า</p>
<p>“สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของคนทุกคน” บรี</p>
<p> ร่วมลงชื่อใช้พลังของคนธรรมดาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนด้วยกันได้ที่ www.aith.or.th</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108232
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - Ain’t This Deserve Bail Rights?: อย่างนี้ไม่ควรได้ประกันตัว(หรือ?)
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 61 กระทู้ล่าสุด 14 กันยายน 2566 20:22:11
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แอมเนสตี้ เปิดตัว Write for Rights 2023 ย้ำพลังจากคนธรรมดาสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 41 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2566 21:48:39
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กิจกรรม Sing for Rights ส่งบทเพลง เล่าชีวิตเพื่อนผู้ต้องขังทางการเมืองในเรือนจำ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 42 กระทู้ล่าสุด 22 มีนาคม 2567 03:04:08
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กลุ่ม Thumb Rights จัดกิจกรรม “นิรโทษกรรมมหาสงกรานต์ เราไม่ลืมกัน” ส่งสารถึงผู้ต้องขั
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 28 กระทู้ล่าสุด 02 เมษายน 2567 00:22:47
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - กลุ่ม Thumb Rights จัดกิจกรรม “นิรโทษกรรมมหาสงกรานต์ เราไม่ลืมกัน” ส่งสารถึงผู้ต้องขั
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 02 เมษายน 2567 01:58:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.202 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 16:19:38