[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 14:44:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จม.เปิดผนึกถึง ปธ.ศาลฎีกาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม  (อ่าน 67 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2566 01:58:52 »

จม.เปิดผนึกถึง ปธ.ศาลฎีกาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2023-11-18 20:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>องค์กรสิทธิมนุษยชนนำโดยสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและระบบกระบวนการยุติธรรมไทย: ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติเพราะความคิดเห็นทางการเมืองในกระบวนการยุติธรรม</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="792" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fhrlathai%2Fposts%2Fpfbid06t6rMU4HbQM6S67P21DBcsa9kKtnYacoNuzikBD7K5N74QEbyfvSSGZJ8XR2vNKvl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>18 พ.ย. 2566 เพจสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน - HRLA เผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและระบบกระบวนการยุติธรรมไทย: ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติเพราะความคิดเห็นทางการเมืองในกระบวนการยุติธรรม โดยมีเนื้อหาระบุว่า</p>
<p>ปัจจุบัน ระบบกระบวนการยุติธรรมกำลังทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อยับยั้ง ปราบปรม และใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจัดการกับผู้เห็นต่างทางการเมือง สำนักงานอัยการยังคงเดินหน้าฟ้องคดีทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นคดีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 หรือ 2564 และเป็นคดีเกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม เจ้าพนักงานตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ ยื่นคำร้องคัดค้านการปล่อยชั่วคราวของนายบารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจนต่อศาลแขวงดุสิตเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ทั้งที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่มีเงื่อนไขไปตั้งนานแล้ว แต่เนื่องจากต้องการใช้กลไกศาลเพื่อให้ศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามไม่ให้นายบารมี ชัยรัตน์ ไปร่วมชุมนุมสมัชชาคนจน ที่มีการชุมนุมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. 2566 จนถึงปัจจุบัน เหล่านี้ เป็นภาพสะท้อนบางส่วนที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานอย่างเป็นระบบของกลไกในกระบวนยุติธรรมต่อผู้เห็นต่างทางการเมือง</p>
<p>ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ณ วันที่ 15 พ.ย. 2566 แสดงจำนวนผู้ต้องขังคดีการเมืองที่ไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวรวม 23 คน อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในจำนวนดังกล่าว และเป็นภาพสะท้อนปัญหาการปล่อยชั่วคราวและการไม่บังคับใช้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ข้อ 24 และ 25 ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ</p>
<p>ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญา พ.ศ. 2565 ของท่าน ในข้อ 24 กำหนดว่า</p>
<p>“กรณีที่ศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือคดีที่ต้องขออนุญาตฎีกาก็ตาม หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลชั้นอุทธรณ์และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยใช้วิธีการอย่างเดียวกับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกาสั่ง</p>
<p>ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา หากจำเลยไม่เคยถูกคุมขังมาก่อนหรือได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือศาลชั้นอุทธรณ์ และไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนีหรือก่อภัยอันตรายใดๆ แม้จำเลยยังไม่ได้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาหรือยังไม่ได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกา ศาลที่มีอำนาจอาจมีคำสั่งให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้เงื่อนไขหรือมาตรการอย่างเดียวกับศาลล่างหรือจะใช้เงื่อนไขหรือมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นก็ได้”</p>
<p>ข้อ 25 กำหนดว่า “การดำเนินการตามข้อบังคับนี้ ให้ใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด”</p>
<p>ทนายความของอานนท์ นำภา ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวหลายครั้ง ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวทุกครั้ง ต่อมาในวันที่ 10 พ.ย. 2566 ได้มีการอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต่อศาลฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งในวันที่ 12 พ.ย. 2566 ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวด้วยเหตุผลว่า</p>
<p>“พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง และศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี ปรับเงิน 20,000 บาท หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยอาจจะหลบหนี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นชอบแล้ว”</p>
<p>โดยคำสั่งศาลฎีกาไม่ระบุข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ของอานนท์ นำภา ที่ทำให้ศาลเชื่อว่าจะหลบหนี มีเพียงเหตุผลเลื่อนลอยในอากาศ เชื่อเอาเองว่าจะหลบหนี ทั้งที่อานนท์ นำภา ได้รับการปล่อยชั่วคราวในศาลชั้นต้นและโทษที่ศาลพิพากษานั้นไม่เกิน 5 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขข้อบังคับฯ ของท่านโดยครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะข้อเท็จจริงอันเป็นที่ประจักษ์ทั้งในทางสาธารณะและในคำร้องขอปล่อยชั่วคราวว่าอานนท์ได้รับการปล่อยชั่วคราวระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น และได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ไปร่วมงานของมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ณ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งเป็นรางวัลที่ยกย่องบุคคลกลุ่มหรือสถาบันในเกาหลีและต่างประเทศที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และสันติภาพ ซึ่งอานนท์ นำภา เป็นผู้ได้รับรางวัลดังกล่าว หลังจากนั้นอานนท์ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยและใช้สิทธิต่อสู้คดีตามกระบวนการตลอดมา รวมทั้งไปฟังคำพิพากษาตามที่ศาลนัด ไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53340224984_149d6c3741_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตัวแทนร่วมอ่านจดหมายเปิดผนึก ห้องโถงชั้นล่าง อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วงบ่าย วันนี้ (18 พ.ย.66)</span></p>
<p>ในขณะที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวนายอิทธิพล คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มีพฤติการณ์หลบหนีออกนอกราชอาณาจักร ในคดีออกใบอนุญาตก่อสร้างโครงการวอเตอร์ฟร้อนท์ หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี จนมีการออกหมายจับ และเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2566 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตม. จับกุมนายอิทธิพล คุณปลื้ม และศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวทันที ทั้งที่มีข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่ามีพฤติการณ์หลบหนี หรือกรณีของใบเตย สุธีวัน กุญชร คดีแชร์ Forex - 3D ซึ่งศาลอาญาสั่งให้ไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา โดยกำหนดเงื่อนไขให้ติดกำไล EM ห้ามเดินทางออกนอกประเทศ และรายงานตัวตามศาลนัด แต่กับคดีของอานนท์ นำภา ที่ร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าจะไม่หลบหนี แต่ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์ รวมทั้งศาลฎีกาไม่สั่งไต่สวนคำร้องเหมือนกับคดีของใบเตยแต่อย่างใด และศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราว</p>
<p>ดังนั้น จึงเป็นคำถามในใจของประชาชน โดยเฉพาะในแวดวงนักวิชาการ นักกฎหมายและทนายความอันเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมต่อประธานศาลฎีกาว่า</p>
<p>(1) เมื่อเทียบเคียงกับคดีอื่นข้างต้น ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมืองเป็นกลุ่มที่ศาลฎีกาและศาลยุติธรรมยกเว้นสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่</p>
<p>(2) ศาลฎีกาใช้ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ใดในการพิจารณาว่าอานนท์ นำภา รวมทั้งผู้ต้องหาหรือจำเลยอื่นในคดีการเมืองจะหลบหนีหรือไม่หลบหนี มีการปฏิบัติตามข้อบังคับฯ ของท่าน ในข้อ 25 ซึ่งให้เครื่องมือศาลเป็นแบบวิธีการประเมินความเสี่ยงและแบบพิมพ์ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนดหรือไม่ก่อนจะวินิจฉัยว่าอานนท์จะหลบหนีหากได้รับการปล่อยชั่วคราว</p>
<p>(3) การที่ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวทั้งที่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ของอานนท์ว่าจะหลบหนีนั้น เป็นการสั่งโดยไม่ชอบด้วยหลักกฎหมายว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวฯ ของท่านเองหรือไม่</p>
<p>(4) ท่านในฐานะประธานศาลฎีกาอันเป็นตำแหน่งสูงสุดของศาลยุติธรรม ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เช่นใดบ้างเพื่อให้ข้อบังคับฯ ของท่าน รวมทั้งหลักการพื้นฐานว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวมีสภาพบังคับใช้ได้จริง และไม่เลือกปฏิบัติเพราะความคิดเห็นทางการเมือง</p>
<p>สมาคมฯ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนมีความกังวลต่อบทบาทของศาลยุติธรรมต่อคดีการเมืองอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสิทธิในการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างที่สุดในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งศาลจะปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยเสมือนว่าเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ จนกว่าเขาผู้นั้นจะถูกพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด อันเป็นหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมืองนั้น ถูกตั้งคำถามอย่างกว้างขวางจากสังคมว่าเป็นระบบกระบวนการยุติธรรมที่พร้อมจะยกเว้นหลักการกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมเพียงเพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นตั้งคำถามกับระบบความเชื่อทางการเมืองแบบเดิม เพื่อให้เกิดการทบทวน พูดคุย หาทางออกให้กับสังคมที่ดีกว่า</p>
<p>สมาคมฯ หวังว่าท่านจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อให้ข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ และหลักการพื้นฐานในการปล่อยชั่วคราว ถูกบังคับใช้และปฏิบัติตามเพื่อคุ้มครองหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาอย่างเป็นเอกภาพและไม่เลือกปฏิบัติให้สมกับเป็นกระบวนการยุติธรรมในระบอบประชาธิปไตยต่อไป</p>
<p>18 พ.ย. 2566</p>
<p>สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม - EnLAW
Cross Cultural Foundation (CrCF)
Non Binary Thailand</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106870
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 405 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 421 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 321 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 322 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - จม.เปิดผนึกถึง ปธ.ศาลฎีกาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 82 กระทู้ล่าสุด 18 พฤศจิกายน 2566 21:20:56
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.232 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 12 พฤษภาคม 2567 11:43:51