[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 20:58:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 25-31 มี.ค. 2567  (อ่าน 34 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 มีนาคม 2567 14:50:55 »

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 25-31 มี.ค. 2567
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 13:32</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p><strong>จ่อตรวจสอบปมแอบฝังศพแรงงาน ด้านหลังโรงงานเครนถล่ม เผยจุดฝัง</strong></p>
<p>จากกรณี เครนถล่ม ทับแรงงานชาวเมียนมา เสียชีวิต 7 ราย จนนำไปสู่การรวมตัวเรียกร้องเงินเยียวยา เจรจากว่า 6 ชั่วโมง จึงยอมรับข้อเสนอ เยียวยา 1.6 ล้านบาท รวมประกันสังคม จ่ายทันที 5 แสน ที่เหลือจ่ายครบภายใน 3 เดือน ก่อนที่ทั้งหมดจะแยกย้ายไป ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น</p>
<p>ล่าสุดวันที่ 31 มี.ค.2567 พ.ต.อ.จิราวัฒน์ ศักดิ์ศรีวัฒนา รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง กล่าวถึงประเด็นมีการกล่าวอ้างว่า มีการฝังศพคนงานบริเวณหลังโรงงาน ว่า จะต้องมีการตรวจสอบพยานและหลักฐานให้แน่ชัดอีกครั้ง เนื่องจากตามที่มีข่าวออกไปก็ยังไม่แน่ชัดว่า จริงเท็จแค่ไหน</p>
<p>พ.ต.อ.จิราวัฒน์ กล่าวต่อว่า และในพื้นที่เกิดเหตุทั้งหมดตอนนี้ยังไม่อนุญาตให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่แต่อย่างใด ทุกอย่างอยู่ในระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐานเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ในครั้งนี้</p>
<p>จากการสอบถามแรงงานเมียนมา เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าว มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ระหว่างแรงงานด้วยกันว่ามีการฝังศพไว้บนเนินเขาหลังโรงงาน เพราะที่ผ่านมาเกิดเหตุแรงงานประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตจากการทำงาน คือแรงงานถูกไฟชอร์ตเสียชีวิต แล้วมีการปิดข่าวเงียบ แล้วศพก็หายไป</p>
<p>จนมีการลือกันว่า มีการแอบฝังศพไว้ด้านหลังโรงงาน แล้วมีการจ่ายเงินปิดปากให้กับญาติผู้เสียชีวิต เรื่องก็เงียบหายไป จึงต้องการให้ตรวจสอบ เพื่อให้ความจริงปรากฏและเกิดความสบายใจต่อแรงงานที่เข้ามาทำงาน</p>
<p>ที่มา: ข่าวสด, 31/3/2567</p>
<p><strong>พอใจทั้ง 3 ฝ่าย ได้ข้อยุติแรงงานเมียนมาเครนก่อสร้างถล่มดับ 7 ราย พึงพอใจในการเดินเรื่องด้านสวัสดิการแรงงาน 8 ข้อ</strong></p>
<p>30 มี.ค. 2567 ที่อาคารภายในโรงงานหลอมเหล็กชินเคอหยวน เลขที่ 10/6 ม.2 ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง หลังเกิดเหตุการณ์เครนในไซต์งานก่อสร้างถล่มทับแรงงานเมียนมาดับ 7 ราย เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็นของวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา การเจรจาพูดคุยเพื่อเยียวยาต่อเนื่องยาวนานข้ามวัน โดยก่อนที่จะสามารถพูดคุยเจรจาตกลงกันได้ แต่ก็ยังมีเหตุลุกฮือของกลุ่มแรงงานขึ้นอีกในวันนี้ ก่อนที่นายกำธร เวหน รองผู้ว่าฯ ระยอง จะนำเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน จ.ระยอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าพูดคุยเจรจาหาทางออกร่วมกัน ใช้เวลายาวนานกว่า 3 ชั่วโมง เนื่องจากกระทรวงแรงงานยังคงพูดคุยในประเด็นสิทธิสวัสดิการประกันสังคมที่ไม่เป็นธรรม และอุปสรรคจากการพูดคุยที่โรงงานแห่งนี้มีแรงงานหลายชาติพันธุ์</p>
<p>ต่อมานายกำธร เวหน รองผู้ว่าฯ ระยอง ได้เปิดแถลงข่าวกล่าวว่า ได้มีการพูดคุยในการที่จะทำให้ความต้องการความเรียกร้องของทั้งสองฝ่ายได้รับความพอใจตามความประสงค์ ทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้แทนบริษัท ฝ่ายหน่วยงาน และฝ่ายแรงงานญาติผู้เสียชีวิต โดยผลการหารือได้ข้อสรุป 8 ข้อ คือ</p>
<p>ข้อ 1.เยียวยาให้ญาติผู้เสียชีวิต จำนวน 7 ราย รายละ 1.6 ล้านบาท โดยวันที่ 29 มี.ค. 2567 ได้มอบเงินสดให้กับญาติของผู้เสียชีวิตไปแล้วรายๆ ละ 5 แสนบาท คงเหลือ 1,100,000 บาท</p>
<p>ข้อ 2. นายจ้าง รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ ให้กับลูกจ้างผู้เสียชีวิตทั้ง 7 คน</p>
<p>ข้อ 3. กรณีฝ่ายลูกจ้างมีข้อเรียกร้องว่าเงินสมทบประกันสังคมที่นายจ้างหักจากลูกจ้างแต่ไม่ได้นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมสำนักงานประกันสังคมจะติดตามให้เป็นรายบุคคลใน 2 สัปดาห์</p>
<p>ข้อ 4. กรณีฝ่ายลูกจ้างมีข้อเรียกร้องว่าลูกจ้างประสบอันตรายสูญเสียอวัยวะและยังไม่ได้รับการช่วยเหลือสำนักงานประกันสังคมจะติดตามให้นายจ้างนำส่งเอกสารเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและรายละเอียดภายใน 2 สัปดาห์</p>
<p>ข้อ 5. กรณีฝ่ายลูกจ้างส่งเอกสารค่ารักษาพยาบาลเบิกกับนายจ้างแต่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการตรวจสอบข้อ ภายใน 2 สัปดาห์</p>
<p>ข้อ 6. กรณีหนังสือเดินทางของลูกจ้างทั้งสองฝ่ายประสงค์ตรงกันจะเก็บเอาไว้ที่บริษัทและจะถ่ายเอกสารให้กับลูกจ้างและเมื่อลูกจ้างออกจากงานนายจ้างจะคืนเอกสารหนังสือเดินทางให้ทุกคน</p>
<p>ข้อ 7. กรณีลูกจ้าง 3 คนซึ่งมีข้อสงสัยว่านายจ้างจะเลิกจ้างสำนักงานสวัสดิการแรงงานและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยองจะตรวจสอบให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด</p>
<p>ข้อ 8. นายจ้างรับว่าจะปฏิบัติต่อลูกจ้างชาวเมียนมาให้ได้รับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และจะเร่งตรวจสอบถึงสาเหตุถึงการเกิดเหตุ และหาข้อเท็จจริงกรณีที่มีการหักเงินประกันสังคมแต่ยังไม่ได้นำส่ง ส่วนประเด็นเรื่องการจัดการศพ จะดำเนินการให้ญาติได้พูดคุยกันและประกอบพิธีทางศาสนาในพื้นที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง</p>
<p>ด้าน พ.ต.อ.จิราวัฒน์ ศักดิ์ศรีวัฒนา รอง ผบก.ภ.จว.ระยอง กล่าวถึงประเด็นมีการกล่าวอ้างว่า มีการฝังศพคนงานบริเวณหลังโรงงานว่า จะต้องมีการตรวจสอบพยานและหลักฐานให้แน่ชัดอีกครั้งเนื่องจากตามที่มีข่าวออกไปก็ยังไม่แน่ชัดว่า จริงเท็จแค่ไหน และในพื้นที่เกิดเหตุทั้งหมดตอนนี้ยังไม่อนุญาตให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่แต่อย่างใด ทุกอย่างอยู่ในระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐานเพื่อหาสาเหตุของเหตุการณ์ในครั้งนี้</p>
<p>ที่มา: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 30/3/2567</p>
<p><strong>ประกันสังคม มอบเงินสมทบกว่า 800,000 บาท พร้อมดูแลค่ารักษาพยาบาลให้ครบ เครนถล่มระยอง</strong></p>
<p>นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีเกิดเหตุเครนถล่มทับลูกจ้างที่จังหวัดระยอง เมื่อวันที่29 มี.ค.2567ที่ผ่านมา จนทำให้คนงานเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ว่า ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของคนงานที่เสียชีวิตและขอส่งกำลังใจให้ผู้ได้รับบาดเจ็บหายจากอาการบาดเจ็บโดยเร็ว</p>
<p>กระทรวงแรงงานมีความห่วงใยต่อแรงงานทุกคนไม่ว่าจะเป็นแรงงานไทยหรือแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยกรณีดังกล่าวได้รับรายงานจากนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ว่าได้สั่งการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดระยองลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อมูลสถานะของผู้ประสบอันตรายของลูกจ้างที่บาดเจ็บและเสียชีวิต พร้อมเร่งให้การช่วยเหลือสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายโดยด่วน</p>
<p>นายพิพัฒน์ กล่าวต่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เวลา 16.58 น. ได้เกิดเหตุปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) ถล่มทับลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต สถานที่เกิดเหตุภายในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแผ่นเหล็ก เหล็กรูปพรรณ และลวดเหล็ก ของบริษัท ชิน เคอ หยวน จำกัด ตั้งอยู่ที่ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง</p>
<p>โดยมีการก่อสร้างอาคารโรงงาน จำนวน 6 หลัง ในเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี 2563 มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2569 อุบัติเหตุดังกล่าว ขณะที่ช่างกำลังรื้อถอนขาปั้นจั่นหอสูง (Tower Crane) เพื่อลดระดับความสูง เป็นเหตุให้ปั้นจั่นหอสูงถล่มลงมาทับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานอยู่ด้านล่าง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นลูกจ้างเมียนมา 6 ราย จีน 1 ราย และมีลูกจ้างเมียนมาได้รับบาดเจ็บ 1 ราย</p>
<p>จากรายงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง พบว่า ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและบทกำหนดลงโทษ ได้แก่ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564</p>
<p>และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.ความปลอดภัยฯ มาตรา 4 และมาตรา 8 จำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ</p>
<p>"ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของแรงงานชาวเมียนมาที่เสียชีวิตและขอส่งกำลังใจให้ผู้บาดเจ็บหายจากอาการบาดเจ็บโดยเร็ว ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือเยียวยาได้มีการกำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานโดยเฉพาะสำนักงานประกันสังคมดูแลในเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่พึงได้รับตามกฎหมาย"</p>
<p>ดังนั้นขอให้มั่นใจได้ว่า กระทรวงแรงงานจะให้การคุ้มครอง ดูแล พี่น้องแรงงานทุกสัญชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยที่เสียชีวิตหรือประสบอันตรายในการไปทำงาน หากเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องเมื่อบาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็จะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมตามกฎหมายเหมือนแรงงานไทยทุกประการ</p>
<p>ด้าน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินการให้ความช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดระยองและสาขาปลวกแดง พร้อมนายอำเภอปลวกแดง จัดหางานจ.ระยอง และตัวแทนโรงงานฯ ร่วมชี้แจงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้ญาติผู้เสียชีวิตได้รับทราบ</p>
<p>ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนของลูกจ้างทั้งหมดจำนวน 7 ราย ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนเรียบร้อยแล้ว โดยลูกจ้างที่เสียชีวิตจะมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน เป็นค่าทำศพ จ่ายแก่ผู้จัดการศพ รายละ 50,000 บาท ค่าทดแทนกรณีตาย รายละ 788,424 บาท</p>
<p>ส่วนลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บจะมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน เป็นค่ารักษาพยาบาล ตามที่จ่ายจริงตามความจำเป็นตามกฎกระทรวง ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ 70 % ของค่าจ้าง จ่ายให้ไม่เกินระยะเวลา 10 ปี ค่าทดแทนกรณีหยุดงาน 70 % ของค่าจ้าง กรณีทุพพลภาพได้รับค่าทดแทน 70% ของค่าจ้าง จ่ายให้เป็นระยะเวลาตลอดชีพ</p>
<p>ทั้งนี้ ญาติของลูกจ้างที่เสียชีวิตสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดระยองและสาขาปลวกแดง หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 1 สำนักงานประกันสังคม</p>
<p>ที่มา: Thai PBS, 30/3/2567</p>
<p><strong>เชิญชวน ปชช. ร่วมสัปดาห์การให้บริการประชาชน "เพื่อคนหางาน" มีตำแหน่งว่างรองรับกว่า 1,000 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. - 7 เม.ย 67 ณ กระทรวงแรงงาน บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย</strong></p>
<p>นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กำหนดจัดกิจกรรมการให้บริการใน "สัปดาห์การให้บริการประชาชน" รวม 9 วัน ภายในงานมีกิจกรรมการให้บริการรับสมัครงาน สัมภาษณ์งานกับบริษัทชั้นนำกว่า 20 บริษัท มีตำแหน่งงานว่างกว่า 1,000 อัตรา อาทิ ตำแหน่งผู้จัดการร้าน บัญชี การเงิน สินเชื่อ ช่างเทคนิค ธุรการ พนักงานขาย พนักงานบริการลูกค้า พนักงานรักษาความปลอดภัย แม่บ้าน บริการรับขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงาน บริการแนะแนวอาชีพ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตและทดลองปฏิบัติอาชีพอิสระที่กำลังเป็นที่นิยม ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ วันละ 2 อาชีพ ได้แก่ งานไม้กระถางเป็นรูปหน้าสุนัขและแมว สร้อยข้อมือถักจากเชือกเทียน สานกระเป๋าจากเชือกพลาสติก สร้อยคอถักจากเชือกเทียน พวงมาลัยมะลิจากกระดาษทิชชู่ ตกแต่งกระเป๋ากระจูดด้วยไม้ประดิษฐ์ เทียนหอมแฟนซีจากต้นโสนหางไก่ บริการทดสอบความพร้อมทางอาชีพ รวมถึงบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ บริการรับสมัครงานเพื่อเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยกรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง (รัฐจัดส่ง) พร้อมทั้งแจกของที่ระลึกมากมาย</p>
<p>“ประชาชน สามารถเข้ารับบริการฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ อาคารศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย ชั้น 1 กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร. 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694” นายคารม</p>
<p>ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย, 29/3/2567</p>
<p><strong>เครนก่อสร้างโรงงานทุนจีน อ.ปลวกแดง พังถล่มทับคนงานดับสยอง 7 บาดเจ็บเพียบ เพื่อนคนงานขวางนำศพออก ร้องชดเชยศพละ 5 ล้าน</strong></p>
<p>29 มี.ค. 2567 ได้เกิดเหตุรถเครนพังถล่มจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตคาที่ 7 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดภายในไซต์ก่อสร้างของบริษัทสัญชาติจีนชื่อ ซินเคอหยวน ตั้งอยู่ใน ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ซึ่งหลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ปลวกแดง ได้ประสานแพทย์เวรโรงพยาบาลปลวกแดง และเจ้าหน้าที่กู้ภัยปลวกแดง เข้าให้การช่วยเหลือก่อนเดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ</p>
<p>โดยพบที่เกิดเหตุมีเครนขนาดใหญ่ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านข้างโรงงานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารและปล่องควัน ได้พังถล่มลงมาทับร่างแรงงานต่างด้าวที่อยู่ด้านล่างเสียชีวิตคาที่ 7 ราย และมีบางรายสภาพศพห้อยติดอยู่กับเครนเป็นที่สยดสยอง ส่วนบางรายถูกเครนทับร่างจมในร่องน้ำจุดที่มีการขุดดินเพื่อเทคานก่อสร้างอาคารลึกลงไปประมาณ 10-15 เมตร</p>
<p>นอกจากนั้น ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสขาขาด 1 ราย และได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยถึงปานกลางอีกหลายราย และในที่เกิดเหตุยังพบแท่งปูนขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นตัวถ่วงน้ำหนักเครนอีก 4 แท่ง หล่นลงมาอยู่พื้นใกล้จุดเครนถล่ม เบื้องต้นยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่แน่ชัด</p>
<p>จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบว่า กลุ่มเพื่อนแรงงานชาวต่างด้าวที่เสียชีวิตได้มีการรวมตัวกันเพื่อกดดันไม่ให้มีการนำร่างผู้เสียชีวิตออกจากที่เกิดเหตุ และได้พากันเรียกเงินชดเชยศพผู้เสียชีวิตรายละ 5 ล้านบาทกับทางบริษัท ซึ่งหากบริษัทไม่ยินยอมก็จะไม่ยอมให้มีการนำศพผู้เสียชีวิตออกไปโดยเด็ดขาด ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยุ่ระหว่างการเจรจา เพื่อให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยได้เข้าไปกู้ร่างผู้เสียชีวิตตามจุดต่างๆ และช่วยเหลือนำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล</p>
<p>ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, 29/3/2567</p>
<p><strong>กสม. เผยผลตรวจสอบกรณีผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลว่าจ้างไรเดอร์โดยไม่ถือเป็นลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ชี้เป็นการละเมิดสิทธิ เสนอแนวทางแก้ไข</strong></p>
<p>นางสาวสุภัทรา นาคะผิว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดือนเมษายน 2566 ระบุว่า ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวน 4 ราย เปิดรับสมัครผู้ทำงานให้บริการขนส่งสินค้า (ไรเดอร์) เพื่อส่งพัสดุ เอกสาร และอาหาร ในลักษณะเป็นหุ้นส่วน โดยไม่ถือว่าเป็นพนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและการประกันสังคม และไรเดอร์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานเอง เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าเสื่อมสภาพของรถ ค่าเครื่องแบบหรืออุปกรณ์เสริมที่ใช้ในการขนส่ง เป็นต้น อีกทั้งยังไม่ได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน ผู้ร้องเห็นว่า ข้ออ้างที่ระบุให้ไรเดอร์ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มในลักษณะหุ้นส่วนอาจเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงของนายจ้างเพื่อไม่ให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน การประกันสังคม และแรงงานสัมพันธ์ อันเป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง จึงขอให้ตรวจสอบ</p>
<p>กสม. ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย หลักกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิแรงงานแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 74 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการทำงานอย่างเหมาะสมกับศักยภาพและวัยและให้มีงานทำ และพึงคุ้มครองผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดีในการทำงาน ได้รับรายได้ สวัสดิการ การประกันสังคม และสิทธิประโยชน์อื่นที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพ ขณะที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิในการทำงาน และสิทธิของทุกคนที่จะมีสภาพการทำงานที่ยุติธรรมและน่าพึงพอใจ รวมทั้งสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคมรวมทั้งการประกันสังคม</p>
<p>จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ไรเดอร์ได้รับค่าตอบแทนหลักเป็นค่ารอบซึ่งเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามผลงานที่ทำได้ตามอัตราที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลกำหนด โดยไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้กำหนดให้ไรเดอร์ได้รับสิทธิในการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เนื่องจากผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับไรเดอร์ไม่มีลักษณะเป็นการจ้างแรงงาน แต่ให้สิทธิพิเศษอื่น ๆ แทน เช่น ประกันภัย สินเชื่อจากสถาบันการเงิน การฝึกอบรม ส่วนลดในการซื้อสินค้าต่าง ๆ</p>
<p>อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาไรเดอร์โดยตรงด้วยการกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับในการเข้าและออกงาน การแต่งกาย และการจัดส่งสินค้า ซึ่งหากไรเดอร์ไม่ปฏิบัติตามจะมีการลงโทษด้วยการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการทำงานบางประการ เช่น วิธีการจ่ายงานและค่าตอบแทน ซึ่งไรเดอร์จำเป็นต้องยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิต่อรอง และเนื่องจากไรเดอร์ไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจการหรือมีส่วนร่วมในกำไรหรือขาดทุนของผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล รวมทั้งต้องหาอุปกรณ์ในการทำงานและต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเองในกรณีเกิดอุบัติเหตุ การทำงานของไรเดอร์จึงไม่ใช่หุ้นส่วนหรือพาร์ทเนอร์ของผู้ประกอบการ แต่เข้าลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่สัญญาจ้างทำของ ไรเดอร์จึงมีฐานะเป็นลูกจ้างและผู้ประกอบกิจการแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นนายจ้าง ตามมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541</p>
<p>นอกจากนี้เมื่อพิจารณาแนวคำพิพากษาศาลในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์ มีคำพิพากษากรณีนี้ในทำนองเดียวกันว่า ความสัมพันธ์ตามสัญญาระหว่างผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลและผู้ที่ทำงานให้บริการผ่านแพลตฟอร์มเป็นความสัมพันธ์ของการอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายจ้างที่มีอำนาจสั่งการและลงโทษ ดังนั้น ผู้ที่ทำงานให้บริการผ่านแพลตฟอร์มจึงไม่ได้ให้บริการในฐานะผู้ประกอบอาชีพอิสระ แต่มีสถานะทางกฎหมายเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบการเจ้าของแพลตฟอร์ม การที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ถูกร้อง ปฏิบัติไปในทางเดียวกันว่า ไรเดอร์ไม่ใช่พนักงานหรือลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้ไรเดอร์ไม่ได้รับสิทธิและสวัสดิการด้านแรงงาน อีกทั้งไม่มีหลักประกันในเรื่องค่าตอบแทน รวมถึงไม่ได้รับสิทธิในการก่อตั้งสหภาพแรงงานและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 จึงมีข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ถูกร้องทั้งสี่ราย และกระทรวงแรงงาน สรุปได้ดังนี้</p>
<p>(1) ให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัล ผู้ถูกร้อง ดำเนินการให้ไรเดอร์ได้รับสิทธิและสวัสดิการที่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยสำรวจสภาพการจ้างงานในปัจจุบันว่ามีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่เป็นไปตามกฎหมายกรณีถือว่าไรเดอร์มีสถานะเป็นลูกจ้าง เช่น หลักเกณฑ์การจ่ายค่าจ้าง ระยะเวลาทำงาน การกำหนดวันลา วันหยุด เป็นต้น และกำหนดแผนการดำเนินการเพื่อให้ไรเดอร์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว เช่น การกำหนดอัตราค่าจ้างหรือค่ารอบและค่าตอบแทนอื่นให้กับไรเดอร์ได้รับไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และกำหนดกรอบเวลาการทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด</p>
<p>(2) ให้กระทรวงแรงงาน เร่งศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา อุปสรรค และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายจากการที่ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลจะต้องปฏิบัติต่อไรเดอร์ในฐานะมีนิติสัมพันธ์ความเป็นนายจ้างและลูกจ้าง และกำหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองให้การใช้แรงงานไรเดอร์เป็นไปด้วยความเป็นธรรม โดยอาจกำหนดกฎกระทรวงให้งานไรเดอร์ที่ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในลักษณะเดียวกันกับกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ. 2557 และนำข้อมูลที่ได้ศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวมากำหนดในกฎกระทรวงเพื่อคุ้มครองการใช้แรงงานไรเดอร์ให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการด้านแรงงานและการประกันสังคมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป</p>
<p>นอกจากนี้ให้ซักซ้อมความเข้าใจกับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลให้ทราบถึงนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้องและปฏิบัติให้ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกำหนดนโยบายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและสำนักงานประกันสังคมมีมาตรการควบคุม กำกับ และติดตามให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลทุกรายปฏิบัติให้ถูกต้องในเรื่องสภาพการจ้างงานของไรเดอร์ต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะลูกจ้างด้วย</p>
<p>ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงาน ศึกษาความเปลี่ยนแปลงหรือรูปแบบแรงงานที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รองรับในระยะยาวต่อไป เช่น การแก้ไขนิยามของนายจ้าง ลูกจ้างและสัญญาจ้าง ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และนิยามการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 575 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป</p>
<p>ที่มา: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 29/3/2567</p>
<p><strong>ก้าวไกลอัดขึ้นค่าแรงเหมือนศรีธนญชัย หวั่นเหลื่อมล้ำ-ทำแรงงานย้ายถิ่น จี้ รบ.ทบทวนใหม่</strong></p>
<p>ที่รัฐสภา นายเซีย จำปาทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล นำ ส.ส.พรรคก้าวไกล แถลงคัดค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 10 จังหวัด ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย.67</p>
<p>นายเซียกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน เฉพาะกิจการโรงแรมบางพื้นที่ ซึ่งเป็นการปรับค่าจ้างแบบศรีธนญชัย ขอยืนยันว่าเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างให้เท่ากันในทุกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ตนทำงานกับแรงงานมาหลาย 10 ปีเข้าใจหัวอกแรงงาน การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะแค่อาหารหนึ่งมื้อก็ใช้เงินมากกว่า 85 บาท กินครบ 3 มื้อก็มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ยังไม่รวมค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ภาษีสังคมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต</p>
<p>การปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทแค่บางพื้นที่ เป็นการเพิ่มที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริง โดยอ้างว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมและ 10 พื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีรายได้สูง จึงเป็นพื้นที่นำร่อง แล้วกิจการประเภทอื่นไม่สำคัญหรือ ดังนั้นการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่อาจจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้นในอนาคต มีส่วนทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ที่มีค่าตอบแทนสูง เป็นผลให้มีแรงงานกระจุกตัวในพื้นที่ไม่กี่แห่ง ไม่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง</p>
<p>นายเซียยังฝากข้อเรียกร้องไปยังรัฐบาล และกระทรวงแรงงาน ให้พิจารณาทบทวนการปรับค่าจ้างใหม่ ดังนี้</p>
<p>1. ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นธรรมตามหลักสากล โดยให้ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน โดยปรับจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปสู่การปรับเป็นอัตราค่าจ้างเพื่อชีวิต เพื่อให้แรงงานสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p>
<p>2.ด้วยเป้าหมายค่าจ้างขั้นต่ำ 600 บาททั่วประเทศ ตามที่พรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเคยให้คำมั่นในประกาศหาเสียงเลือกตั้งไว้ ขอเสนอให้คณะกรรมการค่าจ้างฯ ปรับเปลี่ยนสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ เพราะเมื่อนำข้อมูลมาคำนวณตามสูตรที่ใช้กันอยู่ รัฐบาลนี้หากอยู่ครบ 4 ปี อัตราค่าจ้างขั้นต่ำก็ไม่ถึง 600 บาท ในปี 2570 แน่นอน</p>
<p>นายเซียกล่าวว่า ข้อเสนอของพรรคก้าวไกลคือ ค่าจ้างขั้นต่ำ 450 บาท ควบคู่กับการเพิ่มสวัสดิการให้กับประชาชนทุกช่วงวัย ส่วนการปรับค่าจ้างต้องปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มทุกปีในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประกาศโดยสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรืออัตราเงินเฟ้อตามประกาศของ กระทรวงพาณิชย์ และสุดท้ายเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมเป็นธรรมทั่วประเทศ ขอให้พวกท่านพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ให้เป็นธรรมเท่ากันทั่วประเทศ</p>
<p>ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานระบุว่า ไม่สามารถขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศได้ เพราะคำนวณจากอัตราการเติบโตรายได้ และ GDP แต่ละจังหวัด นายเซีย กล่าวว่ากระทรวงแรงงานมี 100 เหตุผลที่จะให้ข้อมูล แต่อยากให้มองถึงชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องแรงงาน ทั้งนี้ สูตรคำนวนค่าแรงของพรรคก้าวไกล ดูจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ เมื่อโตขึ้น แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ก็จะทำให้แรงงานมีปัญหาในการใช้ชีวิต มีหนี้สินเพิ่มทุกปี ส่งผลกระทบโดยรวมต่อประเทศ</p>
<p>นายเซียกล่าวว่า พี่น้องแรงงาน ไม่ว่าจะอยู่สัดส่วนใด ทุกคนต้องกินต้องใช้ เรากินข้าววันละ 3 มื้อ จำเป็นต้องซื้อเครื่องนุ่งห่ม จ่ายค่าที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งตั้งแต่ตนอยู่ในกระบวนการแรงงานมา ยังไม่เคยเห็นการขึ้นค่าแรง ที่แปลกประหลาดแบบนี้ ไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า กระทรวงแรงงานทำงานแบบไหน ทำงานแบบศรีธนญชัยหรือไม่</p>
<p>ด้านนายสหัสวัต คุ้มคง ส.ส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล กล่าวถึงสูตรคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำว่าในปัจจุบันว่า เป็นวิธีคิดที่ผิดหลักเศรษฐศาสตร์อย่างรุนแรง ทำให้การคำนวณค่าจ้างขั้นต่ำมีปัญหา และน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยที่ที่ผ่านมา สำนักงานค่าจ้าง กระทรวงแรงงาน ได้ตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาการคำนวณสูตรค่าแรงแบบใหม่ แต่ผลที่ออกมากลับไม่ต่างจากเดิม</p>
<p>“ขอตั้งคําถามว่า การขึ้นค่าจ้าง 10 จังหวัดที่ผ่านมา ใช้สูตรคำนวณแบบใด เพราะสูตรที่กระทรวงแรงงานใช้อยู่ ไม่สามารถขึ้นได้ถึง 400 บาท ต้องเอาให้ชัดว่า การกำหนดค่าจ้าง อยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หรือคณะกรรมการไตรภาคี” นายสหัสวัตกล่าว</p>
<p>เมื่อถามถึงนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ที่ระบุว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ภายในปี 2570 อาจต้องทำเป็นขั้นบันไดหรือไม่ นายเซีย กล่าวว่า ต้องถามพรรคเพื่อไทยว่าต้องปรับอย่างไร เป็นขั้นบันได แต่ในส่วนของพรรคก้าวไกลจะปรับค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน ก่อน รวมถึงปรับเพิ่มสวัสดิการของแรงงานทุกช่วงวัย ซึ่งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเคยถามพรรคเพื่อไทยไปหลายครั้งแล้วว่าขั้นตอนการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน จะมีแนวทางอย่างไร</p>
<p>นายเซียกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการไตรภาคีของกระทรวงแรงงาน ถูกตั้งคำถามว่ามีการเมืองแทรกแซง จึงขอฝากไปถึงรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงานว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้รัฐบาลกำลังเล่นละครตบตาผู้ใช้แรงงานหรือไม่ จากการประกาศว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงต้นปีที่ผ่านมา 2-16 บาทต่อวัน แต่นายกรัฐมนตรีระบุ 2 บาทซื้อไข่ยังไม่ได้ และขอให้มีการทบทวนค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้ง และนายกรัฐมนตรีก็ไม่เคยผลักดันให้มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน และไม่เคยพูดถึงอีกเลย ตนเองคิดว่านี่คือแนวนโยบายของรัฐบาลที่เคยสัญญา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ม.ค. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 58 กระทู้ล่าสุด 21 มกราคม 2567 12:21:07
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 29 ม.ค.-4 ก.พ. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 51 กระทู้ล่าสุด 04 กุมภาพันธ์ 2567 12:28:00
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 5-11 ก.พ. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 62 กระทู้ล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2567 14:50:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 ก.พ. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 51 กระทู้ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ 2567 12:53:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 26 ก.พ.-3 มี.ค. 2567
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 03 มีนาคม 2567 16:11:20
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.908 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 เมษายน 2567 17:10:54