[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 15:35:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ทำไมจึงขาดภราดรภาพ  (อ่าน 103 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 กันยายน 2566 02:27:22 »

สุรพศ ทวีศักดิ์: ทำไมจึงขาดภราดรภาพ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-09-17 14:19</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์
 </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการที่ออกมาพูดปัญหาสังคมและการเมือง ได้ตั้งคำถามมานานแล้วว่าในกระแสความขัดแย้งทางการเมืองบ้านเรา มีการเรียกร้อง “เสรีภาพ เสมอภาค” มากขึ้น แต่ลืม “ภราดรภาพ” ไปหรือไม่ </p>
<p>เมื่อเร็วๆ นี้มีการย้ำอีกว่าสังคมเรา “ขาดภราดรภาพ” ตัวอย่างการขาดภราดรภาพที่มักอ้างกันคือ บรรยากาศของการสื่อสารในโลกโซเชียลที่มีการแบ่งฝักฝ่าย และต่างไม่ฟังเหตุผลของฝ่ายอื่นๆ มีการแซะ ด่า ประณามใช้คำพูดแบบ toxic และใช้คำพูดรุนแรงสร้างความเกลียดชังหรือใช้ hate speech แพร่หลายมากขึ้น </p>
<p>ผมนึกถึง “วาทกรรมการเมือง” (political discourse) ของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร (ทุกยุค), รัฐบาลสืบทอดอำนาจจากรัฐประหาร และรัฐบาลเพื่อไทยที่ผสมกับขั้วอำนาจเก่าที่เคยทำรัฐประหารและพรรคการเมืองนั่งร้านให้กับการสืบทอดอำนาจจากรัฐประหาร ต่างก็เรียกร้องว่าเราทุกคนคือ “คนไทยด้วยกัน” ควรหันหน้ามาสามัคคี ปรองดอง และสมานฉันท์กัน แต่ไม่พูดถึง “เสรีภาพ เสมอภาค” ว่าจำเป็นต้องมี ทว่าเน้น “ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด </p>
<p>ดังนั้น รัฐบาลที่เรียกร้องสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์จึงยืนยันชัดเจนว่าไม่แก้ไข/ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่แตะกฎหมายใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องไม่แตะหมวด 1, 2 หรือหมวดเกี่ยวกับสถานะและอำนาจสถาบันกษัตริย์ </p>
<p><strong>ส่วนประชาชนที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย ก็ถูกศาลตัดสินให้ทะยอยติดคุกคดี 112 มากขึ้น รัฐบาลจากรัฐประหาร, รัฐบาลสืบทอดอำนาจรัฐประหาร และรัฐบาลเพื่อไทยที่ผสมกับขั้วอำนาจเก่า ต่างไม่พูดถึงปัญหาการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของพวกเขาเหล่านั้น และยืนยันชัดเจนว่าไม่นิรโทษกรรมคดี 112 </strong></p>
<p>เราต่างทราบกันทั่วไปว่ากระแสเรียกร้องเสรีภาพ เสมอภาค คือกระแสการต่อต้านรัฐประหารเพื่อปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และคือกระแสของการตั้งคำถามและวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาตัวกฎหมายอาญา มาตรา 112 และการใช้กฎหมายนี้กดปราบประชนที่ต้องการประชาธิปไตย รวมทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ เกี่ยวกับสถานะและอำนาจสถาบันกษัตริย์ จนนำมาสู่กระแสเรียกร้องให้แก้ไข/ยกเลิก 112 และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กองทัพ ศาล และอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและกระบวนการยุติธรรมของประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่มีหลักนิติรัฐ (rule of law) ได้จริง </p>
<p><strong>แต่รัฐบาลที่ผ่านมาและรัฐบาลปัจจุบันต่างปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าวนี้ และการปฏิเสธดังกล่าว ก็คือ “รากฐาน” ของปัญหาการขาดภราดรภาพ ทว่านักวิชาการบางคนก็ยังตั้งคำถามว่า เราเรียกร้องเสรีภาพ เสมอภาค แต่ “ลืมภราดรภาพ” หรือ “ขาดภราดรภาพ” ไปหรือไม่</strong></p>
<p>อย่างไรก็ตาม ขณะที่รัฐบาลเรียกร้องให้สังคมสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ พร้อมๆ กับปฏิเสธที่จะตอบสนองข้อเรียกร้องของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ ส่วนนักวิชาการที่เรียกร้องภราดรภาพแม้จะเห็นความสำคัญของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เสมอภาค แต่ไม่ชัดเจนว่าพวกเขาเห็นด้วยหรือสนับสนุนอย่างจริงจังต่อข้อเรียกร้องให้แก้ไข/ยกเลิก 112 และการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้มีเสรีภาพและเสมอภาคได้จริง</p>
<p>ดูเหมือนพวกเขาจะเตือนว่าการต่อสู้เรียกร้องเช่นนั้นเป็น “อุดมคติ” และว่าแม้อุดมคติจะเป็นสิ่งที่เราควรมีเพื่อกำหนดทิศทางอนาคตที่ดีขึ้น แต่ก็ต้องมองความเป็นจริงของสังคมด้วย และนักวิชาการบางคนก็ยืนยันว่าการตั้งรัฐบาลเพื่อไทย “ไม่ใช่การข้ามขั้ว” และ “ไม่ผิดหลักการประชาธิปไตย” เพราะเป็นการตั้งรัฐบาลผสมเหมือนที่ทำกันหลายประเทศในโลก </p>
<p><strong>ประเด็นแรก</strong> ที่ผมอยากแลกเปลี่ยนคือ เวลาเราพูดเรื่อง “โลกความเป็นจริง” กับ “โลกอุดมคติ” เรามักแบ่งหยาบๆ ว่า โลกความเป็นจริงคือโลกที่เป็นภาววิสัยจับต้องได้ที่เห็นๆ กันอยู่ ส่วนโลกในอุดมคติ “ไม่มีอยู่จริง” เป็นโลกในความฝัน หรือโลกที่เราคาดหวังจะให้เกิดขึ้น </p>
<p>ปัญหาของการแบ่งหยาบๆ เช่นนี้คือ มันอาจ “ทำให้เข้าใจผิด” ไปว่าโลกความเป็นจริงตามที่เป็นอยู่นี้ “ปลอดอุดมคติ” หรือไม่ใช่โลกที่ถูกประกอบสร้างขึ้นบนอุดมคติหรือระบบคุณค่าบางอย่าง ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วโลกความเป็นจริงทางสังคมและการเมืองแบบไทยที่เป็นอยู่นี้ ก็ถูกประกอบสร้างขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ 2560 (เป็นต้น) ที่ยึดอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์เป็นระบบคุณค่าสูงสุดที่กำหนดว่าศีลธรรมทางสังคมและการเมืองการปกครองของสังคมไทยต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น คือต้องทำให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ หรือมีภราดรภาพ คือมีความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องในฐานะที่ “เราเป็นคนไทยด้วยกัน” ที่ต้องจงรักภักดีและเทิดทูนรักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การมี “เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ” ในความหมายแบบสังคมเสรีนิยมประชาธิปไตย (liberal democracy) หรือประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม (social democracy/democratic socialism) ไม่ได้ </p>
<p><strong>ดังนั้น ปัญหาจริงๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ คือ “เราจะอยู่กับโลกความเป็นจริงที่ถูกประกอบสร้างขึ้นด้วยอุดมคติแบบไหน” ต่างหาก ไม่ใช่ปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างการยอมรับโลกความเป็นจริงกับการอยู่ในโลกของความฝันถึงอุดมคติสูงส่งที่ไม่มีอยู่จริง </strong></p>
<p>พูดให้ชัดขึ้น โลกความเป็นจริงที่เราเห็นกันอยู่นี้ ก็คือโลกที่กำหนดให้เราฝันถึงความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์บนความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์เหนือหลักเสรีภาพ เสมอภาค และเป็นโลกความเป็นจริงที่เต็มไปด้วย “ความอยุติธรรม” ต่อฝ่ายที่เรียกร้องเสรีภาพ เสมอภาค และประชาธิปไตย โลกความเป็นจริงเช่นนี้จึงเป็นโลกตาม “อุดมคติ” ของฝ่ายอำนาจนิยมที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยและปัจจุบันที่ยังไม่เคยมีความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ได้จริง </p>
<p><strong>ประเด็นที่สอง </strong>การเรียกร้องเสรีภาพไม่ใช่การเรียกร้องอุดมคติสูงส่งเกินกว่าจะเป็นไปได้จริงขนาดนั้น แต่เป็นการเรียกร้องสิ่งธรรมดาสามัญ หรือสิ่งที่มีกันอยู่ทั่วไปในสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ พูดอีกอย่างคือ กระแสเรียกร้องเสรีภาพ เสมอภาค ก็คือกระแสเรียกร้องที่สอดคล้องกับ “สามัญสำนึก” (common sense) ของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ที่พ้นจากความเป็นไพร่ เป็นทาส หรือเป็นข้ารับใช้ชนชั้นปกครองแบบ “ยุคก่อนสมัยใหม่” แล้ว </p>
<p>เสรีภาพที่เรียกร้องกันอยู่ในบ้านเราก็คือ “เสรีภาพพื้นฐานต่างๆ” ในหลักสิทธิมนุษยชน เช่น เสรีภาพแห่งมโนธรรมสำนึกหรือเสรีภาพทางความคิดเห็น (freedom of conscience) อันเป็นเสรีภาพที่สะท้อน “ความมีอยู่จริง” (existence) ของตัวตนที่มี “ความเป็นมนุษย์” (human being) ของเรา การแสดงออกซึ่งมโนธรรมสำนึกตัดสินผิดชอบชั่วดีได้ด้วยตนเอง และการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แท้จริงของตนเองได้อย่างเสรี คือสิ่งสะท้อนถึงความมี “ตัวตน” ของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ </p>
<p>ต่างจากไพร่ ทาส หรือข้ารับใช้ชนชั้นปกครองยุคก่อนสมัยใหม่ที่ไม่มีเสรีภาพแห่งมโนธรรมหรือเสรีภาพทางความคิดเห็น พวกเขาต้องคอยแต่เชื่อฟังชนชั้นปกครอง ศาสนจักร และนักบวชที่ผูกขาดอำนาจในการตัดสินถูกผิดทางศีลธรรมและทางสังคมการเมือง การไม่มีเสรีภาพทางความคิดเห็นทำให้แม้แต่ชีวิตก็ไม่ใช่ของตนเอง เพราะชีวิตของพวกเขาตกอยู่ในอำนาจของ “เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน” ที่เป็น “เจ้าชีวิต” ของพวกเขาด้วย ดังนั้น พวกเขาจึง “ไร้ตัวตน” เป็นเพียง “ละอองของฝุ่นของพระบาท” ในราชภาษาเท่านั้น </p>
<p>จึงเป็นเรื่อง “ย้อนแย้ง” อย่างยิ่งที่นโยบายการศึกษาของรัฐบาลยุคศตวรรษที่ 21 เน้นการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อปลูกฝังให้พลเมืองในยุคสมัยใหม่ซาบซึ้งในบุญคุณของชนชั้นปกครองที่ยังมีสถานะและอำนาจศักดิ์สิทธิ์แตะต้องไม่ได้แบบยุคก่อนสมัยใหม่ ซึ่งเท่ากับชวนให้ซาบซึ้งในความเป็นข้ารับใช้ชนชั้นปกครองของตนเองด้วย (ดังกระแส “ขอเป็นข้าพระบาททุกชาติไป” เป็นต้น) โดยเฉพาะการปลูกฝังความซาบซึ้งเช่นนี้คือ “ความคิดพื้นฐาน” ที่ใช้ตัดสินประชาชนในยุคปัจจุบันว่า “คนดี” คือผู้ที่จงรักภักดีต่อชนชั้นปกครอง ผู้ไม่จงรักภักดีก็คือ “คนไม่ดี” เกณฑ์ตัดสินเช่นนี้ย่อมขัดแย้งกับเสรีภาพแห่งมโนธรรมธรรมหรือเสรีภาพทางความคิดเห็นโดยตรง สิ่งที่ขัดแย้งหรือละเมิดเสรีภาพดังกล่าว ย่อมขัดแย้งหรือละเมิดต่อความมีอยู่จริงของตัวตนของเรา หรือขัดแย้งกับ “ความเป็นมนุษย์” ของเราโดยตรง</p>
<p><strong>การเรียกร้องเสรีภาพแห่งมโนธรรมหรือเสรีภาพทางความคิดเห็น จึงเป็นการยืนยันความมีอยู่จริงของตัวตน “ความเป็นมนุษย์” ของเรา คือความเป็นมนุษย์ที่มีมโนธรรมสำนึกและความคิดเห็นเป็นของตนเอง มีอิสรภาพในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (autonomy) ในการทำตามมโนธรรมสำนึกและความคิดเห็นของตน ตราบที่ยังเคารพสิทธิเสรีภาพแบบเดียวกันของคนอื่น หรือไม่ทำอันตรายต่อคนอื่น </strong></p>
<p>ดังนั้น เสรีภาพทางความคิดเห็นจึงเชื่อมโยงกับเสรีภาพในการพูด (freedom of speech) และเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) เพราะเมื่อเรามีมโนธรรมสำนึกและความคิดเห็นเป็นของตนเอง ก็ย่อมต้องการเสรีภาพที่จะพูด เขียน และแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ตามมโนธรรมสำนึก ความรู้สึก และความคิดเห็นต่างๆ ของตนเอง ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตส่วนตัว และในเรื่องวิถีชีวิตสาธารณะทางสังคมและการเมืองในฐานะ “พลเมืองเสรีและเสมอภาค” (free and equal citizens) ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่ให้ความยินยอมแก่รัฐบาลในการใช้อำนาจรัฐแทนตน และในฐานะผู้ตรวจสอบอำนาจรัฐบาล และ “ประมุขของรัฐ” ให้มีอำนาจจำกัดตามกฎหมาย หรือไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้</p>
<p><strong>ประเด็นที่สาม</strong> เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด และการแสดงออกดังกล่าว นอกจากจะเป็นเสรีภาพอันเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่มีตัวตนอยู่จริง (ไม่ใช่เป็นแค่ “ฝุ่น”) ของเราทุกคนดังกล่าวแล้ว ยังเป็น “หลักการพื้นฐานที่ขาดไม่ได้” ของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่อีกด้วย เพราะเราจะพูดถึงการกระจายประโยชน์ส่วนรวมอย่างเป็นธรรม พูดถึงการบัญญัติกฎหมายที่ยุติธรรมแก่พลเมืองทุกคน พูดถึงการกระจายโอกาส รายได้ที่เท่าเทียมและเป็นธรรม พูดถึงการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม พูดถึงความสุจริตของรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐ (เป็นต้น) อย่างมีเหตุมีผลไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด และการแสดงออกอย่างแท้จริง </p>
<p><strong>สิ่งที่เราต้องสูญเสียไปเพราะการไม่มีเสรีภาพนั้นมากเกินคณานับ ไม่เพียงแต่สูญเสียความเป็นมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของมโนธรรมและความคิดเห็นของตนเอง กลายเป็นคนสอพลอผู้มีอำนาจเหนือหัวตนไปตามสถานการณ์และเงื่อนไขของตำแหน่ง อำนาจ และผลประโยชน์ต่างๆ เท่านั้น โอกาสการสร้างสังคมที่เป็นธรรมและก้าวหน้าด้านต่างๆ ก็สูญเสียไปด้วย เพราะถูกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจผูกขาดทางการเมืองและเศรษฐกิจของคนเพียงไม่กี่ตระกูลเท่านั้น </strong></p>
<p>แน่นอนว่าเมื่อไม่มีเสรีภาพ “ภราดรภาพ” ก็ไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้จริง เพราะปัญหาขัดแย้งเกือบ 20 ปี ที่มีคนตาย (ทั้งสองฝ่าย) คนถูกอุ้มหาย อุ้มฆ่า ติดคุก ลี้ภัยการเมือง เลือกตั้งได้ ส.ส. อันดับ 1 แล้วตั้งรัฐบาลไม่ได้ แต่ได้รัฐบาลผสมกับขั้วอำนาจเก่าที่ทำรัฐประหาร และการขังคุกคดีการเมือง/112 ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน พร้อมๆ กับการตั้งคำถามถึงอภิสิทธิ์ของนักโทษแบบทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นเรื่อง "การร่างรัฐธรรมนูญใหม่" เป็นต้น แกนกลางของปัญหาพวกนั้นคือ "ปัญหาการไม่มีเสรีภาพ" ทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก และการอภิปรายสาธารณะทางการเมืองทั้งในสภาและนอกสภา</p>
<p>ดังนั้น การเรียกร้องภราดรภาพบนการไม่มีเสรีภาพจึงเป็น “อุดมคติ” มากเลย เพราะยากมากที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายที่ใช้กฎหมายความมั่นคง 112 ไล่ล่า กับฝ่ายที่ติดคุก ต้องคดี หนีไปลี้ภัยการเมือง และถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ให้มี "ภราดรภาพ" ต่อกันได้ </p>
<p><strong>พูดอีกอย่างคือ จะให้ฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อมีเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก การอภิปรายสาธารณะทางการเมือง กับฝ่ายที่ไล่ล่ามีภราดรภาพต่อกันได้อย่างไร?</strong></p>
<p>ยิ่งถ้าพูดถึง "ภราดรภาพในทางปฏิบัติ" จริงๆ ก็คือการมองคนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพเป็นพี่เป็นน้องกับเรา (ฝ่ายไล่ล่าพวกเขาไม่มองอยู่แล้ว) และการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เมื่อเขาเหล่านั้นถูกคุกคาม ข่มขู่ ต้องคดี ติดคุก ลี้ภัยการเมือง ถูกอุ้มหาย อุ้มฆ่า การช่วยเหลือเรื่องเหล่านี้ก็ยากและยังมีน้อยมาก ซึ่งก็คือ "ไม่มีภราดรภาพ" หรือมีน้อยมากในเรื่องเหล่านี้นั่นเอง </p>
<p>แถมยังมีพวกโจมตีว่า คนที่แสดงความเห็นสนับสนุนการต่อสู้ เรียกร้องให้ปกป้องสิทธิต่างๆ ของคนที่ออกมาสู้ บริจาคเงินช่วยเหลือในการต่อสู้คดีและอื่นๆ คือ “พวกที่เชียร์ให้ลูกคนอื่นติดคุก” สนับสนุนคนอื่นไปสู้แทนตัวเอง ใช้เขาเหล่านั้นเป็นเครื่องมือสนองอุดมการณ์ทางการเมืองของตัวเอง ฯลฯ </p>
<p>ดังนั้น ปัญหาที่ว่ามา (เป็นต้น) จึงทำให้การเรียกร้องภราดรภาพเป็น "อุดมคติ" มาก ขณะที่การเรียกร้องหรือต่อสู้เพื่อเสรีภาพที่เป็นเรื่องปกติธรรมดามากๆ กลับถูกทำให้เข้าใจผิดไปว่าเป็นเรื่อง "อุดมคติสูงส่ง" ไม่มองความเป็นจริง กระทั่งกลายเป็นว่าพวกที่สู้เพื่อเสรีภาพเป็นพวกที่ไม่รู้จัก “มูฟออน” เป็นตัวสร้างปัญหาวุ่นวายต่างๆ นานา </p>
<p>ถ้าจะพูดให้สมจริง เราต้องร่วมกันเรียกร้องต่อสู้ให้มีเสรีภาพพร้อมกับให้คำนึงถึงภราดรภาพระหว่างคนเห็นต่าง และในระหว่างทางที่มีคนที่ลุกขึ้นสู้โดนคดี ติดคุก ลี้ภัยและอื่นๆ สังคมจะวิธีการหรือกระบวนการแสดงภราดรภาพในทางปฏิบัติอย่างไรบ้างต่อพวกเขาเหล่านั้น?</p>
<p><strong>หากผมเข้าใจไม่ผิด นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ หรือนักวิชาการด้านปรัชญาที่พูดเรื่องปัญหาสังคมการเมืองสมัยใหม่ เขาวิพากษ์ถอดรื้ออำนาจรัฐ ศาสนา อำนาจทุนผูกขาดและอื่นๆ ที่ครอบงำกดทับเสรีภาพของประชาชน มากกว่าที่จะวิพากษ์วิจารณ์ความคิด และการกระทำของประชาชนฝ่ายที่ต่อสู้กับอำนาจเหล่านั้น</strong>
 </p>
<p><strong>ที่มาภาพ</strong> https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_708034</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105944
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: มอง ‘เพื่อไทย’ และ ‘ก้าวไกล’ ผ่านปรัชญาของจอห์น รอลส์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 107 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 02:31:48
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘เพื่อไทย’ ยึดจุดยืนอุดมการณ์ขวาจัด พรุ่งนี้จะเป็นอย่าง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 116 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 07:18:15
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: มองการเมืองผ่านเลนส์ปรัชญา
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 134 กระทู้ล่าสุด 31 สิงหาคม 2566 18:44:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: หยก โรงเรียน และผู้ปกครอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 67 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2566 02:10:11
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: ปากท้องกับอุดมการณ์ไม่เคยแยกขาดจากกันได้จริง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 91 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2566 05:26:25
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.069 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤษภาคม 2567 22:34:38