[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 06:04:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แบรนด์เสื้อผ้าต่างชาติ หนุนบังกลาเทศขึ้นค่าแรง หลังมีผู้เสียชีวิตจากการประท  (อ่าน 87 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 พฤศจิกายน 2566 09:42:53 »

แบรนด์เสื้อผ้าต่างชาติ หนุนบังกลาเทศขึ้นค่าแรง หลังมีผู้เสียชีวิตจากการประท้วง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-11-19 09:26</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว (12 พ.ย.) มีแรงงานสิ่งทอของบังกลาเทศคนเดินขบวนประท้วงเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรม หลังจากที่รัฐบาลเสนอปรับค่าแรงใหม่ให้พวกเขา แต่ก็ปรับขึ้นน้อยเกินไป ในการประท้วงมีการปะทะกับตำรวจเกิดขึ้น และมีการทำลายข้าวของในโรงงาน มียอดผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 รายแล้ว นับตั้งแต่ที่มีการประท้วงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ต.ค.</p>
<p>สื่อแชนแนลนิวส์เอเชียระบุว่า มีกรณีการลุกฮือของแรงงานในบังกลาเทศครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสิบปี มีแรงงานหลายหมื่นคนปะทะกับตำรวจ โดยที่แรงงานเรียกร้องให้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรายเดือนไปเป็น 23,000 ตากา (ราว 7,300 บาท) การลุกฮือที่เกิดขึ้นเป็นเหตุให้มีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งได้รับความเสียหาย</p>
<p>บังกลาเทศเป็นประเทศที่มีโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ 3,500 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85 ของการส่งออกมูลค่า 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.9 ล้านล้านบาท) ต่อปี เป็นแหล่งผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้กับแบรนด์ดังๆ ระดับท็อปหลายแบรนด์ เช่น ลีวาย, ซารา และ เฮชแอนด์เอ็ม</p>
<p>อย่างไรก็ตามสภาพชีวิตแรงงานสิ่งทอของบังกลาเทศก็อยู่ในภาวะย่ำแย่ ในบังกลาเทศมีแรงงานสิ่งทออยู่จำนวนมากถึง 4 ล้านชีวิต และส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ก่อนหน้านี้พวกเขามีค่าแรงต่อเดือนเริ่มต้นที่ 8,300 ตากา (ราว 2,600 บาท)</p>
<p>เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลบังกลาเทศเสนอให้มีการปรับขึ้นค่าแรงงานภาคส่วนสิ่งทอ ร้อยละ 56.25 เป็น 12,500 ตากา (ราว 4,000 บาท) ต่อเดือน ซึ่งกลุ่มแรงงานก็ยังมองว่าการขึ้นค่าแรงแค่นี้ไม่มากพอ หลังจากนั้นก็มีการยกระดับการประท้วงทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอย่างน้อย 70 แห่งถูกรื้อค้นทำลายข้าวของ</p>
<p>ข้อมูลจากตำรวจและจากสหภาพแรงงานระบุว่ามีแรงงานที่เสียชีวิตจากการปะทะกับตำรวจรวมแล้ว 4 ราย ทางสหภาพแรงงานระบุว่า หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้แก็สน้ำตาและกระสุนยางกับผู้ชุมนุม ผู้ชุมนุมก็เริ่มมโต้ตอบตำรวจ</p>
<p>คริสตินา ฮายากอส-เคลาเซน ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมสิ่งทอของสหภาพนานาชาติ IndustriALL ที่สหภาพแรงงานบังกลาเทศสังกัดอยู่ด้วย กล่าวว่า "สถานการณ์ยกระดับไปสู่ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ"</p>
<p>ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะประกาศขึ้นค่าแรงที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธ.ค. เป้นต้นไป แต่มันก็ยังไม่มากพอ โดยที่ทางกลุ่มแรงงานบอกว่าค่าแรงดังกล่าวนี้ตามไม่ทันค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในช่วงระหว่างปี 2565-2566 บังกลาเทศมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 9 ซึ่งนับว่าเพิ่มสูงมากที่สุดในรอบ 12 ปี</p>
<p>ถึงแม้ว่าแรงงานบังกลาเทศจะเรียกร้องค่าแรงเป็น 23,000 ตากา (ราว 7,300 บาท) สื่อ CNN ก็บอกว่าจำนวนที่เรียกร้องนี้ก็ยังคงน้อยกว่าค่าแรงขั่นต่ำของแรงงานอเมริกันในช่วง 1 สัปดาห์ โดยที่สหรัฐฯ กำหนดค่าแรงขั้นต่ำในระดับทั่วประเทศให้อยู่ที่ 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง (ราว 260 บาทต่อชั่วโมง) โดยยังไม่หักภาษี มีกลุ่มแรงงานในสหรัฐฯ จำนวนมากเรียกว่าเป็นค่าแรงระดับยากจน</p>
<p>นาร์ซา อักเตอร์ ประธานสหพันธ์ซอมมิลลิตโต การ์เมนต์ สรามิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศกล่าวถึงจำนวนค่าแรงที่รัฐบาลบังกลาเทศประกาศออกมาว่า "มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ... พวกเรารู้สึกว่าแรงงานของอุตสาหกรรมสิ่งทอถูกเย้ยหยันจากคำประกาศของคณะกรรมการ... ในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ มันไม่สมเหตุสมผลเลย ถ้าหากค่าแรงขั้นต่ำไม่มีการกำหนดให้สมเหตุสมผล มันก็เสี่ยงที่จะทำให้ความไม่สงบจากแรงงานเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีกับใครเลย ไม่ว่าจะเป็นทั้งแรงงาน, นายจ้าง หรือภาครัฐ"</p>
<p>กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ระบุว่า การประท้วงที่เกิดขึ้นทำให้โรงงานจำนวนมากปิดทำการจนสร้างความชะงักงันให้กับอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอในบังกลาเทศที่ถือว่าเป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากจีน ในการประท้วงครั้งนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บที่ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลหลายสิบราย มีกรณีที่ผู้ประท้วงจุดไฟเผาโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งจนทำให้แรงงานอีกรายหนึ่งเสียชีวิต มีกรณีผู้ประท้วงเสียชีวิตจากการปะทะกับตำรวจ</p>
<p>แมทธิว มิลเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ แถลงว่า "พวกเรามีความเป็นห่วงเกี่ยวกับการปราบปรามที่กำลังเกิดขึ้นกับแรงงานและนักสหภาพแรงงาน ทางการสหรัฐฯ ข้อให้มีกระบวนการหารือแบบไตรภาคี มีการพิจารณาในเรื่องค่าแรงขั้นต่ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการแก้ปัญหาเรื่องความกดดันด้านเศรษฐกิจที่แรงงานและครอบครัวของพวกเขากำลังเผชิญมากขึ้น"</p>
<p>แรงงานสิ่งทอในบังกลาเทศเป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดกลุ่มหนึ่งและเสี่ยงจะถูกกระทำมากที่สุดกลุ่มหนึ่งในประเทศ ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการพูดถึงปัญหาสภาพการจ้างงานของแรงงานสิ่งทอในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน แต่เหตุการณ์ประท้วงล่าสุดในบังกลาเทศก็มีการใช้ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงราว 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ที่มีกรณีอาคาร รานา พลาซ่า ถล่ม ซึ่งอาคารแห่งนี้เต็มไปด้วยโรงงานสิ่งทอ ทำให้ผู้คน 1,100 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเสียชีวิตในภัยพิบัติในครั้งนั้น</p>
<p>บังกลาเทศมีความมุ่งมั่นอยากจะเป็นประเทศเศรษฐกิจระดับกลางให้ได้ภายในปี 2574 อุตสาหกรรมสิ่งทอของพวกเขานับเป็นภาคส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญที่คิดเป็นร้อยละ 35.1 ของผลผลิตมวลรวม (GDP) รายปีของประเทศ ภาคส่วนสิ่งทอของบังกลาเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 14,600 ล้านดอลลาร์ในปี 2554 เป็น 33,100 ล้านดอลลาร์ในปี 2562 จากข้อมูลของบริษัทให้คำปรึกษาแมคคินซี</p>
<h2><span style="color:#3498db;">แบรนด์เสื้อผ้าเรียกร้องบังกลาเทศ พิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำให้แรงงาน</span></h2>
<p>แบรนด์ต่างๆ รวม 118 แบรนด์ เช่น เอชแอนด์เอ็ม, แกบ, พูมา ต่างก็ส่งจะหมายให้กับนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศเมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอให้มีการเจรจาอย่างสันติ และเรียกร้องให้มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่จะครอบคลุมความต้องการพื้นฐานของแรงงานได้ อีกทั้ง สมาคมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าแห่งสหรัฐอเมริกา (AAFA) ที่เป็นตัวแทนของแบรนด์เสื่อผ้าสิ่งทอต่างๆ จากสหรัฐฯ ยังได้เรียกร้องให้มีการพิจารณาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำให้เร็วกว่านี้ จากที่ในบังกลาเทศมีการระบุพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำทุกๆ 5 ปี</p>
<p>เนท เฮอร์มาน รองประธานอาวุโสฝ่ายนโยบายของ AAFA กล่าวว่า บังกลาเทศควรจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำทุกๆ ปี แทนที่จะเป็นทุกๆ 5 ปี และควรจะมีการทำให้แน่ใจว่าจะมีการพิจารณาอย่างทันท่วงทีตามความต้องการ การปรับปรุงในเรื่องนี้จะเป็นส่วนสำคัญเพื่อสร้างความเหมาะสมให้กับมาตรฐานการจัดซื้ออย่างมีความรับผิดชอบของแบรนด์ต่างๆ</p>
<p>บริษัทอย่าง เอชแอนด์เอ็ม ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงงานในบังกลาเทศ แต่จะใช้วิธีการทำสัญญากับเจ้าของโรงงานโดยมีการจ่ายค่าต้นทุนต่างๆ ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นค่าวัตถุดิบ, สถานที่ หรือแรงงาน</p>
<p>เอชแอนด์เอ็ม ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากสวีเดนกล่าวว่า พวกเขาเล็งเห็นถึงเรื่องที่พวกเขามีบทบาทในการทำให้คนงานได้รับ "ค่าแรงเพื่อยังชีพ" ผ่านทางการรับซื้ออย่างมีความรับผิดชอบ</p>
<p>นอกจากนี้ทางเฮชแอนด์เอ็มยังระบุถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นอีกว่าพวกเขาไม่ได้เห็นว่ามัน "ส่งผลอะไรใหญ่ๆ ต่อการผลิตและห่วงโซ่อุปทานโดยรวม" ถึงแม้ว่าโรงงานบางส่วนของพวกเขาจะถูกปิดก็ตาม</p>
<p>บริษัท พาทาโกเนีย ระบุว่าพวกเขาสนับสนุนให้มีค่าแรงขั้นต่ำ 208 ดอลลาร์ต่อเดือน (ราว 7,300 บาท) ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับที่แรงงานเรียกร้อง</p>
<p>บริษัท ลีวาย แถลงว่า พวกเขา "สนับสนุนให้รัฐบาลบังกลาเทศจัดกระบวนการปรับปรุงค่าแรงขั้นต่ำให้มีความเป็นธรรม, เชื่อถือได้ และโปร่งใส"</p>
<p>เรื่องนี้ยังมีนักวิชาการพูดถึงอีกว่ามีส่วนคล้ายกรณีการประท้วงของแรงงานสิ่งทอที่กัมพูชาในปี 2557 ที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลเปิดฉากยิงใส่ผู้ประท้วงจนมีผู้เสียชีวิต 3 ราย แต่หลังจากนั้นในกัมพูชาก็เกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำปีละครั้ง</p>
<p>เจสัน จัดด์ ผู้อำนวยการของสถาบันแรงงานสากลจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ กล่าวว่า ในยุคสมัยที่คนกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก คนก็อยากได้สินค้าที่ เร็ว ถูก และด่วน ถึงแม้ว่าคนรุ่นใหม่จะมีความใส่ใจเรื่องที่มาของเสื้อผ้าที่พวกเขาซื้อกันมากขึ้น แต่สภาพชีวิตที่พวกเขาเป็นตอนนี้ก็ยากที่จะหวังให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายกดดัน จัดด์บอกว่าสิ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงจริงๆ คือนโยบายของประเทศนั้นๆ เอง</p>
<p>"บังกลาเทศควรจะมีเหตุผลมากกว่านี้ ใช้ความรุนแรงน้อยลงกว่านี้ และมีกระบวนการที่คำนึงถึงอย่างครอบคลุมผู้คนมากกว่า นี่เป็นสิ่งที่มีคนทำมาก่อนแล้ว ไม่ใช่เรื่องการออกแบบอะไรใหม่เลย" จัดด์กล่าว</p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong>
Violent wage protests in Bangladesh could hit top fashion brands, CNN, 09-11-2023
Bangladesh garment worker dies after protests, Channel News Asia, 12-11-2023</p>
<p><span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพปก Wikimedia Commons</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106872
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 416 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 430 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 326 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 332 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 248 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.192 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤษภาคม 2567 11:31:33